วันศุกร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2566

ปั้นคนเก่ง#EP39 สร้างทีมงานให้มีความเป็นผู้ประกอบการ

 EP39 #สร้างทีมงานให้เป็นผู้ประกอบการ


ปัญหาปวดหัวที่สุดของการสร้างทีมงานคือการสร้างความภักดีในองค์กร เป็นที่รู้กันว่า เมื่อพนักงานไม่มีความภักดีต่อองค์กรแล้ว การทำงานก็จะเป็นเหมือนการทำแบบขอไปที ทำงานให้ได้ตามเป้า ไม่สั่งก็ไม่ทำ และที่สำคัญคือ ละเลยต่อปัญหาที่เกิดขึ้น เพราะไม่คิดว่าเป็นสิ่งที่ควรจะเข้าไปยุ่งเดี๋ยวมีงานเพิ่ม ไม่ต้องการมีภาระอีก


ในทางกลับกัน เจ้าของหรือผู้บริหารต่างต้องการพนักงานที่มีการทำงานโดยมีความคิดความรู้สึกเป็นเจ้าของ สามารถทำงานด้วยการพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่อง มีการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ หรือ มีการหวงแหน ประหยัด เอาใจใส่ต่อสิ่งเล็กๆ น้อยๆ เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ในการทำงานมากที่สุด


สิ่งที่เจ้าของอยากได้คิดความเป็นผู้ประกอบการ ความภักดีในองค์กร และการสร้างโอกาสให้กับองค์กร ซึ่งต้องมีกระบวนการใรการสร้างจากทั้ง 2 ฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายเจ้าของธุรกิจ และฝ่ายของทีมงาน ซึ่งทั้ง  2 ฝ่ายแบ่งออกเป็นได้ 3 ส่วนคือ ส่วน Mindset ส่วน Behavior และ ส่วน Policy

ในบทความนี้เรามาดูในฝั่งของเจ้าของก่อนว่าเจ้าของเองนั้นควรต้องทำอะไรบ้างก่อนที่เราจะไปกำหนดให้ทีมงานเปลี่ยนแปลง


เริ่มด้วยฝ่ายของเจ้าของธุรกิจก่อน

ส่วนของ Mindset

*เจ้าของธุรกิจต้องคิดว่า ที่คนเป็นส่วนหนึ่งของความเป็นเจ้าของ ไม่ใช่มีแต่เจ้าของหรือหุ้นส่วนเท่านั้นที่มีความเป็นเจ้าของ ฟังดูอาจจะงง หมายถึงความใจกว้าง และวางใจให้คนอื่นเข้ามาแสดงความเป็นเจ้าของในธุรกิจของเราเองด้วย

*เจ้าของต้องไว้วางใจในการตัดสินใจของทีมงาน แม้ว่าจะไม่ถูกใจก็ตาม นั่นหมายถึง เมื่อได้มอบหมายให้ใครตัดสินใจอะไรไปแล้ว ต้องตัดใจและเชื่อใจในการตัดสินใจของเขา

*เจ้าของต้องเชื่อว่า ทกคนที่พยายามเข้ามาช่วยแก้ปัญหาต่างหวังดีต่อองค์กรทั้งนั้น ให้พวกเขาได้แสดงความหวังดีให้เต็มที่


ส่วนของพฤติกรรม

** เจ้าของต้องทำตัวให้เป็นแบบอย่าง แล้วอธิบายถึงเหตุผลในการกระทำของตัวเอง ไม่ใช้คอยต่อว่าคนอื่นที่ไม่ทำเหมือนตัวเอง

**เจ้าของต้องคอยสอนว่า การกระทำที่ถูกต้องควรจะเป็นอย่างไรและชมเชยเมื่อมีการกระทำที่ถูกต้องเกิดขึ้น

**เจ้าต้องใส่ใจคนเข้าใจถึงรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ในการเป็นอยู่ที่ไม่ก่อให้เกิดความสุข ตั้งแต่สถานที่ ความสะอาด น้ำดื่ม การกินอยู่ รวมไปถึงการแสดงความคิดความเห็นของทีมงาน


ส่วนของนโยบาย

***เจ้าของก็ต้องคิดนโยบายที่สนับสนุนการสร้างความเป็นผู้ประกอบการให้กับบุคคลที่อยู่ในทีมงานปัจจุบัน

***เจ้าของต้องอธิบายให้ได้ว่านโยบายต่างๆ นั้น ดีต่อทีมงานและองค์กรอย่างไร

***นโยบายต่างๆ ที่กำหนดมาต้องช่วยให้องค์กรและพนักงานมีชีวิตที่ดีขึ้น

***เจ้าของต้องไม่ละเมิดนโยบายของตัวเองเสียเอง เพื่อให้เป็นแบบอย่างในการปฏิบัติ


ทั้งหมดนี้คือในส่วนที่เจ้าของต้องเตรียมเอาไว้ก่อนที่จะไปสร้างความเป็นผู้ประกอบการในทีมงานของตัวเอง เรียกว่า เตรียมที่เตรียมทางเอาไว้ เมื่อลงมีอปฏิบัติจะได้ไม่สะดุดหิน สะดุดตอไม้ของตัวเอง


สำหรับการสร้างความเป็นผู้ประกอบการในทีมงานติดตามใน EP หน้า


ดร.นารา

วันเสาร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2566

ปั้นคนเก่ง #EP38 การวางบทบาทของผู้นำ

 EP#38 การวางบทบาทของผู้นำ



ผู้นำเป็นบุคคลที่สำคัญมากที่สุดคนหนึ่งในองค์กร ไม่ว่าจะเป็นองค์กรภาครัฐหรือเอกชน ต่างต้องการผู้นำ หรือคนที่มา ชี้ นำ พา คนในองค์กรให้ขับเคลื่อนไปข้างหน้าตามที่เจ้าของ หรือผู้นำขั้นต่อไปต้องการ สิ่งที่ผู้นำจะได้ตามมาด้วยในการดำเนินการคือ อำนาจ (Authorithy) เป็นอำนาจที่ได้รับมาจากเบื้องบนอีกครั้ง เพื่อให้ใช้สิ่งนี้ขับเคลื่อนองค์กรไปยังจุดที่ต้องการ

สิ่งที่เป็นผลพวงจากการได้อำนาจมาคือบทบาทของผู้ใช้อำนาจ ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้น จะมีอยู่ด้วยกัน 3 บาทบาท โดยผู้นำแต่ละคนนั้น จะใช้บทบาทเหล่านี้สลับกันไปตามแต่จังหว่ะและโอกาส หรือบางครั้ง ใช้หลายบทบาทในเวลาเดียวกัน 

บทบาทการเป็นนักปกครอง (Dominator) เป็นบทบาทที่ผู้นำต้องควบคุมผู้คนต่างๆ ในอยู่ในกรอบกติกา หรือระเบียบที่วางไว้ ถ้าเป็นระดับเมืองหรือประเทศ เรียกว่าเป็นบทบาทของการบังคับใช้กฎหมาย ให้แต่ละคนอยู่ในกรอบของกฎหมาย นโยบาย และคำสั่งต่างๆ เพื่อความสงบและเป็นระเบียบเรียบร้อย


บทบาทการเป็นนักบริหาร (Administrator) เป็นบทบาทของคนที่ออกนโยบายและขับเคลื่อนองค์กรด้วยเครื่องมือต่างๆ การออกกลยุทธ์และยุทธวิธีเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ตามเป้าหมาย รวมถึงการสร้างแนวคิดของเครื่องมือ กลไก และระบบการทำงานต่างๆ ให้สามารถเปลี่ยนแปลงองค์กรได้ นอกจากนั้น ยังมีหน้าที่ในการอำนวยความสะดวก จัดหาและจัดสรรทรัพยากรต่างๆ ภายในองค์กรอย่างเหมาะสมเพื่อให้นำไปสู่การได้มาซึ่งเป้าหมาย หรือวิสัยทัศน์ขององค์กร


บทบาทการเป็นนักการจัดการ (Manager) เป็นบทบาทของคนที่ต้องไปจัดการทรัพยากรต่างๆ ด้วยความรู้ และทักษะที่มี เพื่อให้ทรัพยากรเหล่านั้นถูกใช้งานตามที่ต้องการ รวมถึงการแก้ปัญหาต่างๆ ทั้งปัญหาเฉพาะหน้า และปัญหาเชิงระบบ เพื่อให้การทำงานเกิดประสิทธิภาพ และมีผลลัพธ์ตามที่ได้รับมอบหมายมาให้มากที่สุด 

คำถามที่ผู้นำต้องถามตัวเองว่า ณ เวลานี้ ต้องใช้บทบาทไหนบ้าง?

ในกรณีของการรักษาความสงบ (ที่ไม่ได้เป็นการสร้างการเปลี่ยนแปลงและเคลื่อนไหว) ต้องใช้เรื่องของการปกครองเป็นเรื่องหลัก ในอดีตการที่แต่ละอาณาจักรพยายามขยายอำนาจและขอบเขตของตน จึงเน้นการใช้การปกครงเพื่อให้เมืองขึ้นหรืออาณานิคมต่างๆ อยู่ในความสงบตามที่ตนต้องการ

ในกรณีที่ต้องการสร้างการเปลี่ยนเปลง ไม่ว่าจะเร็วหรือช้า ต้องเน้นเรื่องการบริหาร การกำหนดวิสัยทัศน์ที่มีความชัดเจน วัดผลได้ จับต้องได้ และทุกคนในองค์กรเข้าใจได้เป็นภาพเดียวกัน ซึ่งต้องอาศัยเครื่องมือ กลไก และกลยุทธ์อย่างแยบยล ครบ้วน รอบด้าน รวมทั้งมีการวางแนวทางการป้องกันคึวามเสี่ยงด้านต่างๆ เอาไว้อย่างครบถ้วน

ในกรณีที่ต้องมีการปฏิบัติในวิธีการใหม่ๆ หรือรับมือกับการเปลี่ยนแปลง ต้องการผู้นำที่เป็นนักจัดการ เนื่องจากการใช้ทรัพยากรต่างๆ มีอย่างจำกัด ต้องเป้นแก้ปัญหาแต่ละเรื่องอย่างรวดเร็วและถูกต้อง รวมถึงป้องกันผลกระทบทางลับที่จะเกิดขึ้นอีกในอนาคตที่จะตามมา


คนที่เก่ง ต้องรู้ว่าตัวเองต้องเล่นบทบาทไหนในเวลาใด รู้ภาพการขับเคลื่อนองค์กรในภาพใหญ่ และเห็นรายละเอียดในหารทำงานอยู่ตลอดเวลา และสลับบทบาทของตัวเองได้อย่างแยบยลให้เกิดการยอมรับในวงกว้าง จากที่เล่ามาฟังดูยาก แต่ทำได้ ด้วยเครื่องมือที่สำคัญคือ สติแห่งการรับรู้


ดร.นารา

วันพุธที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2566

ความท้าทายของธุรกิจในปี 2023-2030



หลังจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ในช่วงเวลาปี 2020-2022 ที่แต่ประประเทศต้องปิดประเทศและต่างคนต่างเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานในรูปแบบใหม่ อาจจะพูดอีกย่างก็ได้ว่า COVID-19 เป็นเครื่องเร่งปฏิกริยาในการที่ทำให้โลกเข้าสู่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม 4.0 ได้เร็วขึ้น


สิ่งที่เกิดขึ้นคือ หลายบริษัทต้องปรับตัวไปใช้เทคโนโยลีเพื่อช่วยในการทำงานซึ่งเป็นประเด็นที่ทำให้ธุรกิจหลายธุรกิจต้องหยุดกิจการ เนื่องจากไม่สามารถปรับตัวได้ให้เข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป หรือเรียกว่า Disruption


นอกจากนั้นยังมีอีก 1 ปรากฏการณ์ทางธุรกิจที่เกิดขึ้นคือ การเปลี่ยนถ่ายรุ่นของเข้าของธุรกิจ ในปี 2023 เป็นช่วงที่คนรุ่น Baby Boomer มีอายุน้อยที่สุดคือ 59 ปี (คนที่เกิดอยู่ระหว่าง 1946-1964) หรือตั้งแต่ยุคสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ถึงปี 1964 นั้นหมายความว่า คนรุ่นนี้จะเป็นช่วงเข้าสู่วัยเกษียณอย่างเต็มรูปแบบ


จากแรงกดดันของ COVID-19 และ การเกษียณของ Baby Boomer จึงทำให้ธุรกิจจำนวนมากที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป เกิดการเปลี่ยนแปลงผู้บริหาร จาก Baby Boomer สู่ Gen X และ Gen Y ซึ่งระบบการคิดของแต่ละรุ่น แต่ละยุคก็มีพื้นฐาน ความเชื่อที่แตกต่างกันไป 


 Gen X (คนที่เกิดปี 1965-1979) เป็นวัยที่คาบเกี่ยวระหว่างอะนาล็อค และดิจิตัล เป็นคนที่เกิดมากับ อะนาล็อค แต่ กลุ่มแรกที่ได้เรียนรู้กับดิจิตัล เป็นคนที่เกิดมาพร้อมกับการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 3 เป็นผู้ที่ได้รับอิทธิพลของ Baby Boomer  แต่ มีแนวคิดที่เปลี่ยนแปลงจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี คนกลุ่มนี้ ทำงานหนัก สร้างความมั่งคั่ง และพร้อมะเรียนรู้ มีความคิดว่า การทำงานหนักจะทำให้ชีวิตประสบความสำเร็จ


Gen Y (คนที่เกิดปี 1980-1990) เป็นวัยที่เกิดมาพร้อมกับกลิ่นอายของความเป็นดิจิตัล ชอบการเรียนรู้ ไม่อยากผูกมัด เชื่อมั่นในเทคโนโลยี และพยายามทำทุกอย่างให้ง่าย คนกลุ่มนี้ เกิดมาพร้อมกับการเรียนรู้ของโลก การตื่นเต้นกับการเติบโตของเทคโนโลยี การเปิดโลกเสรีในการใช้ชีวิต เชื่อว่า การทำงานหนักเป็นเรื่องที่ดี แต่ไม่ต้องทำงานหนักตลอดไป ต้องการประสบความสำเร็จในชีวิต มีแรงบันดาลใจ


ในความแตกต่างที่เกิดขึ้น เข้ามาสู่การถ่ายโอนอไนาจของธุรกิจ พบว่า มีหลายธุรกิจอยู่ในช่วงการการแปลงร่าง (Transformation) ซึ่ง ผลที่ตามมาหลายๆ เรื่องเช่น การเปลี่ยนแปลงของระเบียบการทำงาน การเปลี่ยนจากธุรกิจครอบครัวไปเป็นธุรกิจแบบ Corporate หรือบางธุรกิจ ต้องการเปลี่ยนแปลงไปสู่การเติบโตแบบก้าวกระโดด ซึ่ง Gen X และ Gen Y หลายๆ คน ได้รับรู้มาจากองค์ความรู้ที่เรียนกันในหมาวิทยาลัย หรือ แหล่งความรู้ต่างๆ 


แน่นอนว่าผลที่เกิดขึ้นคือ การเกิด Culture Shock และ การต้องสร้างระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการใหม่ทั้งหมด ถือว่าเป็นควาท้ทาทาายเป็นอย่างมากที่ต้องให้คนที่ทำงานเดิมเปลี่ยนวิธีการคิด ความเชื่อ และวิธีการทำงานตามผู้บริหารรุ่นใหม่ การออกแบบกลยุทธ์ในการเปลี่ยนแผนจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ และแน่นอนว่า ต้องมีแรงเสียดทานจากคนเดิมที่อยู่เป็นอย่างมาก


ผู้บริหารที่เก่ง จะต้องเก่งในเรื่องการวางระบบ การสื่อสาร การวัดผล การพัฒนาคน และการแสดงออกในความเป็นผู้นำ เพื่อให้การเปลี่ยนผ่านจากรุ่นสู่รุ่น เป็นไปตามเป้าหมาย ภายใต้การสูญเสียที่น้อยที่สุด หรือหาผู้ที่เป็นมืออาชีพ มาช่วย ทั้งช่วยในการให้ความเห็น หรือ หาคนที่มาช่วยในการส่งผ่านให้ ซึ่ง การที่หาบุคคลภายนอก จากมีข้อดีตรงที่ มีคนที่มีประสบการณ์มาช่วย และคนนั้น ยังเป็นคนที่รับแรงเสียดทานแทนเอาคนภายในทั้งหมดมาดำเนินการเอง แน่นอนว่า ยังไงก็มีข้อเสีย ทั้งเรื่องความเข้าใจภายในของธุรกิจ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น และการสร้างความคุ้นเคยกับบุคลากรทั้งหมด


ทั้งหมดนี้ เจ้าของ ต้องเลือกว่า จะส่งผ่านไปสู่รุ่นใหม่อย่างไร


ดร.นารา