คำว่าเศรษฐกิจตกต่ำ หมายความว่า การเจริญเติบโตของรายได้ประชาชาติ ไม่เติบโต หรือ หดตัว ซึ่งเกิดจากการที่หน่วยธุรกิจ หรือบุคคล ไม่สามารถสร้างรายได้เพิ่มได้ขึ้นได้ หรือมีรายได้หดตัวพร้อม ๆ กัน จำนวนมาก ซึ่งมักจะเกิดขึ้นทุก ๆ 7-15 ปี ต่อครั้ง
เรียกว่าเป็นวัฏจักรทางเศรษฐกิจ ซึ่ง โดยปกติแล้ว เศรษฐกิจจะมีช่วงขยายตัว หรือ Boom และช่วงหดตัว หรือ Recession หน้าที่ของผู้บริหารเศรษฐกิจของประเทศ มีหน้าที่ทำให้จุดสูงสุดของ Boom และ ตำสุดของ Recession มีระยะห่างให้น้อยที่สุด
พฤติกรรมของภาคเอกชนโดยทั่วไปมักจะเป็นพฤติกรรมที่เร่งให้เศรษฐกิจเติบโต คือ เมื่อเศรษฐกิจขยายตัว เอกชนจะเร่งการใช้จ่าย การลงทุน และการกู้ยืม ที่สำคัญ หลาย ๆ คนจะมีการออมในรูปเงินสดน้อยลง เป็นการเร่งการหมุนของเศรษฐกิจมากขึ้น จนกลายเป็นสภาวะฟองสบู่ เพราะทุกคนคาดว่าอนาคตจะดี จึงไปพึ่งพารายได้ในอนาคตมากเกินไป
ในทางกลับกัน เมื่อเศรษฐกิจตกต่ำ เอกชน จะยุติกิจกรรมต่าง ๆ เก็บเงินสดให้มากที่สุด เพื่อรอเวลาเศรษฐกิจฟื้น ทำให้ระบบเศรษฐกิจ มีการหมุนเวียนน้อยลง ทำให้เศรษฐกิจตกต่ำลงไปเรื่อย ๆ จนถึงจุดที่เป็นการบริโภคขั้นฟื้นฐานเท่านั้น
เงินออม จึงเป็นตัวช่วยให้สภาวะการแกว่งตัวของเศรษฐกิจมีความรุนแรงน้อยลง และเป็นหลักประกันความมั่นคงในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำได้ดังนี้
เมื่อเศรษฐกิจเติบโต เอกชนควรกันเงินออมไว้ส่วนหนึ่ง เงินเหล่านี้จะไม่ถูกนำมาใช้ในระบบเศรษฐกิจ ทำให้เศรษฐกิจไม่เติบโตจนเร็วเกินไป และยังเป็นการสะสมความมั่งคั่งที่ไม่ด้อยค่า
เมื่อเศรษฐกิจตกต่ำ เอกชนจะสามารถนำเงินออมออกมาใช้ เพื่อดำรงชีวิตได้ตามปกติ ในขณะเดียวกัน ยังสามารถเปลี่ยนเป็นสินทรัพย์ที่สามารถสร้างกำไรได้ในอนาคต เช่น ทองคำ ที่ดิน หรือหุ้น ในราคาที่ถูกด้วย
วิธีการเริ่มต้นคือ เมื่อเศรษฐกิจอยู่ในภาวะเติบโต ให้ตั้งนโยบายการออมไว้จากรายได้ หรือกำไรสุทธิในทุก ๆ เดือน อย่างสม่ำเสมอ และเมื่อเศรษฐกิจตกต่ำ ให้ตั้งนโยบายการใช้เงินออมในเรื่องอะไรได้บ้าง ในปริมาณเท่าไหร่ในแต่ละเดือน เพื่อให้อยู่รอดได้ตลอดระยะเวลาของภาวะเศษฐกิจตกต่ำ
เงินออมจึงถือได้ว่าเป็นพระเอกตัวจริงของระบบเศรษฐกิจ ที่จะทำให้ระบบเศรษฐกิจมีเสถียรภาพในระยะยาว เรามาส่งเสริมนิสัยการออก เพื่อสร้างความแข็งแกร่งทางการเงิน ก่อนที่จะสายเกินไป
วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
วันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
Value Added ระเบิดเวลาทางเศรษฐกิจ
การทำธุรกิจมักจะนิยมตั้งเป้าหมายของธุรกิจเพื่อกำไรสูงสุด และเป็นสิ่งที่นักเศรษฐศาสตร์หลายคนเชื่อว่าเป็นการจัดสรรทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด เพราะทรัพยากรถูกกลไกตลาดทำงาน แล้วแปรสภาพให้กลายเป็นกำไรมากที่สุดแล้ว
วัตถุประสงค์ของธุรกิจทั้งระบบใหม่ เป็นการกำหนดวัตถุประสงค์เพื่่อเกิดอรรถประโยชน์ (Utility) แก่สังคมมากที่สุด มองราคาสะท้อนถึงระดับความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์
แต่จริง ๆ แล้วการมุ่งสร้างกำไรสูงสุดทำให้เกิดระเบิดเวลาระยะยาว และเป็นการทิ้งคุณค่าพื้นฐานของทรัพยากรไปโดยสิ้นเชิง เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นได้อย่างไรหรือ เกิดจากโครงสร้างตลาดที่ไม่มีความสมบูรณ์ หรือเรียกอีกอย่างว่า ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ไม่มีในโลก นั้นเอง
จากทฤษฎีโครงสร้างตลาด ตลาดแข่งขันสมบูรณ์จะทำให้ราคาถูกกำหนดไว้แค่ราคาที่มีกำไรปกติ หรือเท่ากับต้นทุนผันแปรเฉลี่ยต่อหน่วยที่ต่ำที่สุด ผู้ทำธุรกิจจะไม่มีใครสามารถสร้างความร่ำรวยเกินกว่าคนอื่นได้ ราคาแบบนี้จะสะท้อนถึงมูลค่าของสินค้าที่ผลิตออกมาได้อย่างชัดเจน หมายความว่า ราคาเท่ากับอรรถประโยชน์ส่วนเพิ่มของตลาด หรือสังคมพอดี
แต่ในตลาดแบบอื่น ๆ ธุรกิจสามารถสร้างกำไรที่มากกว่ากำไรปกติได้ เพราะสินค้ามีความแตกต่างกัน มีบางคนพอใจที่จะจ่ายแพงกว่าเพื่อให้ได้ความแตกต่างนั้น โดยเฉพาะตลาดผู้ขาดที่รัฐบาลไม่ได้เข้ามาดูแล ดังนั้นธุรกิจจึงพยายามทุกวิถีทางเพื่อทำให้เกิดความแตกต่างในตัวสินค้าบริการอย่างมากที่สุด
วิธีการสร้างความแตกต่างของสินค้าที่ใช้ได้กันมากที่สุดคือการสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Added) เช่น กล้วยตาก ถ้าบรรจุถุงปกติ ขายถุงละ 30 บาท มี 20 ลูก แต่ถ้าเอากล้วยตากไปใส่ถุงสวย ๆ ผูกโบว์ จะกลายเป็นถุงละ 50 บาท ถ้าเอากล้วยตากไปใส่ซองละลูก จะกลายเป็นถุงละ 80 บาท ถ้าเอากล้วยตากไปใส่กล่องกระดาษสา ทำเป็นของขวัญ จะกลายเป็นกล่องละ 100 เมื่อเอากล้วยตากไปใส่กล่องผ้าใหม วางขายในโรงแรม อาจจะกลายเป็นกล่องละ 200 ก็ได้ ทั้งที่เป็นกล้วยตากจากสวนเดียวกัน มีคุณค่าทางอาหารเท่ากัน แต่ราคาขายไม่เท่ากัน
ส่วนต่างที่เกิดขึ้น เป็นค่าจัดการ และบรรจุภัณฑ์ นั่นหมายความว่าผู้บริโภคจะต้องจ่ายเงินเพื่อการบริโภคกล้วยที่ได้คุณค่าทางอาหารเท่าเดิมในราคาที่แพงขึ้น ผู้บริโภคจะต้องหาเงินมากขึ้นเพื่อซื้อสินค้าที่แพงขึ้น อาจจะใช้วิธีการหางานใหม่ที่มีค่าจ้างแพงขึ้น หรือผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้นแล้วไปขายให้กับผู้บริโภคคนอื่นที่ราคาแพงขึ้น
เมื่อเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นซ้ำ ๆ ไปเรื่อย ๆ ก็จะเรียกว่า เงินเฟ้อ ทำให้ระดับราคาค่าครองชีพสูงขึ้น ปัญหาอยู่ที่การแสวงหาเงินเพื่อการดำรงชีพ และการค้ากับต่างประเทศ เพราะในประเทศที่มีระดับราคาต่ำกว่า แต่สามารถผลิตสินค้าได้เหมือนกัน ก็มีโอกาสในการส่งออกมากกว่า ในประเทศที่มีราคาสูง ๆ มักจะต้องนำเข้าสินค้าต่าง ๆ จากต่างประเทศ ทำให้เกิดการขาดดุลการค้า ขาดดุลการชำระเงิน การขาดดุลงบประมาณเป็นจำนวนมหาศาลเพราะรัฐต้องเข้ามาอุดหนุนสวัสดิการของคนในประเทศ
เหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นในแถบประเทศยุโรป และอเมริกา เพราะคนเหล่านี้บริโภคสินค้าที่มีมูลค่ามากกว่าคุณค่าต่อชีวิตมากกเกินไป
ทางแก้คือการตั้งวัตถุประสงค์ของธุรกิจทั้งระบบใหม่ เป็นการกำหนดวัตถุประสงค์เพื่่อเกิดอรรถประโยชน์ (Utility) แก่สังคมมากที่สุด มองราคาสะท้อนถึงระดับความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์แทน เช่นราคาสะท้อนถึงระดับคุณค่าทางอาหาร สะท้อนถึงประสิทธิภาพของยา หรือสะท้อนระดับที่มีผลดีต่อสุขภาพ ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องยากในทางปฏิบัติ เนื่องจากสุขภาพไม่สามารถสะท้อนออกมาเป็นตัวเลขได้อย่างชัดเจนไม่เหมือนกำไร
แต่อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแนวคิดจากกำไรสูงสุด เป็นเพื่อประโยชน์แก่สังคมสูงสุดแทน ก่อนที่ระเบิดเวลาลูกนี้จะระเบิดออกมา
วันพุธที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
-
หลังจากการเลือกตั้งของประเทศไทยปี 2566 ผ่านพ้นไป ได้เห็นคะแนนกันไปแล้ว ส่วนการจัดตั้งรัฐบาลจะเป็นอย่างไรก็เป็นเรื่องของผู้ที่เกี่ยวข้องไปจัด...
-
การวางแผนงบประมาณเชิงกลยุทธ์ งบประมาณเป็นแผนที่ทุกองค์กรต่างให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะว่าเป็นแผนที่ควบคุมการรับเงินและการจ่ายเงินขององค...
-
กระบวนการการจัดการข้อมูลขององค์กร Organizational Data Management Process การเปลี่ยนแปลงทางสภาพสังคมเศรษฐกิจ ของมนุษย์ในช่วงยุคอุตสาหกรรม...