วันศุกร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
บุฟเฟต์ กิจกรรมที่ทำลายทฤษฎีอรรถประโยชน์
ในช่วง 2-3 ปีให้หลังมานี้ ธุรกิจอาหารแบบบุฟเฟต์ เจริญรุ่งเรื่องอย่างรวดเร็ว มีการกิจการใหม่เป็นดอกเห็ด ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากจากผู้บริโภค เพราะอะไร
เพราะว่า ผู้คนมักจะคิดว่าการทานบุฟเฟต์นั้นคุ้มค่า สามารถทานเท่าไหร่ก็ได้ ซึ่งผู้เขียนเองก็นิยมทานอยู่เป็นประจำในช่วงหนึ่ง แต่เมื่อเรามาพิจารณาดูดี ๆ แล้ว การทานบุฟเฟต์นั้น เป็นการทานที่เกิดความไม่คุ้มค่าในการจัดการทรัพยากรมากที่สุด รวมไปถึงเป็นการทำลายทฤษฎีอรรถประโชยน์ (Utility Theory) เนื่องจาก การบริโภคของคนปกติแล้ว จะบริโภคเพิ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ จนรู้สึกว่า ความสุขที่ได้รับในการบริโภคชิ้นสุดท้าย ไม่คุ้มค่ากับเงินที่จ่ายออกไปในชิ้นสุดท้าย ทางทฤษฎีเรียกว่า อรรถประโยชน์ส่วนเพิ่มหน่วยสุดท้าย (Marginal Utility) เท่ากับ ราคาต่อหน่วย (Price per Unit) ซึ่งจะทำให้คนนั้น ๆ ได้รับอรรถประโยชน์สูงสุดในเงินที่ตนเองมีอยู่พอดี
แต่ลักษณะของการทานบุฟเฟต์แล้ว เป็นประเภท จ่ายก้อนเดียว แล้ว All You Can Eat แปลว่า ไม่มีราคาต่อห่วยชิ้นสุดท้าย ดังนั้น จึงต้องกินให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ผู้ขายก็จะกำหนดราคาไว้ให้เท่ากับหรือสูงกว่าคนที่ทานจุที่สุดเพื่อให้ได้รับกำไร จึงเกิดเป็นความท้าทายระหว่าง กระเพราะอาหาร กับ เงินที่จ่ายครั้งแรก โดยส่วนใหญ่แล้วการทานบุฟเฟต์จะทานจนอิ่มเกินพอดี หรือทานทิ้งทานขว้าง!!!!!
ประเด็นจึงอยู่ตรงนี้ การทานบุฟเฟต์จะทำให้เกิดการใช้ทรัพยากร (อาหาร) ที่เกิดความต้องการและพอดี หลายคนทานเสร็จก็ต้องไปกินยา หรือไปนั่งทรมานเพราะอิ่มจัด หรือก็ไปนั่งบ่นว่า ทานไม่คุ้มเลย ทานได้นิดเดียว ที่ซ้ำร้ายกว่าัันั้น การทานบุฟเฟต์ ส่วนใหญ่แล้วจะทานเยอะ ทำให้ได้รับปริมาณเกลือเข้าไปเยอะกว่าที่ควร ทั้งเกลือ ทั้งไขมัน ฯลฯ สารพัด สุดท้ายป่วยอีก
เรื่องนี้จึงเป็นเรื่องเตือนใจว่า การทานอาหารให้ทานแต่พอดี อย่าทานเกินกว่าความต้องการของตนเอง เพราะทำให้ตนเองไม่สบาย และยังทำให้การกระจายอาหารเกิดความไม่สมดุลด้วย บางคนต้องการอาหารแต่ไม่สามารถหาได้ แต่อีกส่วนหนึ่งกลับทานให้มากที่สุดเพราะกลัวไม่คุ้มจนเกินกว่าความต้องการของตนเอง
ขอให้มีความสุขในการทานอาหารกันทุกคน
เพราะว่า ผู้คนมักจะคิดว่าการทานบุฟเฟต์นั้นคุ้มค่า สามารถทานเท่าไหร่ก็ได้ ซึ่งผู้เขียนเองก็นิยมทานอยู่เป็นประจำในช่วงหนึ่ง แต่เมื่อเรามาพิจารณาดูดี ๆ แล้ว การทานบุฟเฟต์นั้น เป็นการทานที่เกิดความไม่คุ้มค่าในการจัดการทรัพยากรมากที่สุด รวมไปถึงเป็นการทำลายทฤษฎีอรรถประโชยน์ (Utility Theory) เนื่องจาก การบริโภคของคนปกติแล้ว จะบริโภคเพิ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ จนรู้สึกว่า ความสุขที่ได้รับในการบริโภคชิ้นสุดท้าย ไม่คุ้มค่ากับเงินที่จ่ายออกไปในชิ้นสุดท้าย ทางทฤษฎีเรียกว่า อรรถประโยชน์ส่วนเพิ่มหน่วยสุดท้าย (Marginal Utility) เท่ากับ ราคาต่อหน่วย (Price per Unit) ซึ่งจะทำให้คนนั้น ๆ ได้รับอรรถประโยชน์สูงสุดในเงินที่ตนเองมีอยู่พอดี
แต่ลักษณะของการทานบุฟเฟต์แล้ว เป็นประเภท จ่ายก้อนเดียว แล้ว All You Can Eat แปลว่า ไม่มีราคาต่อห่วยชิ้นสุดท้าย ดังนั้น จึงต้องกินให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ผู้ขายก็จะกำหนดราคาไว้ให้เท่ากับหรือสูงกว่าคนที่ทานจุที่สุดเพื่อให้ได้รับกำไร จึงเกิดเป็นความท้าทายระหว่าง กระเพราะอาหาร กับ เงินที่จ่ายครั้งแรก โดยส่วนใหญ่แล้วการทานบุฟเฟต์จะทานจนอิ่มเกินพอดี หรือทานทิ้งทานขว้าง!!!!!
ประเด็นจึงอยู่ตรงนี้ การทานบุฟเฟต์จะทำให้เกิดการใช้ทรัพยากร (อาหาร) ที่เกิดความต้องการและพอดี หลายคนทานเสร็จก็ต้องไปกินยา หรือไปนั่งทรมานเพราะอิ่มจัด หรือก็ไปนั่งบ่นว่า ทานไม่คุ้มเลย ทานได้นิดเดียว ที่ซ้ำร้ายกว่าัันั้น การทานบุฟเฟต์ ส่วนใหญ่แล้วจะทานเยอะ ทำให้ได้รับปริมาณเกลือเข้าไปเยอะกว่าที่ควร ทั้งเกลือ ทั้งไขมัน ฯลฯ สารพัด สุดท้ายป่วยอีก
เรื่องนี้จึงเป็นเรื่องเตือนใจว่า การทานอาหารให้ทานแต่พอดี อย่าทานเกินกว่าความต้องการของตนเอง เพราะทำให้ตนเองไม่สบาย และยังทำให้การกระจายอาหารเกิดความไม่สมดุลด้วย บางคนต้องการอาหารแต่ไม่สามารถหาได้ แต่อีกส่วนหนึ่งกลับทานให้มากที่สุดเพราะกลัวไม่คุ้มจนเกินกว่าความต้องการของตนเอง
ขอให้มีความสุขในการทานอาหารกันทุกคน
วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
ความรับผิดชอบของรถโดยสารสาธารณะต่อสังคม
ทุกวันนี้หากเราใช้บริการท้องถนนในเมืองใหญ่ มักจะพบสิ่งหนึ่งเสมอ ๆ คือ การขับรถไม่สุภาพของรถสาธารณะ เรื่องนี้เป็นเหตุการเล็ก ๆ แต่เป็นเรื่องใหญ่ที่กระทบมาถึงการสร้างปัญหาจราจรและการลงทุนหลายหมื่นล้านของรัฐบาล
ตามกฎหมายแล้ว ผู้รับจ้างรถโดยสารสาธารณะจะต้องมีหน้าที่ในการนำผู้โดยสารหรือผู้ว่าจ้าง ไปถึงจุดหมายโดยปลอดภัยทั้งชีวิตและทรัพย์สิน แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือ รถแท็กซี่ รถเวล์ ขับเร็ว ปากซ้ายที ปากขวาที ก่อให้เกิดการสูญเสียทั้งชีวิต และทรัพย์สินของผู้โดยสาร และผู้ใช้ท้องถนน สิ่งนี้เป็นจุดเริ่มต้นว่าทำไม คนกรุงเทพ ไม่ชอบขึ้นรถเมล์
สาเหตุหลัก ๆ คือ รถเมล์ร้อน รถเมล์ขับไม่ดี รถเมล์เบียดคนแน่น ฯลฯ งั้น ถ้าเป็นแท็กซี่หละ
แท็กซี่ มีค่าใช้จ่ายสูง ไม่รู้จะปลอดภัยหรือเปล่า อาจจะถูกปล้น ถูกข่มขืน ถูกพาออกนอกเส้นทางก็ได้
ขับรถดีกว่า สะอาดกว่า สบายกว่า ค่าใช้จ่ายแพงหน่อยก็ยอม (ราคาน้ำมันก็ขึ้นตลอด ไม่ค่อยยอมลง)
จริง ๆ แล้วคนไทยจำนวนหนึ่งถึงจำนวนมาก กลับไม่ได้สนใจเรื่องราคามากกว่าคุณภาพบริการ สังเกตุว่า ทำไมอุตสาหกรรมการบินจึงได้มีการขยายตัวอย่่างรวดเร็ว เพราะเนื่องจาก มาตฐานความปลอดภัยที่ดีกว่า เพราะการให้บริการสายการบินมีหน่วยงานคอยตรวจสอบการบินให้มีความปลอดภัย และก็เป็นเช่นนั้นจริง ๆ สายการบินมีอัตราอุบัติเหตุต่ำทีสุดในการโดยสารทุกชนิด ทำได้อย่างไร
ผู้ให้บริการที่อยู่ในอุตสาหกรรมการบินทุกคน จะต้องได้รับการฝึกอบรมเป็นอย่างดี มีจิตสำนึกในความรับผิดชอบต่อทรัพย์สินและชีวิตของผู้โดยสาร แม้ว่าราคาจะแพงกว่า ก็ยินดีใช้บริการ
ดังนั้นเมื่อมองย้อนกลับมาในการขนส่งสาธารณะอย่าง รถเมล์ แท็กซี่ ก็สมควรแล้วที่จะจัดการให้มีมาตรฐานความปลอดภัย ดังจะขอยกตัวอย่างเป็นเรื่อง ๆ
แท็กซี่:
จะเห็นว่า ในกรุงเทพมีแท็กซี่จำนวนมากที่ ทำรถตัวเองเป็นเหมือนรถแข่ง ซึ่งเป็นการกระทำที่ไร้ความรับผิดชอบโดยสิ้นเชิง เนื่องจากการแต่งรถมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มความแรงและเร็วให้กับรถ หมายความว่ารถแท็กซี่คันนั้น จะขับเร็วตามไปด้วย ซึ่งจริง ๆ แล้วการแต่งรถก็ผิดกฎหมายจราจรอยู่แล้ว แต่ไม่มีใครเข้ามาดูแลอย่างจริงจัง นอกจากนั้น การใช้รถที่มีทำเป็นแท็กซี่ ในประเทศไทยไม่ได้มีการกำหนดว่าอย่างชัดเจนว่าจะต้องมีลักษณะเป็นอย่างไร จึงเอารถที่ใช้ลักษณะบุคคลนั่งทั่วไปมาทำเป็นแท๊กซี่ จริง ๆ แล้วรถแท็กซี่จะต้องมีการออบแบบเฉพาะกิจ เพราะต้องให้เกิดความสะดวกสบายแก่ผู้โดยสาร พร้อมความปลอดภัยระหว่างผู้โดยสารกับแท็กซี่ เนื่องจากผู้โดยสารเองก็เกรงว่าจะถูกทำร้าย (มีข่าวให้เก็นอยู่บ่อย) และแท็กซี่ก็กลัวผู้โดยสารปล้น (มีข่าวบ่อยเช่นกัน) ในต่างประเทศ จะมีการกั้น แยก ผู้โดยสารกับคนขับออกจากกัน ในประเด็นสุดท้าย เรื่องความสุภาพของคนขับ คนขับหลาย ๆ คนมักจะ ตะคอก ด่าทอ นินนทา คนในรถ นอกรถ ระหว่างการให้บริการอยู่เสมอ
รถเมล์:
รถเมล์ยิ่งต้องมีความรับชอบสูงกว่าแท็กซี่อีก เพราะจำนวนชีวิตที่อยู่บนรถ ขนาดของรถที่ขับมีจำนวนและขนาดที่ใหญ่กว่ารถโดยสารส่วนบุคคล จึงทำให้ผลกระทบที่เกิดขึ้นย่อมสูงกว่า ดังนั้นความเสียหายที่เกิดขึ้น จะมีมากกว่าไปด้วย สิ่งที่เห็นอยู่บ่อย ๆ คือ การที่รถเมล์จะรถไม่เข้าป้าย ขับกินเลย ขับปาดซ้ายปาดขวา ขับเร็ว ขับแข่งกัน เป็นสิ่งที่อันตรายเป็นอย่างยิ่ง และสิ่งที่น่าตกใจมากคือ ภาพผู้โดยสารวิ่งตามรถเมล์ เหมือนกับวิ่งไปขอส่วนบุญ อะไรสักอย่าง ระหว่างที่วิ่งก็เกิดอุบัติเหตุมากมาย ทั้งวิ่งหกล้อม ถูกรถเชี่ยว ฯลฯ
การจัดระเบียบ และเพิ่มความรับผิดชอบของคนขับรถสาธารณะ เป็นส่วนหนึ่งของการลดปัญหาทางสังคมได้ แต่ต้องทำอย่างจริง ๆ จัง (อีกแล้ว) ฝากเอาไว้ช่วยดูแล
ตามกฎหมายแล้ว ผู้รับจ้างรถโดยสารสาธารณะจะต้องมีหน้าที่ในการนำผู้โดยสารหรือผู้ว่าจ้าง ไปถึงจุดหมายโดยปลอดภัยทั้งชีวิตและทรัพย์สิน แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือ รถแท็กซี่ รถเวล์ ขับเร็ว ปากซ้ายที ปากขวาที ก่อให้เกิดการสูญเสียทั้งชีวิต และทรัพย์สินของผู้โดยสาร และผู้ใช้ท้องถนน สิ่งนี้เป็นจุดเริ่มต้นว่าทำไม คนกรุงเทพ ไม่ชอบขึ้นรถเมล์
สาเหตุหลัก ๆ คือ รถเมล์ร้อน รถเมล์ขับไม่ดี รถเมล์เบียดคนแน่น ฯลฯ งั้น ถ้าเป็นแท็กซี่หละ
แท็กซี่ มีค่าใช้จ่ายสูง ไม่รู้จะปลอดภัยหรือเปล่า อาจจะถูกปล้น ถูกข่มขืน ถูกพาออกนอกเส้นทางก็ได้
ขับรถดีกว่า สะอาดกว่า สบายกว่า ค่าใช้จ่ายแพงหน่อยก็ยอม (ราคาน้ำมันก็ขึ้นตลอด ไม่ค่อยยอมลง)
จริง ๆ แล้วคนไทยจำนวนหนึ่งถึงจำนวนมาก กลับไม่ได้สนใจเรื่องราคามากกว่าคุณภาพบริการ สังเกตุว่า ทำไมอุตสาหกรรมการบินจึงได้มีการขยายตัวอย่่างรวดเร็ว เพราะเนื่องจาก มาตฐานความปลอดภัยที่ดีกว่า เพราะการให้บริการสายการบินมีหน่วยงานคอยตรวจสอบการบินให้มีความปลอดภัย และก็เป็นเช่นนั้นจริง ๆ สายการบินมีอัตราอุบัติเหตุต่ำทีสุดในการโดยสารทุกชนิด ทำได้อย่างไร
ผู้ให้บริการที่อยู่ในอุตสาหกรรมการบินทุกคน จะต้องได้รับการฝึกอบรมเป็นอย่างดี มีจิตสำนึกในความรับผิดชอบต่อทรัพย์สินและชีวิตของผู้โดยสาร แม้ว่าราคาจะแพงกว่า ก็ยินดีใช้บริการ
ดังนั้นเมื่อมองย้อนกลับมาในการขนส่งสาธารณะอย่าง รถเมล์ แท็กซี่ ก็สมควรแล้วที่จะจัดการให้มีมาตรฐานความปลอดภัย ดังจะขอยกตัวอย่างเป็นเรื่อง ๆ
แท็กซี่:
จะเห็นว่า ในกรุงเทพมีแท็กซี่จำนวนมากที่ ทำรถตัวเองเป็นเหมือนรถแข่ง ซึ่งเป็นการกระทำที่ไร้ความรับผิดชอบโดยสิ้นเชิง เนื่องจากการแต่งรถมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มความแรงและเร็วให้กับรถ หมายความว่ารถแท็กซี่คันนั้น จะขับเร็วตามไปด้วย ซึ่งจริง ๆ แล้วการแต่งรถก็ผิดกฎหมายจราจรอยู่แล้ว แต่ไม่มีใครเข้ามาดูแลอย่างจริงจัง นอกจากนั้น การใช้รถที่มีทำเป็นแท็กซี่ ในประเทศไทยไม่ได้มีการกำหนดว่าอย่างชัดเจนว่าจะต้องมีลักษณะเป็นอย่างไร จึงเอารถที่ใช้ลักษณะบุคคลนั่งทั่วไปมาทำเป็นแท๊กซี่ จริง ๆ แล้วรถแท็กซี่จะต้องมีการออบแบบเฉพาะกิจ เพราะต้องให้เกิดความสะดวกสบายแก่ผู้โดยสาร พร้อมความปลอดภัยระหว่างผู้โดยสารกับแท็กซี่ เนื่องจากผู้โดยสารเองก็เกรงว่าจะถูกทำร้าย (มีข่าวให้เก็นอยู่บ่อย) และแท็กซี่ก็กลัวผู้โดยสารปล้น (มีข่าวบ่อยเช่นกัน) ในต่างประเทศ จะมีการกั้น แยก ผู้โดยสารกับคนขับออกจากกัน ในประเด็นสุดท้าย เรื่องความสุภาพของคนขับ คนขับหลาย ๆ คนมักจะ ตะคอก ด่าทอ นินนทา คนในรถ นอกรถ ระหว่างการให้บริการอยู่เสมอ
รถเมล์:
รถเมล์ยิ่งต้องมีความรับชอบสูงกว่าแท็กซี่อีก เพราะจำนวนชีวิตที่อยู่บนรถ ขนาดของรถที่ขับมีจำนวนและขนาดที่ใหญ่กว่ารถโดยสารส่วนบุคคล จึงทำให้ผลกระทบที่เกิดขึ้นย่อมสูงกว่า ดังนั้นความเสียหายที่เกิดขึ้น จะมีมากกว่าไปด้วย สิ่งที่เห็นอยู่บ่อย ๆ คือ การที่รถเมล์จะรถไม่เข้าป้าย ขับกินเลย ขับปาดซ้ายปาดขวา ขับเร็ว ขับแข่งกัน เป็นสิ่งที่อันตรายเป็นอย่างยิ่ง และสิ่งที่น่าตกใจมากคือ ภาพผู้โดยสารวิ่งตามรถเมล์ เหมือนกับวิ่งไปขอส่วนบุญ อะไรสักอย่าง ระหว่างที่วิ่งก็เกิดอุบัติเหตุมากมาย ทั้งวิ่งหกล้อม ถูกรถเชี่ยว ฯลฯ
การจัดระเบียบ และเพิ่มความรับผิดชอบของคนขับรถสาธารณะ เป็นส่วนหนึ่งของการลดปัญหาทางสังคมได้ แต่ต้องทำอย่างจริง ๆ จัง (อีกแล้ว) ฝากเอาไว้ช่วยดูแล
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
-
หลังจากการเลือกตั้งของประเทศไทยปี 2566 ผ่านพ้นไป ได้เห็นคะแนนกันไปแล้ว ส่วนการจัดตั้งรัฐบาลจะเป็นอย่างไรก็เป็นเรื่องของผู้ที่เกี่ยวข้องไปจัด...
-
การวางแผนงบประมาณเชิงกลยุทธ์ งบประมาณเป็นแผนที่ทุกองค์กรต่างให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะว่าเป็นแผนที่ควบคุมการรับเงินและการจ่ายเงินขององค...
-
กระบวนการการจัดการข้อมูลขององค์กร Organizational Data Management Process การเปลี่ยนแปลงทางสภาพสังคมเศรษฐกิจ ของมนุษย์ในช่วงยุคอุตสาหกรรม...