วันเสาร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2564

ปั้นคนเก่ง #EP20 คนเก่งมักจะมีความจำดี

 ปั้นคนเก่ง #EP20 คนเก่งมักจะมีความจำดี



ความจำ กับความเก่ง ความคิด และผลงาน เกี่ยวข้องกันได้อย่างไร

บ่อยครั้งที่เราเป็นคนขี้ลืม ทำให้เราต้องทำงานอะไรผิดพลาดอยู่บ่อยๆ หรือ เราทำงานได้ไม่ครบถ้วน หรือเราเองไม่สามารถจำขั้นตอนการทำงานที่สมบูรณ์แบบได้ ทำให้ผลงานที่ออกมานั้นไม่ได้ดังคาดหวัง

.

อย่างในกรณีของการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า สมองของเรานั้นก็ไม่ได้คิดใหม่ในทุกเรื่อง แต่หลายครั้งเราเองกลับเอาความทรงจำเก่าๆ มาดัดแปลงเพื่อสร้างแนวทางในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า

.

หรืออย่างในกรณีของการสร้างกลยุทธ์ขององค์กร ก็ต้องอาศัยการข้อมูลเป็นจำนวนมาก ทั้งข้อมูลที่เป็นสถานการณ์ปัจจุบัน และข้อมูลเชิงเวลา การที่เราจะสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลในการสมองของเราได้ ก็ต้องใช้ความจำอีกเช่นกัน

.

คนที่มีความจำดี เหมือนกับมีวัตถุดิบทางความคิดมากกว่าคนอื่นๆ ดังนั้น การที่มีวัตถุดิบทางความคิดจำนวนมาก ก็ย่อมมีโอกาสจำนวนมาก ในการสร้างความคิด การติดสินใจที่มีความแม่นยำ มีความหลากหลาย และมีสร้างสรรค์ทางความคิดได้มา่ก

.

ทั้งหมดนี้เป็นพื้นฐานมาจากความจำ จึงทำให้คนที่มีความจำดี มักจะมีผลงานการทำงาน และความคิดดีกว่าคนที่มีความจำน้อยกว่า

.

ประเภทของความจำสามารถแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ความจำในเรื่องราวจากภายนอก ความจำในความคิดของตัวเอง และความจำในกล้ามเนื้อและการเคลื่อนไหว

.

การสร้างความจำในด้านการจดจำเรื่องราวจากภายนอก สามารถเพิ่มความจำด้วยการใช้จินตนาการ สร้างเรื่องราวต่างๆ เอาไว้ในจินตนาการซ้ำอีกครั้งเมื่อได้เจอเรื่องราว เพราะเมื่อสมองสร้างจินตนาการเอาไว้แล้ว สมองจำทำการบันทึการเรื่องราวนั้นเอาไว้ ทำให้สามารถสร้างความจำได้ดีมากยิ่งขึ้น

.

เมื่อเรื่องราวจากภายนอก แปลงข้อมูลเป็นจินตนาการแล้วนั้น จะกลายเป็นความจำจากความคิด ซึ่งเทคนิคการสร้างความจำจากความคิดนั้นคือ การใส่รายละเอียดในจินตนาการ สมองจะทำงานมากขึ้น ทำให้สามารถสร้างการจดจำได้มากยิ่งขึ้น

.

แต่สำหรับการจดจำของกลา้มเนื้อนั้น จะมีความแตกต่างกันไป คือต้องอาศัยการทำท่าทาง หรือ กิจกรรมนั้นซ้ำๆ จนกว่าการเคลื่อนที่จะออกมาแบบอัตโนมัติ ทั้งมุมของข้อต่อ ความเร็ว น้ำหนัก ท่าทาง อาจจะสามารถรวมจินตนาการลงไปในการเคลื่อนไหวด้วยก็ได้ จะยิ่งช่วยให้คนเราสามารถจดจำการเคลื่อนที่ได้ดีมายิ่งขึ้น

.

แต่สิ่งเหนืออื่นใด ในการสร้างความจำคือการสร้างสมาธิ จดจ่อกับสิ่งที่ต้องการจำ หากเราไม่มีสมาธิจดจ่อต่อสิ่งที่ต้องการจำ ความจำของเราก็จะไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย และทำให้ลืมเร็วอีกด้วย

.

คนที่ต้องการเก่ง คนที่ต้องเป็นหัวหน้าคน การฝึกความจำและการฝึกสมาธิจึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญต่อการทำงานเป็นอย่างมาก ค่อยๆ ฝึกกันไป และทุกอย่างจะเก่งขึ้น


ดร.นารา กิตติเมธีกุล

วันอังคารที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

หนึ่งปีกับการ Work form Home เราเรียนรู้อะไร?

 บทความวันนี้ เขียนขึ้นเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2021 ภายใต้การประกาศล็อคดาวน์อีกครั้งของประเทศไทย



หนึ่งปีผ่านไป หรือเรียกว่าปีกว่าๆ จากการล็อคดาวน์ครั้งที่แล้วเมือเดือนมีนาคม 2020 หลายคนได้เปลี่ยนแปลงชีวิตด้วยการทำงานออนไลน์อย่างเต็มรูปแบบอยู่ที่บ้าน หลายคนยังต้องไปทำงานที่สำนักงาน บริษัท หรือ ที่ทำงานตามปกติ หลายคนไม่เคยได้ทำงานที่บ้านเพราะเป็นงานที่ต้องทำงานด้านการผลิต หรือการขนส่ง และยังคงต้องทำงานข้างนอกอยู่ตลอดเวลา แต่จากการล็อคดาวน์ ทำให้เราได้เรียนรู้การทำงานแบบใหม่ที่เป็นการทำงานที่เรียกว่า Work form Home จนกลายเป็น Work at Home ไปแล้ว เปลี่ยนบ้านให้กลายเป็นสำนักงาน หลายคนก็สามารถปรับตัวได้ หลายคนกลับฉวยโอกาสในการทำงานไปใช้เรื่องส่วนตัว หลายคนถูกลดเงินเดือนค่าจ้าง หรือรายได้ลง ซึ่งเป็นเรื่องราวที่แตกต่างกันไปในแต่ละคน


บทความนี้มาเรียบเรียงคนที่ต้องทำงาน WFH แบบเต็มรูปแบบ แล้วต้องการักษาคุณภาพ ผลงานเอาไว้ให้อยู่เท่าเดิมหรือเพิ่มขึ้นกว่าเดิมว่าต้องคิด เตรียมตัว และปรับตัวอย่างไรบ้างทั้งในมุมมองของผู้ทำงานที่ต้องทำงานเท่านั้นเพื่อทำงานให้มีประสิทธิผลมากขึ้น


1. ปรับความเข้าใจ

สิ่งแรกของการ WFH ว่า เราไม่สามารถทำงานเหมือนเดิมได้ ดังนั้นกระบวนการในการทำงานต่างๆ จะต้องเปลี่ยนแปลงไปด้วย ในการทำงานแบบปกตินั้น การที่งานด้วยกันให้ออฟฟิซ จะช่วยให้การประสานงานหรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลเป็นไปโดยง่าย ที่การพูดคุย การประชุม การสื่อสารต่างๆ การส่งเอกสาร การส่งงานต่อกัน แต่พอมา WFH คือการทำงานที่ต้องพึ่งพาตัวเองมากขึ้น ทำงานด้วยตัวเองมากขึ้น พูดคุยได้น้อยลง แม้ว่าจะมีการใช้เทคโนโลยี ก็ยังไม่สามารถทดแทนการสื่อสารแบบซึ่งหน้าได้อย่างสมบูรณ์ จุดนี้เป็นจุดเริ่มต้นที่จะทำให้การทำงานเริ่มรู้สึกว่ายากขึ้น

2. ปรับการสื่อสาร

จากประเด็นข้อแรกทำให้เราเองมีข้อจำกัดในการสื่อสาร แม้ว่าจะมีระบบการประชุมออนไลน์ แต่ถ้าหากเรานับดีๆ จำนวนประโยค การถ่ายทอดประโยคต่างๆ ยังมีข้อจำกัดอยู่มากในเทคโนโลยีปัจจุบัน ดังนั้น เราต้องเรียนรู้ในการสื่อสารอย่างเป็นระบบ สื่อสารให้น้อยลงแต่มีประสิทธิภาพให้มากขึ้น เพราะโอากสในการสื่อสารมีน้อยลงมากๆ ดัวนั้น เมื่อมีการสื่อสาร เราต้องเข้าประเด็น ไม่อ้อมให้เสียเวลา และมีรายละเอียดครบถ้วน

3. ออกแบบข้อมูลให้พร้อมในการใช้งาน

ข้อมูลต่างๆ ที่ต้องใช้ในการทำงาน หลายๆ องค์กร ยังเป็นข้อมูลที่อยู่ในรูปของกระดาษ ทำให้เวลาทำงานต้องกลับไปดูกระดาษ หรือบางครั้งแม้ว่าจะเป็นการสแกนไฟล์แล้ว แต่ว่า ก็ยังเป็นเหมือนกับการดูกระดาษผ่านหน้าจอ การออกแบบข้อมูลนั้น จะต้องทำให้อยู่ในรูปของดิจิตัล ที่สามารถเอาข้อมูลนั้นไปใช้งาน สรุป เปลี่ยนแปลง วิเคราะห์ ต่อได้โดยง่าย ที่เรียนกว่าเปลี่ยนจาก Data เป็น Information ถ้ายังไม่เข้าใจ นั้นหมายความว่า เราเองต้องเรียนรู้การสร้างข้อมูลแบบดิจิตัล และพร้อมที่จะสร้าง พร้อมใช้ พร้อมพัฒนาตัวเองในด้านจัดการข้อมูลในลักษณะดิจิตัลมากขึ้น นอกจากนั้น ข้อมูลที่เป็นดิจิตัล ยังต้องเรียนรู้ในการจัดข้อมูลให้อยู่ในกลุ่ม หมวดหมู่ที่สามารถใช้งานได้ง่ายอีกด้วย เปรียบได้กับว่า เราต้องเป็นคนที่จัดตู้เอกสารเอง มีการจัดการแบบบรรณารักษ์ ในคอมพิวเตอร์ของเราเอง ให้ทำงานได้ง่ายขึ้น

4. เรียนรู้การใช้โปรแกรมและแอพคอมพิวเตอร์ 

การใช้งานนี้ ไม่ใช่เคยเกิดและใช้เป็นเท่านั้น แต่ต้องเรียนรู้การใช้คุณลักษณะต่างๆ ที่มีการเข้ากันได้ระหว่างแอพด้วย เพราะการทำงานเริ่มมีความซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ เราเอง ก็ไม่สามารถที่จะพึ่งพาแอพใดแอพหนึ่งได้ เราก็ต้องใช้แอพหลายๆ แอพเข้าด้วยกัน อย่างเช่นในการสื่อสารระหว่างคน เราใช้แอพแชตได้ การประชุม เราจะใช้ 2 แอพ ในเวลาเดียวกัน หรือ มี Cloud Drive เพื่อช่วยในการส่งข้อมูล การแก้ไขข้อมูล ร่วมกัน นั่นจะต้องอาศัยทักษะการเรียนรู้ การคิด การสังเกตุ และจดจำให้มากขึ้น ซึ่งเรื่องนี้ ต้องใช้เวลาในการอธิบายอีกพอสมควร

5. จัดการเวลาและจัดการกายา

เนื่องจากบ้านไม่ได้ถูกออกแบบมาให้เป็นที่ทำงาน ดังนั้น โดยธรรมชาติของบ้าน จึงไม่ได้มีฟังชั่นให้พร้อมสำหรับการทำงาน และบ้านให้ความรู้สึกว่าพักผ่อน ดังนั้น การจัดการเวลาในการทำงานแบบ WFH จึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะ เราต้องตั้งเป้าหมายในการทำงานเอาไว้อย่างเคร่งครัด และสามารถส่งงานได้ตามกำหนด เนื่องจากคนอื่นที่เราต้องทำงานด้วย เค้ารองานจากเราอยู่ โดยที่เขาไม่รู้เลยว่า เราทำงานไปถึงไหน นื่องจากอยู่กันคนละที่ เราต้องสื่อสารกับทีมให้ชัดเจนว่า อะไรเป็นงานสำคัญเร่งด่วน หรือเป็นงานไม่สำคัญไม่เร่งด่วน เพื่อจัดความสำคัญ ในการทำงาน นอกจากนั้น เราต้องจัดการสิ่งที่อยู่รอบตัวของเราให้รูว่านี่คือเวลาทำงาน หรือเวลาพักผ่อนส่วนตัว เราต้องจัดการเรื่องนี้ให้เด็ดขาดออกจากกัน เพราะว่า หากเราเอาเรื่องส่วนตัวมาปนกับเรื่องงาน การทำงานแบบ WFH จะขาดประสิทธิภาพอย่างรุนแรง วิธีการหนึ่งที่เราช่วยให้การจัดการกายาได้ คือเราแต่งตัวเหมือนไปทำงาน และเราก็จัดการมุมทำงานเอาไว้ในบ้าน เหมือนเราเดินทางไปทำงาน แต่ที่ทำงานนั้นอยู่ในบ้านของตัวเอง ทำให้เรารู้สึกว่า การพักผ่อนในวันหยุด กับวันทำงานมีความแตกต่างกัน สมองจะเกิดการเรียนรู้ว่า ตอนนี้คือเวลาทำงาน หรือเราอาจจะตั้งนาฬิกาเอาไว้เหมือนกับเวลาเข้างานกับเวลาเลิกงานก็ช่วยได้

6. แบ่งเวลาเป็น 3 ส่วน

การแบ่งเวลาเป็น 3 ส่วนจะช่วยให้เรามีตารางการทำงานที่ชัดเจนมากขึ้น ส่วนแรกคือส่วนการทำงาน เรารู้ว่าเราต้องทำงานอย่างไร เวลาไหน และต้องทำอะไรให้เสร็จ เวลาส่วนที่ 2 คือเวลาส่วนตัว เราสามารถใช้กับครอบครัวได้อย่างเต็มที่ เป็นช่วงที่เราไม่ต้องยุ่งกับงาน แยกออกจากกันอย่างเด็ดขาด และเวลาส่วนที่ 3 คือเวลาในการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง ปกติในการทำงาน เราจะเกิดการเรียนรู้จากการทำงานร่วมกับคนอื่น ทำให้เกิดการถ่ายทอดความรู้ความคิด เป็นควารู้ใหม่จากทำงาน แต่เนื่องจาก WFH เราแทบจะไม่ได้เจอคนที่ต้องทำงานร่วมกัน และการประสานงานกับคนที่เราไม่เห็นหน้า ก็มีความยากกว่าในการเห็นหน้า เราจึงต้องเอาเวลาส่วนหนึ่งในการเรียนรู้กับตัวเองด้วย ทำให้เราสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ เพราะในการเกิดการแพร่ระยาดของ COVID เราพบว่าที่เรื่องราวต่างๆ เปลี่ยนแปลงไปเร็วมาก เทคโนโลยีก็เกิดขึ้นเร็วมาก เราเองต้องตามให้ทัน และสามารถนำไปใช้กับการทำงานได้ โดยเฉพาะการปรับปรุงฟังก์ชั่นในการทำงานใหม่ๆ ของแอพที่เราต้องใช้งาน

7. ออกกำลังกายด้วย

การ  WFH เป็นเรื่องที่ทำให้เรามีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลงมากๆ ดังนั้น เราเองต้องรู้จักการรักษาร่างกายของเราเอง ด้วยการออกกำลังกายในแบบที่เป็นตัวเรา จะหนัก เบา นาน สั้นอย่างไรก็แล้วแต่ เพื่อป้องกันความเสียหายของร่างกายจากการทำงาน นอกจากนั้น เราเองต้องการการเคลื่อนไหวร่างกาย เพราะว่า ทำให้สมองของเราสามารถทำงานได้ดีมากยิ่งขึ้น


ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่เรียนรู้ได้ว่า เมื่อ WFH เราจะทำอย่างไรให้การทำงานมีผลงานออกมาได้มากขึ้น

วันเสาร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

ปั้นคนเก่ง EP19 #เรียนรู้ที่จะหยุดและไปอย่างเป็นจังหวะที่สวยงาม

เรียนรู้ที่จะหยุดและไปอย่างเป็นจังหวะที่สวยงาม


#Competency #SkillUp





ผู้คนมากมายมีความพยายามที่จะพุ่งไปข้างหน้า ไปอย่างไม่หยุดยั้ง ไปให้เต็มกำลัง เพื่อต้องการให้ได้ผลลัพธ์ที่เร็วที่สุด นับว่าเป้นเรื่องที่ดี แต่อย่างไรก็ตาม เรื่องที่ดีนั้น ก็มีเรื่องอันตรายอยู่ด้วยคือ


การเดินทางที่ไม่รู้ว่าได้เดินทางอย่างถูกต้อง ถูกทิศ ถูกทางหรือไม่ ทำให้เราหลงทาง หรือทำให้เราเกิดความเสียหายอย่างรุนแรงได้ เพราะเราไปผิดทาง


ชีวิตเราเหมือนกับการเดินเรือกลางมหาสมุทร ที่ไม่มีถนน ไม่มีสิ่งบอกทิศทางอะไรเลย เราต้องอาศัยทิศเปรียบเทียบกับเส้นทางการเดินทางที่ผ่านมา ทำให้เรารู้ว่าตอนนี้เราอยู่ที่ไหน และนักเดินเรือจะต้องทำการวัดทิศตลอดเวลา และพยายามหาสิ่งสังเกตุเพื่อให้กำหนดจุดที่ตัวเองอยู่ได้


คนเราก็เหมือนกัน เราต้องตรวจสอบการเดินทางของชีวิต วัดทิศทาง และมองเส้นทางในอดีตที่ผ่านมาของตัวเองเสมอเพื่อให้เราสามารถรู้ว่า ตอนนี้ ชีวิตเราเดินทางไปทางไหน


แต่ว่า การตรวจสอบชีวิตเรามันไม่ง่ายและเห็นชัดเหมือนการเดินเรื่อง เพราะเราไม่มีเข็มทิศ ไม่มีกล้องส่องทางไกลที่จะส่องชีวิตได้แบบจริงๆ มีแต่ความคิดและความจำเท่านั้นที่ทำให้เราสามารถเห็นชีวิตของเราเองได้


วิธีการตรวจสอบทิศทางชีวิตได้คือ “การหยุด” หยุดเพื่อคิด หยุดเพื่อทบทวน หยุดเพื่อพิจารณาว่า ที่ผ่านมานั้น ทำอะไร ได้อะไร เกิดอะไรขึ้นกับตัวเองและคนรอบข้าง ถ้าเราพบว่า มีการผิดพลาด เราก็แก้ไขด้วยการ ยอมรับว่าผิดพลาด


การหยุด จะทำให้เราเห็นความจริงที่เกิดขึ้น แทนการหลอกตัวเองด้วยความเชื่อและความคิด

การหยุดทำให้สมองของเราได้พักและจัดระบบความคิด

การหยุดทำให้เราได้ฟังเสียงตัวเอง

การหยุดทำให้เราตัดสินใจได้อย่างเฉียบคมมากขึ้น


วันที่ปัญหารุมเร้า หยุด สักครู่ ทำใจให้เป็นกลาง พิจารณา และตัดสินใจให้แม่นยำ แล้วไปต่อเป็นจังหวะของชีวิต


คนเก่งเค้าทำกันแบบนี้



#เก่งคิด #เก่งงาน #เก่งคน

ดร.นารา


วันศุกร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

ปั้นคนเก่ง EP18 #อ้อเหรอสูตรลับคนเก่ง

อ้อเหรอสูตรลับคนเก่ง



#Competency #SkillUp


อ้อเหรอ เป็นคำอุทานที่ฟังดูง่ายๆ แต่ช่างทรงพลังยิ่งนัก เพราะว่าเป็นเทคนิคการเบรกความคิด ก่อนที่เราจะตัดสินหรือตีความหมายเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เราได้รับมา

.

คนเก่งจะไม่รีบตัดสินด้วยอารมณ์ แต่จะทำความเข้าใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น และเรียนรู้มัน เรียบเรียงมัน ก่อนที่จะตัดสินใจว่าต้องทำอะไรต่อไป


เนื่องจากว่าของคนเรานั้นทำงานเร็วมากหลายๆ ครั้งเราไม่สามารถจะติดตามความคิดของเราได้ทันท่วงที เราจึงจำเป็นต้องมีอะไรบางอย่างมาคั่นความคิดเราก่อนที่เราจะตัดสินใจออกไป


อ้อเหรอมันเป็นเช่นนี้เอง


นี่คือช่วงเวลานาทีทองที่จะทำให้สมองหยุดคิดพิจารณาสิ่งที่เกิดขึ้น และได้ใช้ประสิทธิภาพของสมองอย่างเต็มที่ มิฉะนั้นแล้วสมองจะทำตามสัญชาตญาณและความเคยชินของเรา


นอกจากนั้น อ้อเหรอ


ยังช่วยทำให้เราใจเย็นขึ้นมองโลกเป็นจริงมากขึ้น และยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้นได้มากยิ่งขึ้นด้วย


หลักการในการแก้ปัญหาในการตัดสินใจเรื่องราวต่างๆนั้นเริ่มต้นด้วยการทำความเข้าใจ


เมื่อเราเข้าใจเขาก็จะรู้ว่าเราจะต้องใช้ใจทำอะไรต่อไป แต่ถ้าเราไม่เข้าใจเราก็จะไม่รู้ว่าใจของเรานั้นต้องการอะไรกันแน่


นี่แหละครับคนเก่ง เรียนรู้ว่า อ้อหรอมันเป็นเช่นนี้เอง 



#เก่งคิด #เก่งงาน #เก่งคน

ดร.นารา


วันอาทิตย์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2564

ทำไมเราถึงคิดว่า ประชาธิปไตย จึงเป็นระบบที่ดีที่สุด


บทความบทนี้ ไม่มีเจตนาทางด้านการเมือง แต่นำเสนอเพื่อชวนให้คิด ให้เข้าใจกับตัวเอง ด้วยมุมมองทางเศรษฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ จิตวิทยา การบริหาร


ข้อแนะนำ ช่วยวางความคิดทางการเมืองลง แล้วค่อยอ่าน เพราะอาจจะมีผลต่ออารมณ์ความรู้สึก และความเชื่อของท่าน


ขบคิด ณ วันที่ 27 มิถุนายน 2564


ในช่วงนี้ผมได้ติดตามข่าวเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญของประเทศไทยซึ่งก็ทำให้เรามาฉุกคิดได้ว่าทำไมนะหลายคนในโลกนี้จำนวนมากที่เดียวที่เชื่อว่าระบอบประชาธิปไตยคือระบอบที่ดีที่สุด?


มันเป็นคำถามที่ผมได้คิดแล้วก็อดไม่ได้ที่จะคิดต่อไปเรื่อยๆว่าจริงๆ แล้วประชาธิปไตยเป็นระบบที่ดีที่สุดตามที่เราเชื่อจริงหรือ อะไรคือจุดอ่อน อะไรคือจุดแข็งของระบบประชาธิปไตย?


ด้วยความคิดตรงนี้ผมจึงย้อนกลับไปคิดถึงเรื่องของการปกครองว่าเหตุใดเราจึงต้องมีผู้ปกครองซึ่งตอนหลังอาจจะถูกพัฒนากลายเป็นชนชั้นปกครองและกลุ่มการเมืองในปัจจุบัน ในอดีตกาลมนุษย์ก็คงจะเป็นสังคมขนาดเล็กที่ยังไม่มีรูปแบบอะไรมากมายในการอยู่ร่วมกันอย่างไม่มีกฎกติกาอะไรมากมายสนใจแต่เพียงว่าในแต่ละวันจะใช้ชีวิตอย่างไรให้อยู่รอดปลอดภัยและมีอาหารยังชีพอย่างอุดมสมบูรณ์หรือมีความมั่นคงในชีวิต หากเราได้อ่านหนังสือเรื่อง homo sapiens  เราก็จะพบว่ากฎกติกาต่างๆถูกเริ่มกำหนดขึ้นโดยการที่มนุษย์มีจินตนาการแล้วก็กำหนดโลกสมมุติเกิดขึ้นทำให้เรายึดถือกันว่าสิ่งต่างๆที่เราสมมตินั้นเป็นความจริงแท้แม้ว่าเราจะจับต้องไม่ได้เลยก็ตาม กฎเกณฑ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นกฎการอยู่ร่วมกันกฎแห่งบาปบุญคุณโทษกฎหมายกฎการปกครองการละเมิดการใช้ชีวิตร่วมกันทั้งหมดนี้ถ้าเราพิจารณาในฐานะนักชีววิทยาเราจะพบว่ามันไม่มีอยู่จริงแต่มันกลับเป็นจริงเพราะมนุษย์เชื่อในสิ่งที่ตัวเองสมมุติอย่างสุดหัวใจ


นั่นก็หมายความว่าระบบการปกครองทั้งหมดก็คือกฎที่มนุษย์สร้างขึ้นเป็นโลกสมมุติที่มนุษย์เชื่อว่าเราจะต้องยึดถือความจริงแท้ข้อนี้ แต่ถ้าหากเรามองย้อนกลับไปในมุมมองของสิ่งมีชีวิตเผ่าพันธุ์อื่นๆเราก็อาจจะพบว่าเราไม่จำเป็นต้องเชื่อในกฎเกณฑ์ที่ถูกตั้งขึ้นมาเป็นแบบนี้


กลับมาที่ต้นกำเนิดของการปกครองในยุคที่มนุษย์เริ่มมีการรวมตัวกันเป็นสังคมเล็กๆสิ่งที่มนุษย์ต้องการคือการอยู่รอด และมนุษย์มีความสามารถอย่างหนึ่งที่อยู่เหนือกว่าสัตว์ชนิดอื่นคือการให้ความร่วมมือกัน เพื่อทำให้กลุ่มของมนุษย์มีความเข้มแข็งขึ้นแม้ว่ามนุษย์จะไม่มีกล้ามเนื้อหรือความแข็งแรงเทียบเท่ากับสัตว์ชนิดอื่นก็ตามที แต่ด้วยความที่มนุษย์รวมกลุ่มกันนี้เองจึงทำให้มนุษย์สามารถเอาชนะอุปสรรคและความท้าทายของการอยู่รอดแห่งการดำรงเผ่าพันธุ์เอาไว้ได้อย่างยอดเยี่ยมจนกลายเป็นเผ่าพันธุ์มนุษย์ผู้ยิ่งใหญ่ในปัจจุบัน


นั่นหมายความว่าโดยแท้จริงแล้วผู้ปกครองจึงมีหน้าที่ที่สำคัญที่สุดคือการสร้างความมั่นคงให้กับกลุ่มหรือสังคมของมนุษย์ที่รวมตัวกันอยู่นั่นเอง ในอดีตการที่เราจะยอมรับผู้ปกครองขึ้นมาเป็นคนที่นำพาให้กับกลุ่มเดินไปในทิศทางใดๆ ก็แล้วแต่ยอมขึ้นอยู่กับความสามารถและพละกำลังที่จะช่วยทำให้กลุ่มหรือสังคมผ่านพ้นอุปสรรคและวิกฤตินานาประการได้ สิ่งที่ต้องแลกเปลี่ยนกันระหว่างสังคมกับชนชั้นปกครองคือชนชั้นปกครองได้มอบความมั่นคง ความอยู่ดีกินดี และความปลอดภัยในชีวิตให้กับสังคม ในขณะที่สังคมได้มอบบางสิ่งบางอย่างให้กับชนชั้นปกครองเป็นการตอบแทนเช่น อำนาจ ความร่ำรวย ชื่อเสียงเกียรติยศ ตรงนี้เอกเป็นจุดเริ่มต้นของการแลกเปลี่ยนระหว่างกันและกันนั่นหมายความว่า ชนชั้นปกครองมีหน้าที่อย่างหนึ่ง และสังคมก็มีหน้าที่อีกอย่างหนึ่ง


ด้วยเหตุนี้จึงมีการพัฒนาระบบการปกครองแบ่งเป็น 2 ชั้นคือชนชั้นปกครองและชนชั้นผู้ถูกปกครอง ชนชั้นปกครองในสมัยแรกจึงเริ่มต้นด้วยหัวหน้าเผ่า หรือ ผู้นำชุมชน หลังจากนั้นก็ได้มีการพัฒนารูปแบบให้มีความเข้มข้นมากยิ่งขึ้นเริ่มมีพิธีกรรมต่างๆเข้ามาเพื่อให้หัวหน้าเผ่าหรือผู้นำชุมชนนี้มีความแตกต่างออกไปจากบุคคลทั่วไปของสังคมหรือของกลุ่ม เวลาผ่านไปสังคมและกลุ่มต่างมีการขยายตัวเพิ่มสูงขึ้นจำนวนประชากรก็เพิ่มขึ้นความซับซ้อนของการออกแบบระบบจึงมีมากขึ้นตามมา จุดนี้แหละจึงเริ่มมีคำว่าจักรพรรดิ กษัตริย์ และพระราชาเกิดขึ้น การที่จะทำให้คนยอมรับว่าคนกลุ่มนี้มีความพิเศษมากกว่าคนอื่นคือการใส่ความเชื่อความรู้สึกนึกคิดลงไปและไปผูกโยงร่วมกับความคิดทางศาสนาหรือทางลัทธิต่างๆที่แต่ละกลุ่มยอมรับนับถือและคิดว่าสิ่งนั้นเป็นความจริง (จากโลกที่ตัวเองสมมุติขึ้นมา)


ในขณะที่ชนชั้นปกครองต้องการที่จะรักษาสิทธิพิเศษต่างๆ ที่เกิดขึ้นจึงได้มีการกำหนดเงื่อนไขต่างๆ และมีการใส่ข้อมูลความเชื่อลงไปยังสังคมให้สังคมยอมรับว่าสิ่งที่ตัวเองมีนั้นสามารถสืบทอดได้ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น สืบทอดทางสายเลือด สืบทอดจากการเลือกตั้ง สืบทอดโดยการคัดเลือกจากสภาขุนนางหรือผู้ปกครองอื่นๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละสังคมนั้นมีกฎเกณฑ์กติกาในการมอบอำนาจของประชาชนหรือสังคมให้กับชนชั้นปกครองอย่างไร


มาถึงตรงนี้ก็เป็นยุคสมัยที่มนุษย์มีการพัฒนาโครงสร้างทางสังคมที่เกิดซับซ้อนสูงมากเริ่มพัฒนาเป็นอาณาจักรเริ่มพัฒนาเป็นประเทศ มีการใช้ความเชื่อ มีการใช้ตรากฎหมาย มีการใช้จารีตและธรรมเนียมปฏิบัติต่างๆเข้ามาเป็นเครื่องมือในการกำหนดแนวทางการปฏิบัติและการอยู่ร่วมกันของสังคมมนุษย์ ในขณะที่บางสังคมอย่างเช่นกรีกโบราณ ที่เราเชื่อกันว่าเป็นจุดเริ่มต้นของระบบประชาธิปไตยที่ให้ผู้ชายทุกคนในสังคมสามารถเข้าไปมีอำนาจในการออกสิทธิ์ออกเสียงในสภาได้เพื่อทำการคัดเลือกหรือออกกฎระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง แต่ด้วยความที่สังคมมีประชาชนเพิ่มขึ้นและการสื่อสารนั้นมีข้อจำกัดเป็นอย่างมากในอดีตจึงทำให้ทุกคนไม่สามารถเป็นผู้แทนของตัวเองในการออกสิทธิ์ออกเสียงได้ แต่ต้องมอบความไว้วางใจทั้งหมดเอาไว้กับผู้ปกครอง และเชื่อว่าผู้ปกครองนั้นเป็นผู้มีบุญญาบารมีสามารถตัดสินใจได้อย่างถี่ถ้วนและเด็ดขาด คนผู้นี้จึงเรียกว่า กษัตริย์ แล้วตัวกษัตริย์เองก็มีผู้ช่วยเป็นเหล่าขุนนางทั้งหลายที่เป็นผู้ช่วยคิดแก้ไขปัญหาต่างๆของบ้านเมืองที่เกิดขึ้น แต่สุดท้ายแล้วเราก็จะพบว่าเป้าหมายของการเป็นกษัตริย์ที่แท้จริงคือการสร้างความมั่นคงและอุดมสมบูรณ์รวมถึงความผาสุกของประชาชน เราจึงเห็นว่ามีบทสอนมากมายเกี่ยวกับกษัตริย์ว่าต้องทำอะไร เช่นทศพิธราชธรรม หรือแนวทางการปกครองของต่างประเทศ


สรุปตรงนี้คือ ผู้ปกครองมีหน้าที่ที่จะต้องทำให้ประชาชนหรือสังคมนั้นสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยความ ปลอดภัย ผาสุข เศรษฐกิจที่ดี การกินดีอยู่ดี ช่วยประชาชนมีหน้าที่ไว้วางใจและมอบสิทธิบางอย่างของตัวเองให้กับชนชั้นปกครองเพื่อให้ชนชั้นปกครองนั้นสามารถทำหน้าที่ของตนเองได้อย่างดีที่สุด


แต่อย่างไรก็ตามในอดีตและประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาก็พบว่าหลายๆครั้งการใช้อำนาจของชนชั้นปกครองนั้นกลับไม่สามารถรักษาสมดุลของการเพิ่มประโยชน์ให้กับตัวเองกับการเพิ่มประโยชน์ให้กับสังคมได้ หมายความว่าเมื่อใดก็ตามที่ชนชั้นปกครองหาประโยชน์ให้กับตัวเองเกินกว่าการสร้างประโยชน์ให้กับสังคมสังคมก็จะเกิดภาวะตกต่ำ ไม่ว่าทางด้านทางเศรษฐกิจ ปากท้องต่างๆของประชาชน ความปลอดภัยในชีวิต รวมไปถึงการพัฒนาโครงสร้างทางสังคมแนวคิด ถึงตรงนั้นก็ทำให้เกิดการเสื่อมถอยในศรัทธาของชนชั้นปกครอง เราก็จะสามารถพบได้ในประวัติศาสตร์ของการล่มสลายในแต่ละราชวงศ์ทั่วโลก


แต่ถ้าเมื่อใดก็ตามชนชั้นปกครองสามารถที่จะช่วยทำให้สังคมมีความเจริญรุ่งเรือง มีการกินดีอยู่ดี มีการพัฒนาทางความสุขความคิดและจิตวิญญาณของมนุษย์ให้เพิ่มสูงขึ้น ในยุคนั้นชนชั้นปกครองก็จะได้รับการให้เกียรติได้รับการสรรเสริญ และเชิดชูเป็นผู้ยิ่งใหญ่ ถึงตรงนั้นระบอบประชาธิปไตยกลับไม่มีใครพูดถึงเลยว่าต้องการเปลี่ยนแปลงเพราะทุกคนกำลังได้รับในสิ่งที่ตัวเองต้องการนั่นเอง


แต่เมื่อใดก็ตามที่ชนชั้นปกครองไม่ว่าจะเป็นระบบไหนที่ไม่สามารถสร้างความมั่งคั่ง ความมั่นคง ความผาสุก และการพัฒนาทางด้านชีวิตจิตใจ จิตวิญญาณ และความคิดของประชาชนได้ เวลานั้นประชาชนโดยทั่วไปก็จะเริ่มถามหาการเปลี่ยนแปลงจริงๆแล้วคืออยากจะเปลี่ยนแปลงผู้นำเพื่อต้องการให้ผู้นำคนใหม่นั้นสามารถที่จะพัฒนาทางสังคม ทางเศรษฐกิจ ให้สามารถตอบสนองความต้องการของตนเองได้ แล้วจะยิ่งเวลาผ่านไปผู้คนได้รับข้อมูลข่าวสารมากขึ้นเรื่อยๆ เกี่ยวกับประวัติศาสตร์เกี่ยวกับรูปแบบแนวคิดในการปกครองจึงคิดว่าระบอบประชาธิปไตยจะเป็นตัวช่วยที่ทำให้ประชาชนสามารถมีการเปลี่ยนแปลงผู้นำการปกครองที่ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของสังคมได้


จากนั้นระบอบประชาธิปไตยก็ได้เริ่มมีการพัฒนาแนวคิดต่างๆ ขึ้นไปอย่างเข้มข้นมากขึ้น ได้เริ่มพัฒนาไปถึงหลักปรัชญาของอำนาจและนำไปสู่การร่างรัฐธรรมนูญ ถึงตรงนี้ชวนให้ผมคิดขึ้นมาว่าแล้วถ้าบอกว่าจะไปไตดีจริงหรือ


เรามาเริ่มคิดตรงนี้ว่าในระบอบประชาธิปไตยคือการเคารพเสียงข้างมากของประชาชน แต่ถ้าว่าถ้าประชาชนไม่มีข้อมูลข่าวสารที่สมบูรณ์เต็มที่ว่าคนใดนั้นเหมาะสมที่จะเป็นผู้ปกครองอย่างแท้จริง หรือมีข้อมูลข่าวสารที่ถูกจงใจให้บิดเบือนว่าคนใดคนหนึ่งเป็นผู้ที่เหมาะสมในการปกครองอย่างแท้จริงแล้วนั้นเขาก็จะเลือกคู่นี้ขึ้นมาเป็นผู้ปกครองของตัวเอง นั่นหมายความว่าประชาชนก็เอาความเสี่ยงของชีวิตไปฝากเอาไว้กับการเลือก หรือเลือกตั้ง เพียงช่วงเวลาสั้นๆและต้องรอให้ผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งนั้นหมดวาระซึ่งจะใช้เวลาสั้นหรือยาวแตกต่างกันไปตามระบบหรือระเบียบที่กำหนดเอาไว้ในแต่ละสังคม


ระบอบประชาธิปไตย จะทำงานได้ดีก็ต่อเมื่อประชาชนทุกคนเรียนรู้ที่จะรับฟังซึ่งกันและกัน ซึ่งต้องอาศัยการปลูกฝังในสังคมอย่างยาวนาน และต้องมีวินัยต่อตนเองและต่อสังคมสูงมากจึงทำให้ระบบนี้สามารถที่จะทำงานได้อย่างเต็มที่ ขณะเดียวกันต้องมีระบบและกลไกของทางด้านการปกครองที่ช่วยให้ประชาชนสามารถทำความเข้าใจกับความสามารถของผู้เสนอตัวเข้ามาเป็นชนชั้นปกครองได้อย่างละเอียดและถี่ถ้วน สามารถสืบประวัติย้อนหลังได้อย่างยาวนานและให้ความสำคัญจริงจังกับความสามารถของบุคคลมากกว่าความพึงพอใจของบุคคล จากนั้นระบบประชาธิปไตยข้อดีคือ ระบบนี้จะช่วยทำให้เปลี่ยนแปลงผู้ปกครองได้เมื่อผู้ปกครองไม่สามารถตอบสนองความต้องการของสังคม และยิ่งไปกว่านั้นคือมีระบบในการตรวจสอบและคานอำนาจอย่างชัดเจนโดยที่ มีระดับการคานอำนาจอย่างเหมาะสม เพื่อให้ผู้ปกครองสามารถใช้อำนาจของตนเองได้อย่างเต็มที่ แต่ต้องรับผิดชอบผลของการตัดสินใจของตนเองได้อย่างเต็มที่จากการถูกสอบทานและคานอำนาจเช่นเดียวกัน เป็นเครื่องมือที่บังคับให้ผู้ปกครองมุ่งเน้นประโยชน์ของสังคมมากที่สุดเป็นหลัก น่าจะพิจารณาให้ลึกลงไปกว่านั้นผู้ปกครองก็ย่อมจะเป็นผู้ที่เสียสละเพราะเมื่อมุ่งเน้นประโยชน์ของสังคมมาก ประโยชน์ส่วนตนก็จะหายไปด้วยเช่นกัน ในประวัติศาสตร์ในหลายประเทศพบว่าผู้ที่เข้ามาเป็นผู้ปกครองประเทศนั้นหลายครั้งกับจะมีจำนวนหนี้สินหรือความมั่งคั่งของตนเองลดลงอย่างเห็นได้ชัดเช่นอดีตประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา เพราะเงินตอบแทนไม่เพียงพอต่อการใช้ในกิจการต่างๆของตนเอง ดังนั้นหลายครั้งที่ผู้ปกครองจึงพยายามต้องดึงประโยชน์ที่สามารถแสวงหาได้จากการดำรงตำแหน่งในหน้าที่เข้ากับตัวเองเพื่อให้เป็นการชดเชยกับสิ่งที่ตัวเองต้องทำลงไปไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการประชาสัมพันธ์ความรู้ความสามารถของตนเองให้สังคมได้รับรู้ กิจกรรมแต่ละประเภทมีต้นทุนทั้งสิ้น ในที่สุดสิ่งนี้ก็ถูกพัฒนาเข้ามาสู่เรื่องของการเล่นการเมือง มีงานวิจัยบอกไว้ชัดเจนว่า นักการเมืองในสหรัฐอเมริกาจะทำงานจริงๆเพียงแค่ 25 เปอร์เซ็นต์ของระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งทั้งหมด ส่วนอีก 75% ที่เหลือนั้นเอาไว้ใช้สำหรับการหาเสียงเท่านั้นดังนั้นถือว่าเป็นการสูญเสียทรัพยากรทางด้านเวลาเงินทองอย่างยิ่งที่ประชาชนต้องเสียภาษีและยอมเสียสละเวลาของตนเองให้กับชนชั้นปกครองเพื่อนำไปสู่การพัฒนาทางด้านสังคมและเศรษฐกิจ


นี่ก็นับว่าเป็นข้อเสียของระบอบประชาธิปไตยที่ถูกพัฒนาจะประชาธิปไตยทางตรงเป็นสู่ระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทนและนำไปสู่การเล่นการเมืองเพื่อรักษาฐานเสียงและฐานอำนาจของชนชั้นปกครองเอาไว้ให้สามารถกลับมามีอำนาจอีกครั้งหนึ่งในการปกครองได้ ในขณะที่กลุ่มคนอื่นๆที่ต้องการขึ้นมาเป็นชนชั้นปกครองก็มีความพยายามที่จะลดทอนความน่าเชื่อถือของกลุ่มที่ได้เป็นชนชั้นปกครองในปัจจุบัน เพื่อหวังว่าวันหนึ่งตัวเองจะได้สลับขึ้นมาเป็นชนชั้นปกครองบ้างจนกระทั่งมีคำกล่าวว่าอำนาจและตำแหน่งทางการเมืองเปรียบเสมือน “สมบัติผลัดกันชม” นับว่าเป็นเรื่องตลกร้ายทีเดียวเทียบระบอบประชาธิปไตยถูกพัฒนาจากความต้องการขั้นพื้นฐานคือความกินดีอยู่ดีของมนุษย์ไปสู่การสูญเสียอำนาจ และสร้างความเสี่ยงจากการที่เลือกผู้คนไปสู่ชนชั้นปกครองที่มีโอกาสพิจารณาเพียงน้อยนิด 


ในทางตรงกันข้าม หากชนชั้นปกครองมาจากการคัดเลือกเลือกสรรหรือการสืบทอดด้วยสายเลือด เรียกอีกแบบหนึ่งว่าชนชั้นกษัตริย์ จักรพรรดิ หรือพระราชา ระบอบการปกครองแบบนี้ ก็อาจจะมีข้อดีคือมีเวลาคิดไต่ตรองจากผู้ที่มีประสบการณ์ทางด้านการปกครองให้มาเป็นผู้สืบทอดอำนาจการปกครองคนต่อไปจนกระทั่งนำไปสู่การขึ้นอำนาจของผู้ที่ถูกคัดเลือก ผู้นี้ก็จะรู้ดีว่าหน้าที่ของเขาต้องทำอะไร แต่ความเสี่ยงก็ตามมาอีกเช่นกันคือเมื่อผู้นี้ได้เข้าสู่อำนาจและมีเทคนิคการสืบทอดอำนาจให้สามารถสืบทอดได้กับพวกของตัวเองที่ได้กำหนดเอาไว้โดยไม่ได้พิจารณาถึงความสามารถและความเหมาะสมทางด้านการสร้างประโยชน์ให้กับสังคมเป็นหลักแล้ว ก็จะทำให้การปกครองนั้นเต็มไปด้วยการสร้างความเสียหายให้กับสังคมเช่นกัน 


เหตุการณ์บ่อยครั้งในอดีตที่ผ่านมานั้นพบว่าการปกครองด้วยระบอบกษัตริย์และพระราชาหากอยู่นานวิธีการคิดของผู้ปกครองก็จะมีการเปลี่ยนแปลงไป ความกระตือรือร้นในการสร้างความมั่งคั่งให้กับสังคมก็อาจจะเปลี่ยนแปลงไป แล้วพบว่าได้เตะนัดราชวงศ์ก็จะมียุคที่เจริญรุ่งเรืองในยุคเสื่อมถอยที่เกิดขึ้นซึ่งในแต่ละยุคนั้นจะกินเวลาที่ค่อนข้างนานทำให้ประชาชนในหลายประเทศโดยเฉพาะประเทศที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า สาธารณรัฐ นั่นหมายถึงประเทศที่เคยมีระบอบกษัตริย์และมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองให้รัฐนั้นกลายเป็นของสาธารณชน ประเทศเหล่านี้ได้ผ่านความรุ่งเรืองและความทุกข์ยากพี่ใช้เวลานาน ยกตัวอย่างประเทศฝรั่งเศส ในยุคของการเปลี่ยนแปลงจากระบอบกษัตริย์ที่เคยรุ่งเรืองในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แต่ต้องกลับมาตกต่ำลงในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 เพราะว่ากษัตริย์ได้สร้างความมั่งคั่งให้กับตนเองแต่มีความอดอยากกับประชาชนประชาชนจึงลุกขึ้นมาทำการเปลี่ยนแปลงแล้วเป็นระบอบจักรพรรดิ ในสมัยนั้นก็ได้เลือกนักรบที่คิดว่าตัวเองมีความสามารถอย่างจักรพรรดินโปเลียน ซึ่งจักรพรรดินโปเลียนเองก็ได้มีการถ่ายทอดอำนาจการปกครองของตนเองให้กับลูกหลานของตนและสุดท้ายก็ไม่สามารถที่จะรักษาความมั่งคั่งและการกินดีอยู่ดีของประชาชนเอาไว้ได้ด้วยปัจจัยหลายๆประการจึงกลายเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยในปัจจุบันโดยมีการเลือกประธานาธิบดีเป็นผู้มีอำนาจในการปกครองสูงสุดและมีวาระในการปกครองเพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถเลือกผู้ปกครองคนใหม่ และทบทวนผลงานที่ผ่านมาเป็นการลดความเสี่ยงของการอดอยากที่จะเกิดขึ้นกับสังคมแบบมีวาระ


พอมาถึงตรงนี้เรากลับเห็นว่ามันเป็นแนวคิดแบบทางสามแพร่ง การปกครองแบบกษัตริย์ก็ถือว่ามีข้อดี การปกครองแบบประชาธิปไตยก็ถือว่ามีข้อดี จริงๆแล้วทั้งหมดอยู่ที่ตัวผู้นำเท่านั้นไม่ว่าจะเป็นการปกครองระบอบไหน รวมไปถึงการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่มีการสืบทอดอำนาจแบบที่เราเข้าใจกันอยู่ในทุกวันนี้ก็เช่นกัน หากผู้นำ สามารถสร้างเศรษฐกิจ สามารถช่วยเหลือประชาชนได้อย่างเป็นระบบ ทั่วถึง และทำให้ประเทศมีการพัฒนานำไปสู่การได้เปรียบนำไปสู่การมีระเบียบเรียบร้อยในสังคม แล้วทำให้ประชาชนเห็นว่าตัวเองมีอนาคตอย่างไรเข้าใจว่าตัวเองจะต้องทำตัวอย่างไรนั้น ระบบการปกครองไม่มีผลอะไรเลย พอทั้งหมดประชาชนจะรับได้เนื่องจากประชาชนได้รับการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานในชีวิต รวมไปถึงประชาชนได้รู้ว่าตัวเองจะต้องทำอะไรต่อไป มีหลายประเทศที่ไม่เป็นระบบประชาธิปไตยแต่ประชาชนก็มีความสุขและยอมรับได้กับสิ่งที่เกิดขึ้นภายในประเทศของตนเอง เพราะแต่ละประเทศนั้นเขาสามารถแสดงความจริงใจและวิธีการพัฒนาประเทศที่ให้ประชาชนเห็นได้ว่าประชาชนมาก่อน ส่วนการตอบแทนของชนชั้นปกครองนั้นก็ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละประเทศจะยอมรับได้อย่างไร บางประเทศก็มอบความมั่งคั่งและความร่ำรวยให้กับชนชั้นปกครองอย่างมากเพื่อเป็นการตอบแทนว่าประชาชนของตนก็ได้รับความมั่งคั่งและความร่ำรวยเช่นเดียวกัน


วันนี้เราควรจะต้องมาออกแบบวิธีการคัดเลือกผู้นำที่เห็นประชาชนเป็นศูนย์กลางเป็นหลักมากกว่าการที่เราจะมาเลือกระบบ จะเกิดอะไรขึ้นก็แล้วแต่หากประชาชนที่เป็นรากฐานที่สุดของประเทศไม่สามารถที่จะสร้างความมั่งคั่งให้กับตนเอง หรือเข้าสู่ภาวะอดอยากปากแห้ง ข้าวยากหมากแพง วันนั้นกฎหมายและระบบต่างๆ จะถูกออกแบบไว้ดีขนาดไหนก็แล้วแต่มันไม่มีประโยชน์อะไรเลย ตรงนี้ต่างหากล่ะที่เป็นเรื่องที่สำคัญที่เราต้องเข้าใจ


ในฐานะประชาชนคนหนึ่งรบกวนที่จะมีสิทธิ์ในการเลือกใช้ชีวิตโดยมอบความไว้วางใจให้ผู้ปกครองที่มีความสามารถที่เหมาะสมกับสถานการณ์แต่ละยุคแต่ละสมัย และมีระบบที่จะสามารถทำให้ผู้นำนั้นเปลี่ยนแปลงได้อาจจะเป็นการเปลี่ยนแปลงตัวเองหรือเปลี่ยนแปลงผู้นำให้เข้ากับสถานการณ์ต่างๆได้เช่นเดียวกัน


ถึงตรงนี้ก็สรุปได้ว่าระบอบประชาธิปไตยก็ไม่ใช่ระบอบที่ดีที่สุด ระบบอื่นๆ ก็มีจุดอ่อนเช่นเดียวกัน 


และที่เราคิดว่าระบอบประชาธิปไตยเป็นระบอบที่ดีที่สุดก็เพราะว่า เราเชื่อว่าเราสามารถเลือกผู้นำคนใหม่ได้ในช่วงเวลาที่เหมาะสมเพื่อให้ผู้นำสามารถปรับตัวและจัดการแต่ละสถานการณ์ของประเทศที่เกิดขึ้นได้อย่างดีที่สุด


ขอบคุณที่ติดตามอ่านถึงตรงนี้ และหวังว่าเราจะใช้สติในการคิดพิจารณาและการดำเนินชีวิต และหวังลึกไปกว่านั้นอยากให้ผู้นำเรียนรู้และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วตลอดกาล



วันพฤหัสบดีที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2564

ปั้นคนเก่ง EP17: รู้จัก อดีต ปัจจุบัน อนาคต

#รู้จัก อดีต ปัจจุบัน อนาคต

#Competency #SkillUp




อดีต ปัจจุบัน อนาคต เป็นเรื่องของเวลาแต่ก็มีผลต่อจิตใจของเราด้วยเช่นเดียวกัน


หากเราทำความเข้าใจกับทั้ง อดีต ปัจจุบัน และอนาคต ได้อย่างถ่องแท้ก็จะทำให้สามารถเข้าใจถึงวิธีการวางตัวและการวางแผนชีวิตได้เป็นอย่างดี


สิ่งที่เองมีผลลัพธ์ต่อการพัฒนาของมนุษย์อย่างมาก


อดีต คือเรื่องราวที่ผ่านมาแล้วเราไม่สามารถไปแก้ไขอดีตได้เพราะมนุษย์และสรรพสิ่งในจักรวาลนี้ไม่เคยเดินทางย้อนเวลากลับไปและจัดการใหม่อีกครั้งหนึ่งได้ แต่เราสามารถจะนำอดีตนั้นมาทำการเรียนรู้หาสาเหตุ และผลลัพธ์จากสิ่งที่เกิดขึ้น เพื่อถอดเป็นบทเรียนให้เราในการใช้ชีวิตอยู่ในปัจจุบัน

มีคนกล่าวว่า ในโลกนี้ไม่เคยมีอะไรใหม่ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนเกิดขึ้นมาแล้ว นั่นก็จริงแต่ที่ไม่จริงท่าทีเดียวคือทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นมาแล้วจะมีความแตกต่างกันในเรื่องของเวลาและองค์ประกอบรวมไปถึงเรื่องราวที่เอามาต่อเชื่อมเข้าด้วยกันทำให้ผลลัพธ์หลายๆครั้งมีความแตกต่างไปจากเดิมมากแต่เราก็สามารถเรียนรู้ได้จากอดีตนั่นเอง


ปัจจุบัน เป็นช่วงเวลาที่สั้นมากสั้นกว่า 1 วินาทีสั้นกว่าเสี้ยววินาทีมันคือจุดเวลาอยู่ตรงนี้ตรงที่เราใช้ชีวิตอยู่มันคือสิ่งที่เราสามารถควบคุมได้เพียงอย่างเดียวในชีวิตโดยแท้จริงเพราะเราเลือกที่จะตัดสินใจเราเลือกที่จะกระทำและเราเลือกที่จะยอมรับผลลัพธ์ของการกระทำนั้นๆเมื่อเราทำเป็นแล้วปัจจุบันก็จะกลายสภาพเป็นอดีตทันที ดังนั้นถ้าหนูต้องการปัจจุบันที่ดีที่สุดเราต้องมีสติที่จะเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้กับปัจจุบัน 

เราเองก็เชื่อว่าถ้าเราทำปัจจุบันตรงนี้ให้ดีที่สุดในทุกๆปัจจุบันผลลัพธ์ระยะยาวในอนาคตย่อมดีขึ้นแน่ๆ


อนาคต คือสิ่งที่ยังมาไม่ถึงคือสิ่งที่ไม่มีใครรู้แต่มีแต่คนอยากได้ มีแต่คนต้องการเข้าไปควบคุมอนาคตซึ่งเราเองไม่เคยใฝ่คว้าอนาคตเอาไว้ได้เลยเนื่องจากอนาคตยังไม่เคยมาถึง แต่อย่างไรก็แล้วแต่เรามีข่าวดีก็คือผลลัพธ์ของปัจจุบันจะเกิดขึ้นในอนาคต


หากเราเรียนรู้อดีตเพื่อนำมาสร้างเป็นตัวเลือกในปัจจุบันที่ดี นั่นย่อมหมายความว่าเราเองก็กำลังสร้างผลลัพธ์ในอนาคตที่ดีเช่นเดียวกัน


หากแต่ถ้าเราไปยึดติดอยู่กับอดีตเราเองจะลืมเลือกปัจจุบันให้ดีที่สุดแล้วอนาคตเราจะเหลืออะไร


หากเราเลือกแต่จะไปไขว่คว้าอนาคตได้ลืมฐานปัจจุบันแล้วอนาคตจะได้ผลลัพธ์อย่างที่เราต้องการได้อย่างไรเล่า


ดังนั้น คนเก่ง คือคนที่รู้จักการใช้ประโยชน์จากอดีต มาสร้างปัจจุบันให้ดี เพื่อให้ได้โอกาสในการได้รับผลลัพธ์ที่ต้องการในอนาคตให้มากที่สุด แต่ไม่ยึดติดว่าอนาคตจะเป็นอย่างนั้นจริงหรือไม่เพราะเมื่ออนาคตเดินทางมาถึงปัจจุบันและมันไม่เป็นไปตามที่ต้องการ คนเก่งก็จะเลือกปัจจุบันที่จะเกิดขึ้นเป็นการปรับตัวเป็นการปรับเปลี่ยนเพื่อให้อนาคตนั้นเปลี่ยนแปลงผลลัพธ์เป็นไปตามที่ต้องการต่อไป 


#เก่งคิด #เก่งงาน #เก่งคน

ดร.นารา


วันอังคารที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2564

ปั้นคนเก่ง EP16 #จงอยู่กับความสมบูรณ์แบบของปัจจุบัน

จงอยู่กับความสมบูรณ์แบบของปัจจุบัน



#Competency #SkillUp


หากเราไปสังเกตคนที่เก่งส่วนใหญ่ในโลกนี้จะพบว่ามีอะไรบางอย่างที่คล้ายๆ กัน


คือความเข้มงวดกับผลที่ได้รับหรือการกระทำของเขาที่จะต้องพยายามทำให้เกิดความสมบูรณ์ถูกต้องให้ได้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้


การที่ใครคนหนึ่งบอกว่าได้เท่านี้ก็โอเคแล้วนั่นหมายความว่าเขากำลังสะสมความผิดพลาดทีละเล็กทีละน้อย


แล้ววันหนึ่งจะเป็นความผิดพลาดครั้งยิ่งใหญ่


ลองคิดง่ายๆหากเราเอา 100% x 100% เราก็จะได้ 100%

 แต่ถ้ารอเอา  90 % x 90 % ผลลัพธ์เหลือเพียง 81 % เท่านั้น

แล้วถ้าเราทำซ้ำอย่างนี้ไปเรื่อยๆล่ะจะเกิดอะไรขึ้น


ผลลัพธ์ในปลายทางก็จะลดลงอย่างรวดเร็วเพราะว่าเราได้อนุญาตให้ความผิดพลาดเกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่า


คนเก่งจึงใส่ใจกับรายละเอียดเล็กๆน้อยๆที่คนทั่วไปไม่ได้ใส่ใจ

ด้วยการคิดมากกว่า ละเอียดมากกว่า รอบคอบมากกว่า ครอบคลุมมากกว่า

ต้องจุดเล็กๆน้อยๆนี่เองทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ยิ่งใหญ่ที่แตกต่างจากคนทั่วไปอย่างมหาศาล


หากเราอยากพัฒนาตัวเองให้เก่งขึ้นและเก่งขึ้น

ลองหัดเก็บรายละเอียดเล็กๆน้อยๆที่อยู่รอบตัวไม่ว่าจะเป็นการเดินการยืนการนั่งหรือการกิน

สิ่งเหล่านี้มีความแตกต่างกันมากมายระหว่างจุดเล็กๆ


และเราลองพัฒนาสิ่งเล็กๆน้อยๆจะเลื่อนการสังเกตเป็นการคิดให้มากขึ้นเป็นการทำให้สมบูรณ์ขึ้นทีละเล็กทีละน้อยไปเรื่อยๆ เราจะพบว่าผลลัพธ์ปลายทางเมื่อเวลาผ่านไปอาจจะแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง


เหมือนเราเลี้ยวเพียง 1 องศาแต่ถ้าระยะทางผ่านไป 10-15 กิโลเมตร  ความห่างระหว่างจุดสองจุดที่จุดเริ่มต้นมีเพียง 1 องศานั้นก็จะแตกต่างกันมากมายเช่นเดียวกัน


อย่าหยวนกับเรื่องของการสร้างผลลัพธ์ แม้ว่าแต่ละครั้งจะต้องทำใหม่ทำแล้วทำอีก เราก็สามารถเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงเล็กๆน้อยๆที่ทำให้ผลลัพธ์มันแตกต่างกันได้อย่างน่าเหลือเชื่อ


จริงๆแล้วความแตกต่างเล็กน้อยตรงนี้หลายคนเขาเรียกว่าเคล็ดลับ นั่นคือปัจจัยแห่งความสำเร็จที่คนทั่วไปไม่รู้ และเช่นเดียวกันนั่นคือปัจจัยความสำเร็จของคนเก่ง


#เก่งคิด #เก่งงาน #เก่งคน

#เพจปั้นคนเก่ง


ดร.นารา

วันอาทิตย์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2564

ปั้นคนเก่ง EP15 #คนแก่งมีแต่คำว่าเดี๋ยวนี้

คนแก่งมีแต่คำว่าเดี๋ยวนี้



#Competency #SkillUp


คำว่าเดี๋ยวนี้คือปัจจุบัน


เป็นการบอกว่าต้องเริ่มลงมือทำไม่ใช่เอาแต่ผลัดไปเรื่อยๆ


การที่ได้ลงมือทำก็เปรียบเสมือนเป็นการฝึกเพิ่มพูนทักษะให้ตัวเองได้มีความชำนาญเพิ่มขึ้น


คนที่ผลัดเอาไว้ก่อน เดี๋ยวก่อน อีกสักหน่อยมันก็จะไม่เกิดผลลัพธ์อะไรขึ้นเลย


แล้วเมื่อไหร่ล่ะจะได้ฝึกฝีมือจะได้ฝึกทักษะให้ตัวเองเก่งขึ้นเก่งขึ้นและเก่งขึ้น


คนเก่งจริงๆ จะเรียนรู้วิธีการเอาชนะใจตัวเองและลงมือทำเดี๋ยวนี้เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ทันที


สิ่งที่เกิดขึ้นนั่นหมายความว่าเขาจะเรียนรู้การชนะใจและเรียนรู้จากการลงมือทำด้วยเพราะคนเก่งคือคนที่สามารถสร้างผลงานได้เร็วกว่าได้ดีกว่าและได้มากกว่าคนอื่น


การพัฒนาทักษะของเราเองไม่มีคำว่าเดี๋ยวก่อนมีแต่คำว่าเดี๋ยวนี้


ใครที่เดี๋ยวนี้ได้มากกว่ากันนั่นหมายความว่าจะมีผลงานได้มากกว่าคนอื่นเช่นเดียวกัน


เพราะสูตรลับของความสำเร็จและความเก่งของคนไม่เคยมีมีแต่อยู่อย่างเดียวคือทำและทำให้มากกว่าคนอื่น


ใครที่อยากเก่ง ต้องฝึกการกลั้นใจและลงมือทำในทันทีเดี๋ยวนี้ไม่มีคำว่าข้ออ้าง


แต่หลายๆคนก็กลับไม่สามารถก้าวข้ามอุปสรรคหรือกับดักตรงจุดนี้ได้เพราะมีเหตุผลมากมายในการอธิบายสิ่งที่ตัวเองยังไม่ต้องการจะทำในทางปฏิบัติแม้ว่าในจิตใจอยากจะทำมากเท่าไหร่ก็ตาม


เหตุผลเหล่านั้นเรียกว่าข้ออ้าง


เราจึงต้องจัดการเอาคำว่าข้ออ้างออกจากชีวิตแล้วเปลี่ยนเป็นคำว่าข้อคิดข้อ สังเกต ข้อระมัดระวัง


นี่แหละวิถีของคนเก่ง 


#เก่งคิด #เก่งงาน #เก่งคน

ดร.นารา


วันศุกร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2564

ปั้นคนเก่ง EP14 #10000ชั่วโมงแห่งความสนุกสนาน

10000 ชั่วโมงแห่งความสนุกสนาน



#Competency #SkillUp


การอย่างเป็นมีความโดดเด่นในเรื่องใดเรื่องหนึ่งหลายคนก็ได้กล่าวอ้างมาจากหนังสือ “Outliers.” ของ Malcolm Gladwell ว่ากฎ 10,000 ชั่วโมง คือระยะเวลาในการสร้างอัจฉริยะที่เกิดจากการฝึกฝน ใครที่อย่างเก่ง โดดเด่น ต้องทุ่มเทในการฝึกและทำสิ่งเดิมๆ ให้ครบ 10,000 ชั่วโมง


ฟังดูน่าจะเป็นเรื่องยากพอตัวที่เดียวที่จะต้องอยู่กับการสิ่งใดสิ่งหนึ่งครบ 10,000 ชั่วโมง เรียกว่า ต้องอยู่ในระดับหมกมุ่นทีเดียว


การที่เราจะหมกมุ่นในการพัฒนาตัวเองำด้นั้น หากเราอยู่ในความเครียด เราก็จะท้อแท้โดยง่าย


การที่เราจะอยู่ได้กับสิ่งที่เราต้องสร้างความเก่งเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ คือการทำให้ตัวเองให้สนุกกับสิ่งที่ทำ สนุกกับความท้าทายใหม่ๆ ที่เรากำลังสร้างขึ้นเพื่อให้เก่งขึ้น


สภาวะการสนุกกับความท้าทายนี้เรียกว่าสภาวะการลื่นไหลหรือ Flow Stage เป็นช่วงเวลาที่ให้จิตใจเปิดรับการเปลี่ยนแปลงภายในต่อการพัฒนา ยอมรับความท้าทาย และสนุกกับการหาวิธีการรับมือกับความท้าทายที่เกิดจากภายในจิตใจ


คนเก่งอย่างมีความสุข คือการสนุกกับสิ่งที่ทำ สนุกกับการได้รับผลลัพธ์ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นกับตัวเองในแต่ละวัน สนุกกับการค้นหาวิธีการใหม่ๆ ให้กับตัวเองเพื่อการสร้างแนวทางการพัฒนาตัวเอง


การพัฒนา Flow Stage เป็นการสร้างการเปลี่ยนแปลงแบบทีละขั้น ทีละน้อย และไม่โฟกัสกับอนาคตที่ยังมาไม่ถึง แต่โฟกัสกับสิ่งที่เผชิญในแต่ละวัน


เราจะเก่ง หากเก่งแบบมีความสุข จะช่วยทำให้เราเก่งขึ้นได้อย่างรวกเร็ว เราจะรักความเก่งของตัวเอง เราจะมีความคิดที่ดีกับความเก่งของเราเอง ซึ่งจะทำให้เราอยากจะส่งมอบความเก่งต่อให้กับคนอื่นได้ เป็นการต่อยอดความเก่งของตัวเองต่อไปได้ดี แบบ…

ยิ่งให้...ยิ่งได้ 


#เก่งคิด #เก่งงาน #เก่งคน

#เพจปั้นคนเก่ง


วันพฤหัสบดีที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2564

ปั้นคนเก่ง EP13 #คนเก่งไม่ต้องทำงานหนักแต่ต้องทำงานให้มีประสิทธิภาพ

 EP13 #คนเก่งไม่ต้องทำงานหนักแต่ต้องทำงานให้มีประสิทธิภาพ



#Competency #SkillUp


ในการทำงาน ผมชอบเอาเรื่องของมังกรหยกตอนนี้เอี้ยก้วย ไปพบหลุมศพของ ต๊กโกวคิ้วป้าย และพบว่ามีกระบี่ 4 เล่มพร้อมข้อความสลักไว้ดังนี้


เล่มที่ 1 เป็นกระบี่เปล่งประกายสีเขียว เป็นอาวุธที่คมกล้า "เกรี้ยวกราดรุนแรง ทำลายล้างทุกสิ่ง เมื่อวัยหนุ่มฉกรรจ์ ใช้ชิงชัยกับเหล่าผู้กล้าแคว้นฮ่อซวก"

เล่มที่ 2 กระบี่อ่อนกุหลาบม่วง "ใช้ก่อนอายุสามสิบ แต่ทำร้ายคนดี เป็นสิ่งอัปมงคล ทิ้งลงหุบเหว"

เล่มที่ 3 กระบี่หนักเหล็กนิล  "กระบี่หนักไร้คม ใช้ได้คล่องแคล่ว ฝีมือการสร้างไม่ประณีต ใช้ก่อนอายุสี่สิบ พิชิตทั้วแผ่นดิน"

เล่มที่ 4 กระบี่ไม้เปื่อยผุเป็นแค่กระบี่ไม้ธรรมดาเท่านั้น

"ใช้หลังอายุ 40 กิ่งไม้ ใบหญ้า ก้อนหิน ต่างใช้เป็นกระบี่ได้ นับแต่นี้คร่ำเคร่งฝึกปรือ เข้าสู่ขั้นไร้กระบี่อยู่เหนือมีกระบี่"


ต๊กโกวคิ้วป้าย เป็นจอมยุทธ์ที่สามารถชนะทั้งอธรรมและคุณธรรมทั้งแผ่นดิน แสดงว่าเป็นจอมยุทธ์ที่มีผลงานสูง จึงเอามาเปรียบเทียบกับคนเก่ง หมายความว่า คนเก่งเองก็ต้องมีวิชาในการสร้างผลงานเช่นกัน


กระบี่ 4 เล่ม สอนอะไรกับคนเก่ง

เล่มแรก คนเก่ง ต้องเรียนรู้การใช้เครื่องมือต่างๆ ในการทำงานที่สามารถสร้างผลงานได้รวดเร็ว ให้ได้ความเจริญก้าวหน้าและมีฝีมือที่โดดเด่น


เล่มที่สอง เป็นเล่มที่โยนทิ้งหุบเหว นั่นคือ การสร้างผลงานไม่ใช่การทำร้ายคนอื่น ไม่ใช่การทำให้คนอื่นจมเหวหรือสูญสลายไป คนเก่งจริงจะไม่ทำแบบนั้น


เล่มที่สาม เป็นเล่มที่ทำให้เข้าใจถึงความเรียบง่ายของการทำงาน ไม่ต้องสร้างอะไรที่สวยหรู แต่ตรงๆ ทื่อๆ แต่สามารถพลิกแพลงได้อย่างคล่องแคล่วในการทำงานจนสามารถสร้างผลงานได้จะความสามารถของเราเอง


เล่มที่สี่ ไม่มีกระบี่ก็เหมือนมี เข้าใจถึงสรรพสิ่ง กลไก และแก่นแท้ของงาน สามารถประยุกต์ทุกอย่างมาเป้นกระบี่ได้ ไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ไหน


ดังนั้น กระบี่ 4 เล่ม กำลังบอกว่า คนเก่งคือคนที่เข้าใจแก่นแท้ของตัวเอง และสามารถทำอะไรให้เกิดประสิทธิภาพ ด้วยสติ และปัญญา ไม่ใช่สักแต่ทำ และทำให้หนักขึ้น แต่กลับต้องทำด้วนการคิด การเข้าใจ และการยุกต์ใช้ด้วนเหตุผลที่แท้จริง


คนเก่งจึงไม่ต้องทำงานหนัก แต่ต้องฝึกให้หนัก เพื่อว่า เมื่อเวลาจริงที่ต้องใช้วิชา จะพลิ้วเยาเหมืนขนนกที่ไม่ยึดติดกับกระบวนการเดิมๆ



#เก่งคิด #เก่งงาน #เก่งคน

#เพจปั้นคนเก่ง

ดร.นารา


วันพุธที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2564

ปั้นคนเก่ง EP12 #ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องงานถึงเก่งจริง

ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องงานถึงเก่งจริง




คนเก่งจริง จะไม่พูดเรื่องยากๆ ให้เป็นเรื่องยาก หรือไม่พูดเรื่องง่ายให้เป็นเรื่องยาก เพราะคนที่เก่งจริง จะต้องสามารถทำความเข้าใจโครงสร้างที่ซับซ้อน และย่อย สรุป เชื่อมโยง และเปรียบเปรยให้คนอื่นสามารถเข้าใจได้โดยง่าย
.
เมื่อคนอื่นเข้าใจเรื่องยาก สิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาก็คือ
.
พวกเขาจะยอมทำตามที่เราต้องการ
พวกเขาจะศรัทธาในตัวเรา
พวกเขาจะได้รับการพัฒนาให้เรียนรู้เรื่องยากๆ ได้อีกเรื่องหนึ่ง
.
การที่เราจะทำความเข้าใจเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่ายได้นั้น ต้องคิดแบบเป็นระบบ โดยรู้จัก
.
แยกแยะเป็นเรื่องๆ แต่ละองค์ประกอบ
รู้จัดกลุ่มองค์ประกอบที่เหมือนกันเข้าด้วยกัน และต่างกันให้แยกออกจากกัน
รู้จัการเรียงลำดับการเชื่อมโยงของแต่ละเรื่องและการทำงานในการเชื่อมโยงนั้น
หาข้อเปรียบเทียบง่ายๆ ที่มีความคล้ายกันในชีวิตประจำวัน
.
เพียงเท่านี้ การอธิบายเรื่องยากๆ จะเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น และนอกจากนั้น คนที่อธิบาย ยังสามารถสร้างความคิดและความเข้าใจใหม่กับตัวเองด้วย เพราะยิ่งอธิบายมาก สมองก็จะทำงานมากขึ้น และเรียนรู้ทำความเข้าใจกับเรื่องที่อธิบายได้มากขึ้นด้วยเช่นกัน
.
ถ้าเราอยากเก่ง ก็ลองหัดมาอธิบายเรื่องราวต่างๆ ให้คนอื่นฟังกันให้มากขึ้น
เราจะเก่งขึ้น

วันอังคารที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2564

ปั้นคนเก่ง EP11 #แค่ทำความเข้าใจก็เก่งขึ้นแล้ว

แค่ทำความเข้าใจก็เก่งขึ้นแล้ว

#Competency #SkillUp


แค่ทำความเข้าใจจะเก่งขึ้นได้จริงๆ เหรอ

.

แน่นอน เพราะการทำความเข้าใจคือการเปิดใจเรียนรู้สิ่งที่เป็นไป และจุดเริ่มต้นของการแก้ปัญหา การทำความเข้าใจ ยังเป็นจุดเริ่มต้นของการเพิ่มความรู้ใหม่ให้กับตัวเอง

.

การทำความเข้าใจ เริ่มจากการทำความเข้าใจตัวเอง เข้าใจการกระทำ เข้าใจความต้องการ เข้าใจความคิด เข้าใจความรู้สึก และเริ่มไปทำความเข้าใจคนอื่น

.

การทำความเข้าใจเป็นการไม่รีบตัดสิน เป็นการไม่รีบด่วนสรุป

.

การทำความเข้าใจจะเป็นการทำให้เราเปิดโอกาสให้ตัวเองได้รับมุมมองใหม่ๆเพิ่มขึ้น เนื่องจากการไม่รีบตัดสิน

.

เมื่อเราตัดสินคน เราจะไม่เปิดรับอะไรแล้ว เพราะเราคิดว่ามันจบไปแล้ว และทำให้เราได้รับข้อมูลไม่ครบทุกด้านที่เกิดขึ้น

.

คนเก่ง จะใช้การทำความเข้าใจเป็นจุดเริ่มต้น กลั่นกรองและไตร่ตรองอย่างละเอียด คิดให้รอบคอบ เชื่อมโยงเหตุการณ์ ความคิด และความรู้สึก เป็นความรู้ใหม่ รวมกับความรู้เก่า ที่มีอยู่ พวกเขา จะบอกว่าตัวเองยังต้องเรียนรู้อีก ตัวเองยังต้องทำความเข้าใจ

.

และเมื่อถึงเวลาที่ต้องตัดสินใจ คนที่เข้าใจ จะไม่พลาด คนที่ใส่ใจในลายละเอียดจะมีความแม่นยำมากกว่า ทั้งหมดมาจากความเข้าใจ

.

ความเข้าใจคือจุดเริ่มต้นของทุกอย่าง เข้าใจให้ถึงแก่นกลางของสิ่งที่เกิดขึ้น

.

แล้วเราจะรู้ว่า เรากำลังทำอะไร คิดอะไร ไปถึงไหน และผลลัพธ์เป็นอย่างไร

.

.


#เก่งคิด #เก่งงาน #เก่งคน

#เพจปั้นคนเก่ง

ดร.นารา




ปั้นคนเก่ง EP10 #สร้างแรงใจให้ตัวเอง

สร้างแรงใจให้ตัวเอง




#Competency #SkillUp


แรงบันดาลใจ เป็นเรื่องที่ใครก็ต้องการเพื่อใช้เป็นแรงผลักกันในการสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ คนที่มีแรงบันดาลใจสูง จะสามารถทำในสิ่งที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างยิ่งใหญ่ แต่บางคนก็บอกว่าไม่มีแรงบันดาลใจ ไม่สามารถทำอะไรที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างเต็มที่

.

คนเก่งมักจะมีแรงบันดาลให้กับตัวเองได้เสมอ และสามารถรักษาแรงบันดาลใจให้กับตัวเองได้อย่างต่อเนื่อง

.

แรงบันดาลใจสร้างได้ไง มาจะเล่าให้ฟัง

.

แรงใจมาจากความฝัน ความต้องการในอนาคตที่มีความแรง และความสุขปนกันในเวลาเดียว

.

ดังนั้นคนที่มีแรงใจคือสภาวะในการดื่มด่ำกับความสุขที่ตัวเองคาดว่าจะไดีรับเมื่อได้ทำสิ่งนี้ หรือทำให้มันสำเร็จ

.

ดังนั้น การสร้างแรงใจตัวเอง ต้องสร้างภาพความสำเร็จ และผลลัพธ์จากความสำเร็จนั้น เช่น ภาพความอบอุ่นของครอบครัว ภาพความเป็นอิสระ ภาพความภาคภูมิใจ

.

หากยังไม่สามารถมีแรงใจพอ ให้ใส่ความรู้สึกไปด้วยว่า เมื่อเราอยู่ในเหตุการณ์ของภาพความสำเร็จแล้ว เราจะรู้สึกอะไร

.

เราได้ยินเสียงตัวเอง ได้ยินเสียงคนรอบข้าง พูดคุยกับเราว่าอย่างไร ให้เราดื่มด่ำ สร้างความรู้สึกควบคู่กับภาพนั้นต่อไป

.

เมื่อเรารับความรู้สึกของภาพนั้นมาในตัวแล้ว ให้เก็บและรวบเอาเข้าไว้ที่หัวใจ และหาปัจจุบัน

.

ตอนนั้นเราจะมีแรง มีพลังเต็มเปี่ยมในการสร้างพลังการทำสิ่งยากๆ ให้กับตัวเอง แต่ยังมีข้อห้ามอยู่คือ ห้ามถามว่า เมื่อไหร่จะสำเร็จ ห้ามถามว่า เมื่อไหร่จะผ่านไป เพราะคำถามเหล่านี้อเป็นคำถามทำลายแรงใจ

.

แต่ให้เราถามว่า เราจะพัฒนาตัวเองอย่างไร เพื่อให้เข้าใกล้ความสำเร็จไปเรื่อยๆ



#เก่งคิด #เก่งงาน #เก่งคน

#เพจปั้นคนเก่ง

ดร.นารา