จากการที่มองการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลด้วยเงินกู้ 1.9 ล้านล้าน แบ่งเป็น 1 ล้านล้านใช้เพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ อีก 9 แสนล้าน เป็นการบริหารการเงิน ซึ่งมาตรการการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยส่วนใหญ่รัฐบาลพยายามใช้เรื่องของการกระตุ้นการบริโภค การซื้อสินค้าเพื่อการบริโภค การท่องเที่ยวภายในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง เราเที่ยวด้วยกัน จ่ายคนละครึ่ง เงินที่ให้กับบัตรสวัสดิการของรัฐ ช็อปชดีมีคืน ซึ่งก็ถือว่าเป็นมาตรการที่ช่วยให้เกิดเงินหมุนเวียนทางเศรษฐกิจ (ทางทฤษฎี)
วันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2563
เสนอแนวคิดในการใช้วิกฤติโควิตเพื่อสร้างเศรษฐกิจประเทศ
วันอังคารที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2563
เมื่อเงินเฟ้อไม่ได้สร้างประโยชน์ที่แท้จริงทางเศรษฐกิจ
ในการเปลี่ยนแปลงของระบบการเงินโลกย่อมมีการสร้างผลกระทบกับสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ นับตั้งแต่ยุคการเปลี่ยนแปลงระบบการเงินโดยการใช้ระบบการเงินมาตรฐานทองคำในปี 1870 เป็นระบบแรกของการเงินระหว่างประเทศ โดยการอ้างอิงค่าเงินของแต่ละประเทศไว้กับทองคำ ระบบนี้ใช้งานได้ดีเมื่อโลกอยู่ในสภาวะสงบสุขและการนำเข้าส่งออกทองคำยังสามารถทำงานได้เป็นปกติ
.
ระบบมาตรฐานทองคำ อธิบายง่ายๆ คือการผลิตเงินให้ได้เท่ากับจำนวนทองคำที่เอามาสำรองเอาไว้ในคลัง และเวลาแลกเปลี่ยนกัน ก็จะมีการคำนวนค่าตามปริมาณทองคำ หรือปริมาณเงินก็จะไปสะท้องปริมาณทองคำด้วย แต่ระบบนี้เกิดปัญหาขึ้นในช่วงสงครามดลกครั้งที่ 2 เพราะการเคลื่อนย้ายทองคำไม่เป็นไปตามปกติ หลังจากนั้น มีความต้องการใช้เงินเพิ่มขึ้นในปริมาณมากๆ หลักจากสงครามโลกครั้งที่ 2 เพราะเกิดเศรษฐกิจเติบโด และทองคำไม่สามารถผลิตออกมาได้ทันต่อความต้องการปริมาณเงินที่เพิ่มขึ้น ระบบนี้จึงขาดความยืดหยุ่นได้ จึงต้องหาทางการเทียบค่าปริมาณเงินด้วยระบบอื่นแทน
.
ระบบการเงินจึงได้มีการพัฒนามากขึ้นได้มีการให้ความสำคัญทางการบริหารเงินมากขึ้น เพราะเงินถือว่าเป็นตัวแทนของการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ มีความคล่องตัว มากในการใช้เงินเป็นสื่อกลาง จนในปี 1936 ได้มีงานตีพิมพ์ เรื่อง The General Theory of Employment, Interest and Money โดย จอห์น เมนาร์ท เคนส์ เป็นการอธิบายสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในประเทศอังกฤษ ที่ใช้แนวคิดจากแต่เดิมว่า ในระบบเศรษฐกิจ จะไม่มีทางมีอุปทานส่วนเกิน เพราะมือที่มองไม่เห็นจะจัดการอุปสงค์และอุปทานเหล่านั้นให้เข้าสมดุลย์เสมอ
.
แนวคิดของ เคนส์ ได้ให้ความสำคัญกับการใช้ปริมาณเงิน อัตราดอกเบี้ย ในการควบคุมการจัดการอุปสงค์และอุปทาน เพราะเชื่อว่า มีกลไกทางการเงินสามารถช่วยให้คนตัดสินใจเพิ่ม-ลด การบริโภค หรือ การผลิตได้ โดยรัฐบาลและธนาคารกลางเป็นผู้กำกับดูแล นั่นเป็นจุดเริ่มต้นของการที่ทุกคนให้ความสำคัญกับเงิน และเงินจึงหลายเป็นตัวแทนของความมั่งคั่ง
.
จากวันนั้น ถึงวันนี้ เป็นเวลาเกือบ 100 ปีที่ทุกประเทศต่างให้ความสำคัญกับจำนวนเงินในการบริหารทางเศรษฐกิจ จนสร้างเครื่องมือมาวัดความมั่งคั่งโดยเน้นการวัดด้วยปริมาณเงินเป็นหลัก เช่น GDP หรือผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ, NI หรือ รายได้ประชาชาติ, อัตราหนี้สาธรณะ, อัตราหนี้ควรเรือน, ตัวทวีของปริมาณเงิน, อัตราดอกเบี้ยนโยบาย, อัตราเงินเฟ้อเป้าหมาย เป็นต้น ทั้งหมดนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นการเพิ่มขนาดของ GDP ในแต่ละประเทศ และเพิ่มขนาดของ GDP per Capita หรือ รายไ้ด้ต่อหัว
.
เครื่องมือท่สำคัญที่ช่วยให้อัตราการเติบโตของรายได้เพิ่มขึ้นคือเงินเฟ้อ โดยนักเศรษฐศาสตร์ให้ข้ออ้างว่า เงินเฟ้อเป็นแรงจูงใจในการผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น และด้วยเงินเฟ้อนี้เอง ทำให้ระยะเวลา 100 ปีที่ผ่านสร้างอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ จะเดิมก่อนช่วง ปี 1900 มีอัตราการเติบโตเศรษฐกิจโลกโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 0.5-1.5% ต่อปี เป็น 3.5-5% ต่อปี และมีบางประเทศ สามารถสร้างเรื่องมหัศจรรย์ได้คือการเติบโตที่ 10% ขึ้นไปต่อปี ทั้งหมดนี้เป็นผลมาจากการใช้นยบายทางการเงิน ร่วมกับนโยบายการผลิต เพื่อเร่งให้เกิดการลงทุนโดยดารใช้กลไกทางการเงินเป็นสื่อกลาง
.
แต่อย่างไรก็ตาม ทุกอย่างย่อมมีการเปลี่ยนแปลง ตั้งแต่ปี 1999 อัตราเงินเฟ้อในโลกกลับลดลง อย่างมีนัยสำคัญ จากเดิมประมาณ 6-8% ลงมาเหลือ 2-3% ต่อปี สิ่งที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของอัตราเงินเฟ้อ ที่ลดลง เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของขนาดธุรกิจ การเข้ามาใหม่ของธุรกิจทั่วโลก รวมไปถึงการเกิดเทคโนโลยีใหม่ทางด้านพลังงาน ทำให้อัตราค่าพลังงานลดลง ดังนั้น ราคาสินค้าที่เกิดขึ้นจึงมีอัตราการเพิ่มขึ้นที่น้อยลง เพราะทุกคนต่างมุ่งเน้นการผลิตที่ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สุดท้ายราคาของสินค้าและบริการหลายๆ ไม่สามารถเพิ่มขึ้นได้ โดยเฉพาะอาหารสด แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีสินค้าทางเทคโนโลยีหลายๆ อย่าง และสินที่ที่มีแนวโน้มการผูกขาดยังสามารถเพิ่มราคาในแต่ละปีได้ แต่อย่างไรก็ตาม ราคาที่ถูกบีบให้ขึ้นน้อยมาก คือ ราคาของแรงงานไร้ฝีมือ และ กึ่งมีฝีมือ เพราะเป็นต้นอย่างแรกๆ ที่ภาคธุรกิจจะพยายามควบคุม เนื่องจาก เห้นว่า เป็นส่วนที่สร้างภาระทางต้นทุนมากที่สุด
.
วัฎจักรของเงินเฟ้อเริ่มถูกทำลาย เพราะการบีบของต้นทุน และราคาที่มีการแข่งขันจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนธุรกิจขนาดเล็ก โดยเแฑาะเมื่อเทคโนโลยีทำให้ธุรกิจขนาดเล็กสามารถแข่งขันกับธุรกิจขนาดใหญ่มากยิ่งขึ้น ดังนั้น การใช้การเติบโตของ GDP ที่มีการแฝงเอาไว้ด้วยอัตราเงินเฟ้อนั้น ไม่มีความแม่นยำในการวัดความมั่งคั่งของประชาชนอีกต่อไป
.
คำถามที่สำคัญว่า อะไรเป็นตัวสะท้อนความมั่งคั่งที่แท้จริงของมนุษย์
.
คำตอบนั้น ต้องย้อนกลับไปที่พื้นฐานที่แท้จริงของการสร้างสังคมมนุษย์ สิ่งนั้นคือความมั่นคงทางการใช้ชีวิต ของมนุษย์ ความปลอดภัยในการใช้ชีวิต ความสามารถในการหาพลังงานในการดำรงชีวิต การรักษาสุขภาพร่างกายและจิตใจของมนุษย์ให้มีความสุข กล่าวรวมๆ คือ การกินดีอยู่ดี ภายในบริบทของเทคโนโลยีขนาดใหญ่ นั่นหมายความว่า เงินเฟ้อ กลับไม่มีประโยชน์อย่างแท้จริงในการพัฒนาเศรษฐกิจ
.
ผู้จัดทำนโยบาย ต้องเปลี่ยนแนวคิดในการพัฒนาเศรษฐกิจ และมีความชัดเจนในการมุ่งหาการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างทางเศรษฐกิจสังคมในระยะยาว ต้องเฉียบคมในการอ่านภาพอนาคตต่อการเปลี่ยนแปลงที่ระบบการเงินไม่มีความสำคัญที่สุดของชีวิตมนุษย์ เงินกลับกลายเป็นแค่เครื่องมือช่วยในการแลกเปลี่ยนความมั่งคั่งของมนุษย์เท่านั้น
.
สิ่งเหล่านี้จะมาอยู่ในรูปแบบของเงินดิจิตัล ที่มีหลายๆ ค่ายกำลังพยายามสร้างขึ้นมา นั้นหมายความว่า การก้าวข้ามการบริหารเงินกำลังจะเกิดขึ้น และการแลกเปลี่ยนความมั่งคั่งหรือความกินดีอยู่ดีนั้น จะทำได้ง่ายขั้นด้วยเทคโนโลยี อุปสงค์และอุปทานต่างๆ จะพบกันได้ง่ายขึ้น ผ่านทางเทคโนโลยีการสื่อสารดิจิตัลที่กำลังทวีความเข้มข้นในการพัฒนาไปมากยิ่งขึ้น
.
เงินเฟ้อ GDP ปริมาณเงิน จึงไม่ใช่เครื่องมือที่เป็นหัวใจในการพัฒนาเศรษฐกิจที่สำคัญอีกแต่ไป หากวันนี้ ในปี 2020 กำลังอยู่ในช่วงของการเปลี่ยนถ่ายตัวกลางในการแลกเปลี่ยนความมั่งคั่งของโลก
.
.
ดร.นารา กิตติเมธีกุล
พูดคุยกับผู้เขียนได้ที่
Facebook Page Dr.Nara Kittimetheekul
https://www.facebook.com/DrNaraKittimetheekul
รับให้คำปรึกษา ด้านการพัฒนาตนเอง การพัฒนามนุษย์ การออกแบบระบบการทำงาน
การวิจัยการตลาด การปรับ Mindset เพื่อความสุขและความสำเร็จ
วันจันทร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2563
เมื่อ โควิด-19 ทำให้รู้ว่า GDP ไม่ได้วัดความมั่งคั่งได้อีกต่อไป
เมื่อเกิดการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ทั่วโลกต่างหยุดชะงักทั้งทางด้านการเดินทาง กิจกรรมต่างๆ และสภาวะเศรษฐกิจ สาเหตุหลักๆ คือ มนุษญ์ไม่สามารถเดินทาง และมาพบปะกันได้ การเกิดกิจกรรมทางกายภาพจึงต้องหยุดไปอย่างทันที ธุรกิจจำนวนมากที่ไม่สามารถปรับตัว ปรับเปลี่ยนได้ ก็ประสบปัญหาทางธุรกิจ
.
หากมาคิดให้ลึกลงไปการเกิดปัญหาสภาวะเศรษฐกิจนั้นคือ การที่คน ธุรกิจ และประเทศมีปริมาณเงินหมุนเวียนน้อยลง หรือบางแห่งอาจะถึงขั้นไม่มีเลย เพราะไม่สามารถมีธุรกรรมแลกเปลี่ยนในทางเศรษฐกิจที่เอาเงินเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนได้
.
การปรับตัวของประเทศ ที่ไม่ได้มีพื้นฐานทางการเกษตร ก็กลับมาเน้นการบริโภคภายในประเทศ หรือเรียกให้เข้าใจได้ง่ายกว่านั้นคือ การผลิตเองใช้เองภายในประเทศ การสร้างบริการเองในประเทศ และการท่องเที่ยวในประเทศ จะสังเกตุได้ว่า ประเทศที่มีฐานการผลิตในประเทศที่แข็งแกร่ง ที่สามารถผลิตสินค้าและบริการต่างๆ เพื่อสนองความต้องการของประชาชนในประเทศได้มากเท่าใด ประเทศเหล่านั้น ได้รับผลกระทบไม่หนักเท่ากับประเทศที่ต้องอาศัยการส่งออกเป็นหลัก หรือ การท่องเที่ยวแต่เพียงอย่างเดียว โดยเฉพาะประเทศที่มีการท่องเที่ยวในสัดส่วนที่สูงเมื่อเทียบกับรายได้ของประเทศ (ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาติ : GDP)
.
ความเปราะบางหรือความสามารถในการทนรับกับวิกฤติของประเทศได้คือ ประเทศสามารถเลี้ยงตัวเอง และมีความมั่นคงทางอาหารขนาดไหน หรือจำเป็นต้องพึ่งพาการเคลื่อนไหวของเงินและผู้คนจากต่างประเทศเป็นหลัก หากพิจารณาง่ายๆ คือ เมื่อประเทศต้องปิดประเทศลงแล้ว ประชาชนอดอยากขนาดไหน อาหารที่สามารถนำมาหล่อเลี้ยงประชาชนนั้น เพียงพอขนาดไหน กลุ่มประเทศที่มีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจภายในเช่น จีน เยอรมัน เป็นต้น เพราะเป็นประเทศที่ที่มีทั้งอุตสาหกรรม การเกษตร และสามารถพึ่งพาตัวเองได้แม้ว่าไม่สามารถเดินทางไปมาหาสู่กันได้ ส่วนประเทศที่มีความเปราะบางมาก อย่างเช่น มัลดีฟส์ ที่รายได้ส่วนใหญ่ เป็นรายได้จากการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวต่างชาติ และมีการเกษตรในขนาดที่เล็กมาก จนต้องนำเข้าอาหารส่วนใหญ่มาจากอินเดีย และบังคลาเทศ
.
ในอีกกลุ่มประเทศที่มีพื้นฐานของประชากรส่วนใหญ่อยู่ภาคการเกษตร กลุ่มประเทศเหล่านี้ ก็มีการปรับลดลงของ GDP เช่นเดียวกัน เพราะยังคงมีบางส่วนที่อาศัยการแลกเปลี่ยนสินค้าโดยการใช้ตัวเงินเป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยน แต่ประเทศเหล่านี้ กลับมีความมั่นคงทางอาหาร เพราะสามารถผลิตอาหารเองได้ กลุ่มประเทศเหล่านี้ แม้ว่าประชาชนอาจจะไม่มีใช้สินค้าบางประเทศ แต่ก็ยังมีกิน เพราะสามารถผลิตอาหารที่มีความหลากหลายได้ในประเทศของตัวเอง อย่างประเทศ CLMV หรือประเทศที่มีระบบค่อนข้างปิดตัวเองอยู่แล้ว อย่างเช่น ภูฏาน (Bhutan) เป็นประเทศที่ไม่ได้พึ่งพา GDP เป็นเครื่องมือชี้วัดหลักในการพัฒนาประเทศ แต่กลับใช้ GHP เป็นดัชนี้ชี้วัดการพัฒนาประเทศ
.
นอกจากการปรับตัวของภาคธุรกิจแล้ว ยังมีการปรับตัวเพื่อการเอาตัวรอดของผู้คนคือการประหยัดและทำการผลิตสินค้าต่างๆ เพื่อการบริโภคด้วยตัวเองมากขึ้น เหตุการณ์แบบนี้เรียกว่า Procumer ผลิตเพื่อการบริโภค มาจากคำว่า Produce และ Consumer เช่น การปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ เพื่อการบริโภคในครัวเรือน เป็นการลดค่าใช้จ่าย หรือการ ลงมือซ่อมบ้าน สร้างเครื่องใช้ในบ้านด้วยตัวเอง การทำอาหารเอง อย่างเช่นที่ผ่านมา ในประเทศไทย หม้อทอดไร้น้ำมัน ขายดีมาก เพราะทุกคนหันมาทำอาหารเองที่บ้าน
.
ผลกระทบของ Procumer ที่มีต่อระบบเศณษฐกิจ คือ การลดลงของ GDP เนื่องจากประชาชนมีการบริโภคโดยไม่ได้ใช้เงินเป็นสื่อกลางมากขึ้น แต่กลับมีการเพิ่มขึ้นของความมั่งคั่ง เพราะประชาชนสามารถบริโภคได้มากขึ้นเพราะไม่ต้องใช้เงิน นั่นหมายความว่า จะเกิดความย้อนแย้งของระบบเศรษฐกิจ 2 ระบบในสังคมเดียวกัน โดยเฉพาะในประเทศที่อาศัยระบบการวัดความมั่งคั่งด้วย GDP เป็นหลัก ความย้อนแย้งนี้จะเกิดขึ้นอย่างชัดเจนในะระบบการเงิน และสถาบันการเงิน เพราะเป็นหน่วยงานที่เป็นตัวกลางของการแลกเปลี่ยนด้วยเงิน และ กระตุ้นการเติบโตด้วยการเพิ่มปริมาณการหมุนเวียนของเงิน (หากใครสงสัยให้กลับไปดูเรื่องการเพิ่มปริมาณจากการปล่อยสินเชื่อในวิชาเศรษฐศาสตร์มหาภาค)
.
ความท้าทายของการดูแลระบบเศรษฐกิจในยุคหลังจากนี้ไป ผู้คนเริ่มมีแนวคิดที่เปลี่ยนแปลงไปจากการพึ่งพาการเงิน เพียงอย่างเดียว ไปสู่การเข้าสู่ภาคการผลิตในครัวเรือนมากยิ่งขึ้น ดังนั้น การออกแบบความสามารถและทักษะของคนในประเทศ ถึงเวลาแล้วที่ต้องออกแบบให้สามารถทำได้หลายอย่างในคนคนเดียว และมีอย่างน้อย 1 อย่างที่เก่งกว่าคนอื่น หมายความว่า ระบบการศึกษาต้องมีการออกแบบใหม่ โดยการให้การศึกษาในระบบ เป็นการสร้างความสามารถที่รอบด้าน และเสริด้วยการศึกษานอกระบบที่ให้เกิดความสามารถที่โดดเด่นมายิ่งขึ้น เพื่อเตรียมความพร้อมในการเปลี่ยนแปลงการผลิต จากการมุ่งเน้นการผลิตแต่เพียงอย่างเดียว เพื่อทำให้เกิดการประหยัดต่อขนาด ไปสู่การผลิตหลายอย่าง และสร้างการประหยัดในการผลิตจากประสิทธิภาพแม้ว่าจะมีการผลิตแต่เพียงน้อยชิ้นก็ตาม
.
ทิศทางขององค์กรธุรกิจ จะมีขนาดเล็กลง มีความเป็นอิสระสูงขึ้น และมีการรวมตัวในรูปแบบของพันธมิตรมากกว่า การจัดตั้งเป็นองค์กรเดียวมากขึ้น เพราะทุกคน จะผันตัวมาเป็นหน่วยการผลิตมากขึ้น ส่วนเรื่องการแลกเปลี่ยนนั้น มีแนวโน้มในการแลกเปลี่ยนด้วยตัวสินค้า เทคโนโลยี และแรงงานโดยตรงมากขึ้น มากกว่า แลกเปลี่ยนด้วยสินค้า ผู้คนจะเริ่มวัดมูลค่าของสิ่งที่มาแลกเปลี่ยนน้อยลง แต่กลับมีคำว่าช่วยๆ กันมากขึ้น เช่น การทำงานเพื่อแลกกับเครือข่ายทางธุรกิจ การทำงานเพื่อแลกกับการประชาสัมพันธ์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่สามารถวัดมูลค่าได้ และที่สำคัญ ต้นทุนของผู้ให้ กับมูลค่าของผู้รับ ไม่เท่ากัน
.
ระบบการวัดการเติบโตทางเศรษฐกิจ ไม่อาจวัดได้ด้วย GDP แต่เพียงอย่างเดียวได้อีกต่อไป สังคมกลับมีมิติของความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ทรัพย์สินที่มีตัวตนจะน้อยลง ไปเป็นการแฝงเอาไว้กับทรัพย์สินชนิดอื่นๆ มากยิ่งขึ้น เช่น สำนักงานจะมีน้อยลง กลับไปใช้ร่วมกับ พื้นที่ในบ้าน ร้านกาแฟ หรือ ห้องสำนักงานให้เช่าชั่วคราวรายชั่วโมง มากขึ้น ดังนั้น มิติการวัดของการเติบโตทางเศรษฐกิจ คงตั้งวัดที่ตัวความมั่งคั่งที่แท้จริงดังต่อไปนี้มากกว่า GDP
1. มูลค่าทรัพย์สินรวมรวมสุทธิภาคประชาชน หรือ ปริมาณเงินของภาคประชาชนหักด้วย หนี้ภาคประชาชน
2. มุลค่าทรัพย์สินรวมสุทธิภาคธุรกิจ หรือ ปริมาณทรัพย์สินของภาคธุรกิจหักด้วยหนี้ภาคธุรกิจ
3. ปริมาณพลังงานสุทธิในการบริโภค หรือ จำนวนพลังงานเฉลี่ยต่อคนต่อวันในการรับเข้าร่างกาย เทียบกับปริมาณพลังงานที่ต้องใช้ไปในแต่ละวัน ไม่รวมการออกกำลังกายเพื่อการลดน้ำหนัก
4. มูลค่าปัจจุบันสุทธิในการศึกษา หรือ ความสามารถในการหาคุณค่าในชีวิตเมื่อเทียบกับการลงทุนเพื่อการศึกษาและการพัฒนาตัวเอง
ทั้งหมดนี้เพื่อเป็นการประเมินร่วมกับ GDP ของประเทศ เป็นการวัดความมั่งคั่งของมนุษย์ในอีกมุมมองที่มีความลุ่มลึกมากยิ่งขึ้น
.
นอกจากนั้น การออกแบบระบบการผลิตในประเทศ ของแต่ละประเทศ ต้องสร้างให้มีการกระจายตัวอย่างสมดุล โดยมีบางอุตสาหกรรมเป็นแกนหลักในการค้ำจุนระบบเศรษฐกิจ ที่มีความเข้มแข็ง ไม่พึ่งพาภาคอุตสาหกรรมใดใด มากจนเกินไปอีก เช่น เรื่องของการท่องเที่ยว ก็ควรต้องมีการกระจายความเสี่ยงของกลุ่มนักท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศ มีการเชื่อมโยงกับภาคอื่นที่เป็นแกนหลักของท้องถิ่น
.
หรือการพัฒนาภาคการเกษตร หากแก้ปัญหาเฉพาะด้านราคา ก็จะกลายเป็นปัญหาที่วนเวียนกลับมาในอนาคตอีก เพราะราคานั้น ขึ้นลงตามสภาพของตลาด หรือเจ้าตลาด ดังนั้น การสร้างระบบการเกษตรที่มีความเข้มแข็งก็เป็นการลดต้นทุนการผลิต และความคุ้มค่าของการผลิตต่อแรงงานด้านการเกาตร 1 คน นั้นหมายความว่า การเพิ่มความมั่งคั่งของเกาตร 1 รายกลับเป็นเรื่องสำคัญมากกว่า การพยุงราคาผลผลิตเกษตร
.
นี่คือโจทย์ที่รัฐบาลทุกประเทศต้องขบคิด หากมากดีดีในอีกมุมหนึ่ง พบว่า นี่คือ Disruption ของภาครัฐที่จะอยู่ในตำแหน่ง หรือจะไป อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางสังคมที่ไม่ได้มาจากแต่เศรษฐกิจแต่เพียงอย่างเดียว
ดร.นารา กิตติเมธีกุล
พูดคุยกับผู้เขียนได้ที่
Facebook Page Dr.Nara Kittimetheekul
https://www.facebook.com/DrNaraKittimetheekul
รับให้คำปรึกษา ด้านการพัฒนาตนเอง การพัฒนามนุษย์ การออกแบบระบบการทำงาน
การวิจัยการตลาด การปรับ Mindset เพื่อความสุขและความสำเร็จ
-
หลังจากการเลือกตั้งของประเทศไทยปี 2566 ผ่านพ้นไป ได้เห็นคะแนนกันไปแล้ว ส่วนการจัดตั้งรัฐบาลจะเป็นอย่างไรก็เป็นเรื่องของผู้ที่เกี่ยวข้องไปจัด...
-
การวางแผนงบประมาณเชิงกลยุทธ์ งบประมาณเป็นแผนที่ทุกองค์กรต่างให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะว่าเป็นแผนที่ควบคุมการรับเงินและการจ่ายเงินขององค...
-
กระบวนการการจัดการข้อมูลขององค์กร Organizational Data Management Process การเปลี่ยนแปลงทางสภาพสังคมเศรษฐกิจ ของมนุษย์ในช่วงยุคอุตสาหกรรม...