วันพฤหัสบดีที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2558

จากมายาคติ "มูลค่าเพิ่ม" สู่อุดมคติ "มูลค่าสูง"

มูลค่า อะไรของจริง อะไรคือมายา

จากความหมายของมูลค่า คือ ความสามารถในการบำบัดความต้องการของมนุษย์ จากคุรสมบัติบางประการของสินค้า (วัตถุ) และบริการ หรือ ในพจนานุกรมฉบับบัณฑิตสถาน ได้ให้ความหมายของมูลค่าเอาไว้ว่าเป็นราคาของสิ่งของ

มูลค่า จึงถูกนำมาใช้ในความหมายของราคากันกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ทำให้เข้าใจความหมายของมูลค่าได้ง่ายขึ้น เพราะนำมาวัดด้วยราคา แต่ในความเป็นจริง มูลค่ามีความหมายกว้างกว่าราคาเยอะมาก เพราะ ของบอกอย่าง ไม่ได้นำมาซื้อขาย จึงไม่มีราคาที่เกิดขึ้นแบบชัดแจ้ง หากแต่จะนำมาวัด หรือแสดงมูลค่าโดยการใช้แนวคิดการทดแทน หรือเรียกว่า จะต้องใช้เงินเท่าใด เพื่อแลกกับของสื่งนั้น เพื่อยอมให้เจ้าของสูญเสียไป หลายๆ ครั้งจึงเกิดคำว่า ประเมินมูลค่าไม่ได้

เนื่องจากมูลค่าทางการค้า วัดได้จากราคา คูณกับ ปริมาณ หรือที่นักเรียนทางธุรกิจรู้จักกันดีในพจน์ของ Business Vuale = P x Q ดังนั้น การเพิ่มมูลค่าทางธุรกิจจึงสามารถทำได้ 2 วิธีคือ การเพิ่มราคา และ การเพิ่มปริมาณ (เรื่องพื้นฐานสุดๆ) วิธีการเพิ่มมูลค่าทางธุรกิจก็มีด้วยกันต่าง ๆ นานา และวิธีการหนึ่งที่นิยมใช้กันเป็นอย่างมากคือ การใช้มูลค่าเพิ่ม (Value Added)

มูลค่า ถ้าตีความหมายกันตามตัวอักษร คือ ราคาที่ถูกเพิ่มเข้าไป หรือการที่ทำให้สินค้ามีคราคาสูงขึ้น โดยการใช้เทคนิค กระบวนการ และวิธีการ จัดการในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การใช้เทคโนโลยีสร้างเป็นนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงบรรจุภัณฑ์ การสร้างช่องทางและรูปแบบการบริการที่เพิ่มขึ้น รวมไปถึงการจัดเรียงสินค้าใหม่ การกระตุ้นอารมณ์ การสร้างเรื่องราวของสินค้า ฯลฯ เรียนกัน 4 ปี ในมหาวิทยาลัยก็ไม่หมด

จากเหตุการณ์ดังกล่าว เจ้าของธุรกิจจำนวนมากมายในโลกนี้ ต่างมุ่งที่จะสร้างมุลค่าทางธุรกิจให้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยการสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่น เจ้าแห่งการพัฒนาสินค้า เพื่อให้เกิดมูลค่าเพิ่ม โดยเฉพาะการสร้าง และออกแบบบรรจุภัณฑ์ ที่สวยงาม (สวยจริงๆ)

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจาราณาถึงเนื้อแท้ของมูลค่าเพิ่มแล้ว มันไม่ได้มีส่วนเพิ่มคุณค่าของสินค้าเหล่านั้น มากไปกว่าเนื้อแท้ของมันเลย เช่น อาหาร นำมาใส่ถุงสวยๆ ซึ่งมันยังคงความเป็นอาหารอยู่ดี ไม่ได้แปรสภาพเป็นอย่างอื่น หรือ น้ำส้ม เมื่อขายอยู่ในตลาดสด ราคา 20 บาท เมื่อมาอยู่ในร้านอาหาร กลายเป็น 40 บาท เมื่ออยู่ในโรงแรม กลายเป็น 100 บาท นั่นคือการเพิ่มมูลค่า แต่ไมได้เพิ่มคุณค่า หรือสิ่งที่ก่อให้เกิดกับมนุษย์โดยตรงจากสินค้าและบริการ ด้วยเหตุการณ์นี้ เราจึงพบว่า สินค้าดีๆ มากมายที่มีคุณค่าสูง กลับมีมูลค่าต่ำ แต่สินค้าบางอย่าง คุณค่าต่ำ แต่กลับมีมูลค่าสูง

ปัญหาของมูลค่าเพิ่ม มันอยู่ที่ตอบบริโภค ยกตัวอย่างจากน้ำส้มแก้วเดียวกัน เมื่อวางในสถานที่ต่างกัน ในภาชนะที่ต่างกัน ทำให้มีราคาที่แตกต่างกันเป็นอย่างมาก ผู้ขายบอกว่า เป็นการขายบรรยายกาศ อาคารที่จำหน่ายนั้นมีการลงทุนเป็นจำนวนมาก จึงต้องเพิ่มราคาเข้าไปในน้ำส้มเพื่อให้สามารถคุ้มการลงทุน ผู้บริโภคได้รับสุนทรียะ ในการบริโภค ซึ่งจุดนั้นเองคือปัญหา เนื่องจากเนื้อแท้ของสิ่งที่มนุษย์ได้รับในการบริโภคแต่ละครั้ง คือ สารอาหาร และความสะอาด มูลค่าเพิ่มจึงเป็นเหมือนมายาคติ ที่ผู้ขายและผู้บริโภคพร้อมใจกันหลอกตัวเองว่า ได้รับสินค้าและบริการที่ดีขึ้น

หลังการบริโภค สิ่งที่เกิดขึ้นมีผลพลอยได้ออกมา 2 ประการคือ ขยะราคาแพงอันเกิดจากเปลือกนอกที่ห่อหุ้มเป็นต้นกำเนิดแห่งมูลค่าเพิ่มของสินค้า และอารมณ์ของมนุษย์ที่ถูกกระตุ้นโดยความเชื่อ และจริตแห่งตน หลังจากนั้น ต่างดับสูบ ทางหนึ่งดับสุญไปในถังขยะ อีกทางหนึ่งคืออารมณ์ที่เกิดขึ้น แล้วหายไปอย่างรวดเร็ว ไม่ได้เกิดคุณค่าใด ๆ ทางเศรษฐศาสตร์ โดยเฉพาะในประเทศยังมีคนยากจนเป็นส่วนใหญ่ของประเทศ ทั้ง 2 ประการนี้เป็นความสูญเสียที่เกิดขึ้น เป็นมยาคติที่ถูกหลอกกันมาอย่างยาวนานแก่ผู้ผลิต และผู้บริโภค

ดังนั้น เพื่อเป็นการลดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ ที่ะต้องนำรายได้ส่วนหนึ่งไปทิ้งกับสิ่งที่ไม่ก่อให้เกิดคุณค่า แต่มีมูลค่า ผู้ผลิต ผู้บริโภค ต้องหันมาให้ความสำคัญกับคุณค่าเนื้อแท้ของสินค้า เรียกว่า ผลิตสินค้าที่มีมูลค่าสูง เช่น สินค้าที่มีคุณภาพ มีอรรถประโยชน์ หรือ มีคุณลักษณะเฉพาะที่สร้างความมั่งคงให้กับชีวิตของมนุษย์ แทนการสร้างสิ่นค้าที่เน้นการตอบสนองทางอารมณ์เป็นหลัก สิ่งนั้นคือ สินค้ามูลค่าสูง

สินค้ามุลค่าสูงคืออะไร สินค้ามูลค่าสูง คือสินค้าที่มีราคาแพงตั้งแต่เกิด โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยการปรุงแต่งอะไรมากมาย เป็นสินค้า ที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่มนุษย์อย่างมาก เรียกว่า มีคุณค่าจากภายใน แต่น่าเสียดาย สินค้าเหล่านี้ มักจะมีความยุ่งยากในการผลิต ก่อให้เกิดความขาดแคลน หายาก อีกทั้งผู้ผลิตต้องอาศัยความรู้ ความเข้าใจ ความใส่ใจ ทักษะ ความทุ่มเทในการผลิตเป็นอย่างมาก เช่น น้ำส้ม จะเป้นน้ำส้มที่ีมูลค่าสูง ต้องสามารถตอบสนองความต้องการของมนุษย์ได้ ในเรื่อง ความแน่นอน ความหลากหลาย ความรัก ความสัมพันธ์ การเติบโต และการให้ (6 needs of human)

ความแน่นอนคือ การที่มั้นใจได้ว่า น้ำส้ม ปลอดภัย แก้กระหาย ได้คุณค่า
ความหลากหลาย คือ การที่มีรสชาติ เนื้อสัมผัสที่สร้างความหลากหลาย
ความรัก คือ การที่ดื่มน้ำสัมแล้วสร้างความรู้สึกการรักตัวเอง หรือคนที่ให้ดื่มได้
ความสัมพันธ์ คือ น้ำส้มสร้างมิตรภาพ ระหว่างมนุษย์ กับมนุษย์ หรือสิง่แวดล้อม เรียกว่า การได้รับรู้ถึงความเป็นธรรมชาติ
การเติบโต หมายถึง คุณค่าทางอาหาร ที่สร้างการเติบโตของร่างกายและสุขภาพ
การให้ หมายถึง การดิ่มน้ำส้ม เป้นการส่งเสริมการสร้างจิตสำนึกที่ดีต่อสิ่งแวดล้อม การไม่ทิ้งขยะ การลดการใช้สารเคมีในฟาร์มเป็นต้น

นี่เป็นเพียงตัวอย่างเล็กๆที่เกิดขึ้นกับการสร้างสินค้า มูลค่าสูง เพื่อการล้างมานาคติ สินค้ามูลค่าเพิ่ม