วันอังคารที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2563

เมื่อเงินเฟ้อไม่ได้สร้างประโยชน์ที่แท้จริงทางเศรษฐกิจ

ในการเปลี่ยนแปลงของระบบการเงินโลกย่อมมีการสร้างผลกระทบกับสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ นับตั้งแต่ยุคการเปลี่ยนแปลงระบบการเงินโดยการใช้ระบบการเงินมาตรฐานทองคำในปี 1870 เป็นระบบแรกของการเงินระหว่างประเทศ โดยการอ้างอิงค่าเงินของแต่ละประเทศไว้กับทองคำ ระบบนี้ใช้งานได้ดีเมื่อโลกอยู่ในสภาวะสงบสุขและการนำเข้าส่งออกทองคำยังสามารถทำงานได้เป็นปกติ 

.

ระบบมาตรฐานทองคำ อธิบายง่ายๆ คือการผลิตเงินให้ได้เท่ากับจำนวนทองคำที่เอามาสำรองเอาไว้ในคลัง และเวลาแลกเปลี่ยนกัน ก็จะมีการคำนวนค่าตามปริมาณทองคำ หรือปริมาณเงินก็จะไปสะท้องปริมาณทองคำด้วย แต่ระบบนี้เกิดปัญหาขึ้นในช่วงสงครามดลกครั้งที่ 2 เพราะการเคลื่อนย้ายทองคำไม่เป็นไปตามปกติ หลังจากนั้น มีความต้องการใช้เงินเพิ่มขึ้นในปริมาณมากๆ หลักจากสงครามโลกครั้งที่ 2 เพราะเกิดเศรษฐกิจเติบโด และทองคำไม่สามารถผลิตออกมาได้ทันต่อความต้องการปริมาณเงินที่เพิ่มขึ้น ระบบนี้จึงขาดความยืดหยุ่นได้ จึงต้องหาทางการเทียบค่าปริมาณเงินด้วยระบบอื่นแทน

.

ระบบการเงินจึงได้มีการพัฒนามากขึ้นได้มีการให้ความสำคัญทางการบริหารเงินมากขึ้น เพราะเงินถือว่าเป็นตัวแทนของการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ มีความคล่องตัว มากในการใช้เงินเป็นสื่อกลาง จนในปี 1936 ได้มีงานตีพิมพ์ เรื่อง The General Theory of Employment, Interest and Money โดย จอห์น เมนาร์ท เคนส์ เป็นการอธิบายสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในประเทศอังกฤษ ที่ใช้แนวคิดจากแต่เดิมว่า ในระบบเศรษฐกิจ จะไม่มีทางมีอุปทานส่วนเกิน เพราะมือที่มองไม่เห็นจะจัดการอุปสงค์และอุปทานเหล่านั้นให้เข้าสมดุลย์เสมอ

.

แนวคิดของ เคนส์ ได้ให้ความสำคัญกับการใช้ปริมาณเงิน อัตราดอกเบี้ย ในการควบคุมการจัดการอุปสงค์และอุปทาน เพราะเชื่อว่า มีกลไกทางการเงินสามารถช่วยให้คนตัดสินใจเพิ่ม-ลด การบริโภค หรือ การผลิตได้ โดยรัฐบาลและธนาคารกลางเป็นผู้กำกับดูแล นั่นเป็นจุดเริ่มต้นของการที่ทุกคนให้ความสำคัญกับเงิน และเงินจึงหลายเป็นตัวแทนของความมั่งคั่ง

.

จากวันนั้น ถึงวันนี้ เป็นเวลาเกือบ 100 ปีที่ทุกประเทศต่างให้ความสำคัญกับจำนวนเงินในการบริหารทางเศรษฐกิจ จนสร้างเครื่องมือมาวัดความมั่งคั่งโดยเน้นการวัดด้วยปริมาณเงินเป็นหลัก เช่น GDP หรือผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ, NI หรือ รายได้ประชาชาติ, อัตราหนี้สาธรณะ, อัตราหนี้ควรเรือน, ตัวทวีของปริมาณเงิน, อัตราดอกเบี้ยนโยบาย, อัตราเงินเฟ้อเป้าหมาย เป็นต้น ทั้งหมดนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นการเพิ่มขนาดของ GDP ในแต่ละประเทศ และเพิ่มขนาดของ GDP per Capita หรือ รายไ้ด้ต่อหัว

.

เครื่องมือท่สำคัญที่ช่วยให้อัตราการเติบโตของรายได้เพิ่มขึ้นคือเงินเฟ้อ โดยนักเศรษฐศาสตร์ให้ข้ออ้างว่า เงินเฟ้อเป็นแรงจูงใจในการผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น และด้วยเงินเฟ้อนี้เอง ทำให้ระยะเวลา 100 ปีที่ผ่านสร้างอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ จะเดิมก่อนช่วง ปี 1900 มีอัตราการเติบโตเศรษฐกิจโลกโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 0.5-1.5% ต่อปี เป็น 3.5-5% ต่อปี และมีบางประเทศ สามารถสร้างเรื่องมหัศจรรย์ได้คือการเติบโตที่ 10% ขึ้นไปต่อปี ทั้งหมดนี้เป็นผลมาจากการใช้นยบายทางการเงิน ร่วมกับนโยบายการผลิต เพื่อเร่งให้เกิดการลงทุนโดยดารใช้กลไกทางการเงินเป็นสื่อกลาง

.

แต่อย่างไรก็ตาม ทุกอย่างย่อมมีการเปลี่ยนแปลง ตั้งแต่ปี 1999 อัตราเงินเฟ้อในโลกกลับลดลง อย่างมีนัยสำคัญ จากเดิมประมาณ 6-8% ลงมาเหลือ 2-3% ต่อปี สิ่งที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของอัตราเงินเฟ้อ ที่ลดลง เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของขนาดธุรกิจ การเข้ามาใหม่ของธุรกิจทั่วโลก รวมไปถึงการเกิดเทคโนโลยีใหม่ทางด้านพลังงาน ทำให้อัตราค่าพลังงานลดลง ดังนั้น ราคาสินค้าที่เกิดขึ้นจึงมีอัตราการเพิ่มขึ้นที่น้อยลง เพราะทุกคนต่างมุ่งเน้นการผลิตที่ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สุดท้ายราคาของสินค้าและบริการหลายๆ ไม่สามารถเพิ่มขึ้นได้ โดยเฉพาะอาหารสด แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีสินค้าทางเทคโนโลยีหลายๆ อย่าง และสินที่ที่มีแนวโน้มการผูกขาดยังสามารถเพิ่มราคาในแต่ละปีได้ แต่อย่างไรก็ตาม ราคาที่ถูกบีบให้ขึ้นน้อยมาก คือ ราคาของแรงงานไร้ฝีมือ และ กึ่งมีฝีมือ เพราะเป็นต้นอย่างแรกๆ ที่ภาคธุรกิจจะพยายามควบคุม เนื่องจาก เห้นว่า เป็นส่วนที่สร้างภาระทางต้นทุนมากที่สุด

.

วัฎจักรของเงินเฟ้อเริ่มถูกทำลาย เพราะการบีบของต้นทุน และราคาที่มีการแข่งขันจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนธุรกิจขนาดเล็ก โดยเแฑาะเมื่อเทคโนโลยีทำให้ธุรกิจขนาดเล็กสามารถแข่งขันกับธุรกิจขนาดใหญ่มากยิ่งขึ้น ดังนั้น การใช้การเติบโตของ GDP ที่มีการแฝงเอาไว้ด้วยอัตราเงินเฟ้อนั้น ไม่มีความแม่นยำในการวัดความมั่งคั่งของประชาชนอีกต่อไป 

.

คำถามที่สำคัญว่า อะไรเป็นตัวสะท้อนความมั่งคั่งที่แท้จริงของมนุษย์

.

คำตอบนั้น ต้องย้อนกลับไปที่พื้นฐานที่แท้จริงของการสร้างสังคมมนุษย์ สิ่งนั้นคือความมั่นคงทางการใช้ชีวิต ของมนุษย์ ความปลอดภัยในการใช้ชีวิต ความสามารถในการหาพลังงานในการดำรงชีวิต การรักษาสุขภาพร่างกายและจิตใจของมนุษย์ให้มีความสุข กล่าวรวมๆ คือ การกินดีอยู่ดี ภายในบริบทของเทคโนโลยีขนาดใหญ่ นั่นหมายความว่า เงินเฟ้อ กลับไม่มีประโยชน์อย่างแท้จริงในการพัฒนาเศรษฐกิจ

.

ผู้จัดทำนโยบาย ต้องเปลี่ยนแนวคิดในการพัฒนาเศรษฐกิจ และมีความชัดเจนในการมุ่งหาการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างทางเศรษฐกิจสังคมในระยะยาว ต้องเฉียบคมในการอ่านภาพอนาคตต่อการเปลี่ยนแปลงที่ระบบการเงินไม่มีความสำคัญที่สุดของชีวิตมนุษย์ เงินกลับกลายเป็นแค่เครื่องมือช่วยในการแลกเปลี่ยนความมั่งคั่งของมนุษย์เท่านั้น

.

สิ่งเหล่านี้จะมาอยู่ในรูปแบบของเงินดิจิตัล ที่มีหลายๆ ค่ายกำลังพยายามสร้างขึ้นมา นั้นหมายความว่า การก้าวข้ามการบริหารเงินกำลังจะเกิดขึ้น และการแลกเปลี่ยนความมั่งคั่งหรือความกินดีอยู่ดีนั้น จะทำได้ง่ายขั้นด้วยเทคโนโลยี อุปสงค์และอุปทานต่างๆ จะพบกันได้ง่ายขึ้น ผ่านทางเทคโนโลยีการสื่อสารดิจิตัลที่กำลังทวีความเข้มข้นในการพัฒนาไปมากยิ่งขึ้น

.

เงินเฟ้อ GDP ปริมาณเงิน จึงไม่ใช่เครื่องมือที่เป็นหัวใจในการพัฒนาเศรษฐกิจที่สำคัญอีกแต่ไป หากวันนี้ ในปี 2020 กำลังอยู่ในช่วงของการเปลี่ยนถ่ายตัวกลางในการแลกเปลี่ยนความมั่งคั่งของโลก

.

.

ดร.นารา กิตติเมธีกุล

พูดคุยกับผู้เขียนได้ที่
Facebook Page Dr.Nara Kittimetheekul
https://www.facebook.com/DrNaraKittimetheekul

รับให้คำปรึกษา ด้านการพัฒนาตนเอง การพัฒนามนุษย์ การออกแบบระบบการทำงาน
การวิจัยการตลาด การปรับ Mindset เพื่อความสุขและความสำเร็จ