จากแนวคิดสู่การลงมือทำ
สัจธรรมอย่างหนึ่งในโลกนี้ที่เกี่ยวกับความสำเร็จ คือ ไม่มีความสำเร็จใดจะเกิดขึ้นได้โดยไม่ลงมือทำ จากบทต่างๆ ข้างต้นที่ได้เล่าให้ฟังทั้งหมดนั้น เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการใช้สมองทั้งนั้น แต่บทนี้สิ่งที่แตกต่างออกไปคือการใช้ร่างกายให้เกิดความสำเร็จที่เรียกว่าการกระทำ
ผู้ประกอบการ หมายถึง ผู้ประกอบ กิจการ การกระทำของใครหลายๆ คนเข้าด้วยกัน ให้เกิดเป็นงานใหม่ ตามเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ ดังนั้น จะเป็นผู้ประกอบ หรือเป็นผู้กระทำ ต้องลงมือทั้งนั้น และปัญหาอะไรหละ ที่ต้องมาพูดเรื่องการลงมือทำ
“ความขี้เกียจ”
“สนุกกับความคิด”
”ความกลัว”
มาถึงตรงนี้แล้ว เชื่อได้ว่า ทุกคนน่าจะมีเป้าหมายและความฝันของตัวเองที่ชัดเจนและมีแนวทางอันสร้างสรรในการจัดการชีวิตเรียบร้อยแล้ว แต่พร้อมหรือยังที่ลงมือทำอะไรบางอย่างในการสร้าวความสำเร็จของเรา
ในกรณีที่เรายังเป็นนักเรียนนักศึกษาอยู่ กิจกรรมที่ยากที่สุดในการเรียนคือ การขยันเรียน การอ่านหนังสือ และการสอบ และคำยอดฮิตติดปากของเรา คือ ขี้เกียจอ่านหนังสือ ปวดหัว และอะไรอีกหลายๆ อย่างที่ทำให้เราเป็นข้ออ้างที่ทำให้เรารู้สึกได้รับความชอบธรรมในการไม่อ่านหนังสือ จริงๆ แล้วคือ เราขี้เกียจนั่นเอง
หรืออย่างคนที่ต้องการเปลี่ยนแปลงชีวิตของเราเอง เพื่อการบรรลุเป้าหมายของเรา เรามักจะหาข้อมอ้างเสมอ เช่น ให้เริ่มปีใหม่ก่อน แล้วค่อยเปลี่ยน หรือบอกว่า ตอนนี้ยังไม่พร้อม หรือ อ้างฝนตกบ้าง อ้างความปลอดภัยบ้าง ในความเป็นจริง เราอาจกำลังกลัวอะไรบ้างอย่างอยู่ กลัวสูญเสียความสบายในปัจจุบัน กลัวว่าทำแล้วไม่สำเร็จ คนอื่นจะนินทา เลยไม่ทำเลยดีกว่า ไม่เหนื่อยด้วย
ในอีกกรณีหนึ่งคือ พวกที่มีความคิดเยอะ ถึงเยอะมากที่สุด คิดทุกวัน แล้วบอกว่าต้องคิดให้รอบคอบก่อน ในการลงมือทำ และก็มีไอเดียใหม่ๆ เกิดขึ้นเสมอ และสนุกกับความคิดใหม่ทุกวัน หรือบางคนคิดใหญ่ จนไกลเกินเอื้อมจากที่อยู่ในปัจจุบัน และไม่มีแนวทางในการเดินเข้าหาเป้าหมายนั้น จนไม่มีอะไรเกิดขึ้น จนคนรอบข้างบอกว่าคนเป็นประเภทนี้เป็นคนเพ้อฝัน พวกนี้ เป็นพวกที่สนุกกับความคิดมากเกินไป จนรู้สึกว่า การลงมือทำนั้น มันยากกว่าคิด
เราต้องจัดการตัวเอง เพื่อให้สิ่งที่เป็นอุปสรรคในความสำเร็จของเราทั้งหมดนั้น หายไปหมด และความสำเร็จก็เป็นจริงขึ้นมาด้วยวิธีการต่อไปนี้ ใส่คุณค่าให้เป้าหมาย หาสาเหตุของความกลัว หยุดฝันแล้วลุย ถีบตัวเองแรงๆ และกรโจนลงสระให้สุดตัว เราไปดูกันทีละขั้นตอนกันว่าเราจะเริ่มทำได้อย่างไร
ใส่คุณค่าให้เป้าหมาย
เป้าหมาย เป็นแรงขับเคลื่อนที่มีพลังมากที่สุดของชีวิตมนุษย์ หลายคนเคยมีเป้าหมายในชีวิต แต่วันหนึ่ง กลับหายไปเฉยๆ มีคนจำนวนมากบอกว่า ได้ลืมเป้าหมายไปหมดแล้ว เมื่ออายุเริ่มมากขึ้นเมื่องานยุ่งขึ้น หรือเมื่อมีสิ่งที่ต้องรับผิดชอบมากขึ้น หลายคน ในวัยเด็กมีสิ่งที่อยากทำมากมาย แต่เมื่อเข้าสู่การทำงานสิ่งเหล่านั้นหายไปหมด เหลือแต่เพียงการหาเงินหารายได้ให้กับตนเอง เพราะอะไรหน่ะหรือ ก็เพราะว่า เมื่อเราโตขึ้น เรามักจะคิดว่าการหารายได้เป็นสิ่งที่สำคัญและมีคุณค่า (ที่เห็นอยู่ต่อหน้า) และเป้าหมายของเรา เป็นสิ่งที่ยังอีกไกล ไม่รู้จะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ นอกจากนั้น ท้องของเรา เรียกร้องความหิววันละ 3 เวลา จึงพยายามทำทุกอย่างเพื่อตอบสนองสิ่งที่อยู่ต่อหน้าเสียก่อน เราจึงลืมเป้าหมายของตัวเอง หรือพักเอาไว้ชั่วคราว
เราต้องหยุดมามองตัวเองบ้าง ว่าในแต่ละวเรกำลังทำอะไรอยู่ เป้าหมายของเราคืออะไร และ “สำคัญต่อชีวิตของเราอย่างไร?”
ความสำคัญของเป้าหมายนี้ เป็นการบอกว่า เป้าหมายมีค่ากับชีวิตของเราขนาดไหน กลไกที่สำคัญของการทำงานของสมองของเรา คือ สมองเราจะเลือกทำงานเฉพาะสิ่งที่สมองประเมินแล้วว่ามีประโยชน์ต่อชีวิต ความสุข และการอยู่รอดเท่านั้น ดังนั้น ความฝันที่เลื่อนลอย ไม่มีประโยชน์อะไรกับชีวิต สมองจะทำการกำจัดทิ้งด้วยการลืมทันที
ถ้าเราไม่อยากลืมความฝันของเรา เราต้องเรียนรู้การย้ำเตือนตัวเองให้คิดถึงความสำคัญของเป้าหมายเสมอ พร้อมหรือยัง ถ้าพร้อมแล้วไปกันเลย
หลับตาลง คิดถึงภาพของวันที่เราได้รับเป้าหมายนั้นมาอยู่ในมือ จินตนาการถึง บรรยากาศของช่วงเวลาที่เราได้รับเป้าหมายนั้น ความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากการได้รับเป้าหมายมาอยู่ในตัวเรา คิดถึงเสียงของคนที่อยู่รอบข้าง รอยยิ้มของพวกเขา ที่จะเกิดขึ้นในช่วงเวลานั้น รับเอาความอิ่มเอมของสิ่งที่เกิดขึ้นมาเก็บเอาไว้ในใจของเรา ซึมซาบความรู้สึกเหล่านั้นให้เต็มที่
ลืมตาขึ้น ถามหัวใจตัวเองดูว่า เรามีความสุขขนาดไหน ความสุขนี้ เกิดจากอะไร เราภาคภูมิใจอะไรในความสุขนั้น และความรู้สึกเหล่านั้น มีความสำคัญอย่างไรในชีวิตของเรา มองลงไปลึกๆ ในความรู้สึกแห่งความสุข จริงๆ อะไรคือความสำคัญนั้น คือคุณค่าของเป้าหมาย ของเรา ถึงตรงนี้ เราจะรู้สึกว่า เป้าหมายนั้น เป็นสิ่งที่หอมหวาน ถ้ายังไม่ร็ว่าจหาเป้ามายได้อย่างไร ลองกลับไปอ่านบทเป้าหมาย สิ่งยั่วยวนและทรงพลังอีกครั้งหนึ่ง
ทบทวน ในแต่ละวัน เราต้องกลับมาทบทวนตัวเองว่า เป้าหมายของเรายังมีคุณค่าอยู่จริงหรือไม่ คิดย้อนกลับไปตอนที่เราค้นพ้บเป้าหมายใหม่ๆ รับเอาพลังของความสุขที่เราได้รับจากการจินตนาการเมื่อเราสามารถไปถึงเป้าหมายของเราได้สำเร็จ ให้เรารับเอาความสุขนั้นทุกวันเพ่อเป็นการย้ำความสำคัญของเป้าหมายของตัวเอง
แต่ในบางคน อาจจะมีเหตุการณ์ที่ความรู้สึกเปลี่ยนแปลงไป นั่นก็ไม่ใช่เรื่องแปลก หากแต่หมายความว่าคุณค่าของชีวิตเรานั้น เปลี่ยนแปลงไปเรียบร้อยแล้ว เป็นสัญญาณบอกให้เรารู้ว่า เป้าหมายที่มีคุณค่าของชีวิตเรากำลังเปลี่ยนแปลงไป ให้เรารีบหาเป้าหมายใหม่ ตั้งต้นใหม่ จากประสบการณ์ ความรู้ ความคิด ที่มีอยู่อย่าไปเสียดายเวลา แต่ให้เปลี่ยนแปลงการลงทุนลงแรงทั้งหมดเป็นการสร้างพลังให้กับตนเอง ย้อนกระบวนการใหม่อีกครั้งหนึ่ง
หาสาเหตุของความกลัว
เมื่อเรามีคามชัดจนกับเป้าหมายแล้ว แต่หลายคนก็ยังไม่ลงมือทำสักที เพราะมีสิ่งที่ต้านทานอยู่ในตัวเรา นั่นคือความกลัว ความกลัวเป็นความเสี่ยงทางด้านจิตวิทยา (ดูในบทความเสี่ยงอันน่ารัก) ซึ่งในความเป็นจริง ความกลัวเป็นความรู้สึกที่เราสร้างขึ้นมาเองล้วนๆ เป็นกลไกการป้องกันตนเองไม่ให้ตกอยู่ในอันตราย แต่บางครั้งทำงานดีเกินไป จนเราไม่กล้าทำอะไรเลย กลายเป็นเครื่องมือที่ให้เราอยู่สภาพแวดล้อมเดิมๆ
การหาสาเหตุของความกลัว ต้องใช้ใจละเอียดสัมผัส หาเราเร่งรีบในการค้นหา คำตอบที่ได้รับโดยส่วนใหญ่คือ คิดไม่ออก ไม่รู้ ไม่เข้าใจ อึดอัด โดยเฉพาะคนที่ยังไม่เข้าใจคุณค่าของเป้าหมายของตัวเอง สมองจะไม่พยายามหาคำตอบอะไรทั้งสิ้น เนื่องจากรู้สึกว่าเหนื่อย ปวดหัว
การค้นหาสาเหตุของความกลัว เริ่มจากการนั่งนิ่งๆ ในสถานที่ผ่อนคลาย หรือใครจะยืนก็ไม่ผิดกติกา แต่ต้องเป็นที่ผ่อนคลาย เพื่อลดความกังวลในเรื่องต่างๆ และไม่เป็นการเพิ่มความกลัวให้กับตัวเราเองอีก
- ถามใจตัวเองเบาๆ ที่ผ่านมาก เรากำลังอึดอัดเรื่องอะไร
- เรากำลัวห่วงเรื่องอะไรมากที่สุด เมื่อเราต้องเดินตามเป้าหมายของเรา
- สิ่งที่เราห่วงอยู่นี้ มีสาระสำคัญมากขนาดไหน
-หากสิ่งนั้นมีสาระสำคัญมาก และเทียบกับเป้าหมาย อะไรมีความสำคัญมากกว่ากัน
ถึงตรงนี้ หลายคนจะมีคำว่า “แต่” ปรากฏขึ้นมา ให้ใจเย็นๆ นั่นแสดงว่าสมองของเรากำลังทำงานแล้ว!!!!
การเกิดความขัดแย้งในใจของเรา คือการต่อต้านการเปลี่ยนแปลงของสมอง และสมองกำลังชั่งน้ำหนักของความสำคัญจากทั้ง 2 ด้าน นับเป็นช่วงเวลาทองที่เรา จะได้เข้าใจความต้องการที่แท้จริงของตนเอง รวมถึงการหาทางออกที่ลงตัว คำว่า “แต่” ในสมอง สามารถจัดการได้โดย
ตั้งคำถามให้กับตนเอง “เป้าหมายปลายทางของเรานั้น คืออะไร สิ่งนั้นมีความสำคัญของเราขนาดไหน?” “แล้สเรากำลังรู้สึกกลัวหรืออึดอัดอะไร?”
แล้วมีเปรียบเทียบดูว่าความรู้สึกไหนมีค่ามากกว่ากัน จงเชื่อในความรู้สึกนี้ แล้วตัดใจเลือกหนึ่งทาง ทำตามความรู้สึกของตัวเอง
ถ้าเลือกทางที่อึกอัด ให้กลับมาทบทวนว่า เราสามารถจัดการตัวเองให้ก้าวข้าม ขจัด หรือผ่านคสามรู้สึกนี้ได้ได้หรือไม่ แล้วลงมือจัดการก่อน
ถ้าเลือกทางเลือกที่เดินตามความฝัน ให้หยุดฝันแล้วลุย ลงมือทำ
หยุดฝัน แล้วลุย
หยุดฝัน ยังไงนะ ไหนพูดมาตลอดให้ฝันถึงเป้าหมายตัวเอง แล้วเกิดอะไรขึ้น ให้มาหยุดฝัน ความหมายที่แท้จริงคือ หยุดฝันเรื่องใหม่ แล้วลงมือทำซะ
เพราะเมือเรายังไม่หยุดฝัน สมองเราจะเพลิดเพลินกับการคิดจนเกิดการลืม ลืมทำให้มันเกิดขึ้นจริง
การหยุดฝันในที่นี้ คือหยุดฝันของใหม่ หยุดเพิ่มเติมความคิดใหม่ แล้วให้กลับมาอยู่กับความคิด เป้าหมายปัจจุบัน ใช้สมองของเรามุ่งเป้าไปเพียงเรื่องเดียว รวบรวมพละกำลังทางความคิดเพื่อจัดการกับเป้าหมายต่อหน้าเสียก่อน
สมองของมนุษย์ เป็นอวัยวะที่ถูสร้างขึ้นมาเพื่อคิด ดังนั้น สมองจึงชอบคิดมาก จะเพลิดเพลินกับความคิด ยังได้คิดถึงเรื่องของเป้าหมายที่ทำให้เกิดความสุขแล้ว สมองจะไม่ยอมหยุดคิด เพราะความคิดนั้นก่อให้เกิดความสุข กลายเป็นอาการเสพติดความฝัน
นี่เป็นสาเหตุของคนที่ชอบมีอาการฝันกลางวัน แต่ในความเป็นจริงแล้ว ฝันกลางวันไม่ใช่เรื่องเสียหาย ถ้าใช้การฝันกลางวันเป็นการสร้างภาพอนาคต การฝันกลางวันจึงต้องมีความพอดีในการฝัน เพราะชีวิตของเรามีชีวิตอยู่ได้ในปัจจุบัน ไม่ใช้อนาคตที่ยังมาไม่ถึง แต่ชีวิตเราจะประสบความสำเร็จได้เมื่อมีแผนการเดินทางจากปัจจุบันสู่ความต้องการในอนาคต
แล้วทำไงหละ ให้สามารถหยุดฝันได้? ก็แค่ ตั้งสติ แล้วหายใจเข้าลึกๆ บอกกับตัวเองว่า หยุดได้แล้ว หยุดที่จะคิด แล้วลงมืทำซะ ไม่มีความสำเร็จอะไรเกิดขึ้นได้ด้วยการฝันเพียงอย่างเดียว แต่ต้องผ่านการลงมือทำให้มันเกิดขึ้น
แต่สิ่งที่ต้องระมัดระวังในการหยุดฝันคือ ลืมความฝันที่เป็นเป้าหมายของตัวเอง เพราะมัวแต่ทำ จนไม่รู้ว่า ทำอะไรอยู่ และทำไปเพื่ออะไร
สรุปคือ การหยุดฝัน หมายถึงหยุดฝันเรื่องใหม่ และอยู่กับเป้าหมายที่ฝันกระบวนการฝัน คิด วางแผนไว้อย่างดีแล้ว เพื่อให้ลงมือทำให้สำเร็จ
ถีบ (ก้น) ตัวเองแรงๆ
ในจังหวะชีวิตที่ยากที่สุดจังหวะหนึ่งในการเป็นผู้ประกอบการ ทำตามเป้าหมายของตัวเอง คือ การสร้างจุดเริ่มต้นของการลงมือ หลายคน ตัดสินใจแล้วว่าจะเป็นอย่างไร ทำอะไร วางแผนอย่างรอบคอบแล้วว่าต้องทำอะไรบ้าง แต่ติดอยู่ที่จุดเริ่มต้น เหมือนที่ ะไรมาฉุดรั้งเอาไว้ เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องแปลง เพราะสมองของเรากลัวการเปลี่ยนแปลง กลัวเรื่องใหม่ที่ยังไม่มั่นใจว่า จะเกิดอะไรขึ้น ให้ลองคิดย้อนกลับไปดูว่า ในวันแรกที่เราต้องเปลี่ยนโรงเรียน วันแรกที่เราต้องเปลี่ยนที่ทำงาน วันแรกที่เราต้องเปลี่ยนที่อยู่ใหม่ เรามักจะเกิดความกังวลอยู่เสมอ เช่นเดียวกัน เมื่อเราต้องเกิดการเปลี่ยนแปลงชีวิตเพื่อให้เกินตามความฝัน หลายคนต้องเกิดการเปลี่ยนแปลงชีวิตเป็นอย่างมาก
ต้องเปลี่ยนแปลงอาชีพ เปลี่ยนแปลงที่อยู่ หรือบางคนต้องเปลี่ยนจากชีวิตจากมนุษย์เงินเดือน เ็นเจ้าของกิจการ นับว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่มากในชีวิต บางคนเปลี่ยนแปลง วิธีการประกอบอาชีพ จากธุรกิจหนึ่งไปสู่อีกธุรกิจหนึ่ง บางคนต้องเปลี่ยยนแปลงวิธีการดำเนินชีวิตไปโดยสิ้นเชิง
เพราะแบบนี้แหละ เราจึงเกิดอาการชะงักทางความคิด เราจึงต้องสร้างเครื่องมือผลัก (ถีบ) และดึง ชีวิตของเราให้มีการเปลี่ยนแปลง คล้ายๆ กับเอาชีวิตไปเดิมพันเอาไว้กับบางเรื่อง
การสร้างเครื่องมือผลัก จะทำได้โดยการเพิ่มความเจ็บปวดทางอารมณ์และจิตใจให้กับตนเอง เช่น ถ้าเป็นคนที่ห่วงศักดิ์ศรีตัวเอง ก็สามารถใช้วิธีการประกาศว่า “ต่อไปนี้ ฉันต้องสร้าง .… (ความฝัน)… ให้สำเร็จ ทุกคนคอยดูนะ” หรือถ้าเป็นพนักงานบริษัท ก็ประกาศในที่ทำงานเลยว่า ฉันจะลาออก ไปทำธุรกิจส่วนตัว
ถ้าเป็นคนห่วงครอบครัว ก็ใช้การประกาศว่า หากชีวิตนี้ไม่ประสบความสำเร็จโดยเร็ว ครอบครัวต้องได้รับความยากลำบาก เราเองไม่สามารถสร้างความรุ่งเรื่อง และมั่นคงให้กับครอบครัวได้
ถ้าเป็นคนที่ห่วงโลกและสังคม ให้บอกตัวเองว่า ถ้าเรายังไม่ลงมือทำอะไร โลกใบนี้ยังต้องทนทุกข์ทรมาณต่อไป เพราะเราไม่สามารถทำอะไรได้
หลักการคือ หาจุดเปราะบางทางอารมณ์ของตัวเอง แล้วท้าทายความกับความรู้สึกนั้น หากทำไม่ได้ตามที่ต้วเองต้องการ เราจะสูญเสียสิ่งที่เราหวงแหนในชีวิต ทั้งเรื่องศักดิ์ศรี ครอบครัว เงิน ความมั่งคั่ง สุขภาพ
ในทางตรงกันข้าม บอกกับตัวเอง ว่า หากลงมืิอทำเดี๋ยวนี้ เราจะได้รับอะไรดีๆ เข้ามาในชีวิต เช่น ตอนนี้อายุยังน้อย ยังมีเวลาในการสร้างความฝันของตัวเองได้นาน มีเวลาในการใช้ชีวิตที่เราต้องการ มีเวลาในการสร้างความมมั่นคงในชีวิตให้ครอบครัว มีเวลาในการดูแล้วตัวเอง มีเวลาพิสูจน์ในความสามารถของตัวเองได้อย่างเต็มที่
กระโจนลงสระให้สุดตัว
อาการหนึ่งที่มักจะเกิดขึ้นกับคนที่เริ่มต้นอะไรใหม่ๆ คืนลังเลเมื่อลงมือทำไปแล้ว กลับหลังหันเมื่อเริ่มออกเดิน สิ่งนี้อันตรากว่าไม่ลงมือทำเสียอีก
อาการนี้คล้ายๆ กับคนที่กระโดดลงสระน้ำ แล้วเปลี่ยนใจกลางอากาศ แล้วพยายามกลับตัวเข้าหาฝั่ง ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นคือ กลับไม่ได้ แต่ท่าลงน้ำไม่สวย หรือท่าที่ไม่เหมาะกับการลงน้ำ ก็เจ็บตัวสิ
ผู้ประกอบการที่ฉลาด จะไม่ลังเล เมื่อตัดสินใจที่ผ่านกระบวนการคิดมาอย่างดีแล้ว เมื่อลงมือทำ ต้องลงมือย่างเต็มที่ ทำไปก่อนอะไรที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ค่อยไปว่ากันที่หลัง ไปแก้ไข ปรับปรุงแผนการกันข้างหน้า เข้าใจถึงความไม่แน่นอนของอนาคต และไม่กังวลกับสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น
คุณสมบัติเหล่านี้ คือสิ่งที่ทำให้ผู้ประกอบการแตกต่างจากคนอื่น เป็นคนที่มุ่งมั่นสู่ความสำเร็จ และผู้ประกอบการ มีเทคนิคในการสร้างการคิดให้กับตัวเอง เพื่อกระโจนลงสระให้สุดตัว
เทคนิคการสร้างแรงกระโจนลงสระ
ขั้นที่ 1 การสร้างพลังในสมอง ให้เดี่ยวเดียว ไม่ลังเล เทคนิคนี้คือการย้ำเป้าหมายของตัวเองให้ชัดเจนอยู่ตลอดเวลา ห้ามลืมเด็ดขาด เพราะเป้าหมายมีพลังอย่างน่าเหลือเชื่อในกรปลี่ยนแปลงของมนุษย์ (อ่านในบทเป้าหมาย สิ่งยั่วยวนและทรงพลัง)
ขั้นที่ 2 ประกาศในโลกรู้ว่า เรากระโจนแล้ว ทั้งโลกจะจับตามองเรา ว่าเราทำอะไร สิ่งที่เราจะได้รับจากการประกาศ คือ คำสนับสนุน การเฝ้ามอง ของบุคคลรอบข้าง ควาดหวัง รวมถึงแรงคิดทางลบของดวย สิ่งเหล่านี้ เป็นการสร้างแรงกดดันให้เราต้องเดินตามทางแห่งความสำเร็จ บางคนอาจคิดว่าเป็นแรงกดดัน ทำไมต้องมาเครียดเรื่องแบบนี้ ไมชอบ ไม่อยากทำ แต่ถ้าเราคิดใหม่ แนวคิดของคนที่สามารถพัฒนาตัวเองได้ คล่านี้จะเปลี่ยนแรงกดดันเหล่านี้ เป็นแรงผลักดัน นั่นคือ วิถีของผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จ
ขั้นที่ 3 กลั้นใจจากสถานะเดิม โลกนี้ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงเสมอ การเกิด และการเปลี่ยนแปลงเป็นของธรรมดา ไม่มีสิ่งใดที่จะยืนยงพื้นที่แห่งความสบาย (Comfort Zone) ยใจเข้าลึกๆ แล้วพ่นลมหายใจออกแรงๆ พร้อมกับบอกตัวเองว่า ฉันพร้อมแล้วกับเป้าหมายใหม่ที่ต้องการ
มาถึงจุดนี้ เราคือคนที่พร้อมจะเป็นผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จแล้ว หลังจากนี้ไปคือ การเดินตามแผนการของตัวเองที่วางไว้ และทบทวนการดำเนินการอย่างใกล้ชิด เพื่อปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ตลอดเวลา
“ฉันพร้อมแล้ว”
“อะไรก็หยุดฉันไม่ได้”
“ฉันยอดเยี่ยมที่สุด”
ฉันพร้อมแล้วที่เป็นผู้ประกอบการที่สุดยอด
ฉันพร้อมแล้วด้วยหัวใจที่เปี่ยมด้วยพลัง
ฉันพร้อมแล้ว ฉันต้องเปลี่ยนแปลงตัวเอง
ฉันพร้อมแล้ว ในการสร้างสิ่งที่ยอดเยี่ยมให้กับโลกใบนี้...