#EP30 ปัญหาว่าด้วยเรื่องต้นทุนคงที่
ต้นทุนปัญหาปวดใจของทุกธุรกิจ ไม่มีธุรกิจไหนที่ไม่มีต้นทุน จะมาก จะน้อย ก็ต้องมีต้นทุน นั่นหมายความว่า ต้นทุนเป็นธรรมชาติของธุรกิจทุกชนิดในโลกนี้ แล้วต้นทุนทำให้ธุรกิจมีปัญหาได้ยังไง คำตอบก็ง่ายๆ เลยคือ เมื่อต้นทุน มากกว่ารายได้ ก็ขาดทุน หนักๆ เข้า ก็เจ๊งไงหละ
ก่อนที่เราจะไปจัดการต้นทุน เราต้องมารู้จักธรรมชาติของต้นทุนก่อน ต้นทุน มี 2 ประเภท (จริงๆ อันนี้ใครๆก็รู้) คือต้นทุนผันแปร และ ต้นทุนคงที่
#ต้นทุนผันแปร หรือ Variable Cost เป็นต้นทุนที่ขึ้นกับจำหน่วยการผลิต ยิ่งผลิตมากก็จ่ายมาก แต่ถ้าไม่ผลิตเลยก็ไม่เสียต้นทุน อันนี้เป็นตัวบ่งชี้ที่สำคัญ ดังนั้น แม้ว่าค่าใช้จ่ายบางชนิดที่เปลี่ยนแปลงได้ในแต่ละเดือน แต่ไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับการผลิตสินค้าและบริการของธุรกิจ
#ต้นทุนคงที่ หรือ Fixed Cost หมายความว่า จะผลิตหรือไม่ผลิต ก็ต้องจ่ายรวมไปถึงเงินลงทุน ค่าใช้จ่ายรายเดือน ค่าการตลาด ค่าขนส่งดำเนินการที่ไม่ได้คิดตามชิ้นหรือหน่วยการผลิต (อย่างเช่นพวกเหมาเที่ยวขน)
ต้นทุนทั้ง 2 ประเภทมีผลต่อการกำหนดราคาเป็นอย่างมาก เพราะโดยปกติแล้ว ธุรกิจที่มีต้นทุนคงที่สูงมักจาะมีต้นทุนผันแปรที่ต่ำ ธุรกิจที่มีต้นทุนผันแปรสูงต้นทุนคงที่ก็ควรจะต่ำ ถ้าต้นทุนทั้ง 2 อย่างต่ำก็ถือว่าดีมาก แต่ถ้าต้นทุนคงที่สูงและต้นทุนผันแปรก็สูงด้วย บอกง่ายๆ เลยว่าไปทำอย่างอื่นดีกว่า คำว่าต่ำ หรือสูงในที่นี้หมายถึง สัดส่วนของต้นทุนคงที่กับต้นทุนผันแปร
ปัญหามันอยู่ที่ไหน?
ปัญหามันอยู่ที่ต้นทุนคงที่ เพราะว่า ธุรกิจจะผลิตหรือไม่ผลิตก็ต้องจ่าย ในกรณีที่ต้นุทนคงที่เป็นการลงทุนครั้งแรก ความเสี่ยงของต้นทุนคงที่นี้จะกลายเป็นการไม่สามารถทำให้ธุรกิจคืนทุนได้ หรือ ต้นทุนคงที่เป็นต้นทุนด้านค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้น เช่น ค่าเช่า เงินเดือน ค่าผ่อนชำระอาคารหรือเครื่องจักรต่างๆ นั้นหมายึความว่า ธุรกิจจะมีแรกกดดันในการวิ่งหายอดขายขั้นต่ำ เพื่อนำกำไรของยอดขายขั้นต่ำมาเป็นค่าใช้จ่ายคงที่ในทุกๆ เดือน
แสดงง่า ต้นทุนคงที่ประเภทค่าใช้จ่าย คือต้นทุนที่สร้างแรงกดดันให้กับธุรกิจ และเป็นจุดที่บอกว่าธุรกิจจะต้องดิ้นรนมากขนาดไหน แต่หากถ้าต้นทุนคงที่นั้น เป็นต้นทุนที่เกิดจากการลงทุนครั้งแรกจำนวนมาก ก็จะมีต้นทุนที่เกิดขึ้นแบบไม่ใช่กระแสเงินสดอยู่ เป็ฯค่าเสื่อมราคา หมายความว่า วันหนึ่ง เราจะต้องเอาเงินสดไปซ่อมบำรุง หรือ ซื้อทดแทนเครื่องจักร อุกรณ์ อาคารต่างๆ ที่เราเอาไว้ใช้งาน ทุกอย่างไม่มีอะไรฟรีๆ หรอก
แล้วเราจะแก้ไขอย่างไร
คำตอบคือ พยายามทำให้ต้นทุนนั้น กลายเป็นต้นทุนฝันแปร โดยเฉพาะะูรกิจขนาดเล็ก ที่จะรับแรงกดดันจากต้นทุนคงที่ได้ค่อนข้างน้อย จึงต้องรู้วิธีการบริการต้นทุนให้เป้นท้นทุนผันแปร เช่า จ่ายค่าจ้างตามชิ้นงาน เช่าเครื่องจักรตามงานที่เกิดแทนการซื้อ การให้คนอื่นทำงานแทนโดยชำระค่างานเป็นจำนวนผลงานเป็นต้น
ฟังดูง่าย แต่ธุรกิจต้องอาศัยเครือข่ายเป็นอย่างมากเพื่อที่จะสามารถผลักต้นทุนคงที่ไปให้คนอื่นที่ทำงานได้เก่งกว่าเรา ส่วนตัวเราเอง ทำในส่วนที่เก่งที่สุด สามารถบริหารต้นทุนได้ดีที่สุด เพื่อลดแรงกดดันของต้นทุนคงที่้ จนกว่าธุรกิจจะแข็งแรงพร้อมที่จะรับแรงกดดันนี้ไปบริการเองในพายภาคหน้า
ต่อไปจะมาว่าด้วยเรื่องของต้นทุนที่มองไม่เห็น ที่แอบบอยู่ในต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปร
ดร.นารา