วันเสาร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2563

การปรับตัวของแรงงานไทยในนิวนอร์มอล

 #เผื่อใครจะได้เห็น แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจประเทศไทย ตอนที่ 2 #บทความนี้ตั้งใจไม่มีรูป

เมื่อภาวะเศรษฐกิจย่ำแย่ สิ่งแรกที่ธุรกิจคิดถึงคือการปรับลดแรงงาน เพราะโดยปกติแล้วค่าแรงเป็นต้นทุนที่มีขนาดใหญ่มากในโครงสร้างต้นทุนของธุรกิจเกือบทุกประเภท
.
หลายคนก็บอกกันว่า งั้นเรามาพัฒนาฝือมือแรงงานกันเถอะ อันนี้นับว่าเป็นเรื่องดี และเห็นด้วย
.
แต่มองกันลึกๆ แล้วแค่ฝือมือแรงงานอย่างเดียวไม่พอ เพราะฝีมือแรงงานส่วนใหญ่คือแรงงานทำงานได้งานที่มีคุณภาพ
.
แต่ในทางธุรกิจแล้วต้องการ คุณภาพ ผลิตภาพ ประสิทธิภาพ และประสิทธิผล นั่นคือแรงงานที่ต้องการหรือแรงงานในฝันของธุรกิจ
.
อัตราค่าแรงที่ธุรกิจอยากจ่าย จริงๆ แล้วไม่ใช่แรงงานขั้นต่ำ หากแรงงานคนนั้น 1 คนทำงานให้ธุรกิจได้มาก ธุรกิจเองก็อยากจ่ายมากขึ้นเช่นกัน
.
มุมมองคือความคุ้มค่าของธุรกิจว่าเงินทุกบาทที่จ่ายไปนั้น จะได้เงินกลับคืนมาเท่าไหร่ มากกว่าแรงงานมีฝีมือมากขนาดไหน
.
ประเด็นการพัฒนาแรงงานคือ ฝีมือการทำงาน มากกว่าฝีมือแรงงาน หมายถึง แรงงาน 1 คนสร้างมูบค่างานให้ธุรกิจได้ขนาดไหน อันเกิดจากความสามารถในการใช้เครื่องมือ ความสามารถในการแก้ปัญหา ความสามารถในการทำงานร่วมกับคนอื่น ความสามารถในการควบคุมงาน
.
มิติของแรงงาน มีหลายมิติมากกว่า ทักษะเชิงช่าง และทักษะการผลิต ในอนาคต แรงงาน 1 คนต้องทำงานแทนหลายๆ คนในปัจจุบันได้
.
หากการจ้างงานยังคงใช้การกำหนดค่าแรงขั้นต่ำไปเรื่อยๆ นั่นย่อมเป็นการบังคับให้โครงสร้างการจ้างงานบิดเบี้ยว ค่าแรงไม่ได้สะท้อนมูลค่าของงานที่แรงงานทำได้อย่างแท้จริง
.
ยิ่งต่อไปในยุคนิวนอร์มอล การจ้างงานประจำจะลดลง เปลี่ยนเป็นการจ้างตามชิ้นงานมากขึ้น หมายความว่า คน 1 คนต้องทำได้หลายอย่างมากขึ้น และสามารถรับงานได้หลายทางมากขึ้นถ้ามีความสามารถ
.
เนื่องจากธุรกิจมองที่ต้นทุนมากขึ้น ต้นทุนการเงิน ต้นทุนเวลา ต้นทุนการบริหาร ต่างๆ นานาที่ต้องใช้กับการจ้างพนักงงานประจำ 1 คน
.
ประเทศไทยพร้อมหรือยังที่กำลังเผชิญหน้ากับความท้าทายแรงงาน แต่ถ้าเราก้าวข้ามได้ เราจะข้ามกับดักรายได้ปานกลาง เราจะมีแรงงานที่มีรายได้คุ้มกับรายจ่ายมากกว่าทุกวันนี้
.
เราต้องมาจริงจังกับการพัฒนาฝีมือการทำงาน แทนการพัฒนาฝีมทอแรงงานแต่เะียงอย่างเดียว ซึ่งฝีมือการทำงานนั้น สามารถพัฒนาได้ทุกระดับ ไม่ได้ขึ้นกับระดับการศึกษาแต่อย่างใด แค่ทำให้แรงงานไทย #คิดเป็น #เน้นผลลัพธ์ #ปรับตัวเก่ง #เร่งมือทำงาน #ประสานคนรอบข้าง
.
.
หากท่านที่อ่านถึงตรงนี้คิดว่าบทความนี้มีประโยชน์โปรดช่วยแชร์ช่วยกันส่งต่อให้ถึงผู้ที่เกี่ยวข้อง
.
หากใครเห็นว่าสามารถช่วยให้ประเทศพัฒนาขึ้น ยินดีร่วมงานทุกอย่าง
.
.
ดร.นารา