แนวคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม ความแตกต่าง
ความคิดสร้างสรรค์ ใครๆ ก็ว่าดี นวัตกรรม ใครๆ ก็ว่าเจ๋ง การเป็นผู้ประกอบการในโลกยุคที่ข้อมูลเข้าถึงได้ง่ายมาก ยุคที่เปิดโอกาสให้ใครก็ได้ ที่มีไอเดียดีๆ กลายเป็นเศรษฐีทั้งหมด เราเห็นตัวอย่างมากมายที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะในโลกออนไลน์ ที่เป็นพื้นที่ให้เราสามารถแสดงพลังของความคิดได้ แต่นั้น ก็ยังเป็นเพียงคนส่วนน้อยที่สามารถแสดงความคิดได้อย่างทรงพลังมีความโดดเด่น
สถานะการณ์ทางธุรกิจของโลกยุคปัจจุบัน ตั้งแต่โลกเราเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์ หรือหลังจากปี 2000 เป็นต้นมา เป็นยุคที่ข้อมูลที่เกิดขึ้นบนโลกนี้ มีการส่งต่อถึงกันได้ง่าย ในรูปแบบของ ข้อความ ภาพ เสียง ภาพวิดีโอ รหัสต่างๆ การเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน เราเรียกกันว่าระบบอินเตอร์เน็ต ที่นับวันจะมีวามรวดเร็ว และรองรับการส่งข้อมูลในปริมาณที่มาขึ้นเรื่อยๆ รวมไปถึงการส่งข้อมูลที่มีความคงเส้นคงวา หรือภาษาคอมพิวเตอร์เรียกว่า สเถียร มาขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่ราคาการส่งข้อมูลดูถูกลงเรื่อยๆ เกิดอะไรขึ้นหรือ ผู้คนสามารถส่งข้อมูลที่มีความละเอียด สมจริง ที่มีเวลาที่มากขึ้น นานขึ้น มีมิติของข้อมูลได้มากขึ้นเรื่อยๆ และมีจำนวนคนเข้ามาร่วมกันใช้ระบบการส่งข้อมูลที่เราเรียกว่า ระบบอินเตอร์เน็ตมากขึ้นเรื่อยๆ ใช้เวลาอยู่กับอินเตอร์เน็ตมากขึ้นเรื่อยๆ และข้อมูลของเราก็อยู่บนอินเตอร์เน็ตมากขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน
พฤติกรรมหนึ่งที่มีการเปลี่ยนแปลงไป คือ ในอตีต ยุคช่วงก่อนปี 2000 ผู้บริโภคส่วนใหญ่เป็นผู้รับข้อมูลเพียงทางเดียว ช่องทางการสื่อสารมวลชนหลัก คือ โทรทัศน์และวิทยุ เป็นรูปแบบการสื่อสารแบบทางเดียว แต่ปี 2010 เป็นต้นมา โลกเปลี่ยนแปลงไป ผู้บริโภค กลายเป็นผู้ผลิตข้อมูลเอง ถ่ายทอดเอง และทำได้ง่ายขึ้นมากๆ เนื่องมากจากการใช้ระบบโครงสร้างทางอินเตอร์เน็ตเชื่อมคนเข้าด้วยกัน ถ้าเรารู้จักกันดี ก็เป็น Facebook Youtube Line และอีกสารพัดระบบ แล้วเกิดอะไรขึ้นหละ
สิ่งที่เกิดขึ้น คือการแย่งชิงความสนใจ เรียกว่า ทำอย่างไรก็ได้ ให้มีคนมาชม มาเยี่ยม มากดถูกใจ มาให้คอมเม้นท์ มาแชร์ อะไรก็ได้ให้มากที่สุด เพื่อให้ได้ ประโยชน์ทางใจ ประโยชน์ทางการค้า วิธีการที่จะทำให้ได้สิ่งเหล่านี้มา คือการสร้างเนื้อหา รูปแบบ และกระบวนการที่ทำให้ผู้คนถูกใจ หรือเราเรียกว่าควมคิดสร้างสรรค์ เพราะความคิดสร้างสรรค์ ทำให้มนุษย์ได้รับความพึงพอใจ ได้รับประโยชน์ เป็นแรงดึงดูดให้มนุษย์วิ่งเข้าหาความคิดสร้้างสรรค์
ในอีกทางหนึ่งที่จะเป็นต้องมีความคิดสร้างสรรค์ เพราะมีการพัฒนาเทคโนโลยีชนิกหนึ่งขึ้นมา ภาษาไทยเรียกว่า ปัญญาประดิษฐ์ ภาษาอังกฤษคือ Atificial Ittelegent หรือ AI แล้วมันคืออะไร??? ถ้าจะพูดกันง่ายๆ AI คือ ชุดคำสั่งที่ให้คอมพิวเตอร์ สามารถประมวลผลจากตัวเองได้ และนำผลที่ได้นั้นมาเปรียบเทียบกับคำสั่ง เพื่อให้มีการพัฒนาตัวเองจนมีความแม่นยำมากขึ้นเรื่อยๆ นำมาแทนการคิดของมนุษย์ ยกตัวอย่าง เราคงรู้จัก Google แปลภาษา หลายคนคงได้ใช้มาแล้ว ในช่วงปี 2010 พบว่า Google แปลภาษา จะแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยที่ยังเพี้ยนๆ อยู่ แต่ในโปรแกรมของ Google จะมีช่องให้ช่วยแก้ไขหลักจากแปลภาษาเสร็จ ดังนั้น เมื่อผู้ใชงานให้ระบบแปล และมีการแก้ไข ระบบจะทำการเรียนรู้ไปเรื่อยๆ คล้ายๆ กับการเรียนรู้ของคน จนมีความแม่นยำมากขึ้นเรื่อยๆ คาดการณ์ว่าปี 2025 Google แปลภาษาจะทำหน้าที่ได้เหมือนคนแปลเองและมากกว่า 140 ภาษาทั่วโลก อันนี้เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งเท่านั้น โดยจริงแล้วมีการใช้งานอยู่ในหลายอุตสาหกรรม ขอเพียงแค่มีปริมาณข้อมูลที่มากเพียงพอ ซึ่งในยุค 2000 เป็นต้นมา ผู้บริโภค เป็นผู้ผลิตข้อมูล และมีการส่งข้อมูลถึงกันตลอดเวลา ทั้งแบบที่รู้ตัว และไม่รู้ตัว
สิ่งที่จะเกิดขึ้นของเทคโนโลยี AI คือ อะไรที่ทำซ้ำๆ คอมพิวเตอร์จะเรียนรู้ในการหาผลลัพธ์ที่ดีขึ้นเรื่อยๆ และทำไมดีกว่าคนหรือ ด้วย 2 เหตุผลคือ คอมพิวเตอร์คำนวณได้เร็วกว่าคน หรือเพิ่มกำลังการคำนวณได้จากการใช้เครื่องคอมพิเตอร์หลายๆ เครื่อง คนทำไม่ได้เพราะสมองคน ไม่ได้เอามาเชื่อมกันเหมือนคอมพิวเตอร์ และเหตุผลที่ 2 คอมพิวเตอร์ไม่มีคำว่าลืม เพราะทุกอย่าง อยู่ในฐานข้อมูลหมดแล้ว ทำไมคนถึงลืมหละ??? ก็เพราะว่า การจำของคนต้องใช้พลังงานเอามาเลี้ยงสมอง การลืมเป็นการลดการใช้พลังงาน แต่คอมพิวเตอร์ ใช้วิธีการบันทึกลงในหน่วยความจำ ซึ่งยังเก็บข้อมูลได้เมื่อไม่มีพลังงานมาเลี้ยง เรามักจะรู้จัดกันดีในอุปกรณ์ที่เราเรียกว่า ฮาร์ดดิส
ดูไปดูมา เหมือนคอมพิวเตอร์จะเก่งกว่าคนซะแล้ว ก็จริงนะ แต่ไม่ใช่ทั้งหมด สิ่งหนึ่งที่คอมพิวเตอร์ยังไม่สามารถทำได้ตอนนี้คือ ความคิดสร้างสรรค์ หรือความคิดใหม่ๆ โดยไม่อาศัยข้อมูลในอดีต คอมพิวเตอร์ยังทำไม่ได้ เพราะคอมพิวเตอร์ต้องการข้อมูลในอดีตมาเป็นฐานในการคำนวณ ด้วยเหตุนี้ เราจึงต้องเรียนรู้การสร้างความคิดสร้างสรรค์ เพื่อให้ยังสามารถสร้างความโดดเด่น และอยู่ริดในยุคของการสื่อสารที่ผู้บริโภคเป็นใหญ่
ความคิดสร้างสรรค์คืออะไร?
นิยามของความคิดสร้างสรรค์มีหลายอย่าง แต่โดยรวมๆ แล้วเป็นเรื่องเกี่ยว “การสร้างความคิดใหม่ เพื่อตอบสนองความต้องการหรือแก้ปัญหาอะไรบางอย่าง”
ความคิดสร้างสรรค์ จะประกอบด้วย ความคิด ความใหม่ การแก้ปัญหา แต่ก่อนอื่นขอขยายความการแก้ปัญหาก่อน การแก้ปัญหาในที่นี้มีความหมายกว้างมาก เพราะหมายถึง ปัญหาจริงๆ ที่เป็นอยู่ หรือเรียกว่าสถานะการณ์ที่ไม่ต้องการ ไม่พอใจ สถานะการณ์ที่มีความเสียหาย ควมเดือนร้อนต่างๆ ที่เกิดขึ้นแล้ว หรือ กำลังจะเกิดขึ้น
ปัญหาให้ความหมายกว้างขึ้น คือ ความรู้สึกอึดอัด ความอยากได้ ความต้องการมีเกิดขึ้น อันนี้ ก็จัดว่าเป็นปัญหาอีกรูปแบบหนึ่ง เพราะว่า เป็นสภาวะที่เราต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เป็นสภาวะที่เราต้อง “อดทน” “จำทน” หรือ “ทนทุกข์” ในสิ่งที่เป็นอยู่ แม้จะเป็นในระดับอารมณ์ก็ตาม
ความคิดสร้างสรรค์ เป็นการสร้างแนวทาง ในการแก้ปัญหา ซึ่งรูปแบบในการเกิดความคิสร้างสรรค์ มีอยู่ดังนี้
1. แบบที่เป็นแนวคิด รูปแบบนี้ ผลของความคิดสร้างสรรค์จะออกมาเป็นวิธีการ แผนงาน หรือ ขั้นตอนการกระทำอะไรบางอย่าง รูปแบบนี้ เป็นการเน้นการตอบสนองในการแก้ปัญหาจากการกระทำ บางครั้ง อาจจะออกมาในรูปของกฎระเบียบ ข้อบังคับ ก็ได้
2. แบบที่เป็นผลงานทางศิลปะ หรือทางภาษา รูปแบบนี้ จะเริ่มจับต้องได้ สัมผัสได้ เห็นเป็นรูปธรรมมากขึ้น เช่น ผลงานเพลง ผลงานการออกแบบ ผลงานการเขียน ที่ถูกคิดขึ้นมาใหม่ รูปแบบนี้ จะเป็นการเน้นการตอบสนองทางอารมณ์เป็นหลัก
3. แบบที่เป็นสิ่งประดิษฐ์ รูปแบบนี้ เป็นรูปแบบที่ สร้างความคิดใหม่ ถูกนำเสนอออกมาในรูปแบบของสิ่งของเพื่อการใช้งาน ตอบสนองทางอารมณ์ แต่อยู่ภายใต้เทคโนโลยีเดิม เช่น การประดับตกแต่ง เครื่องดินเผาการออกแบบทรงและลวดลาย เฟอร์นิเจอร์ต่างๆ จะเห็นได้บ่อยๆ คืออุปกรณ์ตกแต่งบ้าน
ความคิดสร้างสรรค์มาจากไหน
ความคิดสร้างสรรค์ มาจากการทำให้ต่าง ต่างจากของเดิม ต่างจากคนอื่น จุดเริ่มต้นของความคิดสร้างสรรค์จึงทำให้ต่างจากคนอื่น แต่การทำให้ต่างจะต้องการเผชิญหน้ากับความอึดอัดอย่างหนึ่งคือ ความกลัว
ความกลัวที่ว่านี้ เป็นความกลัวที่จะถูกนินทา ทั้งที่ได้ยินเอง หรือ “มโน” ว่าได้ยินก็ตาม โดยเฉพาะการมโนว่าเราถูกนินทา หรือ กลัวไปก่อนล่วงหน้า ใช้แล้วมนุษย์ เป็นพวกที่ต้องการป้องกันตนเอง จึงคิดไปก่อนล่วงหน้าต่างๆ นานา ว่าจะโดนแบบโน้น จะถูกแบบนี้ ทั้งที่ยังไม่เกิดขึ้นก็ตาม
ความกลัวนี้มาจากไหน ก็มาจากประสบการณ์ในอดีต บางคนอาจจะโดยต่อว่ามาจากการทำให้แตกต่างจากคนอื่น หรือบางคนเห็นว่าคนอื่นโดนว่า โดยเฉพาะตอนเด็กๆ เรามักจะสอนเด็กว่า อย่าทำอะไรพิศดารนัก เป็นเด็กเรียบร้อยหน่อยสิ คิดอะไรประหลาด ไม่มีใครเขาทำกัน ไม่ดีหรอก คำเหล่านี้เป็นคำที่สร้างปมความกลัวไว้ในพวกเราตั้งแต่ยังเล็ก
สังคมทางเอเซีย รวมถึงในสังคมไทย เป็นสังคมที่ต้องการการเคารพลำดับอาวุโส และความเป็นพวกเดียวกัน ดังนั้น ใครกฌตามที่ทำผิดแผกจากคนอื่น จะถูกมองว่าเป็น “แกะดำ” “กาในฝูงหง” “นอกคอก” “ผ่าเหล่า” ลองดูแต่ละคำ ให้ความรู้สึกทางลบทั้งนั้น จึงทำให้เรารู้สึกว่าการทำอะไรให้แตกต่างเป็นเรื่องที่น่ากลัว
ทางออกหรือ เราต้องมาแยกแยะว่า อะไรเป็นเรื่องจริง และอะไรเป็นเรื่องมโน เรื่องจริงหมายถึง การทำตัวให้แตกต่างแล้วสร้างความเดือดร้อนให้กับคนอื่น แบบนี้ก็ไม่ควรที่จะต่าง แต่ถ้ากรณีที่เป็นเรื่องมโน หมายถึง เราทำให้แตกต่าง แล้วไม่พบว่าทำให้ใครเดือนร้อน ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว แต่ยังกลัวอยู่ แปลว่าเรากำลังมโนเอง ตัวมโนนี้ เป็นตัวขวางกันความแตกต่างที่เป็นต้นกำเนิดของความคิดสร้างสรรค์
ฝึกสร้างความคิดสร้างสรรค์
การคิดให้ต่าง ก็จะให้เกิดความใหม่ แต่ใหม่แบบไหนถึงจะมีคุณค่า เรื่องนี้รู้ได้ไม่ยาก แค่ถามตัวเราเองว่า เราต้องการอะไรในการคิดต่าง และสิ่งที่เราทำให้ต่างไปเพื่ออะไร ถ้าทั้ง 2 เรื่องนี้เป็นเรื่องเดียวเมื่อไหร่ จะกลายเป็นความแตกต่างที่ดี และนั่นแหละ คิดความคิดสร้างสรรค์
ความคิดสร้้างสรรค์ ต้องสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ หรือแก้ปัญหาได้ โดยเฉพาะ การแก้ปัญหา ความคิดสร้างสรรค์มีคุณค่าทันทีที่แก้ปัญหาให้เราได้ แต่เมื่อใดก็ตามที่ความคิดแปลกใหม่ และยังเอาไปใช้ประโยชน์ หรือไม่รู้จะใช้ประโยชน์อะไร เราจะเรียกว่า “คิดไร้สาระ”
แต่ความคิดไรสาระ ก็ใช่ว่าจะไร้ประโยชน์ซะทีเดียว เพราะอะไรหรือ? เพราะการคิดไร้สาระเป็นแหล่งของความคิดสร้างสรรค์ เราลองมาจิตนาการเล่นๆ ก็ดู เรากำลังยืนอยู่ในสนามหญ้าแห่งหนึ่งที่เราไม่เคยรู้จักมาก่อน มีจอบหน้าตาแปลกๆ มีพลั่วที่เราไม่เคยเห็น มีไม้ขนาดกำพอดีมือยาว 1 เมตร มีเชือกที่ทำด้วยวัสดุประหลาด มีผ้าใบรูปร่างแปลกๆ มีทางมะพร้าว รอบๆ สนามหญ้ามีต้นไม้นานาชนิด ทั้งต้นเล็กต้นใหญ่ที่เราไม่เคยเห็นมาก่อนในชีวิต
คำถามคือ เราจะทำอะไรดี....
คำถามนี้ ดูจะงงๆ หน่อย อยู่ก็มาถามอะไร ไม่เข้าใจ ทำทำไม ปล่อยไว้แบบนั้นแหละ ไม่เห็นต้องทำอะไรเลย กลับบ้านดีกว่า อะไรก็ไม่รู้ น่ากลัว ไม่มีใครเค้าเคยทำกัน ทุกอย่างแปลกไปหมด
แต่ถ้าเป็นพวกชอบคิดแบบไร้สาระ (เพื่อให้ได้สาระ) ก็จะเริ่มทำการสำรวจว่า มีอะไรบ้างอยู่ตรงนี้ และเริ่มเล่นกับของที่มี เล่นไปเพื่ออะไรเหรอ ก็เพื่อความสนุก ไม่มีอะไรมากกว่านั้น พวกชอบคิดไร้สาระ ก็จะคิดเพื่อความสนุกเท่านั้น
แต่ทันใดนั้น มีปัญหาโยนเข้ามา บอกว่า เราต้องปฎิบัติภาระกิจทำอาหารให้เสร็จภายใน 1 ชั่วโมง ทีนี้ ใครจะสามารถทำภาระกิจนี้เสร็จก่อนกัน
คนที่สามารถทำได้ต้องเป็นคนที่มีประสบการณ์มาก่อน ถึงจะทำได้ แน่นอน พวกที่ชอบคิดไร้สาระ จะมีประสบการณ์มาก่อนเท่านั้น จึงจะรู้ว่า สิ่งที่มีอยู่แต่ละอย่าง จะใช้ทำอะไรได้บ้าง โดยเฉพาะคนที่ลงมือเล่นกับเครื่องมือต่างๆ มาแล้ว การเล่น คือ การสร้างสนามประสบการณ์ เพื่อให้สามารถสร้างทางออกสำหรับปัญหา
แต่การเล่นในความคิดไร้สาระนั้น โดยใช้จินตนาการของเราเอง เราเรียกว่า คิดเล่นๆ เป็นกระบวนการที่สำคัญในการสร้างความคิดสร้างสรรค์ เพราะการคิดเล่นๆ เป็นวิธีการที่ทำให้เราข้ามความกลัวได้ เนื่องจากเรารู้ว่า ไม่ใช่เรื่องจริง เลยไม่จำเป็นต้องกลัวใครมาว่า ทำอยู่อย่างในความคิดของเรา เป็นจุดที่มีความปลอดภัย มีความเป็นส่วนตัวมาก เราจึงกล้าที่จะคิดอะไรก็ได้ เพราะทุกอย่างเป็นเรื่องสมมติ
เมื่อใดก็ตามที่การคิดเล่นๆ เอาไปใช้ประโยชน์ได้ ตรงนั้นแหละ จุดสร้างสรรค์ เกิดทันที แต่ความคิดสร้างสรรค์ยังไม่จบเท่านั้น เพราะว่า เราต้องคิดต่อในรายละเอียดต่างๆ เพื่อให้ยืนยันทางความคิดว่า ความคิดของเราจากจุดความคิดสร้างสรรค์ สามารถใช้งานได้จริงหรือไม่ และต้องการรายละเอียดอะไรเพิ่มเติมได้อีก
คิดเล่นๆ แต่ทำจริงๆ
การสร้างความคิดสร้างสรรค์ จะสร้างออกมาได้ จะเจอกำแพงอยู่อย่างหนึ่งที่ทำให้ความคิดสร้างสรรค์ ไม่ออกมาคือ การบังคับให้ออก ยิ่งเราบังคับมาเท่าไหร่ สมองเรา จะสร้างกำแพงเพื่อตีกรอบความคิดมากขึ้น ควาคิดของเราจึงวนเวียนอยู่กับประสบการณ์หรือความคิดเก่าๆ
ทำไงหละ เพื่อให้กำแพงหายไป ก็ ง่ายนิดเดียว อย่าไปบังคับมันให้ออกมา แล้วใช้คำว่า “ถ้า...แล้ว...” บ่อยๆ เราต้องไม่ลืมว่า สมองมนุษย์ถูกออกแบบมาให้หลีกเลี่ยงอันตราย ดั้งนั้น การที่เราคิดอะไรแปลกใหม่ สมองจะทำงานโดยอัตโนมัติว่า เป็นเรื่องที่ไม่มีแผนการรองรับ อาจจะอันตรายได้ สมองจำสร้างกำแพงความคิดขึ้นมาทันที
การใช้คำว่า “ถ้า....แล้ว...” สองของเราจะรู้ทันทีว่า ไม่มีอยู่จริง ดังนั้น สมองจะบอกว่า สิ่งนี้ไม่อันตราย สามารถคิดต่อได้ เราใช้จุดตรงนี้ มาเล่นกับความคิด เป็นการ คิดเล่นๆ เล่นหมายถึง สมมุติในสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง ตามที่เราชอบ ถ้าเราไม่ชอบ เราก็จะไม่เล่น เราจึงเล่นในสิ่งที่เราชอบ
อ้าว แล้วจะเล่นไปถึงไหน กลับไปดูเป้าหมายของเราสิ เราอยากได้อะไร เป้าหมายคือสิ่งที่เราชอบ เราก็ลองคิดเล่นๆ ดูว่า เราจะทำอะไรได้บ้างเพื่อให้ไปถึงเป้าหมาย ลองออกแบบธุรกิจดู จำลองสถานการณ์ ผ่านการจรินตนาการ แล้วทำให้ให้เกิดของใหม่ เป็นความิดสร้างสรรค์ดู
คิดไปเรื่อยๆ และสนุกกับความคิดจนได้รับความสุขจากความคิด อย่าไปตกใจกับความคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้น และอนุณาติให้เรา มโน เข้าข้างตัวเองได้ จงยิ้มไปกับความคิด ชื่นชมความสำเร็จในความคิด ตื่นเต้นกับความคิดใหม่ เหมือนเด็กๆ ที่ดีใจเมื่อต่อของเล่นไม้เป็นรูปร่างในจินตนาการได้
เมื่อเห็นความคิดมีความชัดเจนแล้ว เราก็มาเรียบเรียงใหม่ เป็นแผนการ วิธีการ รูปแบบ รูปร่าง รูปทรง อะไรก็แล้วแต่ที่ปรากฎอยู่ในความคิด ทำให้เป็นจริงขึ้นมา เพราะว่าความคิดจะไม่มีประโยชน์อะไรเลย ถ้าไม่ถูกถ่ายทอดออกมา คิดอย่างเดียว ไม่เก็บเอาไว้ จะกลายเป็น ฝันกลางวัน เราคงยังไม่อยากเป็นคนที่เฟ้อฝัน และยิ้มน้ำลายไหลอยู่คนเดียวใช่มั้ย เราอยากได้ฝันที่มีคุณค่าและทรงพลังใช่มั้ย ดังนั้น เราทำเรื่องเล่นๆ ให้กลายเป็นจริงโดยการคิดเล่นๆ เพื่อเป้าหมายจริงๆ
แต่ถ้าคิดไปคิดมาแล้ว รู้สึกว่าไม่ใช่ อย่าเพิ่งเครียด อย่างเพิ่งตกใจ เพราะเป็นเพียงความคิด เราก็แค่ คิดเล่นๆ ต่อไป ของให้ทุกคนมีความสุขกับความคิด