วันเสาร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2555
สายอาชีวะขาดแคลน และยังขาดประสิทธิภาพ?
ความหมายที่แท้จริงของสายการเรียนการสอน
ในอดีตที่ผ่านมา เกิดปัญหาในการเข้าใจ หรือทัศนะคติของสังคมที่มีต่อสายอาชีวะว่าเป็นที่เรียนของคนเรียนไม่เก่ง ไม่มีที่ไปเรียนต่อ ม.ปลายไม่ได้เพราะเกรดไม่ถึง จึงทำให้เกิดความเชื่อที่ผิดๆ และเป็นการปลูกฝังหยั่งรากลึกในสังคมไทยว่า ถ้าอยากรวย อยากได้เงินเดือนสูง ๆ ต้องเรียนปริญญาเท่านั้น ซึ่งเป็นความเชื่อที่ผิด และเกิดการหยุดชะงักของการพัฒนาสายอาชีวะอย่างรุนแรง จนทำให้เกิดการขาดแคลนบุคลากรทางสายอาชีวะในปัจจุบัน
จริง ๆ การเรียนการสอนในสายอาชีวะเป็นสายที่มีความสำคัญ เพราะคนที่สบสายอาชีวะ จะกลายเป็นแรงงานมีฝีมือที่จะค่อยเป็นบุคคลในฝ่ายผลิตของแต่ละอุตสาหกรรม โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรม เช่น งานโยธา งานไฟฟ้ากำลัง งานเหล่านี้ต้องอาศัยแรงงานมีฝีมือเพื่อให้การก่อสร้รง การติดตั้ง ทำได้รวดเร็ว มีคุณภาพ และเกิดความคุ้มค่าในเงินลงทุน ดีกว่าในแรงงานที่ขาดฝีมือ ซึ่งจะทำให้งานล่าช้า หรือต้องอาศัยกแรงงานในการปฏิบัติงานเป็นหลัก (labor intensive)
สิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันคือ แรงงานในประเทศไทย จะมี 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ พวกที่จบปริญญา และพวกที่ ไม่จบปริญญา หรือการศึกษาน้อย ซึ่งขาดแรงงานแบบมีฝีมือทางการปฏิบัติไป คนที่เรียนจบปริญญา ไม่ใช่คนไม่มีความรู้ แต่ระบบการเรียนการสอนมุ่งเน้นที่จะเรียนรู้ในทางทฤษฎีมากกว่าทางการปฏิบัติ เช่น นักวิชาการเกษตร มักจะทำนาได้เก่งน้อยกว่าเกษตรกร วิศวกรโยธา ฉาบปูนได้เก่งน้อยกว่าช่างปูน แต่เกษตรกร และช่างปูน ต่างจะต้องฝึกฝนด้วยตนเอง กว่าจะได้ฝีมือที่ตลาดยอมรับ ต้องใช้เวลานาน บางคนใช้เวลามากกว่า 10 ปี ขึ้นไปซึ่งต้องใช้ทรัพยากร และเวลานานมาก
ในทางด้านวิชาการ เน้นเรื่องการเรียนรู้ทางทฤษฎี ในระดับปริญญาตรี เน้นเรื่องการเรียนรู้ทฤษฎีที่มีอยู่ในแขนงต่าง ๆ ปริญญาโท เน้นเรื่องการใช้ทฤษฎีมาคิดเชิงวิเคราะห์หาสาเหตุ และแนวทางปฏิบัติ สำหรับปริญญาเอก เน้นเรื่องการสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางทฤษฎี ซึ่งทั้ง 3 ปริญญา ไม่ได้เน้นเรื่องการนำความรู้สู่ทักษะทางการปฏิบัติเลย
ดังนั้นเพื่อให้เกิดความสมดุลย์ของการขับเครื่อนทางเศรษฐกิจ จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้บริหารทางการศึกษาจะต้องผลิตแรงงานที่มาจากทางด้านอาชีวะ มากว่าสายวิชาการ เพื่อให้มีผู้ปฏิบัติงานในตลาดแรงงานอย่างพอเพียง และต้องแตกย่อยในทักษะแขนงต่าง ๆ อย่างทั่วถึฃและมีมาตรฐาน คำว่ามาตรในที่นี้ หมายถึง ถ้ามีใบประกาศทางอาชีวะระดับต้น เทียบได้กับผู้ที่ทำงานโดยไม่ได้เรียนมาไม่น้อยกว่า 5 ปี ระดับกลาง 10 ปี และรดับสูง 20 ปี เป็นต้น เพื่อเป็นการบ่งบอกถึงความชำนาญ และเชี่ยวชาญในสิ่งที่มีทักษะอยู่ การเปิดวิชาอาชีวะในแขนงต่าง ๆ นั้น จะต้องเป็นสาขาที่สามารถใช้งานได้จริง เช่น งานก่อสร้าง จะต้องมีความชำนาญทางการก่อสร้างเป็นอย่างดี ใช้คนแค่ 3-5 คน ก็สามารถสร้างบ้านได้ทั้งหลัง หรืองานก้านอาหาร มีความเชี่ยวชาญในการปรุง และคิดค้นสูตรอาหารต่าง ๆ งานเครื่องปั้นดินเผา งานเครื่องหนัง งานกระดาษ งานโลหะ งานเครื่องประดับ งานถักทอ เป็นต้น
สำหรับการศึกษาสายวิชาการนั้น ให้ลดจำนวนลง โดยให้เหลือแต่ระดับหัวกะทิเท่านั้นที่สามารถเข้าไปเรียนได้ ทำให้รัฐสามารถเพิ่มงบการวิจัยต่าง ๆ ได้มากขึ้น แทนที่จะต้องมาอุดหนุนเรื่องค่าเล่าเรียนให้แก่เยาวชน งายวิจัยเหล่านี้ จะเป็นองค์ความรู้ที่สายอาชีวะนำไปใช้งาน เพื่อให้การทำงานของสายอาชีวะเกิดประสิทธิภาพมากยิ่ง ๆ ขึ้นไป
โดยสรุปคือ ลดจำนวนสายวิชาการ คัดแต่หัวกะทิมาเรียน และเพิ่มมาตร แขนงวิชาของสายอาชีวะให้มากขึ้น เพื่อให้มีแรงงานในระดับรากหญ้ามาเป็นผู้ขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจต่อไป
วันอาทิตย์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2555
การประหยัด คือวิถีขั้นต้นของการอยู่รอด
ในปี 2010 โลกของมนุษย์ มีปัญหาจากภัยภิบัติตามธรรมชาติมากมาย ทั้งเรื่องแผ่นดินไหว พายุ อุทกภัย วาตภัยต่าง ๆ ทั่วโลก แม้แต่ในประเทศไทยเอง ปี 2011 ก็มีเหตุการณ์ มหาอุทกภัย อย่างที่ไม่เคยเกิดมาก่อน
นักวิชาการหลายคนได้สรุปว่าเกิดจากปัญหาโลกร้อน ทำให้ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง อย่างรุนแรง และยังไม่รู้ว่า จะเกิดภัยธรรมชาติอะไรอีก จุดเริ่มต้นของการเกิดภัยธรรมชาติคือการบริโภคทรัพยากรธรรมชาติของมนุษย์ อย่างไม่รู้จักปันยะปันยัง โดยบอกว่ากลไลตลาดเป็นตัวตัดสินในการจัดสรรทรัพยากร แต่เกิดความล้มเหลวของกลไกตลาดโดยสิ้นเชิง
การบริโภคของมนุษย์ คิดว่ามีปัญญาหามาได้ก็ใช้ได้ แต่มนุษย์เรายังขาดการตระหนักว่า รู้จักใช้แต่เพียงพอ ประหยัด เพื่อให้ธรรมชาติมีโอกาสฟื้นตัว และเหลือใช้ไปถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน
การประหยัดในที่นี้ นอกจากจะประหยัดในสินทรัพย์ของตนเองแล้ว ยังรวมถึงการประหยัดทรัพยากรส่วนรวมด้วย
เนื่องจากทรัพยากรส่วนรวม จะเป็นทรัพยากรที่ผู้ใช้ไม่ได้จ่ายค่าใช้ทรัพยากร ดังนั้นจึงคิดว่าไม่มีต้นทุนในการบริโภค จึงใช้อย่างเต็มที่ แบบนี้ทางเศรษฐศาสตร์ เรียกว่า Free Rider เป็นการสูญเสียโดยไม่ควรจะเสีย
ยกตัวอย่างการใช้ทรัพยากรส่วนรวม เช่นการใช้น้ำสาธารณะ เมื่อไม่ต้องจ่ายค่าน้ำ ก็ใช้เต็มที่ ทำให้สังคมต้องเสียน้ำ โดยไม่จำเป็น ภาครัฐมีต้นทุนเพิ่มในการจัดหาน้ำมาให้ใช้ และสุดท้ายมีผลมาถึงการจัดหารายได้ของรัฐ ที่จะต้องมาเพิ่มภาษี หรือ อากร มาชดเชยค่าใช้จ่าย
อีกตัวอย่าง การใช้ถนน บางคนคิดว่าถนนเป็นของส่วนกลาง จะใช้ยังไไงก็ได้ไม่ต้องประหยัด ขับให้ครบทุกเลน ถ้ารถไม่เยอะก็ไม่เป็นไร แต่ถ้ารถเยอะ จะทำให้ กระทบกับรถคันอื่นๆ ใน 2 ทาง ทางแรกเป็นทางตรง ทำให้รถคันอื่นต้องเบรก เพื่อให้คันที่เปลี่ยนช่องไปได้โดยไม่ประสบอุบัติเหตุ ผลคือ รถคันอื่นเปลืองเบรก เปลืองน้ำมันที่จะต้องเร่งตันเร่งใหม่อีก คันที่เปลี่นเลนไปมา ก็ต้องเร่งเครื่องเพื่อให้พ้น เปลืองเบรก เปลืองน้ำมันด้วยเช่นกัน ทางที่ 2 คือ รถจะติดเพิ่มขึ้น ทำให้รถที่มาในทางนั้น สิ้นเปลืองน้ำมันมากขึ้นด้วย และยังเป็นผลให้รัฐ จะต้องจัดหาถนนเพิ่ม และการจัดการจราจรเพิ่มด้วย
การมีสำนึกในการประหยัดนี้ จะทำให้ เกิดเงินออม เหลือทรัพยากร และยังมีสะสมเอาไว้ใช้ในช่วงจำเป็น และฉุกเฉิน เมื่อมนุษย์มีทรัพยากรสะสมเป็นของตนเองแล้ว ก็จะเป็นการลดภาวะพึ่งพิงบุคคลอื่นได้อีกทางหนึ่งด้วย
นักวิชาการหลายคนได้สรุปว่าเกิดจากปัญหาโลกร้อน ทำให้ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง อย่างรุนแรง และยังไม่รู้ว่า จะเกิดภัยธรรมชาติอะไรอีก จุดเริ่มต้นของการเกิดภัยธรรมชาติคือการบริโภคทรัพยากรธรรมชาติของมนุษย์ อย่างไม่รู้จักปันยะปันยัง โดยบอกว่ากลไลตลาดเป็นตัวตัดสินในการจัดสรรทรัพยากร แต่เกิดความล้มเหลวของกลไกตลาดโดยสิ้นเชิง
การบริโภคของมนุษย์ คิดว่ามีปัญญาหามาได้ก็ใช้ได้ แต่มนุษย์เรายังขาดการตระหนักว่า รู้จักใช้แต่เพียงพอ ประหยัด เพื่อให้ธรรมชาติมีโอกาสฟื้นตัว และเหลือใช้ไปถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน
การประหยัดในที่นี้ นอกจากจะประหยัดในสินทรัพย์ของตนเองแล้ว ยังรวมถึงการประหยัดทรัพยากรส่วนรวมด้วย
เนื่องจากทรัพยากรส่วนรวม จะเป็นทรัพยากรที่ผู้ใช้ไม่ได้จ่ายค่าใช้ทรัพยากร ดังนั้นจึงคิดว่าไม่มีต้นทุนในการบริโภค จึงใช้อย่างเต็มที่ แบบนี้ทางเศรษฐศาสตร์ เรียกว่า Free Rider เป็นการสูญเสียโดยไม่ควรจะเสีย
ยกตัวอย่างการใช้ทรัพยากรส่วนรวม เช่นการใช้น้ำสาธารณะ เมื่อไม่ต้องจ่ายค่าน้ำ ก็ใช้เต็มที่ ทำให้สังคมต้องเสียน้ำ โดยไม่จำเป็น ภาครัฐมีต้นทุนเพิ่มในการจัดหาน้ำมาให้ใช้ และสุดท้ายมีผลมาถึงการจัดหารายได้ของรัฐ ที่จะต้องมาเพิ่มภาษี หรือ อากร มาชดเชยค่าใช้จ่าย
อีกตัวอย่าง การใช้ถนน บางคนคิดว่าถนนเป็นของส่วนกลาง จะใช้ยังไไงก็ได้ไม่ต้องประหยัด ขับให้ครบทุกเลน ถ้ารถไม่เยอะก็ไม่เป็นไร แต่ถ้ารถเยอะ จะทำให้ กระทบกับรถคันอื่นๆ ใน 2 ทาง ทางแรกเป็นทางตรง ทำให้รถคันอื่นต้องเบรก เพื่อให้คันที่เปลี่ยนช่องไปได้โดยไม่ประสบอุบัติเหตุ ผลคือ รถคันอื่นเปลืองเบรก เปลืองน้ำมันที่จะต้องเร่งตันเร่งใหม่อีก คันที่เปลี่นเลนไปมา ก็ต้องเร่งเครื่องเพื่อให้พ้น เปลืองเบรก เปลืองน้ำมันด้วยเช่นกัน ทางที่ 2 คือ รถจะติดเพิ่มขึ้น ทำให้รถที่มาในทางนั้น สิ้นเปลืองน้ำมันมากขึ้นด้วย และยังเป็นผลให้รัฐ จะต้องจัดหาถนนเพิ่ม และการจัดการจราจรเพิ่มด้วย
การประหยัด ในที่นี้ หมายถึง การรู้จักใช้ทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวอย่างคุ้มค่า ไม่เพิ่มภาระให้กับผู้อื่นอีก อยู่ทุกชั่วขณะจิต ตลอดเวลา
การมีสำนึกในการประหยัดนี้ จะทำให้ เกิดเงินออม เหลือทรัพยากร และยังมีสะสมเอาไว้ใช้ในช่วงจำเป็น และฉุกเฉิน เมื่อมนุษย์มีทรัพยากรสะสมเป็นของตนเองแล้ว ก็จะเป็นการลดภาวะพึ่งพิงบุคคลอื่นได้อีกทางหนึ่งด้วย
Published with Blogger-droid v2.0.2
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
-
หลังจากการเลือกตั้งของประเทศไทยปี 2566 ผ่านพ้นไป ได้เห็นคะแนนกันไปแล้ว ส่วนการจัดตั้งรัฐบาลจะเป็นอย่างไรก็เป็นเรื่องของผู้ที่เกี่ยวข้องไปจัด...
-
การวางแผนงบประมาณเชิงกลยุทธ์ งบประมาณเป็นแผนที่ทุกองค์กรต่างให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะว่าเป็นแผนที่ควบคุมการรับเงินและการจ่ายเงินขององค...
-
กระบวนการการจัดการข้อมูลขององค์กร Organizational Data Management Process การเปลี่ยนแปลงทางสภาพสังคมเศรษฐกิจ ของมนุษย์ในช่วงยุคอุตสาหกรรม...