วันเสาร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2566

ปั้นคนเก่ง #EP41 ผู้นำแบบอำนาจและผู้นำแบบบารมี

 ปั้นคนเก่ง #EP41 ผู้นำแบบอำนาจและผู้นำแบบบารมี



ว่ากันด้วยผู้นำ เป็นประเโ้นที่กำลังกล่าวถึงมากในตอนนี้ แต่จริงๆ แล้วก็กล่าวถึงมานานแล้วด้วย เพราะการที่โครงสร้างทางสังคม ทางธุรกิจของเรามีความซับซ้อนเพิ่มสูงขึ้น คนรับรู้ข้อมูลต่างๆ ได้มากขึ้น และง่ายขึ้น สถานการณ์ต่างๆ เปลี่ยนแปลงไปมากขึ้น องค์กรก็มีความคาดหวังต่อพนักงานให้สร้างผลงานและคุณค่าให้กับองค์กรมากขึ้น ตามการพัฒนาทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยี

ดูจะเป็นสิ่งที่ย้อนแย้งกันอยู่เอาเรื่องทีเดียว แน่นอนว่าจะต้องมีคนมาเชื่อมโยง และจูงใจให้ทุกคนร่วมกันเป็นหนึ่งแล้วให้ทำงานจนสามารถบรรลุเป้าหมายได้ คนนั้นใครๆ ก็รู้จักกันเรียกว่า ผู้นำ แต่ผู้นำที่จะมีความสามารถในการจูงใจ ทำให้คนเชื่อถือ และยอมทำตามได้ เรียกว่า ภาวะผู้นำ 

คำถามหลักๆ คือว่า แล้วภาวะผู้นำสร้างขึ้นมาอย่างไร สิ่งนี้ไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ต่างๆ  แต่อย่างน้อย ก็เป็นส่วนผสมของปัจจัย 2 อย่าง นั่นคือ อำนาจ และบารมี


ผู้นำแบบอำนาจ หมายถึง คนที่ใช้อำนาจที่ตัวเองได้รับ หรือ Authority ตัวอย่างเช่น อำนาจในการอุมัติวงเงิน อำนาจในการประเมิน ซึ่งอำนาจพวกนี้ ไม่ได้เป็นอำนาจที่สร้างขึ้นมาเอง เพียงแต่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจแทนเจ้าของธุริจ หรือเจ้าของอำนาจที่แท้จริง บางครั้งอำนาจอาจจะมาอยู่ในรูปของความรุนแรง ไม่ว่าจะเป็นความรุนแรงทางร่างกาย เช่นการลงไม้ลงมือ ความรุนแรงทางวาจา เช่นการด่า ตะคอก หรือให้เสียดสี บูลลี่ รวมถึงความรุนแรงทางด้านจิตใจ เช่น การให้ในสิ่งที่ไม่ชอบหรือกลัว ทำให้รู้สึกแย่ ว้าเหว่ หดหู่ รวมถึงการใช้กฎระเบียบหรือกฎหมายมาบังคับ

ผู้นำแบบอำนาจ จะใช้ความกลัวเป็นตัวตั้ง ทำให้คนอื่นกลัวว่าจะได้รับผลไม่ดี ถ้าไม่ทำตาม ผู้คนจะทำตามเรื่อยๆ จนวันหนึ่งเกิดเสื่อมอำนาจ ใช้แล้วคนไม่กลัว ภาวะผู้นำก็จะลดลงไปเรื่อยๆ สั่งอะไรก็ไม่มีใครทำตาม ก็ถึงจุดอันตรายของผู้นำคนนั้น

แบบที่ 2 ผู้นำแบบบารมี

การสร้างบารมีเป็นการสร้างคุณงามความดี การสร้างประโยชน์ให้กับคนอื่นเรื่อยๆ ต้องอาศัยการสะสมความรู้สึกและภาพจำ จนคนทั่วไปรู้สึกเกรงใจ การสร้างบารมีเริ่มต้นด้วยการช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ให้กับคนรอบข้าง การให้ความรู้ การให้การช่วยเหลือ การให้เงินหรือทรัพยากร การให้กำลังใจ การให้ความเข้าใจ การให้การยอมรับ และอีกมากมายที่ทำให้คนมีกำลังใจ มีความสุข 

ผู้นำแบบบารมีจำเป็นต้องใช้เวลา ไม่เห็นผลในทันที ต้องรอการพิสูจน์ว่าดีจริงหรือไม่ แต่เมื่อใดที่ได้ระดับของบารมีที่สะสมแล้ว คนจะเกรงใจ มากกว่าเกรงกลัว เป็นคนที่มีอำนาจอย่างประหลาด แค่พูดเบาๆ คนก็ทำตาม เป็นลักษณะ Soft Power 

เมื่อเราเปรียบเทียบการสร้างภาวะผู้นำก็เหมือนกับเงินออม จะช่วยทำให้เราเข้าใจภาพได้ง่ายขึ้น

ผู้นำแบบบารมี เป็นเหมือนการสะสมเงินเอาไว้ เก็บเอาไว้เยอะๆ คนที่มีเงิน ก็จะมีดูมีบารมีทันที

ผู้นำแบบอำนาจเหมือนกับการถอนเงินออกมาใช้ ทุกครั้งที่ใช้ เท่ากับการเอาบารมีเก่าออกมา ใช้มากเกินไป เงินหมด จนพอดี

ในการเก็บเงิน เราก็บอย่างเดียวมากเกินไป ไม่ใช้เงินเลย เค้าเรียกว่าคนตระหรี่ ขี้เหนียว งก ไม่มีใครอยากคบ ซึ่งคนที่ใช้บารมีมากๆ จะดูเป็นผู้นำที่อ่อนแอ ไม่กว่าตัดสินใจให้โทษใคร มีแต่สร้างคุณ ผู้นำแบบนี้ จะดีในกรณีที่องค์กรอยู่ในสภาวะปกติ แต่จะไม่ดีกับองค์กรที่เกิดสภาวะผิดปกติ

สำหรับคนที่มีเงินมากแล้วได้ใช้ไปบ้างเพื่อให้เกิดประโยชน์ จะยิ่งเป็นการเสริมบารมีให้ดูดีขึ้น เหมือนกับคนที่รู้ว่า เวลาไหนที่ต้องสร้างคุณประโยชน์ให้กับคนอื่น และเวลาไหนที่ต้องตัดสินใจ ใช้ความเด็ดขาดและอำนาจให้กับปัญหาที่เกิดขึ้น จากนั้นก็รีบสร้างบารมีมาชดเชยกับการใช้อำนาจไป แบบนี้จะเรียกว่าเป็นสุดยอดของผู้นำ

ทั้งหมดนี้จึงเป็นศิลปะ ในการเป็นผู้นำ รู้ว่าเวลาไหนต้องใช้อำนาจ หรือ บารมี ไม่มีสูตรตายตัว มีแต่การใช้สติ และปัญญาเท่านั้น ที่ผู้นำต้องเรียนรู้และวิเคราะห์ว่า แต่ละวันจะใช้อะไรเท่าไหร่ และอย่างไร


ดร.นารา

วันพฤหัสบดีที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2566

ปั้นคนเก่ง #EP40 สร้างทีมงานให้มีความเป็นผู้ประกอบการ (ภาคต่อ)

ปั้นคนเก่ง EP40 #สร้างทีมงานให้มีความเป็นผู้ประกอบการ (ภาคต่อ)



หลังจากภาคที่แล้วได้อธิบายถึงการสร้างความเป็นผู้ประกอบการให้กับทีมงานในส่วนของเจ้าของแล้ว

กลับไปอ่านได้ที่นี่

https://nara-economist.blogspot.com/2023/03/ep39.html

ตอนนี้มาว่ากันถึงในส่วนที่เป็นพนักงานบ้าง เพราะเมื่อเจ้าของได้ไว้วางใจทีมงานไปแล้ว ทางพนักงานก็ต้องไว้วางใจเจ้าของด้วยเช่นกัน ถึงจะทำให้องค์กรมีความเป็นผู้ประกอบการขึ้นมาได้ทั้งหมด

มีคำถามบ่อยมากว่า ทำอย่างไรให้พนักงานรักองค์กร และทำงานเพื่อองค์กร พนักงานก็จะถามกลับมาทันทีว่า องค์กรทำอะไรให้เรารัก และเราจะรักไปทำไม  ถ้าเป็นแบบนี้ไม่มีทางที่จะเกิดความเป็นผู้ประกอบการได้เลย

ในตอนนี้เรามาคุยกันในส่วนของพนักงานล้วนๆ กันว่า พนักงานมีความเป็นผู้ประกอบการแล้วจะได้อะไรทำอย่างไรถึงจะมีความเป็นผู้ประกอบการได้อย่างเต็มที่

อย่างแรกคือความคิด (Mindset)

การที่คนเราคิดว่า เรามาทำงานให้ได้ตามเงินเดือนหรือเวลาที่กำหนด เริ่มต้นแบบนี้ก็ผิดแล้วนั่นหมายความว่าเรากำลังเอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง มองแต่ในมุมของตัวเองก่อนมุมขององค์กร ดังนั้น คนที่จะเป็นผู้ประกอบการต้องทำตัวเองแบบนี้

1. ความเป็นผู้ประกอบการเริ่มต้นด้วยเป้าหมาย ไม่ใช่เวลา คนที่คิดว่าเป้าหมายเป็นเรื่องสำคัญ มีความพยายามทุกอย่างเพื่อให้ได้เป้าหมาย และรู้ว่าเป้าหมายนั้น มีความสำคัญอะไรกับตัวเอง ถ้าไม่รู้วหน้าก็ควรช่วยให้รู้หน่อย

2. เมื่อรู้เป้าหมาย ก็มีความในการพัฒนาด้วยวิธีการใหม่ๆ ให้ได้ตามเป้าหมาย เป็นนักนัวตกรรม ในการเป็นนวัตกรรมในที่นี้ ไม่จำเป็นต้องการคิดสิ่งประดิษฐ์ แต่ขอแค่เป็นคนที่คิดวิธีการใหม่ๆ ไม่ยอมจำนนต่อสถานการณ์ที่เป็นอยู่

3. เป็นคนที่ไม่คิดยึดติดกับความล้มเหลว แน่นอนหล่ะ คนที่ยึดติดกับความล้มเหลว จะไม่ยอมเดินต่อไปข้างหน้า แต่ผู้ประกอบการกลับมาว่า ความล้มเหลวคือบทเรียนที่มีค่า และเรียนรู้ว่าครั้งหน้าจะทำอะไรไม่ให้พลาดไปอีก

4. เป็นคนที่คิดบวก รู้จักเห็นประโยชน์ที่เกิดขึ้นในสถานการณืต่างๆ ไม่บ่น ไม่ว่า ไม่โทษคนอื่น แต่กลับมองเห็นความสวยงามของการทำงาน ความล้มเหลว และเรื่องเลวร้ายต่างๆ ที่เกิดขึ้น บนพื้นฐานของความเป็นจริง

อย่างที่สองคือการกระทำ (Action)

1. คนทำงานอย่างเป็นระบบ ต้องมีเหตุผล เป็นขั้นเป็นตอย มีความรอบคอบ และครบถ้วน เพื่อให้สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นตอบสนองต่อเป้าหมาย อันนี้ต้องฝึก และใช้บ่อยๆ เรียกว่า เวลาได้รับงานอะไรมา ให้คิดเพิ่มเติมว่าเราต้องทำอะไรอีกให้สมบูรณ์ ทำอะไรก่อนหลัง และลงมือปฎิบัติตามนั้น

2. ลงมือด้วยภาวะผู้นำ หรือรู้ว่าต้องทำอย่างไรคนอื่นเค้าถึงจะทำตามที่เราอยากได้ รวมถึงต้องหยุดทำอะไรเพื่อให้คนอื่นเชื่อถือเราด้วย การเป็นคนที่มีภาวะผู้นำ จะสามารถสร้างได้จาก 2 ส่วนคือ ส่วนส่วนที่เป็นการสร้างบารมีให้กับคนอื่น เป็นการช่วยเหลือ และอำนวยประโยชน์กับคนอื่น ส่วนที่เป็นอำนาจ คือการบังคับใช้ ด้วยกำลัง ข้อบังคับ หรืออะไรก็แล้วแต่ให้คนอื่นทำตาม

3. รู้จักการปิดความเสี่ยงและกล้าที่จะเสี่ยง คนที่เป็นผู้ประกอบการมีความกล้า กล้าในการดำเนินการตามความคิดของตัวเองในการทำอะไรใหม่ๆ แต่ก็รู้วิธีการจัดการความเสี่ยงนั้นให้ได้รับผลลัพธ์ที่ต้องการด้วยเช่นกัน ไม่ใช่เสี่ยงแบบลุยเข้าไป เรียกอรีกอย่างว่าเป็นคนที่มีแผนสำรอง ในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ที่ไม่อยากได้

4. รู้จักหยิบจับสิ่งรอบตัวมาให้เกิดประโยชน์ รู้ว่าอะไรทำอะไรได้บ้าง รู้จักขอ รู้จักใช้ สิ่งเหล่านี้จะทำให้เกิดการประสมประสานงานต่างๆ เข้าด้วยกันเป็นงานใหม่ขึ้นมา ซึ่งต้องอาศัยความรู้ ความสามารถ และความเชี่ยวชาฐในอาชีพของตนเอง เพื่อให้ได้รับผลลัพธ์ที่ดีที่สุด


จากทั้ง 2 ส่วน คนที่ฝึกบ่อยๆ จะมีความเป็นผู้ประกอบการที่เพิ่มขึ้น คนเหล่านี้ ก็จะกลายเป็นที่ต้องการขององค์กร และเมื่อพัฒนาต่อไปจะกลายเป็นคนที่มีความเป็นเจ้าของ (Ownership) มากขึ้น แม้ว่าคนคนนั้นจะไม่ใช่เจ้าของจริง แต่คนเหล่านั้นจะเป็นคนที่กายเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่ากับองค์กร

สิ่งเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้นเลย ถ้าพนักงานยังถามว่า เราทำแล้วองค์กรจะให้อะไรกับเรา ปัญหานี้จริงๆ ไม่ใช่ปัญหาของพนักงาน แต่เป็นปัญหาขององค์กรที่จะรักษาคนเหล่านี้ไว้ได้อย่างไร

คนเก่ง จะเริ่มต้นจากการเป็นผู้ประกอบการ


ดร.นารา