ในศาสตร์ของการจัดการที่ผ่านมา มีเครื่องมือมากมายตั้งแต่ การใช้ TQM, KAISEN, Paradam Ship, Adaptation, Change Management, Scrum, และ Agile
เครื่องมือเหล่าได้มีการกล่าวถึงมาหลายปีแล้ว หากจะย้อนลับไปให้ไกลกว่านั้น เราต่างมี คำสอนเอาไว้ที่เราคุ้นหูกันเป็นอย่างดีอย่างมรทางศาสนาพุทธได้กว่าวไว้ว่า ความแน่นอนคือความไม่แน่นอน หรืออย่างทางศาสตนาคริสต์ก็กล่าวว่า จงตื่นเฝ้าระวัง
คำกล่าวคำเตือนต่างๆ ล้วนมีจุดหมายเดียวกันคือ ให้เราต้องเก็บรายละเอียดของเหตุการณ์ต่างๆ ให้ดี และเชื่อมั่นว่า แต่ละเรื่องนั้นจะไม่เป็นแบบนั้นเสมอไป
การรับมือกับเรื่องของความเปลี่ยนแปลง เราเองในโลยุคปัจจุบันต้องตั้งระบบการคิดเอาไว้ 2 เรื่องนั่นคือ การใส่ความเชื่อกับตัวเองว่า ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงได้ ไม่มีอะไรเป็นแบบนั้นตลอดไป และประการที่ 2 ยอมให้สมองเปิดหาวิธีการใหม่ๆ ที่ดีขึ้นเสมอ
มนุษย์เราส่วนใหญ่ จะพยายามยึดติดกับเรื่องราวที่เคยเกิดขึ้นแล้ว เพราะว่า เราเองต้องการความมั่นใจ และต้องการลดการประหยัดพลังงานในการคิดลง จึงได้พยางมหากรอบการคิดหรือหลักการคิดเพื่อเป็นการช่วยในเรื่องนี้ จริงๆ ก็นับว่าเป็นเรื่องที่ดี แต่มันไม่ดีตลอดไป
ทุกครั้งที่เราเองพยายามจะคิดหารวิธีการรับมือการเปลี่ยนแปลง ด้วยวิธีการใหม่ๆ สมองของเราก็จะพยายามกลับมาอยู่ในกรอบเดิมเสมอโดยที่เราไม่รู้ตัว นั่นก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร แต่เราเอง ตั้งใช้การเฝ้าระววังและการสังเกตุให้ดีว่า ตอนนั้นสมองของเรากำลังคิดอะไรอยู่ มีความคิดอะไรเกิดขึ้นมาบ้าง หากเราสังเกตุเห็นความคิดเหล่านี้แล้ว เราก็สามารถใช้เครื่องมือเพื่อการสร้างการเปลี่ยนแปลงได้โดยง่าย
หลักการจริงๆ ของการจัดการการเปลี่ยนแปลง คือการสร้างความเชื่อว่า เราสามารถเปลี่ยนแปลงได้ทุกอย่าง เพื่อให้ไปถึงเป้าหมายที่วางไว้ และทำให้มันชัดเจน นี่เป็น 3 องค์ประกอบที่สำคัญของการสร้างการเปลี่ยนแปลง จะขาดองค์ประกอบใดไปไม่ได้เลย
ดร. นารา กิตติเมธีกุล
นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และธุรกิจ