แนวโน้มของการเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยในประเทศไทยที่เกิดการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว คือ มีจำนวนคนเข้าเรียนน้อยลง ในขณะที่จำนวนของมหาวิทยาลัยคงเท่าเดิม มีที่นั่งมากขึ้น และมีเหตุการณ์แย่งผู้สมัครเข้าเรียนมากขึ้น หากจะเรียกว่าเป็นการขยายโอกาสทางการศึกษาก็เป็นได้
แต่สิ่งที่เกิดขึ้นกลับเป็นเรื่องที่ตรงกันข้าม เมื่อตลาดงานกลับบอกว่า มหาวิทยาลันยผลิตบัณฑิตมาไม่ตรงต่อความต้องการ จบมาแล้วเอามาใช้งานจริงไม่ได้ ต้องทำการฝึกงานต่ออีก 6 เดือน ถึงสามารถเอามาทำงานได้ และไม่แน่ใจด้วยว่า การฝึกงานที่สถานประกอบการด้วยการจ้างเด็กจบใหม่เข้าไปทำงานแล้วเขาจะอยู่กับสถานประกอบการในระยะยาวหรือไม่ ทำให้หลายๆ ไม่อยากรับบัณฑิตจบใหม่เข้ามาทำงาน เพราะอัตราการลาออกสูงจนเป็นคำพูดว่า เด็กจบใหม่ทำงานไม่ทน ฝึกได้พอเป็น ก็ไปทำงานที่อื่น ไม่คุ้มกับการจ้างงาน
ในขณะเดียวกัน กลับเริ่มมีปรากฎการณ์ที่เรียกว่า ไม่มีปริญญาหาหางานทำได้ มีรายได้ตั้งแต่เรียนหนังสือ ขอให้เก่งอะไรสักอย่าง ไม่ต้องไปสนใจว่าจะเรียนมาแบบไหน จบอะไรมา ขอแค่ชัดเจนว่าทำอะไรเป็น ทำอะไรเก่ง และเป็นที่ต้องการของสังคม ก็สามารถหาเงินได้ มีคนจำนวนมากมีความใฝ่ฝันที่จะเป็นยูทูบเบอร์ อัดวีดีโอออกอากาศด้วยตัวเอง หลายคนบอกว่า ต้องเขียนแอพดีๆ ก็สามารถหาเงินได้ มหาวิทยาลัยไม่จำเป็นต้องไปเรียนอีกต่อไป
ในความเป็นจริงนั้น เป็นจริงส่วนหนึ่ง แต่ไม่ใช่ความจริงทั้งหมด
ระบบการศึกษาตามระบบการให้ปริญญานั้น จำเป็นต้องมีการปรับตัว เพราะบางหลักสูตรไม่สามารถหางานได้ในสังคมปัจจุบัน แต่ไม่ได้หมายคามว่า วิชานั้นๆ จะไม่มีคุณค่าต่อโลกอีกต่อไป กลับกลายเป็นว่า คนในยุคใหม่ ต้องมีความรู้ความสามารถอยู่รอบด้าน และมีความโดดเด่นอย่างน้อย 1 ด้าน ต่างหาก การเรียนในมหาวิทยาลัยไม่ใช่จุดสิ้นสุดของการเรียน แต่กลับเปลี่ยนแปลงกลายเป็นจุดเริ่มต้นของการเรียนที่ต้องส่งเสริมให้คนเกิดการเรียนรู้และเข้าใจวิธีการหาความรู้ใส่ตัวเอง จนไปถึงวิธีการสร้างความรู้ให้กับตัวเองและกับสังคม
มหาวิทยาลัยในบทบาทใหม่ ไม่ใช่แต่เพียงผลิตบัณฑิตเข้าสู่ตลาดงานที่มีคุณภาพ แต่ต้องเป็นผู้ที่ผลิตผู้ใฝ่รู้และกระตือรือร้นในการพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา เป็นผู้ที่มีความยืดหยุ่นในการปรับตัวต่อสถานการณ์ และยังสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลที่มีประโยชน์ที่สามารถนำมาวิเคราะห์ได้อย่างเป็นระบบ
มหาวิทยาลัยต้องมีบทบาทในการสร้างความรู้ใหม่ๆ ที่คนในสังคมเข้าถึงได้โดยง่าย เป็นรูปแบบที่สร้างประโยชน์ให้กับสังคม มากกว่างานวิจัยที่เน้นการตีพิมพ์ และเป็นแหล่งที่ถ่ายทอดความรู้เข้ากับสังคม
ในการถ่ายทอดความรู้เข้ากับสังคมนั้น หมายถึงใครก็ได้มีสิทธิที่จะเรียนในสถาบันของมหาวิทยาลัย วิชาอะไรก็ได้ และหัวข้อไหนก็ได้ มหาวิทยาลัยต้องมีการเปิดกว้างมาเพียงพอในการส่งเสริมการยกระดับความรู้ให้กับทุกคนในสังคม ดังนั้น มหาวิทยาลัยจึงไม่ใช่สถาบันการศึกษาเพียงอย่างเดียวอีกต่อไป แต่กลับต้องเป็น สถาบันแห่งการเรียนรู้ที่มีองค์ความรู้ที่ถูกต้อง มีคุณค่า และเข้าถึงได้ง่ายของคนในสังคม
มหาวิทยาลัย จึงมีความหมายที่ยิ่งใหญ่มากกว่าการเรียนการสอน และการวิจัย แต่เป็นแหล่งที่ความรู้ทั้งมวลจะต้องเข้ามารวมอยู่ในที่แห่งเดียวกันนี้ เพื่อให้โลกเกิดการพัฒนา มหาวิทยาลัย ไม่ควรปล่อยให้แหล่งความรู้ที่อื่น มีบทบาทในการสร้างความรู้แบบที่ไม่ได้ถูกกลั่นกรองด้วยกระบวนการ หรือมโนทรรศที่น่าเชื่อถือ การที่สังคมเกิดเหตุการณ์เยาวชนรุ่นใหม่ ไม่เชื่อถือระบบในมหาวิทยาลัย และไปแสวงหาความรู้จากแหล่งอื่นๆ จนเกิดความเชื่อว่า ไม่ต้องเรียนมหาวิทยาลัยก็ได้ เพราะคนสมัยนี้ หาเงินได้โดยไม่ต้องจบมหาวิทยาลัย นั่นเป็นเรื่องที่อันตรายเป็นอย่างมากในการพัฒนาประเทศและการพัฒนาความสามารถของคนในประเทศ
การที่คนออกไปศึกษาเองจากข้างนอกนั้น เป็นเรื่องที่ดี เพราะเกิดจากความใฝ่รู้ของคน แต่มีไม่กี่ที่ทำได้ เพราะต้องอาศัยความตั้งใจจริง แต่จะมีคนจำนวนหนึ่งที่ไม่สามารถไปถึงเป้าหมายแห่งการเรียนรู้ได้ เพราะเกิดการศึกษาแบบที่ไม่เป็นระบบ หรือแบบแผนของการศึกษา ขาดผู้ชี้แนะที่ถูกต้อง ในท้ายที่สุด จะเกิดผลเสียมากกว่าผลดี เกิดการพัฒนาที่ผิดๆ มากกว่า ขณะเดียวกัน การศึกษายังช่วยส่งเสริมที่การวิจัยในทางเทคนิคขั้นสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางวิทยาศาสตร์ วิทยาการ และการทดลอง เนื่องจากการที่บุคคลทั่วไปจะสามารถทำการทดลองขั้นสูงได้ ต้องมีทุนส่วนตัวจำนวนมากเพื่อสร้างห้องทดลองเพื่อการศึกษา นั่นคือข้อได้เปรียบของมหาวิทยาลัย ที่มีทุนทางการสร้างองค์ความรู้อยู่เป็นจำนวนมาก
มหาวิทยาลัยต้องเปลี่ยนแปลงตัวเอง ตั้งแต่ระบบ ไปถึงอาจารย์ เปลี่ยนแปลงบทบามการเรียนการสอน การได้อันดับโลก ไปสู่การสร้างคุณค่าแห่งการพัฒนาประเทศ เปลี่ยนแปลงวิธีการทำงาน เปลี่ยนแปลงวิธีการถ่ายทอดความรู้ เปลี่ยนแปลงทักษะที่จำเป็นของบุคลากรในมหาวิทยาลัย และเปลี่ยนแปลงผลผลิตของมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยไม่ได้ผลิตหลักสูตร แต่มหาวิทยาลัย เป้นผู้ผลิตความรู้ที่สังคมไม่สามารถผลิตได้ เป็นความรู้ที่มีประโยชน์และบริสุทธิ์
เมื่อมหาวิทยาลัยต้องนิยามตัวเองที่เปลี่ยนแปลงไป ใน New Normal
วันจันทร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2563
วันศุกร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2563
การสร้างความคิดทางบวกเพื่อคลายเครียดเมื่อต้อง Work From Home
ความเครียดเมื่อเราต้องทำงานอยู่บ้าน เป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นเหตุผลเพราะเรากำลังเผชิญหน้ากับสถาการณ์ที่เราไม่ได้คาดหวัง หรือผลที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่เราไม่ต้องการ เช่น การเงินไม่พอใช้ รายได้หาย กลัวติดโรค กลัวโน้น กลัวนี่ สารพะด เริ่มวิตกกังวลกับอนาคต เมื่อหลายๆ อย่างประกอบกัน ทำให้ความเครียดเพิ่มสูงขึ้นมาก ยิ่งความคาดหวังสูงมากความเครียดก็ยิ่งสูงตาม
.
.
ความเครียดเกิดจากสมการได้ง่ายๆ ให้เข้าใจแบบนี้
.
ความเครียด = ความไม่สมหวัง + ระดับการยึดติดกับสถาการณ์เดิม
.
ดังนั้น การจัดการความเครียด ให้จัดการตัวเองใน 2 เรื่อง คือเรื่องของความคาดหวัง และการปรับตัว
.
.
1) การจัดการความคาดหวัง ให้เราเข้าใจเรื่องการเปลี่ยนแปลงเสียก่อนว่า ทุกอย่างไม่เหมือนเดิม เราไม่สามารถยึดติดกับเรื่องความคาดหวังเดิมได้ แต่ให้มองทรัพยากรที่มี และโอกาสที่เราพบว่า เราได้อะไรจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ให้เรามองสิ่งที่ได้ มากกว่าสิ่งที่เรา (เคย) ต้องการ คำว่าได้ในที่นี้ เช่น ได้ เวลาในการดูแลตัวเอง ได้โอกาสในการทำในสิ่งที่อยากทำ ได้เวลาฟื้นฟูสุขภาพของตัวเอง ได้ทำอาชีพใหม่ๆ ที่เราเองไม่เคยมีเวลาทำเลยเมื่อต้องทำงานอยู่ที่ทำงานทุกวัน วิธีการนี้ช่วยให้เราได้เปลี่ยนแปลงจุดสนใจจากที่เราสูญเสีย ไปสนใจจุดที่ได้ จากการเปลี่ยนแปลง ทำให้สมองของเราทำงานได้ดีขึ้นและมีความสุขมากขึ้น
.
.
เมื่อเราจัดการความคาดหวังได้ นั่นคือ เราสามารถเปลี่ยนความคาดหวังเดิมที่ไม่สามารถทำได้เพราะสถาการณ์เปลี่ยนแปลงไปแล้ว เป็นการตั้งเป้าหมายใหม่ ของสิ่งที่มี เราสามารถทำอะไรได้บ้างในสิ่งที่มี และเราจะทำให้ตัวเองมีอะไรดีๆ เกิดขึ้นในแต่ละวันของเรา
.
.
2) ใส่ความขี้เล่นลงไปในชีวิต ทำตัวให้เหมือนเด็กๆ ในแค่ละวัน เด็กไม่คิดอะไรมาก จับอะไรก็ได้มาเล่นแบบไม่อายใคร ในฐานะเป็นผู้ใหญ่ ก็สามารถเล่นได้เหมือนกัน เพียงแต่เล่นกันงาน เล่นกับสิ่งที่ทำอยู่ ใส่ความคิดสนุกๆ (ที่มีขอบเขต และไม่ทำให้ใครเดือดร้อน) ลงไปในการทำงานแต่ละวัน ยิ่งเราวางกรอบให้ตัวเองเท่าไหร่ เรายิ่งเครียดมากขึ้นเท่านั้น จัดการตัวเองผ่านการเล่นๆ
.
.
3) อย่ามโนในสิ่งที่ยังไม่เกิด แต่ให้เราอยู่กับข้อมูลที่เชื่อถือได้จริง เพราะยิ่งเรามโนอยู่กับสิ่งที่ยังไม่เกิดมากเกินไป โดยส่วนใหญ่จะรับเอาข้อมูลจากข่าง และโซเชียลมาใส่ตัวเรามาเกินไป โดยเฉพาะคนที่อ่านข่าวแบบใส่อารมณ์จัดเต็ม เราจะยิ่งเครียด สิ่งที่เราต้องทำจริงๆ คือ รับข้อมูลพร้อมเหตุผลของข้อมูลที่วิเคราะห์แล้วเป็นจริงได้
.
.
4) ขยับตัวบ้าง ด้วยการหาอะไรทำใหม่ๆ การขยับตัว เป็นเทคนิคการลดความเครียด ยิ่งเรานั่งเฉยๆ ไม่มีการเคลื่อนไหว ร่างกายยิ่งเคลียด ยิ่งไม่มีพลัง ยิ่งท้อแท้ การขยับตัวด้วยการทำอะไรใหม่ๆ เป็นการช่วยให้เราก้าวข้ามการยึดติดกับสิ่งเดิมๆ ให้สามารถเปลี่ยนมุมมองของเราได้
.
.
5) ใช้คาถา 2 คาถา กับเรื่องราวที่เกิดขึ้น คือ "อ้อเหรอ" กับ "ก็ดีนะ" คำว่า อ้อเหรอ ใช้เมื่อเราเจอสถาการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น มีคนคิดไวรัสอยู่บ้างบ้้าน ให้เราพูดออกมาเลยว่า อ้อเหรอ เพื่อเป็นการหยุดอารมณ์ของเราก่อน ไม่งั้น สมองของเราจะวิ่งพล่านไปหมด ทำให้เราเสียสติ เสียสมาธิ และไม่สามารถควบคุมตนเองได้ชั่วขณะจนกว่า สติจะมา และเมื่อเราตั้งสติได้แล้ว ให้ใช้คาถาที่ 2 คือ ก็ดีนะ แล้วหใ้เหตุผลว่า เหตุการณ์นี้ เราได้อะไร จากการยกตัวอย่างว่า เมื่อเราพบว่าคนข้างบ้านติดไวรัส ก็บอกว่า ก็ดีนะ เราจะได้ไปตรวจให้ชัดๆ เลยว่า เรายังติดไวรัสอยู่มั้ย หายสงสัยสักที (เพราะปกติถ้าไม่ใช่คนเสี่ยงติดโรค โรงพยายาลไม่ตรวจสอบให้)
.
.
6) ทำความเข้าใจกับการเปลี่ยนแปลง เพราะว่า เมื่อโลกเปลี่ยนแปลงไป เราทำผลเหมือนเดิม แต่จะไม่ได้ผลตามเดิม เมื่อเราเข้าใจสัจธรรมของโลกแล้ว เราก็เล่มสนุกกับการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ในวิธีการชีวิตและการปรับตัวใหม่ๆ ของเราไปสู่การสร้างความสุข สร้างผลงาน สร้างรายได้ของตัวเองในวิธีการใหม่ๆ ได้อีก
.
.
7) อย่าอุดอู้อยู่คนเดียว ใช้เทคโนโลยีคุยและติดต่อกับคนอื่นด้วย ช่วยสร้างอะไรใหม่ๆ ชวนทำงานด้วยกัน ชวนกันเล่น แต่สิ่งที่ไม่ควรทำคือชวนกันวิพากษ์วิจารย์คนอื่น รวมถึงรัฐบาล เพราะการวิพากษ์วิจารย์จะเต็มไปด้วยข้อมูลเชิงลบ ถ้าไม่มีข้อมูลและความคิดเชิงลบ เราจะไม่จับกลุ่มวิจารณ์หรอก จริงๆ ไม่ใช่วิจารณ์ แต่เป็นการนินทาและการบ่น เดี๋ยวนี้ เรายังสามารถคุยกับตัวเองให้โลกเห็นได้เยอะแยะ เช่นการทำคลิป การไลฟ์สด ก็ช่วยให้เรามีความสุข ลดความเครียดลงได้เช่นกัน
.
.
8) ขอบคุณตัวเองในทุกๆ วัน ขอบคุฯการที่เรายังมีชีวิตอยู่ ขอบคุณที่เราสามารถมีอาหารทาน ขอบคุณที่เรายังไม่เสียชีวิต ขอบคุณที่เราได้พบน้ำใจจากคนรอบข้าง ขอบคุณตัวเราเองที่ยังเข็มแข็ง ให้เราขอบคุณแบบไม่ต้องอายใครเลย เพราะจะสร้างกำลังใจให้เราสามารถสร้างความสุขให้เราได้
.
.
9) ตั้งเป้าหมายในการเรียนรู้และพํ?นาตนเองในแต่ละวัน โดยที่เราต้องบอกตัวเองว่า เราจะเก่งอะไรขึ้นอีกในแต่ละวัน เราสามารถทำอะไรใหม่ๆ ที่มีประโยชน์ให้เราได้เองในแต่ละวัน สิ่งนี้จะช่วยให้เรามีการจดจ่อในการทำงาน การพัฒนาตนเอง และเป้าหมายนี้ให้เป็นเรื่องใหม่ๆ ของชีวิต โดยที่เป็นเป้าหมายที่ทไให้เราสามารถปรับตัวเองให้เข้ากับสถาการณ์ได้ เช่นการฝึกใช้โปรแกรมทำงานออนไลน์ การฝึกการใช้เทคนิคการตัดต่อวิดีโอ เพื่อการสื่อสารออนไลน์ เป็นต้น
.
.
ทั้ง 9 วิธีนี้จะช่วยให้เราสามารถเป็นคนที่มีความสุขแม้ว่าจะต้องอยู่กับบ้าน ทำงานที่บ้าน อยู่ในสถาการณ์ที่แย่ๆ แต่เราจะไม่แย่ตามสถาการณ์ได้อย่างมีความสุข
-------------------------------------------------------------------------------------------------
พูดคุยกับผู้เขียนได้ที่
Facebook Page Dr.Nara Kittimetheekul
https://www.facebook.com/DrNaraKittimetheekul
รับให้คำปรึกษา ด้านการพัฒนาตนเอง การพัฒนามนุษย์ การออกแบบระบบการทำงาน
การวิจัยการตลาด การปรับ Mindset เพื่อความสุขและความสำเร็จ
.
.
ความเครียดเกิดจากสมการได้ง่ายๆ ให้เข้าใจแบบนี้
.
ความเครียด = ความไม่สมหวัง + ระดับการยึดติดกับสถาการณ์เดิม
.
ดังนั้น การจัดการความเครียด ให้จัดการตัวเองใน 2 เรื่อง คือเรื่องของความคาดหวัง และการปรับตัว
.
.
1) การจัดการความคาดหวัง ให้เราเข้าใจเรื่องการเปลี่ยนแปลงเสียก่อนว่า ทุกอย่างไม่เหมือนเดิม เราไม่สามารถยึดติดกับเรื่องความคาดหวังเดิมได้ แต่ให้มองทรัพยากรที่มี และโอกาสที่เราพบว่า เราได้อะไรจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ให้เรามองสิ่งที่ได้ มากกว่าสิ่งที่เรา (เคย) ต้องการ คำว่าได้ในที่นี้ เช่น ได้ เวลาในการดูแลตัวเอง ได้โอกาสในการทำในสิ่งที่อยากทำ ได้เวลาฟื้นฟูสุขภาพของตัวเอง ได้ทำอาชีพใหม่ๆ ที่เราเองไม่เคยมีเวลาทำเลยเมื่อต้องทำงานอยู่ที่ทำงานทุกวัน วิธีการนี้ช่วยให้เราได้เปลี่ยนแปลงจุดสนใจจากที่เราสูญเสีย ไปสนใจจุดที่ได้ จากการเปลี่ยนแปลง ทำให้สมองของเราทำงานได้ดีขึ้นและมีความสุขมากขึ้น
.
.
เมื่อเราจัดการความคาดหวังได้ นั่นคือ เราสามารถเปลี่ยนความคาดหวังเดิมที่ไม่สามารถทำได้เพราะสถาการณ์เปลี่ยนแปลงไปแล้ว เป็นการตั้งเป้าหมายใหม่ ของสิ่งที่มี เราสามารถทำอะไรได้บ้างในสิ่งที่มี และเราจะทำให้ตัวเองมีอะไรดีๆ เกิดขึ้นในแต่ละวันของเรา
.
.
2) ใส่ความขี้เล่นลงไปในชีวิต ทำตัวให้เหมือนเด็กๆ ในแค่ละวัน เด็กไม่คิดอะไรมาก จับอะไรก็ได้มาเล่นแบบไม่อายใคร ในฐานะเป็นผู้ใหญ่ ก็สามารถเล่นได้เหมือนกัน เพียงแต่เล่นกันงาน เล่นกับสิ่งที่ทำอยู่ ใส่ความคิดสนุกๆ (ที่มีขอบเขต และไม่ทำให้ใครเดือดร้อน) ลงไปในการทำงานแต่ละวัน ยิ่งเราวางกรอบให้ตัวเองเท่าไหร่ เรายิ่งเครียดมากขึ้นเท่านั้น จัดการตัวเองผ่านการเล่นๆ
.
.
3) อย่ามโนในสิ่งที่ยังไม่เกิด แต่ให้เราอยู่กับข้อมูลที่เชื่อถือได้จริง เพราะยิ่งเรามโนอยู่กับสิ่งที่ยังไม่เกิดมากเกินไป โดยส่วนใหญ่จะรับเอาข้อมูลจากข่าง และโซเชียลมาใส่ตัวเรามาเกินไป โดยเฉพาะคนที่อ่านข่าวแบบใส่อารมณ์จัดเต็ม เราจะยิ่งเครียด สิ่งที่เราต้องทำจริงๆ คือ รับข้อมูลพร้อมเหตุผลของข้อมูลที่วิเคราะห์แล้วเป็นจริงได้
.
.
4) ขยับตัวบ้าง ด้วยการหาอะไรทำใหม่ๆ การขยับตัว เป็นเทคนิคการลดความเครียด ยิ่งเรานั่งเฉยๆ ไม่มีการเคลื่อนไหว ร่างกายยิ่งเคลียด ยิ่งไม่มีพลัง ยิ่งท้อแท้ การขยับตัวด้วยการทำอะไรใหม่ๆ เป็นการช่วยให้เราก้าวข้ามการยึดติดกับสิ่งเดิมๆ ให้สามารถเปลี่ยนมุมมองของเราได้
.
.
5) ใช้คาถา 2 คาถา กับเรื่องราวที่เกิดขึ้น คือ "อ้อเหรอ" กับ "ก็ดีนะ" คำว่า อ้อเหรอ ใช้เมื่อเราเจอสถาการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น มีคนคิดไวรัสอยู่บ้างบ้้าน ให้เราพูดออกมาเลยว่า อ้อเหรอ เพื่อเป็นการหยุดอารมณ์ของเราก่อน ไม่งั้น สมองของเราจะวิ่งพล่านไปหมด ทำให้เราเสียสติ เสียสมาธิ และไม่สามารถควบคุมตนเองได้ชั่วขณะจนกว่า สติจะมา และเมื่อเราตั้งสติได้แล้ว ให้ใช้คาถาที่ 2 คือ ก็ดีนะ แล้วหใ้เหตุผลว่า เหตุการณ์นี้ เราได้อะไร จากการยกตัวอย่างว่า เมื่อเราพบว่าคนข้างบ้านติดไวรัส ก็บอกว่า ก็ดีนะ เราจะได้ไปตรวจให้ชัดๆ เลยว่า เรายังติดไวรัสอยู่มั้ย หายสงสัยสักที (เพราะปกติถ้าไม่ใช่คนเสี่ยงติดโรค โรงพยายาลไม่ตรวจสอบให้)
.
.
6) ทำความเข้าใจกับการเปลี่ยนแปลง เพราะว่า เมื่อโลกเปลี่ยนแปลงไป เราทำผลเหมือนเดิม แต่จะไม่ได้ผลตามเดิม เมื่อเราเข้าใจสัจธรรมของโลกแล้ว เราก็เล่มสนุกกับการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ในวิธีการชีวิตและการปรับตัวใหม่ๆ ของเราไปสู่การสร้างความสุข สร้างผลงาน สร้างรายได้ของตัวเองในวิธีการใหม่ๆ ได้อีก
.
.
7) อย่าอุดอู้อยู่คนเดียว ใช้เทคโนโลยีคุยและติดต่อกับคนอื่นด้วย ช่วยสร้างอะไรใหม่ๆ ชวนทำงานด้วยกัน ชวนกันเล่น แต่สิ่งที่ไม่ควรทำคือชวนกันวิพากษ์วิจารย์คนอื่น รวมถึงรัฐบาล เพราะการวิพากษ์วิจารย์จะเต็มไปด้วยข้อมูลเชิงลบ ถ้าไม่มีข้อมูลและความคิดเชิงลบ เราจะไม่จับกลุ่มวิจารณ์หรอก จริงๆ ไม่ใช่วิจารณ์ แต่เป็นการนินทาและการบ่น เดี๋ยวนี้ เรายังสามารถคุยกับตัวเองให้โลกเห็นได้เยอะแยะ เช่นการทำคลิป การไลฟ์สด ก็ช่วยให้เรามีความสุข ลดความเครียดลงได้เช่นกัน
.
.
8) ขอบคุณตัวเองในทุกๆ วัน ขอบคุฯการที่เรายังมีชีวิตอยู่ ขอบคุณที่เราสามารถมีอาหารทาน ขอบคุณที่เรายังไม่เสียชีวิต ขอบคุณที่เราได้พบน้ำใจจากคนรอบข้าง ขอบคุณตัวเราเองที่ยังเข็มแข็ง ให้เราขอบคุณแบบไม่ต้องอายใครเลย เพราะจะสร้างกำลังใจให้เราสามารถสร้างความสุขให้เราได้
.
.
9) ตั้งเป้าหมายในการเรียนรู้และพํ?นาตนเองในแต่ละวัน โดยที่เราต้องบอกตัวเองว่า เราจะเก่งอะไรขึ้นอีกในแต่ละวัน เราสามารถทำอะไรใหม่ๆ ที่มีประโยชน์ให้เราได้เองในแต่ละวัน สิ่งนี้จะช่วยให้เรามีการจดจ่อในการทำงาน การพัฒนาตนเอง และเป้าหมายนี้ให้เป็นเรื่องใหม่ๆ ของชีวิต โดยที่เป็นเป้าหมายที่ทไให้เราสามารถปรับตัวเองให้เข้ากับสถาการณ์ได้ เช่นการฝึกใช้โปรแกรมทำงานออนไลน์ การฝึกการใช้เทคนิคการตัดต่อวิดีโอ เพื่อการสื่อสารออนไลน์ เป็นต้น
.
.
ทั้ง 9 วิธีนี้จะช่วยให้เราสามารถเป็นคนที่มีความสุขแม้ว่าจะต้องอยู่กับบ้าน ทำงานที่บ้าน อยู่ในสถาการณ์ที่แย่ๆ แต่เราจะไม่แย่ตามสถาการณ์ได้อย่างมีความสุข
-------------------------------------------------------------------------------------------------
พูดคุยกับผู้เขียนได้ที่
Facebook Page Dr.Nara Kittimetheekul
https://www.facebook.com/DrNaraKittimetheekul
รับให้คำปรึกษา ด้านการพัฒนาตนเอง การพัฒนามนุษย์ การออกแบบระบบการทำงาน
การวิจัยการตลาด การปรับ Mindset เพื่อความสุขและความสำเร็จ
วันพฤหัสบดีที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2563
การพัฒนาตนเองเมื่อต้อง Work from Home
เมื่อ Work From Home หลายคนเป็นกังวลว่าจะทำานได้อย่างไร หลายคนรู้สึกว่าดีนะ ไม่ต้องออกจากบ้านประหยัดเวลาเดินทาง หลายคนกลับใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์จากการได้เวลากลับคืนมาในช่วงนี้ หลายคนบอกว่า มีเวลาเพิ่มขึ้น เพราะงานบางอย่างไม่สามารถทำงานได้จากที่บ้านจริงๆ จึงทำให้ปริมาณงานลดลง จากหลากหลายความคิด พบว่าสิ่งที่เกิดขึ้นแน่ๆ คือการมีเวลาอยู่กับบ้านมากขึ้น และเมื่อทุกอย่างเข้าเหตุการณ์ปกติ ทุกคนจะต้องกลับมาทำงานในวิธีการที่เคย อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงไปบ้าง
.
.
แต่สิ่งที่น่าคิดและน่าสนใจคือ ในช่วงเวลาที่เราต้องอยู่บ้านแบบนี้ เราจะทำอะไรให้ชีิวิตของเราเก่งขึ้น เพราะการทำงานที่บ้านกับการทำงานที่สำนักงานของเราไม่เหมือนกัน ทั้งบรรยายกาศ การประสานงานรูปแบบ การส่งงาน การสั่งการ การสื่อสาร ดังนั้น การสร้างทักษะที่จำเป็นต้องใช้ในระหว่างที่เราต้อง Work From Home นั้น มีความสำคัญมากที่จะทำให้เราสามารถทำงานที่บ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ
.
.
ข้อดีของการทำงานที่บ้านอย่างมีประสิทธิภาพนั้น มีได้หลายอย่าง และจะเป็นการสร้างการเปลี่ยนแปลงในการทำงานให้มีความยืดหยุ่นขึ้นอย่างถาวรวาร เมื่อวันหนึ่งที่ต้องกลับไปทำงานกันตามปกติ เราเองยังสามารถใช้ทักษะเหล่านี้เป็นการทำงานระยะไกลได้ด้วย ข้อดีอีกประการคือ เราสามารถเรียนรู้เทคโนโลยี และเข้าสู่การเป็น Digital Transformation ได้เร็วมากยิ่งขึ้น นอกจากนั้น เราได้เรียนรู้การเปลี่ยนแปลงและรับมือการเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลันได้ดียิ่งขึ้น
.
.
ทักษะที่จะเป็นต้องมีการเรียนรู้คือ
.
ทักษะทางด้านการสื่อสารทางไกลด้วยเทคโนโลี
.
เนื่องจากการทำงานที่บ้านไม่ได้ทำงานด้วยกันตลอดเวลา ต้องอาศัยระบบการสื่อสารที่มีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ แชตแอพ VDO Call หรือ การประชุมออนไลน์ อีเมล์ Cloud Drive หรืออื่นๆ ที่มีอยู่ ซึ่งแต่ละแบบจะมีข้อเด่น และข้อจำกัดไม่เท่ากัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของคุณภาพเสียง เรื่องความสะดวกในการทำความเข้าใจ เรื่องของรูปแบบการสื่อสาร เรื่องของการมีส่วนร่วมในการสื่อสาร เราต้องเข้าใจว่าแต่ละเรื่องใช้ไม่เหมือนกัน ดังนั้น การสื่อสารทางไกล จึงเป็นประเด็นแรกที่ต้องปรับเปลี่ยนวิธีการให้เหมาะสมกับการทำงานของตัวเอง เราไม่สามารถใช้วิธีการ กระบวนการ ระเบียบข้อบังคับต่างๆ ไม่สามารถทำงานรูปแบบเดิมๆ ได้ ทักษะที่ต้องใช้ โดยเฉพาะการสื่อออก และการฟัง การอ่าน การจับประเด็นและการตีความหมาย รวมไปถึงการสรุปประเด็นการสื่อสารในแต่ละครั้ง
.
.
ทักษะการสร้างความคิดสร้างสรรค์
.
ทักษะนี้เป็นจำเป็นเนื่องจาก การทำงานที่บ้านจะมีการเปลี่ยนแปลงในชีวิตเป็นอย่างมาก การทำงานที่จะมีประสิทธิภาพได้คือคนที่สามารถปรับตัวได้ดี มีความคิดใหม่ๆ ที่สามารถสร้างประโยชน์ใหม่ๆ ได้ หรือที่เรียกว่าเป็นความคิดสร้างสรรค์ ทักษะนี้จะเป็นทักษะที่ช่วยให้การทำงานสามารถทำงานได้อย่างราบรื่น เพราะการทำงานที่บ้านย่อมมีอุปสรรคในการทำงานเป็นอย่างมาก
.
.
ทักษะการควบคุมอารมณ์และความคิด
.
ในการที่ต้องทำงานอยู่ที่บ้าน ความเครียดที่เกิดขึ้น เกิดจากที่เราเองได้เคยออกจากบ้านแล้วไม่ได้ออกจากบ้าน ได้เคบพบปะผู้คนก็ไม่ได้พบ ทำให้เรารู้สึกหงุดหงิด อยากทำอะไรก็ทำไม่ได้ ไม่ได้ดังใจ ดังนั้น ทักษะในการควบคุมอารมณ์และการปล่อยวางความอยากความต้องการของตัวเอง ซึ่งการควยคุมอารมณ์นั้น ต้องอาศัยเรื่องการควบคุมความคิด การเปลี่ยนแปลงจุดโฟกัสของตัวเองให้ไปโฟกัวเรื่องที่สร้างประโยชน์มากกว่าการโฟกัสเรื่องที่สร้างความทุกให้กับตัวเอง ทักษะแบบนี้เป็นทักษะการสร้างความคิดทางบวกให้กับตัวเองและจะสามารถเป็นผู้ที่มีความสุขในการใช้ชีวิตได้
.
.
ทักษะการสร้างสมาธิและการวิเคราะห์ข้อมูล
.
เนื่องจากการทำงานที่บ้าน มีโอกาสที่จะรับข้อมูลเข้ามาจากสื่อต่างๆ มากมาย และเผยแพร่ออกไปอย่างรวดเร็ว รวมทั้งการทำงานต้องทำงานแบบเบ็ดเสร็จในคนเดียวมากขึ้น เหมือนเป็นสถานีในการทำงาน คนทำงานจะต้องพึงพาตัวเองมากยิ่งขึ้น ดังนั้น การวิเคราะห์ข้อมูล การประมวลผลจึงต้องถูกพัฒนาให้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ด้วยตัวเอง ในการวิเคราะห์ข้อมูลให้มีประสิทธิภาพต้องมีสมาธิและจดจ่ออยู่กับงานที่ทำ เพื่อให้งานสำเร็จได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
.
.
ทักษะการวางแผนการทำงานและการดำเนินการตามแผน
.
การทำงานที่บ้านสิ่งที่เกิดขึ้นคือการที่ต้องทำงานด้วยตัวเองไม่มีคนบังคับให้เราทำงาน หรือมียืนสั่งงานอยู่ใกล้ๆ ดังนั้น การวางแผนการทำงานด้วยตัวเองและการบังคับตัวเองให้ดำเนินการตามแผนงานที่ได้กำหนดไว้ การหักห้ามใจไม่ให้ออกไปทำกิจกรรมอื่นๆ ที่ทำให้เราทำงานไม่เสร็จตามที่ตั้งไว้
.
.
นัอกจากนั้นแล้ว ยังมีทักษะอีกหลายอย่างที่จำเป็นซึ่งจะแตกต่างกันไปในแต่หละหน้าที่ ตำแหน่ง อาชีพ โดยแต่ละคนต้องมาตรวจสอบและพิจารณาตัวเองว่า เราจะต้องความสามารถทางด้านไหน และจะพัฒนาสิ่งเหล่านั้นได้อย่างไรเพื่อให้เราบรรลุเป้าหมายในการทำงาน
.................................................................................................................
พูดคุยกับผู้เขียนได้ที่
Facebook Page Dr.Nara Kittimetheekul
https://www.facebook.com/DrNaraKittimetheekul
รับให้คำปรึกษา ด้านการพัฒนาตนเอง การพัฒนามนุษย์ การออกแบบระบบการทำงาน
การวิจัยการตลาด การปรับ Mindset เพื่อความสุขและความสำเร็จ
.
.
แต่สิ่งที่น่าคิดและน่าสนใจคือ ในช่วงเวลาที่เราต้องอยู่บ้านแบบนี้ เราจะทำอะไรให้ชีิวิตของเราเก่งขึ้น เพราะการทำงานที่บ้านกับการทำงานที่สำนักงานของเราไม่เหมือนกัน ทั้งบรรยายกาศ การประสานงานรูปแบบ การส่งงาน การสั่งการ การสื่อสาร ดังนั้น การสร้างทักษะที่จำเป็นต้องใช้ในระหว่างที่เราต้อง Work From Home นั้น มีความสำคัญมากที่จะทำให้เราสามารถทำงานที่บ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ
.
.
ข้อดีของการทำงานที่บ้านอย่างมีประสิทธิภาพนั้น มีได้หลายอย่าง และจะเป็นการสร้างการเปลี่ยนแปลงในการทำงานให้มีความยืดหยุ่นขึ้นอย่างถาวรวาร เมื่อวันหนึ่งที่ต้องกลับไปทำงานกันตามปกติ เราเองยังสามารถใช้ทักษะเหล่านี้เป็นการทำงานระยะไกลได้ด้วย ข้อดีอีกประการคือ เราสามารถเรียนรู้เทคโนโลยี และเข้าสู่การเป็น Digital Transformation ได้เร็วมากยิ่งขึ้น นอกจากนั้น เราได้เรียนรู้การเปลี่ยนแปลงและรับมือการเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลันได้ดียิ่งขึ้น
.
.
ทักษะที่จะเป็นต้องมีการเรียนรู้คือ
.
ทักษะทางด้านการสื่อสารทางไกลด้วยเทคโนโลี
.
เนื่องจากการทำงานที่บ้านไม่ได้ทำงานด้วยกันตลอดเวลา ต้องอาศัยระบบการสื่อสารที่มีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ แชตแอพ VDO Call หรือ การประชุมออนไลน์ อีเมล์ Cloud Drive หรืออื่นๆ ที่มีอยู่ ซึ่งแต่ละแบบจะมีข้อเด่น และข้อจำกัดไม่เท่ากัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของคุณภาพเสียง เรื่องความสะดวกในการทำความเข้าใจ เรื่องของรูปแบบการสื่อสาร เรื่องของการมีส่วนร่วมในการสื่อสาร เราต้องเข้าใจว่าแต่ละเรื่องใช้ไม่เหมือนกัน ดังนั้น การสื่อสารทางไกล จึงเป็นประเด็นแรกที่ต้องปรับเปลี่ยนวิธีการให้เหมาะสมกับการทำงานของตัวเอง เราไม่สามารถใช้วิธีการ กระบวนการ ระเบียบข้อบังคับต่างๆ ไม่สามารถทำงานรูปแบบเดิมๆ ได้ ทักษะที่ต้องใช้ โดยเฉพาะการสื่อออก และการฟัง การอ่าน การจับประเด็นและการตีความหมาย รวมไปถึงการสรุปประเด็นการสื่อสารในแต่ละครั้ง
.
.
ทักษะการสร้างความคิดสร้างสรรค์
.
ทักษะนี้เป็นจำเป็นเนื่องจาก การทำงานที่บ้านจะมีการเปลี่ยนแปลงในชีวิตเป็นอย่างมาก การทำงานที่จะมีประสิทธิภาพได้คือคนที่สามารถปรับตัวได้ดี มีความคิดใหม่ๆ ที่สามารถสร้างประโยชน์ใหม่ๆ ได้ หรือที่เรียกว่าเป็นความคิดสร้างสรรค์ ทักษะนี้จะเป็นทักษะที่ช่วยให้การทำงานสามารถทำงานได้อย่างราบรื่น เพราะการทำงานที่บ้านย่อมมีอุปสรรคในการทำงานเป็นอย่างมาก
.
.
ทักษะการควบคุมอารมณ์และความคิด
.
ในการที่ต้องทำงานอยู่ที่บ้าน ความเครียดที่เกิดขึ้น เกิดจากที่เราเองได้เคยออกจากบ้านแล้วไม่ได้ออกจากบ้าน ได้เคบพบปะผู้คนก็ไม่ได้พบ ทำให้เรารู้สึกหงุดหงิด อยากทำอะไรก็ทำไม่ได้ ไม่ได้ดังใจ ดังนั้น ทักษะในการควบคุมอารมณ์และการปล่อยวางความอยากความต้องการของตัวเอง ซึ่งการควยคุมอารมณ์นั้น ต้องอาศัยเรื่องการควบคุมความคิด การเปลี่ยนแปลงจุดโฟกัสของตัวเองให้ไปโฟกัวเรื่องที่สร้างประโยชน์มากกว่าการโฟกัสเรื่องที่สร้างความทุกให้กับตัวเอง ทักษะแบบนี้เป็นทักษะการสร้างความคิดทางบวกให้กับตัวเองและจะสามารถเป็นผู้ที่มีความสุขในการใช้ชีวิตได้
.
.
ทักษะการสร้างสมาธิและการวิเคราะห์ข้อมูล
.
เนื่องจากการทำงานที่บ้าน มีโอกาสที่จะรับข้อมูลเข้ามาจากสื่อต่างๆ มากมาย และเผยแพร่ออกไปอย่างรวดเร็ว รวมทั้งการทำงานต้องทำงานแบบเบ็ดเสร็จในคนเดียวมากขึ้น เหมือนเป็นสถานีในการทำงาน คนทำงานจะต้องพึงพาตัวเองมากยิ่งขึ้น ดังนั้น การวิเคราะห์ข้อมูล การประมวลผลจึงต้องถูกพัฒนาให้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ด้วยตัวเอง ในการวิเคราะห์ข้อมูลให้มีประสิทธิภาพต้องมีสมาธิและจดจ่ออยู่กับงานที่ทำ เพื่อให้งานสำเร็จได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
.
.
ทักษะการวางแผนการทำงานและการดำเนินการตามแผน
.
การทำงานที่บ้านสิ่งที่เกิดขึ้นคือการที่ต้องทำงานด้วยตัวเองไม่มีคนบังคับให้เราทำงาน หรือมียืนสั่งงานอยู่ใกล้ๆ ดังนั้น การวางแผนการทำงานด้วยตัวเองและการบังคับตัวเองให้ดำเนินการตามแผนงานที่ได้กำหนดไว้ การหักห้ามใจไม่ให้ออกไปทำกิจกรรมอื่นๆ ที่ทำให้เราทำงานไม่เสร็จตามที่ตั้งไว้
.
.
นัอกจากนั้นแล้ว ยังมีทักษะอีกหลายอย่างที่จำเป็นซึ่งจะแตกต่างกันไปในแต่หละหน้าที่ ตำแหน่ง อาชีพ โดยแต่ละคนต้องมาตรวจสอบและพิจารณาตัวเองว่า เราจะต้องความสามารถทางด้านไหน และจะพัฒนาสิ่งเหล่านั้นได้อย่างไรเพื่อให้เราบรรลุเป้าหมายในการทำงาน
.................................................................................................................
พูดคุยกับผู้เขียนได้ที่
Facebook Page Dr.Nara Kittimetheekul
https://www.facebook.com/DrNaraKittimetheekul
รับให้คำปรึกษา ด้านการพัฒนาตนเอง การพัฒนามนุษย์ การออกแบบระบบการทำงาน
การวิจัยการตลาด การปรับ Mindset เพื่อความสุขและความสำเร็จ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
-
หลังจากการเลือกตั้งของประเทศไทยปี 2566 ผ่านพ้นไป ได้เห็นคะแนนกันไปแล้ว ส่วนการจัดตั้งรัฐบาลจะเป็นอย่างไรก็เป็นเรื่องของผู้ที่เกี่ยวข้องไปจัด...
-
การวางแผนงบประมาณเชิงกลยุทธ์ งบประมาณเป็นแผนที่ทุกองค์กรต่างให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะว่าเป็นแผนที่ควบคุมการรับเงินและการจ่ายเงินขององค...
-
กระบวนการการจัดการข้อมูลขององค์กร Organizational Data Management Process การเปลี่ยนแปลงทางสภาพสังคมเศรษฐกิจ ของมนุษย์ในช่วงยุคอุตสาหกรรม...