วันพุธที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2554

แบ่งงานกันทำ กับร่วมแรงร่วมใจ อย่างไหนไปรอด

การร่วมแรงร่วมใจของคนในสังคม หมายถึง การทำงานทดแทนกันได้หลายอย่าง แต่ไปในทิศทางเดียวกัน 

จากทฤษฎีตั้งต้นของนักเศรษฐศาสตร์ทั้งหลาย คงจะต้องเรียนคำว่า แบ่งงานกันทำ เพื่อให้เกิดความถนัด (Specialization) เมื่อมีความถนัดมาก ๆ แล้ว จะทำให้สามารถทำงานได้มากขึ้น และเกิดการประหยัดต่อขนาด (Economy of Scale) ซึ่งทฤษฎีที่กล่าวมานี้เป็นเรื่องจริง ไม่อาจจะเถียงได้ ด้วยอายุของทฤษฎีเป็นร้อยปี ก็ยังเป็นจริงอยู่ถึงทุกวันนี้ จะกระทั้งมีการพัฒนาทฤษฎีที่ทำให้เกิดการประหยัดอีกหลายเรื่อง เช่น การประหยัดต่อเวลา (Economy of Speed) หมายถึงการทำให้เร็วขึ้น ด้วยคุณภาพเท่าเดิม จะได้ปริมาณมากขึ้น ประหยัดเวลา และค่าแรงได้ การประหยัดต่อด้าน (Economy of Scope) หมายถึงการทำงานในหลาย ๆ งานที่ไปในทางเดียวกัน ก็จะเกิดการประหยัดได้ จะให้มากในอุตสาหกรรมขนส่ง Logistic และห่วงโซ่อุปทาน นั่นหมายความว่า การที่คนเราจะทำอะไรสักอย่าง ก็ต้องทำให้เก่งจึงจะเกิดผลดี

แต่ ณ จุดนี้ ผู้เขียนมีความที่อยากจะต่อยอดขึ้นไป (ไม่ได้คัดค้าน) เป็นการเสนอความคิดที่มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้นไปอีก คือการทำงานให้เกิดการประหยัด เป็นการลดใช้ทรัพยากรของโลกได้ แต่เป็นการเพิ่มภาระการพึ่งพิงของคนให้มากยิ่งขึ้น เพราะการที่คนเราจะมีชีวิตอยู่ได้ในแต่ละวัน จะต้องมีการบริโภคสินค้าและบริการต่าง ๆ มากมาย แต่การที่คนเรา ทำอะไรเพียง 1-2 อย่าง จะทำให้เกิดการขาดทักษะในการผลิตในชีวิตไปอย่างรวดเร็ว ดังนั้น เมื่อไม่สามารถจะดำรงชีวิตได้โดยลำพัง จะต้ิองทำการผลิตที่ต้วเองสามารถทำได้ เพื่อแลกกับสิ่งอื่น ๆ ในการยังชีพ

ในภาพที่กว้างขึ้น เมื่อมนุษย์มีความซับซ้อนในการดำรงชีวิตมากขึ้น ต้องการสินค้าในการดำรงชีพมากขึ้น ก็ต้องอาศัยการพึ่งพิงมากขึ้นตามไปด้วย ทำให้สังคมของมนุษย์จะต้องมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ ในอดีตกาล สังคมเล็ก ๆ หรือหมู่บ้านหนึ่ง สามารถผลิตสินค้าเพื่อการยังชีพได้ครบถ้วนในสังคมเดียว แต่ปัจจุบัน มีบางสังคม จะผลิตสินค้าเพียงอย่างเดียว เช่นปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เพื่อนำเงินที่ได้ไปซื้อข้าว ซื้อปลา มารับประทาน เมื่อเกิดเห็ตการณ์อุปสงค์สินค้า่ชนิดนั้นลดลง ทำให้ราคาของสินค้าที่หมู่บ้านนั้นสามารถผลิตได้ลดลงตามไปด้วย

สุดท้ายก็หนีไม่พ้นการเป็นหนี้โดยเฉพาะ เกษตรกร และแรงงานอุตสาหกรรม ที่ทั้งชีวิตทำเป็นอยู่อย่างเดียว จากจุดนี้เอง ผู้เขียนจึงเสนอว่า การร่วมแรงร่วมใจ แบบที่สามารถทดแทนงานกันได้ เป็นทางออกในการอยู่รอดของสังคม เช่น คนเราควจจะสามารถเป็นทั้งเกษตรกร และ ช่างในเวลาเดียวกัน เป็นนักการเงินและการตลาดในเวลาเดียวกัน หรือเป็นมากกว่า 2-3 อย่างในเวลาเดียวกัน สิ่งเหล่านี้จะสามารถนำมาบูรณาการได้ ทำให้ผลิตภาพในการทำงานเพิ่มสูงขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ สิ่งนี้เรียกว่า บูรณาการ (Integrated)

ดังนั้นการร่วมแรงร่วมใจของคนในสังคม หมายถึง การทำงานทดแทนกันได้หลายอย่าง แต่ไปในทิศทางเดียวกัน เป็นการลดการพึ่งพิงระดับปัจเจกบุคคล ลดปัญหาการขาดแคลนทักษะแรงงาน และลดความเสี่ยงในการเกิดวิกฤติจากสถานะการณ์ต่าง ๆ

แต่อย่างไรก็ดี บุคคลจะต้องมีทักษะอย่างใดอย่างหนึ่งที่โดดเด่ด เพื่อเป็นการสร้างการประหยัดต่อขนาดจะความชำนาญเฉพาะด้านด้วย ยังเป็นการใช้ทรัพยากรให้เกิดคุณค่าสูงสุด แบบยังยืนสืบไป