วันจันทร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

ปั้นคนเก่ง #EP24 การสร้างแนวทางการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน

 การสร้างแนวทางการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน



จากตอนที่แล้ว EP23 เมื่อปัญหายิ่งซ้อบซ้อน ยิ่งต้องปรับให้เรียบ มาว่ากันต่อหลังจากที่ทำปัญหาที่ซับซ้อนเป็นปัญหาเชิงเดี่ยวแล้ว แต่ก็มีคำถามตามมาว่า เมื่อปัญหาเชิงซับซ้อนที่ถูกทำให้เรียบแล้ว สามารถแยกออกมาได้หลายปัญหา แล้วจะเริ่มแก้ไขปัญหาไหนก่อน แล้วจะสร้างแนวทางกรแก้ไขปัญหาได้อย่างไร

วันนี้มาขอยกตัวอย่างการแก้ปัญหาที่ซับซ้อนเพื่อให้เข้าการการสร้างแนวทางจากการปรับให้เรียบ

เอาสถานการณ์ปุ๋ยแพงในตอนนี้อันเนื่องจากปุ๋ยโลกขาดแคลน

ในการปรับให้เรียบคือการแยกแนะว่าปัญหาปุ๋ยแพงยังมีอะไรอีก กระทบอะไรบ้าง

สิ่งมี่ผมเห็นในตอนนี้คือ ราคาปุ๋ยแพงจะทำให้อาหารโลกขาดแคลน เพราะพืชโตช้า ผลผลิตน้อยลง และมีการผลิตน้อยลงด้วยจากการที่ไม่มีเงินทุนในการผลิต

แต่ในขณะเดียวกันมีอีกปัญหาทับซ้อนขึ้นมาคือราคาข้าวถูก เนื่องจากโครงสร้างตลาดในประเทศไทย กับประเทศอื่นส่งออกได้ดีกว่าไทยจึงมากดราคาข้าวเกษตรกร

ปัญหาที่ตามมาคือ ตอนนี้กำลังเตรียมเข้าหน้าเพาะปลูกอีกครั้ง แต่เกษตรกรต้องเจอกับปัญหาต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น และเงินที่เป็นทุนในการผลิตหายไป

เทคนิคปรับให้เรียบคือ จริงๆ แล้วปัญหามี 3 เรื่อง คือ 1 ต้นทุนแพง 2 ราคาขายต่ำ 3 เงินสดหายไป

ปัญหาต้นทุนแพงมาจากปุ๋ยและน้ำมันเชื้อเพลิงที่พุ่งขึ้นแบบติดจรวด

ดังนั้นความคุ้มค่าในการผลิตมี 2 แนวทางคือลดต้นทุนหรือเพิ่มราคาขายของเกษตรกร

ปัญหาราคาขายต่ำ เพราะความต้องการมีน้อยกว่าผลผลิตที่มี ณ เวลานี้ และลักษณะของโครงสร้างตลาดตั้งแต่เกษตรกรต้นน้ำสู่นายทุนปลายน้ำที่ยังมีช่องอยู่กว้างมาก สังเกตุเรากินข้าวสารแพงมาก ทั้งที่ข้าวเปลือกราคาถูก ช่างไม่สอดคล้องกันเลย

*ดังนั้นถ้ามีใครเอาข้างออกจากระบบไปรักษา ดูแล และจัดระเบียบใหม่ คล้ายๆ แก้หวยแพง ก็จะจัดการปัญหานี้ได้

แนวทางการสร้างการแก้ปัญหาคือ ทำให้เกษตรกรมีเงินสดในมือ ตอนนี้เพื่อให้มีกำลังผลิต แล้วราคาผลิตจะแพงขึ้นในอนาคตจากการที่ทั่วโลกมีปริมาณผลิตผลที่หายไป

*ดังนั้นถ้าทำให้เกษตรกรทีเงินในช่วงเริ่มเพาะปลูกได้ ก็จะแก้ปัญหาหนี้สิน การกู้ยืมและประสิทธิภาพการผลิตได้

เรียกว่าทำยังไงหละ มองดีๆ เราพบว่า

ยังมีอีกปัญหานึงคือ เวลาของผลผลิตที่ออกสู่ตลสดไม่ถูกจังหวะที่แพง

*ดังนั้นแนวทางคือ ถ้าเราทำให้ผลผลิตออกมาในข่วงเวลาที่แพงได้ก็จะแก้ปัญหาราคาตกได้

เอาดังนั้น 3 อันมาผสมกัน ออกมาคืออะไร

มันคือการที่รัฐต้องให้สักหน่วยงานไปเอาข้าวออกจากระบบแล้วอัดฉีดเงินที่จะเป็นราคาข้าวในอนาคต (อาจจะหักมูลค่าคิดลดก็ได้) แล้วได้อะไร

1 เกษตรมีเงินในมือมากขึ้นจากการที่เอาราคาข้าวในอนาคตมาใช้ก่อน

2. หน่วยงาน หรือรัฐบาล มีโอกาสสร้างกำไรได้จากที่ซื้อข้าวตอนนี้ แล้วไปขายตอนแพง

3. ใช้ข้าวเป็นเครื่องมือสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เพราะอีกไม่นานแต่ละประเทศต้องวิ่งหาข้าวเนื่องจากผลผลิตโลกขาด และเงินเฟ้อแรงมากกกกก

แบบนั้ก็เรียกว่า #จำนำข้าว สิ ก็อย่าเรียกแบบนั้นสิ ให้เรียก #ข้าวประชารัฐ ก็ได้ ประชา (ชน ขายให้) รัฐ แล้วรัฐเอาไปหาประโยชน์ให้ประชา(ชน)