ทุกวันนี้ เรามักจะได้ยินว่า เหนื่อยจัง ไม่ได้พักเลย เมื่อไหร่จะถึงวันหยุดเร็ว ๆ ทนไม่ไหวแล้วลาออกดีกว่า
มีบางคนบอกว่าคนสมัยนี้ทำงานไม่ทน เปลี่ยนงานบ่อย ไม่สู้งาน ถามว่าจริง ๆ แล้วเป็นแบบนั้นหรือ????
หากคิดในมุมกลับ อาจจะไม่ใช่แบบที่ว่าก็ได้ หากนับตั้งแต่ปี 2540 เป็นต้นมา เป็นตลาดของผู้บริโภค ทุกคนแข่งกันลดราคาเพื่อให้มียอดขายพอจะเลี้ยงตัวเองได้ หมดยุคแล้วที่จะขายน้อยชิ้น กำไรเยอะ ๆ ถ้าสินค้าไม่ล้ำยุคหรือแบรด์แข็งแรงจริง ๆ สงครามราคาเป็นเรื่องปกติ ใครมาสายป่านทางธุรกิจยาวกว่ากัน ก็เป็นผู้ชนะ
หากมาพิจารณาให้ละเอียดขึ้น จะพบว่า งานที่ทำไม่ว่าจะเป็นในโรงงาน ในสำนักงาน มักจะได้รับมอบหมายงานเพิ่ม หรือการจ่ายเงินตามจำนวนงานที่ทำได้ หมายความว่า ผู้ประกอบการกำลังลด Margin ของค่าแรงต่อชิ้นงานลง ในขณะที่ราคาวัตถุดิบเพิ่มสูงขึ้น แล้วเกิดอะไรขึ้นกับตลาดแรงงาน
แรงงานต้องทำงานมากขึ้น มีความซับซ้อนมากขึ้น และยากขึ้น แต่ได้ค่าแรงเท่าเดิม ทำให้แรงงานมีรายได้สัมพัทธ์ที่น้อยลง (หลังจากหักลบกลบหนี้กับเงินเฟ้อแล้ว) สิ่งที่สามารถทำได้ง่ายทีุ่สุดคือ ทำงานมากขึ้นเพื่อให้ตนเองอยู่ได้ ดิ้นรนไปหานายจ้างที่จ่ายค่าตอบแทนสูงขึ้น และไปเรียนหรือฝึกอบรมเพิ่ม
ระบบทุนนิยม กำลังจะถึงจุดที่เรียกว่าตลาดแข่งขันสมบูรณ์มากขึ้นทุกที เพราะระบบการสื่อสารของโลกที่กว้างไกล รวดเร็วและครอบคลุมมากขึ้นทุกวัน ในทางทฤษฎี ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ ผู้ประกอบการทุกรายจะไม่สามารถหากำไรส่วนเกินได้ ทำได้เฉพาะกำไรปกติ หรือ กำไรที่เพียงพอต่อต้นทุนผันแปรเท่านั้น
การปรับตัวของแรงงานในอนาคตต้องทำ 2 เรื่องคือ 1 การผลิตเพื่อการบริโภคเอง เนื่องจากการหารายได้เพิ่ม ยิ่งเพิ่มเท่าไหร่ก็ไม่มีประโยชน์ถ้ามีรายจ่ายที่เพิ่มตามมาด้วย ดังนั้นรายมากหรือน้อย ไม่สำคัญเท่าเงินเหลือ และ 2 การพัฒนาฝีมือที่มีคุณค่าต่อระบบเศรษฐกิจ แรงงานไรฝีมือจะไม่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับตนเองได้เลย
ถึงเวลาแล้วที่จะมาหาความแตกต่างให้กับตนเอง และหาวิธีลดรายจ่ายให้มีเงินเหลือเพื่ออยู่ในยุคการสื่อสารไร้พรมแดนได้ต่อไป
ขอให้โชคดี
วันพฤหัสบดีที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2554
วันศุกร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2554
การใช้เงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ให้เกิดผลประโยชน์แก่มนุษยชาติ
ปัญหาราคาน้ำมันเชื้อเพลิงกลายเป็นปัญหาใหญ่ของโลกตั้งแต่ปี 2547 (2004) จนรัฐบาลต้องการประกาศตรึงราคาน้ำมันโดยการใช้เงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมาชดเชย ส่งผลให้เกิดภาวะกองทุนติดลบ 60,000 ล้านบาท
ปี 2554 กลับมีเหตุการณ์แบบนี้อีกครั้งหนึ่ง ที่ใช้เงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง มาตรึงราคาน้ำมันดีเซล แล้วประเทศไทยจะต้องเผชิญกับเหตุการณ์ทำนองนี้อีกกี่ครั้ง ซึ่งทุกครั้งไม่ได้มีผลดีอะไรกับประเทศชาติเลย
การตรึงราคาน้ำมันส่งผลให้เกิดการบิดเบือนของตลาด ทำให้ผู้บริโภคไม่ได้รับรู้ถึงปริมาณอุปทานที่แท้จริงในตลาด ยังคงมีการใช้ในน้ำมันด้วยพฤติกรรมแบบเดิม กลไกราคาไม่ได้ทำงาน กฏของอุปสงค์และกฏของอุปทานถูกปิดกั้นไว้ สุดท้ายทำให้เกิดการปิดกั้นการพัฒนาเทคโนโลยี การพัฒนาการจัดการ และการตระหนักถึงความคุ้มค่าในการใช้ทรัพยากรของโลกที่มีอยู่จำกัด
ผลกระทบอีกด้านของการปรับขึ้นราคาน้ำมัน ผู้บริโภคและผู้ผลิตต้องมีการปรับตัวทั้งในแบบระยะสั้น และระยะยาว การปรับตัวระยะสั้นจะมีอยู่ 2 อย่างคือ ลดปริมาณการบริโภค และเปลี่ยนไปใช้สินค้าทดแทน ในการการปรับตัวระยะยาวคือการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ทางด้านพลังงาน ทุกวันนี้สิ่งที่ก่อให้เกิดความวุ่นวายต่อมนุษยชาติคือการใช้สินค้าทดแทนในระยะสั้น วิธีการที่ง่ายที่สุดคือการนำพืชพลังงานไปผลิตเป็นไบโอดีเซล หรือ เอทานอล แต่ด้วยความบังเอิญว่าพืชพลังงานเหล่านั้น เป็นสิ่งที่มนุษย์กินได้ จึงมากระทบต่อห่วงโซ่อาหารของมนุษย์ เช่น น้ำมันปาล์ม อ้อย มันสำปะหลัง
ความจริงที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน รัฐบาลไทยได้มีการตรึงราคาน้ำมัน แต่ราคานั้นอยู่ในระดับที่สูงพอที่จะใช้สินค้าทดแทนได้ แต่ราคาน้ไม่สุงพอที่จะเป็นแรงจุงใจให้เกิดการก้าวกระโดดทางเทคโนโลยี หรือที่เรียกว่าราคาวิกฤติ (Critical Price) เพราะเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่จะผลิตออกมาในช่วงแรก ต้องใช้ต้นทุนที่สูงมาก เช่น เครื่องยนต์ที่ใช้น้ำในการขับเคลื่อน เครื่องยนต์พลังงานก๊าซไฮโดรเจน พลังงานแสงอาทิตย์ และวิธีการผลิตกระแสไฟฟ้าแบบอื่น ๆ ทั้งที่ในห้องทดลองมีวิธีการต่าง ๆ มากมายแต่ไม่สามารถนำมาใช้ในเชิงพาณิชย์ได้
แล้วจะทำอย่างไรต่อไป!!!
ในเมื่อเรารู้อยู่แล้วว่าน้ำมันวันหนึ่งต้องหมดไปจากโลก และเราเองก็มีการเก็บเงินจากการซื้อน้ำมันอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นภาษีสารพัดชนิด และเงินกองทุนน้ำมัน แต่ประเทศเรากลับใช้เงินกองทุนน้ำมันไปเร่งให้มีการบริโภคน้ำมันในอัตราเดิม ทั้งที่ควรจะลดลงตามราคาในตลาดโลกที่สูงขึ้น เงินกองทุนน้ำมันจึงควรเป็นแลหง่เงินสนับสนุนการพัฒนาพลังงานทดแทนทุกชนิด โดยเฉพาะพลังงานที่ไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม แบบครบวงจร
ทุกวันนี้น้ำมันที่ใช้ในประเทศส่วนใหญ่จะถูกนำไปใช้ในทางอุตสาหกรรม ในการใช้เครื่องจักร ผลิตไฟฟ้า และการขนส่งเพื่อการพาณิชย์ สำหรับการใช้บริโภคของประชาชนจะอยู่ในส่วนน้อย เพราะฉะนั้น คำว่าพลังงานทดแทน จะต้องคำนึงถึงเรื่องการใช้กระแสไฟฟ้าด้วย เงินกองทุนน้ำมัน เป็นเงินกองทุนขนาดใหญ่ มีปริมาณเงินที่ไลหเข้าวันละหลายสิบ หรือวันละหลายร้อยล้านบาท ดังนั้นจึงเป็นจำนวนเงินที่มากเพียงพอต่อการส่งเสริมการวิจัย การลงทุนในโครงการพลังงานทดแทนได้อย่างมากมายมหาศาล
เช่นการลงทุนทำฟาร์มพลังงานแสอาทิตย์ โครงการนี้จะใช้เงินลงทุนประมาณ 1,000-2,000 ล้านบาท เพื่อผลิตกระไฟฟ้า 14 เมกะวัตต์ต่อวัน นั่นหมายถึงการที่มีประมาณไฟฟ้าใช้ได้ 1 เมืองใหญ่ ๆ (ไม่รวมกทม.) หรือการส่งเสริมการวิจัยการแยกก๊าซจากน้ำเพื่อเป็นเชื้อเพลิงจากก๊าซไฮโดรเจน จะได้ผลผลอยได้เป็นก๊าซออกซิเจนที่ช่วยทำให้อากาศในโลกดีขึ้นด้วยเป็นต้น หรือโรงไฟฟ้าจากขยะ ที่จะช่วนลดปริมารขยะที่ออกมาจากเมืองได้อีกทางหนึ่ง
เงินเหล่านี้ เป็นเงินที่สามารถให้ได้ทั้งในรูปแบบของการให้เปล่า โดยเฉพาะในโครงการวิจัย และเิงินให้กู้ยืมก็ได้ เพราะถ้าให้ผู้ประกอบการกู้เงินผ่านทางสถาบันการเงินเพียงอย่างเดียว โอกาสที่จะได้เงินมีน้อยมาก เนื่องสถาบันการเงินเองก็กลัวว่า เงินที่ให้กู้ไป จะได้กลับคืนหรือไม่ เพราะเทคโนโลยีใหม่ยังไม่มีใครรับรองผลสำเร็จในอนาคต
ถึงเวลาแล้วที่ผู้มีอำนาจจะต้องเปลี่ยนแปลงกฏระเบียบเพื่อชาติไทยของเรา จะได้มีความมั่งคงทางพลังงานอย่างยั่งยืนตลอดไป อย่าทำเพียงเพื่อหาเสียง และคะแนนนิยมของตนระยะสั้นเท่านั้น
ปี 2554 กลับมีเหตุการณ์แบบนี้อีกครั้งหนึ่ง ที่ใช้เงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง มาตรึงราคาน้ำมันดีเซล แล้วประเทศไทยจะต้องเผชิญกับเหตุการณ์ทำนองนี้อีกกี่ครั้ง ซึ่งทุกครั้งไม่ได้มีผลดีอะไรกับประเทศชาติเลย
การตรึงราคาน้ำมันส่งผลให้เกิดการบิดเบือนของตลาด ทำให้ผู้บริโภคไม่ได้รับรู้ถึงปริมาณอุปทานที่แท้จริงในตลาด ยังคงมีการใช้ในน้ำมันด้วยพฤติกรรมแบบเดิม กลไกราคาไม่ได้ทำงาน กฏของอุปสงค์และกฏของอุปทานถูกปิดกั้นไว้ สุดท้ายทำให้เกิดการปิดกั้นการพัฒนาเทคโนโลยี การพัฒนาการจัดการ และการตระหนักถึงความคุ้มค่าในการใช้ทรัพยากรของโลกที่มีอยู่จำกัด
ผลกระทบอีกด้านของการปรับขึ้นราคาน้ำมัน ผู้บริโภคและผู้ผลิตต้องมีการปรับตัวทั้งในแบบระยะสั้น และระยะยาว การปรับตัวระยะสั้นจะมีอยู่ 2 อย่างคือ ลดปริมาณการบริโภค และเปลี่ยนไปใช้สินค้าทดแทน ในการการปรับตัวระยะยาวคือการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ทางด้านพลังงาน ทุกวันนี้สิ่งที่ก่อให้เกิดความวุ่นวายต่อมนุษยชาติคือการใช้สินค้าทดแทนในระยะสั้น วิธีการที่ง่ายที่สุดคือการนำพืชพลังงานไปผลิตเป็นไบโอดีเซล หรือ เอทานอล แต่ด้วยความบังเอิญว่าพืชพลังงานเหล่านั้น เป็นสิ่งที่มนุษย์กินได้ จึงมากระทบต่อห่วงโซ่อาหารของมนุษย์ เช่น น้ำมันปาล์ม อ้อย มันสำปะหลัง
ความจริงที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน รัฐบาลไทยได้มีการตรึงราคาน้ำมัน แต่ราคานั้นอยู่ในระดับที่สูงพอที่จะใช้สินค้าทดแทนได้ แต่ราคาน้ไม่สุงพอที่จะเป็นแรงจุงใจให้เกิดการก้าวกระโดดทางเทคโนโลยี หรือที่เรียกว่าราคาวิกฤติ (Critical Price) เพราะเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่จะผลิตออกมาในช่วงแรก ต้องใช้ต้นทุนที่สูงมาก เช่น เครื่องยนต์ที่ใช้น้ำในการขับเคลื่อน เครื่องยนต์พลังงานก๊าซไฮโดรเจน พลังงานแสงอาทิตย์ และวิธีการผลิตกระแสไฟฟ้าแบบอื่น ๆ ทั้งที่ในห้องทดลองมีวิธีการต่าง ๆ มากมายแต่ไม่สามารถนำมาใช้ในเชิงพาณิชย์ได้
แล้วจะทำอย่างไรต่อไป!!!
ในเมื่อเรารู้อยู่แล้วว่าน้ำมันวันหนึ่งต้องหมดไปจากโลก และเราเองก็มีการเก็บเงินจากการซื้อน้ำมันอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นภาษีสารพัดชนิด และเงินกองทุนน้ำมัน แต่ประเทศเรากลับใช้เงินกองทุนน้ำมันไปเร่งให้มีการบริโภคน้ำมันในอัตราเดิม ทั้งที่ควรจะลดลงตามราคาในตลาดโลกที่สูงขึ้น เงินกองทุนน้ำมันจึงควรเป็นแลหง่เงินสนับสนุนการพัฒนาพลังงานทดแทนทุกชนิด โดยเฉพาะพลังงานที่ไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม แบบครบวงจร
ทุกวันนี้น้ำมันที่ใช้ในประเทศส่วนใหญ่จะถูกนำไปใช้ในทางอุตสาหกรรม ในการใช้เครื่องจักร ผลิตไฟฟ้า และการขนส่งเพื่อการพาณิชย์ สำหรับการใช้บริโภคของประชาชนจะอยู่ในส่วนน้อย เพราะฉะนั้น คำว่าพลังงานทดแทน จะต้องคำนึงถึงเรื่องการใช้กระแสไฟฟ้าด้วย เงินกองทุนน้ำมัน เป็นเงินกองทุนขนาดใหญ่ มีปริมาณเงินที่ไลหเข้าวันละหลายสิบ หรือวันละหลายร้อยล้านบาท ดังนั้นจึงเป็นจำนวนเงินที่มากเพียงพอต่อการส่งเสริมการวิจัย การลงทุนในโครงการพลังงานทดแทนได้อย่างมากมายมหาศาล
เช่นการลงทุนทำฟาร์มพลังงานแสอาทิตย์ โครงการนี้จะใช้เงินลงทุนประมาณ 1,000-2,000 ล้านบาท เพื่อผลิตกระไฟฟ้า 14 เมกะวัตต์ต่อวัน นั่นหมายถึงการที่มีประมาณไฟฟ้าใช้ได้ 1 เมืองใหญ่ ๆ (ไม่รวมกทม.) หรือการส่งเสริมการวิจัยการแยกก๊าซจากน้ำเพื่อเป็นเชื้อเพลิงจากก๊าซไฮโดรเจน จะได้ผลผลอยได้เป็นก๊าซออกซิเจนที่ช่วยทำให้อากาศในโลกดีขึ้นด้วยเป็นต้น หรือโรงไฟฟ้าจากขยะ ที่จะช่วนลดปริมารขยะที่ออกมาจากเมืองได้อีกทางหนึ่ง
เงินเหล่านี้ เป็นเงินที่สามารถให้ได้ทั้งในรูปแบบของการให้เปล่า โดยเฉพาะในโครงการวิจัย และเิงินให้กู้ยืมก็ได้ เพราะถ้าให้ผู้ประกอบการกู้เงินผ่านทางสถาบันการเงินเพียงอย่างเดียว โอกาสที่จะได้เงินมีน้อยมาก เนื่องสถาบันการเงินเองก็กลัวว่า เงินที่ให้กู้ไป จะได้กลับคืนหรือไม่ เพราะเทคโนโลยีใหม่ยังไม่มีใครรับรองผลสำเร็จในอนาคต
ถึงเวลาแล้วที่ผู้มีอำนาจจะต้องเปลี่ยนแปลงกฏระเบียบเพื่อชาติไทยของเรา จะได้มีความมั่งคงทางพลังงานอย่างยั่งยืนตลอดไป อย่าทำเพียงเพื่อหาเสียง และคะแนนนิยมของตนระยะสั้นเท่านั้น
การมีลูกน้อยกับภาระอันใหญ่หลวงของสังคม
ตั้งแต่ปี 1990 เป็นต้นมา อัตราการเกิดของประชากรในหลาย ๆ ประเทศมีตัวเลขใกล้เคียงกับ 0% รวมไปถึงประเทศไทยด้วย เหตุการณืนี้เริ่มมาจากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความไมพร้อมทางการเงิน วิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลง ไม่ชอบเด็ก ฯลฯ
สิ่งที่จะเกิดปัญหาอย่างใหญ่หลวงในอนาคตคือ ใครจะเป็นคนดูแลคนแก่ในอีก 30 ปีข้างหน้า???
คำถามนี้เกิดจากการที่มาร้อยเรียงเหตุการณ์ว่า ในปัจจุบัน ประชากรของไทยมีอายุยืนขึ้น แต่งงานช้าลง มีลูกช้าลง เหตุการณ์เหล่านี้ แสดงให้เห็นว่า จังหวะของชีวิตมนุษย์ถูกถ่างออกให้กว้างขึ้น หมายความว่า มนุษย์ต้องการบริโภคมากขึ้น!!
ประเด็นที่สำคัญคือ การเกษียณอายุยังคงเป็นอายุเท่าเดิม 55-60 ปี นั้นแสดงถึงว่า เมื่อหลังจากที่เกษียณแล้ว คนเราจะไม่มีรายได้อีกประมาณ 20 ปี
มาดูเรื่องการหารายได้ในปัจจุบัน เดี๋ยวนี้คนเรานิยมเรียนหนังสือ เรียนเยอะ ๆ จะได้มีรายได้เยอะ ๆ (ไม่รู้จริงหรือเปล่า) อย่างน้อยก็เรียนปริญญาตรีจบอายุ 22 หรือถ้าต่อเลยก็เป็นปริญญาโท จบอายุ 25 เริ่มทำงานถึงอายุ 60 ปี แสดงว่า คนเรามีเวลาการทำงาน 40 ปี ใน 40 ปี นี้จะต้องหารายได้เพื่อการยังชีพของตนเอง ครอบครัว พ่อแม่ที่เกษียณแล้ว
ทีนี้ลองมาลำดับเหตุการณ์กัน ถ้าชายคนหนึ่งเกิดมาตอนที่ พ่อแม่อายุ 30 ปี ลูกคนเดียว ต้องเรียนถึงอายุ 22 ปี แสดงว่าพ่อแม่ต้องรับภาระ 22 ปี หลังจากนั้นทำงาน พ่อแม่อายุ 52 เหลือเวลา 8 ปีในการทำงาน เมื่อพ่อแม่เกษียณ ลูกก็ 30 พอดี ต่อมาอีก 5 ปี (อายุ 35 ปี) ชายคนนี้แต่งงานกับหญิงอีกคนหนึ่ง อายุ 30 ปี (ลูกคนเดียวเหมือนกันมีพ่อแม่อายุเท่ากัน) เท่ากับว่า ชาย-หญิงคู่มีครอบครัวใหญ่คือ พ่อแม่ผู้ชายอายุ 65 ปี พ่อแม่ผู้หญิง อายุ 60 ปี
1 ปีจากนั้น มีลูก 1 คน ตอนนี้นับสมาชิกได้ 7 คน มีคนที่ยังทำงานได้ 2 คน ภาวะพึ่งพิง 5 คน
3 ปีต่อมา ลูกเข้าโรงเรียน ค่าใช้จ่ายเริ่มเยอะขึ้น ชายคนนี้ อายุ 39 ปี หญิง 34 ปี พ่อแม่ผู้ชาย 69 ปี พ่อแม่ผู้หญิง 64 ปี สรุป
1 ปี ต่อมา พ่อแม่ผู้ชายเริ่มเจ็บป่วย เข้าออกโรงพยาบาลอยู่เรื่อย ๆ
5 ปีต่อมา ผู้ชายอายุ 45 ผู้หญิง 40 ปี ลูก 10 ปี พ่อแม่ผู้ชาย 75 (ป่วยช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ต้องจ้างคนมาดูแล) พ่อแม่ผู้หญิง 70 ปี (เริ่มป่วยเข้าโรงพยาบาล)
สรุปภาระ ทำงาน 2 คน หาเลี้ยง 7 คน รวมตัวเอง และผู้ดูแลพ่อแม่ด้วย
อีก 5 ปี พ่แม่ผู้ชายเสียชีวิต อายุ 80 ปี พ่อแม่ผู้หญิงป่วย (ดูแลตัวเองไม่ได้)
สรุปภาระ ทำงาน 2 คน เลี้ยงดู 5 คน
ตอนนี้ผู้ชายอายุ 50 ผู้หญิงอายุ 45 ลูกอายุ 15 ปี พ่อแม่ผู้ชาย -- พ่อแม่ผู้หญิง 75 ปี+คนดูแล
อีก 5 ปี พ่อแม่ผู้หญิงเสียชีวิต
อีก 2 ปี ลูกเรียนจบปริญญาตรีและเรียนต่อ
อีก 2 ปี เรียนจบปริญญาโท
ผู้ชายอายุ 59 ปี ผู้หญิง อายุ 54 ปี ลูก 24 ปี เริ่มทำงาน
สรุปทำงาน 3 คน เลี้ยงดู 3 คน (อีกปีเดียวผู้ชายเกษียณ)
แล้วกว่าลูกจะแต่งงาน...
ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ รายได้ที่หาได้ในปัจจุบัน เพียงพอต่อการเลี้ยงดูทุกคนในครอบครัวหรือไม่ อัตราพึ่งพิงสูงสุด 7/2 หมายความว่า 1 คนต้องเลี้ยงดู 3.5 คน ดังนนั้น การจะหายรายได้ต้องมากกว่ารายจ่าย 3.5 เท่าขั้นไปถึงจะมีเงินเก็บได้ ถ้าคนเรามีค่าใช้จ่ายเดือนละ 10,000 บาทต่อคน จะต้องมีรายได้ 35,000 ต่อเดือนขึ้นไป ถึงจะเริ่มมีเงินเก็บ และสะสมความมั่นคั่งให้กับชีวิตได้
ในสมัยก่อน คนเรามีลูกเยอะ ทำให้อัตราพึ่งพิงมีน้อยกว่าปัจจุบันมากทำให้ระบบในสังคมยังสามารถอยู่ได้ แต่ในอนาคต คนที่อายุ 30 วันนี้กำลังจะเจอสถานการณ์แบบนี้ในอนาคต
วิธีการแก้ไข วิธีแรกคือการลดภาระพึ่งพิง หมายถึง การทำงานหลังเกษียณให้เพียงพอต่อการยังชีพ และการหารายได้เสริมระหว่างเรียน นอกจากนั้น คนทำงานต้องรู้จักการออมเพื่อเป็นหลักประกันความมั่นคงให้กับตนเองในอนาคต นอกจากนั้น คนที่ทำงานจะต้องหารายได้ให้กับตอนเองมากกว่าที่บริโภคอย่างน้อย 3 เท่า
ในบ้างประเทศรัฐบาลบังคับการออมของตนเองผ่านระบบภาษี คือ รัฐบาลเก็บภาษี 60% ของรายได้สุทธิ แต่เมื่อเกษียณ์อายุ 65 แล้ว (เกษียณอายุแก่กว่าของไทยด้วย) จะมีเงินเดือนจ่ายให้เพื่อยังชีพทุกเดือน และเข้ารับการรักษาพยาบาลได้ในวงเงินที่กำหนดต่อปี อีกทั้งยังมีบ้านพักสำหรับคนชราที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ซึ่งจะเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการแก้ปัญหานี้ในระยะยาว
ประเทศไทยจะเป็นแบบนั้นได้หรือไม่???
สิ่งที่จะเกิดปัญหาอย่างใหญ่หลวงในอนาคตคือ ใครจะเป็นคนดูแลคนแก่ในอีก 30 ปีข้างหน้า???
คำถามนี้เกิดจากการที่มาร้อยเรียงเหตุการณ์ว่า ในปัจจุบัน ประชากรของไทยมีอายุยืนขึ้น แต่งงานช้าลง มีลูกช้าลง เหตุการณ์เหล่านี้ แสดงให้เห็นว่า จังหวะของชีวิตมนุษย์ถูกถ่างออกให้กว้างขึ้น หมายความว่า มนุษย์ต้องการบริโภคมากขึ้น!!
ประเด็นที่สำคัญคือ การเกษียณอายุยังคงเป็นอายุเท่าเดิม 55-60 ปี นั้นแสดงถึงว่า เมื่อหลังจากที่เกษียณแล้ว คนเราจะไม่มีรายได้อีกประมาณ 20 ปี
มาดูเรื่องการหารายได้ในปัจจุบัน เดี๋ยวนี้คนเรานิยมเรียนหนังสือ เรียนเยอะ ๆ จะได้มีรายได้เยอะ ๆ (ไม่รู้จริงหรือเปล่า) อย่างน้อยก็เรียนปริญญาตรีจบอายุ 22 หรือถ้าต่อเลยก็เป็นปริญญาโท จบอายุ 25 เริ่มทำงานถึงอายุ 60 ปี แสดงว่า คนเรามีเวลาการทำงาน 40 ปี ใน 40 ปี นี้จะต้องหารายได้เพื่อการยังชีพของตนเอง ครอบครัว พ่อแม่ที่เกษียณแล้ว
ทีนี้ลองมาลำดับเหตุการณ์กัน ถ้าชายคนหนึ่งเกิดมาตอนที่ พ่อแม่อายุ 30 ปี ลูกคนเดียว ต้องเรียนถึงอายุ 22 ปี แสดงว่าพ่อแม่ต้องรับภาระ 22 ปี หลังจากนั้นทำงาน พ่อแม่อายุ 52 เหลือเวลา 8 ปีในการทำงาน เมื่อพ่อแม่เกษียณ ลูกก็ 30 พอดี ต่อมาอีก 5 ปี (อายุ 35 ปี) ชายคนนี้แต่งงานกับหญิงอีกคนหนึ่ง อายุ 30 ปี (ลูกคนเดียวเหมือนกันมีพ่อแม่อายุเท่ากัน) เท่ากับว่า ชาย-หญิงคู่มีครอบครัวใหญ่คือ พ่อแม่ผู้ชายอายุ 65 ปี พ่อแม่ผู้หญิง อายุ 60 ปี
1 ปีจากนั้น มีลูก 1 คน ตอนนี้นับสมาชิกได้ 7 คน มีคนที่ยังทำงานได้ 2 คน ภาวะพึ่งพิง 5 คน
3 ปีต่อมา ลูกเข้าโรงเรียน ค่าใช้จ่ายเริ่มเยอะขึ้น ชายคนนี้ อายุ 39 ปี หญิง 34 ปี พ่อแม่ผู้ชาย 69 ปี พ่อแม่ผู้หญิง 64 ปี สรุป
1 ปี ต่อมา พ่อแม่ผู้ชายเริ่มเจ็บป่วย เข้าออกโรงพยาบาลอยู่เรื่อย ๆ
5 ปีต่อมา ผู้ชายอายุ 45 ผู้หญิง 40 ปี ลูก 10 ปี พ่อแม่ผู้ชาย 75 (ป่วยช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ต้องจ้างคนมาดูแล) พ่อแม่ผู้หญิง 70 ปี (เริ่มป่วยเข้าโรงพยาบาล)
สรุปภาระ ทำงาน 2 คน หาเลี้ยง 7 คน รวมตัวเอง และผู้ดูแลพ่อแม่ด้วย
อีก 5 ปี พ่แม่ผู้ชายเสียชีวิต อายุ 80 ปี พ่อแม่ผู้หญิงป่วย (ดูแลตัวเองไม่ได้)
สรุปภาระ ทำงาน 2 คน เลี้ยงดู 5 คน
ตอนนี้ผู้ชายอายุ 50 ผู้หญิงอายุ 45 ลูกอายุ 15 ปี พ่อแม่ผู้ชาย -- พ่อแม่ผู้หญิง 75 ปี+คนดูแล
อีก 5 ปี พ่อแม่ผู้หญิงเสียชีวิต
อีก 2 ปี ลูกเรียนจบปริญญาตรีและเรียนต่อ
อีก 2 ปี เรียนจบปริญญาโท
ผู้ชายอายุ 59 ปี ผู้หญิง อายุ 54 ปี ลูก 24 ปี เริ่มทำงาน
สรุปทำงาน 3 คน เลี้ยงดู 3 คน (อีกปีเดียวผู้ชายเกษียณ)
แล้วกว่าลูกจะแต่งงาน...
ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ รายได้ที่หาได้ในปัจจุบัน เพียงพอต่อการเลี้ยงดูทุกคนในครอบครัวหรือไม่ อัตราพึ่งพิงสูงสุด 7/2 หมายความว่า 1 คนต้องเลี้ยงดู 3.5 คน ดังนนั้น การจะหายรายได้ต้องมากกว่ารายจ่าย 3.5 เท่าขั้นไปถึงจะมีเงินเก็บได้ ถ้าคนเรามีค่าใช้จ่ายเดือนละ 10,000 บาทต่อคน จะต้องมีรายได้ 35,000 ต่อเดือนขึ้นไป ถึงจะเริ่มมีเงินเก็บ และสะสมความมั่นคั่งให้กับชีวิตได้
ในสมัยก่อน คนเรามีลูกเยอะ ทำให้อัตราพึ่งพิงมีน้อยกว่าปัจจุบันมากทำให้ระบบในสังคมยังสามารถอยู่ได้ แต่ในอนาคต คนที่อายุ 30 วันนี้กำลังจะเจอสถานการณ์แบบนี้ในอนาคต
วิธีการแก้ไข วิธีแรกคือการลดภาระพึ่งพิง หมายถึง การทำงานหลังเกษียณให้เพียงพอต่อการยังชีพ และการหารายได้เสริมระหว่างเรียน นอกจากนั้น คนทำงานต้องรู้จักการออมเพื่อเป็นหลักประกันความมั่นคงให้กับตนเองในอนาคต นอกจากนั้น คนที่ทำงานจะต้องหารายได้ให้กับตอนเองมากกว่าที่บริโภคอย่างน้อย 3 เท่า
ในบ้างประเทศรัฐบาลบังคับการออมของตนเองผ่านระบบภาษี คือ รัฐบาลเก็บภาษี 60% ของรายได้สุทธิ แต่เมื่อเกษียณ์อายุ 65 แล้ว (เกษียณอายุแก่กว่าของไทยด้วย) จะมีเงินเดือนจ่ายให้เพื่อยังชีพทุกเดือน และเข้ารับการรักษาพยาบาลได้ในวงเงินที่กำหนดต่อปี อีกทั้งยังมีบ้านพักสำหรับคนชราที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ซึ่งจะเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการแก้ปัญหานี้ในระยะยาว
ประเทศไทยจะเป็นแบบนั้นได้หรือไม่???
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
-
หลังจากการเลือกตั้งของประเทศไทยปี 2566 ผ่านพ้นไป ได้เห็นคะแนนกันไปแล้ว ส่วนการจัดตั้งรัฐบาลจะเป็นอย่างไรก็เป็นเรื่องของผู้ที่เกี่ยวข้องไปจัด...
-
EP39 #สร้างทีมงานให้เป็นผู้ประกอบการ ปัญหาปวดหัวที่สุดของการสร้างทีมงานคือการสร้างความภักดีในองค์กร เป็นที่รู้กันว่า เมื่อพนักงานไม่มีความภ...
-
#ปัญหาว่าด้วยการแก้ไขสถานการณ์วิกฤติ ช่วงนี้ประเทศไทยได้เจอกับสถานการณ์วิกฤตหรือที่เราจะเรียกว่าอุบัติเหตุการอยู่บ่อยครั้ง อย่างที่เห็นได้ชั...