วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2565

ปั้นคนเก่ง EP#37 เทคนิคการทำงานให้เร็วขึ้น

 EP#37 เทคนิคการทำงานให้เร็วขึ้น





งานที่เราต้องทำทุกอย่างในโลกนี้ล้วนมีพื้นฐานมาจากหลักการเดียวกัน แต่บางคนทำงานเร็ว บางคนทำงานช้า บางคนทำได้หลายงาน แต่บางคนทำงานเดียวยังไม่เสร็จ 


ที่มากไปกว่านั้น บางคนทำงานได้ครบถ้วนรอบคอบ บางคนทำงานไม่ครบถ้วน ขาดๆ เกินๆ สิ่งเหล่านี้เกิดอะไรขึ้น


ก่อนอื่นต้องให้หลักการก่อนว่า การทำงานจริงๆ แล้วอยู่บนหลักการ 3 ข้อคือ คิดงาน สั่งงาน และตามงาน


#คิดงาน หมายถึงว่า คนที่ทำงานจะต้องให้ออก คิดให้ครบ คิดให้หมด อย่างเป็นเหตุเป็นผล และเป็นระบบว่า ตั้งแต่เริ่มต้นจนไปถึงจุดที่งานเสร็จสิ้น งานแต่ละอย่างจะเกิดอะไรขึ้น คนที่ทำงานเก่ง จะสามารถคิดงานออกมาได้ทั้งหมด ครบถ้วน ดังนั้นการคิดงาน จึงต้องการความเป็นมืออาชีพ คนที่รู้ว่างานแต่ละงานต้องทำอะไรบ้งให้เสร็จสมบูรณ์ได้


ใครก็ตามที่คิดงานเก่งๆ จะมีโอกาสในการทำงานได้ดี มีความครบถ้วนได้มากกว่าคนอื่น ซึ่งปัญหาของการทำงานส่วนใหญ่ จะเกิดขึ้นอยู่ในขั้นตอนนี้คือ ไม่ได้คิด คิดไม่ครบ หรือคิดไม่ออก การคิดงานนับว่าเป็นทักษะที่ต้องอาศัยการฝึก ฝึดการใช้จินตนาการคู่กับเหตุผลอยู่ตลอดเวลา สมองเราจะคิดงานได้เก่งขึ้นเรื่อยๆ


#สั่งงาน คือการมอบหมายงานแต่ละงานที่เป็นงานย่อยๆ จากเกิดจากกระบวนการคิดงานว่า ต้องให้ใครทำ ตัวเอง คนอื่นๆ เครื่องจักร เครื่องมือ หรือคอมพิวเตอร์ ซึ่งตรงนี้จะช่วยทำให้เรารู้ว่างานแต่ละอย่างจะต้องกระจายออกไปอย่างไร และต้องทำงานเสร็จเมื่อไหร่


ข้อสำคัญของการสั่งงานคือการวางแผนการใช้เวลาของงาน ว่างงานแต่ละอย่างต้องเริ่มตอนไหน และกลับมาตอนไหนให้เป็นจังหวะที่พอดีๆ กัน เรียกว่าดีที่สุดคือระบบ Zero Inventory หรือ การไม่มีคลัง ซึ่งหมายคึวามว่า ทุกงานเมื่อส่งมอบกลับมาแล้ว จะถูกนำไปใช้ต่อทันทีไม่มีการรอคอย


#ตามงาน เป็นเรื่องที่ผู้จัดการหลายคนต้องจดบันทึกเอาไว้ เพราะหลายครั้งสั่งงานไปแล้ว แต่งานไม่ได้ตามเวลาที่ต้องการ กลายเป็นความเสียหาย การตามงานสามารถตามงานได้ตั้งแต่ความก้าวหน้าของงาน จนถึงการส่งงาน เพื่อให้มั่นใจได้ว่างานที่สั่งไปนั้นได้ตรงตามความต้องการอย่างแท้จริง


คนที่ทำงานเร็ว ทำงานเก่ง จะรู้วิธีการการคิดงาน สั่งงาน และตามงานได้มีประสิทธิภาพ หากเราได้ยึดหลักและฝึกทักษะนี้ จะช่วยทำงานงานของเราทำได้เร็วมากยิ่งขึ้น ส่วนที่เหลือคือฝึกทักษะการปฏิบัติงานให้ได้ออกมาดี เป็นการพัฒนาตัวเองทางด้านเทคนิคในแต่ละสายวิชาชีพต่อไป


ดร.นารา

ที่ปรึกษาและวิทยาการ ด้านการแก้ปัญหาและพัฒนาประสิทธิภาพการทำงาน

วันพฤหัสบดีที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2565

ปั้นคนเก่ง EP#36 ปัญหาว่าด้วยการจัดการเวลา

 #ปัญหาว่าด้วยการจัดการเวลา




การจัดการเวลากลายเป็นปัญหาใหญ่ในโลกที่มีแต่ความสับสนวุ่นวาย


เราคงต้องมายอมรับมันก่อนว่าในทุกวันนี้เรามีงานและมีเรื่องที่ต้องจัดการมากกว่าสมัยก่อนเมื่อ 100 ปีที่แล้วเป็นจำนวนมาก หลายเท่าตัว


แต่ว่าเวลาของเรายังคงอยู่ที่ 24 ชั่วโมงเท่าเดิม มิหนำซ้ำเรายังมีสื่อช่องทางที่จะเข้ามาติดต่อหาเราเป็นจำนวนเพิ่มมากินขึ้นตั้งแต่โทรทัศน์ โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ ซึ่งทำให้เราต้องใช้เวลาในการบริโภคข้อมูลเหล่านั้นและจัดการข้อมูลเหล่านั้นเพิ่มมากยิ่งขึ้นไปอีก


ปัญหาของการจัดการเวลาจึงตามมาเพราะเราไม่สามารถที่จะเอางานที่เกิดขึ้นยัดใส่ในเวลาที่เท่าเดิมได้ หากเราต้องการทำทุกอย่างเหมือนเดิมในเวลาที่เท่าเดิมแต่งานเพิ่มขึ้นนั่นแปลว่าเรากำลังเข้าใจผิดอะไรบางอย่าง


เทคนิคการจัดการเวลาจริงๆแล้ว มันเป็นเรื่องของการจัดการจิตใจและการจัดการงานภายใต้เวลาที่มีอยู่อย่างจำกัดและไม่เคยหวนกลับมา


อย่างแรกเลยในการจัดการเวลาคือเราต้องดูก่อนว่า


*งานที่เราต้องทำมีอะไรบ้าง

*งานที่เราต้องทำต้องทำอย่างไรบ้างใช้เวลาเท่าไหร่

*งานที่เราต้องทำสามารถให้ใครหรือมีเครื่องมือตัวช่วยอะไรมาช่วยเราได้บ้าง

*งานอะไรที่เรายังไม่ต้องทำและไม่ควรทำ


เมื่อเราเข้าใจธรรมชาติของงานเราก็จะรู้ได้แล้วว่างานที่เกิดขึ้นนั้นเราจะใช้เวลาเท่าไหร่ในเวลาแต่ละวันเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญเพราะเวลามันมีจำกัดงานจึงต้องพอดีกับเวลา


**สิ่งที่ต้องไม่ลืมคือชีวิตเราไม่ได้มีแต่งานแต่ชีวิตของเรามีทั้งงานและเรื่องส่วนตัวเราจะรักษาความสมดุลย์ของตัวเราเอาไว้ได้อย่างไรทำงานเท่าไหร่ให้พอดีพักผ่อนเท่าไหร่ให้พอดีแล้วเอาชีวิตของเราไปช่วยสังคมให้ดียิ่งขึ้นด้วย


เมื่อเราวางแผนปริมาณงานที่ใส่ลงไปในเวลาได้แล้วสิ่งหนึ่งที่จะทำให้ปริมาณงานลงในเวลาได้อย่างดีคือการจัดการใจ 

การจัดการใจ หมายความว่า 

#ใจเราต้องเข้มแข็งกว่าความอยาก


*เราต้องทำให้ใจเรารู้ว่าควรจะเริ่มทำอะไร

*เราต้องทำให้ใจเรารู้ว่าควรจะหยุดทำอะไร


เมื่อเราเอาสองสิ่งนี้คือการจัดการงานบวกกับการจัดการใจเราก็จะพบว่าแม้เวลาที่มีอยู่อย่างจำกัดเราก็สามารถที่จะจัดงานลงไปในเวลาโดยใช้เครื่องหมายเครื่องมือหรือผู้ช่วยให้เราทำงานได้ดีมากยิ่งขึ้นและที่สำคัญไปกว่านั้นคือใจของเราจะเข้มแข็งมากยิ่งขึ้นซึ่งทำให้เราสามารถจัดการเวลา 24 ชั่วโมงต่อวันได้อย่างสมดุลย์



ดร.นารา

#TimeManagement

วันจันทร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2565

ปั้นคนเก่ง EP#35 ปัญหาว่าด้วยการแก้ไขสถานการณ์วิกฤติ

#ปัญหาว่าด้วยการแก้ไขสถานการณ์วิกฤติ


ช่วงนี้ประเทศไทยได้เจอกับสถานการณ์วิกฤตหรือที่เราจะเรียกว่าอุบัติเหตุการอยู่บ่อยครั้ง

อย่างที่เห็นได้ชัดเจนก็คือเรื่องของเครื่องบินไถลออกจากรันเวย์ในสนามบินแม่ฟ้าหลวง

ตามที่ได้ปรากฏตามข่าวพบว่าทางสายการบินและทางท่าอากาศยานและปล่อยให้ผู้โดยสารอยู่บนเครื่องบินนานกว่า 1 ชั่วโมง

ซึ่งนั่นหมายความว่ากำลังสร้างวิกฤตสถานการณ์วิกฤตอีกครั้งหนึ่ง หากลองจินตนาการต่อไปว่าถ้าเครื่องบินอยู่ดีๆเกิดไฟไหม้ขึ้นมาจะเกิดอะไรขึ้น

เหตุการณ์หนึ่งที่โด่งดังไม่แพ้กันคือฝนตกใส่กรุงเทพฯหนักที่สุดในรอบ 67 ปี ทำให้น้ำท่วมติดต่อกันถึง 2 วันและรถติดทั้งบ้านทั้งเมือง

แต่ทั้งสองเหตุการณ์นี้มีผลลัพธ์ที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง เหตุการณ์หนึ่งมีแต่คนออกมาโวยวายว่าไม่เห็นได้รับการดูแลและการช่วยเหลือในช่วงเวลาที่วิกฤตอย่างเหมาะสมเลย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของชีวิต ทรัพย์สินที่ต้องทิ้งเอาไว้บนเครื่องบิน จนผ่านมากว่า 2 วันก็ยังไม่สามารถตามคืนได้ว่าทรัพย์สินของตัวเองนั้นอยู่ที่ไหน ในขณะเดียวกันเอกสารสำคัญส่วนตัวถูกบังคับให้ทิ้งไว้บนเครื่องบินแต่กลับให้ทุกคนกลับไปพักที่โรงแรมซึ่งนั่นหมายความว่าจะเข้าโรงแรมได้โดยที่ไม่มีเอกสารสำคัญส่วนตัวใดๆทั้งสิ้น จะมีคำถามกลับมาว่าแล้วเขาจะดำเนินการอย่างไร

ในขณะที่ทางสายการบินเองก็ยังนิ่งเฉยมีแต่คำขอโทษต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แล้วก็มีการชดเชยสำหรับผู้โดยสารคนอื่นในเที่ยวบินอื่นที่ต้องถูกยกเลิกไปเท่านั้น

แน่นอนว่าผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นมันย่อมสร้างผลกระทบอย่างรุนแรงทั้งต่อจิตใจของผู้โดยสาร 167 ชีวิตบนเครื่องบิน และความน่าเชื่อถือของสายการบิน อาจจะลามปามไปถึงความไว้วางใจ หลายคนเริ่มตั้งคำถามว่าเราจะไว้วางใจสายการบินได้อย่างไรเมื่อเกิดวิกฤตในครั้งต่อไปเขาจะคอยดูแลและคุ้มครองชีวิตทรัพย์สินของเราได้จริงหรือไม่

นั่นหมายความว่าจากนี้ไปสายการบินนี้จะพบกับการกู้ศรัทธาของแบรนด์ด้วยต้นทุนราคาแพง วิธีการสร้างความเชื่อมั่นจากประสบการณ์ของลูกค้าวิธีหนึ่งที่หลายคนนิยมใช้คือการลดราคาเพื่อเป็นแรงจูงใจให้กลับมาใช้บริการอีกครั้งหนึ่ง แต่ก็นั่นแหละการลดราคาเท่ากับการสูญเสียรายได้ แล้วต้องมาอีกขนาดไหนถึงจะกลับมายืนที่จุดเดิมได้

ภาพตัดกลับมาที่กรุงเทพฯ วันที่น้ำท่วมกรุงเทพฯกับมีคนหนึ่งที่ไม่ยอมหลับไม่ยอมนอนออกมายืนเคียงบ่าเคียงไหล่กับเจ้าหน้าที่เพื่อคอยกำกับและคอยตรวจดูว่าน้ำได้ลดลงแล้วหรือยัง แม้ว่าผลลัพธ์ออกมาน้ำก็ยังไม่ลงก็ตาม แต่กลับมีคนให้กำลังใจอย่างล้นหลาม มันช่างเป็นภาพที่ตรงกันข้ามเสียจริงๆ

จะทั้งสองเหตุการณ์นี้ได้สร้างการเรียนรู้ให้เราเกี่ยวกับภาวะวิกฤตว่า คนที่เป็นผู้นำขององค์กรจะต้องออกมาแสดงความจริงใจให้กับทุกคนได้เห็นว่าเขาได้ทุ่มเทสุดกำลังความสามารถเพื่อที่จะช่วยเหลือทุกคนให้อยู่ในสภาวะที่ดีขึ้น

นอกจากนั้นเองผู้บริหารหรือผู้นำก็แสดงจุดยืนให้เห็นว่าชีวิตของคนคือสิ่งที่สำคัญที่สุด มากกว่ากฎระเบียบข้อบังคับต่างๆ จริงอยู่กฎระเบียบข้อบังคับ ได้ออกมาเพื่อให้ทุกคนปลอดภัย แต่ถ้ากฎระเบียบข้อบังคับนั้นไม่ได้สร้างความปลอดภัยเราควรจะยึดถือชีวิตคนหรือยึดถือข้อบังคับกันแน่

การบริหารสถานการณ์วิกฤต ผู้นำต้องเข้าใจเสียก่อนว่าอะไรคือสิ่งที่สำคัญที่สุดในช่วงเวลานั้น และอะไรคืออุปสรรคที่จะทำให้การรักษาสิ่งที่สำคัญที่สุดนั้นผิดพลาดไป ผู้นำจะต้องเรียนรู้ในการสื่อสารด้วยความจริงใจ ด้วยความรวดเร็ว และตรงไปตรงมา เพราะเดี๋ยวนี้ใครๆก็ต้องการข้อมูล โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตัวเขาเอง ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะรู้ว่าตัวเองกำลังต้องเผชิญหน้ากับอะไร

เมื่อเกิดภาวะวิกฤต เป็นการพิสูจน์ได้เป็นอย่างดีว่าผู้นำคนนั้นมีภาวะผู้นำอย่างไร ผลที่เกิดขึ้นจะมีอยู่ 2 ขั้วเสมอไม่ดีก็แย่ไปเลย ดังคำกล่าวที่ว่า วิกฤตการณ์สร้างวีรบุรุษ แต่ขณะเดียวกัน วิกฤตการณ์ก็ทำลายวีรบุรุษไปด้วยเช่นกัน….

ดร.นารา
ที่ปรึกษาและวิทยากรการแก้ปัญหาในองค์กร