วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2563

หลังวิกฤตินาทีทองแห่งการเปลี่ยนแปลงของผู้นำ

เรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่า การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ตั้งแต่ส่วนที่เล็กที่สุดของร่างกายในระดับเซลล์ ก็เปลี่ยนแปลงตลอด ส่วนที่ใหญ่ขึ้นมาก็เป็ร่างกายของเราก็เปลี่ยนแปลงตลอดรวมถึงอายุ โลกของเราก็เปลี่ยนแปลงตลอดไม่ว่าจะเป็นอุณหภูมิ กระแสลม เปลือกโลก หรือการเคลื่อนที่ไปในจักรวาล เราเองไม่อาจจะปฏิเสธการเปลี่ยนแปลงได้เลย

องค์กรเองก็เปลี่ยนแปลงเหมือนกัน เพราะองค์กรเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากการรวมตัวกันของคน และกิจกรรมต่างๆ ของคน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องและตลอดเวลา ธุรกิจ และคนจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงไม่ได้เลย

แต่กลับมีหลายองค์กรและหลายคนที่กำลังเกรงและกลัวการเปลี่ยนแปลง โดยคนเหล่านี้ มีรูปแบบการแสดงออกได้หลายวิธี คือ ตั้งแต่การบ่น การตัดพ้อ รวมไปถึงการร้องขอความช่วยเหลือจากคนอื่นให้ช่วยจัดการสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงนั้นๆ เป้าหมายในจิตใจลึกๆ ของคนเหล่านี้คือพยายามจะไม่เปลี่ยนแปลง หรือพยายามจะเปลี่ยนแปลงให้น้อยที่สุด

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อโลกและสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปแล้ว ถึงเวลาที่เราเองจะต้องเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย ด้งนั้น สิ่งที่เราต้องเรียนรู้คือการสร้างระบบการคิด หรือ Mindset ที่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง เป็นจุดเริ่มต้นก่อน และหากเราสังเกตุให้ดี ในการเปลี่ยนแปลงทุกๆ ครั้ง คนจำนวนมากจะเกิดสภาวะการณ์ Shock และคิดว่าต้องทำอะไรบางอย่างเพื่อให้กลับเข้าสู่สภาวะปกติของตัวเอง เรียกว่าเปล็นช่วงที่สมองกำลังเปิดรับเรื่องใหม่ๆ ซึ่งนับว่าเป็นโอกาสในการสร้างการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบที่องค์กรต้องการ

ยิ่งการเปลี่ยนแปลงจากภายนอกมีความรุนแรงในการเปลี่ยนแปลงมาก เราก็เรียกสิ่งนี้ว่าเป็นภาวะวิกฤติ ดังนั้น ภาวะวิกฤติจึงเป็นโอกาสในการสร้างความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ขององค์กร โอกาสแบบนี้ หากผู้นำตั้งระบบการคิดของตัวเองให้ถูกต้องต่อสถานการณ์ ก็จะสามารถสร้างสิ่งใหม่ๆ ที่เรียกว่าการเปลี่ยนแปลงองค์กรได้น่าอัศจรรย์

กระบวนการสร้างความเปลี่ยนแปลง

1. ผู้นำต้องสร้างให้กับตัวของผู้นำได้คือ การสร้างทัศนคติทางบวกให้กับตัวเองต่อการเปลี่ยนแปลง ให้มอว่าการเปลี่ยนแปลงหรือวิกฤติคือโอกาสที่จะทำให้ทุกคนเปิดรับการเปลี่ยนแปลงได้

2. ผู้นำกำหนดเป้าหมายหรือผลลัพธ์ของการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้สมาชิกในองค์กรมีเป้าหมายเดียวกัน

3. ผู้นำอธิบายและทำความเข้าใจต่อสิ่งที่จะเกิดขึ้น พร้อมทั้งชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ของการเปลี่ยนแปลง

4. เปิดโอกาสให้คนในองค์กรมีส่วนร่วมในการแสดงออกต่อการเปลี่ยนแปลงและสร้างกรเปลี่ยนแปลงร่วมกัน

5. เปิดเวทีสะท้อนผลลัพธ์ของการเปลี่ยนแปลงร่วมกัน เพื่อนำเป็นชุดข้อมูลสำหรับการตัดสินใจเพื่อการสร้างกระบวนการในขั้นต่อไป

6. ผู้นำต้องทำความเข้าใจกับทุกคนว่า การเปลี่ยนแปลง ไม่อาจจะควบคุมผลลัพธ์ได้ 100% แต่สามารถกำหนดทิศทางได้ ซึ่งจะเกิดได้อย่างมีประสิทธิภาพคือการไว้วางใจกันและกัน

7. ผู้นำไม่หาคนผิดจากการเกิดปัญหา แต่ให้หาวิธีการแก้ไขปัญหา เพราะคนผิดคนแรกที่ต้องรับผิดชอบคือผู้นำ ไม่ใช้ผู้ปฏิบัติ เนื่องจากหน้าที่ของผู้นำคือคนกำหนดทิศทางและตัดสินใจ

8. สร้างบรยากาศของการชื่นชมกันละกันตลอดเวลา แม้ว่ามีผลสำเร็จเพียงเล็กน้อย

9. ผู้นำต้องสร้างวิธีการฟังของตัวเอง ให้หนักแน่น ไม่ตื่นเต้นกับข้อมูลใหม่ๆ จนเกิดไป

10. ยอมรับทุกผลลัพธ์ของการตัดสินใจ พร้อมหากระบวนการแก้ไข ปรับปรุง เรียนรู้ เพื่อพัฒนาตนเองให้ดียิ่งๆ ขึ้นไปอีก

ดร.นารา กิตติเมธีกุล