หลักการของทุนนิยม เริ่มจากการทำให้เกิดการประหยัดต่อขนาด อันเกิดจากการเกิดความชำนาญเฉพาะด้าน ทำเรื่องเดียว ทำให้เก่งอย่างเดียว จะทำให้ทีผลิตภาพสูงขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องจริง แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือ เมื่อมนุษย์ถูกฝึกมาให้ทำแต่เพียงอย่างเดียวในชีวิต จะทำให้ไม่สามารถปรับตัว หรือปรับตัวได้ยากเมื่อ ระบบของเศรษฐกิจเปลี่ยนไป หรือเกิดวิกฤตกาลต่าง ๆ
นอกจากนั้น การที่เกิดความชำนาญเฉพาะด้านเพียงอย่างเดียว จะต้องเกิดการพึ่งพาคนอื่นตลอดเวลา เพราะมนุษย์ ไม่สามารถบริโภคสินค้าและบริการแต่เพียงอย่างเดียวเพื่อการดำรงค์ชีวิตได้ ซึ่งในความเป็นจริง จะต้องมีการบริโภคสินค้าหรือสิ่งจำเป็นต่าง ๆ ที่มีความหลากหลาย เพื่อการอยู่รอดของการดำรงชีวิต
ในการที่มนุษย์ สามารถผลิตสินค้าหรือบริการได้เพียงอย่างเดียวนั้น จะต้องอาศัยสังคมที่มีขนาดใหญ่มาก เพื่อให้เกิดโอกาสในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ อันเป็นการกระจายความเสี่ยงในการขายสินค้า บริการ หรือแรงงานที่ประชากรหนึ่งหน่วยในสังคมป้อนเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ
เมื่อมีสังคมขนาดใหญ่ ปัญหาเรื่องต่าง ๆ ก็จะเพิ่มมากขึ้นมาเป็นเงาตามตัว ไม่ว่าจะเป็นปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อม ปัญหาทางด้านสังคม ปัญหาทางด้านอาชญากรรม ฯลฯ จะสังเกตุได้จากเมืองที่มีขนาดใหญ่เช่น ปังกิ่ง นิวยอร์ค หรือแม้กระทั่งกรุงเทพมหานคร ซึ่งตรงตามคนโบราญที่ว่า คนเยอะ เรื่องแยะ และที่สำคัญที่สุดเมื่อคนเยอะ ก็เกิดการแข่งขันกันสูง คนเห็นแก่ตัวของคนมากขึ้นตามไปด้วย เนื่องจาก แต่ละคนสามารถผลิตสินค้า บริการ หรือแรงงานได้เพียงด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น
และเมื่อถึงจุดวิกฤตทางเศรษฐกิจเกิดขึ้น ก็จะเกิดปัญหาเรื่องแรงงานว่างงาน คนตกงาน เพราะคนเหล่านี้ไม่มีหนทางจะทำมาหากินอย่างอื่นได้เลย ทั้งหมดนี้คือปัญหาระยะยาวของระบบทุนนิยม
ทางออก
ทางออกของปัญหาระยะยาวของระบบทุนนิยมคือการลดการพึ่งพาคนอื่น เพื่อความสามารถในการผลิตให้หลายหลาก เน้นเรื่องที่สามารถใช้ยังชีพก่อน เมื่อคนเรามีความสามารถที่หลากหลายแล้ว จะมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงและวิกฤตต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ในความสามารถนี้ จะต้องมีประโยชน์ต่อชีวิต มีคุณค่าต่อการดำรงชีพจริง เพราะสิ่งสำคัญอันดับต้นของมนุษย์คือปัจจัย 4 จริง ๆ
เงินไม่ใช้สิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิต แต่เงินเป็นเพียงสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้า บริการ และแรงงานเท่านั้น ดังนั้นเมื่อเจอปัญหา หรือวิกฤตขนาดใหญ่ เช่น สงคราม น้ำท่วม แผ่นดินไหว เงินจะเป็นสิ่งที่ไม่มีค่าอะไรเลย แต่ปัจจัย 4 ต่างหากที่ยังจะสามารถดำรงคุณค่าของตัวมันเองไว้ได้
สรุปคือ คนเราต้องเริ่มสร้างความหลายในการผลิต (เสื้อผ้า อาหาร เครื่องนุ่งห่ม) การผลิตในที่นี้รวมไปถึงทักษะฝีมือแรงงานด้วย เพื่อเตรียมพร้อมรับในการเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงของโลก และพยายามทำให้สังคมมีขนาดเล็กลง เพื่อให้ระดับการเกิดปัญหาน้อยลงตามไปด้วย และด้วยวิธีการแบบนี้ จะทำให้มนุษย์ลดการพึ่งพาซึ่งกันและกัน ลดการพึ่งพาเงินของโลกาภิวัฒน์อันวุ่นวาย