ผู้ประกอบการผู้นำ
หัวใจผู้ประกอบการ หากเรามีอยู่เต็มตัว แต่เราไม่สามารถทำให้ใครคล้อยตามเราได้ เราเองจะไม่ประสบผลสำเร็จในการเดินหาเป้าหมายของเรา ดังนั้นเราต้องเรียนรู้ในการสร้างความสามารถในการโน้มเอียงความคิดคนอื่นให้คล้อยตามเราได้ สิ่งนั้นเรียกว่าภาวะผู้นำ
ภาวะผู้นำ กับ ผู้นำ
เพื่อให้เข้าใจว่า ผู้นำ กับภาวะผู้นำ มีความแตกต่างกัน ต้องขอเริ่มอธิบายเกี่ยวกับผู้นำก่อน ผู้นำ หมายถึง คนที่มีหน้าที่ในการพา สั่ง กำกับ หรือทำอะไรก็ได้ให้ทีมงานไปยังจุดหมายปลายทางที่ต้องการ โดยส่วนมากแล้ว ผู้นำเป็นผู้ที่มีอำนาจ หรือตำแหน่งสูงสุดในองค์กร เป็นหัวหน้า เป็นผู้จัดการ เป็นอะไรก็แล้วแต่ที่ต้องสั่งการ
แต่ผู้นำจำนวนมากไม่มีภาวะผู้นำ???? แล้วมันคืออะไร ภาวะผู้นำคือความสามารถในการทำให้คนอื่นคล้อยตามความคิดของเราได้ ไม่ใช่สั่งการได้ คนละความหมาย เพราะการสั่งการต้องอาศัยอำนาจ แต่การทำให้คล้อยตามอาศัยการเชื่อใจ และบารมี เราอาจเคยได้ยินหลายครั้งว่า หัวหน้าคนนี้ไม่มีภาวะผู้นำ นั้นแสดงให้เห็นว่า คำสั่งที่สั่งการลงมานั้น ไม่มีความรู้สึกคล้อยตาม เห็นด้วย หรืออยากทำตาม แต่ต้องทำตามเพราะอำนาจ (Authority) ที่หัวหน้าคนนั้นได้รับมาจากคนอื่น ผู้นำที่ดีจะต้องมีอำนาจ (Power) เพื่อใช้ในการสั่งการได้ ซึ่งจะกล่าวต่อไปเกี่ยวกับอำนาจทั้ง 2 ประเภท
สิ่งที่ทำให้เกิดภาวะผู้นำคือความรู้สึกที่คนอื่นมีต่อผู้นำ เกี่ยวกับความรู้สึกทั้ง 5 ด้านที่ได้อธิบายไว้ในเรื่อง Give and Take หรือเรียกว่าผู้นำคือคนที่ให้คนอื่นรู้สึกว่าเราทำให้เขามั่นคง เราทำให้เขาสนุกสนานไม่น่าเบื่อ เราทำให้เขาเป็นคนสำคัญ เราทำให้เขาได้รับความรักดูแลเอาใจใส่ เราทำให้เขาได้รับการเติบโต จะเห็นได้ว่า ผู้นำเป็นเรื่องของความรู้สึกล้วนๆ ไม่ใช่เรื่องตำแหน่งหน้าที่แต่อย่างใด แต่หลายครั้งกลับยอมให้คนที่มีตำแหน่งหน้าที่การงานมาเป็นผู้นำ เพราะอะไรหรือ
เพราะว่า คนเหล่านี้สามารถให้ความรู้สึกที่มั่นคงได้ เขาสามารถรับปัญหา ภาระต่างๆ แทนเราได้ เราจึงรู้ว่า เราปลอดภัยเมื่อให้คนเหล่านี้เป็นผู้นำของเรา แต่อย่างไรก็ตาม คนที่ประสบความสำเร็จทั้งทางด้านการเงิน หรือหน้าที่การงาน มักจะมีบุคลิกที่เป็นภาวะผู้นำโดยธรรมชาติอยู่แล้วเพราะพวกเขาต้องใช้ภาวะผู้นำอยู่เป็นประจำอยู่แล้ว ซึ่งทำให้มีโอกาสได้ฝึกฝนภาวะผู้นำให้เปิดความชี่ยวชาญ และค่อยๆ เพิ่มขึ้นจนสามารถรับรู้ได้จากบุคลิกลักษณะได้
ภาวะผู้นำจึงเป็นสิ่งที่เรียนรู้ และฝึกฝนได้ และที่สำคัญกว่านั้นคือ เพิ่มพูนได้ เนื่องจากรับรู้ภาวะผู้นำ มีได้ 2 ระยะ ระยะแรกเป็นการพบเจอครั้งแรกหมายถึง การที่คนเราพบเจอกันครั้งแรก ก็สามารถรับรู้ได้ว่า คนคนนี้ มีพลังงานบางอย่างที่สามารถทำให้เราปฏิบัติตามคำสั่งได้ (อันนี้ไม่เกี่ยวกับพวกหลองลวง ที่ใช้อุบายต่างๆ มาหลอกล่อเอาเงิน เอาทองนะ) ระยะที่ 2 เป็นระยะที่เคยเจอกันแล้ว มีประสบการณ์บางอย่างกับกับคนคนนั้นแล้ว ที่ให้สิ่งที่เหิดขึ้นในอดีต เป็นการสร้างความรู้สึกในปัจจุบัน ยิ่งนานไปๆ จะสร้างประสบการณ์ที่หน้าแน่นมากขึ้น ถ้าคนคนนั้นมีภาวะผู้นำจริง เราก็สมมารถรับรู้ได้ทุกครั้งที่พบเจอกัน ยิ่งนานวัน ยิ่งพบกันบ่อยครั้ง ยิ่งทำให้เกิดความความรู้สึกในการยอมรับคำสั่งที่เหนียวแน่นมากยิ่งขึ้น แต่ถ้าคนนั้นไม่มีภาวะผู้นำจริง นานวันเข้า เราก็รู้สึกว่า คนคนนี้ ไม่มีความเป็นผู้นำเลย แม้ว่าจะมีตำแหน่งไหนก็ตาม
องค์ประกอบของภาวะผู้นำ
ภาวะผู้นำ เป็นความรู้สึกที่คนอื่นมองไว้ให้กับใครสักคน ที่ให้นำความคิด จนนำไปสู่การกระทำได้ พื้นฐานของภาวะผู้นำ จริงๆ แล้ว เกิดจาก 2 ส่วนเท่านั้น คือ “อำนาจ” และ “บารมี”
อำนาจ เป็นพลังงานบางอย่างที่ บุคคลสามารถใช้บังคับคนอื่นได้ ซึ่งอำนาจได้มาจาก 2 ส่วนคือ อำนาจที่มาจากเบื้องบน เรียกว่า Authority และอำนาจที่เราสร้างขึ้นมาด้วยตัวเอง เรียกว่า Power ไม่ว่าจะเป็นอำนาจแบบไหน ลักษณะพิเศษของอำนาจ คือ ความกลัว เพราะอำนาจจะมาตามด้วยการลงโทษเมื่อ ไม่ทำตามคำสั่ง เพื่อเป็นการทำให้คนอื่นอยู่ภายใต้การควบคุมของตนเอง ในความกลัว คือการกลัวการได้รับอันตรายที่ผู้ที่ใช้อำนาจจะมากระทำต่อเรา เช่น กลัวการถูกตี กลัวการถูกตำหนิ กลัวการถูกปรับ หรืออะไรก็ได้ที่เป็นการทำให้เราเกิดความเสียหาย
การได้มาซึ่งอำนาจที่เป็นลักษณะ Authority ส่วนใหญ่ได้รับมาในรูปแบบของกฎหมาย เช่น อำนาจของผู้บริหารในการดำเนินการภายในของบริษัท ที่เจ้าของบริษัทได้มอบเอาให้กับผู้จัดการ อำนาจที่ได้ ก็เป็นอำนาจสั่งการ อำนาจในการอนุมัติค่าใช้จ่ายในการทำงาน อำนาจในการรับพนักงานเข้ามาทำงาน จริงๆ แล้วคือ อำนาจในการตัดสินใจแทนคนอื่น ในทางสังคม ตำรวจได้รับอำนาจมาจากกฎหมาย ที่ให้เป็นเจ้าหน้าที่ในการบังคับใช้กฎหมาย สามารถใช้กำลังได้ใยบางครั้ง เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยในบ้านเมือง จึงทำให้เราเจอตำรวจอยู่ในภาพของการใช้อำนาจเป็นประจำ จนเกิดภาพในสมองของเราว่า ตำรวจคืออำนาจและลงโทษเราได้
อำนาจในรูป Power เป็นอำนาจที่แต่ละคนต้องสร้างมาเอง ซึ่งอำนาจนี้ มีวิธีการสร้างได้ 2 แบบ แบบแรก ใช้พระเดช หมายความว่า ใช้ความรุนแรงที่ให้คนคืนรู้สึกกลัว ไม่อยากได้รับความสูญเสีย เมื่อใช้บ่อยๆ และคนที่อยู่รอบข้างยอมรับและมอบการควบคุมให้กับผู้ใช้นำนาจ สุดท้ายจะกลายเป็นอำนาจขึ้นมาได้ เช่น หัวหน้ากลุ่มที่มีการรวมตัวกันในระหว่างเพื่อนและมีใครสักคนที่ดูเหมือนคุบควมคนอื่นได้ เราเรียกคนนั้นว่าหัวหน้ากลุ่ม แล้วอะไรหละที่ให้คนนั้นกลายเป็นหัวหน้ากลุ่ม การเกิดลักษณะนี้ ไม่มีรูปแบบที่ตายตัว บางคนใช้ความรุนแรงทางร่างกาย ใช้การลงมือ แบบนี้ให็นได้บ่อยกับกลุ่มที่เป็นนักเลง ลองคิดดูสิว่า หัวหน้านักเลงจะต้องผ่านอะไรมาบ้างกว่าจะถึงจุดนั้นได้ บางคนใช้ความรุนแรงทางวางจา สายตา และอารมณ์ ให้คนอื่นรู้สึกผิด กลัว หรือไม่อยากไปมีเรื่องด้วย บางคนสร้างอำนาจโดยการแสดงออกมากกว่าคนอื่น ทำตัวให้เด่น ทำตัวให้เหนือกว่าคนอื่นเพื่อให้กลุ่มยอมรับในความสามารถต่างๆ และเป็นคนที่สามารถให้คนอื่นรับฟังตนเองได้ในที่สุด การแสดงออกแบบนี้ อาจจะมาแบบรู้ตัว หรือไม่รู้ตัวก็ได้ และโดยส่วนใหญ่ เป็นแบบไม่รู้ตัว
ในการใช้อำนาจแบบพระเดศ มีลักษณะที่เหมือนกันอย่างหนึ่งคือ คนที่เป็นผู้นำจะมีอะไรบางอย่างที่โดดเด่น มากกว่า เหนือกว่าคนอื่นๆ จนคนอื่นๆ ยอมที่ให้คนนี้เป็นผู้ หรือเรียกอีกอย่างว่า ยอมมอบอำนาจการตัดสินใจของตนเองให้คนคนหนึ่งเพื่อเป็นผู้นำ หลายคนบอกว่าอยู่เฉยๆ ไม่ได้ทำอะไรเลยไม่รู้่าทำไมได้กลายเป็นผู้นำ บางคนแค่มีร่างกายที่ตัวใหญ่ กำยำ ดูแข็งแรง บางคนที่เป็นที่กล้าคิดกล้าทำ กล้าแสดงออก บางคนเป็นคนที่ มีความสามารถในงานทำงานได้ดีกว่คนอื่น แต่อย่างไรก็ตาม ในการเป็นผู้นำ นอกจากการใช้อำนาจเพื่อให้คนอื่นกลังเกรงด้วยพระเดศแล้ว ยังมีการใช้อำนาจอีกทงหนึ่ง เพื่อให้คนอื่นเกรงใจ สิ่งนี้เรียกว่าพระคุณ
พระคุณ เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการใช้อำนาจ เวลาบางคนทำงานด้วยกัน มีแผนงานร่วมกัน คนรอบข้างจะไม่ค่อยกล้าทำออกนอกแผนงานเพราะเกรงใจผู้นำ กลัวว่าจะเสียใจ กลัวว่าจะได้รับความเดือดร้อนรำคาญใจ ไม่อยากให้มีผลทางจิตใจแก่ผู้นำ ยอมเชื่อฟังแต่โดยดี เพื่อให้ ผู้นำนั้น สบายใจ ดีใจ มีความสุข ทั้งหมดนี้เรียกว่า พระคุณ เป็นอำนาจที่อาศัยความเมตตา หรือความอยากให้คนอื่นมีชีวิตที่ดีขึ้น และความกรุณา หรือความอยากให้คนอื่นพ้นทุกข์ มาเป็นตัวตั้งในการสร้างอำนาจ
ฟังดูอาจจะขัดแย้งกัน เพราะคนที่ใช้อำนาจโดยพระคุณจำนวนมาก บอกว่า ฉันไม่ต้องการมีอำนาจ ฉันแค่อยากให้คนอื่นมีความสุข แต่นั่นแหละ อำนาจกำลังก่อตัวขึ้นมาอย่างช้าๆ โดยที่ผู้นำเองไม่รู้ตัว และอำนาจจากพระคุณ ต้องใช้เวลาในการสร้าง อีกทั้ง ไม่สามารถสร้างแบบจงใจได้ เรียกได้ว่า ต้องสะสมไปเรื่อยๆ ถึงเวลาจะเต็มเอง เมื่อเต็มเมื่อไหร่ จะกลายเป็นอำนาจแบบพระคุณโดยทันที และกลายเป็น “บารมี” ในที่สุด
แต่ก็เป็นที่แน่แปลกอีก การสร้างอำนาจแบบพระคุณนี้ ต้องอาศัยเมตตา และเมตตาอะไรบ้างหละ บางคนบอกทำทานอย่างเดียว ไม่เป็นมีอำนาจอะไรเลย เพราะอะไร???
การเมตตา ในที่นี้คือการให้ ให้ในความรู้สึกทั้ง 5 อย่างที่มนุษย์ต้องการ และให้โอกาสให้คนอื่นได้เป็นผู้ให้ด้วย จึงจะสมบูรณ์ ในการให้จริงๆ การเมตตานี้ เมื่อเราได้ให้ความรู้สึกต่างๆ กับคนอื่นแล้ว จะมีการส่งพลังงานบางอย่างที่เรียกว่าบุคลิกภาพที่สามารถดึงดูดคนอื่นให้มาสนใจเราได้
นอกจากความเมตตาแล้ว ยังมีคามกรุณาอีกเรื่องหนึ่งที่มักมาคู่กัน เพราะความกรุณา คือแรงปรารถณาที่ให้คนอื่นพ้นทุกข์ ซึ่งแน่นอนว่า เราได้ให้ความรู้สึกทั้ง 5 กับคนอื่นเช่นเดียวกัน ต่างจากความเมตตาตรงที่ ความเมตตาคือทำให้เขาได้รับเพิ่มขึ้นไปอีก แต่ความกรุณาคือการทำให้เขารู้ว่าจากที่ไม่มี มีน้อย ได้รับการเพิ่มเติมให้ดีขึ้น สรุปทั้ง 2 อย่างก็เป็นการให้ทั้งคู่
เมื่อคนอื่นได้รับความรู้สึกทั้ง 5 ของเราแล้ว จนกลายเป็น “พระคุณ” คราวนี้กระบวนการทำงานจะเริ่มโดยการความรู้สึกของคนอื่นที่มีต่อเรานั้น จะเกิดเป็นความเกรงใจมากขึ้น อยากตอบแทนอะไรบ้างอย่างในตัวเขาให้กับเรา วิธีการที่ทำออกมาโดยไม่รู้ตัวนั้นคือ การยอมทำตามแบบเต็มใจ เพราะเขาต้องการเลียบแบบการให้ความรู้สึกทั้ง 5 ของเราด้วย ยิ่งเราให้ได้มากเท่าไหร่ คนรอบข้างเราจะเกรงใจเรามากขึ้นเรื่อยๆ
ผู้ประกอบการผู้นำ
คนที่มีหัวใจผู้ประกอบการต้องมีความเป็นผู้นำไปเพื่ออะไร? คำตอบง่ายๆ คือ ผู้ประกอบการเป็นผู้ที่อยู่ระหว่างคนต่างๆ ที่ต้องทำการนำคนที่สามารถทำงานมารวมตัวด้วยกัน ทำงานด้วยกัน จึงเป็นเรื่องของการโน้มน้าวความคิดคนอื่น การมีภาวะผู้นำจึงเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งที่ทำให้การำธุรกิจ และการเป็นผู้ประกอบการสำเร็จลงได้
การสร้างภาวะผู้นำในตัวผู้ประกอบการ เรื่องนี้ก็ไม่ต่างกับการตั้งเป้าหมายชีวิต เพราะเราต้องมีเป้าหมายของการเป็นผู้นำก่อน และต้องเรียนรู้ที่จะยืดหยุ่น มีคนจำนวนมากคิดว่า การเป็นผู้นำคือผู้สั่งการ ไม่ใช่เลย ผู้นำไม่ใช่ผู้สั่งการ ดังนั้น คำสั่ง จึงเป็นเพียงส่วนหนึ่งของภาวะผู้นำ เรามาลองดูกันว่า ภาวะผู้นำ จะสร้างขึ้นมาง่ายๆ ได้อย่างไร
ขั้นที่ 1 หยุดความคิดครอบงำ และครอบครอง เนื่องจากมนุษย์ทุกคนต้องการความเป็นอิสระ (จากความรู้สึกความหลายกหลาย ความสุนกสนาน) หากเริ่มต้นด้วยความครอบงำ และครอบครอง อาจจะได้การทำตาม แต่ไม่ได้หัวใจของคนทำ ยอมทำเพราะอำนาจอะไรบางอย่าง แต่ไม่ใช่ยอมทำตามด้วยความเต็มใจ
ขั้นที่ 2 มองอย่างที่เขาเป็น การเป็นผู้นำ ต้องเรียนรู้การเป็นผู้ตามก่อน แต่เป็นตามเพื่อให้คนอื่นมาตามเรา การเป็นผู้ตามที่ง่ายๆ คือ ตามความคิดคนอื่น และปล่อยในอย่างที่เขาเป็น คนที่อยู่ข้างๆ เราจะรู้สึกถึงการได้รับอิสระ ได้รับเกียรติ และได้รับความไว้วางใจให้เขาได้เป็นในสิ่งที่เขาต้องการ
ขั้นที่ 3 เป็นที่พึ่งในยามยาก เมื่อคนเราเดือดร้อน คนเรามักหาทางออก หาที่พึ่ง และเขาจะหาคนที่ไว้ใจได้ในกรเป็นที่พึ่ง ผู้นำ ต้องเป็นคนที่ช่วยชี้นำทางออกของเขา และเป็นเหมือนกับคนที่สามารถช่วยเรื่องต่างๆ ได้ ตัดสินใจให้ได้ คิดแทนให้ได้ หรือบางครั้ง ไม่ต้องคิด แค่ถามบางคำถามเพื่อให้เขาได้คิดและตัดสินใจได้ง่ายขึ้น
ขั้นที่ 4 หนักแน่นดังขุนเขา ในความหมายของการหนักแน่นนี้ เป็นความหมายของความหนักแน่นทางอารมณ์และความคิด เหมือนภูเขาที่ไม่แปรเปลี่ยนตัวเองได้ง่ายๆ แม้กาลเวลาจะผ่านไป แต่เกิดจากการก่อร่างสร้างตัวให้ตัวเองอุดมไปด้วยปัญญา และภูมิความรู้ ไม่โอนเอียงทางความคิดจากกระแสของลม (ปาก) ของคนได้โดยง่าย แต่มีความยืดหยุ่น อ่อนนุ่ม สำหรับผู้ที่มาสัมผัส ให้ลองนึกภาพดู ขุนเขา เป็นสิ่งที่ตั้งสง่าอยู่อย่างหนักแน่น เป็นที่่พึ่งพิงให้สัตว์ คน ต้นไม่ และสิ่งต่างๆ มากมาย มีผิวหน้าที่อ่อนนุ่ม ชุ่มชื้น ชวนให้สัมผัส มีความอุดมสมบูรณ์เก็บเอาไว้ภายใน สามารถกันลมพายุ กันกระแสน้ำได้อย่างน่าทึ่ง แต่ภูเขา ก็ยังสามารถเคลื่อนไหว และมีพลังบางอย่างได้นี่แหละคือผู้นำ
ขั้นที่ 5 คิดอนาคตของตัวเองและคนอื่น คนที่เป็นผู้นำ คือคนที่รู้ว่า กำลังนำ ฝูง นำทีม นำคนทั้งหดมไปไหน การนำผิด หมายถึงความหายนะของทีม องค์กร ธุรกิจ และอนาคตของคน ผู้นำ จะคิดถึงแต่อนาคตของผู้นำคนเดียวไม่ได้ เพราะ ผู้นำ คือคนที่นำคนอื่น ไม่ได้อยู่คนเดียว การที่ผู้นำคิดแต่เรื่องอนาคตของตนเองนั้น เป็นการทำลายความไว้วางใจของตนเองให้เหลือแต่เพียงผู้ลำพัง ไม่ใช่ผู้นำ
ขั้นที่ 6 เป็นคนมีอารมณ์ขัน ผู้นำ ไม่จะเป็นต้องเป็นคนที่เคร่งเครียด แต่ในทางตรงกันข้าม คนโดยทั่วไป อยากอยู่ใกล้กับคนที่อารมณ์ดี มีอารมณ์ขัน เพราะใครๆ ก็ต้องการความสุขจากการอยู่ร่วมกับคนอื่น การที่ผู้นำเป็นคนที่เคร่งเครียด มีผลทำให้คนที่อยู่รอบข้างตีตัวออกห่าง และเราจะไม่เหลือใครให้นำ เพราะทุกคนหายไปหมดแล้ว
ขั้นที่ 7 เป็นนักฟังที่ดี การเป็นผู้ฟังที่ดีคือ “ฟัง” ไม่ใช้อย่างอื่น ฟังให้เราได้รู้ว่า เขาต้องการสื่ออะไร โดย “ไม่ตัดสิน” “ไม่คาดหวัง” และ “ไม่เปรียบเทียบ” เพราะการฟัง คือการรับ ไม่ใช่การตัดสิน เมื่อเราฟัง เราจะ ฟีล (Feel) ว่า เขาอยากได้อะไร จากนั้น เราจึงให้ในสิ่งที่เขาต้องการ บางครั้ง เขาแค่ต้องการบอกใครสักคนที่ฟังเขาเพื่อต้องการคำตอบ บางครั้ง เขาต้องการคนช่วยชี้แนะให้คิดได้ บางครั้ง เขาต้องการคนที่ช่วยคิดให้ และเราจะรู้จะได้จากการฟัง สังเกตุ โดยไม่ใช้เหตุผลของเรา
ทั้งหมดนี้ เป็น 7 ขั้นตอนการสร้างความเป็นผู้นำ จะเห็นได้ว่า การเป็นผู้นำนั้น ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับวัตถุเงินทองเลย แต่เป็นเรื่องของความรู้สึกเพียงอย่างเดียว ที่คนหนึ่งมีให้กับอีกคนหนึ่งเท่านั้น
ทักษะพิเศษของผู้นำ
ผู้ประกอบการผู้นำนั้น นอกจากมีการสร้างความเป็นผู้นำแล้ว ยังมีทักษะที่จะเป็นในการเป็นผู้นำด้วย คือ
ทักษะการสื่อสาร
ทักษะการคิดเชิงระบบ
ทักษะจิตใจอ่อนโยน
ทั้ง 3 ทักษะนี้ เป็นสิ่งที่ผู้นำต้องฝึก เพื่อให้คนอื่นสามารถรับรู้ความคิดและนำไปสู่การปฏิบัติได้ เพราะผู้นำคือ ผู้ที่สามารถนำความคิดของคนอื่นให้สามารถทำตามที่ตนเองต้องการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร ทีม และบุคคลได้ ทั้งของตนเอง และของบุคคลอื่น
ทักษะการสื่อสาร การสื่อสารเป็นการบอกเล่าเรื่องลาวของเราไปสู่คนอื่น หรือคนอื่นๆ และให้คนอื่น บอกเราเรื่องราวมาสู่เรา เรารู้กันอยู่ว่า การสื่อสารสามารถทำได้ทั้งแบบ ใช้ภาษา และไม่ใช้ภาษา นั้นคือ เราใช้คำพูดของเราเพื่อให้คนอื่นรับรู้และเข้าใจ และการสื่อสารแบบไม่ใช้คำพูด ตั้งแต่สีหน้าแววตา ท่าทาง กริยาต่างๆ
ในการสื่อสารแบบใช้ภาษา มีงานวิจัยได้กว่าวกันว่า มีอิทธิพลเพียง 28% เท่านั้นที่ใช้ในการสื่อสาร ส่วน 72% ที่เหลือ ใช้การสื่อสารด้วยวิธีอื่นๆ และยิ่งโลกยุคดิจิตัลด้วยแล้ว การสื่อสาร ยิ่งมีสื่อใหม่ๆ เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ดังนั้น เรามาลองดูกันว่า เรามีเครื่องมือในการสื่อสารอะไรบ้าง
การใช้คำพูด เป็นโหมดหนึ่งในการรับรู้ของคน หมายความว่า มีบางคนใช้คำและเสียงพูด เป็นเครื่องมือหลักในการสื่อสาร คนเหล่านี้ จะสามารถเข้าใจได้ดี เมื่อมีคำพูด คำอธิบายประกอบอย่างชัดเจน วิธีการสังเกตุ เวลาคุยกับคนเล่านี้ จะเขียนเป็นตัวหนังสือเยอะมาก เขียนยาวๆ พูดไปเขียนไป แสดงว่า เขากำลังรวบลรวมความคิดผ่านตัวหนังสืออยู่ เมื่อเวลาเขาเหล่านี้พูด จะใช้คำว่า “บอก” “ได้ยิน” “เล่ามาว่า” แสดงถึงการเชื่อมโยงทางความคิดด้วยภาษา
การใช้ภาพ หรือการสื่อถึงจินตานาการด้วยภาพ คนเหล่านี้ จะใช้ภาพในการรวรวมความคิดเป็นหลัก เวลาสื่อสารต้องการภาพที่เป็นโครงสร้าง การเขียนแบบจำลอง หรือต้องวาดผังการทำงาน ถึงจะสามรรถเข้าได้ได้อย่างรวดเร็ว คนเหล่านี้จะไม่ชอบตัวหนังสือ ยิ่งเห็นตัวหนังสือมากๆ เข้า จะตาลาย เวลาเขียนหนังสือ จะเขียนสั้นๆ และมีจะมองไม่เห็นรายละเอียดเล็กๆ ในหนังสือ เวลาพูดพวกเขาเหล่านั้น มักพูดคำว่า “เห็น” “มอง” “ฉายภาพ” เพราะพวกเขาเห็นในความคิด และต้องการให้คนอื่นเห็นด้วยเหมือนกับที่เขาเห็น จึงพยายามบอกคนอื่นว่า เขาเห็นอะไร
การใช้ความรู้สึก คนเหล่านี้ ใช้ใจจับความรู้สึกและแปลความหมายของสิ่งที่ได้รับมา เป็นลักษณะของการผสมกันระหว่างการใช้เสียงและภาพ คนกลุ่มนี้จะสามารถรับรู้ได้โดยการใช้สิ่งที่เป็นกรสื่อถึงความรู้สึก เสียง อารมณ์ การเคลื่อนไหว การรับรู้จะต้องมีอารอธิบายรายละเอียดของการเคลื่อนไหวเพื่อให้รับรู้ถึงสิ่งที่เกิดขึ้นแปลเป็นความรู้สึก ถึงจะเข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้น คนกลุ่มนี้ ชอบพูดคำว่า “รู้สึกว่า” “สัมผัสได้” “รับรู้ได้”
ทั้ง 3 เครื่องมือนี้ ต้องถูเลือกใช้ตามผู้รับสาร ผู้นำที่ดีต้องเรียนรู้และสามารถปรับตัวเองให้เข้ากับการรับรู้ของคนอื่นได้ และถ้าไม่รู้ว่าคนนั้นเป็นโหมดอะไรให้ทำการสื่อสารโดยการ ใส่ทั้ง 3 โหมดเข้าไปในการสื่อ เช่น ถ้าเราต้องการอธิบายการทำข้าวไข่เจียว ในการอธิบายทั้ง 3 โหมดมีดังนี้
โหมดเสียง
การทำไข่เจียว
1. ให้เริ่มจากการคัดเลือกไข่ที่สด สะอาด มา 2 ฟอง
2. ต่อยไข่ใส่ชามหรือถ้วยขนาดกลาง
3. ตีไข่ด้วยซ่อมจนเข้ากันและขึ้นฟองฟูละเอียดจนทั่ว
4. ปรุงรสด้วยเครื่องตามที่ต้องการเล็กน้อย หากใส่เยอะจนเกิดไผ เวลาเจียวไข่จะขาดไม่เกาะกันเป็นแพ
5. ใส่เนื้อสัตว์หรือเครื่องพอประมาณ ไม่เกิน 1 ใน 3 ของปริมาณไข่
6. ตีไข่ให้เข้ากันอีกครั้ง
7. ตั้งไฟในกระทะด้วยไฟแรง รอจนน้ำมันร้อนเต็มที่แล้วหรี่ไฟเหลือไฟปานกลาง
8. หยอดไข่ที่เตรียมไว้พร้อมแล้วโดยการโรยให้เป็นวงกลมจากด้านในออกด้านนอกให้ทั่ว
9. เมื่อไข่เริ่มจับตัวเป็นก้อน ให้ใช้ตะหลิวเขี่ยให้ไข่ขยับเป็นวงกลมเบาๆ เพื่อป้องกันไข่ตัดกระทะ
10. เมื่อไข่เริ่มสุกและเป็นสีน้ำตาล ให้กลับไข่อีกด้านหนึ่ง โดยใช้ตะหลิวแซะเข้าไปลึกๆ เพื่อป้องกันไข่ขาดจากกัน และพลิกไข่
11. รอจันไข่สุกอีกข้างหนึ่ง ตักขึ้นจากกระทะ พร้อมเสริฟ
หากเป็นโหมดภาพ จะสามารถอธิบายวิธีการเจียวไข่ได้ดังนี้
1. เลือกไข่สดและสะอาด ดูจากไข่ที่เปลือกยังเป็นมันวาว
2. ต่อยไข่ใส่ถ้วย ขนาดกำลังพอเหมาะกับปริมาณของไข่
3. ตีไข่จนขึ้นฟูเห็นเป็นฟองละเอียดสีเท่ากันทั่ว
4. ใส่เครื่องปรุงตามใจชอบ ให้ดูจากปริมาณเครื่องปรุงโดยเฉพาะซอสสีเข้ม ถ้าใส่เยอะไป ไข่ที่ตีไว้จะเป็นสีดำ
5. ใส่เนื้อสัตว์และเครื่องกะเป็นสัดส่วนประมาณ 1 ใน 3
6. ตีไข่จนเห็นเครื่องกระจายทั่วกันไม่เป็นก้อน
7. ตั้งน้ำมันในกะทะ ให้ร้อนเต็มที่มีควันออกมาเล็กน้อย
8. เมื่อน้ำมันร้อนแล้วให้หรี่เหลือไฟปานกลาง
9. หยอดไข่ใส่ลงไปโดยการวนเป็นวงกลม
10. สังเกตุดูว่าเห็นไข่เป็นสีนำตาลอ่อนๆ และเริ่มจับตัวเป็นก้อนด้านหนึ่งและแสดวงว่าไข่เริ่มสุก
11. ใช้ตะเหลิวเขี่ยไข่ให้หมุน เพื่อให้ร่อนออกจากกระทะ
12. ใช้ตะหลิวแซะไข่เบาๆ และดูว่าสามารถขึ้นมาอยู่ขนตะหลิวได้หรือได้ ถ้าขึ้นมาได้ทั้งหมด แสดงว่าไข่พร้อมที่จะพลิกกลับแล้ว
13. พลิกไข่กลับ และรอจนสุก เห็นเป็นสีน้ำตาลอีกด้าน
14. ยกขึ้นเสริฟ ตามแบบที่ชอบ
แล้วถ้าเป็นแบบความรู้สึกหละ
การทำไข่เจียว
1. ต้องเลือกไข่ที่ดูแล้วสด สะอาด ไม่มีเก่า ไม่เลอะ
2. นำไข่มาต่อยเบาๆ เพื่อป้องกันเปลือกไข่แตกลงไปในไข่ด้วย
3. ตีไข่แรงพอประมาณ ให้ไข่ดูฟูนุ่มเข้าเป็นเนื้อเดียวกัน
4. ใส่เครื่องปรุงรสแบบที่ใช่ ไม่มาก ไม่น้อย เอาแบบพอดีพอดี
5. ใส่เครื่องที่ชอบประมาณหยิบมือ อย่าเยอะเกินไป มันจะให้ความรู้สึกล้นๆ และไข่จะไม่เกาะกันสวยงาม
6. ตีไข่อีกครั้งจนเข้ากันดี กระจายโดยทั่วกัน
7. เอาน้ำมันใส่เตา เทลงไปเบาๆ ตั้งไฟให้แรงในตอนต้นเพื่อให้น้ำมันพร้อม
8. หรี่ไฟมาปานกลาง ค่อยๆ เทไข่ลงไป วนเป็นวลกลมจะได้แผ่นตามที่ต้องการ
9. รอจนไข่เริ่มจับตัว เอาตะหลิวเขี่ยๆ ดูว่าเริ่มหมุนได้ ให้เขี่ยหมุนไข่สักรอบ สองรอบ กันไข่ติดกระทะ
10. เมื่อด้านบนของไข่รู้สึกว่าเริ่มแห้ง ให้ใช้ตะหลิวช้อนใต้ไข่เบาๆ ถ้าสอดเข้าไปได้ทั้งใบโดยที่ไม่ขาดก็เตรียมกลับไข่ได้
11. กลับไข่โดยเร็วเพื่อไม่ให้ไข่พับ และรอจนสุก ก็พร้อมรับประทาน
จากวิธีการสื่อสารทั้ง 3 แบบนั้น ผลลัพทธ์จะได้ไข่เจียวเหมือนกัน การเป็นผู้นำต้องเรียนรู้การสร้างความเข้าใจกับคนอื่น ไม่ใช่ให้คนอื่นมเข้าใจผู้นำ เมื่อเราให้ เราจะได้รับ เป็นกฎทองของการเป็นผู้นำในโลกยุคปัจจุบัน
ทักษะการคิดเชิงระบบ การคิดเชิงระบบ เป็นการคิดของผู้นำที่มีความจำเป็น เพราะผู้นำ ต้องเป็นผู้ที่เห็นภาพรวม เพื่อการติดสินใจ โน้มน้าวจิตใจ ดังคำกล่าวว่า “ตัดสินใจผิด ชีวิตเปลี่ยน” ในการติดสินใจของผู้นำ จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลเพื่อการตัดสินใจในทุกๆ เรื่อง นั้งหมายความว่า ผู้นำเอง คือคนที่สามารถมองเรื่องราวต่างๆ ได้อย่างรอบด้าน และสามารถเรียงร้อยข้อมูลต่างๆ ได้อย่างกลมกลืน
ระบบ ถ้าตีความหมายง่ายๆ หมายถึง ทำซ้ำแล้วได้ผลเหมือนเดิม เมื่อเอามารวมกับการคิดแบบผู้นำ คือ เอาข้อมูลมาเรียงร้อยกันแล้ว สามารถอธิบายความคิกซ้ำได้ผลออกมาเหมือนเดิม นั้นหมายความว่า ความคิดจะมีความคงเส้นคงว่า ครบถ้วน รอบคอบ ครอบคลุม ละเอียด และมองการณ์ไกล
การคิดเชิงระบบ มีลักษณะของการคิดที่มีความแตกต่างกับการคิดแบบอื่นคือเป็นการคิดที่แสดงถึงเรื่องราวต่างๆ อย่างเป็นขั้นเป็นตอน ในทุกๆ แง่มุม เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ เพื่อตอบคำถามได้อย่างต้องการ เหมือนดังว่า ความคิดนั้นไหลไปได้เหมือนกับกระแสไฟฟ้าในวงวรไฟ ที่มีจุดเริ่มต้น ถึงจุดสิ้นสุด มีการแยกกันของสายไฟหลายจุด และมีการรวมตัวกันของสายไฟ กระแสไฟฟ้าเป็นเหมือนของกระแสความคิด ถ้าคิดไม่ครบวงจร ระบบการคิดจะไม่ทำงาน
การฝึกเริ่มต้นคิดเชิงระบบต้องจากการคิดให้เป็นขั้นเป็นตอน ไปทีละจุด จากจุดที่ 1 ไปจุดที่ 2 ไปจุดที่ 3 ไปเรื่อยๆ จนถึงปลายทาง
ข้อสำคัญในการคิดเชิงระบบ คือความละเอียดในการคิด เนื่องจาก ปกติแล้วมนุษย์จะขาดความละเอียดในการคิด เพราะการใส่ลายละเอียดนั้น ต้องใช้พลังงานสมองเป็นอย่างมาก หลายคนจะเริ่มรู้สึกปวดหัว ไม่อยากคิด ตรงนี้เป็นจุดที่สำคัญ เพราะหากสามารถฝึกให้เกิดความชำนาญ (ความเคยชิน) แล้ว จะเป็นก้าวสำคัญของการเป็นผู้ที่มีหัวใจผู้ประกอบการ
ถึงตรงนี้ จะมีคำถามผุดขึ้นมาทันที แล้วเราต้องคิดละเอียดขนาดไหนหละ ให้เราลองมาจินตนาการดูว่า เรากำลังก้าวเท้า 1 ก้าว ขั้นตอนในการก้าวเท้ามีอะไรบ้าง คนปกติจะบอกว่า ก็ก้าวเท้า 1 ก้าว ไปข้างหน้า เมื่อขาตึง ก็วางเท้าลง จบ
แต่ถ้าคนที่คิดเป็นระบบ จะมีลายละเอียดอีกหลายอย่างที่เกิดขึ้น เรามาพิจารณาดูกัน
1. เท้าวางในตำแหน่งยืน น้ำหนักทิ้งลงเต็มเท้า
2. สมองสั่งการให้เตรียมพร้อมจะเกิดไปข้างหน้า
3. สมองเล็งหาเป้าหมายของการเก้าวเท้าและวางเท้าในก้าวนี้
4. สมองสั่งการให้เท้าเริ่มขยับโดยการงอหัวเข้าและเปิดส้นเท้า
5. กล้ามเนื้อหน้าขาทำงานเพื่อยกขาให้สูงขึ้นแบบที่หัวเข่างอเข้า
6. ขาที่กำลังก้าวจะยืดหัวเข่าออกไปข้างหน้า และขาที่ยืนอยู่จะถืบตัวส่งส่งกำลัง
7. ขาที่ก้าวออกไปข้างหน้า ทิ้งน้ำหนักขาลงที่พื้น โดยเอาส้นเท้าลงก่อน
8. ขาที่ยืนอยู่ส่งกำลังเพิ่มขึ้นโดยการใช้ข้อเท้าดีดตัวไปข้างหน้า
9. น้ำหนักตัวทั้งหมดจะทิ้งไปที่เท้าที่ก้าวอกกไปแล้ว และจะมีการโยนน้ำหยักตัวเบาจากด้านหลังมาด้านหน้า เพื่อเตรียมก้าวในก้าวต่อไป
ทั้งหมดนี้เป็นการคิดแบบละเอียดในแต่ละจังหวะ เพื่อให้เห็นได้ว่า กิจกรรมต่างๆ จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง และเป็นระบบที่เกิดการต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ได้ผลเช่นเดิมทุกครั้งที่ทำกิจกรรมแบบนี้เป็นการฝึกการสร้างลำดับความคิดแบบละเอียดถี่ถ้วนเท่านั้น เมื่อทำจนชำนาญแล้ว ให้เริ่มระบบที่มีความซับซ้อนมายิ่งขึ้น
ระบบที่มีซับซ้อนคือระบบที่มีทางแยกของความคิด และการไขว้กันของความคิด คล้ายๆ กับการคิดแบบคู่ขนาดกัน ดังนั้น การคิดแบบเป็นระบบ จะต้องคิดทีละเส้น และจำขั้นตอนไว้สำหรับเป็นข้อมูลในการคิดของเส้นทางความคิดอื่นๆ
การคิดเชิงระบบแบบบนี้ เริ่มมีความซับซ้อนมาขึ้น แต่ก็ไม่มากเกินไปถ้ามีการฝึกฝนอยู่เรื่อยๆ ซึ่ง การคิดสำหรับมือใหม่ ให้คิดทีละเส้นทางความคิดให้เรียบร้อยก่อน และค่อยคิดเส้นทางอื่นๆ ต่อไป จยครบทุกเส้นทางความคิด แต่จะมีเคล็ดลับอยู่เล็กน้อย ตรงที่ ต้องมีการคิดทบทวนอีกครั้งเมื่อคิดครบทุกเส้นทางเป็นรอบที่ 2 เพื่อให้มั่นใจว่า การคิดนั้น ไม่ได้มีส่วนใดที่ลืมไป และมีความสอดคล้องกันอย่างแท้จริง
สรุปส่งท้ายบทการเป็นผูันำ ต้องเรียนรู้การใช้บุคคลิกของตนเองเพื่อให้เกิด อำนาจและบารมี สุดท้ายจนเกิดเกิดเป็นศัทธา เพื่อให้สามารถโน้นมน้าวคนอื่นให้สามารถเชื่อมั่น ไว้วางใจ และทำตามที่เราต้องการได้ ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญมากในหารประกอบธุรกิจ เพราะนอกจากการโน้มน้าวทีมงานในการทำงานแล้วยังมีเรื่องของการโน้มน้าวลูกค้า คู่ค้า และผู้ที่เกี่ยวข้องให้เกิดความเชื่อมั่น และสร้างธุรกิจไปด้วยกันในที่สุด ผู้นำ ต้องเป็นผู้ที่สามารถสร้างประโยชน์ทั้งทางกาย และทางใจให้กับบุคคลที่อยู่รอบข้างได้ เป็รผู้ที่รุ้จักการให้ทั้ง 5 ประการเพื่อให้สร้างความรู้สึกที่ดีๆ กับคนรอบข้าง ในที่สุด การเป็นผู้นำคือคนที่คิดเรื่องราวต่างๆ ได้อย่างรอบคอบ เป็นขั้นตอน เป็นระบบ เพื่อให้ผลลัพทธ์ของการคิดออกมาดรที่สุด ดังคำกล่าวที่ว่า
“เป็นผู้ใหญ่ ใช่เกิดก่อน หากแต่รู้จักคิดด้วยเหตุผลเหนืออารมณ์”