การเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องธรรมชาติ
ในจักรวาลนี้เราต่างรู้ดีว่าทุกอย่างต้องมีการเปลี่ยนแปลงเสมอ ถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงแสดงว่าสิ่งนั้นไม่คงอยู่ในจักรวาลนี้แล้ว เวลาก็เปลี่ยนแปลงไปทุกวินาที เซลล์ในร่างกายก็เปลี่ยนตลอดเวลา ความคิดไม่เคยหยุดนิ่ง (ใครบังคับให้ความคิดหยุดนิ่งได้บ้าง) โลกก็ยังหมุนตลอดเวลา อะไร อะไร ก็เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เราจึงเรียกการเปลี่ยนแปลงนี้ว่า สัจธรรม
ธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลง
การเปลี่ยนแปลงทำให้สิ่งมีอยู่ เป็นอยู่ หรือคงอยู่ ไม่เหมือนเดิม ไม่ว่าจะเปลี่ยนไปมากหรือน้อย ก็นับว่าไม่เหมือนเดิม ทำให้มีผลกระทบต่อสิ่งที่อยู่รอบๆ ด้วย เช่น การรับน้ำหนัก การรับมือ การรักษาสภาพสมดุล ก็ย่อมเปลี่ยนแปลงไปด้วย สถานการณ์แบบนี้ เรียกว่า พลวัตร หรือภาษาอังกฤษ เรียกว่า Dynamic ซึ่ง ทุกอย่างในในจักรวาลนี้ มีความพยายามอย่างหนึ่งคือการรักษาสภาพสมดุลเอาไว้เข้าด้วยกัน ถ้าอะไรที่ไม่สมดุล สิ่งนั้นก็จะแตกสลายหายไปในที่สุด ยกตัวอย่าง ถ้าเซลล์ในร่างกายไม่สมดุล เซลล์ต่างๆ จะเสื่อมสภาพลงไป ถ้าระบบนิเวศไม่สมดุล ระบบนั้น จะพังลง ถ้าบ้านไม่สมดุล บ้านจะทลายลงมา ทุกอย่างต้องสมดุล
การรักษาสภาสมดุล
ในการรักษาสภาสมดุลต้องอาศัยสิ่งหนึ่งคือ แรง หรือพลังงานที่เป็นสิ่งที่ยึดเหนี่ยวทุกอย่างเข้าด้วยกัน เพื่อให้รักษาสภาพไว้ได้ แรงหน้าตาเป็นอย่างไร ไม่มีใครรู้ เพราะไม่เคยเห็น แต่รับรู้ได้ สัมผัสได้ วัดค่าได้ สร้างขึ้นได้ และทำลายลงได้ สิ่งต่างๆ ยิ่งมีแรงระหว่างกัน แรงที่เรารู้จักมาตั้งแต่เกิดคือแรงโน้มถ่วงและแรงดึงดูด ทำให้เราสามารถยืนอยู่บนโลกนี้ได้ ใครหละที่เป็นเจ้าของแรง คำตอบคือ ทำสรรพสิ่งในจักรวาลนี้ต่างเป็นเจ้าของแรงและต่างออกแรกอยู่ตลอดเวลาเพื่อรักษาสภาพให้สมดุล
แต่เรื่องมันไม่ได้ง่ายแบบนั้น เพราะเมื่อมีอะไรบางอย่างที่เปลี่ยนแปลงไป สิ่งอื่นๆ ต้องออกแรงมากขึ้นเพื่อพยายามให้กลับมาสมดุล ตรงนั้นเอง เรียกการออกแรงที่เพิ่มขึ้นว่า ความพยายาม ในทางธุรกิจ หรือทางเศรษฐศาสตร์เรียกว่าต้นทุน เป็นการกระทำที่ไม่รู้ตัวว่า ต้องทำอะไร ทุกอย่างเป็นอัตโนมัติแบบธรรมชาติ ถ้าไม่เป็นธรรมชาติ ระบบต่างๆ ในโลกนี้ ก็ย่อมอยู่ไม่ได้ แต่กสลายไปหมดแล้ว
ทุกคนกลัวการเปลี่ยนแปลง
อะไรทำให้เราต้องกลัว ในเมื่อการเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องธรรมชาติ จริงๆ แล้ว ความกลัวตรงนี้เป็นความกลัวระดับเล็กๆ ไล่ไปถึงระดับใหญ่ๆ เป็นการแสดงออกถึงการปกป้องตัวเอง ความกลัวนี้เป็นสิ่งที่สมองสร้างขึ้นมาเพื่อให้ร่างกายของเราได้รับผลกระทบน้อยที่สุดหรือเรียกว่าปฏิกริยา Reaction ปฏิกริยาสะท้อนกลับ
ปฏิกริยาสะท้อนกลับ เป็นการสื่อสารระหว่างตัวเองและการสื่อสารระหว่างสิ่งที่อยู่รอบข้างว่า มีการเปลี่ยนแปลงมากเกินไปแล้วนะ ร่างกายไม่อยากได้การเปลี่ยนแปลงนั้น มิฉะนั้นแล้วร่างกาย (ของฉัน) จะต้องเสียต้นทุน หรือแรง หรือพลังงานในการรักษาสมดุลในสภาพแวเล้อมใหม่ การแสดงออก สมองเราทำแสดงออกมาโดยไม่รู้ตัว เพื่อบอกว่า แรงที่ต้องลงไป ไม่คุ้มค่ากับสิ่งที่จะได้กลับคืนมา
ทำอย่างไรถึงจะยอมรับการเปลี่ยนแปลง
มนุษย์เราจะยอมรับการเปลี่ยนแปลง หรือยอมเสียต้นทุนของชีวิตได้เมื่อ การใช้ต้นทุนนั้น ได้รับประโยชน์คืนกลับมาในขนาดที่มีกำไรมากกว่า หรือเรียกว่า คุ้มค่าที่จะเสียพลังงานในการเปลี่ยนแปลง อย่างเช่น คนที่ยอดลดน้ำหนัก เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนมาก ในการลดน้ำหนัก ร่างกายต้องเสียพลังงานสะสมที่ร่างกายคิดว่าเป็นการสะสมต้นทุนของชีวิคเพื่อให้ชีวิตมีพลังงานมากพอในการเอาชีวิตรอด ด้วยการ ออกกำลังกาย ลดอาหาร ถ้าคนที่ลงน้ำหนักต้องการลดน้ำหนักไขมันลง 1 กิโลกรัม ต้องใช้พลังงานมากกว่ารับเอาพลังงานเข้าร่างกายประมาณ 7,000 Kcal หรือคิดเป็น ข้าวขาหมูประมาณ 10 จาน!!!
คนที่ยอมตัดสินใจ ลงมือเปลี่ยนแปลงรูปร่างตัวเองต้องอาศัยการใช้พลังงานแบบมหาศาล การวิ่ง 1 กิโลเมตร จะเผาผลาญพลังงานได้ประมาณ 90 Kcal สำหรับคนน้ำหนัก 80 กิโลกรัม และจะมีการเผาพลาญต่อหลักการออกกำลังกาย นั่นหมายความว่า ถ้าไม่เปลี่ยนแปลงการรับประทานเลย จะต้องวิ่งเพิ่มขึ้นประมาณ 70 กิโลเมตร เพื่อลดน้ำหนัก 1 กิโลกรัม เป็นอย่างไรบ้าง คนที่ต้องการลดน้ำหนักต้องเสียต้นทุนมหาศาลขนาดไหนในการลดน้ำหนักแต่ละกิโลกรัม ดังนั้น สูตรการลดน้ำหนักจำนวนมาก จึงใช้การควบคุมอาหารเข้รร่วมด้วยเพื่อลดปริมาณของพลังงานที่เข้าไป นั้นหมายถึง ต้องต่อสู้กับความหิว ความอยาก นิสัยเดิมๆ ที่สมองจะสร้างความเครียดจากความกลัวมามากมาย
แต่เบื้องหลังความต้องการในการเปลี่ยนแปลงคือ ทุกคนที่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงด้วยความเต็มใจ นั้น เชื่อว่า สิ่งที่จะเกิดขึ้นหลังการเปลี่ยนแปลง จะได้ประโยชน์มากกว่าแรง ต้นทุน ที่ลงไป ซึ่งในการบริหารคน ก็มีขั้นตอนหลายเทคนิค เช่น ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแบบมีส่วนร่วม การสื่อสารให้เข้าใจว่าจะเกิดอะไรขึ้นในกรเปลี่ยนแปลงนั้น และจะได้อะไรในการเปลี่ยนแปลง
ที่สำคัญ การที่ทำให้มนุษย์ยอมรับการเปลี่ยนแปลงคือการทำให้คนมีส่วนร่วมในการสร้างการเปลี่ยนแปลง เช่น มากำหนดเป้าหมายของการเปลี่ยนแปลง กำหนดวิธีการเปลี่ยนแปลงด้วยตัวเอง เพราะนั้นหมายถึง การแสดงความเป็นเจ้าของการเปลี่ยนแปลงนั้น มนุษย์จะมีความหวงแหนวิธีการของตนเอง เป็นสัญชาตญาณของมนุษย์ที่มีมาแต่กำเนิด
บทสรุป
การเปลี่ยนแปลง ไม่ได้แย่ แต่การเปลี่ยนเปลี่ยนแปลง ต้องชัดเจนว่าสร้างประโยชน์อะไรให้กับชีวิตของคนที่จะถูกเปลี่ยนแปลง ให้เขาเหล่านั้น สร้างการเปลี่ยนแปลงที่มีเป้าหมายร่วมกัน และไปด้วยกัน ซึ่งเป็นศิลปะแห่งการเปลี่ยนแปลงที่ต้องเรียนรู้จากสถานการณ์ต่างๆ รอบด้าน
-
หลังจากการเลือกตั้งของประเทศไทยปี 2566 ผ่านพ้นไป ได้เห็นคะแนนกันไปแล้ว ส่วนการจัดตั้งรัฐบาลจะเป็นอย่างไรก็เป็นเรื่องของผู้ที่เกี่ยวข้องไปจัด...
-
EP39 #สร้างทีมงานให้เป็นผู้ประกอบการ ปัญหาปวดหัวที่สุดของการสร้างทีมงานคือการสร้างความภักดีในองค์กร เป็นที่รู้กันว่า เมื่อพนักงานไม่มีความภ...
-
#ปัญหาว่าด้วยการแก้ไขสถานการณ์วิกฤติ ช่วงนี้ประเทศไทยได้เจอกับสถานการณ์วิกฤตหรือที่เราจะเรียกว่าอุบัติเหตุการอยู่บ่อยครั้ง อย่างที่เห็นได้ชั...