วันศุกร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การใช้เงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ให้เกิดผลประโยชน์แก่มนุษยชาติ

ปัญหาราคาน้ำมันเชื้อเพลิงกลายเป็นปัญหาใหญ่ของโลกตั้งแต่ปี 2547 (2004) จนรัฐบาลต้องการประกาศตรึงราคาน้ำมันโดยการใช้เงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมาชดเชย ส่งผลให้เกิดภาวะกองทุนติดลบ 60,000 ล้านบาท

ปี 2554 กลับมีเหตุการณ์แบบนี้อีกครั้งหนึ่ง ที่ใช้เงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง มาตรึงราคาน้ำมันดีเซล แล้วประเทศไทยจะต้องเผชิญกับเหตุการณ์ทำนองนี้อีกกี่ครั้ง ซึ่งทุกครั้งไม่ได้มีผลดีอะไรกับประเทศชาติเลย

การตรึงราคาน้ำมันส่งผลให้เกิดการบิดเบือนของตลาด ทำให้ผู้บริโภคไม่ได้รับรู้ถึงปริมาณอุปทานที่แท้จริงในตลาด ยังคงมีการใช้ในน้ำมันด้วยพฤติกรรมแบบเดิม กลไกราคาไม่ได้ทำงาน กฏของอุปสงค์และกฏของอุปทานถูกปิดกั้นไว้ สุดท้ายทำให้เกิดการปิดกั้นการพัฒนาเทคโนโลยี การพัฒนาการจัดการ และการตระหนักถึงความคุ้มค่าในการใช้ทรัพยากรของโลกที่มีอยู่จำกัด

ผลกระทบอีกด้านของการปรับขึ้นราคาน้ำมัน ผู้บริโภคและผู้ผลิตต้องมีการปรับตัวทั้งในแบบระยะสั้น และระยะยาว การปรับตัวระยะสั้นจะมีอยู่ 2 อย่างคือ ลดปริมาณการบริโภค และเปลี่ยนไปใช้สินค้าทดแทน ในการการปรับตัวระยะยาวคือการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ทางด้านพลังงาน ทุกวันนี้สิ่งที่ก่อให้เกิดความวุ่นวายต่อมนุษยชาติคือการใช้สินค้าทดแทนในระยะสั้น วิธีการที่ง่ายที่สุดคือการนำพืชพลังงานไปผลิตเป็นไบโอดีเซล หรือ เอทานอล แต่ด้วยความบังเอิญว่าพืชพลังงานเหล่านั้น เป็นสิ่งที่มนุษย์กินได้ จึงมากระทบต่อห่วงโซ่อาหารของมนุษย์ เช่น น้ำมันปาล์ม อ้อย มันสำปะหลัง

ความจริงที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน รัฐบาลไทยได้มีการตรึงราคาน้ำมัน แต่ราคานั้นอยู่ในระดับที่สูงพอที่จะใช้สินค้าทดแทนได้ แต่ราคาน้ไม่สุงพอที่จะเป็นแรงจุงใจให้เกิดการก้าวกระโดดทางเทคโนโลยี หรือที่เรียกว่าราคาวิกฤติ (Critical Price) เพราะเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่จะผลิตออกมาในช่วงแรก ต้องใช้ต้นทุนที่สูงมาก เช่น เครื่องยนต์ที่ใช้น้ำในการขับเคลื่อน เครื่องยนต์พลังงานก๊าซไฮโดรเจน พลังงานแสงอาทิตย์ และวิธีการผลิตกระแสไฟฟ้าแบบอื่น ๆ ทั้งที่ในห้องทดลองมีวิธีการต่าง ๆ มากมายแต่ไม่สามารถนำมาใช้ในเชิงพาณิชย์ได้

แล้วจะทำอย่างไรต่อไป!!!
ในเมื่อเรารู้อยู่แล้วว่าน้ำมันวันหนึ่งต้องหมดไปจากโลก และเราเองก็มีการเก็บเงินจากการซื้อน้ำมันอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นภาษีสารพัดชนิด และเงินกองทุนน้ำมัน แต่ประเทศเรากลับใช้เงินกองทุนน้ำมันไปเร่งให้มีการบริโภคน้ำมันในอัตราเดิม ทั้งที่ควรจะลดลงตามราคาในตลาดโลกที่สูงขึ้น เงินกองทุนน้ำมันจึงควรเป็นแลหง่เงินสนับสนุนการพัฒนาพลังงานทดแทนทุกชนิด โดยเฉพาะพลังงานที่ไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม แบบครบวงจร

ทุกวันนี้น้ำมันที่ใช้ในประเทศส่วนใหญ่จะถูกนำไปใช้ในทางอุตสาหกรรม ในการใช้เครื่องจักร ผลิตไฟฟ้า และการขนส่งเพื่อการพาณิชย์ สำหรับการใช้บริโภคของประชาชนจะอยู่ในส่วนน้อย เพราะฉะนั้น คำว่าพลังงานทดแทน จะต้องคำนึงถึงเรื่องการใช้กระแสไฟฟ้าด้วย เงินกองทุนน้ำมัน เป็นเงินกองทุนขนาดใหญ่ มีปริมาณเงินที่ไลหเข้าวันละหลายสิบ หรือวันละหลายร้อยล้านบาท ดังนั้นจึงเป็นจำนวนเงินที่มากเพียงพอต่อการส่งเสริมการวิจัย การลงทุนในโครงการพลังงานทดแทนได้อย่างมากมายมหาศาล

เช่นการลงทุนทำฟาร์มพลังงานแสอาทิตย์ โครงการนี้จะใช้เงินลงทุนประมาณ 1,000-2,000 ล้านบาท เพื่อผลิตกระไฟฟ้า 14 เมกะวัตต์ต่อวัน นั่นหมายถึงการที่มีประมาณไฟฟ้าใช้ได้ 1 เมืองใหญ่ ๆ (ไม่รวมกทม.) หรือการส่งเสริมการวิจัยการแยกก๊าซจากน้ำเพื่อเป็นเชื้อเพลิงจากก๊าซไฮโดรเจน จะได้ผลผลอยได้เป็นก๊าซออกซิเจนที่ช่วยทำให้อากาศในโลกดีขึ้นด้วยเป็นต้น หรือโรงไฟฟ้าจากขยะ ที่จะช่วนลดปริมารขยะที่ออกมาจากเมืองได้อีกทางหนึ่ง

เงินเหล่านี้ เป็นเงินที่สามารถให้ได้ทั้งในรูปแบบของการให้เปล่า โดยเฉพาะในโครงการวิจัย และเิงินให้กู้ยืมก็ได้ เพราะถ้าให้ผู้ประกอบการกู้เงินผ่านทางสถาบันการเงินเพียงอย่างเดียว โอกาสที่จะได้เงินมีน้อยมาก เนื่องสถาบันการเงินเองก็กลัวว่า เงินที่ให้กู้ไป จะได้กลับคืนหรือไม่ เพราะเทคโนโลยีใหม่ยังไม่มีใครรับรองผลสำเร็จในอนาคต

ถึงเวลาแล้วที่ผู้มีอำนาจจะต้องเปลี่ยนแปลงกฏระเบียบเพื่อชาติไทยของเรา จะได้มีความมั่งคงทางพลังงานอย่างยั่งยืนตลอดไป อย่าทำเพียงเพื่อหาเสียง และคะแนนนิยมของตนระยะสั้นเท่านั้น