วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ธุรกิจพอพียง ไม่ใช่แค่เพียงพอ

ในยุคแห่งความท้าทายทางเศรษฐกิจในกระแสหลักของทุนนิยม ที่สร้างความปั่นป่วนทางเศรษฐกิจ ให้กับทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นปัญหาความเหลื่อมล้ำความมั่งคั่ง ระหว่างคนรวยและคนจน เกิดช่องว่างของการแสวงหาโอกาสระหว่างนายทุนและแรงงาน การสร้างมูลค่าทางการเงินด้วยการเพิ่มมูลค่าสินค้า ที่ไม่ก่อให้เกิดความคุ้มค่าในการบริโภค จนกลายเป็นเงินเฟ้อ การถ่ายโอนความเสี่ยงให้คนอื่นโดยการ Out Source จนเหลือการผลิตหลักเพียงอย่างเดียวที่กลายเป็นความเสี่ยงโดยไม่รู้ตัว หรือการสร้างเศรษฐกิจจากสิ่งที่จับต้องไม่ได้ เช่นการใช้เทคโนโลยีดิจิตัล หรือการใช้การบริการเป็นการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ จนลืมรากเหง้าแห่งการมีชีวิตของมนุษย์

สิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านี้ กลายเป็นปัญหาที่สะสมมานาน จนกลายเป็นปัญหาของระบบโลก ที่เกิดขึ้นใน 2 ประเด็นใหญ่ๆ คือ ประเด็นที่ 1 ความสามารถในการใช้ทรัพยากรที่ไม่เท่าเทียมกันของประชากรโลก ทำให้ผู้ที่ถือเอาทรัพยากรจำนวนมาก เป็นผู้ที่ได้เปรียบในการสร้างความมั่งคั่งยิ่งๆ ขึ้น และผู้ที่ไม่สามารถเข้าถึงทรัพยากร จึงกลายเป็นผู้ต้องทำตามกติกาของผู้ถือครองทรัพยากร และถูกเอาเปรียบมากขึ้นเรื่อยๆ ประการที่ 2 การสร้างเศรษฐกิจด้วยโลกที่ไม่มีตัวตน หรือ สินทรัพย์คงตัว หมายถึง การสร้างรายได้ด้วยสิ่งที่ไม่ใช้สิ่งพื้นฐานของการดำรงชีวิตของมนุษย์ ทำให้สิ่งที่เกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจ สลายตัวไปเมื่อสิ้นสุดการผลิตและบริโภค เช่น การบริการ จะสิ้นสุดสภาพทรัพย์สินทันทีเมื่อบริการเสร็จ หรือ ระบบดิจิตัล จะหายไปเมื่อหยุดการทำงานของเครื่องมือ ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นภาพรวมของทุนนิยม ผลที่เกิดขึ้นคือ ทุกคนพยายามหาความเป็นเลิศ สร้างความพึงพอใจ และสร้างมูลค่าเพิ่มมากขึ้น แต่กลับกลายเป็นการสร้างความสูญเสียทางเศรษฐกิจมากขึ้น (อ่านเรื่อง จากมายาคติ "มูลค่าเพิ่ม" สู่อุดมคติ "มูลค่าสูง)

แนวทางหนึ่งคือการใช้เศรษฐกิจพึ่งพาตนเอง เป็นทางออกของการอยู่รอดเพื่อให้หลุดออกจากกระแสของทุนนิยมและการสร้างมูลค่าที่ไม่ก่อให้เกิดความมั่งคั่งที่แท้จริงในระบบเศรษฐกิจ โดยในทางปฎิบัติแล้ว สามารถถ่ายทอดสู่คำว่า ธุรกิจพอเพียง เป็นแนวคิดในการจัดสรรทรัพยากรของหน่วยธุรกิจที่จำเป็นต้องมี เพื่อยืนหยัดในกระแสแห่งทุนนิยม และต่อสู้กับทุนใหญ่ ในคำว่าธุรกิจพอเพียงในที่นี้ ไม่ได้มีความหมายเดียวกับเศรษฐกิจพอเพียง ที่ใช้หลัด พอประมาณ มีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกันที่ดี โดยมีเงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้นต้องอาศัยทั้งความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ
  • เงื่อนไขความรู้: ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ 
  • เงื่อนไขคุณธรรม: ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต 
แต่ในความหมายของธุรกิจพอเพียงนั้น เป็นการมองในมุมองที่แตกต่างออกไป คือ การมีทรัพยากรขั้นต่ำที่จะอยู่รอดได้โดยไม่พึงพาใคร ซึ่งทรัพยากการนั้น แบ่งออกได้เป็น 3 ประการคือ
  • ทรัพย์สิน เอาไว้สำหรับใช้ในการผลิต หรือเป็นวัตถุดิบที่จำเป็นในการผลิตที่ธุรกิจหนึ่งๆ ซึ่งจะต้องมีการจัดลำดับความสำคัญของทรัพย์สินนั้น ว่าทรัพย์สินใดเป็นทรัพย์หลัก (Core Asset) และทรัพย์สินใดเป็นทรัพย์สินเสริมในการทำธุรกิจ ทรัพย์สินหลัก จะต้องให้ได้มาซึ่งความเป็นเจ้าของทันทีที่ทำธุรกิจ ส่วนทรัพย์สินเสริม ให้ได้มาซึ่งความความเป็นเจ้าของหลังดำเนินการธุรกิจได้ แต่ต้องมีการดำเนินการให้ได้มาในภายหลัง
  • ความรู้และทักษะ การดำเนินธุรกิจ ผู้ประกอบการจะต้องมีความรู้ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในสิ่งที่ตนเองทำ ละมีทักษะอันเป็นเลิศที่สามารถผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อทั้ง 2 อย่างมารวมตัวกัน จะเกิดประสิทธิผล ผลิตผลที่ีมีมูลค่าสูง เพราะการใช้มูลค่าเพิ่ม จะก่อให้เกิดการลอกเลียนแบบได้ง่าย แต่การสร้างมูลค่าสูง จะก่อให้เกิดการพัฒนาทางความรู้และทางเศรษฐกิจได้อย่างแท้จริง
  • เครือข่าย ในการสร้างธุรกิจใดๆ ก็แล้วแต่ ต้องมีเครือข่ายเพื่อแบ่งปันทรัพยากร สร้างความเข้มแข็ง และสร้างช่องทางการค้า อันเป็นรากฐานที่แข็งแกร่งของธุรกิจทั้งมีขนาดเล็กและขนาดใหญ่
ดังนั้น ธูรกิจพอเพียง จึงเป็นการดำเนินธุรกิจที่มีสินทรัพย์พอเพียง และสมดุล มีความรู้และทักษะที่พอเพียงในการสร้างคุณค่าที่แท้จริงให้กับระบบเศรษฐกิจ และมีเครือข่ายที่พอเพียงในการช่วยเหลือ ส่งเสริม สนับสนุนด้านต่างๆ ในการดำเนินธุรกิจ โดยหัวใจหลักคือการจัดสรรทรัพยากรให้สมดุลอย่างพิเพียงในทุกๆ ด้าน ดังนั้น การสร้างธุรกิจพอเพียง จะต้องเรียนรู้การพัฒนาตนเองของผู้ประกอบการ ให้มีความรู้ ข้อมูล และความเข้าใจสถานการณ์ที่ีเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และสามารถนำความรู้นั้นมาบริหารทรัพย์สินและเครือข่ายได้อย่างเหมาะสม

ประเด็นที่สำคัญของแนวคิดธุรกิจพอเพียง คือความสามารถในการอยู่รอด ไม่ใช่แนวคิดการทำกำไรสูงสุด ธุรกิจพอเพียงมุ่งเน้นการสร้างคุณภาพชีวิตและการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องแบบระยะยาว ที่มีความเข้าใจในธรรมชาติของสรรพสิ่งอย่างแท้จริง ไม่เน้นการสร้างธุรกิจฉาบฉวย ที่แสวงหากำไรแล้วจากไป โดยทิ้งภาระทางเศรษฐกิจให้กับสังคม


วันอังคารที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2559

บทบาทของสถานศึกษากับเขตเศรษฐกิจพิเศษในสหัสวรรษที่ 21

          ในยุคแห่งศตวรรษที่ 21 คือยุคที่เข้าสู่การแข่งขันเชิงกลยุทธ์และการลงทุนข้ามเขตแดนของแต่ละประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่มีความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ ด้วยเหตุนี้จึงเกิดนโยบายการดึงดูดการลงทุนจากกลุ่มทั้งต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศของตนเอง เช่น นโยบายส่งเสริมการลงทุน นโยบายการค้าเสรี และนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษ ประเทศต่างๆ ที่ต้องการเร่งการพัฒนาทางเศรษฐกิจ จึงต่างเร่งระดมการออกนโยบายต่างๆ เพื่อให้ผู้ที่เห็นโอกาสในการสร้างธุรกิจเข้ามามีส่วนในการลงทุนในพื้นที่ที่กำหนดไว้ และกับการได้รับสิทธิพิเศษเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข็งขัน แนวคิดลักษณะนี้จึงเกิดขึ้นในกลุ่มประเทศที่มีการเร่งพัฒนาเศรษฐกิจ เช่น ประเทศไทย สปป.ลาว สหภาพเมียร์ม่าร์ และ กัมพูชา

          การเกิดเขตเศรษฐกิจพิเศษ จึงเป็นการสร้างการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม อย่างรวดเร็วและรุนแรง เนื่องจากเป็นการเชิญชวนการลงทุนจากภายนอก ซึ่งในการประกอบธุรกิจ จะประกอบด้วยปัจจัยทางเศรษฐกิจ 4 ประการคือ ที่ดิน ทุน แรงงาน และผู้ประกอบการ ในปัจจัยทางเศรษฐกิจทั้ง 4 ปัจจัย จะเป็นทรัพยากรมนุษย์ถึง 2 ปัจจัย ซึ่งแหล่งของทรัพยากรมนุษย์นั้น คือ ท้องถิ่นและจากภายนอกท้องถิ่นของที่ตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ ดังนั้น สถาบันการศึกษา จึงมีส่วนเกี่ยวข้องเป็นอย่างมากในการเตรียมความพร้อมของประชาชนในการเข้าสู่ตลาดงานในเขตเศรษฐกิจพิเศษ ทั้งในแง่ของแรงงาน ผู้ประกอบการ การสร้างภูมิคุ้มกันทางจริยธรรมและอาชญากรรม ที่มีความยั่งยืน

          การเตรียมความพร้อมนั้น ต้องเริ่มจากสร้างระบบการเรียนการสอนตามความถนัดและการสร้างความมุ่งมั่นในการใช้ชีวิตของนักเรียน การสร้างระบบที่มีความสมดุลระหว่างทักษะทางวิชาการและทักษะทางวิชาชีพ  หมายความว่า เส้นทางการศึกษาจริงๆ แล้ว ไม่ใช่จะสูงสุดได้ที่ระดับมหาวิทยาลัยเท่านั้น แต่จะต้องเน้นเรื่องความเป็นเลิศทางวิชาชีพด้วยอีกทางหนึ่ง เพราะการสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจกิจในระยะยาวนั้น จะต้องใส่ความเป็นผู้ประกอบการเชิงนวัตกรรมเข้าไปในตัวนักเรียนทุกระดับ การเป็นผู้ประกอบการหมายถึง การสร้างบุคคลที่รู้จักแสวงหาโอกาส การยอมรับความเสี่ยง การคาดการณ์อนาคต ด้วยวิธีที่มีความแตกต่างอย่างเป็นระบบ อีกทั้ง นักเรียนจะต้องรู้จักการสร้างเป้าหมายของตัวเองในชีวิต เพื่อการสร้างแรงจูงใจในการทำงานและอนาคตอาชีพของตนเอง

          การสร้างความเป็นเลิศเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนา ซึ่งจะต้องมีการพัฒนาทางด้านองค์ความรู้ซึ่งมีการพัฒนาในการศึกษาระดับปริญญาในระบบการศึกษาปกติ แต่การพัฒนาทางด้านวิชาชีพ ยังขาดเรื่องการพัฒนามาตรของความเป็นเลิศที่สามารถใช้อ้างอิงหรือมีความเชื่อถือในวงกว้างได้ ดังนั้น การสร้างระบบการเรียนการสอนที่เป็นปริญญาวิชาชีพ จึงเป็นแนวทางการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันในการนักเรียน เพราะโครงสร้างตลาดงาน ต้องการคนทำงานมากกว่าคนคิด ดังนั้น สายอาชีพจึงมีความสำคัญต่อการพัฒนาความยั่งยืนของประเทศเป็นอย่างมาก ดังนั้น ระบบการศึกษา จะต้องออกแบบให้นักเรียนสามารถให้นักเรียนได้เลือกตามความสามารถของตนเองที่จะมุ่งสู่ความเป็นเลิศได้ในอนาคต พร้อมทั้งการสร้างการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องจนสามารถสร้างองค์ความรู้ใหม่เชิงนวัตกรรมได้


การสร้างความเป็นนักนวัตกรรม จะเป็นการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของประเทศ และยังเป็นการสร้างความยั่งยืนในระยะยาว นวัตกรรมสร้างสร้างได้ 3 แนวทางคือ ผลิตภัณฑ์ บริการ และกระบวนการ ทั้ง 3 รูปแบบจะมีสิ่งที่เหมือนกันคือ วิธีการใหญ่ ความคิดใหม่ ที่สร้างประโยชน์ให้กับระบบเศรษฐกิจหรือธุรกิจได้ สิ่งนี้ จะทำให้มูลค้าทางเศรษฐกิจของการผลิตและการบริการจะมีความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจในระยะยาว สามารถแก้ปัญหาต่างๆ ได้อย่างตรงจุดมากขึ้น แต่การสร้างนวัตกรรมนั้นจะต้องอยู่บนพื้นฐานการผลิตที่มีมูลค่าสูงในตัวเอง หาใช่การสร้างมูลค่าเพิ่มให้ได้มาซึ่งกำไรมากที่สุด เพราะหากเน้นเรื่องการสร้างมูลค่าเพิ่มนั้น จะก่อให้เกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจ หรือเรียกว่า การสร้างขยะทางเศรษฐกิจเป็นจำนวนมาก และเป็นการเร่งการใช้มูลค่าที่แท้จริงในอนาคตมาเร็วเกินไป

วันพุธที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2559

เกษตรกร ระเบิดเวลาประเทศไทย

ปัญหาเกษตรไทย

ประเทศไทยได้ชื่อว่าเป็นประเทศเกษตรกรรม เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศเป็นเกษตรกร หรือเรียกว่า เป็นอาชีพที่มีสมาชิกมากที่สุดในประเทศไทย อีกทั้งประเทศไทยตั้งอยู่ในภูมิศาสตร์ที่ส่งเสริมให้เกิดความหลากหลายทางพืชพรรณอาหารต่างๆ ตั้งแต่อดีที่ผ่านมา ประเทศไทยมุ่งนั้นการพัฒนาองค์ความรู้ในด้านการเพิ่มปริมาณผลผลิตของเกษตรกรต่อไร่ หรือต่อเนื้อที่เป็นหลัก สิ่งหนึ่งที่เกษตรกรยังขนาดการพัฒนาองค์ความรู้ด้านการจัดการฟาร์ม หรือการจัดการไร่นาเพื่อให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ดังนั้น การผลิตทางด้านการเกษตร ยังต้องอาศัยโชคจากธรรมชาติ ที่เรียกว่า ต้องอาศัยฤดูกาลเป็นหลัก ทำให้เกษตรกรยังเป็นอาชีพที่ต้องเอาแรงกายเข้าแรกเป็นหลัก เพื่อสร้างรายได้ของตนเอง เหตุการณ์นี้ยังคงเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีก ยังไม่ถูกพัฒนาให้มีศักยภาพเท่ากับอาชีพอื่นๆ ที่ได้มีการพัฒนาให้คุณภาพชีวิตของแรงงานในแต่ละอุสาหกรรมมีสวัสดิการที่ดีขึ้น

นอกการที่เกษตรกรยังต้องการการพัฒนาทางด้านการจัดการฟาร์ม เพื่อเป็นการเพิ่มคุณภาพชีวิตของเกษตรกรและลดการใช้แรงงาน ยังมีประเด็นเรื่องสัดส่วนลูกค้าของเกษตรกร กล่าวคือ เกษตรกรมีฐานพเป็นเจ้าของกิจการประเภทหนึ่งที่มีฟาร์มเป็นสถานที่ผลิต และจำหน่ายสินค้าของตนเอง ดังนั้น การอยู่รอดของเกษตรกรนั้น จะต้องมีสัดส่วนของลูกค้าต่อหนึ่งธุรกิจ เมื่อพิจารณาจากสัดส่วนของเกษตรกรต่อลูกค้าแล้วพบว่า เกษตรกรจะมีลูกค้าจำนวน 1.5 ราย ต่อเกษตรกร 1 ราย หมายความว่า ความมั่นคงทางรายได้ของเกษตรกรแทบไม่มีเลย จะต้องเป็นอาชีพที่ง้อลูกค้า ได้กำไรเพียงเล็กน้อยเท่านั้น  เป็นปัญหาข้อที่ 2 ของเกษตรกรไทย ดังนั้น เกษตรกรจึงถูงมองว่าเป็นอาชีพที่จน ลำบาก ต้อยต่ำ การเข้ามาสู่อาชีพเกษตร จึงมีประเด็นที่น่าสนใจ

การเข้าสู่อาชีพเกษตรกร

เกษตรกรไทย เป็นอาชีพมรดก สาเหตุที่เรียกแบบนั้นเนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่เลือกประกอบอาชีพนี้เพราะว่าเห็นพ่อแม่ของตนเองทำ เห็นครอบครัวของตนเองทำ เมื่อโตขึ้นมา ไม่รู้จะไปทำอะไร จึงหันเข้าสู่อาชีพเกษตร จึงเป็นเหตุทำให้ผู้ที่เกษตรกรปัจจุบัน เป็นการทำการเกษตรด้วยความเคยชิน ขาดแรงจุงใจในการพัฒนาในอาชีพมีความมั่นคง ในความรักและศัทธาในอาชีพ และปลูกฝังทางความคิดตลอดมาว่า ต้องเรียนหนังสือสูงๆ เพื่อจะได้ไม่ต้องมาลำบาก ไปทำงานอย่างอื่น จึงทำให้องค์ความรู้ หรือภูมิปัญาของเกษตรกรที่พัฒนาขึ้นมาใหม่นั้นอยู่ในวงที่จำกัด ขาดการถ่ายทอดซึ่งกันและกัน ด้วยเหตุนี้ ส่งผลให้ลูกหลานของเกษตรกรส่วนใหญ่ ไม่มีความศัทธาในอารชีพเกษตรกร และมองว่า เป็นอาชีพที่จะไม่เลือกทำงาน และมุ่งหน้าเข้าสู่เมือง เพื่อทำงานที่ไม่ใช่การเกษตรเป็นหลัก ไม่ต้องการตากแดด ไม่ต้องการมือแตกเนื่องจากจับจอบ จับคันไถ ผลกระทบที่เกิดขึ้น คือ อายุเฉลี่ยของเกษตรในประเทศไทยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หมายความว่า การเข้าสู่อาชีพเกษตรกรนั้น มีอัตราที่น้อย และคนที่เข้ามาสู่อาชีพนี้ โดยส่วนมากคือคนไม่มีที่ไป หรือทำด้วยความเคยชินดังนั้น เมื่อมองอาชีพเกษตรเป็นหน่วยงานขนาดใหญ่ระดับประเทศ เกษตรกรจะได้บุคคลกรที่มีศักยภาพโดยรวมที่ไม่เท่ากับอาชีพอื่นๆ จึงทำให้การพัฒนายังเป็นที่ตามท้ายต่อไป เป็นปัญหาข้อที่ 3

แนวทางการแก้ปัญหา

ประเด็นที่หนึ่ง การแก้ปัญหาของการเกษตรไทยให้เริ่มต้นด้วย การเปลี่ยนหรือการเพิ่มบุคคลากรยุคใหม่ที่มีใจต้องการเป็นเกษตรกร เพราะเมื่อมีความต้องการประกอบอาชีพนี้โดยสมัครใจแล้ว คนเหล่านี้ จะมีแรงจูงใจในการพัฒนา ปกป้อง และรักษาในอาชีพมีความก้าวหน้า และพัฒนาต่อไป กลุ่มคนที่จะต้องสร้างบันดาลใจการเป็นเกาตรกรนั้น จะต้องเป็นกลุ่คนรุ่นใหม่ เพื่อให้มีกำลัง และการเรียนรู้ในอนาคตอีกยาวไกล

ประเด็นที่ 2 การสร้างทัศนคติให่ให้กับคนในชาติ ให้ชาวนา เป็นผู้ที่มีเกียรติ และมีคุณต่อคนไทยทุกคน เนื่องจาก เป็นผู้ผลิตอาหารให้คนในชาติ สร้างความมั่นคงทางอาหารให้คนไทย ทำให้คนไทยยังมีการใช้ชีวิตอย่างสุขสบาย มีอาหารให้เลือกกินได้อย่างสมบูรณ์

ประเด็นที่ 3 การพัฒนาองค์ความด้านการปรับปรุงคุณภาพชีวิตเกษตรกร เพื่อเป็นการส่งเสริมความสุขของเกษตรกรให้มีชีวิตที่สบายขึ้นที่ไม่ได้มาจากการใช้เงิน หรือการจ้างคนอื่นทำงานแทน แต่เป็นความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นจากการจัดการ เพราะจะเป็นการเสริมประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรเพื่อการใช้ชีวิตให้มาขึ้น