วันเสาร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2555

สายอาชีวะขาดแคลน และยังขาดประสิทธิภาพ?



ความหมายที่แท้จริงของสายการเรียนการสอน

ในอดีตที่ผ่านมา เกิดปัญหาในการเข้าใจ หรือทัศนะคติของสังคมที่มีต่อสายอาชีวะว่าเป็นที่เรียนของคนเรียนไม่เก่ง ไม่มีที่ไปเรียนต่อ ม.ปลายไม่ได้เพราะเกรดไม่ถึง จึงทำให้เกิดความเชื่อที่ผิดๆ และเป็นการปลูกฝังหยั่งรากลึกในสังคมไทยว่า ถ้าอยากรวย อยากได้เงินเดือนสูง ๆ ต้องเรียนปริญญาเท่านั้น ซึ่งเป็นความเชื่อที่ผิด และเกิดการหยุดชะงักของการพัฒนาสายอาชีวะอย่างรุนแรง จนทำให้เกิดการขาดแคลนบุคลากรทางสายอาชีวะในปัจจุบัน

จริง ๆ การเรียนการสอนในสายอาชีวะเป็นสายที่มีความสำคัญ เพราะคนที่สบสายอาชีวะ จะกลายเป็นแรงงานมีฝีมือที่จะค่อยเป็นบุคคลในฝ่ายผลิตของแต่ละอุตสาหกรรม โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรม เช่น งานโยธา งานไฟฟ้ากำลัง งานเหล่านี้ต้องอาศัยแรงงานมีฝีมือเพื่อให้การก่อสร้รง การติดตั้ง ทำได้รวดเร็ว มีคุณภาพ และเกิดความคุ้มค่าในเงินลงทุน ดีกว่าในแรงงานที่ขาดฝีมือ ซึ่งจะทำให้งานล่าช้า หรือต้องอาศัยกแรงงานในการปฏิบัติงานเป็นหลัก (labor intensive)

สิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันคือ แรงงานในประเทศไทย จะมี 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ พวกที่จบปริญญา และพวกที่ ไม่จบปริญญา หรือการศึกษาน้อย ซึ่งขาดแรงงานแบบมีฝีมือทางการปฏิบัติไป คนที่เรียนจบปริญญา ไม่ใช่คนไม่มีความรู้ แต่ระบบการเรียนการสอนมุ่งเน้นที่จะเรียนรู้ในทางทฤษฎีมากกว่าทางการปฏิบัติ เช่น นักวิชาการเกษตร มักจะทำนาได้เก่งน้อยกว่าเกษตรกร วิศวกรโยธา ฉาบปูนได้เก่งน้อยกว่าช่างปูน แต่เกษตรกร และช่างปูน ต่างจะต้องฝึกฝนด้วยตนเอง กว่าจะได้ฝีมือที่ตลาดยอมรับ ต้องใช้เวลานาน บางคนใช้เวลามากกว่า 10 ปี ขึ้นไปซึ่งต้องใช้ทรัพยากร และเวลานานมาก

ในทางด้านวิชาการ เน้นเรื่องการเรียนรู้ทางทฤษฎี ในระดับปริญญาตรี เน้นเรื่องการเรียนรู้ทฤษฎีที่มีอยู่ในแขนงต่าง ๆ ปริญญาโท เน้นเรื่องการใช้ทฤษฎีมาคิดเชิงวิเคราะห์หาสาเหตุ และแนวทางปฏิบัติ สำหรับปริญญาเอก เน้นเรื่องการสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางทฤษฎี ซึ่งทั้ง 3 ปริญญา ไม่ได้เน้นเรื่องการนำความรู้สู่ทักษะทางการปฏิบัติเลย

ดังนั้นเพื่อให้เกิดความสมดุลย์ของการขับเครื่อนทางเศรษฐกิจ จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้บริหารทางการศึกษาจะต้องผลิตแรงงานที่มาจากทางด้านอาชีวะ มากว่าสายวิชาการ เพื่อให้มีผู้ปฏิบัติงานในตลาดแรงงานอย่างพอเพียง และต้องแตกย่อยในทักษะแขนงต่าง ๆ อย่างทั่วถึฃและมีมาตรฐาน คำว่ามาตรในที่นี้ หมายถึง ถ้ามีใบประกาศทางอาชีวะระดับต้น เทียบได้กับผู้ที่ทำงานโดยไม่ได้เรียนมาไม่น้อยกว่า 5 ปี ระดับกลาง 10 ปี และรดับสูง 20 ปี เป็นต้น เพื่อเป็นการบ่งบอกถึงความชำนาญ และเชี่ยวชาญในสิ่งที่มีทักษะอยู่ การเปิดวิชาอาชีวะในแขนงต่าง ๆ นั้น จะต้องเป็นสาขาที่สามารถใช้งานได้จริง เช่น งานก่อสร้าง จะต้องมีความชำนาญทางการก่อสร้างเป็นอย่างดี ใช้คนแค่ 3-5 คน ก็สามารถสร้างบ้านได้ทั้งหลัง หรืองานก้านอาหาร มีความเชี่ยวชาญในการปรุง และคิดค้นสูตรอาหารต่าง ๆ งานเครื่องปั้นดินเผา งานเครื่องหนัง งานกระดาษ งานโลหะ งานเครื่องประดับ งานถักทอ เป็นต้น

สำหรับการศึกษาสายวิชาการนั้น ให้ลดจำนวนลง โดยให้เหลือแต่ระดับหัวกะทิเท่านั้นที่สามารถเข้าไปเรียนได้ ทำให้รัฐสามารถเพิ่มงบการวิจัยต่าง ๆ ได้มากขึ้น แทนที่จะต้องมาอุดหนุนเรื่องค่าเล่าเรียนให้แก่เยาวชน งายวิจัยเหล่านี้ จะเป็นองค์ความรู้ที่สายอาชีวะนำไปใช้งาน เพื่อให้การทำงานของสายอาชีวะเกิดประสิทธิภาพมากยิ่ง ๆ ขึ้นไป

โดยสรุปคือ ลดจำนวนสายวิชาการ คัดแต่หัวกะทิมาเรียน และเพิ่มมาตร แขนงวิชาของสายอาชีวะให้มากขึ้น เพื่อให้มีแรงงานในระดับรากหญ้ามาเป็นผู้ขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจต่อไป