วันพฤหัสบดีที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การรีดเค้นแรงงานอย่างสุด ๆ

ทุกวันนี้ เรามักจะได้ยินว่า เหนื่อยจัง ไม่ได้พักเลย เมื่อไหร่จะถึงวันหยุดเร็ว ๆ ทนไม่ไหวแล้วลาออกดีกว่า

มีบางคนบอกว่าคนสมัยนี้ทำงานไม่ทน เปลี่ยนงานบ่อย ไม่สู้งาน ถามว่าจริง ๆ แล้วเป็นแบบนั้นหรือ????

หากคิดในมุมกลับ อาจจะไม่ใช่แบบที่ว่าก็ได้ หากนับตั้งแต่ปี 2540 เป็นต้นมา เป็นตลาดของผู้บริโภค ทุกคนแข่งกันลดราคาเพื่อให้มียอดขายพอจะเลี้ยงตัวเองได้ หมดยุคแล้วที่จะขายน้อยชิ้น กำไรเยอะ ๆ ถ้าสินค้าไม่ล้ำยุคหรือแบรด์แข็งแรงจริง ๆ สงครามราคาเป็นเรื่องปกติ ใครมาสายป่านทางธุรกิจยาวกว่ากัน ก็เป็นผู้ชนะ

หากมาพิจารณาให้ละเอียดขึ้น จะพบว่า งานที่ทำไม่ว่าจะเป็นในโรงงาน ในสำนักงาน มักจะได้รับมอบหมายงานเพิ่ม หรือการจ่ายเงินตามจำนวนงานที่ทำได้ หมายความว่า ผู้ประกอบการกำลังลด Margin ของค่าแรงต่อชิ้นงานลง ในขณะที่ราคาวัตถุดิบเพิ่มสูงขึ้น แล้วเกิดอะไรขึ้นกับตลาดแรงงาน

แรงงานต้องทำงานมากขึ้น มีความซับซ้อนมากขึ้น และยากขึ้น แต่ได้ค่าแรงเท่าเดิม ทำให้แรงงานมีรายได้สัมพัทธ์ที่น้อยลง (หลังจากหักลบกลบหนี้กับเงินเฟ้อแล้ว) สิ่งที่สามารถทำได้ง่ายทีุ่สุดคือ ทำงานมากขึ้นเพื่อให้ตนเองอยู่ได้ ดิ้นรนไปหานายจ้างที่จ่ายค่าตอบแทนสูงขึ้น และไปเรียนหรือฝึกอบรมเพิ่ม

ระบบทุนนิยม กำลังจะถึงจุดที่เรียกว่าตลาดแข่งขันสมบูรณ์มากขึ้นทุกที เพราะระบบการสื่อสารของโลกที่กว้างไกล รวดเร็วและครอบคลุมมากขึ้นทุกวัน ในทางทฤษฎี ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ ผู้ประกอบการทุกรายจะไม่สามารถหากำไรส่วนเกินได้ ทำได้เฉพาะกำไรปกติ หรือ กำไรที่เพียงพอต่อต้นทุนผันแปรเท่านั้น

การปรับตัวของแรงงานในอนาคตต้องทำ 2 เรื่องคือ 1 การผลิตเพื่อการบริโภคเอง เนื่องจากการหารายได้เพิ่ม ยิ่งเพิ่มเท่าไหร่ก็ไม่มีประโยชน์ถ้ามีรายจ่ายที่เพิ่มตามมาด้วย ดังนั้นรายมากหรือน้อย ไม่สำคัญเท่าเงินเหลือ และ 2 การพัฒนาฝีมือที่มีคุณค่าต่อระบบเศรษฐกิจ แรงงานไรฝีมือจะไม่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับตนเองได้เลย

ถึงเวลาแล้วที่จะมาหาความแตกต่างให้กับตนเอง และหาวิธีลดรายจ่ายให้มีเงินเหลือเพื่ออยู่ในยุคการสื่อสารไร้พรมแดนได้ต่อไป

ขอให้โชคดี