ขุดสมบัติทรัพยากรทางธุรกิจ
ในการทำธุรกิจ อยู่จะเริ่มต้นจากไม่มีอะไรเลย นั้นคือสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ อย่างน้อยจะต้องมีอะไรสักอย่างหนึ่งที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ นั่นแหละเรียกว่าขุมสมบัติในการทำธุรกิจ แต่เรายังถือว่าโชคดี เพราะเราเกิดมานั้น ย่อมมีอะไรบางอย่างที่ิติดตัวมา สิ่งเหล่านี้ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ แต่เราเองอาจจะยังไม่รู้ตัวว่า เรามีอะไรที่นำมาใช้ประโยชน์ได้ เพื่อการสร้างชีวิตให้เสร็จตามเป้าหมาย หรือสร้างธุรกิจให้สำเร็จตามเป้าหมาย พร้อมหรือยังที่เราจะมาขุดสมบัติกัน
รูปแบบของทรัพยากร
เราต้องมาเริ่มทำความรู้จักทรัพยากรกันเสียก่อนว่า ทรัพยากรคืออะไร มีอะไรบ้าง และอยู่ตรงไหน ทรัพยากร หรือในที่นี้ขอเรียกว่าขุมทรัพย์ สามารถแบ่งออกได้ 2 แบบใหญ่ๆ คือ แบบที่จับต้องได้ กับแบบที่จับต้องไม่ได้
ในแบบที่จับต้องได้ อันนี้ไม่ยาก ใครๆ ก็เห็นได้ ตั้งแต่ เงิน ที่ดิน อาคาร เครื่องจักร กรรมสิทธิ์ สัญญา สินทรัพย์ต่างๆ ที่มี สิง่เหล่านี้ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งสิ้น เพียงแต่ว่า เราเห็นวิธีการใช้ประโยชน์แล้วหรือยังเท่านั้นเอง แล้วทรัพยากรเหล่านี้มาจากไหน ก็มาจากการทำงานของเราโดยการหาเงินด้วยน้ำพักน้ำแรงของเรา เพื่อนำไปซื้อสิ่งต่างๆ ที่ต้องการ
การรับมรดก เป็นการสะสมทรัพยากรจากญาติของเรา และส่งต่อให้เราโดยที่เราไม่ต้องออกแรงมา
การได้รับมาจากการให้โดยคนอื่น เป็นการที่ได้รับจากใครสักคน หรือหลายคน การแลกเปลี่ยนจากสินทรัพย์อย่างหนึ่งเป็นสินทรัพย์อีกอย่างหนึ่ง การที่สินทรัพย์เปลี่ยนแปลงสภาพ เช่นที่ดินจากที่รกร้าง แล้วมีคนมาขุดหน้าดิน กลายเป็นบ่อ เราอาจจะนำบ่อนี้เป็นบ่เลี้ยงปลา สร้างเป็นธุรกิจอีกแบบขึ้นมาก็ได้ เห็นหรือไม่ว่าทุกอย่างเป็นทรัพยากรได้ทั้งหมดอยู่ที่เราจะใช้ประโยชน์จากอะไร
เทคนิคการมองหาทรัพยากร
เรื่องนี้เป็นสิ่งที่หลายคนสงสัย บางคน ก็เก่งในการหาสิ่งต่างๆ มาใช้ประโยชน์ แต่บางคน กลับคิดอะไรไม่ออกเลย ความลับอยู่ที่ เราสามารถจดจำ จัดกลุ่ม แยกหมวดหมู่ของสิ่งที่เรามีได้มากน้อยแค่ไหน เราต้องเชื่อว่า เรามีสิ่งต่างๆ ที่เป็นประโยชน์มากมายเข้ามาในชีวิต
เราลองมาใช้จินตนาการกันดู ในแต่ละวันตั้งแต่เราตื่นเช้าขึ้นมา เราพบเจออะไรบ้าง หลายๆ คนก็บอกว่า เรื่ีองเดิมๆ ไม่เห็นมีอะไรใหม่เลย งั้น ลองถามตัวเองต่อว่า เราต้องการซื้อกระดุม 1 เม็ด ในบริเวณใกล้ๆ บ้านของเรา มีขายอยู่ที่ไหน...ติ๊ก ติ๊ก ติ๊ก คิดออกหรือไม่ บางคน อาจจะคิดออก บางคนอาจจะคิดไม่ออก นั่นสิ บ้านเราแท้ๆ อะไรทำให้เราคิดไม่ออก
เหตุผลคือ เราคิดว่า พื้นที่ใกล้บ้าน เป็นเรื่องที่เราเคยชิน เราจึงไม่สนใจเพราะไม่มีอะไรน่าสนใจ ก็จริง เนื่องจากว่า การเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ ร้านค้า ผู้คนรอบๆ บ้าน จะเปลี่ยนแปลงน้อยมาก เราจึงไม่สนใจว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ ทำให้เรามองข้ามเรื่องเล็กๆ ใกล้ตัวไปเป็นจำนวนมาก
วิธีการง่ายๆ แต่ต้องใช้ใจ คือใส่ใจในรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ให้มากขึ้น สนใจสิ่งรอบข้างหน่อย ทำชีวิตให้ช้าลงนิดนึง และเราจะเห็นรายละเอียดต่างๆ มากขึ้น เวลาที่ได้พบปะผู้คน ให้ความสำคัญกับคนที่เราได้พบเจอนิดหน่อย ว่าเขาเป็นใคร เขาทำอะไรได้บ้าง สังเกตุความรู้สึกของตัวเองว่าเรากำลังคิดอะไรอยู่ หลังจากนั้น ลองคิดต่อว่าเราจะอยู่ในสถานการณ์ไหน ถึงจะต้องใช้ประโยชน์จากสิ่งที่เราพบเจอในครั้งนี้ จินตนาการไว้ และเก็บความทรงจำนี้ไว้
ลักษณะแบบนี้คล้ายๆ กับ เราอยากได้ลวดมัดของเส้นเล็กๆ สมองของเราจะคิดขึ้นมาทันทีเลยว่า ลวดมัดของอยู่ไหน เคยเห็นครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่ เราก็จะรีบเดินไปหาที่ที่เราคิดว่าจะอยู่ตรงนั้น กระบวนการนี้เป็นกระบวนการเข้าถึงทรัพยากรแบบอัตโนมัติของมนุษย์ เทคนิคแบบนี้เป็นเทคนิคขั้นเดียว ที่เราสามารถฝึกได้และพบเจอได้ทุกวัน
เทคนิคขั้นที่ 2 เป็นเทคนิคที่มีความซับซ้อนขึ้นมาอีกหน่อย เพราะทรัพยากรหนึ่งๆ อาจจะนำพามาซึ่งทรัพยากรอื่นๆ ได้อีกหลายอย่าง ยังไงเหรอ เช่น การที่เรารู้จักคนมากๆ (Connection) เท่ากับว่าเป็นช่องทางที่เราได้สามารถเข้าถึงทรัพยากรอื่นๆ อีกมากมายที่มีอยู่ในตัวของคนอื่น ทำให้เราได้ทรัพยากรมาอีกหลายอย่างในการดำเนินธุรกิจหรือการสร้างชีวิตให้ประสบความสำเร็จ
การเข้าถึงทรัพยากรนี้ ต้องใช้การพิจารณาด้วยพลังของสมองเพิ่มขึ้น ใช้คำถามกับตัวเองว่า หากเราต้องการสิ่งนี้แล้ว เราต้องใช้อะไรในตัวเราบ้างเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่เราต้องการ แล้วเราต้องใช้สิ่งที่มีอยู่อย่างไรเพื่อให้ได้ในสิ่งที่เราต้องการ
ทรัพยากรพื้นฐานของผู้ประกอบการ
หลายคนสงสัยมากๆ ว่า อยากจะเป็นเจ้าของธุรกิจแล้วเราจะต้องมีอะไรบ้าง ซึ่งในที่นี้ของแบ่งตามระยะของธุรกิจก่อนว่า ในระยะตั้งต้น ระยะเติบโต และระยะยั่งยืน จะต้องมีทรัพยากรอะไรบ้างที่ต้องมีแบบเพิ่มขึ้นในการก้าวเข้าสู่ระยะต่อไปของธุรกิจ
ระยะตั้งต้น
การที่คนเราจะเริ่มต้นทำธุรกิจได้ จะต้องใช้ทรัพยากรอยู่ 3 อย่างคือ มีของ มีเงิน และมีใจ
“มีของ” หมายถึง มีสินค้า หรือบริการ ที่ถูกใจ ถูกต้อง หรือผู้บริโภคเห็นว่าดี อยากใช้ ใช่เลย เจ๋งมาก ยอดเยี่ยม ฉันรอสิ่งนี้มานานแล้ว มันว้าว อะไรแบบนี้ นั่นคือ สินค้าและบริการของเรา ต้องสามารถแก้ปัญหา หรือส่งเสริมให้ผู้บริโภคมีชีวิตที่ดีขึ้นได้ มีของนี้ จริงๆ แล้วไม่ต้องมีเยอะ ขอให้มีเพียงอย่างเดียวก่อนในตอนเริ่มต้นก็พอแล้ว เราเองสามารถพัฒนาเป็นสินค้าอื่นๆ ได้ในภายหลัง ยกตัวอย่าง ร้านอาหารดังๆ จะมีรายการอาหารที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะอยู่ไม่กี่อย่างเท่านั้น ที่เหลือเป็นส่วนเติมเต็มให้กับร้าน (ในแบบที่มีมาตรฐานใกล้กัน)
“มีเงิน” หมายถึง มีเงินทุนหรือแหล่งเงินทุน หรือสินทรัพย์ที่พร้อมในการดำเนินงานได้ ไม่ระบุว่าจะต้องมีจำนวนเท่าไหร่ การที่มีเงินเป็นการแสดงให้เห็นว่าเราเองนั้นมีความพร้อมในการจัดหาอุปกรณ์ ทรัพย์สินต่างๆ เพื่อการดำเนินการทางธุรกิจได้อย่างไร จำนวนเงิน จะมากหรือน้อยนั้น ขึ้นอยู่กับว่าเราทำธุรกิจขนาดใหญ่หรือขนาดเล็กเพียงใด บางธุรกิจ ใช้เงินไม่ถึงร้อย บางธุรกิจใช้เงินหลายพันล้าน แล้วอะไรหละที่เป็นตัวกำหนดขนาดการใช้เงินที่แท้จริงของธุรกิจ คำตอบคือ ความอยาก อยากที่จะทำให้เล็กหรือให้ใหญ่ ซึ่งก็ไม่ได้ผิดอะไรที่จะอยาก เพราะความอยากเป็นที่มาของเป้าหมายของชีวิตเรา (กลับไปดูเรื่อง เป้าหมาย สิ่งยั่วยวนและทรงพลัง) แต่เรื่องที่สำคัญกว่านั้นคือ เราเอาเงินและทรัพย์มาจากไหนได้บ้างต่างหาก???
“มีใจ” หมายถึง การทำมุมมอง ความรู้สึก อารมณ์ของเราที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจ หลายคนอยากทำเพราะคิดว่า อยากมีเงิน จริงๆ แล้วการทำธุรกิจไม่ใช่แค่เรื่องเงินเพียงอย่างเดียว แต่ต้องทำให้ธุรกิจเป็นชีวิตจิตใจ หรือเรียกได้ว่าการมีใจ ต้องมี 4 ใจ คือ ใจรัก ใจใส่ ใจกล้า และ จริงใจ ต้องมีใจ 4 ใจนี้ถึงจะทำให้ธุรกิจกลายเป็นสิ่งที่มีคุณค่าและสามารถเริ่มต้นได้อย่างมุ่งมั่น เพราะโดยปกติแล้ว การทำธุรกิจ หรือการทำงานอะไร ต้องมีอุปสรรคมากมาย ใครทำงานแล้วไม่มีอุปสรรค ถือว่าเป็นเรื่องผิดปกติ เหมือนกับใครเกิดมาแล้วไม่เจอเรื่องที่ต้องจัดการ ถือว่าชีวิตขาดการเรียนรู้ เพราะอุปสรรค คือบทเรียนที่ทำให้เรามีประสบการณ์ในการทำงาน ตั้งนั้นเครื่องมือต้านทานอุปสรรคที่สามารถพิชิตได้อย่างหมดจดคือการใช้ 4 ใจ
ใจรัก คือ การที่เราเอาหัวใจของเราไปผูกพันกับงานที่ทำอย่างมีคามสุขเมื่อได้ทำงานนี้ เรียกได้ว่า ใจรักคือการให้งานที่เราทำ เป็นชีวิตจิตใจของเราเอง มีแรงปรารถณา เป็นอะไรที่สามารถอยู่กับสิ่งนี้ทั้งวัน ทุกวัน เป็นระยะเวลาหลายๆ ปี เพราะเมื่อเรามีใจรักอะไรแล้ว เราจะมีความสุขที่ได้อยู่กับสิ่งนั้น และอยากที่ทำให้สิ่งนั้นมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นตลอดเวลา ใจรัก มาได้จากการตั้งเป้าหมายของชีวิต เป็นความต้องการอันแรงกล้างของชีวิตของเรา
ใจใส่ คือ การเอาใจใส่ดูแล เหมือนธุรกิจนั้นเป็นลูกอ่อน ที่ต้องสนใจในทุกๆ รายละเอียด การตั้งธุรกิจเราต้องหมกมุ่นในการทำธุรกิจ เพราะหากเราทำแบบง่ายๆ ธุรกิจของเราจะไม่มีการพัฒนา คงที่ และเสื่อมถอยในที่สุด การเอาใจใส่ จึงจ้องอาศัยการสังเกตุในเรื่องลายละเอียดเล็กๆ น้อย แน่นอนเรื่องนี้ทำให้ต้องใช้พลังงานมาก ใครๆ อาจจะรู้สึกเหนื่อยได้ พลังงานที่จะส่งเสริมให้เราสามารถเอาใจใส่ได้อย่างต่อเนื่องนั้นคือ พลังจากใจรัก ลองคิดดูง่ายๆ หากเรารักใคร เราเองก็อยากเอาตัวของเราไปอยู่ใกล้ๆ ตลอดเวลา ไม่ว่าสิ่งนั้นจะต้องลำบากสักเท่าใดก็ตาม เราก็ไม่เคยรู้สึกเหนื่อย จริงไหม
ใจกล้า คือ การที่เรารู้ว่า การทำธุรกิจ มีความเสี่ยง ซึ่งอาจจะดี หรืออาจจะเสีย ก็ได้ คนจำนวนมาก ไม่กล้าที่ลงมือทำอะไร เพราะมองแต่ทางด้านผลเสีย หรือ ความเสี่ยงทางจิตวิทยา การตั้งธุรกิจต้องก้าวข้ามเรื่องการกลัวความเสี่ยงไปก่อน เทคนิคหรือ ไม่ยาก ให้เรามองที่ความสุข เมื่อเราได้ในสิ่งที่เราต้องการมา
เราได้อะไรบ้าง?
เรามีความสุขอย่างไร?
ชีวิตเราดีขึ้นขนาดไหน?
คนรักของเราจะบอกกับเราว่าอย่างไร?
เรามีความภาคภูมิใจอะไรบ้าง?
แล้วจดจำความรู้สึกต่างๆ เอาไว้ หายใจเข้าลึกๆ หันมามองในทางตรงกันข้าม ถ้าเราไม่ได้ในสิ่งที่เราตั้งเป้าตามแรงปรารถณา เราจะเป็นอย่างไร
อะไรบ้างที่เราต้องสูญเสียไป
ชีวิตของเราไปอยู่ตรงจุดไหน
ความสุขของเราจะมีแค่ไหน
คนรอบข้างที่เรารักจะเป็นอย่างไร
ความภาคภูมิใจในชีวิของเราจะมีขนาดไหน
ให้เรารับรู้ความรู้สึกทั้งสองด้าน แล้วชั่งน้ำหนักดูว่า เราควรทำเป้าหมายให้สำเร็จอย่างไร แล้วควากลัวของเรา ทำให้เราสูญเสียมากกว่าสิ่งที่ได้รับมาขนาดไหน คุ้มค่าหรือไม่ที่เราก้าวข้ามความกลัวของเราเพื่อเดินตามความฝัน ถ้ารู้สึกว่าคุ้ม บอดตัวเองดังๆ ว่า รออะไรอีกหละ ลุยเลย!!!! แล้วถ้ารู้สึกว่าไม่คุ้มหละ ทำไงดี ก่อนอื่นต้องหายใจลึกๆ ก่อน แล้วถามใจตัวเองดูว่า ยังอยากได้ความฝันที่เป็นธุรกิจของเราหรือไม่ ถ้ายังอยากได้ เรากำลังกลัวอะไร ปรับเปลี่ยนอะไรได้บ้าง เราต้องเริ่มเปลี่ยนแลปงตัวเองตรงไหน เพื่อให้ความกลัวหายไป หรือลดลงจนกว่าจะคุ้ม ตั้งเป้าหมายหมาย หาโอกาสใหม่ วิเคราะห์ความเสี่ยงใหม่ และมาพิจารณาทรัพยากรใหม่ แล้วมาสู่การใช้ใจอีกครั้งหนึ่ง
ใจสุดท้ายของระยะเริ่มต้นในการก่อตั้งธุรกิจ คือ จริงใจ เพราะอะไรหน่ะหรือที่เราต้องจริงใจ เพราะว่าความจริงใจเป็นพื้นฐานของความยั่งยืน เป็นพื้นฐานของการเติบโต หากเราไม่จริงใจต่อทุกๆ คน ไม่ว่าจะเป็นลูกค้าของเรา พนักงานของเรา ผู้ขายของให้เรา หรือแม้แต่ตัวเราเอง คนที่อยู่รอบข้างของเรานั้นสามารถรับรู้ได้ว่า เรานั้นไม่จริงใจ วันที่เริ่มต้นอาจจะทำธุรกิจได้ แต่ไม่นาน ใครๆ ก็จะรู้ว่า ธุรกิจของเราไม่ใช่ทางเลือกที่ดีที่สุด เขาเหล่านั้นมีทางเลือกอื่นๆ มากมาย และพร้อมการจากไปในที่สุด
ลูกค้าสามารถรับรับรู้ได้ว่าสิ่งที่เรามอบให้นั้น มีความจริงใจมากแค่ไหน การทำธุรกิจแน่นอนว่าใครๆ ก็อยากได้เงิน แต่ธุรกิจที่ประสบความสำเร็จโดยส่วนมากจะคิดเรื่องเงินทีหลัง สิ่งที่คิดก่อนคือ ลูกค้าได้รับสิ่งที่ดีที่สุดจากสินค้าและบริการของเราแล้วหรือยัง เมื่อลูกค้าได้รับสิง่ที่ดีที่สุดแล้ว ลูกค้าจะเกิดความสุขความพึงพอใจ และกลับมาใช้บริการของเราอีกในอนาคต
ระยะเติบโต เมื่อเราสามารถตั้งธุรกิจได้แล้ว ใครๆ ก็ต้องหวังที่ให้ธุรกิจของเราเองนั้นเติบโตขึ้นไป ทรัพยาการที่ต้องเพิ่มขึ้นมาเป็นสิ่งที่มีความแตกต่างกันในแต่ละธุรกิจ บางธุรกิจต้องการมาก บางธุรกจต้องการน้อย ทรัพยากรเหล่านี้ มาทั้งในรูปแบบที่จับต้องได้ และจับต้องไม่ได้ ที่พูดมาทั้งหมดนี้ดูเหมือนจะคลุมเคลือ บางคนอาจจะรู้สึกขัดใจ ทำไมไม่รีบบอกให้รู้ไปเลย คำถามคือ บอกไม่ได้ แต่ใช้คำถามเพื่อการตรวจสอบได้ โดยใช้ชุดคำถามที่เรียงกันทีละข้อ ค่อยคิดพิจารณา เพื่อแสวงหาคำตอบ ถามหาเจอ เราก็สามารถดำเนินการแสวงหาทรัพยากรที่จำเป็นมาใช้ได้
ตอนนี้ธุรกิจของเรากำลังเป็นอย่างไร?
ธุรกิจของเราทำอะไรได้ดีแล้ว?
ธุรกิจของเรายังทำอะไรได้ไม่ได้?
ถ้าต้องการให้ดีกว่านี้อีก เราต้องการอะไรมาส่งเสริมธุรกิจของเรา?
สิ่งที่ต้องการนั้น อยู่ที่ไหน?
เราต้องลงมือทำอะไรเพื่อให้ได้ในสิ่งที่ต้องการในธุรกิจของเรา?
ใช้คำถามเหล่านี้ทบทวนธุรกิจของเราอย่างน้อยอาทิตย์ละครั้ง เพื่อให้เรามั่นใจว่า ธุรกิจของเรากำลังไม่พลาดในสิ่งที่ต้องทำ
ธุรกิจเหมือนลูกอ่อน ตราบเท่าที่เรายังต้องลงมือทำ ลูกอ่อนคนนี้จะเติบโตได้ก็ต่อเมื่อเราสร้างระบบให้ธุรกิจสามารถทำงานได้ด้วยตัวเอง มีคนสามารถทำงานแทนเราได้ แต่เราเองก็ต้องดูอยู่เรื่อยๆ เพื่อเป็นการควบคุมระบบในการทำงานเท่านั้น ตัวอย่างในการใช้คำถาม (เหตุการณ์สมมติ)
ธุรกิจของเราตอนนี้กำลังเติบโตไปได้ดี มียอดขายเพิ่มขึ้นทุกวัน
ธุรกิจของเราสร้างสรรค์สินค้าที่ลูกค้ามีความพึงพอใจ อย่างเต็มที่ ลูกค้ามีความพึงพอใจจนกลับมาทานซ้ำหลายๆ ครั้ง เป็นจำนวนมาก
ธุรกิจต้องทำทุกอย่างด้วยตัวเอง ทำให้รู้สึกว่าเหนื่อนจนไม่มีแรงที่จะสร้างสรรค์สินค้าใหม่ๆ ออกมาอีก
อยากได้เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพมากกว่านี้ ทำให้เสียเวลาน้อยลงในการเตรียมวัตถุดิบ เพื่อจะได้มีโอกาสในการสร้างสรรค์ธุรกิจใหม่ๆ ให้ลูกค้ามีความพึงพอใจมากยิ่งขึ้น
ลองไปคุยกับธนาคารดู เพื่อจะได้เงินสักก้อนไปหาเครื่องมือที่มีระสิทธิภาพในการมาช่วยทำงานของธุรกิจเรา
สรุปทรัพยากรที่ต้องการโดยส่วนใหญ่แล้ว ใครๆ ก็คิดว่าเป็นเงินแน่นอน แต่ไม่ใช่แบบนั้นซะทีเดียว จริงๆ แล้วต้องการเวลา ไม่ใช่เงิน แต่เงิน จะช่วยให้เจ้าของธุรกิจรายนี้สามารถทำงานได้เร็วขึ้นเพื่อมีเวลามากขึ้นในการพัฒนาธุรกิจให้เติบโตมากขึ้น อันนี้เป็นตัวอย่างเล็กๆ ในการพิจารณาว่าโดยแท้จริงแล้วเราต้องการอะไร
แต่สิ่งที่ต้องพึงระมัดระวังในการพิจารณาแบบนี้คือ พิจารณาอยู่ปลายเหตุ โดยข้ามแก่นแท้หรือความต้องการที่แท้จริงเช่น เราบอกว่าเราต้องการเงิน ทำทุกอย่างเพื่อเงิน และเราลืมพิจารณาว่า เราต้องการเงินไปเพื่ออะไร บางครั้งเราเองต้องการทรัพยากรที่อยู่ในรูปแบบจับต้องได้ คือเอาเงินไปซื้อเครื่องจักร เครื่องมือ วัตถุดิบ บางครั้งอาจจะอยู่ในรูปแบบที่จับต้องไม่ได้ คือเราต้องการเงินไปเพื่อเข้าเรียนในหลักสูตรต่างๆ เพื่อให้มีการพัฒนาทางความรู้ หรือเราต้องการเงินไปเพื่อใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการพบปะผู้คน เพื่อเป็นแหละในการติดต่อค้าขาย เป็นต้น
ระยะยั่งยืน การที่ธุรกิจสามารถดำเนินอยู่ได้ และดำเนินต่อไป เจ้าของธุรกิจส่วนมากมีความหวังว่า จะให้ดำเนินต่อไปได้เรื่อยๆ ไม่หยุด เป็นช่องทางการสร้างความมั่งคั่งให้กับตัวเอง ซึ่งนั่นหมายถึงการทำธุรกิจให้ยั่งยืน แต่เราต้องมาทำความเข้าความยั่งยืนก่อน ความยั่งยืนในความหมายทางอุดมคติ หมายถึงมีอยู่ตลอดไป แต่นั้นในความเป็นจริงแล้ว ไม่มีอยู่จริงในโลกใบนี้ และในจักรวาลนี้ เพราะว่า ไม่มีอะไรที่คงอยู่ตลอดไป!!!! แล้วเราหาความยั่งยืนไปเพื่ออะไรกันหล่ะ
คำตอบข้อนี้ไม่ยาก เพราะเราแสวงหาความยั่งยืนเพื่อให้มั่นใจว่าธุรกิจที่เราทำจะอยู่กับเราไปนานที่สุด แต่อย่างไรก็แล้วแต่ ในความยั่งยืนนั้น อยู่ภายใต้การเปลี่ยนแปลงทุกวินาทีของโลก ของสังคม ของลูกค้า หรือแม้กระทั่งตัวเราเอง ไม่มีอะไรเหมือนเดิมในทุกๆ วินาที ตัวเราเองก็มีการเปลี่ยนแปลงในทุกวินาที ไม่ว่าจะเป็นเซลล์ หรือ ร่างกาย ที่สำคัญกว่านั้น ในสมองของเราก็มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เพราะทุกวินาทีเรามีข้อมูลใหม่เข้ามาในสมองของเราตลอดเวลา ทำให้ความคิดอะไรก็เปลี่ยนไป เรารับรู้เรื่องราวใหม่ๆ เข้ามาในตัวเรา สมองของเราตลอดเวลา แล้วเราจะเป็นคนเดิมเมื่อ 20 นาทีที่แล้วได้อย่างไร แต่มีคนจำนวนมาก ยังอยากให้ทุกอย่างเหมือนเดิม ไม่มีการเปลี่ยนแปลง นั่นคือ เป็นการฝืนธรรมชาติ และเป็นไปไม่ได้ เราเองต้องอย่าเข้าใจผิดว่า ความยั่งยืนคือการไม่เปลี่ยนแปลงตลอดไป เพราะทุกอย่างเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
ความยั่งยืนจึงเป็นเหมือนความสามารถในการเปลี่ยนแปลงตัวเองให้สามารถปรับตัวเข้าหาสภาพแวดล้อม และคงความสามารถในการหารายได้ กำไร ได้อย่างต่อเนื่อง นานที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ องค์ประกอบของความยั่งยืนมีด้วยกัน 3 ด้านคือ ทางด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม นั่นคือสิ่งแวดล้อมที่เราต้องเผชิญอยู่ตลอดเวลา และส่งผลต่อธุรกิจของเราเป็นอย่างมากอีกทั้งไม่สามารถข้ามตัวใดตัวหนึ่งไปได้
สิ่งแวดล้อมทางด้านเศรษฐกิจ เป็นเรื่องสำคัญที่สุด ส่งผลโดยตรงมากที่สุดการทำธุรกิจ เพราะเรื่องนี้ หมายถึง เศรษฐกิจของเราเอง เรียกอีกอย่างว่า รายได้และกำไร การทำธุรกิจ และการดำเนินการใดๆ ต้องมีกำไร ไม่ว่าจะเป็นห้างร้าน บริษัท รวมถึง มูลนิธิ วัด ชมรม สมาคมต่างๆ ที่ไม่แสวงหากำไร เพราะทุกหน่วยงานและทุกคน ตราบใดที่ยังต้องอาศัยอยู่ในสังคม ต้องใช้เงิน (เคยมีคนพิสูจน์ว่า มนุษย์อาศัยอยู่ได้โดยไม่ใช้เงิน อันนั้นก็จริง แต่ไม่ทุกคนที่สามารถทำได้ด้วยเงื่อนไขของสังคมปัจจุบัน) ดังนั้น การสร้างความมั่นคงทางรายได้ หมายถึง การที่มีรายได้เข้ามาอย่างสม่ำเสมอในระดับที่สามารถเลี้ยงตัวเองได้ และมีกำไร แล้วรายได้มาจากไหน แน่นอนสำคัญที่สุด คือลูกค้าที่แท้จริง หรือคนที่จ่ายเงินให้เรา ตรงนี้ เราต้องปรับตัวตลอดเวลาเพื่อให้ลูกค้าของเรา เต็มใจที่จ่ายเงินให้เรา
การสร้างความเต็มใจจ่ายของเราที่มีต่อลูกค้า คือ การส่งมอบคุณค่าของเราให้ลูกค้า เมื่อลูกค้าได้รับคุณค่านั้น ก็จะพร้อมที่จ่ายเงินให้เรา ฟังดูยากใช่ไหม งั้นเอาใหม่ คุณค่า คือ ประโยชน์ที่ลูกค้าได้รับ มีอยู่ใน 2 ลักษณะคือ ลักษณะที่ 1 การแก้ปัญหาของลูกค้า หรือการช่วยทำให้ลูกค้าลดความอึดอัดลงได้ หรือเรียกว่าเป็นการลดชีวิตทางด้านลบ เรื่องนี้สามารถเห็นได้โดยการสังเกตุพฤติกรรมของคน ความต้องการของคนว่ากำลังเผชิญหน้าอะไรอยู่ ลักษณะที่ 2 เป็นการส่งเสริม ผลักดันให้ชีวิตลูกค้าดีขึ้น เรียกว่าเป็นผลทางด้านการเสริมสร้างชีวิตทางบวก รูปแบบนี้เป็นต้องอาศัยการจินตนาการเพื่อทำการพยากรณ์สิ่งที่เกิดขึ้น เพราะประโยชน์ที่ได้รับเป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เช่น การคิดค้นเครื่องบินครั้งแรกใช้โลก การประดิษฐ์คอมพิวเตอร์ การสร้างระบบอินเตอร์เน็ตครั้งแรก การมีโทรศัทพ์มือถือขึ้นเป็ฯครั้งแรก ไม่มีใครเคยคิดหรอดว่าจะเกิดอะไรขึ้น แต่สิ่งต่างๆ ที่มีนั้น กลายเป็นนวัตกรรมเปลี่ยนโลกทำให้ผู้คนมีชิวติที่ดีขึ้นโดยไม่ได้คาดหวังมาก่อน
ความสำคัญของทั้ง 2 ลักษณะคือ เราสามารถมองเห็นโอกาสในการตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้หรือไม่ ความต้องการนี้เมื่อได้รับการพิจรณาแล้วว่าได้รับการตอบสนอง ลูกค้าจะชั่งน้ำหนักว่าคุ้มค่าที่จะจ่ายหรือไม่ มีทางเลือกอื่นหรือไม่ เพราะลูกค้ามีเงินที่จำกัด ดังนั้นลูกจึงต้องคิดมากหน่อย เป็นเรื่องธรรมดา เหมือนตัวเรา เวลาจะจ่ายเงินอะไร เราต้องคิดว่าคุ้ม หรือไม่คุ้ม แต่ว่าความคุ้มของแต่ละคนนั้นไม่เหมือนกัน บางคนมองที่เงิน บางคนมองที่ความสะดวก บางคนมองที่ความโก้เก๋ บางคนมองที่ความสุขของคนรอบข้้างที่ได้ให้จากการจ่ายเงินในครั้งนี้ หน้าที่ของเราคือ มองให้ออกว่า ลูกค้าโดยส่วนใหญ่ จ่ายเงินเพื่ออะไร นั้นแหละคือความหมายของคุณค่าที่แท้จริง
สิ่งแวดล้อมทางด้านสังคม เป็นสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบกึ่งทางตรง กึ่งทางอ้อมกับธุรกิจ เพราะสังคมคือที่อยู่ของคน ซึ่งในนั้นมีทั้งคนที่เป็นลูกค้า และคนที่ไม่เป็นลูกค้า แต่คนในสังคมมีความเกี่ยวข้องกันทั้งหมด สังคมคือกลุ่มคนที่อยู่ร่วมกัน มีความสัมพันธ์กันไม่ทางใดก็ทางนึง อย่างน้อยที่สุด ก็ใช้กติกา และกฎหมายร่วมกัน ประเพณีร่วมกัน ดังนั้น ลูกค้าของเรา ที่เป็นผลทางตรงต่อธุรกิจ ต้องไปมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นๆ หากเราทำดีกับใครสักสน ความดีนั้นจะต้องได้รับการถ่ายทอดจากคนที่เราทำดีด้วย ไปสู่คนอื่นๆ ในที่สุด เมื่อเราทำดีต่อไปเรื่อยๆ ในที่สุดจะกลายเป็นชื่อเสียงของเรา เป็นชื่อเสียงของธุรกิจ เมื่อธุรกิจมีชื่อเสียง ก็จะกลายเป็นการส่งผลทางตรงต่อลูกค้าและกลับมาเป็นกำไรของธุรกิจ
การทำดีของธุรกิจ คือ ทำธุรกิจด้วยความจริงใจ ไม่เอาเปรียบหรือเรียกว่า มีกำไรแต่พอสมควร แล้วดูยังไง เรื่องนี้ ให้ใช้วิธีการวัดด้วยเงินที่จ่าย กับความสุขที่ได้ ถ้าความสุขมากกว่าเงินที่จ่าย แบบนี้ถือว่าไม่เอาเปรียบคนอื่นทางด้านราคา ซึ่งไม่ได้หมายถึงการขายต้องเป็นการขายราคาถูกเสมอไป แต่มีราคาที่คุ้มค่าในการจ่าย ดังนั้น หลายธุรกิจที่ดี ได้พยายามใช้แต่ของดีๆ ในการดำเนินธุรกิจ ใช้ความจริงใจในการดำเนินธุรกิจ ในเรื่องที่ 2 คือเรื่ีองการบอกแต่ความจริง ดีก็ดี ไม่ดีก็ไม่ดี ไม่เน้นการขายที่ลูกค้าไม่ได้รับความจริงใจ เพราะลูกค้าจะรู้ความจริงในที่สุด
สิ่งแวดล้อมทางด้านสภาพแวดล้อม ความหมายทางตรงหมายถึง ผลการของทำธุรกิจที่มีต่อธรรมชาติ ป่าไม้ แม่น้ำ ลำคลอง อากาศ เป็นผลกระทบกับเรื่องอื่นๆ ที่ไม่ใช่คน เรื่องนี้เป็นผลกระทบแบบอ้อมๆ แต่สุดท้ายก็กลับมาหาธุรกิจอยู่ดี เพราะถ้าเราสร้างผลกระทบทางลบ ผลยี้จะกลายเป็นการสร้างความเดือดร้อยให้สังคมไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง มากมาก จะน้อยก็ขึ้นอยู่กับ ว่าเป็นเรื่องอะไร สังคมทนได้หรือไม่ ถ้าทนไม่ได้ คนที่เดือนร้อนก็จะออกมาโวยวายในที่สุด แล้วผลนี้จะอ้อมกลับมาหาตัวของธุรกิจเองในที่สุด
ผลกระทบอีกรูปแบบหนึ่งของ สิ่งแวดล้อมคือ ธุรกิจอาจจะเจอสภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรม ทำให้ไม่สามารถดำเนินธุรกิจได้ รูปแบบนี้ อาจจะเจอจาก การขุดเจาะน้ำบาดาล ทำให้ปริมาณน้ำใต้ดินลดลง เกิดเป็นแผ่นดินทรุด สร้างความเสียหายให้กับตัวเอง เรียกว่าแพ้ภัยตัวเอง หรืออาจจะไปกระทบกับคนอื่นโดยตรงเลย
ดังนั้น จะทำอะไร ต้องคิดหน้าคิดหลังดีๆ คิดยาวๆ คิดไกล ทำให้ใครเดือนร้อนหรือไม่ และที่นำกังวลที่สุดคือ การทำไปแบบรู้เท่าไม่ถึงกาล คิดว่าไม่มีอะไร แต่สุดท้ายกลับมีอะไร เพราะอะไรหน่ะหรือ เพราะการคิดยังไม่ครบถ้วนดีไง หาเรารู้จักการคิดให้ครบถ้วน รอบด้าน คิดถึงหลายๆ คน เราจะลดผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม สังคมลงไปได้ และในที่สุด จะกลับมาในรูปของรายได้ และกำไร
ทรัพยากรลักษณะพิเศษ
ในการเข้าถึงทรัพยากร นั้น มีด้วยกันหลายรูปแบบ แต่มีทรัพยากรแบบหนึ่งที่มีลักษณะพิเศษจนต้องนำมาพิจารณาเฉพาะ ทรัพยากรนี้เรียกว่า คนรู้จัก (Connection) หรือบางคนเรียกว่าความสัมพันธ์ การเชื่อมต่อ หรืออะไรก็แล้วแต่ ความหมายในทางธุรกิจจึงหมายถึง คนที่รอบข้างเราที่เราสามารถได้รับประโยชน์จากพวกเขาได้ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง โดยทั่วไปแล้ว จะต้องเป็นเป็นคนที่รู้จักกันถึงจะยอมช่วยเหลือกัน เป็นเรื่องดูเหมือนธรรมดาที่มนุษย์ไม่ยอมทำอะไรให้คนที่ไม่รู้จัก เพราะโดยปกติแล้วมนุษย์มักจะไม่ติดต่อกับคนที่ตนเองไม่รู้จัก เพราะเป็นการป้องกันอันตรายที่ไม่รู้วจะเกิดอะไรขึ้นในอนาคต ดังนั้น การสร้าง Connection จึงต้องอาศัยการดำเนินการที่เป็นลักษณะเฉพาะ เนื่องจากเป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเรากับบุคคลอื่น หรือเรียกได้ว่าเป็นการบริหารคนให้มีความรู้สึกที่ดีต่อกัน
เริ่มต้นอย่างไรกับการสร้าง Connection? เป็นคำถามที่พบได้บ่อย และงงกับคำถามนี้ กลับมาดูตัวเราเอง เวลาเราพบใครแล้วรู้สึกว่า อยากทำความรู้จักคนคนนี้เอาไว้บ้าง เป็นความรู้สึกจากการที่เราคิดว่าเราน่าจะได้ประโยชน์อะไรบางอย่างจากคนนี้ เช่น
คนนี้เป็นคนที่มีตำแหน่งหน้าที่การงานดี น่าจะช่วยเราในเรื่องการทำงานได้ในอนาคต
คนนี้เป็นคนที่พูดคุยด้วยแล้วถูกชตา อยากคุยต่ออีกถ้ามีโอกาส
คนนี้เป็นคนที่รอยยิ้มที่สดใส รู้ว่าอยากอยู่ใกล้ๆ ไปอีกนานๆ
คนคนนี้เป็นคนที่แนวคิดดี อยากเรียนรู้และพัฒนาตนเองจากคนนี้
คนนี้เป็นคนมีน้ำใจ น่าจะสามารถของความช่วยเหลือได้ในเวลายากลำบาก
ความรู้สึกแบบนี้ถูกประเมินแบบอัตโนมัติสมองของเรา เพราะสมองของเราจะมองหาผลที่ได้ก่อนเสมอ ในทางตรงกันข้าม เราต้องทำอย่างไรถึงจะมัดใจคนอื่นๆ หลักการมีอยู่ง่ายๆ คือ Give and Take
1. ให้ความรู้สึกมั่นคงกับคนอื่น สนองความต้องการทางร่างกายได้ เช่น เงินทอง ของใช้ หรือสามารถเป็นที่แก้ปัญหาให้กับคนอื่นได้
2. ให้ความรู้สึกสนุนสนาน การไม่เป็นที่น่าเบื่อซ้ำซากกับคนอื่น เรียกว่าเป็นความประทับใจแรกพบ ไม่มีใครอยากอยู่กับคนที่อารมณ์เสียตลอดเวลา ไม่มีใครอยากอยู่กับคนที่ทำตัวน่าเบื่อ ใครๆ ก็ต้องการคนที่ร่าเริงสนุกสนานและรู้กาลเทศะ
3. ให้ความรู้สึกสำคัญกับคนอื่น คนในโลกนี้ต่างต้องการมีตัวตน เราให้ความสนใจว่าคนอื่นมีตัวตนในโลกใบน้ี รับฟัง และเข้าใจในสิ่งที่เขาเป็น ให้อิสระในการตัดสินใจ และให้เขาได้ภาคภูมิใจในความเป็นตัวของเขา ความคิดของเขา
4. ให้ความรู้สึกดูแล เอาใจใส่ มนุษย์ต่างต้องการมีคนที่เข้าใจ คอยดูแลอยู่ใกล้ๆ ช่วยเหลือกันในยามที่ยากลำบาก มีปัญหา ความรู้สึกแบบนี้จะเกิดกับบางคนที่รู้สึกพิเศษด้วยเท่านั้น
5. ให้ความรู้สึกถึงการเติบโต เป็ฯความรู้สึกว่า ชีวิตได้มีการพัฒนามากขึ้น มีอะไรดีๆ เพิ่มขึ้นในชีวิต ไม่อยู่กับที่ มีการเพิ่มพูนมากขึ้นไม่ทางใดก็ทางหนึ่งในชีวิต
การให้ทั้ง 5 อย่างนี้ เป็นการให้ของคนมีเสน่ห์ มีแรงดึงดูดกับบุคคลอื่น ซึ่งไม่จำเป็นที่ต้องให้ทั้ง 5 อย่าง เพียง 1-2 อย่างก็สามารถสร้าง Connection ได้แล้ว
ในทางตรงกันข้าม เมื่อมนุษย์เราได้รับแล้ว ก็ต้องการให้บ้าง คนที่สามารถสร้าง Connection ต้องเรียนรู้ในการรับด้วย เพราะเมื่อคนเราได้รับแล้ว เป็นเรื่องธรรมดาที่อยากตอบแทนคืนบ้าง อยากเป็นผู้ให้บ้าง และเราต้องรับอะไรบ้างหละ รับในความรู้สึกทั้ง 5 อย่างที่ได้ให้ไป
เมื่อเราเรียนรู้ในการรับและให้แล้ว เราจะสามารถสร้างความสำพันธ์ที่ดีกับคนอื่นได้อย่างรวดเร็ว แต่ต้องหัดสังเกตุด้วยว่า คนที่อยู่รอบข้างเราแต่ละคนต้องการอะไรบ้าง เพราะ ถ้าเราให้ความรู้สึกไม่ตรงกับที่เขาต้องการ เขาจะถือว่าเขาไม่ได้รับอะไรเลย ทำให้การให้ของเราเป็นการสูญเสียโดยเปล่าประโยชน์
💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖