วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2564

การตั้ง Mindset เพื่อรับมือ VUCA World


ช่วงปี 2019 มา โลกเราได้มีการพูดถึง VUCA มาขึ้น โดยที่มานั้นมาจาก U.S Army War College แทนเหตุการที่มีความผันผวนสูงยากต่อการคาดเดา คำว่า VUCA มาจาก คำ 4 คำ คือ Volatility ความผันผัน Uncertainty ความไม่แน่นอน Complexity ความซับซ้อน และ Ambiguity ความคลุมเคลือ และก็มีหลายสำนักได้พยายามจะเสนอแนวทางการจัดการกับสถานการณ์ที่เป็นความผันผวนสูงขนาดนี้โดยเสนอว่า


Volatility เป็น Vision หรือวิสัยทัศน์

Uncertainty เป็น Understanding หรือ การทำความเข้าใจ

Complexity เป็น Clarity หรือ ความชัดเจน

Ambiguity เป็น Agile หรือ ความคล่องแคล่ว


แต่ว่า เราจะเริ่มตัวไหนก่อนดีหละ เพื่อการปรับตัวของตัวเราเองให้เข้ากับ VUCA World


ขอย้อนกลับไปสู่ประเด็นการเกิด VUCA ก่อนคือว่า โลกเรามีปริมาณข้อมูลที่ไหลไปมาอย่างท่วมท้น เพื่อใครๆ ต่างต้องการความมั่นใจในการตัดสินใจ จึงพยายามหาข้อมูลให้มากมที่สุดจนกลายเป็น Over Flow Infomation 


ในขณะที่เทคโนโลยีการเดินทางขนส่ง ก็พัฒนามากขึ้นไปจนคนในโลกเกิดการเคลื่อนที่ไปมาหากันอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประวัติศาตร์ของมนุษยชาติ จึงทำให้มีความซับซ้อน สับสนวุ่นวายมากขึ้น


มนุษย์กลับดูถาโถมด้วยสิ่งเหล่านี้จะกลายเป็นความเคยชิน และสะสมความวั่นวายมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น ในการรับมือกับ VUCA World  ไม่ได้เริ่มจากตัวใดตัวหนึ่งใน  4 ตัวที่กล่าวมาแล้ว แต่กลับเริ่มจากตัวเรา


คือ เราต้องมีความนิ่งเอาตัวออกจากกระแสของ VUCA เสียก่อน จากนั้น มาตั้งความคิดของตัวเองว่า เราเชื่อหรือไม่ เรา สามารถจัดการตัวเองกับกระแสแห่ง VUCA ได้


เพื่อเมื่อจิตเรานิ่ง ต่อให้สภาพแวดล้อมเป็นอย่างไร เราจะสามารถจัดการได้อย่างง่ายดายมากขึ้น แต่ถ้าจิตไหวหวั่น แม้เพียงเงาของใบไม้ก็คิดว่าเป็นสิ่งอันตรายมาทำร้ายเรา


เมื่อจิตนิ่ง ความเชื่อดี จึงมาจัดการระบบความคิด ให้มีเป้าหมายตามวิธีแบบวิสัยทัศน์ ทำความเข้าใจกับประเด็นปัญหา แยกเป็นส่วนๆ เพื่อทำทุกอย่างให้ชัดเจน ปัญหายิ่งเอาหลายๆ เรื่องมาปนกัน จะแก้ไม่ออก


สุดท้ายตั้ง Mindset ของตัวเองใหม่ ให้เราไม่ยึดติด กับสิ่งที่เกิดขึ้น แต่ชื่นชมกับทุกสิ่งทุกอย่าง มองเห็นคุณค่า และปรับเปลี่ยนได้ตามสถาการณ์ 


นี่แหละ คาถา Mindset เพื่อสยบ VUCA World


ดร.นารา กิตติเมธีกุล

นักพัฒนาศักยภาพมนุษย์และธุรกิจ

ที่ปรึกษา วิทยากร อาจารย์พิเศษ อดีตอาจารย์มหาวิทยาลัย

วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2564

Corporate Culture กับ Branding แท้จริงแล้วเรื่องเดียวกัน

 


ในช่วงที่ผ่านมา มีหลายองค์กรพยายามจะสร้างวัฒนธรรมองค์กรขึ้นมาเพื่อให้องค์กรมีคนที่มีพฤติกรรมคล้ายๆ กันจนกลายเป็นคนที่องค์กรต้องการ และหวังผลออกไปว่าคนเหล่านี้จะสร้างลักษระขององค์กร สร้างกำไร และสร้างการเติบโตในอนาคต นับว่าเป็นเรื่องที่ดี เป็นการปรับตัวในสภาวะของการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม ข้อมูลข่าวสาร จนกลายเป็น VUCA World โลกที่เต็มไปด้วยความผันผวน (Volatility) โลกที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน (Uncertainty) โลกที่เต็มไปด้วยความซับซ้อน (Complexity) และโลกที่เต็มไปด้วยความคลุมเครือ (Ambiguity)

.

แต่หลายๆ องค์กรกลับลืมไปว่า การสร้างวัฒนธรรมองค์กรนั้น คือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคน ซึ่งจะต้องเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนทั้งองค์กรให้มีพฤติกรรมที่คล้ายๆ กัน จนกลายเป็นบุคคลของคนทั้งองค์กร แต่หลายองค์กรเจอปัญหาว่า สร้างพฤติกรรมที่ต้องการไม่ได้ หรือ ทำเท่าไหร่ก็ไม่เป้นทางเดียวกัน

.

การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจะต้องมีองค์ประกอบเพื่อการสร้างการเปลี่ยนแปลง 2 อย่างคือ


ปัจจัยกระตุ้นในระดับบุคคล หรือ แรงจูงใจในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม พูดง่ายๆ ว่า เปลี่ยนแล้วได้อะไร มนุษย์จะมองกลับมาที่ประโยชน์ของตัวเองเป็นหลัก ไม่ว่าจะทำอะไรก็ตาม ต่างอยู่บนพื้นฐานของประโยชน์ของตัวเอง เช่นประโยชน์ทางร่างกาย การเงิน หรือประโยชน์ทางอารมณ์ ความสุขจากการได้รับและการให้


ปัจจัยปลายทางของการเปลี่ยนแปลง หรือ เป้าหมายปลายทางหลังจากการเปลี่ยนแปลง พูดอีกมุมคือเปลี่ยนเป็นอะไรแบบที่เข้าใจง่ายๆ เพราะการเปลี่ยนแปลงของมนุษย์ต้องการเป้าหมายใหม่มาช่วยกำหนดขั้นตอนในการเปลี่ยนแปลง มนุษย์ทุกคนต้องการความมั่นคงความมั่นใจ ไม่ว่าจะเป็นคนที่ยืดหยุ่นขนาดไหน ต่างก็ต้องกลับมาหาความมั่นคง การมีเป้าหมายที่ชัดเจน จะช่วยทำให้การเปลี่ยนแปลงมีความมั่นคงมากยิ่งขึ้น

.

กลับมาที่ Branding คือบุคลิกของสินค้า บริการ และองค์กร นั้นคือสิ่งที่ผู้คนรับรู้ได้ว่าสินค้า บริการ หรือองค์กรนี้หากเปรียบเป็นคนแล้ว จะหมายถึงคนแบบไหนที่มีความโดดเด่น และชัดเจน แล้วการสร้าง Branding ก็ไม่ใช่การโฆษณาประชาสัมพันธ์เพียงอย่างเดียว เพราะนั้นเป็นความพยายามในการบอก แต่การรับรู้จริงๆ แล้ว ไม่ได้มีแค่ปัจจัยในการโฆษณาประชาสัมพันธ์ แต่เป็นการแสดงออกในทุกด้าน ทั้งการออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการ การจัดแสดงสินค้า พนักงานทุกคน การออกแบบร้าน โดยเฉพาะตัวผู้บริหารที่ต้องแบรนด์ในตัวเองอย่างตลอดเวลาว่าเป็นคนแบบไหน ทำงานอย่างไร ส่งมอบ สื่อสาร แสดงออกอะไรให้กับคนรอบข้างอยู่ตลอดเวลา

.

เห็นหรือไม่ว่า Branding และ วัฒนธรรมองค์กรเป็นเรื่องเดียวกัน คือพฤติกรรมของคน ดังนั้น การสร้างวัฒนธรรมองค์กร ต้องควบคู่ไปกับการสร้าง Brand เพราะทั้ง 2 เรื่องนี้เป็นเรื่องเดียวกัน แยกจากกันไม่ได้ และทั้ง 2 เรื่องนี้ต่างเกิดจากการกำกับ ส่งเสริม พัฒนาจากผู้บริหารทั้งสิ้น ไม่มีทางเลยที่จะปล่อยให้พนักงานระดับล่างพัฒนากันเองได้ เพราะอำนาจสุงสุด ความเป็นเจ้าของสูงสุด อยู่ที่ผู้บริหารทั้งนั้น องค์กรจะเป็นอย่างไร ผู้บริหารคือคนเลือกและพาไป

.

ดร.นารา กิตติเมธีกุล

นักพัฒนาศักยภาพมนุษย์และธุรกิจ

ที่ปรึกษา วิทยากร อาจารย์พิเศษ อดีตอาจารย์มหาวิทยาลัย


#พัฒนาธุรกิจ #การตลาด #วัฒนธรรมองค์กร #แบรนด์ดิ่ง

#การทำธุรกิจ #การบริหาร

#การเปลี่ยนพฤติกรรม