วันอังคารที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2554

เศรษฐกิจแบบพึ่งพาตนเอง หนทางเอาชนะทุนนิยม

ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เริ่มมีการพูดถึง เรื่อง บริโภคนิยม, ทุนนิยม เป็นตัวอันตราย ซึ่งจริง ๆ แล้ว ทุนนิยม เป็นระบบที่ดี ถ้าอยู่ในข้อสมมติฐานที่ว่า ประชาชนที่อยู่ในสังคม จะต้องมีคุณธรรม และ ศีลธรรมอันดี ซึ่ง แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยในสังคมปัจจุบัน


หลักการของทุนนิยม เริ่มจากการทำให้เกิดการประหยัดต่อขนาด อันเกิดจากการเกิดความชำนาญเฉพาะด้าน ทำเรื่องเดียว ทำให้เก่งอย่างเดียว จะทำให้ทีผลิตภาพสูงขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องจริง แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือ เมื่อมนุษย์ถูกฝึกมาให้ทำแต่เพียงอย่างเดียวในชีวิต จะทำให้ไม่สามารถปรับตัว หรือปรับตัวได้ยากเมื่อ ระบบของเศรษฐกิจเปลี่ยนไป หรือเกิดวิกฤตกาลต่าง ๆ

นอกจากนั้น การที่เกิดความชำนาญเฉพาะด้านเพียงอย่างเดียว จะต้องเกิดการพึ่งพาคนอื่นตลอดเวลา เพราะมนุษย์ ไม่สามารถบริโภคสินค้าและบริการแต่เพียงอย่างเดียวเพื่อการดำรงค์ชีวิตได้ ซึ่งในความเป็นจริง จะต้องมีการบริโภคสินค้าหรือสิ่งจำเป็นต่าง ๆ ที่มีความหลากหลาย เพื่อการอยู่รอดของการดำรงชีวิต

ในการที่มนุษย์ สามารถผลิตสินค้าหรือบริการได้เพียงอย่างเดียวนั้น จะต้องอาศัยสังคมที่มีขนาดใหญ่มาก เพื่อให้เกิดโอกาสในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ อันเป็นการกระจายความเสี่ยงในการขายสินค้า บริการ หรือแรงงานที่ประชากรหนึ่งหน่วยในสังคมป้อนเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ

เมื่อมีสังคมขนาดใหญ่ ปัญหาเรื่องต่าง ๆ ก็จะเพิ่มมากขึ้นมาเป็นเงาตามตัว ไม่ว่าจะเป็นปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อม ปัญหาทางด้านสังคม ปัญหาทางด้านอาชญากรรม ฯลฯ จะสังเกตุได้จากเมืองที่มีขนาดใหญ่เช่น ปังกิ่ง นิวยอร์ค หรือแม้กระทั่งกรุงเทพมหานคร ซึ่งตรงตามคนโบราญที่ว่า คนเยอะ เรื่องแยะ และที่สำคัญที่สุดเมื่อคนเยอะ ก็เกิดการแข่งขันกันสูง คนเห็นแก่ตัวของคนมากขึ้นตามไปด้วย เนื่องจาก แต่ละคนสามารถผลิตสินค้า บริการ หรือแรงงานได้เพียงด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น

และเมื่อถึงจุดวิกฤตทางเศรษฐกิจเกิดขึ้น ก็จะเกิดปัญหาเรื่องแรงงานว่างงาน คนตกงาน เพราะคนเหล่านี้ไม่มีหนทางจะทำมาหากินอย่างอื่นได้เลย ทั้งหมดนี้คือปัญหาระยะยาวของระบบทุนนิยม

ทางออก
ทางออกของปัญหาระยะยาวของระบบทุนนิยมคือการลดการพึ่งพาคนอื่น เพื่อความสามารถในการผลิตให้หลายหลาก เน้นเรื่องที่สามารถใช้ยังชีพก่อน เมื่อคนเรามีความสามารถที่หลากหลายแล้ว จะมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงและวิกฤตต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ในความสามารถนี้ จะต้องมีประโยชน์ต่อชีวิต มีคุณค่าต่อการดำรงชีพจริง เพราะสิ่งสำคัญอันดับต้นของมนุษย์คือปัจจัย 4 จริง ๆ

เงินไม่ใช้สิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิต แต่เงินเป็นเพียงสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้า บริการ และแรงงานเท่านั้น ดังนั้นเมื่อเจอปัญหา หรือวิกฤตขนาดใหญ่ เช่น สงคราม น้ำท่วม แผ่นดินไหว เงินจะเป็นสิ่งที่ไม่มีค่าอะไรเลย แต่ปัจจัย 4 ต่างหากที่ยังจะสามารถดำรงคุณค่าของตัวมันเองไว้ได้

สรุปคือ คนเราต้องเริ่มสร้างความหลายในการผลิต (เสื้อผ้า อาหาร เครื่องนุ่งห่ม) การผลิตในที่นี้รวมไปถึงทักษะฝีมือแรงงานด้วย เพื่อเตรียมพร้อมรับในการเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงของโลก และพยายามทำให้สังคมมีขนาดเล็กลง เพื่อให้ระดับการเกิดปัญหาน้อยลงตามไปด้วย และด้วยวิธีการแบบนี้ จะทำให้มนุษย์ลดการพึ่งพาซึ่งกันและกัน ลดการพึ่งพาเงินของโลกาภิวัฒน์อันวุ่นวาย

วันพุธที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2554

แบ่งงานกันทำ กับร่วมแรงร่วมใจ อย่างไหนไปรอด

การร่วมแรงร่วมใจของคนในสังคม หมายถึง การทำงานทดแทนกันได้หลายอย่าง แต่ไปในทิศทางเดียวกัน 

จากทฤษฎีตั้งต้นของนักเศรษฐศาสตร์ทั้งหลาย คงจะต้องเรียนคำว่า แบ่งงานกันทำ เพื่อให้เกิดความถนัด (Specialization) เมื่อมีความถนัดมาก ๆ แล้ว จะทำให้สามารถทำงานได้มากขึ้น และเกิดการประหยัดต่อขนาด (Economy of Scale) ซึ่งทฤษฎีที่กล่าวมานี้เป็นเรื่องจริง ไม่อาจจะเถียงได้ ด้วยอายุของทฤษฎีเป็นร้อยปี ก็ยังเป็นจริงอยู่ถึงทุกวันนี้ จะกระทั้งมีการพัฒนาทฤษฎีที่ทำให้เกิดการประหยัดอีกหลายเรื่อง เช่น การประหยัดต่อเวลา (Economy of Speed) หมายถึงการทำให้เร็วขึ้น ด้วยคุณภาพเท่าเดิม จะได้ปริมาณมากขึ้น ประหยัดเวลา และค่าแรงได้ การประหยัดต่อด้าน (Economy of Scope) หมายถึงการทำงานในหลาย ๆ งานที่ไปในทางเดียวกัน ก็จะเกิดการประหยัดได้ จะให้มากในอุตสาหกรรมขนส่ง Logistic และห่วงโซ่อุปทาน นั่นหมายความว่า การที่คนเราจะทำอะไรสักอย่าง ก็ต้องทำให้เก่งจึงจะเกิดผลดี

แต่ ณ จุดนี้ ผู้เขียนมีความที่อยากจะต่อยอดขึ้นไป (ไม่ได้คัดค้าน) เป็นการเสนอความคิดที่มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้นไปอีก คือการทำงานให้เกิดการประหยัด เป็นการลดใช้ทรัพยากรของโลกได้ แต่เป็นการเพิ่มภาระการพึ่งพิงของคนให้มากยิ่งขึ้น เพราะการที่คนเราจะมีชีวิตอยู่ได้ในแต่ละวัน จะต้องมีการบริโภคสินค้าและบริการต่าง ๆ มากมาย แต่การที่คนเรา ทำอะไรเพียง 1-2 อย่าง จะทำให้เกิดการขาดทักษะในการผลิตในชีวิตไปอย่างรวดเร็ว ดังนั้น เมื่อไม่สามารถจะดำรงชีวิตได้โดยลำพัง จะต้ิองทำการผลิตที่ต้วเองสามารถทำได้ เพื่อแลกกับสิ่งอื่น ๆ ในการยังชีพ

ในภาพที่กว้างขึ้น เมื่อมนุษย์มีความซับซ้อนในการดำรงชีวิตมากขึ้น ต้องการสินค้าในการดำรงชีพมากขึ้น ก็ต้องอาศัยการพึ่งพิงมากขึ้นตามไปด้วย ทำให้สังคมของมนุษย์จะต้องมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ ในอดีตกาล สังคมเล็ก ๆ หรือหมู่บ้านหนึ่ง สามารถผลิตสินค้าเพื่อการยังชีพได้ครบถ้วนในสังคมเดียว แต่ปัจจุบัน มีบางสังคม จะผลิตสินค้าเพียงอย่างเดียว เช่นปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เพื่อนำเงินที่ได้ไปซื้อข้าว ซื้อปลา มารับประทาน เมื่อเกิดเห็ตการณ์อุปสงค์สินค้า่ชนิดนั้นลดลง ทำให้ราคาของสินค้าที่หมู่บ้านนั้นสามารถผลิตได้ลดลงตามไปด้วย

สุดท้ายก็หนีไม่พ้นการเป็นหนี้โดยเฉพาะ เกษตรกร และแรงงานอุตสาหกรรม ที่ทั้งชีวิตทำเป็นอยู่อย่างเดียว จากจุดนี้เอง ผู้เขียนจึงเสนอว่า การร่วมแรงร่วมใจ แบบที่สามารถทดแทนงานกันได้ เป็นทางออกในการอยู่รอดของสังคม เช่น คนเราควจจะสามารถเป็นทั้งเกษตรกร และ ช่างในเวลาเดียวกัน เป็นนักการเงินและการตลาดในเวลาเดียวกัน หรือเป็นมากกว่า 2-3 อย่างในเวลาเดียวกัน สิ่งเหล่านี้จะสามารถนำมาบูรณาการได้ ทำให้ผลิตภาพในการทำงานเพิ่มสูงขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ สิ่งนี้เรียกว่า บูรณาการ (Integrated)

ดังนั้นการร่วมแรงร่วมใจของคนในสังคม หมายถึง การทำงานทดแทนกันได้หลายอย่าง แต่ไปในทิศทางเดียวกัน เป็นการลดการพึ่งพิงระดับปัจเจกบุคคล ลดปัญหาการขาดแคลนทักษะแรงงาน และลดความเสี่ยงในการเกิดวิกฤติจากสถานะการณ์ต่าง ๆ

แต่อย่างไรก็ดี บุคคลจะต้องมีทักษะอย่างใดอย่างหนึ่งที่โดดเด่ด เพื่อเป็นการสร้างการประหยัดต่อขนาดจะความชำนาญเฉพาะด้านด้วย ยังเป็นการใช้ทรัพยากรให้เกิดคุณค่าสูงสุด แบบยังยืนสืบไป