วันเสาร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

หัวใจผู้ประกอบการฉบับวัยรุ่น ตอนที่ 7


ความเสี่ยงอันน่ารัก

ความเสี่ยง ความเสี่ยง ความเสี่ยง ใครๆ ก็ไม่ชอบความเสี่ยง แม้แต่นักธุรกิจ ก็ไม่ชอบความเสี่ยง เพราะอะไรหรือ ปกติแล้ว เรามักจะให้ความหมายของความเสี่ยงว่าเป็นความเสียหาย เป็นเรื่องที่ต้องหลีกเลี่ยง เป็นอะไรที่ไม่ควรจะมี เพราะพื้นฐานมนุษย์นั้น มักจะต้องการความมั่นคง หรือความมั่นใจ ทำอะไรแล้วได้แน่ๆ แต่อันนี้อาจจะใช้ไม่ได้สำหรับใครบางคนที่ชอบเสี่ยงโชค


มนุษย์ โดยพื้นฐานแล้ว มนุษย์จะเป็นสิ่งมีชีวิตที่ใช้ความสามารถของตัวเองเพื่อความอยู่รอด จึงพยายามตีความหมายทุกอย่างเป็นเชิงลบทั้งหมด เพื่อให้ตัวเองมั่นใจว่า ตนเองนั้นจะต้องรอดแน่ๆ จึงตีความหมายทุกอย่างในทางลบ เป็นการสร้างสัญญาณเตือนภัยล่วงหน้าของตนเอง และสมองจะเริ่มสั่งการตัวเราเพื่อแสดงพฤติกรรมต่างๆ ให้รอดปลอดภัย การคิดเชิงลบเป็นการคิดเพื่อระวังตัวเอง อย่างเช่นเวลาเดินไปในที่มืด เราจะเริ่มกลัว เพราะเราไม่รู้ว่าอะไรจะมาปรากฎตัวให้เห็นในที่มืด ทั้งแบบมีชีวิต หรือไม่มีชีวิตก็ตาม สมองก็จะเริ่มมโนไปต่างๆ นานา เริ่มใส่เรื่องราวจนเราเรียกว่า ผีบ้าง ทางเปลี่ยวบ้าง หรือคิดว่ามีคนดักทำร้ายเราบ้าง


จากเรื่องราวอันตรายต่างๆ ที่มนุษย์กลัว เราเลยเรียกสิ่งนี้ว่าความเสี่ยง ในความเสี่ยง สามารถแปลความหมายได้ 2 ความหมาย ความหมายแรกเป็นความหมายทางวิชาการ หรือทางทฤษฎี คือ 

“โอกาสของเหตุการณ์ที่ทำให้ผลลัพธ์ไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้”

ในความหมายที่ 2 ตามความรู้สึกของมนุษย์ คือ 

“อันตรายที่คิดว่าจะเกิดขึ้นกับตัวเอง”

สิ่งที่แตกต่างกันของทั้ง 2 ความหมายนั้นคือ ในความหมายทางฤษฎี ความเสี่ยงนั้น สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งทาง “บวก” และทาง “ลบ” ดังนั้น อาจจะดีกว่าปกติก็ได้ เช่น ยอดขายสูงผิดปกติ หรือ มีลูกค้าเพิ่มขึ้นแบบผิดปกติ แต่ในความหมายของความสู้สึก มนุษย์ ไม่เคยมองทางด้านบวก มองแต่ทางด้านลบเพียงอย่างเดียว และเวลาพูดถึงความเสี่ยงสมองของเรา จะบอกว่าความเสียหายต้องเกิดขึ้นแน่ๆ

ผลพวงจากความรู้สึกว่าเสี่ยง

จริงๆ แล้วความเสี่ยงที่มีนั้น เป็นเรื่องอนาคต ผลของความเสี่ยงยังไม่เกิดขึ้น เพราะเมื่อเกิดขึ้นเมื่อไหร่ เราเรียกสิ่งนั้นว่า ความเสียหาย อันเกิดจากต้นเหตุต่างๆ ที่เราเรียกว่า ภัย เพราะฉะนั้น ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดจกความเสี่ยง เป็นเรื่องของอนาคตเท่านั้น สมองเราจะมโน จินตนาการ คิดไปเอง ทั้งสิ้น แล้วสร้างเป็นเกราะป้องกันตัวเอง

ผลพวงที่เกิดขึ้นนั้นคือ ความคิดของเราจะส่งผลมาถึงพฤติกรรมของเรา และการตัดสินใจของเรา ลองจินตนาการตามสถานการ์ณนี้ดู

เมื่อเราเดินไปในซอยแคบๆ ที่เราไม่เคยเดินมาก่อน เราเดินไปทางนี้เพื่อไปหาที่พัก ที่ไม่มีคนเดินผ่าน ไม่มีบ้านคนสักหลังเดียว รอบๆ ข้างมีแต่พงหญ้าหนาสูง ทั้ง 2 ข้างทาง เวลานั้น ก็กำลังจะมืด และได้เสียงหมาเห่าอยู่ไกลๆ ข้างหน้า เรายังคงเดินหน้าต่อไปเรื่อยๆ ทันใด้นั้น เราได้ยินเสียง ซวบๆๆๆๆๆๆๆ อยู่ทางด้านซ้ายมือของเรา ..... 

ทั้งหมดนี้ เรากำลังคิดถึงอะไร สมองของเราสั่งการอะไรเราบ้าง และเรากำลังรู้สึกอะไร????

แน่นอน หลายคนกำลังรู้สึกคล้ายๆ กันว่า มันน่ากลัว กลับเถอะ ไม่ไปแล้ว อะไรก็ไม่รู้ มีคนมาทำร้ายมั้ย หรือ อยากกลับบ้าน หรือ อยากจะไปให้พ้นๆ จากตรงนี้ซะที ไม่เอาแล้ว

ทีนี้ลองมาคิดดูว่า ถ้าถนนเส้นนั้น เป็นทางที่เราจะสามารถไปถึงเป้าหมายชีวิต ของเรา โดยปกติแล้ว ถนนที่พาเราไปสู่เป้าหมายมักจะเป็นถนนที่เราไม่เคยผ่านมาก่อน เป็นเส้นทางที่เราไม่สามารถบอกได้ว่ามีอะไรรอเราอยู่ข้างหน้า ซึ่งกลายเป็นภาพเดียวกันกับถนนที่ได้กำหนดมาในตอนต้น

ในชีวิตคนเรา มักจะเอาเรื่องราวต่างๆ มาผูกเข้าด้วยกันแบบเข้าข้างตัวเอง หรือ เรียกง่ายๆ ว่าสร้างเรื่องใหม่จากประสบการณ์ในอดีต โดยการบิดเบือนเรื่องราวให้เป็นสิ่งที่เราชอบ และรู้สึกปลอดภัย ดังนั้น การที่เราเดินเข้าไปในทางเปลี่ยว ทางใหม่ เราก็สร้างมโนเรื่องราวต่างๆ ขึ้นมาตามประสบการณ์ในอดีตที่ผ่านการบิดเบือน ปรุงแต่ง ให้เป็นไปตามที่เราเองนั้นรู้สึกปลอดภัย

เรื่องราวเหล่านั้น จึงออกมาในรูปแบบของเรื่องที่น่ากลัว เพื่อให้เราตระหนักและให้ความาสำคัญกับเรื่องนั้น เช่น เรื่องผี เรื่องอาชญากรรม ที่จะเกิดขึ้นในทางเปลี่ยวเป็นต้น แต่สิ่งที่น่าสนใจมากกว่านั้น คือ จริงๆ แล้วเรากลัวอะไรจากสิ่งที่เรากำลังเผชิญอยู่ ดังนั้น เรามาเข้าใจเรื่องธรรมชาติของความเสี่ยง และธรรมชาติของความกลัวก่อนหละกัน


ความเสี่ยง กับ ความกลัว

มนุษย์เรานั้น ความเสี่ยง เรามักตีความหมายเป็นความกลัวอยู่แล้ว แต่แท้จริงแล้ว ความเสี่ยงสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือความเสี่ยงที่สามารถตรวจสอบได้ หรือ เป็นความเสี่ยงที่ชัดเจน ความเสี่ยงเหล่านี้ สามารถนำมาคำนวณเป็นค่าคะแนนความเสี่ยงต่างๆ ได้ สามารถพิสูจน์ได้ทางวิทยาศาสตร์ หรือเรียกได้ว่าเป็นความเสี่ยงทางกายภาพ ความเสี่ยงเหล่านี้ มักจะมีทฤษฎีรองรับเกี่ยวกับการจัดการความเสี่ยง

วิธีการจัดการความเสี่ยง เรามักจะมองใน 2 มิติ คือ ความรุนแรงของผลที่เกิดขึ้นความความเสี่ยง และความถี่หรือโอกาสในการเปิดความเสี่ยง เมื่อเอาทั้ง 2 อย่างมารวมกันสามารถสร้างเป็นตารางความเสี่ยง (Risk Matrix)

ตารางนี้แสดงถึงความจำเป็นในการจัดการกับความเสี่ยงที่เราสามารถกำหนดโอกาสที่เกิดขึ้นของเหตุการณ์ต่างๆ ได้ สีเขียว แสดงถึงความจำเป็นในการจัดการน้อย และสีส้มเข้ม แสดงถึงความสำคัญในการจัดการมากหรือเร่งด่วน ตารางนี้ เป็นการใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อแยกแยะความเสี่ยงออกเป็นส่วนๆ ในเหตุการณ์ต่างๆ ที่อยู่รอบๆ ตัวเรา แต่วิธีการนี้จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลที่เคยเกิดขึ้น และมีการรวบรวมอย่างเป็นระบบที่เราเรียกว่า สถิติ

แต่อย่างไรก็ตาม โดยธรรมชาติของเรา เรามักจะมีข้อมูลไม่ครบในทุกเรื่อง เราจึงใช้การจัดการเกี่ยวกับความเสี่ยงด้วยความกลัว กลัวเพราะเราไม่รู้ว่า มีอะไรเกิดขึ้นได้บ้าง สิ่งนี้ เรียกว่า ความเสี่ยงเชิงจิตวิทยา อันที่จริงคือความกลัวผลลัพธ์ ที่เราไม่ต้องการให้เกิดนั้นเอง

ความเสี่ยงทางจิตวิทยาเป็นความเสี่ยงที่เรามักจะไม่รู้ว่าต้นเหตุของความกลัวนั้น เกิดจากอะไร แต่เรายังโชคดีที่มีเครื่องมือตัวหนึ่งช่วยให้เราสามารถระลึกได้ว่า ความกลัวของเรานั้น เกิดจากอะไร โดยการตั้งคำถาม และใช้ สติ ในการตรวจจับความรู้สึกของตัวเอง 

คำถามที่เราใช้กัน เมื่อเรารู้สึกว่า กลัว เสี่ยง ให้ใช้ชุดคำถามคือ
“เรากำลังกลัวอะไร?”
“อะไรทำให้เรากลัวสิ่งนั้น?”
“ถ้าสิ่งนั้นเกิดขึ้นจริงๆ แล้ว เราจะเป็นอย่างไร?”
“และจริงๆ แล้ว เรากังวลอะไรจากความรู้สึกกลัวนั้นกันแน่?”

คำถามเหล่านี้ ทำให้เราเข้าใจจริงๆ ว่า เรากำลังกลัวอะไร หรือกังวลเรื่องอะไร และเข้าใจต้นเหตุของความกลัว เช่น บางคนคิดว่าอยากลงทุนในการทำธุรกิจ แต่ไม่ต้องการขาดทุน เพราะกลัวว่าถ้าขาดทุนแล้ว เงินที่มีอยู่นั้นจะหมดไปทำให้ความมั่งคั่งในชีวิตจะลดลง จึงเกิดความกลัวเกิดขึ้น แต่เรามักจะกล่าวว่า สิ่งนั้นเป็นความเสี่ยง แต่เป็นความเสี่ยงที่มองเพียงด้านเดียวคือด้านที่มีผลกระทบทางลบ เราจึงเรียกสิ่งนี้ว่าความกลัว

ความกลัวเป็นกลไกทางธรรมชาติของมนุษย์ในการใช้ชีวิตให้อยู่รอดเพราะถ้าเราไม่กลัวแล้วเราจะใช้ชีวิตในความอันตราย เรากลัวไฟเพราะเราเรียนรู้ว่า ไฟนั้นร้อน สามารถที่จะทำอันตรายได้ เรากลัวงูเพราะเรารู้ว่า งู (บางตัว) มีพิษ ทำให้เราถึงตายได้ ซึ่ง ในความเป็นจริงแล้ว งู มีจำนวนน้อยมากมีพิษ และส่วนใหญ่เป็นงูไม่มีพิษ และอะไรหละที่ทำให้เรารู้สึกกลัวงูทันทีที่เห็น และไม่รู้ว่างูตัวนั้นมีพิษหรือไม่ สิ่งนี้เป็นกลไกการเอาตัวรอด โดยเฉพาะเมื่อเราไม่รู้ สมองของเราจะตีความไว้ก่อนว่าอันตราย

เช่นเดียวกัน ในความมืด คนจำนวนมากกลัวความมืด และบอกว่าในความมืดมีผี โดยที่เราเองไม่เคยรู้เลยด้วยว่า ผีหน้าตาเป็นอย่างไร และทำไมผีต้องมาเฉพาะในความมืด กลางวันไม่มีผีหรือ ผีต้องอยู่ในห้องมืดๆ แล้วผีทะลุกำแพงออกมาได้มั้ย เราเองอาจจะเคยหาคำตอบ บ้างก็อธิบายว่า ผีเป็นความไม่ดี จึงกลัวแสงอาทิตย์ บ้างก็บอกว่า ดวงอาทิตย์เป็นพลัง  มีอำนาจการขจัดสิ่งชั่วร้าย แต่คนจำนวนมากบอกว่า ไม่รู้ แต่กลัว ลองมาสำรวจความคิดกันดูว่า จริงๆ แล้ว เรากำลังกลัวอะไร  ใจเย็นๆ นะ ค่อยๆ พิจารณา

คราวนี้ลองกลับมาที่จินตนาการของเราอีกครั้ง ให้เราคิดว่าเรากำลังอยู่ในห้องสักแห่งที่เราไม่คุ้นเคยไม่รู้จัก ห้องนั้น มันมืดมาก ทันใดนั้น จมูกของเราเริ่มทำงานพร้อมๆ กับหูของเรา เราได้ยินเสียงกอกๆ แก็กๆ อะไรบางอย่างอยู่รอบตัวเรา มีกลิ่นสาบๆ ลอยมา เป็นกลิ่นเหม็นอับน่าคลื่นไส้... 

เรากำลังรู้สึกอะไร?
เรากำลังคิดว่า เรากำลังมีความเสี่ยงอะไรบ้าง?
แล้วเราอยากทำอะไรต่อไป?

เหตุการณ์ยังไม่จบแต่เพียงเท่านั้น เราเริ่มเห็นแสงไฟลางๆ ลอยไปลอยมา พอจะให้เห็นเงาอยู่รอบๆ ได้บ้าง สิ่งที่เห็น มีรูปร่างคล้ายคน ยื่นนิ่งๆ อยู่ที่หลืบที่ไม่ไกลจากเรานัก ในแสงไฟนั้น กระพริบๆ ทำให้สามารถเห็นเงานั้น เป็นระยะ แต่รู้สึกว่าเงานั้น เคลื่อนที่ได้ เคลื่อนไหวได้... กลับมาที่คำถามเดิม

เรากำลังรู้สึกอะไร?
เรากำลังคิดว่า เรากำลังมีความเสี่ยงอะไรบ้าง?
แล้วเราอยากทำอะไรต่อไป?

ให้เรากลับมาที่สมองของเรา ความคิดของเรา จริงๆ แล้ว เรากำลังรู้สึกอะไรอยู่ หลายคน ถ้าคิดแบบผิวเผิน ก็บอกว่ารู้สึกกลัว แล้วเรากลัวอะไรหละ บองคนบอกว่า กลัวผี บอกคนบอกว่า กลัวอะไรไม่รู้ มันจะโผล่ออกมา นั้นสินะ เรากลัวอะไรก็ไม่รู่ที่จะโผล่ออกมา น่าสนใจมาก คือ คนมักจะคิดว่า เรากลัวว่าจะมีตัวอะไรโผล่ออกมา เอามาจากไหนหละ ค่อยๆ คนหาความคิดตัวเอง เราเคยเห็นมันที่ไหนนะ คนจำนวนมาก เจออยู่ในโทรทัศน์ บางคนเจอจากเรื่องเล่าของคนอื่น นี่ไง เราคิดไปเองทั้งนั้นเลย 

สาเหตุลึกๆ ของความกลัว คือเรากลัวว่า เราจะขาดความมั่นคงทางร่ายกายและทรัพย์สิน เพราะเรามองไม่เห็น เราได้ยินไม่ชัด เราไม่รู้ว่า กลิ่นนั้นมาจากไหน เราจึงกลัวไว้ก่อน

กลับมาที่ห้องความืดของเรา ถ้าเราเปิดไฟให้สว่าง ในห้องนั้น เราจะพบว่า เป็นห้องแสดงเสื้อผ้าเก่า และไม่ได้ใช้งานมานานแล้ว จึงทำให้มีหุ่นโชว์เสื้ออยู่ในห้อง เสียงที่ได้ยิน เป็นเสียงจากหนูที่เข้ามาหาอาหาร กลิ่นอับนั้นเนื่องจากหลายวันก่อน มีคนมาดักหนูด้วยอาหารคลุกยาเบื่อ ทำให้หนูตาย และกำลังส่งกลิ่นเห็นพอดี ส่วนไฟที่เห็น เป็นหลอดไฟที่ต่อขั้วไม่ดี จึงทำให้มีการเรืองแสงออกมา แต่ก็จะติดๆ ดับ เป็นระยะ เมื่อทุกอย่างถูกเปิดเผยออกมาแล้ว เรายังกลัวอะไรอีก

ถึงตรงนี้ เราก็จะบอกกับตัวเองว่า โธ่ ไม่เห็นมีอะไรเลย กลัวไปได้!!! ใช่แล้ว ความเสี่ยงจำนวนมาก เรากลัวจากสิ่งที่เราไม่รู้ เลยไม่กล้าที่ลงมือทำ เพราะเราไม่รู้ว่า ลงมือแล้วจะเกิดอะไรขึ้นกับเราบ้าง ย้อนกลับมาสู่การเป็นผู้ประกอบการ ผู้ประกอบการคือผู้ที่ริเริ่มแนวทางใหม่ๆ ในการทำงานให้สำเร็จตามเป้าหมายของตนเองที่ตั้งไว้ และแนวทางใหม่ๆ นี้ ไม่มีอดีตให้เรียนรู้แบบสุตรสำเร็จ หากแต่ราต้องเรียนรู้ไปพร้อมกับการทำงานของเรา ยิ่งเป็นแนวทาใหม่มาก หรือแปลกกว่าแต่ก่อนมากเท่าใด ยิ่งเหมือนกับห้องที่มืดมากขึ้นเท่านั้น แล้วเราหละกลัวอะไร


ความเสี่ยงที่เห็นตัวได้

ในวิชาการจัดการความเสี่ยงนั้น จะมีขั้นตอนง่ายๆ คือ ระบุความเสี่ยง ประเมินความเสี่ยง และตัดสินใจดำเนินการกับความเสี่ยง ความเสี่ยงในที่นี้มีความหมายว่า โอกาสในการเกิดเหตุการณ์ที่ไม่ได้คาดการณ์เอาไว้ ทั้งในทางบวก (ขายดีเกินไป) ทางลบ (ขาดทุน)

หลายคนสงสัยว่า ขายดีเกินไปเป็นความเสี่ยงได้อย่างไร ในเมื่อได้เงินเพิ่มขึ้น เป็นแน่นอน เพราะในความเป็นจริงแล้ว อะไรที่มากเกินไป ก็จะมีผลกระทบทางอ้อมกับเราในอนาคต เพราะเราเองไม่ได้เตรียมการรองรับเอาไว้ เช่น ร้านอาหาร ขายดีเกินไป ทำให้เกิดการรอคิว และต้องจัดการอารมณ์ของลูกค้า ในขณะที่การทำอาหารจะต้องมีการควบคุมคุณภาพของการผลิต ถ้าเร่งเกินไป อาหารที่ปรุงนั้น อาจจะไม่สุก หรือรสชาติไม่เป็นไปตามที่ควรจะเป็น หรืออาจจะกระทบต่อความสะอาดของร้าน ตั้งแต่การการล้างจาน การเก็บทำความสะอาด การให้บริการต่างๆ

การจัดการความเสี่ยงแบบที่เห็นตัวได้นั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 สถานการณ์คือ ความเสี่ยงที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ และความเสี่ยงที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ในอนาคตคด ความเสี่ยงที่กำลังดำเนินการอยู่นั้น อาจปรากฎอยู่ในรู้ของความเสียหาย หรือสัญญาณแห่งความเสียหายก็ได้ แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรหละว่าตอนนี้เรากำลังมีความเสี่ยงที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ อันนี้ไม่ยาก ให้เราพิจารณาดูว่า งานที่เรากำลังทำนั้น มีปัญหาหรือความอึดอัดเกิดขึ้นหรือไม่ ถ้ามีก็นั่นแหละความเสี่ยง จริงไม่ควรเรียกว่าความเสี่ยง แต่ต้องเรียกว่าภัย (Peril) หรือความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงแล้ว การจัดการความเสี่ยง ก็สามารถใช้คำถามดังต่อไปนี้ในการวิเคราะห์ต้นต่อแห่งความเสี่ยงที่แท้จริงคือ

ตอนนี้ จริงๆ เรากำลังเผชิญอะไรอยู่?
ในความเป็นจริง เราอยากได้อะไร?
แล้วเราต้องทำอะไรเพื่อให้ปัญหานั้นหมดไป?

ในความเป็นจริง ปัญหาที่เราเจออยู่นั้น ส่วนใหญ่ คนเราไม่สามารถค้นหาสาเหตุที่แท้จริงได้ และการแก้ปัญหาส่วนใหญ่ ทำโดยการกำหนดเงื่อนไข หรือระเบียบเพื่อเอามาควบคุมพฤติกรรม การกระทำของคน และคิดว่าสิ่งนั้นเป็นการควบคุมปัญหา แต่ในความเป็นจริงนั้น ปัญหายังไม่ได้ถูกแก้ เพียงแค่เป็นการควบคุมปัญหาไม่ให้เกิดขึ้นเท่านั้น

ยกตัวอย่างเช่น ปัญหาเรื่องการทุจริต คนทั่วไปมักจะมองว่าเป็นความเสี่ยง จึงต้องการจัดการปัญหาการทุจริต วิธีการที่ใช้กันโดยทั่วไปคือ การออกกฎระเบียบเพื่อมาควบคุมไม่ให้คนทุจริต พร้อมทั้งต้องหน่วยงานการตรวจสอบการทุจริตอีกต่างหาก แล้วจริงๆ แล้วการทุจริตนั้น ปัญหาที่แท้จริงคืออะไร ระหว่าง กฎระเบียบที่หละหลวม หรือ คนที่มีความเห็นแก่ตัว

การทุจริต ไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคน แต่เป็นเฉพาะคนบางคน แต่วิธีการของการจัดการปัญหาเรื่องนี้ โดยส่วนใหญ่กับการใช้การออกกฎระเบียบที่ต้องบังคับกับคนทุกคน สิ่งที่เกิดขึ้นคือ คนที่ไม่ทุจริต กลับต้องทำงานลำบากขึ้น แต่คนที่ทุจริต ก็สามารถหาช่องทางในการทุจริตได้เหมือนเดิม สุดท้าย การจัดการเรื่องนี้ ก็เป็นการเพิ่มภาระงาน และต้นทุนในการทำงานมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ

ในการจัดการที่แท้จริง เราต้องค้นหาความต้องการที่แท้จริงก่อน เราต้องการอะไรกันแน่ จากนั้น เราถึงออกแบบการวิธีการทำงานใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของเราเอง ไม่ใช่การออกกฎระเบียบใหม่ แล้วมันต่างกันอย่างไรหละ การออกแบบระบบ เป็นการสร้างระบบงานใหม่ ทำให้เราจะได้ระบบงานที่เหมาะกับการทำงาน แต่การออกกฎระเบียบใหม่ เหมือนกับ เราเอาผ้าไปห่อก้อนหินที่เราไม่ต้องการเห็นเนื้อของก้อนหิน สิ่งที่เกิดขึ้น คือ ก้อนหินจะมีขนาดใหญ่ และหนักมากขึ้นเรื่อยๆ เป็นการเพิ่มปัญหาที่มีความซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆ ไม่ได้รับการแก้ไขต่อไป

สาเหตุของปัญหาแบบ SMOCK
เรามาพิจารณาประเด็นของปัญหาหรือความเสี่ยง โดยเฉพาะความเสี่ยงทางธุรกิจ ซึ่งให้พิจารณาในกรอบของ SMOCK นั่นคือ 

S = Strategy (กลยุทธ์) 
M=Money (การเงิน) 
O = Operation (การดำเนินการ) 
C=Compliance (ระเบียบและกฎหมาย) 
และ K=Knowledge (ความรู้)

ความเสี่ยงทางกลยุทธ์ (Stretegy: S) หมายถึง กลยุทธ์ของการตั้งธุรกิจ หรือ การกำหนดทิศทางของชีวิต หรือ ของธุรกิจ ความเสี่ยงในที่นี้ เกิดขึ้นจาก ทิศทางของกลยุทธ์ว่ามีทิศทางไปทางใด และที่สำคัญไปกว่านั้น ทิศทางที่เรากำหนดนั้น เป็นทิศทาง ถูกต้อง สามารถทำให้เราประสบความสำเร็จได้จริงหรือไม่ โดยเฉพาะ ในการตั้งเป้าหมายทางธุรกิจ เป้าหมายนั้น จะสามารถสร้างกำไรในระยะยาวจนกระทั้งธุรกิจประสบความสำเร็จหรือไม่ ในอีกแง่หนึ่ง กลยุทธ์ของเรานั้นมีการปรับเปลี่ยนได้อย่างถูกต้องถูกเวลาหรือไม่ ทันต่อสถานการณ์หรือไม่ ถ้าใช่ สิ่งแวดล้อมต่างๆ จะเสริมเราให้ประสบความสำเร็จ แต่ถ้าไม่หละ ธุรกิจของเราจะเหมือนกับการหลงทางกลางทะเล ที่เราจะหาทิศทางในการเดินทางของเราไม่ได้เลย

เมื่อกล่าวถึงกลยุทธ์ก็ขออธิบายสักหน่อยเกี่ยวกับกลยุทธ์ ความหมายของกลยุทธ์ที่แท้จริงแล้ว หมายถึง วิธีการได้มาซึ่งสิ่งที่เราต้องการ ดังนั้น จุดเริ่มต้นของกลยุทธ์ คือการตั้งเป้าหมาย ดังที่เราได้กล่าวไว้ตั้งแต่ในบทที่  3 แล้วว่า เป้าหมายคืิสิ่งยั่วยวนและทรงพลัง เมื่อเรามีเป้าหมาย เราเองต้องมีวิธีการได้มาซึ่งเป้าหมายนั้น เราเองจึงต้องมีแผนการในการดำเนินชีิวิตหรือดำเนินธุรกิจ เราจะทำอะไรก่อน อะไรหลัง ทำอะไรพร้อมกัน และทำอย่างไร สิ่งนี้เป็นภาพรวมๆ ของการดำเนินกลยุทธ์ 

แต่แผนการทั้งหมดนี้ เป็นสิ่งที่เราจินตนาการขึ้นมาเอง สร้างมาจากมโนของเราเอง ซึ่งเมื่อเราเริ่มทำจริงและ เราจะไม่รู้เลยว่า สิ่งที่ทำนั้นถูกต้องจนกว่าจะเราหยุดตัวเองและพิจารณาว่าเรากำลังทำอะไร ได้ผลลัพธ์อะไรกลับมาบ้าง เมื่อเทียบกับสิ่งแวดล้อมรอบข้าง ความเสี่ยงของกลยุทธ์ จะพบได้ตอนนี้ วิธีการวัดความเสี่ยงคือ ให้เราเปรียบเทียบผลที่เกิดขึ้น กับสิ่งที่เราต้องการ ถ้าแตกต่างกันไม่มาก เรายังสามารถปรับตัวได้ แบบนี้ถือว่าเป็นความเสี่ยงเพียงเล็กน้อย เพราะความเสียหายยังไม่เกิดขึ้น แต่ถ้าผลที่ได้ แตกต่างกับสิ่งที่ต้องการอย่างมาก นั้นหมายความว่า มีความเสี่ยงสูง และอาจจะเกิดผลกระทบ หรือความเสียหายเกิดขึ้นแล้ว ดังนั้น ความเสี่ยงทางด้านกลยุทธ์ จึงจำเป็นต้องหมั่นทบทวนบ่อยๆ เพราะ กลยุทธ์เป็นสิ่งที่จะต้องไม่ได้ แต่สร้างผลกระทบต่อตัวเราได้

ความเสี่ยงทางด้านการเงิน (Money: M) เงิน เป็นอะไรที่จำเป็น แม้ว่าในทางทฤษฎีแล้ว เงินเป็นเพียงสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนของสินค้าและบริการ แต่เงิน เป็นสิ่งที่ให้ได้มาซึ่งทรัพย์สิน ทรัพยากรต่างๆ ในการสร้างความสำเร็จให้มาสู่ชีวิตของเรา มักจะมีคำกล่าวว่า เงินไม่สามารถซื้อทุกสิ่งได้ ซึ่งเป็นเรื่องจริง แต่เงินสามารถอำนวยให้เกิดเรื่องราวๆ ต่างๆ ได้อย่างมากมายในโลกนี้ ดังนั้น เราจะเป็นที่จะต้องรู้จักการจัดการเงิน ของเรา หรือของธุรกิจ หรือขององค์กร เพื่อให้สามารถบรรลุความต้องการได้ ยกตัวอย่างเช่น หากเราต้องการเป็นศิลปินนักร้อง เราเองก็ต้องฝึกการร้องเพลง แน่นอนเราสามารถฝึกฝนด้วยตัวเองได้ แต่อย่างไรก็ตาม หาเรามีเงิน เราสามารถไปเรียนกับโค้ชด้านการร้องเพลง ย่อมทำให้เราสามารถเก่งขึ้นได้อย่างรวดเร็ว และการเรียนกับโค้ช ก็ต้องใช้เงิน บางคนอยากเป็นเจ้าของร้านอาหาร ก็ต้องใช้เงิน ต้องมีการลงทุน อย่างน้อย ขณะที่ฝึกทำอาหาร ค่าวัตถุดิบต่างๆ ก็ต้องใช้เงินซื้อหามา หรือ อย่างในมุมขององค์กร ถ้าเป็นองค์กรธุรกิจ หนีไม่พ้นเรื่องเงินอยู่แล้ว แต่ในกรณีองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร อย่างเช่น มูลนิธิ ก็ต้องใช้เงิน ตั้งแต่ค่าน้ำค่าไฟ ค่าคนทำงาน ค่าใช้จ่ายสารพัดเรื่องที่มูลนิธิต้องจ่าย เห็นไหม ยังไงเสีย เงินก็สำคัญกับทุกคน ทุกองค์กร

ความเสี่ยงทางการเงิน มีด้วยกันอยู่ 2 เรื่องใหญ่ เรื่องแรก หลายคนคงรู้จักกันดี คือเงินช็อต!!!! หรือเงินขาดมือ เชื่อว่า โดยส่วนใหญ่ของคนในสังคม จะมีประสบการณ์เกี่ยวกับเงินช็อต เงินช็อต ไม่ได้หมายความว่าไม่มีเงิน แต่หมายความว่า กระแสเงินสด ไม่เป็นไปตามต้องการ เหตุการณ์นี้ จะเกิดได้ง่ายมากกับคนที่ใช้จ่ายเงินโดยคาดว่า อนาคต จะมีเงินเข้ามาในแต่ละช่วงเวลา หหรือเรียกว่า หมุนเงิน และไม่มีแหล่งเงินสำรองในการหมุนเงิน เงินก็เลยช็อต เมื่อเงินช็อตแล้วจะเกิดอะไรขึ้น คงไม่ต้องอธิบายอะไรให้มากความ เชื่อว่า ประสบการณ์จะสามารถอธิบายได้ดีกว่าการเขียนออกมาเป็นตัวหนังสือ วิธีการแก้ปัญหาระยะสั้น คือ หาแหล่งเงินทุนสำรอง ซึ่งเรามักจะพบบ่อยๆ กับพวกบัตรกดเงินสด สินเชื่อด่วน วิธีการนี้ เป็นวิธีที่ดีในการแก้ปัญหาระยะสั้น ขอย้ำว่าระยะสั้นเท่านั้น ไม่ใช่ระยะยาว เพราะถ้าเราเกิดช็อตรอบสอง จะยุ่งกว่าเกิมเยอะ เพราะเป็นการช็อตจากการคืนเงินกู้ คราวนี้ จะมีทั้งเรื่องเครดิตประวัติการชำระ และเรื่องของคดีการฟ้องร้องจะยุ่งไปกันใหญ่ 

วิธีการแก้ปัญหาระยะสั้นแบบที่ 2 คืิอการสร้างเงินออก สูตรง่ายๆ ของการสร้างเงินออมคือ ให้มีเงินออมเท่ากับ จำนวนเงินที่ต้องใช้จ่ายเหมือนในชีวิตปกติ หรือการทำงานปกติอย่างน้อย 3 เดือน หรือเรียกว่า ถ้าไม่มีรายได้เข้ามาเลย แต่ยังมีรายจ่ายอยู่ ให้อยู่ให้ได้ 3 เดือน แต่ถ้าจะให้ดีไปกว่านั้น ต้องอยู่ให้ได้ 6 เดือน แบบนี้จะกลายเป็นแหล่งเงินสำรองที่ดี และยิ่งมีแหล่งเงินกู้สำรองด้วย รวมกันจะกลายเป็นแหล่งเงินที่มีแข็งแรงมาก

สำหรับการแก้ปัญหาทางการเงินในระยะยาวนั้นคือ
1. ใช้เงินเมื่อมีรายได้เข้ามาจริงๆ แล้ว ต้องรู้จักอดใจรอ
2. มีแหล่งรายได้หลายทาง เพื่อมั่นใจว่า จะได้รายได้อย่างสม่ำเสมอ
3. รู้จักการใช้จ่ายที่คุ้มค่า บางครั้งอาจจะจ่ายแพงกว่า แต่อยากจะมีความคุ้มค่า ทนทานมากกว่า ทำให้ค่าใช้จ่ายในระยะยาวนั้นน้อยกว่าได้
4. มีเหตุผลแห่งความสำเร็จรองรับ ไม่ปล่อยให้ตัวเองเป็นทาสทางอารมณ์มากจนเกินไป
แต่ละคน จะมีวิธีการของตัวเองในการบริหารเงิน เพราะวิธีการใช้ชีวิต ไม่เหมือนกัน ดังนั้น จึงไม่มีสูตรสำเร็จตายตัวว่า จะต้องใช้กี่ข้อในการหาเงินระยะยาว และใช้อย่างละเท่าไหร่


ความเสี่ยงทางด้านปฏิบัติการ (Operation: O) ในการปฏิบัติการนั้น หมายถึงขั้นตอนในการทำงาน ซึ่งประกอบการด้วย 2 ส่วนคือ กระบวนการทำงาน (Process) และคนทำงาน (People) เพราะในการปฏิบัติการต้องอาศัยคน ไปทำให้การปฏิบัติงานสำเร็จลุล่วงได้


ความเสี่ยงเกี่ยวกับกระบวนการทำงาน นั่นหมายถึง ขั้นตอนในการทงานอะไรทำก่อน อะไรทำหลัง ซึ่งอาจจะรวมถึงระบบการทำงานด้วยก็ได้ คำว่าระบบการทำงาน คือขั้นตอนในการทำงานที่ชัดเจน และสามารถทำซ้ำได้ โดยให้ผลการทำงานที่เหมือนเดิม ในความเสี่ยงของกระบวนการทำงานนั้น คือ ประสิทธิภาพของการทำงาน (ต้นทุน) และประสิทธิผลของการทำงาน (ผลลัพธ์) ในกระบวนการทำงานบางครั้ง อาจจะต้องเสียเวลา ค่าใช้จ่าย หรือมีจุดรั่วไหลเยอะมากกว่าจะสามารถทำงานให้สำเร็จตามที่ต้องการได้ นั่นคือ ประสิทธิภาพ ในการทำงาน เราเอง ต้องเรียนรู้ว่า สิ่งไหนเป็นสิ่งสำคัญ และสามารถปรับปรุงอะไรให้ดีขึ้นได้บ้าง ความเสี่ยงจะเกิดขึ้นเมื่อ การทำงานทำถึงขีดสุดของประสิทธิภาพหรือเรียกว่า จุดต่ำสุดของต้นทุนในขณะนั้น แต่คนอื่น สามารถทำต้นทุนได้ต้ำกว่า เร็วกว่า เราเองก็จะเริ่มสูญเสียความสามารถทางการแข่งขัน ยิ่งเรามีความแต่งต่างจากคนอื่นมากเท่าไหร่ ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจะกลายเป็นความเสียได้ได้มากเท่านั้น เช่น หากเราต้องทำงาน 1 ชิ้น ใช้เวลา 8 ชั่วโมง ในขณะที่คนอื่นใช้เวลา 5 ชั่วโมง ทีีได้งานเหมือนกัน และคุณภาพเท่านั้น ตรงนี้ เราเอง จะเริ่มเสียเปรียบทั้ง ความพอใจของลูกค้า และการรับงานเพิ่มของเราเอง


วิธีการจัดการความเสี่ยงด้านกระบวนการคือ หาเหตุผลของแต่ละขั้นตอน ว่าทำสิ่งนี้ไปเพื่ออะไร เราสามารถเห็นสิ่งที่ไม่จำเป็นในวิธีการนี้ได้ หาเราทำถึงที่สุดแล้วจำเ)็นต้องใช้การสร้างนวัตกรรมในการดำเนินการให้ได้ผลงานที่เท่าเดิมหรือดีว่าโดยที่มีต้นทุนที่ต่ำลง


ความเสี่ยงด้านบุคคล (People) ในมุมนี้ จะหมายถึง การสูญเสียคน หรือการขาดแคลนคน หรือการสูญเสียคนที่มีความรู้ ทักษะ และความสามารถออกจากองค์กร ตัวเรา ซึ่งบุคคลเหล่านี้ เป็นบุคคลที่จะช่วยทำให้ระบบทำงานราบรื่น ในประเด็นเรื่องนี้ เราน่าจะเรียกความเสียหายมากกว่าความเสี่ยง เพราะมุมนี้จะมองแต่เรื่องทางลบมากกว่า นอกจากการสูญเสียคนเก่ง คนมีความสามารถ และคนมีฝีมือแล้ว ยังมีเรื่อง การใช้คนไม่ถูกกับความสามารถ บางคนเก่งเรื่องงานขาย แต่กลับให้มาทำงานสายการผลิต บางคนเก่งเรื่องงานเอกสาร แต่กลับให้มาทำงานด้านการใช้ร่างกาย ในมุมนี้นับว่าเป็นความเรื่องการใช้คนไม่เต็มตามความสามารถของเขา


เรื่องการใช้คนไม่เต็มตามความสามารถของคนนั้น กลับจะมีความเสี่ยงแฝงอยู่ภายในอีกเรื่องคือ ความเสี่ยงในการสูญเสียคน เพราะในเมื่อคนไม่ได้ทำงานตามความถนัดของตนเอง ย่อมจะไม่มีความสุขในการทำงาน ไม่ว่าขอจะทำงานแัจจุบันได้ดีมากขนาดไหนก็ตาม สุดท้ายคนเราจะไปหาสิ่งที่ตัวเองเรียกว่าความสุขอยู่ดี


ความเสี่ยงเรื่องที่ 3 ที่เกี่ยวข้องกับคน คือความเสี่ยงทางด้านคุณธรรมจริยธรรม เรื่องนี้ เป็นเรื่องเฉพาะบุคคลจริงๆ ที่เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดความเสี่ยงเรื่องนี้ได้ แต่เราสามารถใช้เรื่องของภาวะผู้นำ (ที่จะเล่าให้ฟังในบทต่อไป) มาช่วยควบคุมพฤติกรรมของคนที่อยู่รอบข้างเราได้ และภาวะผู้นำเอง ยังสามารถควบคุมพฤติกรรมของคนที่อยู่รอบข้างเราได้อีกด้วย


ความเสี่ยงทางด้านกฎระเบียบ (Compliance: C) ในความหมายของความเสี่ยงในที่นี้ ให้หมายถึงภาพใหญ่ของธุรกิจ หรือองค์กร ว่า สิ่งที่องค์กรทำนั้น ได้มีการละเมิด หรือขัดต่อระเบียบข้อบังคับอะไรบ้าง โดยหาพบว่ามีการขัดต่อข้อบังคับอะไร ต้องรับปรับเปลี่ยนแก้ไขโดนทันที จะอ้างว่าไม่รู้นั้นไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องการทำผิดเกี่ยวกับกฎหมาย มีบทเรียนจำนวนมากที่ได้ให้ตัวอย่างเอาไว้ ว่าเราจะเป็นคนเก่งขนาดไหน แต่ถ้ามีการกระทำที่ผิดกฎหมาย ทุกอย่างก็ถือว่าเป็นการกระทำที่ไม่สุจริต มีโอกาสเจอทั้งคดีแพ่ง และคดีอาญา


เรื่องนี้ ต้องตรวจสอบให้ดีเสียก่อนกว่า ในการตัดสินใจอะไร เริ่มต้นทำอะไร ต้องเรียนรู้ระเบียบข้อบังคับ จารีต ประเพณี ความเชื่อของบุคคล องค์กร ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะอยู่ในประเทศหรือต่างประเทศก็ตาม ยิ่งธุรกิจการงานของเรากว้างเท่าใก หรือยิ่งมีผลกระทบต่อคนกว้างเท่าใด ก็ยิ่งจะต้องมีการศึกษาความเสี่ยงทางด้านกฎระเบียนข้อบังคับให้มากยิ่งขึ้นเท่านั้น


ความเสี่ยงทางด้านความรู้ (Knowledge: K) เรื่องความเสี่ยงทางด้านความรู้นั้น เป็นความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการที่เรารู้หรือไม่รู้ รู้จริงหรือรู้ไม่จริง รู้ครบหรือรู้ไม่ครบ เพราะทั้งหมดนี้ เรียกว่าเรารู้ในสิ่งที่ถูกต้อง หรือรู้ในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เนื่องจากความรู้จะเป็นสิ่งที่ช่วยทำให้เราตัดสินใจ และดำเนินชีวิตของเราได้อย่างถูกต้อง มีหลักการ มีข้อมูล ไม่ต้องมโนไปเอง


การรู้หรือไม่รู้ เรื่องนี้ เป็นจุดเริ่มต้นของเรื่องความรู้ คือ เรารู้หรือยังว่าเรายังไม่รู้อะไร ที่จะส่งผลให้งาน และชีวิตของเราบรรลุผลสำเร็จ ถ้าเรารู้ว่าเรายังไม่รู้อะไร ถือว่าโชคดีแล้ว และสิ่งที่เราต้องทำคือ ทำอย่างไรถึงจะให้รู้ แต่สิ่งที่น่ากลัวกว่าคือ ไม่รู้แล้วคิดว่าตัวเองรู้ โรคแบบนี้ แก้ไขได้โดยการฟัง และฟัง และฟัง ฟังเพื่อถามตัวเองว่า ที่เรารู้อยู่นั้น เป็นสิ่งที่เรารู้แล้วจริงๆ หรือ

การรู้จริงหรือไม่รู้จริง บางครั้งเราเชื่อว่าเรารู้แล้ว แต่สิ่งที่รู้มานั้น เป็นข้อมูลเท็จ เรียกว่ามีแต่ข้อเท็จ ไม่มีข้อจริง แบบนี้อันตรายกว่าการที่ไม่รู้อีก เพราะการที่เราคิดว่าไม่รู้ เรายังไม่กล้าตัดสินใจ แต่การที่เราคิดว่ารู้แล้ว เราจะกล้าตัดสินใจ แต่เป็นการตัดสินใจภายใต้ข้อมูลที่ไม่เป็นจริง


รู้ครบหรือรู้ไม่ครบ ข้อนี้ก็เป็นอันตรายอีกประการหนึ่ง เพราะความรู้ ข้อมูล ข่าวสารนั้นมีด้วยกันอยู่หลายมิติ บางครั้งรู้เพียงด้านเดียว แล้วนำไปตัดสินใจ การผิดพลาดในการตัดสินใจจึงมีสูง ในการรู้ครบหรือไม่ครบ มองได้เป็น แง่มุมต่างๆ ของความรู้ และเมื่อเวลาเปลี่ยนแปลงไป ได้มีการเพิ่มพูนความรู้หรือไม่ เพราะความรู้ก็ย่อมเปลี่ยนแปลงไปเช่นกัน