วันศุกร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2563

การสร้างความคิดทางบวกเพื่อคลายเครียดเมื่อต้อง Work From Home

ความเครียดเมื่อเราต้องทำงานอยู่บ้าน เป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นเหตุผลเพราะเรากำลังเผชิญหน้ากับสถาการณ์ที่เราไม่ได้คาดหวัง หรือผลที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่เราไม่ต้องการ เช่น การเงินไม่พอใช้ รายได้หาย กลัวติดโรค กลัวโน้น กลัวนี่ สารพะด เริ่มวิตกกังวลกับอนาคต เมื่อหลายๆ อย่างประกอบกัน ทำให้ความเครียดเพิ่มสูงขึ้นมาก ยิ่งความคาดหวังสูงมากความเครียดก็ยิ่งสูงตาม
.
.
ความเครียดเกิดจากสมการได้ง่ายๆ ให้เข้าใจแบบนี้
.
ความเครียด = ความไม่สมหวัง + ระดับการยึดติดกับสถาการณ์เดิม
.
ดังนั้น การจัดการความเครียด ให้จัดการตัวเองใน 2 เรื่อง คือเรื่องของความคาดหวัง และการปรับตัว
.
.
1) การจัดการความคาดหวัง ให้เราเข้าใจเรื่องการเปลี่ยนแปลงเสียก่อนว่า ทุกอย่างไม่เหมือนเดิม เราไม่สามารถยึดติดกับเรื่องความคาดหวังเดิมได้ แต่ให้มองทรัพยากรที่มี และโอกาสที่เราพบว่า เราได้อะไรจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ให้เรามองสิ่งที่ได้ มากกว่าสิ่งที่เรา (เคย) ต้องการ คำว่าได้ในที่นี้ เช่น ได้ เวลาในการดูแลตัวเอง ได้โอกาสในการทำในสิ่งที่อยากทำ ได้เวลาฟื้นฟูสุขภาพของตัวเอง ได้ทำอาชีพใหม่ๆ ที่เราเองไม่เคยมีเวลาทำเลยเมื่อต้องทำงานอยู่ที่ทำงานทุกวัน วิธีการนี้ช่วยให้เราได้เปลี่ยนแปลงจุดสนใจจากที่เราสูญเสีย ไปสนใจจุดที่ได้ จากการเปลี่ยนแปลง ทำให้สมองของเราทำงานได้ดีขึ้นและมีความสุขมากขึ้น
.
.
เมื่อเราจัดการความคาดหวังได้ นั่นคือ เราสามารถเปลี่ยนความคาดหวังเดิมที่ไม่สามารถทำได้เพราะสถาการณ์เปลี่ยนแปลงไปแล้ว เป็นการตั้งเป้าหมายใหม่ ของสิ่งที่มี เราสามารถทำอะไรได้บ้างในสิ่งที่มี และเราจะทำให้ตัวเองมีอะไรดีๆ เกิดขึ้นในแต่ละวันของเรา
.
.
2) ใส่ความขี้เล่นลงไปในชีวิต ทำตัวให้เหมือนเด็กๆ ในแค่ละวัน เด็กไม่คิดอะไรมาก จับอะไรก็ได้มาเล่นแบบไม่อายใคร ในฐานะเป็นผู้ใหญ่ ก็สามารถเล่นได้เหมือนกัน เพียงแต่เล่นกันงาน เล่นกับสิ่งที่ทำอยู่ ใส่ความคิดสนุกๆ (ที่มีขอบเขต และไม่ทำให้ใครเดือดร้อน) ลงไปในการทำงานแต่ละวัน ยิ่งเราวางกรอบให้ตัวเองเท่าไหร่ เรายิ่งเครียดมากขึ้นเท่านั้น จัดการตัวเองผ่านการเล่นๆ
.
.
3) อย่ามโนในสิ่งที่ยังไม่เกิด แต่ให้เราอยู่กับข้อมูลที่เชื่อถือได้จริง เพราะยิ่งเรามโนอยู่กับสิ่งที่ยังไม่เกิดมากเกินไป โดยส่วนใหญ่จะรับเอาข้อมูลจากข่าง และโซเชียลมาใส่ตัวเรามาเกินไป โดยเฉพาะคนที่อ่านข่าวแบบใส่อารมณ์จัดเต็ม เราจะยิ่งเครียด สิ่งที่เราต้องทำจริงๆ คือ รับข้อมูลพร้อมเหตุผลของข้อมูลที่วิเคราะห์แล้วเป็นจริงได้
.
.
4) ขยับตัวบ้าง ด้วยการหาอะไรทำใหม่ๆ การขยับตัว เป็นเทคนิคการลดความเครียด ยิ่งเรานั่งเฉยๆ ไม่มีการเคลื่อนไหว ร่างกายยิ่งเคลียด ยิ่งไม่มีพลัง ยิ่งท้อแท้ การขยับตัวด้วยการทำอะไรใหม่ๆ เป็นการช่วยให้เราก้าวข้ามการยึดติดกับสิ่งเดิมๆ ให้สามารถเปลี่ยนมุมมองของเราได้
.
.
5) ใช้คาถา 2 คาถา กับเรื่องราวที่เกิดขึ้น คือ "อ้อเหรอ" กับ "ก็ดีนะ" คำว่า อ้อเหรอ ใช้เมื่อเราเจอสถาการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น มีคนคิดไวรัสอยู่บ้างบ้้าน ให้เราพูดออกมาเลยว่า อ้อเหรอ เพื่อเป็นการหยุดอารมณ์ของเราก่อน ไม่งั้น สมองของเราจะวิ่งพล่านไปหมด ทำให้เราเสียสติ เสียสมาธิ และไม่สามารถควบคุมตนเองได้ชั่วขณะจนกว่า สติจะมา และเมื่อเราตั้งสติได้แล้ว ให้ใช้คาถาที่ 2 คือ ก็ดีนะ แล้วหใ้เหตุผลว่า เหตุการณ์นี้ เราได้อะไร จากการยกตัวอย่างว่า เมื่อเราพบว่าคนข้างบ้านติดไวรัส ก็บอกว่า ก็ดีนะ เราจะได้ไปตรวจให้ชัดๆ เลยว่า เรายังติดไวรัสอยู่มั้ย หายสงสัยสักที (เพราะปกติถ้าไม่ใช่คนเสี่ยงติดโรค โรงพยายาลไม่ตรวจสอบให้)
.
.
6) ทำความเข้าใจกับการเปลี่ยนแปลง เพราะว่า เมื่อโลกเปลี่ยนแปลงไป เราทำผลเหมือนเดิม แต่จะไม่ได้ผลตามเดิม เมื่อเราเข้าใจสัจธรรมของโลกแล้ว เราก็เล่มสนุกกับการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ในวิธีการชีวิตและการปรับตัวใหม่ๆ ของเราไปสู่การสร้างความสุข สร้างผลงาน สร้างรายได้ของตัวเองในวิธีการใหม่ๆ ได้อีก
.
.
7) อย่าอุดอู้อยู่คนเดียว ใช้เทคโนโลยีคุยและติดต่อกับคนอื่นด้วย ช่วยสร้างอะไรใหม่ๆ ชวนทำงานด้วยกัน ชวนกันเล่น แต่สิ่งที่ไม่ควรทำคือชวนกันวิพากษ์วิจารย์คนอื่น รวมถึงรัฐบาล เพราะการวิพากษ์วิจารย์จะเต็มไปด้วยข้อมูลเชิงลบ ถ้าไม่มีข้อมูลและความคิดเชิงลบ เราจะไม่จับกลุ่มวิจารณ์หรอก จริงๆ ไม่ใช่วิจารณ์ แต่เป็นการนินทาและการบ่น เดี๋ยวนี้ เรายังสามารถคุยกับตัวเองให้โลกเห็นได้เยอะแยะ เช่นการทำคลิป การไลฟ์สด ก็ช่วยให้เรามีความสุข ลดความเครียดลงได้เช่นกัน
.
.
8) ขอบคุณตัวเองในทุกๆ วัน ขอบคุฯการที่เรายังมีชีวิตอยู่ ขอบคุณที่เราสามารถมีอาหารทาน ขอบคุณที่เรายังไม่เสียชีวิต ขอบคุณที่เราได้พบน้ำใจจากคนรอบข้าง ขอบคุณตัวเราเองที่ยังเข็มแข็ง ให้เราขอบคุณแบบไม่ต้องอายใครเลย เพราะจะสร้างกำลังใจให้เราสามารถสร้างความสุขให้เราได้
.
.
9) ตั้งเป้าหมายในการเรียนรู้และพํ?นาตนเองในแต่ละวัน โดยที่เราต้องบอกตัวเองว่า เราจะเก่งอะไรขึ้นอีกในแต่ละวัน เราสามารถทำอะไรใหม่ๆ ที่มีประโยชน์ให้เราได้เองในแต่ละวัน สิ่งนี้จะช่วยให้เรามีการจดจ่อในการทำงาน การพัฒนาตนเอง และเป้าหมายนี้ให้เป็นเรื่องใหม่ๆ ของชีวิต โดยที่เป็นเป้าหมายที่ทไให้เราสามารถปรับตัวเองให้เข้ากับสถาการณ์ได้ เช่นการฝึกใช้โปรแกรมทำงานออนไลน์ การฝึกการใช้เทคนิคการตัดต่อวิดีโอ เพื่อการสื่อสารออนไลน์ เป็นต้น
.
.
ทั้ง 9 วิธีนี้จะช่วยให้เราสามารถเป็นคนที่มีความสุขแม้ว่าจะต้องอยู่กับบ้าน ทำงานที่บ้าน อยู่ในสถาการณ์ที่แย่ๆ แต่เราจะไม่แย่ตามสถาการณ์ได้อย่างมีความสุข

-------------------------------------------------------------------------------------------------

พูดคุยกับผู้เขียนได้ที่
Facebook Page Dr.Nara Kittimetheekul
https://www.facebook.com/DrNaraKittimetheekul

รับให้คำปรึกษา ด้านการพัฒนาตนเอง การพัฒนามนุษย์ การออกแบบระบบการทำงาน
การวิจัยการตลาด การปรับ Mindset เพื่อความสุขและความสำเร็จ