วันเสาร์ที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

หัวใจผู็ประกอบการฉบับวัยรุ่นตอนที่ 11


จากแนวคิดสู่การลงมือทำ

สัจธรรมอย่างหนึ่งในโลกนี้ที่เกี่ยวกับความสำเร็จ คือ ไม่มีความสำเร็จใดจะเกิดขึ้นได้โดยไม่ลงมือทำ จากบทต่างๆ ข้างต้นที่ได้เล่าให้ฟังทั้งหมดนั้น เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการใช้สมองทั้งนั้น แต่บทนี้สิ่งที่แตกต่างออกไปคือการใช้ร่างกายให้เกิดความสำเร็จที่เรียกว่าการกระทำ

ผู้ประกอบการ หมายถึง ผู้ประกอบ กิจการ การกระทำของใครหลายๆ คนเข้าด้วยกัน ให้เกิดเป็นงานใหม่ ตามเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ ดังนั้น จะเป็นผู้ประกอบ หรือเป็นผู้กระทำ ต้องลงมือทั้งนั้น และปัญหาอะไรหละ ที่ต้องมาพูดเรื่องการลงมือทำ

“ความขี้เกียจ”
“สนุกกับความคิด”
”ความกลัว”

มาถึงตรงนี้แล้ว เชื่อได้ว่า ทุกคนน่าจะมีเป้าหมายและความฝันของตัวเองที่ชัดเจนและมีแนวทางอันสร้างสรรในการจัดการชีวิตเรียบร้อยแล้ว แต่พร้อมหรือยังที่ลงมือทำอะไรบางอย่างในการสร้าวความสำเร็จของเรา

ในกรณีที่เรายังเป็นนักเรียนนักศึกษาอยู่ กิจกรรมที่ยากที่สุดในการเรียนคือ การขยันเรียน การอ่านหนังสือ และการสอบ และคำยอดฮิตติดปากของเรา คือ ขี้เกียจอ่านหนังสือ ปวดหัว และอะไรอีกหลายๆ อย่างที่ทำให้เราเป็นข้ออ้างที่ทำให้เรารู้สึกได้รับความชอบธรรมในการไม่อ่านหนังสือ จริงๆ แล้วคือ เราขี้เกียจนั่นเอง

หรืออย่างคนที่ต้องการเปลี่ยนแปลงชีวิตของเราเอง เพื่อการบรรลุเป้าหมายของเรา เรามักจะหาข้อมอ้างเสมอ เช่น ให้เริ่มปีใหม่ก่อน แล้วค่อยเปลี่ยน หรือบอกว่า ตอนนี้ยังไม่พร้อม หรือ อ้างฝนตกบ้าง อ้างความปลอดภัยบ้าง ในความเป็นจริง เราอาจกำลังกลัวอะไรบ้างอย่างอยู่ กลัวสูญเสียความสบายในปัจจุบัน กลัวว่าทำแล้วไม่สำเร็จ คนอื่นจะนินทา เลยไม่ทำเลยดีกว่า ไม่เหนื่อยด้วย 

ในอีกกรณีหนึ่งคือ พวกที่มีความคิดเยอะ ถึงเยอะมากที่สุด คิดทุกวัน แล้วบอกว่าต้องคิดให้รอบคอบก่อน ในการลงมือทำ และก็มีไอเดียใหม่ๆ เกิดขึ้นเสมอ และสนุกกับความคิดใหม่ทุกวัน หรือบางคนคิดใหญ่ จนไกลเกินเอื้อมจากที่อยู่ในปัจจุบัน และไม่มีแนวทางในการเดินเข้าหาเป้าหมายนั้น จนไม่มีอะไรเกิดขึ้น จนคนรอบข้างบอกว่าคนเป็นประเภทนี้เป็นคนเพ้อฝัน พวกนี้ เป็นพวกที่สนุกกับความคิดมากเกินไป จนรู้สึกว่า การลงมือทำนั้น มันยากกว่าคิด

เราต้องจัดการตัวเอง เพื่อให้สิ่งที่เป็นอุปสรรคในความสำเร็จของเราทั้งหมดนั้น หายไปหมด และความสำเร็จก็เป็นจริงขึ้นมาด้วยวิธีการต่อไปนี้ ใส่คุณค่าให้เป้าหมาย หาสาเหตุของความกลัว หยุดฝันแล้วลุย ถีบตัวเองแรงๆ และกรโจนลงสระให้สุดตัว เราไปดูกันทีละขั้นตอนกันว่าเราจะเริ่มทำได้อย่างไร

ใส่คุณค่าให้เป้าหมาย

เป้าหมาย เป็นแรงขับเคลื่อนที่มีพลังมากที่สุดของชีวิตมนุษย์ หลายคนเคยมีเป้าหมายในชีวิต แต่วันหนึ่ง กลับหายไปเฉยๆ มีคนจำนวนมากบอกว่า ได้ลืมเป้าหมายไปหมดแล้ว เมื่ออายุเริ่มมากขึ้นเมื่องานยุ่งขึ้น หรือเมื่อมีสิ่งที่ต้องรับผิดชอบมากขึ้น หลายคน ในวัยเด็กมีสิ่งที่อยากทำมากมาย แต่เมื่อเข้าสู่การทำงานสิ่งเหล่านั้นหายไปหมด เหลือแต่เพียงการหาเงินหารายได้ให้กับตนเอง เพราะอะไรหน่ะหรือ ก็เพราะว่า เมื่อเราโตขึ้น เรามักจะคิดว่าการหารายได้เป็นสิ่งที่สำคัญและมีคุณค่า (ที่เห็นอยู่ต่อหน้า) และเป้าหมายของเรา เป็นสิ่งที่ยังอีกไกล ไม่รู้จะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ นอกจากนั้น ท้องของเรา เรียกร้องความหิววันละ 3 เวลา จึงพยายามทำทุกอย่างเพื่อตอบสนองสิ่งที่อยู่ต่อหน้าเสียก่อน เราจึงลืมเป้าหมายของตัวเอง หรือพักเอาไว้ชั่วคราว

เราต้องหยุดมามองตัวเองบ้าง ว่าในแต่ละวเรกำลังทำอะไรอยู่ เป้าหมายของเราคืออะไร และ “สำคัญต่อชีวิตของเราอย่างไร? 

ความสำคัญของเป้าหมายนี้ เป็นการบอกว่า เป้าหมายมีค่ากับชีวิตของเราขนาดไหน กลไกที่สำคัญของการทำงานของสมองของเรา คือ สมองเราจะเลือกทำงานเฉพาะสิ่งที่สมองประเมินแล้วว่ามีประโยชน์ต่อชีวิต ความสุข และการอยู่รอดเท่านั้น ดังนั้น ความฝันที่เลื่อนลอย ไม่มีประโยชน์อะไรกับชีวิต สมองจะทำการกำจัดทิ้งด้วยการลืมทันที

ถ้าเราไม่อยากลืมความฝันของเรา เราต้องเรียนรู้การย้ำเตือนตัวเองให้คิดถึงความสำคัญของเป้าหมายเสมอ พร้อมหรือยัง ถ้าพร้อมแล้วไปกันเลย

หลับตาลง คิดถึงภาพของวันที่เราได้รับเป้าหมายนั้นมาอยู่ในมือ จินตนาการถึง บรรยากาศของช่วงเวลาที่เราได้รับเป้าหมายนั้น ความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากการได้รับเป้าหมายมาอยู่ในตัวเรา คิดถึงเสียงของคนที่อยู่รอบข้าง รอยยิ้มของพวกเขา ที่จะเกิดขึ้นในช่วงเวลานั้น รับเอาความอิ่มเอมของสิ่งที่เกิดขึ้นมาเก็บเอาไว้ในใจของเรา ซึมซาบความรู้สึกเหล่านั้นให้เต็มที่

ลืมตาขึ้น ถามหัวใจตัวเองดูว่า เรามีความสุขขนาดไหน ความสุขนี้ เกิดจากอะไร เราภาคภูมิใจอะไรในความสุขนั้น และความรู้สึกเหล่านั้น มีความสำคัญอย่างไรในชีวิตของเรา มองลงไปลึกๆ ในความรู้สึกแห่งความสุข จริงๆ อะไรคือความสำคัญนั้น คือคุณค่าของเป้าหมาย ของเรา ถึงตรงนี้ เราจะรู้สึกว่า เป้าหมายนั้น เป็นสิ่งที่หอมหวาน ถ้ายังไม่ร็ว่าจหาเป้ามายได้อย่างไร ลองกลับไปอ่านบทเป้าหมาย สิ่งยั่วยวนและทรงพลังอีกครั้งหนึ่ง

ทบทวน ในแต่ละวัน เราต้องกลับมาทบทวนตัวเองว่า เป้าหมายของเรายังมีคุณค่าอยู่จริงหรือไม่ คิดย้อนกลับไปตอนที่เราค้นพ้บเป้าหมายใหม่ๆ รับเอาพลังของความสุขที่เราได้รับจากการจินตนาการเมื่อเราสามารถไปถึงเป้าหมายของเราได้สำเร็จ ให้เรารับเอาความสุขนั้นทุกวันเพ่อเป็นการย้ำความสำคัญของเป้าหมายของตัวเอง

แต่ในบางคน อาจจะมีเหตุการณ์ที่ความรู้สึกเปลี่ยนแปลงไป นั่นก็ไม่ใช่เรื่องแปลก หากแต่หมายความว่าคุณค่าของชีวิตเรานั้น เปลี่ยนแปลงไปเรียบร้อยแล้ว เป็นสัญญาณบอกให้เรารู้ว่า เป้าหมายที่มีคุณค่าของชีวิตเรากำลังเปลี่ยนแปลงไป ให้เรารีบหาเป้าหมายใหม่ ตั้งต้นใหม่ จากประสบการณ์ ความรู้ ความคิด ที่มีอยู่อย่าไปเสียดายเวลา แต่ให้เปลี่ยนแปลงการลงทุนลงแรงทั้งหมดเป็นการสร้างพลังให้กับตนเอง ย้อนกระบวนการใหม่อีกครั้งหนึ่ง

หาสาเหตุของความกลัว

เมื่อเรามีคามชัดจนกับเป้าหมายแล้ว แต่หลายคนก็ยังไม่ลงมือทำสักที เพราะมีสิ่งที่ต้านทานอยู่ในตัวเรา นั่นคือความกลัว ความกลัวเป็นความเสี่ยงทางด้านจิตวิทยา (ดูในบทความเสี่ยงอันน่ารัก) ซึ่งในความเป็นจริง ความกลัวเป็นความรู้สึกที่เราสร้างขึ้นมาเองล้วนๆ เป็นกลไกการป้องกันตนเองไม่ให้ตกอยู่ในอันตราย แต่บางครั้งทำงานดีเกินไป จนเราไม่กล้าทำอะไรเลย กลายเป็นเครื่องมือที่ให้เราอยู่สภาพแวดล้อมเดิมๆ 

การหาสาเหตุของความกลัว ต้องใช้ใจละเอียดสัมผัส หาเราเร่งรีบในการค้นหา คำตอบที่ได้รับโดยส่วนใหญ่คือ คิดไม่ออก ไม่รู้ ไม่เข้าใจ อึดอัด โดยเฉพาะคนที่ยังไม่เข้าใจคุณค่าของเป้าหมายของตัวเอง สมองจะไม่พยายามหาคำตอบอะไรทั้งสิ้น เนื่องจากรู้สึกว่าเหนื่อย ปวดหัว

การค้นหาสาเหตุของความกลัว เริ่มจากการนั่งนิ่งๆ ในสถานที่ผ่อนคลาย หรือใครจะยืนก็ไม่ผิดกติกา แต่ต้องเป็นที่ผ่อนคลาย เพื่อลดความกังวลในเรื่องต่างๆ และไม่เป็นการเพิ่มความกลัวให้กับตัวเราเองอีก 

- ถามใจตัวเองเบาๆ ที่ผ่านมาก เรากำลังอึดอัดเรื่องอะไร
- เรากำลัวห่วงเรื่องอะไรมากที่สุด เมื่อเราต้องเดินตามเป้าหมายของเรา
- สิ่งที่เราห่วงอยู่นี้ มีสาระสำคัญมากขนาดไหน
-หากสิ่งนั้นมีสาระสำคัญมาก และเทียบกับเป้าหมาย อะไรมีความสำคัญมากกว่ากัน

ถึงตรงนี้ หลายคนจะมีคำว่า “แต่” ปรากฏขึ้นมา ให้ใจเย็นๆ นั่นแสดงว่าสมองของเรากำลังทำงานแล้ว!!!!

การเกิดความขัดแย้งในใจของเรา คือการต่อต้านการเปลี่ยนแปลงของสมอง และสมองกำลังชั่งน้ำหนักของความสำคัญจากทั้ง 2 ด้าน นับเป็นช่วงเวลาทองที่เรา จะได้เข้าใจความต้องการที่แท้จริงของตนเอง รวมถึงการหาทางออกที่ลงตัว คำว่า “แต่”  ในสมอง สามารถจัดการได้โดย

ตั้งคำถามให้กับตนเอง “เป้าหมายปลายทางของเรานั้น คืออะไร สิ่งนั้นมีความสำคัญของเราขนาดไหน?”  “แล้สเรากำลังรู้สึกกลัวหรืออึดอัดอะไร?”

แล้วมีเปรียบเทียบดูว่าความรู้สึกไหนมีค่ามากกว่ากัน จงเชื่อในความรู้สึกนี้ แล้วตัดใจเลือกหนึ่งทาง ทำตามความรู้สึกของตัวเอง

ถ้าเลือกทางที่อึกอัด ให้กลับมาทบทวนว่า เราสามารถจัดการตัวเองให้ก้าวข้าม ขจัด หรือผ่านคสามรู้สึกนี้ได้ได้หรือไม่ แล้วลงมือจัดการก่อน

ถ้าเลือกทางเลือกที่เดินตามความฝัน ให้หยุดฝันแล้วลุย ลงมือทำ

หยุดฝัน แล้วลุย

หยุดฝัน ยังไงนะ ไหนพูดมาตลอดให้ฝันถึงเป้าหมายตัวเอง แล้วเกิดอะไรขึ้น ให้มาหยุดฝัน ความหมายที่แท้จริงคือ หยุดฝันเรื่องใหม่ แล้วลงมือทำซะ

เพราะเมือเรายังไม่หยุดฝัน สมองเราจะเพลิดเพลินกับการคิดจนเกิดการลืม ลืมทำให้มันเกิดขึ้นจริง
การหยุดฝันในที่นี้ คือหยุดฝันของใหม่ หยุดเพิ่มเติมความคิดใหม่ แล้วให้กลับมาอยู่กับความคิด เป้าหมายปัจจุบัน ใช้สมองของเรามุ่งเป้าไปเพียงเรื่องเดียว รวบรวมพละกำลังทางความคิดเพื่อจัดการกับเป้าหมายต่อหน้าเสียก่อน

สมองของมนุษย์ เป็นอวัยวะที่ถูสร้างขึ้นมาเพื่อคิด ดังนั้น สมองจึงชอบคิดมาก จะเพลิดเพลินกับความคิด ยังได้คิดถึงเรื่องของเป้าหมายที่ทำให้เกิดความสุขแล้ว สมองจะไม่ยอมหยุดคิด เพราะความคิดนั้นก่อให้เกิดความสุข กลายเป็นอาการเสพติดความฝัน

นี่เป็นสาเหตุของคนที่ชอบมีอาการฝันกลางวัน แต่ในความเป็นจริงแล้ว ฝันกลางวันไม่ใช่เรื่องเสียหาย ถ้าใช้การฝันกลางวันเป็นการสร้างภาพอนาคต  การฝันกลางวันจึงต้องมีความพอดีในการฝัน เพราะชีวิตของเรามีชีวิตอยู่ได้ในปัจจุบัน ไม่ใช้อนาคตที่ยังมาไม่ถึง แต่ชีวิตเราจะประสบความสำเร็จได้เมื่อมีแผนการเดินทางจากปัจจุบันสู่ความต้องการในอนาคต

แล้วทำไงหละ ให้สามารถหยุดฝันได้? ก็แค่ ตั้งสติ แล้วหายใจเข้าลึกๆ บอกกับตัวเองว่า หยุดได้แล้ว หยุดที่จะคิด แล้วลงมืทำซะ ไม่มีความสำเร็จอะไรเกิดขึ้นได้ด้วยการฝันเพียงอย่างเดียว แต่ต้องผ่านการลงมือทำให้มันเกิดขึ้น 

แต่สิ่งที่ต้องระมัดระวังในการหยุดฝันคือ ลืมความฝันที่เป็นเป้าหมายของตัวเอง เพราะมัวแต่ทำ จนไม่รู้ว่า ทำอะไรอยู่ และทำไปเพื่ออะไร

สรุปคือ การหยุดฝัน หมายถึงหยุดฝันเรื่องใหม่ และอยู่กับเป้าหมายที่ฝันกระบวนการฝัน คิด วางแผนไว้อย่างดีแล้ว เพื่อให้ลงมือทำให้สำเร็จ

ถีบ (ก้น) ตัวเองแรงๆ

ในจังหวะชีวิตที่ยากที่สุดจังหวะหนึ่งในการเป็นผู้ประกอบการ ทำตามเป้าหมายของตัวเอง คือ การสร้างจุดเริ่มต้นของการลงมือ หลายคน ตัดสินใจแล้วว่าจะเป็นอย่างไร ทำอะไร วางแผนอย่างรอบคอบแล้วว่าต้องทำอะไรบ้าง แต่ติดอยู่ที่จุดเริ่มต้น เหมือนที่ ะไรมาฉุดรั้งเอาไว้ เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องแปลง เพราะสมองของเรากลัวการเปลี่ยนแปลง กลัวเรื่องใหม่ที่ยังไม่มั่นใจว่า จะเกิดอะไรขึ้น ให้ลองคิดย้อนกลับไปดูว่า ในวันแรกที่เราต้องเปลี่ยนโรงเรียน วันแรกที่เราต้องเปลี่ยนที่ทำงาน วันแรกที่เราต้องเปลี่ยนที่อยู่ใหม่ เรามักจะเกิดความกังวลอยู่เสมอ เช่นเดียวกัน เมื่อเราต้องเกิดการเปลี่ยนแปลงชีวิตเพื่อให้เกินตามความฝัน หลายคนต้องเกิดการเปลี่ยนแปลงชีวิตเป็นอย่างมาก

ต้องเปลี่ยนแปลงอาชีพ เปลี่ยนแปลงที่อยู่ หรือบางคนต้องเปลี่ยนจากชีวิตจากมนุษย์เงินเดือน เ็นเจ้าของกิจการ นับว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่มากในชีวิต บางคนเปลี่ยนแปลง วิธีการประกอบอาชีพ จากธุรกิจหนึ่งไปสู่อีกธุรกิจหนึ่ง บางคนต้องเปลี่ยยนแปลงวิธีการดำเนินชีวิตไปโดยสิ้นเชิง
เพราะแบบนี้แหละ เราจึงเกิดอาการชะงักทางความคิด เราจึงต้องสร้างเครื่องมือผลัก (ถีบ) และดึง ชีวิตของเราให้มีการเปลี่ยนแปลง คล้ายๆ กับเอาชีวิตไปเดิมพันเอาไว้กับบางเรื่อง

การสร้างเครื่องมือผลัก จะทำได้โดยการเพิ่มความเจ็บปวดทางอารมณ์และจิตใจให้กับตนเอง เช่น  ถ้าเป็นคนที่ห่วงศักดิ์ศรีตัวเอง ก็สามารถใช้วิธีการประกาศว่า “ต่อไปนี้ ฉันต้องสร้าง .… (ความฝัน)… ให้สำเร็จ ทุกคนคอยดูนะ” หรือถ้าเป็นพนักงานบริษัท ก็ประกาศในที่ทำงานเลยว่า ฉันจะลาออก ไปทำธุรกิจส่วนตัว

ถ้าเป็นคนห่วงครอบครัว ก็ใช้การประกาศว่า หากชีวิตนี้ไม่ประสบความสำเร็จโดยเร็ว ครอบครัวต้องได้รับความยากลำบาก เราเองไม่สามารถสร้างความรุ่งเรื่อง และมั่นคงให้กับครอบครัวได้
ถ้าเป็นคนที่ห่วงโลกและสังคม ให้บอกตัวเองว่า ถ้าเรายังไม่ลงมือทำอะไร โลกใบนี้ยังต้องทนทุกข์ทรมาณต่อไป เพราะเราไม่สามารถทำอะไรได้

หลักการคือ หาจุดเปราะบางทางอารมณ์ของตัวเอง แล้วท้าทายความกับความรู้สึกนั้น หากทำไม่ได้ตามที่ต้วเองต้องการ เราจะสูญเสียสิ่งที่เราหวงแหนในชีวิต ทั้งเรื่องศักดิ์ศรี ครอบครัว เงิน ความมั่งคั่ง สุขภาพ

ในทางตรงกันข้าม บอกกับตัวเอง ว่า หากลงมืิอทำเดี๋ยวนี้ เราจะได้รับอะไรดีๆ เข้ามาในชีวิต เช่น ตอนนี้อายุยังน้อย ยังมีเวลาในการสร้างความฝันของตัวเองได้นาน มีเวลาในการใช้ชีวิตที่เราต้องการ มีเวลาในการสร้างความมมั่นคงในชีวิตให้ครอบครัว มีเวลาในการดูแล้วตัวเอง มีเวลาพิสูจน์ในความสามารถของตัวเองได้อย่างเต็มที่ 

กระโจนลงสระให้สุดตัว
อาการหนึ่งที่มักจะเกิดขึ้นกับคนที่เริ่มต้นอะไรใหม่ๆ คืนลังเลเมื่อลงมือทำไปแล้ว กลับหลังหันเมื่อเริ่มออกเดิน สิ่งนี้อันตรากว่าไม่ลงมือทำเสียอีก

อาการนี้คล้ายๆ กับคนที่กระโดดลงสระน้ำ แล้วเปลี่ยนใจกลางอากาศ แล้วพยายามกลับตัวเข้าหาฝั่ง ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นคือ กลับไม่ได้ แต่ท่าลงน้ำไม่สวย หรือท่าที่ไม่เหมาะกับการลงน้ำ ก็เจ็บตัวสิ 

ผู้ประกอบการที่ฉลาด จะไม่ลังเล เมื่อตัดสินใจที่ผ่านกระบวนการคิดมาอย่างดีแล้ว เมื่อลงมือทำ ต้องลงมือย่างเต็มที่ ทำไปก่อนอะไรที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ค่อยไปว่ากันที่หลัง ไปแก้ไข ปรับปรุงแผนการกันข้างหน้า เข้าใจถึงความไม่แน่นอนของอนาคต และไม่กังวลกับสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น

คุณสมบัติเหล่านี้ คือสิ่งที่ทำให้ผู้ประกอบการแตกต่างจากคนอื่น เป็นคนที่มุ่งมั่นสู่ความสำเร็จ และผู้ประกอบการ มีเทคนิคในการสร้างการคิดให้กับตัวเอง เพื่อกระโจนลงสระให้สุดตัว

เทคนิคการสร้างแรงกระโจนลงสระ
ขั้นที่ 1 การสร้างพลังในสมอง ให้เดี่ยวเดียว ไม่ลังเล เทคนิคนี้คือการย้ำเป้าหมายของตัวเองให้ชัดเจนอยู่ตลอดเวลา ห้ามลืมเด็ดขาด เพราะเป้าหมายมีพลังอย่างน่าเหลือเชื่อในกรปลี่ยนแปลงของมนุษย์ (อ่านในบทเป้าหมาย สิ่งยั่วยวนและทรงพลัง) 

ขั้นที่ 2 ประกาศในโลกรู้ว่า เรากระโจนแล้ว ทั้งโลกจะจับตามองเรา ว่าเราทำอะไร สิ่งที่เราจะได้รับจากการประกาศ คือ คำสนับสนุน การเฝ้ามอง ของบุคคลรอบข้าง ควาดหวัง รวมถึงแรงคิดทางลบของดวย สิ่งเหล่านี้ เป็นการสร้างแรงกดดันให้เราต้องเดินตามทางแห่งความสำเร็จ บางคนอาจคิดว่าเป็นแรงกดดัน ทำไมต้องมาเครียดเรื่องแบบนี้ ไมชอบ ไม่อยากทำ แต่ถ้าเราคิดใหม่ แนวคิดของคนที่สามารถพัฒนาตัวเองได้ คล่านี้จะเปลี่ยนแรงกดดันเหล่านี้ เป็นแรงผลักดัน นั่นคือ วิถีของผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จ

ขั้นที่ 3 กลั้นใจจากสถานะเดิม โลกนี้ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงเสมอ การเกิด และการเปลี่ยนแปลงเป็นของธรรมดา ไม่มีสิ่งใดที่จะยืนยงพื้นที่แห่งความสบาย (Comfort Zone) ยใจเข้าลึกๆ แล้วพ่นลมหายใจออกแรงๆ พร้อมกับบอกตัวเองว่า ฉันพร้อมแล้วกับเป้าหมายใหม่ที่ต้องการ
มาถึงจุดนี้ เราคือคนที่พร้อมจะเป็นผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จแล้ว หลังจากนี้ไปคือ การเดินตามแผนการของตัวเองที่วางไว้ และทบทวนการดำเนินการอย่างใกล้ชิด เพื่อปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ตลอดเวลา

“ฉันพร้อมแล้ว”
“อะไรก็หยุดฉันไม่ได้”
“ฉันยอดเยี่ยมที่สุด”

ฉันพร้อมแล้วที่เป็นผู้ประกอบการที่สุดยอด
ฉันพร้อมแล้วด้วยหัวใจที่เปี่ยมด้วยพลัง
ฉันพร้อมแล้ว ฉันต้องเปลี่ยนแปลงตัวเอง
ฉันพร้อมแล้ว ในการสร้างสิ่งที่ยอดเยี่ยมให้กับโลกใบนี้...

วันอาทิตย์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

หัวใจผู้ประกอบการฉบับวัยรุ่นตอนที่ 10


มองบวก พลังแบบบวกบวก

การคิดบวก มองโลกแง่บวก เป็นคนบวกๆ ฟังดูง่าย แต่ยังมีคนจำนวนมากที่ทำไม่ได้ หรือทำได้แล้ว ก็ไม่ตลอดเวลา เรื่องการมองบวก เป็นเรื่องของทักษะที่ต้องการการฝึกฝน ในเกิดความชำนาญ และสามารถนำมาใช้งานได้อย่างเป็นอัตโนมัติ

การคิดบวก คือ วิธีการแปลความมหมายของคนในแต่ละสถานการณ์ที่เกิดขึ้นให้ได้ประโยชน์ พูดอีกแง่หนึ่งคือ การคิดบวกเป็นวิธีการเลือกใช้ประโยชน์จากเหตุการณ์เพื่อนำมาด้วยความสร้างสรรค์และอารมณ์ที่ดี

การคิดบวก ไม่ใช่ โลกสวย โลกสวย คำนี้ในภาษาอังกฤษตรงกับคำว่า Little World ให้ความหมายได้ชัดคือ เป็นโลกใบเล็กที่ไม่สนใจเรื่องอื่นๆ ใดๆ สนใจเฉพาะเรื่องที่ตนเองต้องการเท่านั้น แต่ คิดบวก ในภาษาอังกฤษ มี 2 คำ คือ Positive Thinking หมายถึง มองทุกอย่างในแง่บวก หรือ สนใจแต่มุมมองทางด้านบวกของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น 

แต่ยังมีอีก 1 คำในภาษาอังกฤษ คือ Optimism คำนี้ยังไม่มีภาษาไทยตรงๆ แต่หมายถึง การรู้จักวางตัว เลือกใช้ชีวิต ในรูปแบบที่เหมาะสม เพื่อก่อให้เกิดความสุขและประโยชน์แก่ชีวิต และต่อไปนี้ เราจะมาพิจารณาดูกันเฉพาะ Optimism ที่ขอใช้คำว่าคิดบวกแทนในภาษาไทย

แหล่งที่มาของการคิดบวก

การคิดบวก ไม่ได้มีแหล่งจากความคิดเพียงอย่างเดียว เพราะความคิดของมนุษย์นั้นมีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมาก แต่การคิดบวกมีผลลัพธ์ออกมาเป็นอารมณ์ และการกระทำ ซึ่งตมควมคิดของมนุษย์ไม่ทัน ดังนั้น ในการได้ผลลัพธ์ของการคิดบวก จึงมีแหล่งของความคิดบวกมากกว่าความคิด

1. สติ เป็นแหล่งความคิดบวกที่สำคัญที่สุด เพราะโดยธรรมชาติของมนุษย์แล้ว เรามีหน้าที่ในการเอาตัวรอดในสถานการณ์ต่างๆ ดังนั้น สมองเราจะมองทุกอย่างเป็นเรื่องอันตราย นั่นหมายถึงการคิดลบ เพราะ คิดลบคืออันตราย และเราต้องการเอาตัวรอด ถ้าเราไม่มีสติ สมอจะจัดการเองแบบอัตโนมัติเพื่อการอยู่รอด จริงๆ การคิดลบก็มีประโยชน์อยู่เหมือนกัน เพราะถ้าเราไม่มีการคิดลบเลย และไม่มีสติเป็นตัวควบคุม มนุษย์เราจะมีอันตรายเข้ามาในชีวิตมากมาย จนอาจจะจะต้องสูญเสียเผ่าพันธุ์ไปเลยทีเดียว แล้วสติ เกี่ยวอะไรด้วยหละ?

สติ เป็นตัวแยกแยะเรื่องต่างๆ ด้วยเหตุผลำดับแรกของมนุษย์ ทำหน้างานว่าสิ่งที่ตรงหน้าเราคืออะไร แล้วจึงนำมาประเมินค่าอีกครั้งหนึ่ง การมีสติ หลายครั้งก็จะเรียกว่าการดูเนื้อรู้ตัว สติเป็นตัวช่วยที่ตัดสินว่าสิ่งที่อยู่ตรงหน้านั้นมีประโยชน์อย่างไรการคิดบวกจึงเริ่มจากตรงนี้คือเลือกสิ่งที่ดีที่สุดจากการคิดไตร่ตรองว่าสิ่งนั้นสร้างประโยชน์มากขึ้นกับตัวเราด้วยวิธีไหนได้บ้าง

2. รอยยิ้ม มนุษย์ใช้รอยยิ้มเป็นการแสดงออกทางอารมณ์ต่อเรื่องราวต่างๆ ที่เข้ามากระทบต่อเราเอง และเราใช้รอยยิ้มจนเป็นสิ่งที่สมองรับรู้ว่าเมื่อเรายิ้ม ต้องมีสิ่งดีๆ ที่เกิดขึ้นกับเราเอง ดังนั้นเมื่อเวลาเรายิ้มสมองก็จะบอก กับเราว่า ตอนนี้ฉันกำลังมีความสุข หมายถึง ฉันกำลังมีเรื่องดีดีเกิดขึ้นในชีวิต ฉันจึงยิ้มออกมาได้ แต่เป็นเรื่องที่น่าแปลก ร่างกายสามารถบังคับความคิด และความรู้สึกได้ เมื่อเรายิ้มกว้างๆ สมอง จะไม่สามารถคิดถึงเรื่องทุกข์ใจได้เลย

ตรงนี้แหละ จะเป็นจุดกำเนิดของความคิดบวก เพราะว่าสมองเปิดรับแต่สิ่งดีๆ แล้วก็จะมองหาแต่เรื่องที่เป็นประโยชน์ การคิดบวก เป็นวิธีการคิด ที่มองแต่สิ่งที่ได้ประโยชน์กับชีวิตของเรา บนโลกของความเป็นจริง การใช้รอยยิ้มจึงเป็นการเปิดประตู เป็นความจริงที่มีประโยชน์เข้ากับชีวิต

3. การขอบคุณ เรื่องนี้ เป็นเรื่องที่มีความอัศจรรย์กับชีวิตมนุษย์อีกเรื่องหนึ่ง เพราะคำขอบคุณนั้น เป็นคำเชิงบวกที่ทรงพลังที่สุด ในชีวิตของมนุษย์ เวลาที่เรากล่าวขอบคุณใครสักคนด้วยความจริงใจ ความรู้สึกนั้น ช่างเป็นไปด้วยความสุข ความอิ่มเอม และการรู้ซึ่งถึงความมีคุณ ของคนอื่นที่มีต่อเรา เป็นการกล่าว ที่เราอยู่ในช่วงอารมณ์เป็นการได้รับอย่างเต็มเปี่ยม เราถึงกล่าวคำว่าขอบคุณ ในการขอบคุณนั่นเอง เราสามารถเพิ่มพลัง ของการขอบคุณได้ด้วยการให้เหตุผลของการขอบคุณ ยกตัวอย่าง การกล่าวขอบคุณ

ให้เราขอบคุณอาหารที่เราทาน เพราะว่า “อาหารเหล่านี้ มาจากสิ่งมีชีวิตหลากหลายชีวิต ซึ่งชีวิตเหล่านั้น ต้องเสียสละชีวิต ของตนเอง มาเป็นอาหารให้กับเรา ให้เราได้มีชีวิตอยู่ต่อไปเพื่อสร้างสิ่งดีดีให้เกิดขึ้นกับโลกใบนี้ ขอขอบคุณ อาหารเหล่านี้ เจ้าของชีวิตเหล่านี้ ที่ได้เสียสละชีวิตให้กับเรา ขอบคุณ ขอบคุณ และขอบคุณ

ฟังดูเหมือน เอาที่เราต้องขอบคุณอาหารขอบคุณทุกสิ่งทุกอย่างแต่จริงๆ แล้วลอง สังเกตอารมณ์ของเราเองดูสิ ณ เวลาที่เรารู้สึกขอบคุณและซาบซึ้งใจกับอะไรบางอย่างหรือกับใครสักคนอย่างจริงๆ เราจะเห็นว่าสิ่งนั้นหรือคนนั้นมีแต่ประโยชน์ มีแต่เรื่องดีๆ มีแต่คุณค่าให้กับชีวิตของเราทั้งนั้นเลย

4. คำพูดของเรา สมองของเราจะมีการบันทึกข้อมูลอยู่ตลอดเวลาผ่านทางการสัมผัสการคิดและการพูดของเราเอง ทุกสิ่งทุกอย่างที่เราพูดสมองก็จะมีการจดจำดังนั้น การใช้คำพูดเชิงสร้างสรรค์สมองก็จะบันทึกข้อมูลดีๆ สิ่งดีๆ เอาไว้ในร่างกายของเรา ในข้อมูลดีดีนี้รวมไปถึงการกล่าวชื่นชม การพูดเพราะการพูดแต่ความจริง ในทางตรงกันข้ามหากเราบ่น หรือพูดจาหยาบคายพูดจาด่าว่าคนอื่นคนที่ได้ยินเป็นคนแรกก็คือเราเอง คำพูดเหล่านี้ไม่ว่าจะเป็นชาติไหนสมองก็จะมีการทำงานที่เหมือนกัน ลองสังเกตสีหน้าคนบ่นพวกเขาเหล่านั้นน่าจะยุ่งยุ่งคิวจะชนกันรอยยิ้มจะไม่มีและอารมณ์ก็จะหมองหม่น แค่บ่นสมองก็เริ่มบันทึกข้อมูลที่เป็นเชิงลบเข้าไปสมองแล้ว

คำพูดอีกลักษณะหนึ่งที่อันตรายต่อความคิดเชิงบวกเป็นอย่างมากคือ "การประชดประชัน" การประชดเป็นการทำในสิ่งที่อยู่ตรงข้ามกับความต้องการของเราเองเพื่อให้คนอื่นรู้ว่าเรากำลังไม่พอใจยิ่งทำให้สมองเราต้องบันทึกทั้งคำพูดการกระทำอารมณ์ในสิ่งที่เราไม่ชอบเป็นทางตรงกันข้ามกับความสุขของเราทั้งหมด ดังนั้นการประชด เป็นตัวทำลายความรู้สึกดีๆ ที่มีอยู่ทั้งหมดของเราเองและเป็นการทำลายความสัมพันธ์กับคนอื่นด้วย การใช้คำพูดอย่างไรให้เป็นคำพูดสำหรับคนคิดบวกสรุปก็คือพูดแต่ความจริง พูดจาไพเราะ กล่าวขอบคุณบ่อยๆ กับทุกๆ เรื่อง ทุกๆสิ่งที่เข้ามาหาเรา กบ่าวขอโทษ กล่าวชื่นชมในสิ่งที่เราพบ และพูดด้วยคำที่ไพเราะ

5. อารมณ์ขัน หลายคนเข้าใจผิดว่าการทำงานที่จริงจังจะต้องเคร่งเครียด ห้ามยิ้ม ห้ามเล่น แต่จริงๆ แล้ว ไม่ใช่เลย เพราะการที่เราเรียนรู้ที่จะเล่น นั่นแปลว่า เรากำลังมีความสุขกับช่วงเวลานั้นอยู่ ลองมาคิดดูนะว่า ในช่วงที่เรามีอารมณ์ขันนั้น เราคิดเรื่องร้ายๆ ได้หรือไม่ ไม่แน่นอน และการเล่น มีใครบ้างที่เล่นให้เครียด อารมณ์ขันจึงเป็นช่วงเวลาที่สมองได้บริหารความคิดให้มีการหยุดจากดคร่งเครียดในปัจจุบัน มามองหาสิ่งที่สนุกที่อยู่ต่อหน้า และเลือกที่มองไปยังสิ่งสนุกเหล่านี้

กระบวนการตรงนี้ เป็นกระบวนการคิดบวกของงมนุษย์ คือการเลือกสิ่งที่เป็นประโยชน์เข้าร่างกายและชีวิตของเรา กับสิ่งที่เผชิญอยู่ต่อหน้า เมื่อเราหัดมีอารมณ์ขันบ่อยๆ สิ่งที่เกิดตามมาคือ สมองของเราจะถูกฝึกให้มาจินตนาการและการสร้างทางเลือกให้เก่งขึ้น จึงมีความสามารถในการเลือกและมองสิ่งที่เป็นประโยชน์ได้ดีขึ้น และเลือกเก่งขึ้นแบบไม่รู้ตัว มีใคนบ้างในขณะที่มีอารมณ์ขันแล้วความคิดเคร่งเครียดมากขึ้น ไม่มีแน่นอน!!! เพราะสมองได้ทำงานเสร็จแล้วว่า ฉันกำลังมีความสุข

การทำงานของการคิดบวก

การคิดบวก เป็นการทำงานของสมองที่มีความรวดเร็วมาก เพราะสมองจะสั่งงานออกไปในเวลาอันสั้น บ้างครั้งเราเองยังไม่ทันได้ตัดสินใจอะไรเลย สมองของเรา (ส่วนที่เป็นอัตโนมัติและสัญชาติญาณ) ก็ทำงานไปเรียบร้อยแล้ว การคิดบวกจึงขึ้นอยู่กับว่า ใครจะทำงานได้เร็วกว่ากัน ระหว่างสมองคิดวิเคราะห์ กับสมองแบบอัตโนมัติ ลองมาดูวิธีคิดของสมอง แบบการจำลองเหตุการณ์จากสิ่งที่เกิดขึ้นเร็วๆ  มาเป็นแผนภาพดูบ้าง


สิ่งที่พบ หรือทางภาษาจิตวิทยาเรียกว่าสิ่งเร้า จะเข้ามาทำปฏิกริยากับสมอง โดยสมองของมนุษย์นั้น มีความชาญในการตัดสินทันทีว่า สิ่งนั้นเป็นอันตรายต่อเราหรือไม่ แน่นอนที่สุด การเอาตัวรอดย่อมทรงพลังกว่ามาก จึงทำให้เราตั้งกำแพงแห่งการคิดเอาไว้ก่อน เป็นกำแพงแห่งการคิดลบ กำแพงนี้ เป็นเรื่องปกติของมนุษย์ เพื่อให้เรามีชีวิตรอดต่อไปได้ แต่การคิดบวกจะมาก็ต่อเมื่อเราต้องมีสติในการเลือก เลือกอะไรเหรอ ก็เลือกในสิ่งที่เราคิดว่าเป็นประโยชน์กับชีวิตของเราหน่ะสิ

กลไกอันชาญฉลาดของสมองของเราจะเริ่มทำงานทันที เมื่อเรารู้สึกว่าได้ เราจะมีความสุขเล็กๆ เกิดขึ้นในสมอง และเราก็จะมีอารมณ์ดีตามทันที อะไรๆ ก็ดีไปหมด ณ เวลานั้นเอง อารมณ์ทางบวกก็ปรากฎขึ้นเราเรียกว่า การคิดบวก แต่อย่างไรก็ตามประเด็นอยู่ที่ว่า เราจะสามารถรักษาวิธีคิดแบบนี้ได้บ่อยแค่ไหน เพราะว่า เราต้องเจอเรื่องราว ผู้คนต่างๆ มากมายใกล้ตัว ทำให้เราต้องรับรู้สิ่งต่างๆ และทำการตัดสินตลอดเวลา ดังนั้น การคิดบวกต้องได้รับการฝึกฝนเป็นทักษะ ยิ่งทำบ่อย ยิ่งเก่ง ยิ่งทำบ่อย ยิ่งคิดบวก ความคิดของมนุษย์ มันช่างเกิดได้รวดเร็วมาก ดังนั้นเมื่อเราเผลอ เราจะกลับไปโหมดเริ่มต้นของมนุษย์ทันทีคือการเอาตัวรอด เป็นการคิดลบในทันที

คิดบวกแพร่ถึงกันได้

เป็นเรื่องน่าแปลกมากที่การคิดบวกนั้นสามารถส่งต่อกันได้ระหว่างคน และยังสามารถลดทอดได้ด้วยเช่นเดียวกัน อยู่ที่ว่าใครจะเข้มแข็งกว่ากัน เมื่อคนที่คิดบวก มีความเข้มแข็ง (วัยรุ่นเรียกว่า สตรอง) จะทำให้คนรอบข้างติดเชื้อการคิดบวกไปด้วย (แต่เป็นเชื้อดี เชื้อที่ทำให้มีความสุข) เรียกว่า อยู่ใกล้ใครก็เป็นแบบนั้น แต่ถ้าคนคิดบวกที่สตรอบไม่พอพอไปอยู่กับคนคิดลบ จะติดเชื้อคิดลบไปด้วย อ้าวแล้วจะเกิดไรขึ้นหละ?

คำตอบคือ เราก็จะสูญเสียทักษะการคิดบวกไปในทีสุด เพราะความคิดลบ เป็นโหมดพื้นฐานของมนุษย์ ดังนั้นมนุษย์พร้อมที่จะกลับไปโหมดคิดลบได้ตลอดเวลา แต่อย่าวไรก็ตามคนที่ฝึกฝนการคิดบวกบวกบ่อยๆ จะมีแรงดึงดูดอะไรบางอย่างให้คนที่อยู่รอบข้างเข้ามาหา เพราะเป็นคนที่ทำให้คนรอบข้างมีความสุขตลอดเวลา เรียกได้ว่าเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของมนุษย์ ซึ่งในอีกแง่มุมหนึ่ง การคิดบวกเป็นคุณสมบัติขั้นพื้นฐาน ของการเป็นผู้นำ ผู้นำคืนคนที่สามารถโน้นน้าวให้คนอื่นทำตามสิ่งที่ตนเองต้องการได้ จึงต้องมีพลังบางอย่างในการดึงดูดคนเข้ามา พลังแห่งการคิดบวกจึงเปรียบได้กับแม่เหล็กของผู้ประกอบการให้คนอื่นๆ ทำตามที่ต้องการได้

วิธีการรักษาพลังการคิดบวกให้คงอยู่จนสามรถถ่ายทอดไปยังคนอื่นได้นั้น ทำไม่ยาก แค่เริ่มต้นด้วย

1. ใส่ความตั้งใจ คนที่ต้องการเปลี่ยนแปลงตัวเอง ต้องมีความตั้งใจก่อน เป็นเหมือนน้ำมันเชื้อเพลิงในการขับเคลื่อนภายในของตัวเรา

2. ทำลายความคิดเดิมๆ เมื่อเราอยากเปลี่ยนแปลงตัวเอง เราต้องเข้าใจก่อนว่า ในอดีตที่ผ่านมาเราคิดลบนั้น เป็นการสร้างข้อมูลบาวอย่างในสมองของเราเกี่ยวกับการคิดลบ เราต้องทำลายความรู้สึกที่เราเคยชอบในการคิดลบ เช่น ประชดเพราะสะใจเพื่อต้องการสะใจ บ่นเพื่อได้ระบายแล้วจะดีขึ้น แก้แค้นเพราะต้องการเอาคืน โดยการสั่งความรู้สึกตัวเองว่า “ฉันเกลียดการคิดลบ” “ความคิดลบคือสิ่งเลวร้าย” ทำแบบนี้ทุกวัน และทุกครั้งที่เกิดความคิดลบเกิดขึ้นในสมอง และไม่ต้องเสียใจที่ความคิดลบเกิดขึ้น แต่ให้เรารู้สึกเกลียดความคิดแบบนี้ไปเรื่อยๆ ติดต่อกันอย่างน้อย 21 วัน คิดลบเมื่อ ท่องไว้กับตัวเอง “ฉันเกลียดคิดลบ”

3. ใส่ความเชื่อใหม่ๆ เมื่อเราต้องการความคิดบวก เราต้องบอกตัวเองว่า “เราคือคนที่คิดบวก” “เราคือคนที่เจ๋งที่สุด” “เราคือคนที่สร้างสิ่งสวยงามให้โลกใบนี้” บอกตัวเองเรื่อยๆ เสมอๆ บอกทุกครั้งที่คิดได้ ทำต่อเน่ือง 21 วัน ควบคู่กับการทำลายความเชื่อเก่า

4. ยิ้มกว้างๆ การยิ้ม คือการบอกกับต้วเองว่าฉันกำลังมีความสุข เป็นการใช้ร่างกายให้สั่งสมองอีกครั้งดังนั้น เมื่อเราเครียด ก็แค่ยิ้ม ยิ้มให้กว้างๆ ยิ้มให้หมดทั้งใจ หมดให้เห็นฟัง ลองทำดูสิ ยิ้มตอนนี้เลย รู้สึกดีขึ้นมั้ยหละ

5. พูดแต่คำเพราะๆ การพูดดีๆ คือการให้เกียรติตัวเองและคนอื่น เราจะรู้สึกทันทีว่า เรามีคุณค่าในตัวเอง สมองเรา ก็จะรับรู้ว่าเราได้ประโยชน์อะไรบางอย่างทันที ลองคิดดูว่า การที่เราพูดหยาบคายเพื่ออะไร ส่วนใหญ่เป็นความต้องการให้รู้สึกว่าเราเหนือกว่าคนอื่น นั่นหมายความว่า เราก็กำลังอยู่ในสภาวะสูญเสีย จึงพยายามปกป้องตัวเองด้วยการใช้คำพูดหยาบคาย การพูดเสียดสี การพูดประชด เราจึงต้องทำในสิ่งตรงข้ามทันที เพื่อให้สมองไม่รับรู้ว่าเราด้อยค่าโดยไม่รู้ตัว

6. ขอบคุณทุกครั้งที่มีโอกาส ทั้งทางคำพูดและความคิดขอบคุณแบบขอบคุณจริงๆ

7. อย่าทนเมื่อไม่พอใจ เพราะการทน คือการอยู่ในสภาวะของการอยู่ในจุดที่ร่างกาย หรือความคิดไม่สบาย ไม่สะดวก หรือ ไม่ต้องการ การทน เหมือนกับการเติมลมเข้าไปในลูกโป่ง ที่สามารถอัดเข้าไปได้เรื่อยๆ แต่จะมีจุดที่เต็มในที่สุด และเมื่อมากกว่านั้น จะระเบิดเอาของเก่าที่สะสมไว้ออกมาด้วยทั้งหมด วิธีการจัดการกับการทน มีอยู่ 2 วิธี คือ จัดการต้นเหตุแห่งการทน โดยการเกา แต่ถ้าเกาไม่ได้ ก็สนุกกับกับเหตุนี้ซะเลย เช่น ข้างบ้านเปิดเพลงเสียงดัง ก็ เดินไปบอกตรงๆ ว่าเสียงดัง ถ้าจัดการไม่ได้ ก็สนุกไปกับเสียงเพลงที่ได้ยิน เพราะถ้าต้องทนกับเสียงเพลง สุดท้ายจะทะเลาะกัน หรือถึงขั้นลงมือลงไม้ทำร้ายกันในที่สุด

ร่างกายกับการคิดบวก

สิ่งอันตรายที่ทำลายความคิดบวกคือ การเจ็บป่วย และความเจ็บปวดทางร่างกาย เมื่อเราป่วย อะไร อะไร ก็แย่ไปซะทุกอย่าง ทั้งการเคลื่อนไหว ความคิดและจิตใจ  อะไรที่ทำให้เราให้สูญเสียความสามารถในการคิดบวกหละ ก็ร่างกายที่อยู่ในสภาวะแย่ๆ ไงหละ

มีคำกล่าวกันว่า คนเราจะแสดงนิสัยแท้จริง ออกมาใน 3 ช่วงเวลา คือ หิวจัด เหนื่อยจัด และ ง่วงจัด จริงๆ ขอแถมให้อีกเรื่องหนึ่งคือ เครียดจัด เหตุเพราะ ในช่วงเวลาดังกล่าว ร่างกายรับรู้ว่าอยู่ในช่วงที่กำลังเป็นอันตรายมาก

หิว หมายถึง ร่างกายกำลังขาดอาหาร สมองจะบอกว่า ถ้ามายุ่งมากๆ จะเสียพลังงานมากขึ้น จึงไม่ต้องการจะใช้พลังงานร่างกายมากไปกว่านี้ ผ่านการกระตุ้นของกระเพาะอาหาร จริงๆ แล้วมนุษย์เรายังสมารถอยู่ไดเอีก 30 วัน ถ้าไม่ได้รับอาหาร แต่เราได้รับอาหารจนชิน เมื่อหิวจัดจึงโมโหออกมา

เหนื่อย เป็นสภาวะ ที่ร่างกายรับรู้ว่า สูญเสีย พลังงานมากเกินไปต้องจัดการอะไรบางอย่างให้ลดภาวะการสูญเสียพลังงาน เวลาคนเหนื่อย จึง มักจะทำอะไรบางอย่างให้ได้รับการพักผ่อนให้เร็วที่สุด
ง่วง เป็นสภาวะการที่คล้ายกับเหนื่อย เพราะกลไกของร่างกาย จะบังคับให้เราต้องได้การนอนเพื่อปรับสภาพร่างกายให้อยู่ในสภาวะสมดุล คนที่อดนอนจึงมีอาการผิดปกติหลายอย่างที่เกิดขึ้นเสมอ

เครียด เป็นสภาวะที่ร่างกายและสมองรับรู้ว่าอยู่ในสภาวะที่ไม่อยากได้อะไร บางอย่าง เป็นอันตราย ยิ่งอันตรายมากเท่าไหร่ ยิ่งเครียดมากเท่านั้น สมองจึงสั่งการให้ร่างกายต้องแสดงออก หรือจัดการอะไรบางอย่าง เช่น การก้าวร้าว การโวยวาย เพื่อให้ได้สิ่งที่ตนเองต้องการ

แล้ว เราจะทำไงดีหละ? ก็ไม่ยากเท่าไหร่หรอก เราจัดการได้อยู่แล้วเพราะ เราต้องทำให้ร่างกายอยู่ในสภาพที่แย่ๆ คือ 

อย่าปล่อยให้ตัวเองหิวและอิ่มจนเกินไป แต่คงไม่ใช่พวกหิวตลอดเวลาแน่นอน คือ ไม่ให้ตัวเองหิวจัด มีบางคนเวลาทำงานแล้วไม่ยอมกิน เราใช้การกิน เพื่อให้มีชีวิตต่อไป และต้องกินให้ดีซึ่งหมายถึงการกินอาหารที่สอง และมีความหลากหลาย ไม่กินซ้ำๆ อยู่แต่อย่างเดิม หรือกินแต่อาหารสำเร็จรูป ที่สารอาหารไม่ครบตามที่ร่างกายต้องการ และที่สำคัญ ต้องกินอาหารให้มีปริมาณที่พอเหมาะกับตัวเอง เรียกว่า กินอาหารให้ร่างกายแข็งแรง ไม่ใช่กินแค่อยู่ท้อง หรือกินเพราะอร่อยปาก การกินให้ดีไม่ใช่กินของแพง แต่เป็นการกินให้ครบ

ไม่ปล่อยให้ง่วงจัด หรือเรียกว่า พักผ่อนให้พอ (แต่คนส่วนใหญ่จะอยู่ในจำพวกนอนไม่เคยพอ) การพักผ่อนเป็นเรื่องใหญ่ของมนุษย์ เพราะเป็นช่วงที่ร่างกายปรับสภาพให้มีความพร้อมในการทำงานต่อไป เมื่อมนุษย์อดนอน จะกระทบต่อการควบคุมอารมณ์ การตัดสินใจ ฮอร์โมนในร่างกาย จนไปถึงอาการเจ็บป่วย หลายครั้ง คนเราถึงเวลานอนไม่ยอมนอน ถึงให้ถึงเวลาตื่นไม่ยอมตื่น เราต้องมีวินัยในตนเอง รู้จักหยุดทำในสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ และพักผ่อน ในเวลาที่เหมาะสม เพื่อให้ร่างกายได้พักผ่อนอย่างเต็มที่

ไม่ทนต่อความเจ็บป่วย หลายครั้ง คนเวลาพอถึงเวลาเจ็บป่วยชอบคิดว่าความเจ็บป่วยนั้นจะหายเอง และยังใช้ชีวิตตามปกติ หรือ ใช้การนอนเฉยๆ เพื่อให้ความเจ็บป่วยนั้นจะหายไปเอง วิธีการนี้สามาถใช้ได้กับเพียงบางอาการเจ็บป่วย เช่นเป็นหวัดเล็กน้อย แต่บางอาการไม่สามารถหายเองได้ หรือหายได้ต้องใช้เวลานาน เช่นไข้หวัดใหญ่ เราควรจะต้องรู้ตัวเองว่า การเจ็บป่วยแบบไหน ควรรักษาตัว เช่น เวลาที่ไข้สูง หรือเวลาที่มีอาการแปลกๆ ที่ไม่เคยเป็นมาก่อน แล้วเวลาเจ็บป่วย ต้องกินอาหารเพื่อให้ร่างกายได้มีสารอาหารเข้าไปซ่อมแซมภายใน โดยเฉพาะโปรตีนที่ย่อยง่าย เช่นเนื้อปลาและเนื้อไก่
การรักษาอารมณ์เชิงบวก จึงต้องรู้จักการรักษาทางด้านความคิดและการรักษาร่างกายให้อยู่มีความพร้อมตลอดเวลา ไม่ให้ร่ายกายอยู่ในความทุกข์ เพราะร่างกายเป็นเครื่องมือและที่อยู่ของจิตใจ ถ้าร่างกายไม่ดีแล้ว ใจของเราก็ได้บ้านได้ที่อยู่อาศัยที่ไม่ดีด้วยเช่นเดียวกัน 

“ขอให้มีความสุขกับการคิดบวกในทุกๆ ช่วงเวลา”


วันเสาร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

หัวใจผู้ประกอบการฉบับวัยรุ่น ตอนที่ 9


ผู้ประกอบการผู้นำ

หัวใจผู้ประกอบการ หากเรามีอยู่เต็มตัว แต่เราไม่สามารถทำให้ใครคล้อยตามเราได้ เราเองจะไม่ประสบผลสำเร็จในการเดินหาเป้าหมายของเรา ดังนั้นเราต้องเรียนรู้ในการสร้างความสามารถในการโน้มเอียงความคิดคนอื่นให้คล้อยตามเราได้ สิ่งนั้นเรียกว่าภาวะผู้นำ

ภาวะผู้นำ กับ ผู้นำ

เพื่อให้เข้าใจว่า ผู้นำ กับภาวะผู้นำ มีความแตกต่างกัน ต้องขอเริ่มอธิบายเกี่ยวกับผู้นำก่อน ผู้นำ หมายถึง คนที่มีหน้าที่ในการพา สั่ง กำกับ หรือทำอะไรก็ได้ให้ทีมงานไปยังจุดหมายปลายทางที่ต้องการ โดยส่วนมากแล้ว ผู้นำเป็นผู้ที่มีอำนาจ หรือตำแหน่งสูงสุดในองค์กร เป็นหัวหน้า เป็นผู้จัดการ เป็นอะไรก็แล้วแต่ที่ต้องสั่งการ

แต่ผู้นำจำนวนมากไม่มีภาวะผู้นำ???? แล้วมันคืออะไร ภาวะผู้นำคือความสามารถในการทำให้คนอื่นคล้อยตามความคิดของเราได้ ไม่ใช่สั่งการได้ คนละความหมาย เพราะการสั่งการต้องอาศัยอำนาจ แต่การทำให้คล้อยตามอาศัยการเชื่อใจ และบารมี เราอาจเคยได้ยินหลายครั้งว่า หัวหน้าคนนี้ไม่มีภาวะผู้นำ นั้นแสดงให้เห็นว่า คำสั่งที่สั่งการลงมานั้น ไม่มีความรู้สึกคล้อยตาม เห็นด้วย หรืออยากทำตาม แต่ต้องทำตามเพราะอำนาจ (Authority) ที่หัวหน้าคนนั้นได้รับมาจากคนอื่น ผู้นำที่ดีจะต้องมีอำนาจ (Power) เพื่อใช้ในการสั่งการได้ ซึ่งจะกล่าวต่อไปเกี่ยวกับอำนาจทั้ง 2 ประเภท

สิ่งที่ทำให้เกิดภาวะผู้นำคือความรู้สึกที่คนอื่นมีต่อผู้นำ เกี่ยวกับความรู้สึกทั้ง 5 ด้านที่ได้อธิบายไว้ในเรื่อง Give and Take หรือเรียกว่าผู้นำคือคนที่ให้คนอื่นรู้สึกว่าเราทำให้เขามั่นคง เราทำให้เขาสนุกสนานไม่น่าเบื่อ เราทำให้เขาเป็นคนสำคัญ เราทำให้เขาได้รับความรักดูแลเอาใจใส่ เราทำให้เขาได้รับการเติบโต จะเห็นได้ว่า ผู้นำเป็นเรื่องของความรู้สึกล้วนๆ ไม่ใช่เรื่องตำแหน่งหน้าที่แต่อย่างใด แต่หลายครั้งกลับยอมให้คนที่มีตำแหน่งหน้าที่การงานมาเป็นผู้นำ เพราะอะไรหรือ

เพราะว่า คนเหล่านี้สามารถให้ความรู้สึกที่มั่นคงได้ เขาสามารถรับปัญหา ภาระต่างๆ แทนเราได้ เราจึงรู้ว่า เราปลอดภัยเมื่อให้คนเหล่านี้เป็นผู้นำของเรา แต่อย่างไรก็ตาม คนที่ประสบความสำเร็จทั้งทางด้านการเงิน หรือหน้าที่การงาน มักจะมีบุคลิกที่เป็นภาวะผู้นำโดยธรรมชาติอยู่แล้วเพราะพวกเขาต้องใช้ภาวะผู้นำอยู่เป็นประจำอยู่แล้ว  ซึ่งทำให้มีโอกาสได้ฝึกฝนภาวะผู้นำให้เปิดความชี่ยวชาญ และค่อยๆ เพิ่มขึ้นจนสามารถรับรู้ได้จากบุคลิกลักษณะได้

ภาวะผู้นำจึงเป็นสิ่งที่เรียนรู้ และฝึกฝนได้ และที่สำคัญกว่านั้นคือ เพิ่มพูนได้ เนื่องจากรับรู้ภาวะผู้นำ มีได้ 2 ระยะ ระยะแรกเป็นการพบเจอครั้งแรกหมายถึง การที่คนเราพบเจอกันครั้งแรก ก็สามารถรับรู้ได้ว่า คนคนนี้ มีพลังงานบางอย่างที่สามารถทำให้เราปฏิบัติตามคำสั่งได้ (อันนี้ไม่เกี่ยวกับพวกหลองลวง ที่ใช้อุบายต่างๆ มาหลอกล่อเอาเงิน เอาทองนะ) ระยะที่ 2 เป็นระยะที่เคยเจอกันแล้ว มีประสบการณ์บางอย่างกับกับคนคนนั้นแล้ว ที่ให้สิ่งที่เหิดขึ้นในอดีต เป็นการสร้างความรู้สึกในปัจจุบัน ยิ่งนานไปๆ จะสร้างประสบการณ์ที่หน้าแน่นมากขึ้น ถ้าคนคนนั้นมีภาวะผู้นำจริง เราก็สมมารถรับรู้ได้ทุกครั้งที่พบเจอกัน ยิ่งนานวัน ยิ่งพบกันบ่อยครั้ง ยิ่งทำให้เกิดความความรู้สึกในการยอมรับคำสั่งที่เหนียวแน่นมากยิ่งขึ้น แต่ถ้าคนนั้นไม่มีภาวะผู้นำจริง นานวันเข้า เราก็รู้สึกว่า คนคนนี้ ไม่มีความเป็นผู้นำเลย แม้ว่าจะมีตำแหน่งไหนก็ตาม

องค์ประกอบของภาวะผู้นำ

ภาวะผู้นำ เป็นความรู้สึกที่คนอื่นมองไว้ให้กับใครสักคน ที่ให้นำความคิด จนนำไปสู่การกระทำได้ พื้นฐานของภาวะผู้นำ จริงๆ แล้ว เกิดจาก 2 ส่วนเท่านั้น คือ “อำนาจ” และ “บารมี”
อำนาจ เป็นพลังงานบางอย่างที่ บุคคลสามารถใช้บังคับคนอื่นได้ ซึ่งอำนาจได้มาจาก 2 ส่วนคือ อำนาจที่มาจากเบื้องบน เรียกว่า Authority และอำนาจที่เราสร้างขึ้นมาด้วยตัวเอง เรียกว่า Power ไม่ว่าจะเป็นอำนาจแบบไหน ลักษณะพิเศษของอำนาจ คือ ความกลัว เพราะอำนาจจะมาตามด้วยการลงโทษเมื่อ ไม่ทำตามคำสั่ง เพื่อเป็นการทำให้คนอื่นอยู่ภายใต้การควบคุมของตนเอง ในความกลัว คือการกลัวการได้รับอันตรายที่ผู้ที่ใช้อำนาจจะมากระทำต่อเรา เช่น กลัวการถูกตี กลัวการถูกตำหนิ กลัวการถูกปรับ หรืออะไรก็ได้ที่เป็นการทำให้เราเกิดความเสียหาย 

การได้มาซึ่งอำนาจที่เป็นลักษณะ Authority ส่วนใหญ่ได้รับมาในรูปแบบของกฎหมาย เช่น อำนาจของผู้บริหารในการดำเนินการภายในของบริษัท ที่เจ้าของบริษัทได้มอบเอาให้กับผู้จัดการ อำนาจที่ได้ ก็เป็นอำนาจสั่งการ อำนาจในการอนุมัติค่าใช้จ่ายในการทำงาน อำนาจในการรับพนักงานเข้ามาทำงาน จริงๆ แล้วคือ อำนาจในการตัดสินใจแทนคนอื่น ในทางสังคม ตำรวจได้รับอำนาจมาจากกฎหมาย ที่ให้เป็นเจ้าหน้าที่ในการบังคับใช้กฎหมาย สามารถใช้กำลังได้ใยบางครั้ง เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยในบ้านเมือง จึงทำให้เราเจอตำรวจอยู่ในภาพของการใช้อำนาจเป็นประจำ จนเกิดภาพในสมองของเราว่า ตำรวจคืออำนาจและลงโทษเราได้

อำนาจในรูป Power เป็นอำนาจที่แต่ละคนต้องสร้างมาเอง ซึ่งอำนาจนี้ มีวิธีการสร้างได้ 2 แบบ แบบแรก ใช้พระเดช หมายความว่า ใช้ความรุนแรงที่ให้คนคืนรู้สึกกลัว ไม่อยากได้รับความสูญเสีย เมื่อใช้บ่อยๆ และคนที่อยู่รอบข้างยอมรับและมอบการควบคุมให้กับผู้ใช้นำนาจ สุดท้ายจะกลายเป็นอำนาจขึ้นมาได้ เช่น หัวหน้ากลุ่มที่มีการรวมตัวกันในระหว่างเพื่อนและมีใครสักคนที่ดูเหมือนคุบควมคนอื่นได้ เราเรียกคนนั้นว่าหัวหน้ากลุ่ม แล้วอะไรหละที่ให้คนนั้นกลายเป็นหัวหน้ากลุ่ม การเกิดลักษณะนี้ ไม่มีรูปแบบที่ตายตัว บางคนใช้ความรุนแรงทางร่างกาย ใช้การลงมือ แบบนี้ให็นได้บ่อยกับกลุ่มที่เป็นนักเลง ลองคิดดูสิว่า หัวหน้านักเลงจะต้องผ่านอะไรมาบ้างกว่าจะถึงจุดนั้นได้ บางคนใช้ความรุนแรงทางวางจา สายตา และอารมณ์ ให้คนอื่นรู้สึกผิด กลัว หรือไม่อยากไปมีเรื่องด้วย บางคนสร้างอำนาจโดยการแสดงออกมากกว่าคนอื่น ทำตัวให้เด่น ทำตัวให้เหนือกว่าคนอื่นเพื่อให้กลุ่มยอมรับในความสามารถต่างๆ และเป็นคนที่สามารถให้คนอื่นรับฟังตนเองได้ในที่สุด การแสดงออกแบบนี้ อาจจะมาแบบรู้ตัว หรือไม่รู้ตัวก็ได้ และโดยส่วนใหญ่ เป็นแบบไม่รู้ตัว
ในการใช้อำนาจแบบพระเดศ มีลักษณะที่เหมือนกันอย่างหนึ่งคือ คนที่เป็นผู้นำจะมีอะไรบางอย่างที่โดดเด่น มากกว่า เหนือกว่าคนอื่นๆ จนคนอื่นๆ ยอมที่ให้คนนี้เป็นผู้ หรือเรียกอีกอย่างว่า ยอมมอบอำนาจการตัดสินใจของตนเองให้คนคนหนึ่งเพื่อเป็นผู้นำ หลายคนบอกว่าอยู่เฉยๆ ไม่ได้ทำอะไรเลยไม่รู้่าทำไมได้กลายเป็นผู้นำ บางคนแค่มีร่างกายที่ตัวใหญ่ กำยำ ดูแข็งแรง บางคนที่เป็นที่กล้าคิดกล้าทำ กล้าแสดงออก บางคนเป็นคนที่ มีความสามารถในงานทำงานได้ดีกว่คนอื่น แต่อย่างไรก็ตาม ในการเป็นผู้นำ นอกจากการใช้อำนาจเพื่อให้คนอื่นกลังเกรงด้วยพระเดศแล้ว ยังมีการใช้อำนาจอีกทงหนึ่ง เพื่อให้คนอื่นเกรงใจ สิ่งนี้เรียกว่าพระคุณ

พระคุณ เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการใช้อำนาจ เวลาบางคนทำงานด้วยกัน มีแผนงานร่วมกัน คนรอบข้างจะไม่ค่อยกล้าทำออกนอกแผนงานเพราะเกรงใจผู้นำ กลัวว่าจะเสียใจ กลัวว่าจะได้รับความเดือดร้อนรำคาญใจ ไม่อยากให้มีผลทางจิตใจแก่ผู้นำ ยอมเชื่อฟังแต่โดยดี เพื่อให้ ผู้นำนั้น สบายใจ ดีใจ มีความสุข ทั้งหมดนี้เรียกว่า พระคุณ เป็นอำนาจที่อาศัยความเมตตา หรือความอยากให้คนอื่นมีชีวิตที่ดีขึ้น และความกรุณา หรือความอยากให้คนอื่นพ้นทุกข์ มาเป็นตัวตั้งในการสร้างอำนาจ

ฟังดูอาจจะขัดแย้งกัน เพราะคนที่ใช้อำนาจโดยพระคุณจำนวนมาก บอกว่า ฉันไม่ต้องการมีอำนาจ ฉันแค่อยากให้คนอื่นมีความสุข แต่นั่นแหละ อำนาจกำลังก่อตัวขึ้นมาอย่างช้าๆ โดยที่ผู้นำเองไม่รู้ตัว และอำนาจจากพระคุณ ต้องใช้เวลาในการสร้าง อีกทั้ง ไม่สามารถสร้างแบบจงใจได้ เรียกได้ว่า ต้องสะสมไปเรื่อยๆ ถึงเวลาจะเต็มเอง เมื่อเต็มเมื่อไหร่ จะกลายเป็นอำนาจแบบพระคุณโดยทันที และกลายเป็น “บารมี” ในที่สุด

แต่ก็เป็นที่แน่แปลกอีก การสร้างอำนาจแบบพระคุณนี้ ต้องอาศัยเมตตา และเมตตาอะไรบ้างหละ บางคนบอกทำทานอย่างเดียว ไม่เป็นมีอำนาจอะไรเลย เพราะอะไร???

การเมตตา ในที่นี้คือการให้ ให้ในความรู้สึกทั้ง 5 อย่างที่มนุษย์ต้องการ และให้โอกาสให้คนอื่นได้เป็นผู้ให้ด้วย จึงจะสมบูรณ์ ในการให้จริงๆ การเมตตานี้ เมื่อเราได้ให้ความรู้สึกต่างๆ กับคนอื่นแล้ว จะมีการส่งพลังงานบางอย่างที่เรียกว่าบุคลิกภาพที่สามารถดึงดูดคนอื่นให้มาสนใจเราได้

นอกจากความเมตตาแล้ว ยังมีคามกรุณาอีกเรื่องหนึ่งที่มักมาคู่กัน เพราะความกรุณา คือแรงปรารถณาที่ให้คนอื่นพ้นทุกข์ ซึ่งแน่นอนว่า เราได้ให้ความรู้สึกทั้ง 5 กับคนอื่นเช่นเดียวกัน ต่างจากความเมตตาตรงที่ ความเมตตาคือทำให้เขาได้รับเพิ่มขึ้นไปอีก แต่ความกรุณาคือการทำให้เขารู้ว่าจากที่ไม่มี มีน้อย ได้รับการเพิ่มเติมให้ดีขึ้น สรุปทั้ง 2 อย่างก็เป็นการให้ทั้งคู่

เมื่อคนอื่นได้รับความรู้สึกทั้ง 5 ของเราแล้ว จนกลายเป็น “พระคุณ” คราวนี้กระบวนการทำงานจะเริ่มโดยการความรู้สึกของคนอื่นที่มีต่อเรานั้น จะเกิดเป็นความเกรงใจมากขึ้น อยากตอบแทนอะไรบ้างอย่างในตัวเขาให้กับเรา วิธีการที่ทำออกมาโดยไม่รู้ตัวนั้นคือ การยอมทำตามแบบเต็มใจ เพราะเขาต้องการเลียบแบบการให้ความรู้สึกทั้ง 5 ของเราด้วย ยิ่งเราให้ได้มากเท่าไหร่ คนรอบข้างเราจะเกรงใจเรามากขึ้นเรื่อยๆ

ผู้ประกอบการผู้นำ

คนที่มีหัวใจผู้ประกอบการต้องมีความเป็นผู้นำไปเพื่ออะไร? คำตอบง่ายๆ คือ ผู้ประกอบการเป็นผู้ที่อยู่ระหว่างคนต่างๆ ที่ต้องทำการนำคนที่สามารถทำงานมารวมตัวด้วยกัน ทำงานด้วยกัน จึงเป็นเรื่องของการโน้มน้าวความคิดคนอื่น การมีภาวะผู้นำจึงเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งที่ทำให้การำธุรกิจ และการเป็นผู้ประกอบการสำเร็จลงได้

การสร้างภาวะผู้นำในตัวผู้ประกอบการ เรื่องนี้ก็ไม่ต่างกับการตั้งเป้าหมายชีวิต เพราะเราต้องมีเป้าหมายของการเป็นผู้นำก่อน และต้องเรียนรู้ที่จะยืดหยุ่น มีคนจำนวนมากคิดว่า การเป็นผู้นำคือผู้สั่งการ ไม่ใช่เลย ผู้นำไม่ใช่ผู้สั่งการ ดังนั้น คำสั่ง จึงเป็นเพียงส่วนหนึ่งของภาวะผู้นำ เรามาลองดูกันว่า ภาวะผู้นำ จะสร้างขึ้นมาง่ายๆ ได้อย่างไร

ขั้นที่ 1 หยุดความคิดครอบงำ และครอบครอง เนื่องจากมนุษย์ทุกคนต้องการความเป็นอิสระ (จากความรู้สึกความหลายกหลาย ความสุนกสนาน) หากเริ่มต้นด้วยความครอบงำ และครอบครอง อาจจะได้การทำตาม แต่ไม่ได้หัวใจของคนทำ ยอมทำเพราะอำนาจอะไรบางอย่าง แต่ไม่ใช่ยอมทำตามด้วยความเต็มใจ

ขั้นที่ 2 มองอย่างที่เขาเป็น การเป็นผู้นำ ต้องเรียนรู้การเป็นผู้ตามก่อน แต่เป็นตามเพื่อให้คนอื่นมาตามเรา การเป็นผู้ตามที่ง่ายๆ คือ ตามความคิดคนอื่น และปล่อยในอย่างที่เขาเป็น คนที่อยู่ข้างๆ เราจะรู้สึกถึงการได้รับอิสระ ได้รับเกียรติ และได้รับความไว้วางใจให้เขาได้เป็นในสิ่งที่เขาต้องการ

ขั้นที่ 3 เป็นที่พึ่งในยามยาก เมื่อคนเราเดือดร้อน คนเรามักหาทางออก หาที่พึ่ง และเขาจะหาคนที่ไว้ใจได้ในกรเป็นที่พึ่ง ผู้นำ ต้องเป็นคนที่ช่วยชี้นำทางออกของเขา และเป็นเหมือนกับคนที่สามารถช่วยเรื่องต่างๆ ได้ ตัดสินใจให้ได้ คิดแทนให้ได้ หรือบางครั้ง ไม่ต้องคิด แค่ถามบางคำถามเพื่อให้เขาได้คิดและตัดสินใจได้ง่ายขึ้น

ขั้นที่ 4 หนักแน่นดังขุนเขา ในความหมายของการหนักแน่นนี้ เป็นความหมายของความหนักแน่นทางอารมณ์และความคิด เหมือนภูเขาที่ไม่แปรเปลี่ยนตัวเองได้ง่ายๆ แม้กาลเวลาจะผ่านไป แต่เกิดจากการก่อร่างสร้างตัวให้ตัวเองอุดมไปด้วยปัญญา และภูมิความรู้ ไม่โอนเอียงทางความคิดจากกระแสของลม (ปาก) ของคนได้โดยง่าย แต่มีความยืดหยุ่น อ่อนนุ่ม สำหรับผู้ที่มาสัมผัส ให้ลองนึกภาพดู ขุนเขา เป็นสิ่งที่ตั้งสง่าอยู่อย่างหนักแน่น เป็นที่่พึ่งพิงให้สัตว์ คน ต้นไม่ และสิ่งต่างๆ มากมาย มีผิวหน้าที่อ่อนนุ่ม ชุ่มชื้น ชวนให้สัมผัส มีความอุดมสมบูรณ์เก็บเอาไว้ภายใน สามารถกันลมพายุ กันกระแสน้ำได้อย่างน่าทึ่ง แต่ภูเขา ก็ยังสามารถเคลื่อนไหว และมีพลังบางอย่างได้นี่แหละคือผู้นำ

ขั้นที่ 5 คิดอนาคตของตัวเองและคนอื่น คนที่เป็นผู้นำ คือคนที่รู้ว่า กำลังนำ ฝูง นำทีม นำคนทั้งหดมไปไหน การนำผิด หมายถึงความหายนะของทีม องค์กร ธุรกิจ และอนาคตของคน ผู้นำ จะคิดถึงแต่อนาคตของผู้นำคนเดียวไม่ได้ เพราะ ผู้นำ คือคนที่นำคนอื่น ไม่ได้อยู่คนเดียว การที่ผู้นำคิดแต่เรื่องอนาคตของตนเองนั้น เป็นการทำลายความไว้วางใจของตนเองให้เหลือแต่เพียงผู้ลำพัง ไม่ใช่ผู้นำ

ขั้นที่ 6 เป็นคนมีอารมณ์ขัน ผู้นำ ไม่จะเป็นต้องเป็นคนที่เคร่งเครียด แต่ในทางตรงกันข้าม คนโดยทั่วไป อยากอยู่ใกล้กับคนที่อารมณ์ดี มีอารมณ์ขัน เพราะใครๆ ก็ต้องการความสุขจากการอยู่ร่วมกับคนอื่น การที่ผู้นำเป็นคนที่เคร่งเครียด มีผลทำให้คนที่อยู่รอบข้างตีตัวออกห่าง และเราจะไม่เหลือใครให้นำ เพราะทุกคนหายไปหมดแล้ว

ขั้นที่ 7 เป็นนักฟังที่ดี การเป็นผู้ฟังที่ดีคือ “ฟัง” ไม่ใช้อย่างอื่น ฟังให้เราได้รู้ว่า เขาต้องการสื่ออะไร โดย “ไม่ตัดสิน” “ไม่คาดหวัง” และ “ไม่เปรียบเทียบ” เพราะการฟัง คือการรับ ไม่ใช่การตัดสิน เมื่อเราฟัง เราจะ ฟีล (Feel) ว่า เขาอยากได้อะไร จากนั้น เราจึงให้ในสิ่งที่เขาต้องการ บางครั้ง เขาแค่ต้องการบอกใครสักคนที่ฟังเขาเพื่อต้องการคำตอบ บางครั้ง เขาต้องการคนช่วยชี้แนะให้คิดได้ บางครั้ง เขาต้องการคนที่ช่วยคิดให้ และเราจะรู้จะได้จากการฟัง สังเกตุ โดยไม่ใช้เหตุผลของเรา

ทั้งหมดนี้ เป็น 7 ขั้นตอนการสร้างความเป็นผู้นำ จะเห็นได้ว่า การเป็นผู้นำนั้น ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับวัตถุเงินทองเลย แต่เป็นเรื่องของความรู้สึกเพียงอย่างเดียว ที่คนหนึ่งมีให้กับอีกคนหนึ่งเท่านั้น

ทักษะพิเศษของผู้นำ

ผู้ประกอบการผู้นำนั้น นอกจากมีการสร้างความเป็นผู้นำแล้ว ยังมีทักษะที่จะเป็นในการเป็นผู้นำด้วย คือ

ทักษะการสื่อสาร
ทักษะการคิดเชิงระบบ
ทักษะจิตใจอ่อนโยน

ทั้ง 3 ทักษะนี้ เป็นสิ่งที่ผู้นำต้องฝึก เพื่อให้คนอื่นสามารถรับรู้ความคิดและนำไปสู่การปฏิบัติได้ เพราะผู้นำคือ ผู้ที่สามารถนำความคิดของคนอื่นให้สามารถทำตามที่ตนเองต้องการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร ทีม และบุคคลได้ ทั้งของตนเอง และของบุคคลอื่น

ทักษะการสื่อสาร การสื่อสารเป็นการบอกเล่าเรื่องลาวของเราไปสู่คนอื่น หรือคนอื่นๆ และให้คนอื่น บอกเราเรื่องราวมาสู่เรา เรารู้กันอยู่ว่า การสื่อสารสามารถทำได้ทั้งแบบ ใช้ภาษา และไม่ใช้ภาษา นั้นคือ เราใช้คำพูดของเราเพื่อให้คนอื่นรับรู้และเข้าใจ และการสื่อสารแบบไม่ใช้คำพูด ตั้งแต่สีหน้าแววตา ท่าทาง กริยาต่างๆ

ในการสื่อสารแบบใช้ภาษา มีงานวิจัยได้กว่าวกันว่า มีอิทธิพลเพียง 28% เท่านั้นที่ใช้ในการสื่อสาร ส่วน 72% ที่เหลือ ใช้การสื่อสารด้วยวิธีอื่นๆ และยิ่งโลกยุคดิจิตัลด้วยแล้ว การสื่อสาร ยิ่งมีสื่อใหม่ๆ เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ดังนั้น เรามาลองดูกันว่า เรามีเครื่องมือในการสื่อสารอะไรบ้าง

การใช้คำพูด เป็นโหมดหนึ่งในการรับรู้ของคน หมายความว่า มีบางคนใช้คำและเสียงพูด เป็นเครื่องมือหลักในการสื่อสาร คนเหล่านี้ จะสามารถเข้าใจได้ดี เมื่อมีคำพูด คำอธิบายประกอบอย่างชัดเจน วิธีการสังเกตุ เวลาคุยกับคนเล่านี้ จะเขียนเป็นตัวหนังสือเยอะมาก เขียนยาวๆ พูดไปเขียนไป แสดงว่า เขากำลังรวบลรวมความคิดผ่านตัวหนังสืออยู่ เมื่อเวลาเขาเหล่านี้พูด จะใช้คำว่า “บอก” “ได้ยิน” “เล่ามาว่า” แสดงถึงการเชื่อมโยงทางความคิดด้วยภาษา

การใช้ภาพ หรือการสื่อถึงจินตานาการด้วยภาพ คนเหล่านี้ จะใช้ภาพในการรวรวมความคิดเป็นหลัก เวลาสื่อสารต้องการภาพที่เป็นโครงสร้าง การเขียนแบบจำลอง หรือต้องวาดผังการทำงาน ถึงจะสามรรถเข้าได้ได้อย่างรวดเร็ว คนเหล่านี้จะไม่ชอบตัวหนังสือ ยิ่งเห็นตัวหนังสือมากๆ เข้า จะตาลาย เวลาเขียนหนังสือ จะเขียนสั้นๆ และมีจะมองไม่เห็นรายละเอียดเล็กๆ ในหนังสือ เวลาพูดพวกเขาเหล่านั้น มักพูดคำว่า “เห็น” “มอง” “ฉายภาพ” เพราะพวกเขาเห็นในความคิด และต้องการให้คนอื่นเห็นด้วยเหมือนกับที่เขาเห็น จึงพยายามบอกคนอื่นว่า เขาเห็นอะไร

การใช้ความรู้สึก คนเหล่านี้ ใช้ใจจับความรู้สึกและแปลความหมายของสิ่งที่ได้รับมา เป็นลักษณะของการผสมกันระหว่างการใช้เสียงและภาพ คนกลุ่มนี้จะสามารถรับรู้ได้โดยการใช้สิ่งที่เป็นกรสื่อถึงความรู้สึก เสียง อารมณ์ การเคลื่อนไหว การรับรู้จะต้องมีอารอธิบายรายละเอียดของการเคลื่อนไหวเพื่อให้รับรู้ถึงสิ่งที่เกิดขึ้นแปลเป็นความรู้สึก ถึงจะเข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้น คนกลุ่มนี้ ชอบพูดคำว่า “รู้สึกว่า” “สัมผัสได้” “รับรู้ได้”

ทั้ง 3 เครื่องมือนี้ ต้องถูเลือกใช้ตามผู้รับสาร ผู้นำที่ดีต้องเรียนรู้และสามารถปรับตัวเองให้เข้ากับการรับรู้ของคนอื่นได้ และถ้าไม่รู้ว่าคนนั้นเป็นโหมดอะไรให้ทำการสื่อสารโดยการ ใส่ทั้ง 3 โหมดเข้าไปในการสื่อ เช่น ถ้าเราต้องการอธิบายการทำข้าวไข่เจียว ในการอธิบายทั้ง 3 โหมดมีดังนี้

โหมดเสียง
การทำไข่เจียว
1. ให้เริ่มจากการคัดเลือกไข่ที่สด สะอาด มา  2 ฟอง
2. ต่อยไข่ใส่ชามหรือถ้วยขนาดกลาง
3. ตีไข่ด้วยซ่อมจนเข้ากันและขึ้นฟองฟูละเอียดจนทั่ว
4. ปรุงรสด้วยเครื่องตามที่ต้องการเล็กน้อย หากใส่เยอะจนเกิดไผ เวลาเจียวไข่จะขาดไม่เกาะกันเป็นแพ
5. ใส่เนื้อสัตว์หรือเครื่องพอประมาณ ไม่เกิน 1 ใน 3 ของปริมาณไข่
6. ตีไข่ให้เข้ากันอีกครั้ง
7. ตั้งไฟในกระทะด้วยไฟแรง รอจนน้ำมันร้อนเต็มที่แล้วหรี่ไฟเหลือไฟปานกลาง
8. หยอดไข่ที่เตรียมไว้พร้อมแล้วโดยการโรยให้เป็นวงกลมจากด้านในออกด้านนอกให้ทั่ว
9. เมื่อไข่เริ่มจับตัวเป็นก้อน ให้ใช้ตะหลิวเขี่ยให้ไข่ขยับเป็นวงกลมเบาๆ เพื่อป้องกันไข่ตัดกระทะ
10. เมื่อไข่เริ่มสุกและเป็นสีน้ำตาล ให้กลับไข่อีกด้านหนึ่ง โดยใช้ตะหลิวแซะเข้าไปลึกๆ เพื่อป้องกันไข่ขาดจากกัน และพลิกไข่
11. รอจันไข่สุกอีกข้างหนึ่ง ตักขึ้นจากกระทะ พร้อมเสริฟ

หากเป็นโหมดภาพ จะสามารถอธิบายวิธีการเจียวไข่ได้ดังนี้
1. เลือกไข่สดและสะอาด ดูจากไข่ที่เปลือกยังเป็นมันวาว
2. ต่อยไข่ใส่ถ้วย ขนาดกำลังพอเหมาะกับปริมาณของไข่
3. ตีไข่จนขึ้นฟูเห็นเป็นฟองละเอียดสีเท่ากันทั่ว
4. ใส่เครื่องปรุงตามใจชอบ ให้ดูจากปริมาณเครื่องปรุงโดยเฉพาะซอสสีเข้ม ถ้าใส่เยอะไป ไข่ที่ตีไว้จะเป็นสีดำ
5. ใส่เนื้อสัตว์และเครื่องกะเป็นสัดส่วนประมาณ 1 ใน 3
6. ตีไข่จนเห็นเครื่องกระจายทั่วกันไม่เป็นก้อน
7. ตั้งน้ำมันในกะทะ ให้ร้อนเต็มที่มีควันออกมาเล็กน้อย
8. เมื่อน้ำมันร้อนแล้วให้หรี่เหลือไฟปานกลาง
9. หยอดไข่ใส่ลงไปโดยการวนเป็นวงกลม
10. สังเกตุดูว่าเห็นไข่เป็นสีนำตาลอ่อนๆ และเริ่มจับตัวเป็นก้อนด้านหนึ่งและแสดวงว่าไข่เริ่มสุก
11. ใช้ตะเหลิวเขี่ยไข่ให้หมุน เพื่อให้ร่อนออกจากกระทะ
12. ใช้ตะหลิวแซะไข่เบาๆ และดูว่าสามารถขึ้นมาอยู่ขนตะหลิวได้หรือได้ ถ้าขึ้นมาได้ทั้งหมด แสดงว่าไข่พร้อมที่จะพลิกกลับแล้ว
13. พลิกไข่กลับ และรอจนสุก เห็นเป็นสีน้ำตาลอีกด้าน
14. ยกขึ้นเสริฟ ตามแบบที่ชอบ

แล้วถ้าเป็นแบบความรู้สึกหละ
การทำไข่เจียว
1. ต้องเลือกไข่ที่ดูแล้วสด สะอาด ไม่มีเก่า ไม่เลอะ
2. นำไข่มาต่อยเบาๆ เพื่อป้องกันเปลือกไข่แตกลงไปในไข่ด้วย
3. ตีไข่แรงพอประมาณ ให้ไข่ดูฟูนุ่มเข้าเป็นเนื้อเดียวกัน
4. ใส่เครื่องปรุงรสแบบที่ใช่ ไม่มาก ไม่น้อย เอาแบบพอดีพอดี
5. ใส่เครื่องที่ชอบประมาณหยิบมือ อย่าเยอะเกินไป มันจะให้ความรู้สึกล้นๆ และไข่จะไม่เกาะกันสวยงาม
6. ตีไข่อีกครั้งจนเข้ากันดี กระจายโดยทั่วกัน
7. เอาน้ำมันใส่เตา เทลงไปเบาๆ ตั้งไฟให้แรงในตอนต้นเพื่อให้น้ำมันพร้อม
8.  หรี่ไฟมาปานกลาง ค่อยๆ เทไข่ลงไป วนเป็นวลกลมจะได้แผ่นตามที่ต้องการ
9. รอจนไข่เริ่มจับตัว เอาตะหลิวเขี่ยๆ ดูว่าเริ่มหมุนได้ ให้เขี่ยหมุนไข่สักรอบ สองรอบ กันไข่ติดกระทะ
10. เมื่อด้านบนของไข่รู้สึกว่าเริ่มแห้ง ให้ใช้ตะหลิวช้อนใต้ไข่เบาๆ ถ้าสอดเข้าไปได้ทั้งใบโดยที่ไม่ขาดก็เตรียมกลับไข่ได้
11. กลับไข่โดยเร็วเพื่อไม่ให้ไข่พับ และรอจนสุก ก็พร้อมรับประทาน

จากวิธีการสื่อสารทั้ง 3 แบบนั้น ผลลัพทธ์จะได้ไข่เจียวเหมือนกัน การเป็นผู้นำต้องเรียนรู้การสร้างความเข้าใจกับคนอื่น ไม่ใช่ให้คนอื่นมเข้าใจผู้นำ เมื่อเราให้ เราจะได้รับ เป็นกฎทองของการเป็นผู้นำในโลกยุคปัจจุบัน

ทักษะการคิดเชิงระบบ การคิดเชิงระบบ เป็นการคิดของผู้นำที่มีความจำเป็น เพราะผู้นำ ต้องเป็นผู้ที่เห็นภาพรวม เพื่อการติดสินใจ โน้มน้าวจิตใจ ดังคำกล่าวว่า “ตัดสินใจผิด ชีวิตเปลี่ยน” ในการติดสินใจของผู้นำ จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลเพื่อการตัดสินใจในทุกๆ เรื่อง นั้งหมายความว่า ผู้นำเอง คือคนที่สามารถมองเรื่องราวต่างๆ ได้อย่างรอบด้าน และสามารถเรียงร้อยข้อมูลต่างๆ ได้อย่างกลมกลืน
ระบบ ถ้าตีความหมายง่ายๆ หมายถึง ทำซ้ำแล้วได้ผลเหมือนเดิม เมื่อเอามารวมกับการคิดแบบผู้นำ คือ เอาข้อมูลมาเรียงร้อยกันแล้ว สามารถอธิบายความคิกซ้ำได้ผลออกมาเหมือนเดิม นั้นหมายความว่า ความคิดจะมีความคงเส้นคงว่า ครบถ้วน รอบคอบ ครอบคลุม ละเอียด และมองการณ์ไกล
การคิดเชิงระบบ มีลักษณะของการคิดที่มีความแตกต่างกับการคิดแบบอื่นคือเป็นการคิดที่แสดงถึงเรื่องราวต่างๆ อย่างเป็นขั้นเป็นตอน ในทุกๆ แง่มุม เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ เพื่อตอบคำถามได้อย่างต้องการ เหมือนดังว่า ความคิดนั้นไหลไปได้เหมือนกับกระแสไฟฟ้าในวงวรไฟ ที่มีจุดเริ่มต้น ถึงจุดสิ้นสุด มีการแยกกันของสายไฟหลายจุด และมีการรวมตัวกันของสายไฟ กระแสไฟฟ้าเป็นเหมือนของกระแสความคิด ถ้าคิดไม่ครบวงจร ระบบการคิดจะไม่ทำงาน
การฝึกเริ่มต้นคิดเชิงระบบต้องจากการคิดให้เป็นขั้นเป็นตอน ไปทีละจุด จากจุดที่ 1 ไปจุดที่ 2 ไปจุดที่ 3 ไปเรื่อยๆ จนถึงปลายทาง       
ข้อสำคัญในการคิดเชิงระบบ คือความละเอียดในการคิด เนื่องจาก ปกติแล้วมนุษย์จะขาดความละเอียดในการคิด เพราะการใส่ลายละเอียดนั้น ต้องใช้พลังงานสมองเป็นอย่างมาก หลายคนจะเริ่มรู้สึกปวดหัว ไม่อยากคิด ตรงนี้เป็นจุดที่สำคัญ เพราะหากสามารถฝึกให้เกิดความชำนาญ (ความเคยชิน) แล้ว จะเป็นก้าวสำคัญของการเป็นผู้ที่มีหัวใจผู้ประกอบการ


ถึงตรงนี้ จะมีคำถามผุดขึ้นมาทันที แล้วเราต้องคิดละเอียดขนาดไหนหละ ให้เราลองมาจินตนาการดูว่า เรากำลังก้าวเท้า 1 ก้าว ขั้นตอนในการก้าวเท้ามีอะไรบ้าง คนปกติจะบอกว่า ก็ก้าวเท้า 1 ก้าว ไปข้างหน้า เมื่อขาตึง ก็วางเท้าลง จบ
แต่ถ้าคนที่คิดเป็นระบบ จะมีลายละเอียดอีกหลายอย่างที่เกิดขึ้น เรามาพิจารณาดูกัน
1. เท้าวางในตำแหน่งยืน น้ำหนักทิ้งลงเต็มเท้า
2. สมองสั่งการให้เตรียมพร้อมจะเกิดไปข้างหน้า
3. สมองเล็งหาเป้าหมายของการเก้าวเท้าและวางเท้าในก้าวนี้
4. สมองสั่งการให้เท้าเริ่มขยับโดยการงอหัวเข้าและเปิดส้นเท้า
5. กล้ามเนื้อหน้าขาทำงานเพื่อยกขาให้สูงขึ้นแบบที่หัวเข่างอเข้า
6. ขาที่กำลังก้าวจะยืดหัวเข่าออกไปข้างหน้า และขาที่ยืนอยู่จะถืบตัวส่งส่งกำลัง
7. ขาที่ก้าวออกไปข้างหน้า ทิ้งน้ำหนักขาลงที่พื้น โดยเอาส้นเท้าลงก่อน
8. ขาที่ยืนอยู่ส่งกำลังเพิ่มขึ้นโดยการใช้ข้อเท้าดีดตัวไปข้างหน้า
9. น้ำหนักตัวทั้งหมดจะทิ้งไปที่เท้าที่ก้าวอกกไปแล้ว และจะมีการโยนน้ำหยักตัวเบาจากด้านหลังมาด้านหน้า เพื่อเตรียมก้าวในก้าวต่อไป

ทั้งหมดนี้เป็นการคิดแบบละเอียดในแต่ละจังหวะ เพื่อให้เห็นได้ว่า กิจกรรมต่างๆ จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง และเป็นระบบที่เกิดการต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ได้ผลเช่นเดิมทุกครั้งที่ทำกิจกรรมแบบนี้เป็นการฝึกการสร้างลำดับความคิดแบบละเอียดถี่ถ้วนเท่านั้น เมื่อทำจนชำนาญแล้ว ให้เริ่มระบบที่มีความซับซ้อนมายิ่งขึ้น
ระบบที่มีซับซ้อนคือระบบที่มีทางแยกของความคิด และการไขว้กันของความคิด คล้ายๆ กับการคิดแบบคู่ขนาดกัน ดังนั้น การคิดแบบเป็นระบบ จะต้องคิดทีละเส้น และจำขั้นตอนไว้สำหรับเป็นข้อมูลในการคิดของเส้นทางความคิดอื่นๆ 


การคิดเชิงระบบแบบบนี้ เริ่มมีความซับซ้อนมาขึ้น แต่ก็ไม่มากเกินไปถ้ามีการฝึกฝนอยู่เรื่อยๆ  ซึ่ง การคิดสำหรับมือใหม่ ให้คิดทีละเส้นทางความคิดให้เรียบร้อยก่อน และค่อยคิดเส้นทางอื่นๆ ต่อไป จยครบทุกเส้นทางความคิด แต่จะมีเคล็ดลับอยู่เล็กน้อย ตรงที่ ต้องมีการคิดทบทวนอีกครั้งเมื่อคิดครบทุกเส้นทางเป็นรอบที่ 2 เพื่อให้มั่นใจว่า การคิดนั้น ไม่ได้มีส่วนใดที่ลืมไป และมีความสอดคล้องกันอย่างแท้จริง
สรุปส่งท้ายบทการเป็นผูันำ ต้องเรียนรู้การใช้บุคคลิกของตนเองเพื่อให้เกิด อำนาจและบารมี สุดท้ายจนเกิดเกิดเป็นศัทธา เพื่อให้สามารถโน้นมน้าวคนอื่นให้สามารถเชื่อมั่น ไว้วางใจ และทำตามที่เราต้องการได้ ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญมากในหารประกอบธุรกิจ เพราะนอกจากการโน้มน้าวทีมงานในการทำงานแล้วยังมีเรื่องของการโน้มน้าวลูกค้า คู่ค้า และผู้ที่เกี่ยวข้องให้เกิดความเชื่อมั่น และสร้างธุรกิจไปด้วยกันในที่สุด ผู้นำ ต้องเป็นผู้ที่สามารถสร้างประโยชน์ทั้งทางกาย และทางใจให้กับบุคคลที่อยู่รอบข้างได้ เป็รผู้ที่รุ้จักการให้ทั้ง 5 ประการเพื่อให้สร้างความรู้สึกที่ดีๆ กับคนรอบข้าง ในที่สุด การเป็นผู้นำคือคนที่คิดเรื่องราวต่างๆ ได้อย่างรอบคอบ เป็นขั้นตอน เป็นระบบ เพื่อให้ผลลัพทธ์ของการคิดออกมาดรที่สุด ดังคำกล่าวที่ว่า
“เป็นผู้ใหญ่ ใช่เกิดก่อน หากแต่รู้จักคิดด้วยเหตุผลเหนืออารมณ์”