นักวิชาการหลายคนได้สรุปว่าเกิดจากปัญหาโลกร้อน ทำให้ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง อย่างรุนแรง และยังไม่รู้ว่า จะเกิดภัยธรรมชาติอะไรอีก จุดเริ่มต้นของการเกิดภัยธรรมชาติคือการบริโภคทรัพยากรธรรมชาติของมนุษย์ อย่างไม่รู้จักปันยะปันยัง โดยบอกว่ากลไลตลาดเป็นตัวตัดสินในการจัดสรรทรัพยากร แต่เกิดความล้มเหลวของกลไกตลาดโดยสิ้นเชิง
การบริโภคของมนุษย์ คิดว่ามีปัญญาหามาได้ก็ใช้ได้ แต่มนุษย์เรายังขาดการตระหนักว่า รู้จักใช้แต่เพียงพอ ประหยัด เพื่อให้ธรรมชาติมีโอกาสฟื้นตัว และเหลือใช้ไปถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน
การประหยัดในที่นี้ นอกจากจะประหยัดในสินทรัพย์ของตนเองแล้ว ยังรวมถึงการประหยัดทรัพยากรส่วนรวมด้วย
เนื่องจากทรัพยากรส่วนรวม จะเป็นทรัพยากรที่ผู้ใช้ไม่ได้จ่ายค่าใช้ทรัพยากร ดังนั้นจึงคิดว่าไม่มีต้นทุนในการบริโภค จึงใช้อย่างเต็มที่ แบบนี้ทางเศรษฐศาสตร์ เรียกว่า Free Rider เป็นการสูญเสียโดยไม่ควรจะเสีย
ยกตัวอย่างการใช้ทรัพยากรส่วนรวม เช่นการใช้น้ำสาธารณะ เมื่อไม่ต้องจ่ายค่าน้ำ ก็ใช้เต็มที่ ทำให้สังคมต้องเสียน้ำ โดยไม่จำเป็น ภาครัฐมีต้นทุนเพิ่มในการจัดหาน้ำมาให้ใช้ และสุดท้ายมีผลมาถึงการจัดหารายได้ของรัฐ ที่จะต้องมาเพิ่มภาษี หรือ อากร มาชดเชยค่าใช้จ่าย
อีกตัวอย่าง การใช้ถนน บางคนคิดว่าถนนเป็นของส่วนกลาง จะใช้ยังไไงก็ได้ไม่ต้องประหยัด ขับให้ครบทุกเลน ถ้ารถไม่เยอะก็ไม่เป็นไร แต่ถ้ารถเยอะ จะทำให้ กระทบกับรถคันอื่นๆ ใน 2 ทาง ทางแรกเป็นทางตรง ทำให้รถคันอื่นต้องเบรก เพื่อให้คันที่เปลี่ยนช่องไปได้โดยไม่ประสบอุบัติเหตุ ผลคือ รถคันอื่นเปลืองเบรก เปลืองน้ำมันที่จะต้องเร่งตันเร่งใหม่อีก คันที่เปลี่นเลนไปมา ก็ต้องเร่งเครื่องเพื่อให้พ้น เปลืองเบรก เปลืองน้ำมันด้วยเช่นกัน ทางที่ 2 คือ รถจะติดเพิ่มขึ้น ทำให้รถที่มาในทางนั้น สิ้นเปลืองน้ำมันมากขึ้นด้วย และยังเป็นผลให้รัฐ จะต้องจัดหาถนนเพิ่ม และการจัดการจราจรเพิ่มด้วย
การประหยัด ในที่นี้ หมายถึง การรู้จักใช้ทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวอย่างคุ้มค่า ไม่เพิ่มภาระให้กับผู้อื่นอีก อยู่ทุกชั่วขณะจิต ตลอดเวลา
การมีสำนึกในการประหยัดนี้ จะทำให้ เกิดเงินออม เหลือทรัพยากร และยังมีสะสมเอาไว้ใช้ในช่วงจำเป็น และฉุกเฉิน เมื่อมนุษย์มีทรัพยากรสะสมเป็นของตนเองแล้ว ก็จะเป็นการลดภาวะพึ่งพิงบุคคลอื่นได้อีกทางหนึ่งด้วย
Published with Blogger-droid v2.0.2