วันพุธที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2566

สิทธิ เสรีภาพ และความรับผิดชอบ

 


การบริหารคนในองค์กร หรือการบริหารคนในสังคม ต้องมีสิ่งหนึ่งที่อยู่ควบคู่กันคือการใช้กฎ ระเบียบ ข้อตกลงเป็นการควบคุมพฤติกรรมการอยู่ร่วมกันให้สามารถอยู่ร่วมกันได้ ซึ่งแน่นอนว่า กฎ ระเบียบ ข้อบังคับจะเป็นการลดทอนเสรีภาพบางอย่างของมนุษย์ไปด้วย แต่ถึงกระนั้น กฎก็ยังจำเป็นในการอยู่ร่วมกันของมนุษย์อยู่ดี เพียงแต่ว่า ในแต่ละชุมชน สังคม หรืประเทศจะยอมรับกฎระเบียบต่างๆ ไว้ได้อย่างไร

ผู้บริหารที่ชาญฉลาดต้องทำเข้าใจกับเรื่องนี้ เพื่อให้สามารถควบคุมชุมชนให้อยู่ในพฤติกรรมที่เหมาะสม เหมาะสมกับการพัฒนาองค์กร เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจ ความเป็นอยู่ ของแต่ละชุมชนนั้นๆ ซึ่งปัจจัยพื้นฐานของคงอยู่ของชุมชน สังคมคือ สิทธื เสรีภาพ และความรับผิดชอบ

สิทธิ หมายถึง การได้มีอำนาจของคนเหนือในบางสิ่งบางอย่าง หรือ การที่บุคคลควรได้รับอะไรบางอย่างที่เป็นสิ่งที่บุคคลนั้นสามารถตัดสินใจเองได้ เช่น สิทธืการมีชีวิต หมายถึง บุคคลมีอำนาจเหนือตนเองในการเลือกมีชีวิต เลือกการใช้ชีวิต คนอื่นไม่ควรมาตัดสิดสินในการยติการมีชีวิตได้ สิทธิในแสดงความคิด้ห็น หมายถึง บุคคลย่อมมีอำนาจต่อเหนือความคิดของตนเอง และสามารถนำเสนอออกมาให้คนอื่นได้รับรู้ได้ว่า ตนเองนั้นคิดอย่างไร การที่บุคคลมีสิทธิมากขึ้น นั่นแสดงว่าบุคคลย่อมมีอำนาจมากขึ้นตามไปก้วย จึงไม่ต้องแปลกใจว่า สังคมปัจจุบัน มีความพยายามเรียกร้องสิทธิมากขึ้น ไม่ว่าจะเป้นสิทธิในการแสดงออกทางการเมือง สิทธิในการเติบโตทางการอาชีพของสตรี สิทธิในการปกป้องความปลอดภัยของตัวเอง ซึ่งขริงๆ แล้วก็เป็นเรื่องที่ถูกต้องด้วยที่คนหรือบุคคลจะได้รับสิทธิเหล่านั้น แต่การที่มีสิทธิมากการเกินไป ก็ใช่ว่เป็นเรื่องที่ดีเสมอไป และการที่มีสิทธิมากๆ เท่ากับมีเสรีภาพมากขึ้นตามไปด้วย

เสรีภาพ หมายถึง พื้นที่ปลอดภัยของตนเองและผู้พื้นที่เราสามารถใช้สิทธิในการแสดงออกได้อย่างเต็มที่ คำว่าพื้นที่ปลอดภัยหมายความว่า เสรีภาพที่แท้จริงไม่ได้หมายความว่าจะทำอะไรก็ได้ในโลกนี้ แต่หมายถึงทำอะไรก็ได้ที่ไม่กระทบต่อเสรีภาพของคนอื่น นั่นหมายความว่า คนเราจะสามารถใช้เสารีภาพได้อย่างเต็มที่ ก็ต่อเมื่อเราเข้าใจสิทธิของคนอื่น และของตนเองอย่างเต็มที่เช่นกัน และข้อมที่สำคัญคือ เราต้องเข้าใจสิทธิของคนอื่นก่อน เพื่อให้รู้ว่าพื้นที่ไหน เป็นพื้นที่ห้ามไปล่วงละเลิดคนอื่น เช่น การที่เราไปพูดพาดพิงในการแสดงออกทางความความคิดเห็นนั้น จะต้องไม่ทำให้ใครเดือดร้อน ไม่ทำให้คนอื่นสูญเสียอำนาจและเสรีภาพ หรือการที่ดราจะไปจอดรถในพื้นที่ส่วนกลาง ก็ต้องรู้ว่า การจอดรถนั้น ไม่ได้ทำให้ใครเดือดร้อน เพราะพื้นที่ส่วนกลางหมายถึง เป็นพื้นที่ทุกคนเป็นเจ้าของ ไม่ได้หมายความว่าเราจะทำอะไรก็ได้กับพื้นที่ส่วนกลาง เพราะพื้นที่ส่วนกลางมีไว้เพื่อให้ทุกคนได้รับประโยชน์จากพื้นที่ส่วนนั้น เมื่อเราเข้าใจสิทธิของคนอื่น จึงมาทำความเข้าใจสิทธิของคนเอง ว่าเราทำได้มากน้อยแค่ไหน

 หากเราเปรียบเทียบเสรีภาพได้กับร่างกายของเรา เสรีภาพเหมือนกับขอบเขตที่เราทำอะไรก็ได้ตามสิทธิ์ ภายใต้แขนที่เรากางออกไปถึงเท่านั้น ไกลกว่าแขนของเราก็ไม่ใช่เสรีภาพของเรา แต่เมื่อแขนของเราไปสัมผัสกับใครหรืออะไรเข้าเราต้องหดมือเข้ามา นั่นมหมายความว่า เสรีภาพของเราก็มีพื้นที่จำกัดด้ยเช่นกัน!!!

ความรับผิดชอบ เป็นราคาของสิทธิและเสรีภาพ ความรับผิดชอบเป็นการตอบสนองต่อการการทำของตนเอง ต่อหน้าที่ของตนเอง และต่อบุคคลรอบข้างที่รับผลกระทบของตนเอง ความรับผิดชอบ แบ่งออกได้เป็นสองส่วนคือ ความรับผิด และความรับชอบ ความรับผิดหมายถึง รับผลที่เกิดขึ้นจากการทำผิด หรือ การยอมรับผลกระทบที่เกิดขึ้ยจากการใช้สิทธิและเสรีภาพของเรา รวมไปถึงเราต้องไปจัดการผลกระทบด้วยตัวเอง ส่วนการรับชอบคือ การรับผลดีทางบวก และใช้ให้เกิดประโยชน์่อไปในอนาคต ความรับผิดชอบเป็นเรื่องที่สำคัญในการใช้สิทธิเสรภาพของคน

ในมุมของการบริหารคน ผู้บริหารต้องเรียนรู้ศิลปัการให้เสรีภาพที่เมหาะสม เพราะการให้มากเกินไป ก็จะเกิดฌอกาสการกระทำที่ไม่มีความรับผิดชอบ มีแต่จะเอาเสรีภาพเท่านั้น แต่ถ้าให้น้อยไป ก็จะเนการกดดัน และทำให้เกิดความเครียดหรือบางครั้งเรียกว่า การกดขี่ในสังคม ความพอดีของแต่ละแห่งก็จะแตกต่างกันไป ผู้นำ ผู้บริหาร ต้องเรียนรู้การออกแบบเสรีภาพแบบที่เหตุผล ที่สมาชิกของสังคมได้เข้าใจว่า การสละเสรีภาพของต้นเองไปนั้น จเปิดประโยชน์อะไรกลับมาเป็นการตอบแทน

ดร.นารา 


วันพุธที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2566

ทฤษฎีสมคบคิด มายาคติ และตรรกะเพี้ยน

  ในยุคของการสื่อสารที่มันง่าย ง่ายจนข้อมูลสามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารทางตรงจากการที่ผู้คนมาเจอหน้ากัน การสื่อสารผ่านสื่อ ที่ทุกคนกลายเป็นผู้สื่อข่ายได้โดยง่ายผ่านสังคมออนไลน์ การสื่อสารด้วยเครื่องมือสมัยใหม่ที่เรียกว่า AI ทำให้ปริมาณข้อมูลที่ส่งหากันเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดในทุกปี 

จากข้อมูลของ กสทช ณ เดือน 12 ปี 2022 มีขนาดการใช้ข้อมูล (Bandwith) ภายในประเทศ 13,623.805 Gbps และต่างประเทศ 21,519.252 Gbps ในขณะที่ เดือน 12 ปี 2021 มีขนาดการใช้ข้อมูล (Bandwith) ภายในประเทศ 10,334.655  Gbps และต่างประเทศ 17,910.334 Gbps เพิ่มขึ้นมา 24.42% และอัตราการเพิ่มขึ้นแบบนี้ คงที่ตลอดทุกปี ส่วนหนึ่งมาจากเทคโนโลยีการสื่อสารที่สามารถส่งข้อมูลภาพและเสียงที่มีความละเอียดเพิ่มมากขึ้นได้ ส่วนหนึ่งก็มาจากทุกคนการเป็น Content Creator เอง และอีกส่วนหนึ่งก็เกิดจากเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องจักรเป็น Content Creator ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ควรจะเป็นในโลกของการปฏิวัติอุตสาหกรรม 4.0 

ประเด็นสำคัญมันอยู่ที่ว่า ข้อมูลที่เราได้รับ ส่งออก และส่งต่อนั้น เป็นข้อมูลที่มีความจริงมากน้อยแค่ไหนจึงอยากชวนมาทำความเข้าใจกับความจริงที่เกิดขึ้นกับข้อมูลนั้นเสียก่อน

ข้อมูลประเภทแรก เรียกว่า ข้อมูลแบบทฤษฎีสมคบคิด (conspiracy theory) เป็นการอธิบายเหตุการณ์ใดๆ โดยการนำเหตุการณ์ต่างๆ มาประติดประต่อกัน เพื่อให้คนที่รับรู้เหิดความเชื่อ บางครั้งเชื่อเป็นตุเป็นตะกันไปใหญ่ และหลังผลบางอย่าง โดยเฉพาะหวังผลทางการเมือง เช่น ทฤษฎีโลกแตก ปี 2000 นำเหตการณ์ของโลกไปเชื่อมโยงกับคำภีร์ไบเบิ้ล หรือ ทฤษฎีอิลูมิเนติ ว่าคนกลุ่มหนึ่งในโลกต้องการสร้างโลกใหม่ในอุดมคติ แล้วไปเชื่อมกับตราสัญลักษณ์ต่างๆ ในประเทศไทยก็เกิดขึ้นมาเยอะ เช่นนักการเมืองคนนั้น คนนี้มีการดิลลับกับคนนี้ มีการชักใยอะไรอยู่เบื้องหลัง มีสัญลักษณ์นู่นี่น้่นออกมา เป็นการประกาศให้พวกพ้องให้เค้ารู้กัน แต่ถ้าเป็นอย่างนั้นจริง เค้าประชุมออนไลน์กันตรงๆ ไม่ง่ายกว่าเหรอ ทำไมต้องมาแอบทำออกสื่อด้วย สมัยนี้ เครื่องมือง่ายกว่าเยอะเลย

ข้อมูลประเภทที่ 2 มายาคติ เป็นการเชื่อมโยงความชอบกับความไม่ชอบของตัวเอง และไปสรุปร่วมกับสิ่งที่อยากได้ เช่น ยาสีฟันต้องมีฟอง ไม่อย่างงั้นสีฟันไม่สะอาด อากาศที่ปลิดภัยต้องมีกลิ่นที่สดชื่น คนจะรวยได้ต้องมีเงินติดกระเป๋าเอาไว้ตลอด ซึ่งยังรวมไปถึงความเชื่อบางอย่าง ที่คิดยังไงก็งง เช่น ใช้เบอร์โทรศัพท์นี้และจะโชคดี (สมัยก่อนไม่มีโทรศัพท์ก็มีคนโชคดี) หรือที่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นทถกวันคือ การมีอิสระภาพ เท่ากับการทำอะไรก็ได้ และผู้คนก็เชื่อโดยไม่ลังเล เพราะสิ่งที่ได้รับมาตรงต่อความต้องการของตัวเองพอดี อยากสะอาด อยากรวย พอมีคนบอกว่าทำอะไรแล้วจะรวย ตรงกับจริตพอดี เลยเชื่อเลย หรือตอนช่วงโควิดระบาด ให้กินสมุนไพรบางชนิด แล้วจะป้องกันโควิดได้ กกินกันใหญ่ เพราะไม่อยากติดโควิด

ข้อมูลประเภทที่ 3 ข้อมูลที่เกิดจากตรรกะ แต่ต้องระวังอีก เพราะการคิดเชิงตรรกะเป็นการคิดเชิงเป็นเหตุและเป็นผล แต่ไม่ได้หมายความว่า มีเหตุ และมีผลจะกลายเป็นตรรกะ จริงๆ แล้วไม่ใช่เลย ตรรกะเป็นการคิดแบบมีเหตุ และมีหลักการที่ดี หรือการการทางวิชาการมารอบรับ และนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ต้องการ ดังนั้น การคิดแบบตรรกะ ที่ปราศจากหลักการ หลักฐานที่สามารถพิสูจน์ได้ ก็จะกลับไปสู่การคิดมามายาคติทั้งนั้น เป็นเรื่องที่ต้องระวัง และในบรรดาเนื้อหา (Content) ทีสร้างกันขึ้นมาจำนวนมาทั้งในวันนี้หรืช่วงเวลาที่ผ่านมา ก็มีจำนวนมากที่เป็นการคิดแบบตรรกะ แต่ไม่มีหลักการและหลักฐานมาประกอบ ไม่ได้ดูภาพรวมในบริบทนั้น กลายเป็นคำพูดที่ล้อกันว่า ตรรกะป่วย

การป้องกันไม่ให้เกิดข้อมูลที่ผิดเพี้ยนในโลกของข้อมูลที่หลั่งไหลลงมา คือการใช้ 3 หลัก ในการช่วยให้เกิดการกลั่นกรองเรื่องราวต่างๆ ก่อนเชื่อ และก่อนสร้างเนื้อหาที่ผิดเพี้ยน โดยเฉพาะที่เป็นข่าวปลอม หรือ Fake News 

หลักคิด เป็นหลักตัวแรก เพื่อระบุว่า เรากำลังคิดเรื่องอะไร ทำไมเราถึงคิดเรื่องนี้ เราต้องการอะไรจากการคิดเรื่องนี้ มีความชัดเจนแม้กระทั่งระบบการคิด เป็นเหตุ ของการคิดและความเชื่อทั้งหมด

หลักการ เป็นหลักที่ 2 ในการคิด หมายถึง เป็นการระบุว่า ในเหตุที่เราต้องการนั้น เราสามารถใช้แนวคิด ทฤษฎี ปรัชญา อะไรมาอธิบาย ยิ่งแนวคดทฤษฎีนั้น มีความเป็นสากล มีความเป็นกลางได้มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งติดอคติ มายาคติ หรือ การสมคบคิดออกได้ได้มากเท่านั้น ปัญหาคือ คนจำวนมากไม่รู้ว่า จะเอาหลักอะไรมาเป็นตัวคิด ตรงนี้จึงต้องมีการเรียนหนังสือ สอนให้คิด แทนการสั่งให้ปฏิบัติเพียงอย่างเดียว

หลักเกณฑ์ เป็นหลักที่ 3 คือ รู้ได้อย่างไรว่าคิดที่คิดนั้น คิดได้ถูก โดยธรรมชาติของคน เราต้องการอะไรบางอย่างจากการกระทำ ดังนั้น เมื่อเราชัดเจนตั้งแรก เราก็จะรู้ว่าผลที่ได้จากการคิดนั้น ถูกต้องหรือไม่ แต่ถ้าเราไม่มีการวัดผลของการคิด เราก็จะคิดไปเรื่อยๆ ไม่รู้จบ จนกลายเป็นคิดวนไปวนมา และเชื่อว่าสิ่งที่คิดเป็นความจริงในทุด คล้ายๆกับการสะกดจิตตัวเอง จนสุดม้ายก็เกิดผลประทบต่อการใช้ชีวิต

3 หลักนี้ จะช่วยให้เราอยู่ได้อย่างมีความสุขกับความจริง ไม่ใช่ความเชื่อในโลกที่ปริมาณข้อมูลพุ่งทะยายแบบไม่หยุด และหลีกเลี่ยงการเกิดการสร้างข่าวปลิดซ้ำ ไปอีก นอกจากนั้น ยังสามารถนำไปใช้กับการทำงานได้ โดยเราเอาไปใช้ในการตัดสินใจให้มีความชัดเจน ไม่ใช่เป็นการเดาเอาเอง เชื่อเอาเอง แล้วทำให้ตัดสินใจพลาดในที่สุด ลองเอาฝึกกันดู


ดร.นารา