วันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2563

เสนอแนวคิดในการใช้วิกฤติโควิตเพื่อสร้างเศรษฐกิจประเทศ

จากการที่มองการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลด้วยเงินกู้ 1.9 ล้านล้าน แบ่งเป็น 1 ล้านล้านใช้เพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ อีก 9 แสนล้าน เป็นการบริหารการเงิน ซึ่งมาตรการการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยส่วนใหญ่รัฐบาลพยายามใช้เรื่องของการกระตุ้นการบริโภค การซื้อสินค้าเพื่อการบริโภค การท่องเที่ยวภายในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง เราเที่ยวด้วยกัน จ่ายคนละครึ่ง เงินที่ให้กับบัตรสวัสดิการของรัฐ ช็อปชดีมีคืน ซึ่งก็ถือว่าเป็นมาตรการที่ช่วยให้เกิดเงินหมุนเวียนทางเศรษฐกิจ (ทางทฤษฎี)


แม้ว่าจะยังมีมาตรการในโครงการต่างๆ เช่น โครงการ Soft Loan โครงการเพิ่มทักษะฝีมือแรงงาน กระตุ้นการลงทุนของนักลงทุนชาวต่างชาติ เพิ่มความสะดวกในการให้บริการของภาครัฐ เพิ่มโครงสร้างพื้นฐานในการลงทุน

ดูไปแล้วก็ดูเหมือนจะครอบคลุม แต่อย่างไรก็ตาม เราควรทำความเข้าใจเพิ่มเติมอีกเล็กน้อยว่า ในสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งนี้ ไม่ได้เกิดจากการเพิ่มการบริโภคที่สูงเกินไปจนเข้าสู่การตกต่ำเป็นวัฎจักรทางเศรษฐกิจในรูปแบบของปกติ

ปัญหาทางเศรษฐกิจตอนนี้คือ คนไม่สามารถเดินทางไปมาหากันได้ ต่างชาติไม่สามารถเข้าประเทศได้ และคนในชาติไม่สามารถออกไปต่างประเทศได้ ดังนั้น การเจรจาเพื่อการลงทุน ก็จะมีอุปสรรคเพิ่มขึ้น วิธีการการคิดเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยวิธีการดั่งเดิม อาจจะไม่ตรงดจทย์อีกต่อไป

สิ่งที่ควรจะมีเพื่อการพัฒนาประเทศและเศรษฐกิจระยะยาวคือ การออกแบบสัดส่วนของ GDP และ อัตราการเติบโตของ GDP ควบคู่กับการสร้างตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจตัวอื่นควบคู่กันไป

สาเหตุเบื้องหลังของแนวคิดนี้ มีด้วยกัน 3 เหตุผลคือ
1 GDP ไม่ได้เป็นตัวชี้วัดที่ดีอีกต่อไป เนื่องจากการดำรงชีวิตเริ่มเพิ่งพาเงินน้อยลง มีการผลิตเพื่อการบริโภคมากขึ้น หรือเกิดการแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างกันมากขึ้น อันเป็นผลมาจากการที่ผู้คนไม่มีเงิน จึงดิ้นรนใช้วิธีการอื่นเพื่อการอยู่รอดแล้ว
2 ประเทศไทย ยังขาดเทคโนโลยีพื้นฐานในการพัฒนาทางอุตสาหกรรมและการผลิตในประเทศ สังเกตุได้จากการนำเข้าเครื่องมือ เครื่องจักจากต่างประเทศมากกว่าผลิตเองด้วยเทคโนโลยีของคนไทย นั่นหมายความว่า ประเทศไทยจะค้าขายเก่งขนาดไหน ก็ยังต้องพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศอยู่ดี
3 ประเทศไทยไม่มีทิศทางการสร้างความเข้มแข็งที่ต้องการให้เป็นในอนาคตอย่างแท้จริง ที่ผ่านมาหลายๆ ปี ได้แต่เน้นการใช้สิ่งที่มีอยู่ตัวกำหนดเป้าหมายในการพัฒนาเศรษฐกิจ เช่น การท่องเที่ยว การเกษตร แและอาหาร เป็นต้น แต่ ไม่เคยปรากฎแนวทางชัดเจนว่า จะต้องพัฒนาไปถึงจุดไหน ที่ทั้งโลกต้องการพึ่งพา ทั้งในสภาวะปกติ และสภาวะวิกฤติ

ในภาวะวิกฤติแบบนี้ ย่อมมีหลายธุรกิจที่ต้องออกจากตลาดไปเพราะไม่สามารถตอบสนองต่อพฤติกรรมของมนุษย์ที่เปลี่ยนแปลงได้ และยังมีโอกาสทางธุรกิจเกิดใหม่จำนวนมากที่รอการตอบสนองจากการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมของผู้คน

ธุรกิจไหนที่ตาย ก็ควรต้องพิจารณาว่าจะเลิกอย่างไรให้กระทบกับชีวิตคนให้น้อยที่สุด พร้อมกับเปลี่ยนและเสริมสร้างจุดแข็งของคน ของอุตสาหกรรม เพื่อรอบรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต ส่วนธุรกิจไหนที่ไปได้ แต่ศักยภาพยังไม่รอบรับ ต้องมาพิจารณาการปรับปรุง และเพิ่มศักยภาพให้เป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกับอนาคต

ครั้งหนึ่ง ประเทศไทยเคยประกาศว่าจะเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ หรือที่เรียกว่า NIC ซึ่งนับว่าเป็นเพียงครั้งเดียวที่ประเทศที่ทิศทางในการพัฒนาที่ชัดเจน หลังจากนั้น มีแต่วิธีการพัฒนาที่อาศัยจุดเด่นที่มีอยู่แล้วเท่านั้น

ยุทศาสตร์ชาติ ด้วยการกำหนดสัดส่วนของ GDP นั้น จะต้องกำหนดว่า GDP จะเกิดจากอะไร เมื่อไหร่ และเป็นไปอย่างไรในอนาคต เพื่อให้มีทิศทางการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี ทักษะ และโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการสร้างเทคโนโลยีเพียงพอ มีทิศทาง

โลกของเรายุคใหม่ เราไม่สามารถอยู่แบบ เหมาหมดทุกด้านได้ แต่ต้องมีทิศทางชัดเจน มีขั้นตอน และทำให้เกิดความเข้าใจร่วมกันกับคนในชาติ