วันศุกร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

ปั้นคนเก่ง #EP30 ปัญหาว่าด้วยเรื่องต้นทุนคงที่

 #EP30 ปัญหาว่าด้วยเรื่องต้นทุนคงที่



ต้นทุนปัญหาปวดใจของทุกธุรกิจ ไม่มีธุรกิจไหนที่ไม่มีต้นทุน จะมาก จะน้อย ก็ต้องมีต้นทุน นั่นหมายความว่า ต้นทุนเป็นธรรมชาติของธุรกิจทุกชนิดในโลกนี้ แล้วต้นทุนทำให้ธุรกิจมีปัญหาได้ยังไง คำตอบก็ง่ายๆ เลยคือ เมื่อต้นทุน มากกว่ารายได้ ก็ขาดทุน หนักๆ เข้า ก็เจ๊งไงหละ


ก่อนที่เราจะไปจัดการต้นทุน เราต้องมารู้จักธรรมชาติของต้นทุนก่อน ต้นทุน มี 2 ประเภท (จริงๆ อันนี้ใครๆก็รู้) คือต้นทุนผันแปร และ ต้นทุนคงที่ 


#ต้นทุนผันแปร หรือ Variable Cost เป็นต้นทุนที่ขึ้นกับจำหน่วยการผลิต ยิ่งผลิตมากก็จ่ายมาก แต่ถ้าไม่ผลิตเลยก็ไม่เสียต้นทุน อันนี้เป็นตัวบ่งชี้ที่สำคัญ ดังนั้น แม้ว่าค่าใช้จ่ายบางชนิดที่เปลี่ยนแปลงได้ในแต่ละเดือน แต่ไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับการผลิตสินค้าและบริการของธุรกิจ


#ต้นทุนคงที่ หรือ Fixed Cost หมายความว่า จะผลิตหรือไม่ผลิต ก็ต้องจ่ายรวมไปถึงเงินลงทุน ค่าใช้จ่ายรายเดือน ค่าการตลาด ค่าขนส่งดำเนินการที่ไม่ได้คิดตามชิ้นหรือหน่วยการผลิต (อย่างเช่นพวกเหมาเที่ยวขน) 


ต้นทุนทั้ง 2 ประเภทมีผลต่อการกำหนดราคาเป็นอย่างมาก เพราะโดยปกติแล้ว ธุรกิจที่มีต้นทุนคงที่สูงมักจาะมีต้นทุนผันแปรที่ต่ำ ธุรกิจที่มีต้นทุนผันแปรสูงต้นทุนคงที่ก็ควรจะต่ำ ถ้าต้นทุนทั้ง 2 อย่างต่ำก็ถือว่าดีมาก แต่ถ้าต้นทุนคงที่สูงและต้นทุนผันแปรก็สูงด้วย บอกง่ายๆ เลยว่าไปทำอย่างอื่นดีกว่า คำว่าต่ำ หรือสูงในที่นี้หมายถึง สัดส่วนของต้นทุนคงที่กับต้นทุนผันแปร


ปัญหามันอยู่ที่ไหน? 

ปัญหามันอยู่ที่ต้นทุนคงที่ เพราะว่า ธุรกิจจะผลิตหรือไม่ผลิตก็ต้องจ่าย ในกรณีที่ต้นุทนคงที่เป็นการลงทุนครั้งแรก ความเสี่ยงของต้นทุนคงที่นี้จะกลายเป็นการไม่สามารถทำให้ธุรกิจคืนทุนได้ หรือ ต้นทุนคงที่เป็นต้นทุนด้านค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้น เช่น ค่าเช่า เงินเดือน ค่าผ่อนชำระอาคารหรือเครื่องจักรต่างๆ นั้นหมายึความว่า ธุรกิจจะมีแรกกดดันในการวิ่งหายอดขายขั้นต่ำ เพื่อนำกำไรของยอดขายขั้นต่ำมาเป็นค่าใช้จ่ายคงที่ในทุกๆ เดือน


แสดงง่า ต้นทุนคงที่ประเภทค่าใช้จ่าย คือต้นทุนที่สร้างแรงกดดันให้กับธุรกิจ และเป็นจุดที่บอกว่าธุรกิจจะต้องดิ้นรนมากขนาดไหน แต่หากถ้าต้นทุนคงที่นั้น เป็นต้นทุนที่เกิดจากการลงทุนครั้งแรกจำนวนมาก ก็จะมีต้นทุนที่เกิดขึ้นแบบไม่ใช่กระแสเงินสดอยู่ เป็ฯค่าเสื่อมราคา หมายความว่า วันหนึ่ง เราจะต้องเอาเงินสดไปซ่อมบำรุง หรือ ซื้อทดแทนเครื่องจักร อุกรณ์ อาคารต่างๆ ที่เราเอาไว้ใช้งาน ทุกอย่างไม่มีอะไรฟรีๆ หรอก


แล้วเราจะแก้ไขอย่างไร

คำตอบคือ พยายามทำให้ต้นทุนนั้น กลายเป็นต้นทุนฝันแปร โดยเฉพาะะูรกิจขนาดเล็ก ที่จะรับแรงกดดันจากต้นทุนคงที่ได้ค่อนข้างน้อย จึงต้องรู้วิธีการบริการต้นทุนให้เป้นท้นทุนผันแปร เช่า จ่ายค่าจ้างตามชิ้นงาน เช่าเครื่องจักรตามงานที่เกิดแทนการซื้อ การให้คนอื่นทำงานแทนโดยชำระค่างานเป็นจำนวนผลงานเป็นต้น


ฟังดูง่าย แต่ธุรกิจต้องอาศัยเครือข่ายเป็นอย่างมากเพื่อที่จะสามารถผลักต้นทุนคงที่ไปให้คนอื่นที่ทำงานได้เก่งกว่าเรา ส่วนตัวเราเอง ทำในส่วนที่เก่งที่สุด สามารถบริหารต้นทุนได้ดีที่สุด เพื่อลดแรงกดดันของต้นทุนคงที่้ จนกว่าธุรกิจจะแข็งแรงพร้อมที่จะรับแรงกดดันนี้ไปบริการเองในพายภาคหน้า


ต่อไปจะมาว่าด้วยเรื่องของต้นทุนที่มองไม่เห็น ที่แอบบอยู่ในต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปร


ดร.นารา

วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

ปั้นคนเก่ง EP#29 การสร้างแบรนด์แล้วรายได้เพิ่มจริงหรือ?

 #ปัญหาว่าด้วยการสร้างแบรนด์แล้วเพิ่มรายได้จริงหรือ





จากความเดิมตอนที่แล้วเรื่องความเข้าใจเกี่ยวกับการสร้างแบรนด์ ซึ่งหลายๆ ธุรกิจพยายามสร้างขึ้นมา โดยเฉพาะธุรกิจขนาดเล็กๆ ที่พยายามสร้างแบรนด์ เพื่อมี่เป้าหมายในการเพิ่มรายได้และเติบโต 


คำถามนี้ตอบได้ไม่ยากเลยว่า #แบรนด์ ทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้นจริง แต่ต้องเป็นการสร้างแบรนด์ที่ถูกต้อง และเป็นแบรนด์จริงๆ ไม่ใช่การโฆษณาชื่อร้าน หรือการประชาสัมพันธ์แค่การรับรู้ถึงแบรนด์เท่านั้น


ย้ำกันอีกครั้ง แบรนด์ หมายถึง สิ่งที่ผู้คนจำนวนนึงที่มากพอ ให้ความรู้สึกและความหมายไปในทิศทางเดียวกันว่า ธุรกิจนี้ มีบุคลิกลักษณะเป็นอย่างไร ไว้วางใจเรื่องไหนได้บ้าง และมีอะไรที่โดดเด่น


ดังนั้น แบรนด์ จึงสะท้อนความเป็นเนื้อแท้ของธุรกิจออกมามากกว่า และถ้าเป็นแบบนั้นแล้ว หลายครั้งไม่ต้องออกเงินโฆษณาเลย แต่กลับมาผู้คนจำได้มากมาย


ขอยกตัวอย่างธุรกิจเล็กๆ ที่เก่าแก่และแบรนด์แข็งแรงมาก 2 ธุรกิจ

ธุรกิจแรกคือร้านจีฉ่อย ตำนานคู่จุฬา ถ้าเป็นชาวจุฬา หรือสามย่าน คงจะต้องรู้จักแน่นอน ร้านขายของชำเล็กๆ ขนาด 1 ห้องแถว ที่มีขายทุกอย่างเท่าที่เราจะนึกออก ถึงขนาดมีการทำชาร์เลนจ์กันว่า ใครหาอะไรที่จีฉ่อยไม่มีขายเจอเป็นคนแรก ชนะ เรียกว่า มีของขายมากกว่า 7-ELEVEn เสียอีก ร้านนี้ไม่เคยโฆษณาตัวเอง จนมาถึงยุคหลังที่ต้องย้ายออกเพราะจุฬาเอาพื้นที่คืนถึงได้ทำป้ายเอาไว้นิดหน่อยว่า จีฉ่อย หนึ่งในตำนานคู่จุฬา


แบรนด์ของร้านนี้คืออะไร ตอบคือ ทุกอย่างใต้ฟ้าเมืองไทย มาหาได้ที่ร้านจีฉ่อย มีขายตั๋วเครื่องบิน ตั๋วรถไฟ เอกสารลงทะเบียนทุกมหาวิทยาลัย (สมัยก่อนต้องไปซื้อใบลงทะเบียนแล้วกรอกเอกสารและไปเข้าคิวลงเอง ไม่มีระบบการลงทะเบียนออนลาย) เครื่องเขียนทุกชนิด เครื่องสำอาง อาหารตามสั่ง เฮ้ยไปเอามาจากไหน ก็ยายเจ้าของร้านออกหลังร้านขี่มอร์ไซค์ไปซื้อมาให้แล้วมาขายหน้าร้านไง เด็กสาธิตจุฬาชอบใช้บริการมาก้วลาทำกิจกรรมที่โรงเรียนแล้วหิว ยิ่งไปกว่านั้น ใครหาอะไรไม่ได้ ให้มาสั่งร้านจีฉ่อยเดี๋ยวหาให้ได้ ขนาดห้างจนาดใหญ่ทำไม่ได้ จีฉ่อยทำได้ และร้นนี้รับออเดอร์ 24 ชั่วโมง 


เอกลักษณืของจีฉ่อยคือเจ้าของร้านหญิงชรา ใส่ฟันทอง และน้องสาว 2 คนช่วยกันขายของ สิ่งที่ทั้ง 2 ทำมาตลอดคือ ความสำเสมอในการทำธุรกิจ และความสามารถที่คงเส้นคงวา ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปกี่ปี ก็สามารถทำได้เหมือนเดิม มีวิธีการที่เปลี่ยนแปลงเพื่อให้รับกับระบบการค้าที่เปลี่ยนแปลงไป จีฉ่อยถึงได้คงกระพันมาถึงทุกวันนี้


ร้านที่ 2 คือ บะหมี่จับกัง จับกังในภาษาแต้จิ๋วแปลว่า กรรมกร อยู่ถนนเจริญกรุง ในซองเล็กๆ ร้านนี้แต่เดิม ผู้เฒ่าเล่าให้ฟังว่าขายชามละ 50 สตางค์ เน้นขายให้กรรมกรที่ใช้แรงงานย้นเยาวราชกิน แถวนั้นเป็นแหล่งค้าขาย โรงฆ่าสัตว์ ร้านค้าส่ง ตลาด และอะไรอีกมากมาย กรรมกรต้องการกินอาหารราคาถูก ให้เยอะ จานเดี๋ยวอิ่ม มีแรงยกของแบกหามต่อ บะหมี่จับกัง 1 ชาม ให้บะหมี่ประมาณ 6 ก้อน จริงๆ เค้าไม่ปั้นก้อน เค้าลวกบะมีทีละกาละมังแล้วโกยใส่ชามเอา ใช้เตาฟื้น ทำบะหมี่เอง และหมูแดงสูตรตัวเอง จนกลายเป็นตำนานว่า ใครต้องการกินถูก หรือแสดงพลังกินจุ ต้องมาบะหมีจับกัง คนทั่วไปกิน 2 ชามก็ตาเหลือกแล้ว ผมเอง สมัยวัยรุ่น กินได้ 3 ชาม แต่กินอะไรไม่ได้อีก 24 ชั่วโมง วันนี้บะหมี่จับกัง เยาวราช ยังเป็นตำนานอยู่มีผู้คนหลั่งไหลกันไปกิน เพราะแบรนด์ ให้เยอะ มีกลิ่นหอมและรสชาติเฉพาะตัว ไม่ต้องถามหาความหรูหราอและความสะอาด เพราะไม่เคยเจอ เป็นแบรนด์ที่แข็งแรงมากในปัจจุบัน ใครไปเยาวราชสายกิน Steet food ไม่มีคำว่าพลาด

มาถึงตรงนี้ตอบได้ชัดเจนว่า แบรนด์ รายได้แน่นอน แต่ต้องเข้าใจว่า การสร้างแบรนด์ต้องใช้เวลา และออกแบบคุณค่าที่ส่งมอบในทุกจุดของกระบวนการทางธุรกิจ ไม่ใช้เน้นการโฆษณา แต่ไม่จริงตามที่ให้คำสัญญาไว้


ถ้าทำแค่นั้น เป็นแค่การสร้างการรับรู้ของแบรนด์เท่านั้น ไม่ใช่แบรนด์ที่แท้จริง


ดร.นารา

ปั้นคนเก่ง EP#28 ปัญหาการอยากเป็นที่1

EP#28 ปัญหาว่าด้วยการอยากเป็นที่หนึ่ง


ธุรกิจจำนวนมากต้องการวางตำแหน่งของธุรกิจตัวเองให้เป็นที่ 1 ในธุรกิจของตัวเอง แต่การเป็นที่ 1 นั่นไม่ได้หมายความว่าจะสร้างยอดขายสูงสุดและจะกลายเป็นที่ 1 อย่างเดียว นอกจากนั้น ยังมีหลายองค์กรพยายามเป็นที่ 1 แต่ก็ไม่ได้เป็นสักที 


หากเรามาวิเคราะ์กันว่า การเป็นที่หนึ่ง เป็นผู้นำ คนเหล่านี้จะต้องมีอะไรบ้าง

แน่นอนที่สุด พวกเขาต้องมีดี มีในสิ่งที่คนอื่นไม่มี ทำให้เป็นที่ 1 ได้ ซึ่งเป็นคำตอบที่รู้อยู่แล้ว แต่ในคำตอบแบบนี้กลับมีความลับบางอย่างซ่อนอยู่คือ การที่มีดีไม่ใช่เกิดจากาที่ซ้อของดีมาใช้งานแล้วทำให้เป็นที่ 1


ลองคิดดูว่า หากเราต้องการเป็นที่ 1 เราจึงไปซื้อเทคโนโลยีการผลิตใหม่ล่าสุดมา ทำให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานอย่างมาก ลดต้นทุนและเพิ่มคุณภาพสินค้าได้อย่างมาก ทำให้กลายเป็นที่หนึ่ง มันก็ถูก แต่หากมีใครสักคนมีทุนมากกพอ ซื้อเทคโนโลยีที่เหมือนกันหรือดีกว่ามาใช้งานความได้เปรียบเหล่านั้นก็หายไป ความเป็นที่ 1 ก็หายไปด้วย


#ความลับข้อแรกของการเป็นที่หนึ่ง คือการที่เราต้องมีอะไรบ้างอย่างที่เป็นความเจ๋งของตัวเองที่ลอกเลียนแบบไม่ได้ หลายครั้งเราเรียกว่าเทคโนโลยี หากจะเรียกให้ชัดเจนมากกว่านี้อีกหน่อย เราเรียกว่าความรู้ที่เราเป็นผู้สร้างมันขึ้นมาเอง


ความรู้เหล่านี้หรือเทคโนโลยีเหล่านี้ ต้องเป็นสิ่งที่ไม่สามารถหาซื้อได้จากผู้จำหน่าย ท้องตลาด หรือผู้ผลิตรายใด แต่ต้องเป็นสิ่งที่เราเรียนรู้ ค้นพบ และสร้างสรรขึ้นมาเอง เรียกได้ว่าเป็น Core Compitency ขององค์กร ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ การมีสิ่งนี้จะช่วยให้การดำเนินธุรกิจมีความแตกต่างและมีความสามารถในการส่งมอบคุณค่าให้กับลูกค้าได้มากขึ้น


#ความสับข้อที่สองของการเป็นที่หนึ่ง คือเป้าหมายของการเป็นที่ 1 กล่าวคือ เราต้องรู้ว่าการเป็นที่ 1 เป็นไปเพื่ออะไร ทำไมเราต้องการสิ่งนี้ ในการสร้างความเป็นที่ 1 นั้น ไม่ยากเท่ากับการรักษาที่ 1 เพราะคนเป็นที่ 1 จะกลายเป็นจัดเปรียบเทียบ Benchmark ให้กับผู้เล่นรายอื่นในตลาด สำหรับคนเป็นที่ 1 ไม่มีคนให้เปรียบเทียบและไม่มีตัวอย่างให้มาพัฒนาตัวเองเพื่อรักษาความเป็นที่ 1 ตลอดไป ดังนั้นการสร้างความโด่ดเด่นนั้นจะต้องเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาเพื่อให้สามารถหนีห่างจากที่ 2 ได้เรื่อยๆ ต่อไป


การสร้างเป้าหมายของการเป็นที่ 1 ยังช่วยอีกเรื่องคือรู้แนวทางการพัฒนาพร้อมทั้งสร้างพลังที่จะไปพัฒนาให้กับตัวเองต่อไป เป็นการสร้างความชัดเจนให้กับองค์กร แม้ว่าวันหนึ่งจะถูกแซงความเป็นที่ 1 แต่ก็รู้ว่าสิ่งที่ทำมาได้ความโดเด่นทางด้านใดบ้าง เอาไปพัฒนาต่อด้านไหน


มาถึงตรงนี้ก็จะสรุปสั้นๆ ได้ว่า ผู้นำที่เป็นที่ 1 อย่างแท้จริงนั้น ไม่ได้เกิดจากการครอบครองเทคโนโลยีที่คนอื่นหามาได้ แต่กลับต้องพัฒนาความรู้ความลับอะไรบางอย่าง หากไปซื้อเทคโนโลยีมาก็ต้องมีความรู้หรือความลับว่าจะใช้เทคโนลโยีนี้อย่างไรให้สามารถได้ผลลัพธ์ที่มากกว่าคนอื่นได้และเลียนแบบได้ยาก นอกจากนั้น เราต้องว่าการเป็นที่ 1 นั้นเป็นไปเพื่ออะไร มิฉะนั้นแล้วการเป็นที่ 1 จะไม่มีความหมายอะไรเลยมีแต่การเสียต้นทุนไปโดยเปล่าประโยชน์


ดร.นารา

วันศุกร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

ปั้นคนเก่ง #EP27 ปัญหาว่าด้วยการประชุม

 #EP27 ปัญหาว่าด้วยการประชุม



การประชุมมีปัญหาด้วยเหรอ เอาจริงๆ เยอะเลยที่มีปัญหา เพราะว่า การประชุมเป็นการเอาคนมารวมกันเพื่อช่วยกันคิด พิจารณา และรับผิดชอบงานร่วมกัน บางครั้งหลายองค์กรอาศัยการประชุมเยอะมาก จนกลายเป็นคำพูดว่า #เขาจ้างมาประชุม


การประชุมถ้ามากเกินไปก็ใช้ว่าจะได้ผลดี เพราะการประชุมทำให้กินเวลาในการทำงาน เนื่องจากทุกคนที่เข้าประชุมต้องเอาสมาธิและเวลามาใส่ในการประชุมทั้งหมด การประชุมจะเกิดผลดีต่อการคิด แต่จะเกิดผลเสียต่อการสร้างผลงานและผลิต ยิ่งเป็นคนที่ต้องปฏิบัติแล้ว ยิ่งมีผลเสียมาก ดังนั้น ก่อนที่เราจะมาจัดการปัญหาในการประชุมเรามารู้จักการประชุมก่อนว่ามีกี่ประเภท


#การประชุมเพื่อการแจ้งให้ทราบ กระประชุมประเภทนี้มักจะใช้กับการประชุมประจำปี การแถลงผลงาน การแถลงนโยบาย ส่วนใหญ่จะเป็นการสื่อสารทางเดียว บางครั้งเราเรียกว่า Town Hall ซึ่งอาจจะเปิดโอกาสให้มีคำถามได้บ้างในบางครั้ง หรือ อาจจะมีการลงมติเพื่อทำประชาพิจารณ์ หรือ มิตผู้ถือหุ้นได้ในการประชุม แต่ว่าก็ยังคงเป็นเรื่องการสื่อสารทางเดียวเป็นหลัก


#การประชุมเพื่อขอมติจากคณะกรรมการ เป็นการประชุมเพื่อให้คนที่ลงมติต้องร่วมกันรับผิดชอบในการติดสินใจผ่านมติ อย่างเช่นการประชุมรัฐมนตรี การประชุมกรรมการพิจารณางบประมาณ หรืออะไรก็ตามที่ต้องการการรับผิดชอบจากการมีผลกระทบให้คุณให้โทษกับคนอื่นได้


#ประชุมเพื่อรายงานการทำงาน การประชุมแบบนี้เหมือนกับการการแจ้งให้ทราบและรับคำสั่งใหม่ไปทำงานซึ่งจะเจอกับทีมทำงานอยู่บ่อยๆ บางครั้งเรียกว่าประชุมติดตามความคืบหน้า ซึ่งทางภาคธุรกิจมักใช้การประชุมแบบนี้ในการติดตาม KPI หรือผลประกอบการ


#กระประชุมระดมสมอง เป็นการประชุมที่ไม่มีวาระชัดเจน แต่เน้นการเปิดฮกาสให้ทุกคนมาร่วมกันคิดและแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น การประชุมแบบนี้ไม่จำเป็นต้องมีมติแต่จำเป็นต้องมีการกำหนดงานที่ต้องทำต่อหลังการประชุม


ปัญหาที่เกิดขึ้นกับการประชุมจะมีอยู่ด้วยกัน 2 เรื่องใหญ่ๆ คือ

ใช้การประชุมผิดประเภท เช่น ใช้การประชุมกรรมการเป็น การประชุมแจ้งเพื่อทราบ ทำให้ประธานที่ประชุมพูดอยู่คนเดียว คนอื่นๆ นั่งเงียบกันหมด หรือ แอบเล่นโทรศัพท์ระหว่างการประชุม นั่นแสดงว่า แต่ละคนเริ่มไม่ใส่ใจการประชุมแล้ว ทำให้ประสิทธิภาพในการประชุมลดลง 

ปัญหาการใช้การประชุมผิดประเภทจะมีอีกเรื่องคือ การไม่เตรียมพร้อมในการประชุมให้ถูกต้อง เช่น การเตรียมข้อมูลให้เพียงพอเพื่อพิจารณา หรือ การไม่แจ้งวาระหรือพูดคุยกันก่อนที่จะเอาเข้าประชุมเพื่อพิจราณาจนกลายเป็นการประชุมระดมสมองในการประชุมลงมติ ซึ่งจะทำให้เกิดโอกาสในการเข้าใจผิดเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเกิดจากการเงียบในห้องประชุม หรือการโ้เถียงที่มีเวลาอย่างจำกัดในห้องประชุม ยิ่งในวัฒนธรรมแบบไทยไทยแล้ว ยิ่งเงียบไปกันใหญ่ พูดมากเดี๋ยวเค้าจะผิดแล้วเขาว่าจะเราโง่ คิดไปโน้น

ปัญหาที่ 2 คือ การเอาคนที่ไม่ควรจะเกี่ยวกับการประชุมเข้าที่ประชุม 

การไม่เกี่ยวข้องคือ ไม่กี่ยวในความรับผิดชอบ และไม่เกี่ยวกับความสามารถ คนที่ไม่เกี่ยวในความรับผิดชอบดูได้ง่ายๆ คือ เข้ามาแล้วนั่งเฉยๆ และลงชื่อว่าเข้าร่วมประชุม โดยที่ยังไม่รู้เลยว่า ผลการประชุมนี้เอาไปใช้ประโยชน์อะไร ซึ่งในทางแก้ไขคือ สามารถทำหนังสือแจ้งผลการประชุมไปยังบุคคลหรือหน่วยงานต่างๆ ก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเอาเข้ามานั่งในห้องประชุมให้เสียเวลา และเกิดความน่าเบื่อหน่ายในที่สุด


การไม่เกี่ยวข้องในความสามารถคือ คนคนนี้อาจจะเกี่ยวในหน้าที่รับผิดชอบ แต่ไม่สามารถช่วยอะไรได้เลย มีอะไรก็ทำไม่ได้ แบบนี้แสดงว่าความสามารถไม่เข้ากับที่ประชุม ดังนั้น การที่เอาคนนี้เข้าประชุมด้วยจะทำให้เสียเวลา ควรให้เขาไปทำงานในสิ่งที่เขาสามารถทำได้ดีกว่า


วิธีการแก้ปัญหาการประชุม

1. กำหนดรูปแบบการประชุมให้ชัดเจน เพื่อระบุว่า การประชุมในครั้งนี้ต้องการอะไร ไม่เอารูปแบบการประชุมมาปนกันในครั้งเดียว หากต้องการมีหลายประเด็นที่ต้องการ ให้แยกแยะการประชุมเป็นเรื่องๆ แล้วค่อยประชุมทีละเรื่อง

2. ถ้ามีการประชุมเกิน 7 คน ให้ดูว่า มีใครบ้างที่ไม่มีส่วนร่วมในการประชุมเลย ถ้ามีแสดงว่า การประชุมนั้นกำลังไม่มีประสิทธิภาพแล้ว

3. มีวาระการประชุมที่ชัดเจน หากจะนอกเรื่อง ให้นอกเรื่องหลังที่ประชุม

4. บางเรื่องไม่จำเป็นต้องกระชุมก็ได้ ใช้วิธีการสื่อสารทางอื่นแทน เช่น การโทรศัพท์ การทำหนังสือแจ้ง การส่งข้อความ เป็นต้น แทนการประชุม เพราะการประชุมมีต้นทุนสูงมาก มาจากเงินเดือนของผู้เข้าประชุมทั้งหมดซึ่งอาจจะแพงมากตามตำแหน่ง ยิ่งแพงยิ่งต้องทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงมากยิ่งขึ้น


ถ้าเราจัดการการประชุมให้มีประสิทธิภาพได้ การประชุมจะไม่น่าเบื่อและไม่เยอะจนเกินความจำเป็น จนกลายเป็นคำพูดว่า เค้าจ้างมาประชุม และที่สำคัญ คนที่เข้าประชุมบ่อยๆ โดยเฉพาะเป็นประธานการประชุมทำอย่าง อาจจะบอกได้อีกอย่างนึงว่า เขากำลังพยายามตัดสินใจทุกอย่างด้วยตัวเอง โดยไม่กระจายการทำงาน หรือ ไม่ได้ให้การทำงานเป็นไปแบบมีส่วนร่วมเลย


ดร.นารา

วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

ปั้นคนเก่ง #EP26 ปัญหาว่าด้วยการบริหารคนเก่ง

 #ปัญหาว่าด้วยการบริหารคนเก่ง



องค์กรทุกองค์กรต้องการคนเก่ง เพราะคนเหล่านี้จะสามารถสร้างผลประกอบการที่ดีให้กับองค์กรได้ คนเก่งยังสามารถลดภาระของผู้บริหารได้เป็นอย่างมาก ทำให้ผู้บริหารเบาแรง หรือเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงหลักในการสร้างผลงาน


แต่การมีคนเก่งในองค์กรใช่ว่าจะไม่มีปัญหา เพราะคนเก่งบางคน เน้นว่าบางคน มีลักษณะพิเศษ เช่น ความคิดล้ำหน้ามากกว่าคนอื่นมากคนอื่นทำงานด้วยไม่ได้ ต้องการพื้นที่ในการแสดงความสามารถของตัวเองหากได้พื้นที่น้อยเกินไปก็จะไม่มีความสุข มีแนวทาการทำงานเป็นของตัวเองไม่ค่อยจะยอมโอนอ่อนง่ายๆ เนื่องจากไม่เชื่อว่าระบบปกติจะทำให้งานสำเร็จ


ปัญหาที่เกิดขึ้นคือการที่องค์กรไม่สามารถควบคุมคนเก่งเหล่านี้ให้เป็นไปตามที่องค์กรต้องการได้สิ่งที่ตามมาจะเกิดได้หลายลักษณะ

  1. สูญเสียคนเก่งไปโดยที่องค์กรหาคนมาแทนไม่ได้
  2. ทำให้ระบบการบริหารคนมีปัญหาเพราะคนเห่งที่จากไปย่อมส่งผลกระทบทางความคิดและจิตใจของคนในองค์กร
  3. เกิดการทำลายคนเก่ง ในกรณีที่คนเก่งคนนั้นไม่ได้ไปไหน แต่กลับไม่ได้แสดงออก นานวันเข้าความเก่งก็จะหายไปเพราะไม่ได้ใช้งานความเก่ง
  4. องค์กรไม่เกิดกรเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นเนื่องจากไม่สามารถใช้ประโยชน์จากความเก่งได้


#วิธีการบริการคนเก่ง

ในการบริหารคนเก่ง หลายคนมักจะบอกว่าให้คนเก่งได้แสดงฝีมือให้เต็มที่และมีแนวทางการสร้างความเติบโตในการทำงานของคนเก่งเหล่านี้ เรียกว่าต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ มันก็จริง แต่ยังไม่หมด หากจะสรุปว่าเราจะบริหารคนเก่งยังไงได้บ้าง ก็คงสามารถสรุปออกมาเป็นข้อได้ดังนี้


  1. มีพื้นที่หรือมีเวทีให้คนเก่งเหล่านี้ได้แสดงพลังความเก่งของตัวเองออกมา ซึ่งผู้บิหารต้องเชื่อก้อนว่า พวกเขาเก่ง และรู้ว่าเก่งอะไร
  2. มีวิธีการดูแลคนเก่งแบบที่ไม่เหมือนคนอื่น เพราะคนเก่งมักจะได้รับความไว้วางใจมากกว่าคนอื่น ซึ่งจะตามมาด้วยความอิจฉาของคนในองค์กร ดังนั้น การดูแลคนเห่งจะต้องมีวิธีการป้องกัน หรือมาตรการที่ใช้แตกต่างจากคนอื่น เช่นการประเมินผลงาน คนเหล่านี้ จะมีวิธีการประเมินผลงานแตกต่างจากคนอื่น และสามารถพิสูจน์ได้ว่า ผลงานกับผลตอบแทนนั้นคุ้มค่ากันจริงๆ
  3. อย่าใช้คนเก่งในทุกเรื่อง เนื่องจากคนเราเวลาทำงานก็จะทำงานได้ทีละเรื่อง บางคนอาจจะได้มากกว่านั้น แต่ก็ไม่สามารถทำทุกเรื่องในเวลาเดียวกันได้จนกลายเป็นว่า คนเก่งใช้งานง่ายก็ใช้จัง สุดท้าน งานไม่เสร็จสักอย่าง และจะเป็นการทำลายคนเก่งคนนั้นไปเนื่องจากต้องเจองานหลายหน้าในเวลาเดียวกัน
  4. ทำให้คนเก่งรู้ว่าตัวเองเก่งอะไรและไม่เก่งอะไร อันนี้สำคัญมาก เนื่องจากคนเราไม่ได้เก่งทุกเรื่อง นั้นเราจะต้องรู้ว่า เราจะใช้คนเก่งเรื่องไหน และห้ามใช้เรื่องไหน ในขณะเดียวกัน การที่เรารู้่าคนเก่งคนนี้ไม่เก่งอะไรแล้ว ผู้บริหารจะต้องเสริมสร้างอะไรให้คนเก่ง สิ่งนี้จะช่วยยึดโยงคนเก่งเอาไว้กับองค์กรได้ เนื่องจาก คนเก่งจะรู้ว่า สิ่งที่เขามีคือทีม ทีมที่จะช่วยให้เขาสามารถแสดงออกความสามารถได้อย่างเต็มที่ ไม่ใช้ผู้บริารปล่อยคนเก่งไปผจญภัยคนเดียวสุดท้ายก็ตายไปในความยากลำบาก
  5. ผู้บริหารไม่จำเป็นต้องเก่งกว่าคนเก่งแต่ต้องมองอนาคตและภาพรวมเก่งกว่าคนเก่ง แต่ต้องมองสถาการณ์อนาคตที่รอบคอบกว่าคนเก่ง จะทำให้คนเก่งยอมรับในตัวผู้บริหารและยอมใช้ความเก่งในการทำงานให้ เพราะถ้าคนเก่งรู้สึกว่าตัวเองเก่งกว่าผู้บริหารแล้ว เค้าจะรู้ว่าอยู่องค์กรนี้ไปทำไม ออกไหทำเอดีกว่า เรียกว่า ไม่ต้องพึงพาองค์กรแล้ว
  6. ให้คนเก่งได้พัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลา อาจจะเป็นลักษณะงานที่ท้าทาย หรือ เป็นงานที่ต้องการการเรียนรู้ใหม่ๆ ทำให้คนเก่งได้เพิ่มความเก่งของตัวเอง เค้าจะรู้สึกว่ามาคุณค่าในองค์กรมากยิ่งขึ้น


ทั้งหมดที่กล่าวมาก็เป็นเรื่องของการบริหารคนเก่ง องค์กรใดที่มีคนเก่งอยู่กับตัวจงดีใจและใช้ให้เกิดแระโยชน์อย่างถูกวิธี และที่สำคัญผู้บริหารเอง ก็ต้องไม่หยุดพัฒนาความเก่งของตัวเอง เพื่อให้สามารถบริหารความเก่งของคนรอบข้างได้


ดร.นารา

วันพุธที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

ปั้นคนเก่ง #EP25 ปัญหาว่าด้วยการสร้างแบรนด์

#ปัญหาว่าด้วยการสร้างแบรนด์



หลายธุรกิจไม่ว่าจะขนาดเล็กขนาดใหญ่ ต่างพยายามสร้างแบรนด์ทั้งนั้น ด้วยเหตุผลหลักอยู่ 2 เหตุผลคือ ต้องการสร้างรายได้เพิ่มขึ้น และมีความมั่นคงทางรายได้ เพราะเชื่อว่า ถ้ามีแบรนด์แล้ว จะทำให้เกิดการจดจำ เกิดการรับรู้ และเป็นที่น่าไว้วางใจ

ถามว่าถูกหรือไม่ ตอบเลยว่าถูกต้องที่สุด แต่ปัญหาอยู่ที่ #เจ้าของธุรกิจกลับไม่เข้าใจว่าแบรด์คืออะไร

ก่อนอื่นเลย ต้องทำความเข้าใจธรรมชาติของแบรนด์ และสิ่งที่คล้ายแบรนด์ก่อน

ประเด็นที่ต้องทำความเข้าใจและเกี่ยวข้องกับแบรนด์ คือ ตราสัญญลักษณ์ โลโก้ ชื่อสินค้าและธุรกิจ เรามาเริ่มทำความเข้าใจกันก่อนเลย

#แบรนด์ หมายถึง บุคลิกของธุรกิจหรือสินค้าที่ผู้บริโภคและสังคมได้รับรู้ว่าเป็นอย่างไร เป็นความควาดหวังที่ผู้บริโภคมีต่อสินค้าหรือบริษัท จะเห็นได้ว่า แบรนด์ไม่ได้เกิดจากการที่ธุรกิจบอกผู้บริโภค แต่ผู้บริโภคให้ความรับรู้ต่อธุรกิจต่างหาก แล้วการโฆษณาหละ ทำไมช่วยสร้างแบรนด์ได้ ก็เพราะการโฆษณาเป็นการบอกให้เชื่อถ้ามีคนเชื่อก็มีคนรับรู้ แต่ก็มีคนไม่เชื่อตามโฆษณาเหมือนกัน

#ตราสัญญลักษณ์ หมายถึง รูปภาพ หรือ สัญลักษณ์บางอย่างที่กำหนดเพื่อให้สื่อถึงแบรนด์ ภาษาอังกฤษเรียกว่า Symbol

#โลโก้ หมายถึง ชื่อที่เป็นอักษร ที่อาจจะมีการออกแบบให้มีความสวยงาม หลายครั้งใช้ โลโก้เป็นตราสัญญลักษณ์ หรือ มีตราสัญลักษณ์คู่กับโลโก้

#ชื่อ เป็นเสียงเรียกที่เราใช้เรียกตัวสินค้าและผลิตภัณฑ์ว่าเราต้องการให้ออกเสียงและสะกดว่าอย่างไร

ที่ผ่านมามีความสับสนกันอยู่พอสมควรว่าการใช้โลโก้ การใช้สัญญลักษณ์ หรือการใช้ชื่อ ให้คนจดจำได้สิ่งนั้นเรียกว่าแบรนด์ ไม่ใช่เลย จริงๆ

แล้วแบรนด์สร้างอย่างไรหละ

แบรนด์จะสร้างได้มีอยู่วิธีการเดียวคือ การสร้างประสบการณ์ที่คงเส้นคงวา มีระยะเวลายาวนานพอที่คนจะเชื่อได้ว่า สิ่งเหล่านี้มีบุคลิกลักษณะอย่างไร เมื่อใช้สินค้าและบริการแล้วจะเกิดความรู้สึกอย่างไร บริการหลักการขายและได้รับอะไรไปบ้าง รวมๆ เข้าด้วยกันแล้วจะกลายเป็นแบรนด์

การถ่ายทอดแบรนด์เริ่มจากจุดไหนดี

แบรนด์สามารถถ่ายทอดได้ 2จุดใหญ่ๆ คือ จากตัวสินค้าและบริการเอง หรือ จากผู้บริหารหรือเจ้าของแบรนด์ 

จากตัวสินค้า หมายถึง สินค้ามีรคุณสมบัติอย่างไร พนักงานแสดงออกต่อลูกค้าอย่างไร นโยบายการทำการตลาดและการดูแลลูกค้าหลังการขายเป็นอย่างไร ลูกค้าได้รับประสบการณ์อะไรบ้างที่เกิดจากตัวของธุรกิจ รวมถึงการสื่อสารทางการตลาดของธุรกิจไปยังลูกค้า

จากตัวเจ้าของธุรกิจเอง หมายถึง ตัวเจ้าของทำให้ตัวเองออกสื่อ แล้วมีคนติดตาม และเข้าไปกำกับดูแลการดำเนินการในธุรกิจอย่างใกล้ชิดจขนผู้คนรับรู้ถึงบุคลิกของเจ้าของและไปเชื่อมโยงกับสินค้าและบริการที่จะได้รับ

การสร้างแบรนด์จากตัวสินค้าและบริการทำได้ช้ากว่าแต่ยืนยาวมากกว่า เพราะว่า เมื่อมีการเปลี่ยนเจ้าของหรือผู้บริหาร สินค้าและบริการยังคงมีนโยบายที่ชัดเจนว่าจะถ่ายทอดอะไรออกไปยังผู้บริโภค และผู้คนไม่ค่อยจะเชื่อมโยงระหว่างเจ้าของกับธุรกิจมากนัก ยกเว้นพวกที่เป็นนักวิเคราะห์ที่จะเห็นถึงความเชื่อมโยง แต่ก็ไม่ปัจจุบันทันด่วน เช่น สตาร์บักส์ กูเกิ้ล

การสร้างแบรนด์จากเจ้าของ แบบนี้จะสร้างเร็ว เจ้าของออกสื่อเอง แต่เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเจ้าของ ภาพของแบรนด์จะเปลี่ยนแปลงทั้งที ทำให้ความยั่งยืนจะมีน้อยกว่า นอกเสียจากว่า เจ้าของได้มีการถ่ายทอดการรับรู้ไปที่ตัวสินค้าและบริการ โดยการออกสื่อให้น้อยลงและให้ลูกค้าโฟกัสที่สินค้าให้มากขึ้น เช่น แอปเปิ้ล อิชิตัน และเทสล่า

เมื่อเราสร้างแบรนด์แล้วจะสร้างกำไรได้จริงหรือ ต้องมาว่ากันต่อในตอนหน้า


ดร.นารา

วันจันทร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

ปั้นคนเก่ง #EP24 การสร้างแนวทางการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน

 การสร้างแนวทางการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน



จากตอนที่แล้ว EP23 เมื่อปัญหายิ่งซ้อบซ้อน ยิ่งต้องปรับให้เรียบ มาว่ากันต่อหลังจากที่ทำปัญหาที่ซับซ้อนเป็นปัญหาเชิงเดี่ยวแล้ว แต่ก็มีคำถามตามมาว่า เมื่อปัญหาเชิงซับซ้อนที่ถูกทำให้เรียบแล้ว สามารถแยกออกมาได้หลายปัญหา แล้วจะเริ่มแก้ไขปัญหาไหนก่อน แล้วจะสร้างแนวทางกรแก้ไขปัญหาได้อย่างไร

วันนี้มาขอยกตัวอย่างการแก้ปัญหาที่ซับซ้อนเพื่อให้เข้าการการสร้างแนวทางจากการปรับให้เรียบ

เอาสถานการณ์ปุ๋ยแพงในตอนนี้อันเนื่องจากปุ๋ยโลกขาดแคลน

ในการปรับให้เรียบคือการแยกแนะว่าปัญหาปุ๋ยแพงยังมีอะไรอีก กระทบอะไรบ้าง

สิ่งมี่ผมเห็นในตอนนี้คือ ราคาปุ๋ยแพงจะทำให้อาหารโลกขาดแคลน เพราะพืชโตช้า ผลผลิตน้อยลง และมีการผลิตน้อยลงด้วยจากการที่ไม่มีเงินทุนในการผลิต

แต่ในขณะเดียวกันมีอีกปัญหาทับซ้อนขึ้นมาคือราคาข้าวถูก เนื่องจากโครงสร้างตลาดในประเทศไทย กับประเทศอื่นส่งออกได้ดีกว่าไทยจึงมากดราคาข้าวเกษตรกร

ปัญหาที่ตามมาคือ ตอนนี้กำลังเตรียมเข้าหน้าเพาะปลูกอีกครั้ง แต่เกษตรกรต้องเจอกับปัญหาต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น และเงินที่เป็นทุนในการผลิตหายไป

เทคนิคปรับให้เรียบคือ จริงๆ แล้วปัญหามี 3 เรื่อง คือ 1 ต้นทุนแพง 2 ราคาขายต่ำ 3 เงินสดหายไป

ปัญหาต้นทุนแพงมาจากปุ๋ยและน้ำมันเชื้อเพลิงที่พุ่งขึ้นแบบติดจรวด

ดังนั้นความคุ้มค่าในการผลิตมี 2 แนวทางคือลดต้นทุนหรือเพิ่มราคาขายของเกษตรกร

ปัญหาราคาขายต่ำ เพราะความต้องการมีน้อยกว่าผลผลิตที่มี ณ เวลานี้ และลักษณะของโครงสร้างตลาดตั้งแต่เกษตรกรต้นน้ำสู่นายทุนปลายน้ำที่ยังมีช่องอยู่กว้างมาก สังเกตุเรากินข้าวสารแพงมาก ทั้งที่ข้าวเปลือกราคาถูก ช่างไม่สอดคล้องกันเลย

*ดังนั้นถ้ามีใครเอาข้างออกจากระบบไปรักษา ดูแล และจัดระเบียบใหม่ คล้ายๆ แก้หวยแพง ก็จะจัดการปัญหานี้ได้

แนวทางการสร้างการแก้ปัญหาคือ ทำให้เกษตรกรมีเงินสดในมือ ตอนนี้เพื่อให้มีกำลังผลิต แล้วราคาผลิตจะแพงขึ้นในอนาคตจากการที่ทั่วโลกมีปริมาณผลิตผลที่หายไป

*ดังนั้นถ้าทำให้เกษตรกรทีเงินในช่วงเริ่มเพาะปลูกได้ ก็จะแก้ปัญหาหนี้สิน การกู้ยืมและประสิทธิภาพการผลิตได้

เรียกว่าทำยังไงหละ มองดีๆ เราพบว่า

ยังมีอีกปัญหานึงคือ เวลาของผลผลิตที่ออกสู่ตลสดไม่ถูกจังหวะที่แพง

*ดังนั้นแนวทางคือ ถ้าเราทำให้ผลผลิตออกมาในข่วงเวลาที่แพงได้ก็จะแก้ปัญหาราคาตกได้

เอาดังนั้น 3 อันมาผสมกัน ออกมาคืออะไร

มันคือการที่รัฐต้องให้สักหน่วยงานไปเอาข้าวออกจากระบบแล้วอัดฉีดเงินที่จะเป็นราคาข้าวในอนาคต (อาจจะหักมูลค่าคิดลดก็ได้) แล้วได้อะไร

1 เกษตรมีเงินในมือมากขึ้นจากการที่เอาราคาข้าวในอนาคตมาใช้ก่อน

2. หน่วยงาน หรือรัฐบาล มีโอกาสสร้างกำไรได้จากที่ซื้อข้าวตอนนี้ แล้วไปขายตอนแพง

3. ใช้ข้าวเป็นเครื่องมือสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เพราะอีกไม่นานแต่ละประเทศต้องวิ่งหาข้าวเนื่องจากผลผลิตโลกขาด และเงินเฟ้อแรงมากกกกก

แบบนั้ก็เรียกว่า #จำนำข้าว สิ ก็อย่าเรียกแบบนั้นสิ ให้เรียก #ข้าวประชารัฐ ก็ได้ ประชา (ชน ขายให้) รัฐ แล้วรัฐเอาไปหาประโยชน์ให้ประชา(ชน)