วันพุธที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2559

เกษตรกร ระเบิดเวลาประเทศไทย

ปัญหาเกษตรไทย

ประเทศไทยได้ชื่อว่าเป็นประเทศเกษตรกรรม เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศเป็นเกษตรกร หรือเรียกว่า เป็นอาชีพที่มีสมาชิกมากที่สุดในประเทศไทย อีกทั้งประเทศไทยตั้งอยู่ในภูมิศาสตร์ที่ส่งเสริมให้เกิดความหลากหลายทางพืชพรรณอาหารต่างๆ ตั้งแต่อดีที่ผ่านมา ประเทศไทยมุ่งนั้นการพัฒนาองค์ความรู้ในด้านการเพิ่มปริมาณผลผลิตของเกษตรกรต่อไร่ หรือต่อเนื้อที่เป็นหลัก สิ่งหนึ่งที่เกษตรกรยังขนาดการพัฒนาองค์ความรู้ด้านการจัดการฟาร์ม หรือการจัดการไร่นาเพื่อให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ดังนั้น การผลิตทางด้านการเกษตร ยังต้องอาศัยโชคจากธรรมชาติ ที่เรียกว่า ต้องอาศัยฤดูกาลเป็นหลัก ทำให้เกษตรกรยังเป็นอาชีพที่ต้องเอาแรงกายเข้าแรกเป็นหลัก เพื่อสร้างรายได้ของตนเอง เหตุการณ์นี้ยังคงเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีก ยังไม่ถูกพัฒนาให้มีศักยภาพเท่ากับอาชีพอื่นๆ ที่ได้มีการพัฒนาให้คุณภาพชีวิตของแรงงานในแต่ละอุสาหกรรมมีสวัสดิการที่ดีขึ้น

นอกการที่เกษตรกรยังต้องการการพัฒนาทางด้านการจัดการฟาร์ม เพื่อเป็นการเพิ่มคุณภาพชีวิตของเกษตรกรและลดการใช้แรงงาน ยังมีประเด็นเรื่องสัดส่วนลูกค้าของเกษตรกร กล่าวคือ เกษตรกรมีฐานพเป็นเจ้าของกิจการประเภทหนึ่งที่มีฟาร์มเป็นสถานที่ผลิต และจำหน่ายสินค้าของตนเอง ดังนั้น การอยู่รอดของเกษตรกรนั้น จะต้องมีสัดส่วนของลูกค้าต่อหนึ่งธุรกิจ เมื่อพิจารณาจากสัดส่วนของเกษตรกรต่อลูกค้าแล้วพบว่า เกษตรกรจะมีลูกค้าจำนวน 1.5 ราย ต่อเกษตรกร 1 ราย หมายความว่า ความมั่นคงทางรายได้ของเกษตรกรแทบไม่มีเลย จะต้องเป็นอาชีพที่ง้อลูกค้า ได้กำไรเพียงเล็กน้อยเท่านั้น  เป็นปัญหาข้อที่ 2 ของเกษตรกรไทย ดังนั้น เกษตรกรจึงถูงมองว่าเป็นอาชีพที่จน ลำบาก ต้อยต่ำ การเข้ามาสู่อาชีพเกษตร จึงมีประเด็นที่น่าสนใจ

การเข้าสู่อาชีพเกษตรกร

เกษตรกรไทย เป็นอาชีพมรดก สาเหตุที่เรียกแบบนั้นเนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่เลือกประกอบอาชีพนี้เพราะว่าเห็นพ่อแม่ของตนเองทำ เห็นครอบครัวของตนเองทำ เมื่อโตขึ้นมา ไม่รู้จะไปทำอะไร จึงหันเข้าสู่อาชีพเกษตร จึงเป็นเหตุทำให้ผู้ที่เกษตรกรปัจจุบัน เป็นการทำการเกษตรด้วยความเคยชิน ขาดแรงจุงใจในการพัฒนาในอาชีพมีความมั่นคง ในความรักและศัทธาในอาชีพ และปลูกฝังทางความคิดตลอดมาว่า ต้องเรียนหนังสือสูงๆ เพื่อจะได้ไม่ต้องมาลำบาก ไปทำงานอย่างอื่น จึงทำให้องค์ความรู้ หรือภูมิปัญาของเกษตรกรที่พัฒนาขึ้นมาใหม่นั้นอยู่ในวงที่จำกัด ขาดการถ่ายทอดซึ่งกันและกัน ด้วยเหตุนี้ ส่งผลให้ลูกหลานของเกษตรกรส่วนใหญ่ ไม่มีความศัทธาในอารชีพเกษตรกร และมองว่า เป็นอาชีพที่จะไม่เลือกทำงาน และมุ่งหน้าเข้าสู่เมือง เพื่อทำงานที่ไม่ใช่การเกษตรเป็นหลัก ไม่ต้องการตากแดด ไม่ต้องการมือแตกเนื่องจากจับจอบ จับคันไถ ผลกระทบที่เกิดขึ้น คือ อายุเฉลี่ยของเกษตรในประเทศไทยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หมายความว่า การเข้าสู่อาชีพเกษตรกรนั้น มีอัตราที่น้อย และคนที่เข้ามาสู่อาชีพนี้ โดยส่วนมากคือคนไม่มีที่ไป หรือทำด้วยความเคยชินดังนั้น เมื่อมองอาชีพเกษตรเป็นหน่วยงานขนาดใหญ่ระดับประเทศ เกษตรกรจะได้บุคคลกรที่มีศักยภาพโดยรวมที่ไม่เท่ากับอาชีพอื่นๆ จึงทำให้การพัฒนายังเป็นที่ตามท้ายต่อไป เป็นปัญหาข้อที่ 3

แนวทางการแก้ปัญหา

ประเด็นที่หนึ่ง การแก้ปัญหาของการเกษตรไทยให้เริ่มต้นด้วย การเปลี่ยนหรือการเพิ่มบุคคลากรยุคใหม่ที่มีใจต้องการเป็นเกษตรกร เพราะเมื่อมีความต้องการประกอบอาชีพนี้โดยสมัครใจแล้ว คนเหล่านี้ จะมีแรงจูงใจในการพัฒนา ปกป้อง และรักษาในอาชีพมีความก้าวหน้า และพัฒนาต่อไป กลุ่มคนที่จะต้องสร้างบันดาลใจการเป็นเกาตรกรนั้น จะต้องเป็นกลุ่คนรุ่นใหม่ เพื่อให้มีกำลัง และการเรียนรู้ในอนาคตอีกยาวไกล

ประเด็นที่ 2 การสร้างทัศนคติให่ให้กับคนในชาติ ให้ชาวนา เป็นผู้ที่มีเกียรติ และมีคุณต่อคนไทยทุกคน เนื่องจาก เป็นผู้ผลิตอาหารให้คนในชาติ สร้างความมั่นคงทางอาหารให้คนไทย ทำให้คนไทยยังมีการใช้ชีวิตอย่างสุขสบาย มีอาหารให้เลือกกินได้อย่างสมบูรณ์

ประเด็นที่ 3 การพัฒนาองค์ความด้านการปรับปรุงคุณภาพชีวิตเกษตรกร เพื่อเป็นการส่งเสริมความสุขของเกษตรกรให้มีชีวิตที่สบายขึ้นที่ไม่ได้มาจากการใช้เงิน หรือการจ้างคนอื่นทำงานแทน แต่เป็นความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นจากการจัดการ เพราะจะเป็นการเสริมประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรเพื่อการใช้ชีวิตให้มาขึ้น