วันอังคารที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

หนึ่งปีกับการ Work form Home เราเรียนรู้อะไร?

 บทความวันนี้ เขียนขึ้นเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2021 ภายใต้การประกาศล็อคดาวน์อีกครั้งของประเทศไทย



หนึ่งปีผ่านไป หรือเรียกว่าปีกว่าๆ จากการล็อคดาวน์ครั้งที่แล้วเมือเดือนมีนาคม 2020 หลายคนได้เปลี่ยนแปลงชีวิตด้วยการทำงานออนไลน์อย่างเต็มรูปแบบอยู่ที่บ้าน หลายคนยังต้องไปทำงานที่สำนักงาน บริษัท หรือ ที่ทำงานตามปกติ หลายคนไม่เคยได้ทำงานที่บ้านเพราะเป็นงานที่ต้องทำงานด้านการผลิต หรือการขนส่ง และยังคงต้องทำงานข้างนอกอยู่ตลอดเวลา แต่จากการล็อคดาวน์ ทำให้เราได้เรียนรู้การทำงานแบบใหม่ที่เป็นการทำงานที่เรียกว่า Work form Home จนกลายเป็น Work at Home ไปแล้ว เปลี่ยนบ้านให้กลายเป็นสำนักงาน หลายคนก็สามารถปรับตัวได้ หลายคนกลับฉวยโอกาสในการทำงานไปใช้เรื่องส่วนตัว หลายคนถูกลดเงินเดือนค่าจ้าง หรือรายได้ลง ซึ่งเป็นเรื่องราวที่แตกต่างกันไปในแต่ละคน


บทความนี้มาเรียบเรียงคนที่ต้องทำงาน WFH แบบเต็มรูปแบบ แล้วต้องการักษาคุณภาพ ผลงานเอาไว้ให้อยู่เท่าเดิมหรือเพิ่มขึ้นกว่าเดิมว่าต้องคิด เตรียมตัว และปรับตัวอย่างไรบ้างทั้งในมุมมองของผู้ทำงานที่ต้องทำงานเท่านั้นเพื่อทำงานให้มีประสิทธิผลมากขึ้น


1. ปรับความเข้าใจ

สิ่งแรกของการ WFH ว่า เราไม่สามารถทำงานเหมือนเดิมได้ ดังนั้นกระบวนการในการทำงานต่างๆ จะต้องเปลี่ยนแปลงไปด้วย ในการทำงานแบบปกตินั้น การที่งานด้วยกันให้ออฟฟิซ จะช่วยให้การประสานงานหรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลเป็นไปโดยง่าย ที่การพูดคุย การประชุม การสื่อสารต่างๆ การส่งเอกสาร การส่งงานต่อกัน แต่พอมา WFH คือการทำงานที่ต้องพึ่งพาตัวเองมากขึ้น ทำงานด้วยตัวเองมากขึ้น พูดคุยได้น้อยลง แม้ว่าจะมีการใช้เทคโนโลยี ก็ยังไม่สามารถทดแทนการสื่อสารแบบซึ่งหน้าได้อย่างสมบูรณ์ จุดนี้เป็นจุดเริ่มต้นที่จะทำให้การทำงานเริ่มรู้สึกว่ายากขึ้น

2. ปรับการสื่อสาร

จากประเด็นข้อแรกทำให้เราเองมีข้อจำกัดในการสื่อสาร แม้ว่าจะมีระบบการประชุมออนไลน์ แต่ถ้าหากเรานับดีๆ จำนวนประโยค การถ่ายทอดประโยคต่างๆ ยังมีข้อจำกัดอยู่มากในเทคโนโลยีปัจจุบัน ดังนั้น เราต้องเรียนรู้ในการสื่อสารอย่างเป็นระบบ สื่อสารให้น้อยลงแต่มีประสิทธิภาพให้มากขึ้น เพราะโอากสในการสื่อสารมีน้อยลงมากๆ ดัวนั้น เมื่อมีการสื่อสาร เราต้องเข้าประเด็น ไม่อ้อมให้เสียเวลา และมีรายละเอียดครบถ้วน

3. ออกแบบข้อมูลให้พร้อมในการใช้งาน

ข้อมูลต่างๆ ที่ต้องใช้ในการทำงาน หลายๆ องค์กร ยังเป็นข้อมูลที่อยู่ในรูปของกระดาษ ทำให้เวลาทำงานต้องกลับไปดูกระดาษ หรือบางครั้งแม้ว่าจะเป็นการสแกนไฟล์แล้ว แต่ว่า ก็ยังเป็นเหมือนกับการดูกระดาษผ่านหน้าจอ การออกแบบข้อมูลนั้น จะต้องทำให้อยู่ในรูปของดิจิตัล ที่สามารถเอาข้อมูลนั้นไปใช้งาน สรุป เปลี่ยนแปลง วิเคราะห์ ต่อได้โดยง่าย ที่เรียนกว่าเปลี่ยนจาก Data เป็น Information ถ้ายังไม่เข้าใจ นั้นหมายความว่า เราเองต้องเรียนรู้การสร้างข้อมูลแบบดิจิตัล และพร้อมที่จะสร้าง พร้อมใช้ พร้อมพัฒนาตัวเองในด้านจัดการข้อมูลในลักษณะดิจิตัลมากขึ้น นอกจากนั้น ข้อมูลที่เป็นดิจิตัล ยังต้องเรียนรู้ในการจัดข้อมูลให้อยู่ในกลุ่ม หมวดหมู่ที่สามารถใช้งานได้ง่ายอีกด้วย เปรียบได้กับว่า เราต้องเป็นคนที่จัดตู้เอกสารเอง มีการจัดการแบบบรรณารักษ์ ในคอมพิวเตอร์ของเราเอง ให้ทำงานได้ง่ายขึ้น

4. เรียนรู้การใช้โปรแกรมและแอพคอมพิวเตอร์ 

การใช้งานนี้ ไม่ใช่เคยเกิดและใช้เป็นเท่านั้น แต่ต้องเรียนรู้การใช้คุณลักษณะต่างๆ ที่มีการเข้ากันได้ระหว่างแอพด้วย เพราะการทำงานเริ่มมีความซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ เราเอง ก็ไม่สามารถที่จะพึ่งพาแอพใดแอพหนึ่งได้ เราก็ต้องใช้แอพหลายๆ แอพเข้าด้วยกัน อย่างเช่นในการสื่อสารระหว่างคน เราใช้แอพแชตได้ การประชุม เราจะใช้ 2 แอพ ในเวลาเดียวกัน หรือ มี Cloud Drive เพื่อช่วยในการส่งข้อมูล การแก้ไขข้อมูล ร่วมกัน นั่นจะต้องอาศัยทักษะการเรียนรู้ การคิด การสังเกตุ และจดจำให้มากขึ้น ซึ่งเรื่องนี้ ต้องใช้เวลาในการอธิบายอีกพอสมควร

5. จัดการเวลาและจัดการกายา

เนื่องจากบ้านไม่ได้ถูกออกแบบมาให้เป็นที่ทำงาน ดังนั้น โดยธรรมชาติของบ้าน จึงไม่ได้มีฟังชั่นให้พร้อมสำหรับการทำงาน และบ้านให้ความรู้สึกว่าพักผ่อน ดังนั้น การจัดการเวลาในการทำงานแบบ WFH จึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะ เราต้องตั้งเป้าหมายในการทำงานเอาไว้อย่างเคร่งครัด และสามารถส่งงานได้ตามกำหนด เนื่องจากคนอื่นที่เราต้องทำงานด้วย เค้ารองานจากเราอยู่ โดยที่เขาไม่รู้เลยว่า เราทำงานไปถึงไหน นื่องจากอยู่กันคนละที่ เราต้องสื่อสารกับทีมให้ชัดเจนว่า อะไรเป็นงานสำคัญเร่งด่วน หรือเป็นงานไม่สำคัญไม่เร่งด่วน เพื่อจัดความสำคัญ ในการทำงาน นอกจากนั้น เราต้องจัดการสิ่งที่อยู่รอบตัวของเราให้รูว่านี่คือเวลาทำงาน หรือเวลาพักผ่อนส่วนตัว เราต้องจัดการเรื่องนี้ให้เด็ดขาดออกจากกัน เพราะว่า หากเราเอาเรื่องส่วนตัวมาปนกับเรื่องงาน การทำงานแบบ WFH จะขาดประสิทธิภาพอย่างรุนแรง วิธีการหนึ่งที่เราช่วยให้การจัดการกายาได้ คือเราแต่งตัวเหมือนไปทำงาน และเราก็จัดการมุมทำงานเอาไว้ในบ้าน เหมือนเราเดินทางไปทำงาน แต่ที่ทำงานนั้นอยู่ในบ้านของตัวเอง ทำให้เรารู้สึกว่า การพักผ่อนในวันหยุด กับวันทำงานมีความแตกต่างกัน สมองจะเกิดการเรียนรู้ว่า ตอนนี้คือเวลาทำงาน หรือเราอาจจะตั้งนาฬิกาเอาไว้เหมือนกับเวลาเข้างานกับเวลาเลิกงานก็ช่วยได้

6. แบ่งเวลาเป็น 3 ส่วน

การแบ่งเวลาเป็น 3 ส่วนจะช่วยให้เรามีตารางการทำงานที่ชัดเจนมากขึ้น ส่วนแรกคือส่วนการทำงาน เรารู้ว่าเราต้องทำงานอย่างไร เวลาไหน และต้องทำอะไรให้เสร็จ เวลาส่วนที่ 2 คือเวลาส่วนตัว เราสามารถใช้กับครอบครัวได้อย่างเต็มที่ เป็นช่วงที่เราไม่ต้องยุ่งกับงาน แยกออกจากกันอย่างเด็ดขาด และเวลาส่วนที่ 3 คือเวลาในการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง ปกติในการทำงาน เราจะเกิดการเรียนรู้จากการทำงานร่วมกับคนอื่น ทำให้เกิดการถ่ายทอดความรู้ความคิด เป็นควารู้ใหม่จากทำงาน แต่เนื่องจาก WFH เราแทบจะไม่ได้เจอคนที่ต้องทำงานร่วมกัน และการประสานงานกับคนที่เราไม่เห็นหน้า ก็มีความยากกว่าในการเห็นหน้า เราจึงต้องเอาเวลาส่วนหนึ่งในการเรียนรู้กับตัวเองด้วย ทำให้เราสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ เพราะในการเกิดการแพร่ระยาดของ COVID เราพบว่าที่เรื่องราวต่างๆ เปลี่ยนแปลงไปเร็วมาก เทคโนโลยีก็เกิดขึ้นเร็วมาก เราเองต้องตามให้ทัน และสามารถนำไปใช้กับการทำงานได้ โดยเฉพาะการปรับปรุงฟังก์ชั่นในการทำงานใหม่ๆ ของแอพที่เราต้องใช้งาน

7. ออกกำลังกายด้วย

การ  WFH เป็นเรื่องที่ทำให้เรามีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลงมากๆ ดังนั้น เราเองต้องรู้จักการรักษาร่างกายของเราเอง ด้วยการออกกำลังกายในแบบที่เป็นตัวเรา จะหนัก เบา นาน สั้นอย่างไรก็แล้วแต่ เพื่อป้องกันความเสียหายของร่างกายจากการทำงาน นอกจากนั้น เราเองต้องการการเคลื่อนไหวร่างกาย เพราะว่า ทำให้สมองของเราสามารถทำงานได้ดีมากยิ่งขึ้น


ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่เรียนรู้ได้ว่า เมื่อ WFH เราจะทำอย่างไรให้การทำงานมีผลงานออกมาได้มากขึ้น

วันเสาร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

ปั้นคนเก่ง EP19 #เรียนรู้ที่จะหยุดและไปอย่างเป็นจังหวะที่สวยงาม

เรียนรู้ที่จะหยุดและไปอย่างเป็นจังหวะที่สวยงาม


#Competency #SkillUp





ผู้คนมากมายมีความพยายามที่จะพุ่งไปข้างหน้า ไปอย่างไม่หยุดยั้ง ไปให้เต็มกำลัง เพื่อต้องการให้ได้ผลลัพธ์ที่เร็วที่สุด นับว่าเป้นเรื่องที่ดี แต่อย่างไรก็ตาม เรื่องที่ดีนั้น ก็มีเรื่องอันตรายอยู่ด้วยคือ


การเดินทางที่ไม่รู้ว่าได้เดินทางอย่างถูกต้อง ถูกทิศ ถูกทางหรือไม่ ทำให้เราหลงทาง หรือทำให้เราเกิดความเสียหายอย่างรุนแรงได้ เพราะเราไปผิดทาง


ชีวิตเราเหมือนกับการเดินเรือกลางมหาสมุทร ที่ไม่มีถนน ไม่มีสิ่งบอกทิศทางอะไรเลย เราต้องอาศัยทิศเปรียบเทียบกับเส้นทางการเดินทางที่ผ่านมา ทำให้เรารู้ว่าตอนนี้เราอยู่ที่ไหน และนักเดินเรือจะต้องทำการวัดทิศตลอดเวลา และพยายามหาสิ่งสังเกตุเพื่อให้กำหนดจุดที่ตัวเองอยู่ได้


คนเราก็เหมือนกัน เราต้องตรวจสอบการเดินทางของชีวิต วัดทิศทาง และมองเส้นทางในอดีตที่ผ่านมาของตัวเองเสมอเพื่อให้เราสามารถรู้ว่า ตอนนี้ ชีวิตเราเดินทางไปทางไหน


แต่ว่า การตรวจสอบชีวิตเรามันไม่ง่ายและเห็นชัดเหมือนการเดินเรื่อง เพราะเราไม่มีเข็มทิศ ไม่มีกล้องส่องทางไกลที่จะส่องชีวิตได้แบบจริงๆ มีแต่ความคิดและความจำเท่านั้นที่ทำให้เราสามารถเห็นชีวิตของเราเองได้


วิธีการตรวจสอบทิศทางชีวิตได้คือ “การหยุด” หยุดเพื่อคิด หยุดเพื่อทบทวน หยุดเพื่อพิจารณาว่า ที่ผ่านมานั้น ทำอะไร ได้อะไร เกิดอะไรขึ้นกับตัวเองและคนรอบข้าง ถ้าเราพบว่า มีการผิดพลาด เราก็แก้ไขด้วยการ ยอมรับว่าผิดพลาด


การหยุด จะทำให้เราเห็นความจริงที่เกิดขึ้น แทนการหลอกตัวเองด้วยความเชื่อและความคิด

การหยุดทำให้สมองของเราได้พักและจัดระบบความคิด

การหยุดทำให้เราได้ฟังเสียงตัวเอง

การหยุดทำให้เราตัดสินใจได้อย่างเฉียบคมมากขึ้น


วันที่ปัญหารุมเร้า หยุด สักครู่ ทำใจให้เป็นกลาง พิจารณา และตัดสินใจให้แม่นยำ แล้วไปต่อเป็นจังหวะของชีวิต


คนเก่งเค้าทำกันแบบนี้



#เก่งคิด #เก่งงาน #เก่งคน

ดร.นารา


วันศุกร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

ปั้นคนเก่ง EP18 #อ้อเหรอสูตรลับคนเก่ง

อ้อเหรอสูตรลับคนเก่ง



#Competency #SkillUp


อ้อเหรอ เป็นคำอุทานที่ฟังดูง่ายๆ แต่ช่างทรงพลังยิ่งนัก เพราะว่าเป็นเทคนิคการเบรกความคิด ก่อนที่เราจะตัดสินหรือตีความหมายเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เราได้รับมา

.

คนเก่งจะไม่รีบตัดสินด้วยอารมณ์ แต่จะทำความเข้าใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น และเรียนรู้มัน เรียบเรียงมัน ก่อนที่จะตัดสินใจว่าต้องทำอะไรต่อไป


เนื่องจากว่าของคนเรานั้นทำงานเร็วมากหลายๆ ครั้งเราไม่สามารถจะติดตามความคิดของเราได้ทันท่วงที เราจึงจำเป็นต้องมีอะไรบางอย่างมาคั่นความคิดเราก่อนที่เราจะตัดสินใจออกไป


อ้อเหรอมันเป็นเช่นนี้เอง


นี่คือช่วงเวลานาทีทองที่จะทำให้สมองหยุดคิดพิจารณาสิ่งที่เกิดขึ้น และได้ใช้ประสิทธิภาพของสมองอย่างเต็มที่ มิฉะนั้นแล้วสมองจะทำตามสัญชาตญาณและความเคยชินของเรา


นอกจากนั้น อ้อเหรอ


ยังช่วยทำให้เราใจเย็นขึ้นมองโลกเป็นจริงมากขึ้น และยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้นได้มากยิ่งขึ้นด้วย


หลักการในการแก้ปัญหาในการตัดสินใจเรื่องราวต่างๆนั้นเริ่มต้นด้วยการทำความเข้าใจ


เมื่อเราเข้าใจเขาก็จะรู้ว่าเราจะต้องใช้ใจทำอะไรต่อไป แต่ถ้าเราไม่เข้าใจเราก็จะไม่รู้ว่าใจของเรานั้นต้องการอะไรกันแน่


นี่แหละครับคนเก่ง เรียนรู้ว่า อ้อหรอมันเป็นเช่นนี้เอง 



#เก่งคิด #เก่งงาน #เก่งคน

ดร.นารา