หลายๆ เมืองเกิด Lock Down แล้ว บางหน่วยงานก็มีมาตรการทำงานอยู่ที่บ้าน เมื่อยังต้องทำงานก็ต้องมีผลงาน เพราะการทำงานที่บ้านไม่ใช่การหยุดงาน หัวหน้าหลายคนก็เจอประเด็นการติดตามผลการทำงาน เพราะว่า การทำงานแตกต่างไปจากเดิม จากที่เคยที่งานเห็นหน้ากัน สอบถามความคืบหน้ากันได้อยู่ตลอดเวลา เป็นต่างตนต่างไปทำงานที่บ้านของตัวเอง ดังนั้น วิธีการประเมินจากต้องแตกต่างออกไปจากเดิม โดยขั้นตอนการประเมินต้องแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกคือวิธีการประเมิน และส่วนที่ 2 คือวิธีคิดของผู้ประเมินหรือหัวหน้าทีมเป็นเรื่องที่สำคัญเช่นกัน
.
.
วิธีการประเมิน
1. แบ่งประเภทงานออกเป็น 2 กลุ่มคือ งานที่ต้องทำงานพร้อมๆ กันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่นงานที่ต้องเป็นงานทำงานต่อกัน ทำพร้อมกัน หรือประสานงานกันตลอดเวลา เช่น Call Center หรือ คนตอบคำถามลูกค้า ที่มีเวลาในการให้บริการ กลุ่มที่ 2 คืองานที่ไม่ได้จำเป็นต้องทำงานพร้อมกัน แต่ละคนแบ่งงานเป็นชิ้นๆ แต่มีเวลาที่ต้องทำเสร็จตามที่กำหนด เช่นงานวิเคราะห์ข้อมูล งานออกแบบระบบ งานขาย
.
2. กำหนดประเด็นที่สำคัญของหน้าที่งานแต่ละตำแหน่ง เอาที่สำคัญจริงๆ 1 ข้อ ต่อคน ตรงนี้ต้องวิเคราะห์ที่คุณค่าหลักของแต่ละตำแหน่งสั้นๆ 1 ประโยค วิธีการคิดคือ หน้าที่ของตำแหน่งนี้มีไว้เพื่ออะไร เช่น มีพนักงานขายไว้เพื่อสร้างยอดขายและรักษาฐานลูกค้า นั่นหมายความว่า งานอื่นๆ ของตำแหน่งพนักงานขายเป็นงานแถม หรือหน้าที่รองทั้งหมด หรือ พนักงาน Call Center มีหน้าที่ตอบคำถามและแก้ปัญหาให้ลูกค้าทางโทรศัพท์ พนักงานแผนงานงบประมาณ มีหน้าที่วิเคราะห์ข้อมูลด้านงบประมาณและสร้างแผนการใช้งบประมาณ เป็นต้น
.
3. กำหนดวิธีการวัดความสำเร็จจำนวน 2-3 ข้อ ต่อตำแหน่ง เช่น พนักงาน Call Center วิธีการวัดความสำเร็จ 1) ทำงานในช่วงเวลาที่กำหนด 2) แก้ปัญหาให้ลูกค้าได้ 3) มีการบันทึกข้อมูลที่สำคัญให้บริษัทได้รับทราบ พนักงานฝ่ายกลยุทธ์ 1) รวบรวมข้อมูลที่จำเป็นในการกำหนดกลยุทธ์ 2) วิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวจ้องกับกลยุทธ์ 3) เสนอแผนกลยุทธ์เพื่อพร้อมในการตัดสินใจ
.
4. นำตัวชี้วัดมาสร้างเป็นการวัดผล ซึ่งจะอยู่ในรูปของ KPI หรือ OKR ก็ได้ ถ้าเป็น KPI เหมาะสำหรับการงานที่ต้องทำพร้อมๆ กัน มีกระบวนการในการทำงาน แต่ถ้าเป็น OKR เน้นที่ผลลัพธ์ของงาน จะทำด้วยวิธีไหนก็ได้ แต่ความคืบหน้าในการทำงานต้องทราบโดยทั่วกัน เพื่อให้ทีมสามารถมาช่วยเหลือกันได้
.
5. กำหนด ระยะเวลาในการพูดคุย กันของทีมให้เป็นเรื่องจำเป็นและควรทำแบบรายวัน ถ้าเป็นงานที่ต้องทำงานด้วยกัน ให้กำหนดเวลาพูดคุยตอนเริ่มงาน ระหว่างวัน และก่อนเลิกงาน สำหรับงานที่เป็นการทำงานแบบชิ้นงาน ให้มีการพูดคุยกันวันละ 1 ครั้งอย่างน้อย ก่อนสิ้นวัน หรือ เป็นวันละ 2 ครั้ง ตอนเช้า และตอนเย็น ขึ้นกับข้อตกลงของทีม เรื่องการที่พูดคุยกัน นั้น เป็นเรื่องการกำหนดเป้าหมายรายวัน การแสดงถึงอุปสรรคและแนวคิดของการทำงาน การให้กำลังใจของทีมงานร่วมกัน การแบ่งปันเทคนิคใหม่ๆ ที่ช่วยให้การทำงานเพิ่มขึ้น
.
6. กำหนดเป้าหมายที่ต้องการในแต่ละวัน โดยหัวหน้าทีมเป็นผู้กำหนด และตกลงร่วมกันกับผู้ปฏิบัติงาน เพื่อให้คนในทีมรู้ว่า ในแต่ละวันต้องทำอะไรให้สำเร็จ มีตัวชี้วัดที่สามารถบันทึกเป็นหลักฐานได้อย่างไร ตรงนี้อาจจะใช้แอพในการติดตามผลการทำงาน หรือ โครงการต่างๆ ได้ เพื่อให้เห็น Timeline ของการทำงานได้อย่างชัดเจน
.
.
วิธีคิดของผู้ประเมินหรือหัวหน้าทีม
.
1. ผู้ประเมินต้องเปลี่ยนวิธีการคิดเป็นผู้สนับสนุนแทนการจับผิด และทำความเข้าใจกับทีมของตัวเองให้เรียบร้อยเสียก่อน เพราะการจับผิดนั่นจะไม่ช่วยให้การทำงานไปได้อย่างราบลื่น การทำงานที่บ้าน จะยิ่งตรวจสอบยากมาว่า พนักงานได้ทำงานอยู่ที่หน้าคอมพิวเตอร์จริง 100% ของเวลางานหรือไม่ ดังนั้น การสร้างแนวคิดเป็นผู้สนับสนุน ต่อมีความไว้วางใจต่อทีมงาน และเชื่อว่าทุกคนตั้งใจทำงาน
.
2. วางแผนงานล่วงหน้าว่าในแต่ละวันต้องการผลลัพธ์อะไร ในแต่ละสัปดาห์ต้องการผลลัพธ์อะไร เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายของการทำงานที่ต้องการ
.
3. มีความพร้อมในการแก้ปัญหาให้ทีมงานของตัวเองตลอดเวลา แสดงให้เห็นว่า ตนเองไม่ทอดทิ้งทีมงาน อยู่เคียงข้างทีมงาน และให้ความช่วยเหลือเมื่อต้องการ
.
4. เป็นผู้ฟังที่ดี ไม่รีบตัดสิน เนื่องจากการทำงานที่บ้านแต่ละคนไม่ได้เจอหน้ากันตลอดเวลา จึงต้องฟังทีมงานของตัวเองก่อน รับข้อมูลเข้ามาก่อนที่จะตัดสินใจอะไร ภายใต่แนวคิดว่า เราอยู่ห่างกัน เราไม่รู้หรอกว่าเขาเจออะไร ฟังไว้ก่อน จะได้รู้จริงๆ ว่า เขาต้องการอะไรกันแน่
.
.
วิธีการข้างต้นนี้ จะช่วยให้การทำงานมีความชัดเจนมากขึ้น และสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการทำงานแบบอยุ่ต่อหน้ากันก็ได้
.................................................................................................................
พูดคุยกับผู้เขียนได้ที่
Facebook Page Dr.Nara Kittimetheekul
https://www.facebook.com/DrNaraKittimetheekul
รับให้คำปรึกษา ด้านการพัฒนาตนเอง การพัฒนามนุษย์ การออกแบบระบบการทำงาน
การวิจัยการตลาด การปรับ Mindset เพื่อความสุขและความสำเร็จ
วันอังคารที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2563
วันจันทร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2563
หลังวิกฤติพฤติกรรมคนเปลี่ยน ลูกค้าก็เปลี่ยน
จากสถาการณ์โรคระบาด COVID-19 ทำให้เกิดการชะงัดอย่างช็อคๆ ทั่วโลก คนจำนวนมากประมาณครึ่งโลก หรือ 3,000 ล้านคน ไม่อาจจะใช้ชีวิตได้ตามปกติ ในประเทศไทยเองก็ได้รับผลกระทบแบบรุนแรงเช่นกัน ตอนนี้พ่อค่าแม้ค่า นักธุรกิจ ต่างมีรายได้ลดลง อย่างน่าเหลือเชื่อ การดำเนินธุรกิจหลายราย ต้องปิดกิจการชั่วคราว ถึงอาจปิดเป็นการถาวรเลย ก็ได้
.
.
มีการคาดว่า ถ้าอย่างเร็ว ธุรกิจจะกลับมาเริ่มดำเนินการได้ช่ว กรกฎาคม แต่ทุกคนจะชะลอการใช้เงิน เพราะงเินที่มีอยู่นั้น หายไปจากระบบจำนวนมาก เพราะเศรษฐกิจไม่หมุนเวียน ดังนั้น พฤติกรรมต่างๆ ย่อต้องเปลี่ยนแปลงไปด้วย ทั้งเรื่องการใช้งบประมาณ การลงทุน การซื้อสินค้า รูปแบบการดำเนินธุรกิจ รวมถึง การวางแผนทางการเงิน
.
.
ในช่วงที่เราต้องหยุดพักการทำงาน หนุดพักกิจการของเราตอนนี้ กิจกรรมอย่างหนึ่งที่เราต้องทำ แทนการอยู่เฉยๆ คือการหาข้อมูลความต้องการของตลาดและลูกค้าของเราเอง เพราะว่า ความต้องการของลูกค้า ทัศนคติ และพฤคิกรรมจะต้องเปลี่ยนแปลงไปอย่างแน่นอนหลักวิกฤติ เหมือนกับว่า โลกจะมีการลอกคราบอีกครั้ง เพื่อเติบโตขึ้น
.
.
ด้วยการเปลี่ยนแปลงตรงนี้ ธุรกิจบางอย่างที่เคยเป็นธุรกิจดาวเเด่น อาจจะไม่ใช่อีกต่อไป ธุรกิจบางอย่างที่ไม่เคยได้รับความสนใจ กลับกลายเป็นธุรกิจที่มีความต้องการก็ได้ เช่น ธุรกิจรับการสัมนานอกสถานที่เพื่อเป็นรางวัลให้กับพนักงาน หลังวิกฤติไป อาจจะกลายเป็นเป็นธุรกิจที่ไม่มีใครสนใจ ส่วนธุรกิจการวางแผนการเงินและการลงทุนเพื่อความมั่นคงของบริษัท จะกลายเป็นธุรกิจที่ได้รัยความสนใจ เพราะใครๆ ก็ต้องการที่จะเก็บเงินไว้ให้เร็วโดยไม่รู้ว่าวิกฤติจะมาอีกเมื่อไหร่
.
.
การหาข้อมูลสามารถหาได้จาก 3 แหล่งหลักๆ คือ
1) ข้อมูลภายในตัวของเจ้าของกิจการเอง หมายความว่า เจ้าของกิจการต้องเข้าใจในบทบาทของตัวเองว่า ตัวเองกำลังส่งมอบอะไรให้กับสังคม ด้วยความสามารถของเราคืออะไร ตรงนี้ต้องคุยกับตัวเองให้ชัดเจน โดยเฉพาะการค้นหา Passion เพื่อการทำงานที่มีความสุข เป็นข้อมูลส่วนแรกที่ต้องเข้าใจ แต่ยังไม่สามารถยึดเป็นข้อมูลทั้งหมดได้ ให้เราพิจารณาข้อมูลต่อไปในส่วนที่ 2
.
2) ข้อมูลจากค้นหาทั่วไป เรื่องนี้ต้องไปหาจากกระแสของสังคม เรื่องการให้ความสนใจของคนทั่วไป สามารถใช้การหาข้อมูลจาก แนวโน้มของ Google Youtube หรือสิ่งที่คนกำลังดูบ่อยๆ ได้ เช่น กระแสการทำงานที่บ้าน การเรียนรู้การทำเกษตร การตั้งกิจการของตนเอง เป็นต้น
.
3) ข้อมูลจากลูกค้าของเราเอง ช่วงนี้ ให้ธุรกิจเริ่มพูดคุยกับลูกค้าว่า คิดเห็นอย่างไร กับสถาการณ์ (โดยส่วนใหญ่แล้วจะบอกว่า "แย่") ให้เราถามต่อไปอีกหน่อยเพื่อหาข้อมูลว่า ลูกค้าจะมีพฤติกรรมอย่างไรต่อไป เพื่อทำการประเมินความต้องการของลูกค้า พฤติกรรมของลูกค้า และสิ่งที่เราสามารถทำให้ลูกค้าได้
.
.
นำข้อมูลทั้ง 3 ส่วนมาวิเคราะห์ว่า เราสามารถทำอะไรให้ลูกค้าได้มากขึ้น ลูกค้าจะมีชีวิตที่ดีขึ้นจากธุรกิจของเรา (ในมุมมองของลูกค้า) แล้วนำมากำหนดว่าธุรกิจของเราต้องปรับตัวอย่างไรโดยมีขั้นตอนในการตั้งคำถามในรูปแบบของ Outste-in ให้กับตัวเองดังนี้
1) ลูกค้ากำลังเดือดร้อนอะไร ต้องการความช่วยเหลืออะไรบ้าง
2) ลูกค้ากำลังมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรหลังวิกฤติ
3) เรามีความสามารถช่วยเหลือลูกค้าในเรื่องอะไรบ้าง หลังวิกฤติ
4) เราต้องพัฒนาความสามารถของเราเรื่องอะไรที่จะให้ลูกค้ามีชีวิตที่ดีขึ้นหลังวิกฤติ
5) เรานำเสนออะไร ธุรกิจอื่นๆ จะเสนออะไร แล้วจริงๆ แล้วลูกค้อยากได้อะไร
.
.
เมื่อรวบรวมข้อมูลเหล่านี้แล้ว จะสามารถนำมาสร้างเป็นแนบทางการเสนอคุณค่า หรือ Value Proposition ให้กับลูกค้า เพื่อให้การปรับตัวของเรา เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือลูกค้า และฟื้นฟูกิจการไปด้วยกัน สิ่งที่ต้องคิดยู่ในใจคือ ถ้าลูกค้ารอด เราก็รอดด้วย เพราะเรายังมีลูกค้าอยู่
.................................................................................................................
พูดคุยกับผู้เขียนได้ที่
Facebook Page Dr.Nara Kittimetheekul
https://www.facebook.com/DrNaraKittimetheekul
รับให้คำปรึกษา ด้านการพัฒนาตนเอง การพัฒนามนุษย์ การออกแบบระบบการทำงาน
การวิจัยการตลาด การปรับ Mindset เพื่อความสุขและความสำเร็จ
.
.
มีการคาดว่า ถ้าอย่างเร็ว ธุรกิจจะกลับมาเริ่มดำเนินการได้ช่ว กรกฎาคม แต่ทุกคนจะชะลอการใช้เงิน เพราะงเินที่มีอยู่นั้น หายไปจากระบบจำนวนมาก เพราะเศรษฐกิจไม่หมุนเวียน ดังนั้น พฤติกรรมต่างๆ ย่อต้องเปลี่ยนแปลงไปด้วย ทั้งเรื่องการใช้งบประมาณ การลงทุน การซื้อสินค้า รูปแบบการดำเนินธุรกิจ รวมถึง การวางแผนทางการเงิน
.
.
ในช่วงที่เราต้องหยุดพักการทำงาน หนุดพักกิจการของเราตอนนี้ กิจกรรมอย่างหนึ่งที่เราต้องทำ แทนการอยู่เฉยๆ คือการหาข้อมูลความต้องการของตลาดและลูกค้าของเราเอง เพราะว่า ความต้องการของลูกค้า ทัศนคติ และพฤคิกรรมจะต้องเปลี่ยนแปลงไปอย่างแน่นอนหลักวิกฤติ เหมือนกับว่า โลกจะมีการลอกคราบอีกครั้ง เพื่อเติบโตขึ้น
.
.
ด้วยการเปลี่ยนแปลงตรงนี้ ธุรกิจบางอย่างที่เคยเป็นธุรกิจดาวเเด่น อาจจะไม่ใช่อีกต่อไป ธุรกิจบางอย่างที่ไม่เคยได้รับความสนใจ กลับกลายเป็นธุรกิจที่มีความต้องการก็ได้ เช่น ธุรกิจรับการสัมนานอกสถานที่เพื่อเป็นรางวัลให้กับพนักงาน หลังวิกฤติไป อาจจะกลายเป็นเป็นธุรกิจที่ไม่มีใครสนใจ ส่วนธุรกิจการวางแผนการเงินและการลงทุนเพื่อความมั่นคงของบริษัท จะกลายเป็นธุรกิจที่ได้รัยความสนใจ เพราะใครๆ ก็ต้องการที่จะเก็บเงินไว้ให้เร็วโดยไม่รู้ว่าวิกฤติจะมาอีกเมื่อไหร่
.
.
การหาข้อมูลสามารถหาได้จาก 3 แหล่งหลักๆ คือ
1) ข้อมูลภายในตัวของเจ้าของกิจการเอง หมายความว่า เจ้าของกิจการต้องเข้าใจในบทบาทของตัวเองว่า ตัวเองกำลังส่งมอบอะไรให้กับสังคม ด้วยความสามารถของเราคืออะไร ตรงนี้ต้องคุยกับตัวเองให้ชัดเจน โดยเฉพาะการค้นหา Passion เพื่อการทำงานที่มีความสุข เป็นข้อมูลส่วนแรกที่ต้องเข้าใจ แต่ยังไม่สามารถยึดเป็นข้อมูลทั้งหมดได้ ให้เราพิจารณาข้อมูลต่อไปในส่วนที่ 2
.
2) ข้อมูลจากค้นหาทั่วไป เรื่องนี้ต้องไปหาจากกระแสของสังคม เรื่องการให้ความสนใจของคนทั่วไป สามารถใช้การหาข้อมูลจาก แนวโน้มของ Google Youtube หรือสิ่งที่คนกำลังดูบ่อยๆ ได้ เช่น กระแสการทำงานที่บ้าน การเรียนรู้การทำเกษตร การตั้งกิจการของตนเอง เป็นต้น
.
3) ข้อมูลจากลูกค้าของเราเอง ช่วงนี้ ให้ธุรกิจเริ่มพูดคุยกับลูกค้าว่า คิดเห็นอย่างไร กับสถาการณ์ (โดยส่วนใหญ่แล้วจะบอกว่า "แย่") ให้เราถามต่อไปอีกหน่อยเพื่อหาข้อมูลว่า ลูกค้าจะมีพฤติกรรมอย่างไรต่อไป เพื่อทำการประเมินความต้องการของลูกค้า พฤติกรรมของลูกค้า และสิ่งที่เราสามารถทำให้ลูกค้าได้
.
.
นำข้อมูลทั้ง 3 ส่วนมาวิเคราะห์ว่า เราสามารถทำอะไรให้ลูกค้าได้มากขึ้น ลูกค้าจะมีชีวิตที่ดีขึ้นจากธุรกิจของเรา (ในมุมมองของลูกค้า) แล้วนำมากำหนดว่าธุรกิจของเราต้องปรับตัวอย่างไรโดยมีขั้นตอนในการตั้งคำถามในรูปแบบของ Outste-in ให้กับตัวเองดังนี้
1) ลูกค้ากำลังเดือดร้อนอะไร ต้องการความช่วยเหลืออะไรบ้าง
2) ลูกค้ากำลังมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรหลังวิกฤติ
3) เรามีความสามารถช่วยเหลือลูกค้าในเรื่องอะไรบ้าง หลังวิกฤติ
4) เราต้องพัฒนาความสามารถของเราเรื่องอะไรที่จะให้ลูกค้ามีชีวิตที่ดีขึ้นหลังวิกฤติ
5) เรานำเสนออะไร ธุรกิจอื่นๆ จะเสนออะไร แล้วจริงๆ แล้วลูกค้อยากได้อะไร
.
.
เมื่อรวบรวมข้อมูลเหล่านี้แล้ว จะสามารถนำมาสร้างเป็นแนบทางการเสนอคุณค่า หรือ Value Proposition ให้กับลูกค้า เพื่อให้การปรับตัวของเรา เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือลูกค้า และฟื้นฟูกิจการไปด้วยกัน สิ่งที่ต้องคิดยู่ในใจคือ ถ้าลูกค้ารอด เราก็รอดด้วย เพราะเรายังมีลูกค้าอยู่
.................................................................................................................
พูดคุยกับผู้เขียนได้ที่
Facebook Page Dr.Nara Kittimetheekul
https://www.facebook.com/DrNaraKittimetheekul
รับให้คำปรึกษา ด้านการพัฒนาตนเอง การพัฒนามนุษย์ การออกแบบระบบการทำงาน
การวิจัยการตลาด การปรับ Mindset เพื่อความสุขและความสำเร็จ
วันเสาร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2563
การเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจประเทศไทยหลัง COVID-19
เกิดอะไรขึ้นจาก COVID19
สถานการณ์โรคระบาดจาก COVID-19 เป็นเหตุการณ์ที่สร้างความเสียหายให้กับสุขภาพ สังคม และระบบเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก ตั้งเดือน มกราคม 2020 เริ่มมีคนติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนมาถึงเดือน มีนาคม ก็ลุกลามไปทั่วโลกครบทุกประเทศ จนหลายๆ ประเทศต้องมีการปิดเมือง ลดการพบปะกัน อยู่กับบ้าน ลดการเดินทาง โรงพยาบาลต้องทำงานหนักมากขึ้น สินค้าหลายอย่างขาดตลาด ธุรกิจบริการ ธุรกิจค้าปลีก ธุรกิจสายการบิน ธุรกิจท่องเที่ยว ได้รับผลกระทบโดยตรง ยังมีอีกหลายๆ ธุรกิจที่ได้รับผลการทบ ซึ่งเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการรวมตัวกันของคน เช่นธุรกิจกีฬา ธุรกิจจัดการประชุมและงานแสดงสินค้า ธุรกิจการฝึกอบรมและการศึกษาดูงาน ธุรกิจหอพัก เป็นต้น
ในแง่ของอุตสาหกรรม ก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน ซึ่งมีทั้งผลกระทบทางลบและผลกระทบทางบวก ผลกระทบทางลบที่เกิดขึ้นก่อนคือสินค้าอุปโภคบริโภค ผู้คนมีการซื้อสินค้าเก็บหรือกักตุนไว้ในบ้านอย่างน้อยในช่วงแรกปริมาณเพิ่มขึ้นเพราะการออกจากบ้านยากขึ้น จึงเพิ่มการซื้อทีละมากๆ แต่เมื่อเวลาผ่านไป จำนวนการซื้อจะน้อยลง เพราะสินค้าที่ต้องการถูกซื้อไปหมดแล้ว สินค้าที่จะได้รับความนิยมในช่วงต้นของสถานการณ์นี้คือ สินค้าที่เกี่ยวกับการอำนวยความสะดวกและความบันเทิงเมื่อต้องอยู่บ้าน เช่น โทรทัศน์ ตู้เย็น เครื่องทำอาหาร รวมถึงอุปกรณ์ออกกำลังกายต่างๆ สินค้าที่ยังไม่จำเป็นเช่น แฟชั่น เครื่องประดับ ที่ต้องใช้ในการไปพบปะกับผู้คนในเวลาปกติจะมีจำนวนการซื้อลดลงด้วย
สินค้าที่เกี่ยวกับสุขภาพจะได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอันไหนที่คนใช้ให้ปลอดภัยจากไวรัส ทั้งที่เป็นจริงหรือไม่จริงก็ตาม จะได้รับความนิยมจนราคาพุ่งไปหลายเท่าตัว
ส่วนบริการหลายๆ อย่างจะมีการเปลี่ยนแปลงไป บริการส่งสินค้าขนาดเล็กด้วยรถมอร์ไซค์ ส่งไปตามบ้านเราเห็นได้ว่ามีความต้องการเพิ่มสูงขึ้น เรียกว่า บริการอะไรที่ทำงานแทนเราได้โดยที่เราไม่ต้องออกไปไหน จะได้รับความนิยมเพิ่มสูงขึ้น บริการทางสื่อดิจิตัลก็เช่นกัน ก็จะได้รับความนิยมเพิ่มสูงขึ้น
ในภาพของเศรษฐกิจระดับมหภาค ตอนนี้คนที่มีรายได้น้อยถึงปานกลาง เงินสดที่มีอยูในมือมีจำนวนน้อยลงอย่างมาก จึงทำให้เกิดการชะลอการใช้จ่ายลง และกลับไปอยู่ตามภูมิลำเนาเดิมของตัวเองเพื่อลดค่าใช้จ่าย คนที่มีเงินสะสมไว้ ก็ชะลอการใช้จ่ายเพื่อให้มั่นใจว่ามีเงินได้มากพอที่จะอยู่พ้นจากวิกฤตินี้ไป ตรงนี้เป็นการลดการหมุนเวียนของเงินในระบบเศรษฐกิจ ยิ่งเป็นการดึงผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติให้ลดลงอย่างรวดเร็ว ที่ว่าปี 2019 เผาหลอก ปี 2020 เผาจริง ก็จริงๆ แหละ คาดการว่าประเทศไทยน่าจะมี GDP -5% แต่อัตราเงินเฟ้อน่าจะพุ่งไปไกล
การเงินของรัฐในคลังก็มีน้อยลงอย่างมาก การเก็บภาษีต้องได้รับผลกระทบไปถึงปี 2021 ที่จะจัดเก็บได้ลดลง แต่อย่างไรก็ตามรัฐจะเป็นผู้ขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจสำคัญทั้งการใช้นโยบายการเงินและนโยบายการคลังเพื่อให้เกิดขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจอีกครั้ง
การเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างทางเศรษฐกิจหลัง COVID-19
หลังสิ้นสุดสถาการณ์ เศรษฐกิจจะฟื้นตัวทันทีเลยนั้น เป็นไปไม่ได้ เพราะมีหลายธุรกิจที่ปิดไปช่วงนี้ อาจจะไปไปแบบถาวร หลายธุรกิจ ต้องสร้างฐานลูกค้าใหม่ หลายธุรกิจ ต้องรอความมั่นใจของประชาชน เริ่มจากธุรกิจท่องเที่ยว จะเป็นธุรกิจที่ฟื้นตัวได้ช้าเพราะการท่องเที่ยวจะมาเป็นอันดับรอง ผู้คนส่วนใหญ่จะเร่งสร้างรายได้เพื่อชดเชยจากสถาการณ์โรคระบาดนี้ก่อน คนที่ท่องเที่ยว จะเป็นคนที่ยังมีเงินเก็บและกลุ่มที่ดูงานเป็นส่วนใหญ่
ธุรกิจด้านการเดินทางจะมีความต้องการเพิ่มสูงขึ้น แต่ขนส่งสาธารณะจะไม่เพิ่มรวดเร็วนัก เพราะ ว่าผู้คนต้องการความมั่นใจ ดังนั้น การเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัวจึงเป็นทางเลือก และจะเป็นโอกาสของรถยนต์พลังงานทางเลือกที่ราคาพลังงานถูก มีเสถียรภาพกว่าน้ำมันอย่างรถยนต์ EV หรือ รถยนต์ลูกผสมทั้งหลาย
ธุรกิจด้านการสื่อสารโทรคมนาคม จะมีความต้องการสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยีดิจิตัลจะเข้ามามีบทบาทมาก เพราะผู้คนได้เรียนรู้การใช้เทคโนโลยีจาก Work From Home แล้ว จะช่วยให้การยอมรับเทคโนโลยีทำได้ง่ายขึ้น
ธุรกิจด้านการก่อสร้างถ้าเป็นโครงการของรัฐในระยะสั้นอาจจะยังไม่กระทบ แต่ถ้าเป็นระยะกลาง น่ามีผลกระทบลดลงบ้างเพราะรัฐต้องเอาเงินไปกระตุ้นเศรษฐกิจแบบฐานราก แต่ในระยะยาวจะกลับมาได้อีกครั้ง สำหรับการก่อสร้างเพื่อการบริโภค จะชลอตัวลง ทั้งจากการให้สินเชื่อของธนาคาร รายได้ที่หายไปช่วงเกิด COVID-19 และความมั่นใจในถิ่นที่อยู่อาศัย เนื่องจากตอนนี้เองหลายคนกลับไปยังภูมิลำเนาของตัวเอง ทำให้คนย้ายออกจากเมืองใหญ่ และหลายคนจะพบว่า การทำงานจากภูมิลำเนาสามารถทำได้ ทำให้ความต้องการของบ้านสร้างใหม่ในเมืองลดลง ส่วนบ้านที่อยู่ในต่างจังหวัดอาจจะคงตัว เพราะมีบ้านและที่ดินอยู่แล้ว
ธุรกิจอุตสาหกรรมการผลิต จะเริ่มหาแรงงานยากขึ้น จึงมีการใช้เครื่องจักรที่ใช้แรงงานน้อยลง มาทดแทน ให้สามารถทำงานได้ และต้องการแรงงานที่มีทักษะมากขึ้น จึงทำให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเทคโนโลยีการผลิต หุ่นยนต์จะเกิดใหม่มากขึ้นหลังสถานการณืนี้ มาทดแทนแรงงาน
ธุรกิจด้านการขนส่งสินค้าจะเติบโตอย่างต่อเนื่อง เพราะสินค้าและบริการหลายๆ แห่งต้องการส่งสินค้าให้ได้มากและเร็วที่สุด จึงเกิดการแข่งขันอย่างมากว่าใครจะให้บริการได้มีประสิทธิภาพมากกว่ากว่ากัน
ธุรกิจอาหารและอุตสาหกรรมเกษตร กลายเป็นดาวเด่นในช่วงหลังสถานการณ์ เพราะว่า หลายประเทศต้องหยุดผลิตและหยุดทำงาน ทำให้มีความต้องการและปีนี้มีภัยแล้ง จึงทำให้สินค้าเกษตรช่วงปลายปีจะหายากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามยังมีจีนที่เป็นโรงงานผลิตสินค้าออกไปขายแข่งด้วยทั่วโลก และทั่วโลกจะตระหนักถึงความมั่นคงทางอาหารของประเทศเพิ่มขึ้น
ธุรกิจด้านการเพิ่มศุกยภาพของมนุษย์ เช่นด้านสุขภาพ และการศึกษา มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากแน่นอน เพราะต้องการเทคโนโลยีเข้ามาช่วย ตอนนี้ ผู้คนเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีในการดูแลสุขภาพของตัวเอง เรียนรู้การใช้เทคโนโลยีในการสร้างองค์ความรู้ของตัวเองมากขึ้น ดังนั้น รูปแบบการให้บริการทางดารแพทย์และการศึกษาจะมีความต้องการเพิ่มขึ้น แต่เปลี่ยนแปลงรู้แบบไปมากขึ้น อนาคตอาจถึงกับต้องมีโรงพยาบาลออนไลน์ เมื่อตรวจเสร็จจัดส่งยามาให้ที่บ้าน มีโรงเรียนออนไลน์ เรียนแบบสดแต่ผ่านแอพหรือเทคโนโลยีมากกว่ามาเรียนแบบสด และกลุ่มเรียนจะเฉพาะทางมากขึ้น
พฤติกรรมของคนจะเป็นอย่างไรในปี 2020 และ 2021
คนในโลกจะเว้นระยะห่างกันมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด คนจะมีความแยกเดี่ยวมากขึ้น และมีการลดการสัมผัสตัวลง คนจะเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีมากขึ้น ซึ่งโอกาสนี้ คนจะเข้าใจประเทศจีนใหม่ว่า เป็นประเทศแห่งมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ การผลิต และเทคโนโลยีตัวจริง
คนจะมีการตื่นตัวทางสุขอนามัยมากขึ้น ที่แฝงด้วยความระแวงกัน ดังนั้น ธุรกิจ อุตสาหกรรมต่างๆ จึงต้องใช้เรื่องของสุขอนามัยเป็นประเด็นหลักในการดำเนินการไปพร้อมๆ กัน หลังจากนี้ไปคงมีการสืบสวนกันว่า เชื้อไวรัสนี้มาจากไหน แล้วจะมีตัวอะไรมาอีกในอนาคตหรือไม่ การอยู่รวมกันของคนที่แออัด จะส่งผลต่อชีวิตคนเราทั้งโลกอย่างไร โรคระบาดคราวนี้ สร้างแผลในใจให้คนทั่วโลกที่เจ็บปวดมาก
เศรษฐกิจจะดีขึ้นเมื่อไหร่
ในการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ จะมีบางกลุ่มที่หายไปจากตลาดเลยเพราะผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและเทคโนโลยี แต่มีบางกลุ่มที่สามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็วถ้ามีเทคโนโลยีและเงินทุน และสามารถมองกระแสของการเปลี่ยนแปลงได้เร็วกว่าคนอื่น คนที่เก่งในวันก่อน จะไม่เก่งต่อไปอีกแล้ว ระยะเวลา 3-4 เดือนที่โลกต่อสู้กับ COVID-19 นานพอที่จะทำให้พฤติกรรมเปลี่ยนไปอย่างมาก
แต่ภาคการเกษตรจะเป็นกลุ่มที่ปรับตัวช้าที่สุด โดยเฉพาะในประเทศไทย ที่เกษตรกรมีอายุเฉลี่ยเกิน 60 ปี ทำให้อัตรการยอมรับของเทคโนโลยีอยู่ในระดับที่ต่ำ และการแพร่ระบาดมีน้อยกว่าในสังคมเมือง จึงทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำสูงขึ้นระหว่างนานทุนและเกษตรกร
บทบาทของภาครัฐ
นอกจากการออกมาตรการต่างๆ เพื่อการสร้างสุขอนามัยของประชาชน การหยุดยั้งโรคระบาดและ สิ่งที่ภาครัฐต้องทำอย่างเอาจริงๆ เอาจังมากว่ากการแจกเงินคือ การจ้างแรงงานโดยภาครัฐ เพื่อให้รัฐได้งานประชาชนได้เงิน ในระดับรากหญ้า เป็นมาตรการระยะสั้น และเร่งด่วนหลังจบสถานการณ์นี้ รัฐเองมีงานมากมายที่ต้องทำ เพราะประเทศเราต้องสู้กับภัยของฝั่น ภัยแล้ง การจัดการขยะ การสร้างโครงสร้างพื้นฐานอีกมากมาย เอาตัวอย่างง่ายๆ รัฐตั้งโครงการปลูกป่า โดยการจ้างประชาชนให้เป็นผู้ปลูกป่าในพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม และจ้างประชาชนดูแลต้นไม้ โดยการจ่ายเงินให้กับจำนวนต้นไม้ที่รอดทุกๆ 6 เดือน รัฐจ้างประชาชนเก็บขยะมูลฝอยที่อยู่ตามที่ต่างๆ คิดเป็นตัน เพื่อนำไปจัดการให้ถูกต้อง แบบนี้จะได้ประโยชน์ทั้งรัฐและประชาชน ส่วนที่มีโอกาสในการประกอบอาชีพ เขาจะไปใช้ชีวิตของเขาเอง
ประเด็นที่ 2 ที่รัฐต้องดำเนินการ คือการทำให้ประชาชนเรียนรู้การใช้เทคโนโลยี เป็นลักษณะการสร้างประสบการณ์ในการใช้เทคโนโลยี และการนอมรับเทคโนโลยี เพื่อให้การเกิดขึ้นของเทคโนโลยีในประเทศเป็นไปได้โดยง่าย มิฉะนั้น คนที่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้ก่อน จะเป็นผู้ได้เปรียบและคนที่ไม่เข้าใจเทคโนโลยี จะเป็นคนที่ต้องเป็นรองในระบบเศรษฐกิจ เป็นการสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางสมถรรนะของคนในประเทศ ซึ่งเรื่องนี้ไม่อาจจะทำได้ในระบบการศึกษาปกติ แต่เป็นการศึกษานอกระบบ การศึกษาตลอดชีวิต
ประเด็นที่ 3 รัฐต้องสร้างความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อตัวคณะการบริหารประเทศ ด้วยการปฏิรูปตัวเองเสียใหม่ เปลี่ยนแปลงแบบห้ามือเป็นหลังมือ ทุกวันนี้ เอกชนจำนวนมากมีวิกฤติความศัทธาต่อรัฐบาล และราชการ ไม่เชื่อว่าจะมีความโปร่งใส หากรัฐต้องการข้ามวิกฤตินี้ไปให้ได้ ถ้าประชาชนไ่ศรัทธา ประชาชนจะไม่ฟังและให้ความร่วมมือกับรัฐ โอกาสในการพัฒนาไปข้างหน้าจะยากขึ้น รัฐต้องเข้าใจว่า การพัฒนาเศรษฐกิจ ต้องอาศัยการบริหาร ไม่ใช่การปกครอง คือการรู้จักใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยบชน์สูงสุดกับประเทศ
บทบาทของประชาชน
เหตุการณ์ครั้งนี้ เป็นเหตุการณ์ชั่วคราวแต่ส่งผลกระทบแบบถาวรให้กับโลกใบนี้ ผู้คนต่างๆ ทั่วโลกมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปจากวันนี้แน่นอน เราเองในฐานะประชาชน จะรอกแต่รัฐอย่างเดียวคงจะทำไม่ได้ จะไม่ทำอะไรเลย ก็คงไม่ดี หลายคนก็บอกว่า พยายามทำทุกอย่างแล้ว ก็ยังไม่โอเค ประชาชนอย่างเราๆ ต้องตั้งสติให้ดี และถามตัวเองว่า เราต้องเก่งอะไรไปมากกว่านี้ เพื่อให้เราอยู่ได้ เราควรจะต้องทิ้งอะไรไปในช่วงนี้เพื่อการเติบโตของตัวเอง หือเรียกว่า Self-Disruption เราแต่ละคนต้องหาแนวทางการพัฒนาตัวเอง โดยเฉพาะช่วที่ยังมีโรคระบาดอยู่ เราอยู่บ้าน เราอยู่ในทักพัก ไม่ได้ออกไปไหน การเรียนรู้ เพื่อการพัฒนาตัวเองจึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ COVID เหมือนเป็นการบอกเราว่า เราจะไม่ใช่คนเดิมอีกต่อไป เพราะตัวย่อของ COVID สามารถแปลได้อีกอย่างคือ Connect Our Value in Digital
วันศุกร์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2563
วิธีการสื่อสารในกรณีที่ทีมงานต้องทำงานที่บ้าน
การสื่อสารในการทำงานเป็นเรื่องประจำวัน จำเป็น และสำคัญมาก เพราะการสื่อสารที่ดีย่อมหมายถึงผลลัพธ์ที่ดีด้วย แต่อุปสรรคที่สำคัญในการสื่อสารคือระยะทาง เมื่อคนเราต้องอยู่ห่างไกลกัน ทำให้การสื่อสารอาจเกิดการบิดเบือนได้โดยง่าย
.
.
ในการสื่อสารแบบใกล้ชิด หรือแบบต่อหน้านั้น สิ่งที่เราสื่อออกไปไม่ได้มีเพียงภาษาพูดหรือเนื้อหาเท่านั้น แต่ยังมีการสื่อสารด้วยท่าทาง สีหน้า แววตา น้ำเสียง ความรู้สึก ระหว่างการสื่อสารของทั้งผู้ส่ง และผู้รับ นอกจากนั้น คนที่อยู่ต่อหน้ากันต่างผลัดกันเล่นบทบาทผู้ส่งและผู้รับกันตลอดเวลา ลองดูคน 2 คนที่กำลังคุยกันไม่ว่าจะเป็นบทบาทไหน ทุกคนก็มีพฤติกรรมแบบนี้เสมอ
.
.
แต่เมื่อสถาการณ์ที่ทำให้ทีมงานต้องอยู่ห่างไกลกันแล้ว ย่อมต้องมีวิธีการสื่อสารที่แตกต่างจากการสื่อสารต่อหน้ากันออกไป ดังนั้น เทคนิคการสื่อแต่ละรูปแบบต้องใช้ให้เหมาะสม เพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุด วิธีการสื่อสารแต่ละรูปแบบทำอะไรได้บ้าง
.
.
สื่อสารด้วย email
.
วิธีการนี้เป็นเหมือนหนังสือสั่งการ ประกาศ บันทึกภายใน หรือบันทึกย่อ ซึ่งแต่เดิมอยู่ในรูปแบบของกระดาษ แต่มีความสะดวกมากกว่า เพราะเป็นรูปแบบอิเล็คทรอนิก สามารถส่งกลับได้ แต่ไม่ Real Time การสื่อสารจึงมีความคล้ายกับการสื่อสารทางเดียว ที่อาจจะมีการแนบไฟล์ คลิป วิดีโอ ภาพ ด้วยได้ กระจายได้เร็วถึงเป้าหมายที่ระบุตัวตนได้ว่าต้องการให้ใคร วิธีการนี้เหมาะกับการต้องการสื่อสารอย่างเป็นทางการ หรือกึ่งทางการ เป็นลักษณะการบอกกล่าวเป็นหลัก (แต่ใช้ตอบโต้ได้แบบขนาดของคนที่จำกัด เช่น 2-3 คน ถ้ามากกว่านี้จะไม่รู้เรื่อง)
.
.
สื่อสารด้วยแชตเดี่ยวหรือแชตกลุ่ม
.
วิธีการนี้ใช้สำหรับการสื่อสารที่ต้องการการตอบโต้ เพราะข้อมูลที่ส่งจะเป็นข้อมูลสั้นๆ หรือเสียงสั้นๆ เหมือนการสนทนาระหว่างคน ที่หลายคนชอบมาก เนื่องจากเป็นวิธีการสื่อสารที่ลดการปะทะต่อหน้า ข้อดีอีกอย่างของวิธีนี้คือ สื่อสารได้เร็ว ไม่ต้องรอปลายทางตอบรับ ส่งเอาไว้ก่อน คนที่เกี่ยวข้องเข้ามาอ่าน และตอบได้ทันที แต่ข้อจำกัดก็มีเยอะ คือไม่สามารถส่งความคิดทุกอย่างได้โดยละเอียด เพราะด้วยจำนวนตัวอักษรทำให้ปริมาณสารที่สื่อออกไปได้มีข้อจำกัด สมองของเรามีความคิดเป็นจำนวนมาก มากกว่าตัวอักษรจะถ่ายทอดได้หมด นอกจากนั้น ยิ่งแชตกลุ่มที่มีขนาดใหญ่ โอกาสที่จะไม่รู้เรื่องยิ่งมาก เพราะว่า มีโอกาสที่จะเกิดได้ 2 เหตุการณ์ อย่างแรก คือ คนที่รู้สึกว่าไม่เกี่ยวข้อง จะไม่อ่านแชต หรือข้ามข้อความบางอย่างไป และเหตุการณ์ที่ 2 คือ มีหลายประเด็นในการสื่อสารแต่ละครั้ง เมื่อ 2 อย่างนี้เกิดขึ้น ทำให้รู้สึกว่าเหมือนเป็นข้อความขยะและน่าเบื่อ ถ้าส่งสารสังเกตุเห็นว่า การตอบโต้เริ่มเงียบ เริ่มไม่เข้าใจ หรือเป็นเรื่องเร่งด่วน วิธีการนี้ไม่สามารถใช้ได้ต้องใช้การโทร
.
.
สื่อสารด้วยการโทร
.
การโทร เป็นวิธีการสื่อสารที่มีความใกล้เคียงกับการสื่อสารต่อหน้า ซึ่งปัจจุบันมีการโทรผ่านแอพ ไม่ต้องโทรด้วยโทรศัพท์จริงๆ ประหยัดค่าโทรศัพท์ได้มาก โทรหากันได้ทั่วโลก ข้อดีคือ สามารถสื่อสารได้ 2 ทาง ได้ปริมาณเนื้อหาได้มาก อธิบายได้ คนเราเวลาพูด 10 นาที เหมือนสื่อสารด้วยกระดาษมากกว่า 10 หน้า A4 แต่ข้อจำกัดคือยังไม่สามารถเห็นภาษากาย สีหน้า และผู้ที่สื่อสารกันทั้ง 2 ฝ่ายจะต้องอยู่กับการสื่อสารตลอดเวลา ในประเด็นที่การโทรแล้ว ยังไม่สามารถอธิบายได้ ชัดเจนนัก ยังไม่สามารถ ทำความเข้าใจได้ก็ให้นัดทำ VDO Call
.
.
สื่สารด้วย VDO Call
.
วิธีการนี้จะช่วยให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพได้ใกล้เคียงกับการสื่อสารต่อหน้ามากที่สุด เพราะสามารถเห็นสีหน้า ท่าทาง เสียง ต่างๆ ที่มนุษย์ใช้ในการสื่อสาร แต่การทำ VDO Call จะสามารถทำได้ทีละ 2 คน ทำให้ต้องใช้เวลาในการสื่อสารมาก หลายครั้งที่การสื่อสารนั้น จะต้องสื่อสารกับคนจำนวนหลายๆ คนที่ต้องการระดมความคิดเห็น การประเมินสถาการณ์จากคนที่มีความเชี่ยวชาญต่างๆ และต้องการความโปร่งใส คามเข้าใจร่วมกันหลายคน การสื่อสารกันทีละ 2 คน จะทำให้เกิดโอกาสผิดพลาดได้ง่ายเพราะต้องพูดคุยทีละคน หลายๆ รอบ และยิ่งมีการโต้แย้งกันต้องเริ่มต้นพูดคุยกันใหม่หมด จึงใช้วิธีการ Call Conference หรือ VDO Conference แทน
.
.
สื่อสารด้วย Tele Conference, Call Conference หรือ VDO Conference
.
เป็นรูปแบบที่ประยุกต์การสื่อสารด้วยเทคโนโลยีที่มีความพยายามให้มีความใกล้เคียงการประชุมแบบเห็นหน้าให้มากที่สุด บางครั้งอาจจะมากันแต่เสียง (ซึ่งหลายๆ คนว่ายังไม่มีประสิทธิภาพ) จนสามารถทำให้เห็นหน้า แสดงหน้าจอ และอัด VDO ได้ แต่ก็ยังมีข้อจำกัด อยู่ในการสื่อสาร เพราะด้วยพฤติกรรมบางอย่างที่ของบรรยากาศในการประชุม (อ่านเพิ่มเติม การประชุมออนไลน์ให้มีประสิทธิภาพ) ซึ่งการประชุมแบบนี้ เมื่อจบการประชุมแล้ว สิ่งที่ผู้นำการประชุมควรต้องทำให้เกิดขึ้นเสมอคือ การเขียน email สรุปของผู้เข้าประชุมแต่ละคนว่า สิ่งที่ตนเองต้องทำคืออะไร วิธีการนี้จะช่วยให้ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องไม่ต้องเข้าร่วมประชุม เป็นการลดเวลาการทำงาน และเข้าประชุมโดยไม่จำเป็น นอกจากนั้น ช่วยทำให้ผู้เข้าร่วมประชุมอยู่กับการประชุมตลอดเวลา
.
.
ความสำเร็จในการสื่อสาร จริงๆ แล้วไม่ได้อยู่ที่ว่า การสื่อสารใช้รูปแบบไหน แต่อยู่ผู้ควบคุมการสื่อสารตรวจสอบว่าการสื่อสารนั้น มีประสิทธิภาพหรือไม่ เข้าใจกันหรือไม่ ไม่ใช่เอาแต่สั่งอย่างเดียวจนไม่ได้ดูว่า การสื่อสารนั้นเป็นอย่างไร ตรงนี้เป็นความใส่ใจของผู้คบคุมการสื่อ มิฉะนั้นแล้ว การเลือกใช้วิธีการสื่อสารอย่างไร ก็ไม่สามารถมีประสิทธิภาพได้อย่างเต็มที่
-----------------------------------------------------------------------------------------------
พูดคุยกับผู้เขียนเพื่อเป็นกำลังใจได้ที่
Facebook Page Dr.Nara Kittimetheekul
https://www.facebook.com/DrNaraKittimetheekul
.
.
ในการสื่อสารแบบใกล้ชิด หรือแบบต่อหน้านั้น สิ่งที่เราสื่อออกไปไม่ได้มีเพียงภาษาพูดหรือเนื้อหาเท่านั้น แต่ยังมีการสื่อสารด้วยท่าทาง สีหน้า แววตา น้ำเสียง ความรู้สึก ระหว่างการสื่อสารของทั้งผู้ส่ง และผู้รับ นอกจากนั้น คนที่อยู่ต่อหน้ากันต่างผลัดกันเล่นบทบาทผู้ส่งและผู้รับกันตลอดเวลา ลองดูคน 2 คนที่กำลังคุยกันไม่ว่าจะเป็นบทบาทไหน ทุกคนก็มีพฤติกรรมแบบนี้เสมอ
.
.
แต่เมื่อสถาการณ์ที่ทำให้ทีมงานต้องอยู่ห่างไกลกันแล้ว ย่อมต้องมีวิธีการสื่อสารที่แตกต่างจากการสื่อสารต่อหน้ากันออกไป ดังนั้น เทคนิคการสื่อแต่ละรูปแบบต้องใช้ให้เหมาะสม เพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุด วิธีการสื่อสารแต่ละรูปแบบทำอะไรได้บ้าง
.
.
สื่อสารด้วย email
.
วิธีการนี้เป็นเหมือนหนังสือสั่งการ ประกาศ บันทึกภายใน หรือบันทึกย่อ ซึ่งแต่เดิมอยู่ในรูปแบบของกระดาษ แต่มีความสะดวกมากกว่า เพราะเป็นรูปแบบอิเล็คทรอนิก สามารถส่งกลับได้ แต่ไม่ Real Time การสื่อสารจึงมีความคล้ายกับการสื่อสารทางเดียว ที่อาจจะมีการแนบไฟล์ คลิป วิดีโอ ภาพ ด้วยได้ กระจายได้เร็วถึงเป้าหมายที่ระบุตัวตนได้ว่าต้องการให้ใคร วิธีการนี้เหมาะกับการต้องการสื่อสารอย่างเป็นทางการ หรือกึ่งทางการ เป็นลักษณะการบอกกล่าวเป็นหลัก (แต่ใช้ตอบโต้ได้แบบขนาดของคนที่จำกัด เช่น 2-3 คน ถ้ามากกว่านี้จะไม่รู้เรื่อง)
.
.
สื่อสารด้วยแชตเดี่ยวหรือแชตกลุ่ม
.
วิธีการนี้ใช้สำหรับการสื่อสารที่ต้องการการตอบโต้ เพราะข้อมูลที่ส่งจะเป็นข้อมูลสั้นๆ หรือเสียงสั้นๆ เหมือนการสนทนาระหว่างคน ที่หลายคนชอบมาก เนื่องจากเป็นวิธีการสื่อสารที่ลดการปะทะต่อหน้า ข้อดีอีกอย่างของวิธีนี้คือ สื่อสารได้เร็ว ไม่ต้องรอปลายทางตอบรับ ส่งเอาไว้ก่อน คนที่เกี่ยวข้องเข้ามาอ่าน และตอบได้ทันที แต่ข้อจำกัดก็มีเยอะ คือไม่สามารถส่งความคิดทุกอย่างได้โดยละเอียด เพราะด้วยจำนวนตัวอักษรทำให้ปริมาณสารที่สื่อออกไปได้มีข้อจำกัด สมองของเรามีความคิดเป็นจำนวนมาก มากกว่าตัวอักษรจะถ่ายทอดได้หมด นอกจากนั้น ยิ่งแชตกลุ่มที่มีขนาดใหญ่ โอกาสที่จะไม่รู้เรื่องยิ่งมาก เพราะว่า มีโอกาสที่จะเกิดได้ 2 เหตุการณ์ อย่างแรก คือ คนที่รู้สึกว่าไม่เกี่ยวข้อง จะไม่อ่านแชต หรือข้ามข้อความบางอย่างไป และเหตุการณ์ที่ 2 คือ มีหลายประเด็นในการสื่อสารแต่ละครั้ง เมื่อ 2 อย่างนี้เกิดขึ้น ทำให้รู้สึกว่าเหมือนเป็นข้อความขยะและน่าเบื่อ ถ้าส่งสารสังเกตุเห็นว่า การตอบโต้เริ่มเงียบ เริ่มไม่เข้าใจ หรือเป็นเรื่องเร่งด่วน วิธีการนี้ไม่สามารถใช้ได้ต้องใช้การโทร
.
.
สื่อสารด้วยการโทร
.
การโทร เป็นวิธีการสื่อสารที่มีความใกล้เคียงกับการสื่อสารต่อหน้า ซึ่งปัจจุบันมีการโทรผ่านแอพ ไม่ต้องโทรด้วยโทรศัพท์จริงๆ ประหยัดค่าโทรศัพท์ได้มาก โทรหากันได้ทั่วโลก ข้อดีคือ สามารถสื่อสารได้ 2 ทาง ได้ปริมาณเนื้อหาได้มาก อธิบายได้ คนเราเวลาพูด 10 นาที เหมือนสื่อสารด้วยกระดาษมากกว่า 10 หน้า A4 แต่ข้อจำกัดคือยังไม่สามารถเห็นภาษากาย สีหน้า และผู้ที่สื่อสารกันทั้ง 2 ฝ่ายจะต้องอยู่กับการสื่อสารตลอดเวลา ในประเด็นที่การโทรแล้ว ยังไม่สามารถอธิบายได้ ชัดเจนนัก ยังไม่สามารถ ทำความเข้าใจได้ก็ให้นัดทำ VDO Call
.
.
สื่สารด้วย VDO Call
.
วิธีการนี้จะช่วยให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพได้ใกล้เคียงกับการสื่อสารต่อหน้ามากที่สุด เพราะสามารถเห็นสีหน้า ท่าทาง เสียง ต่างๆ ที่มนุษย์ใช้ในการสื่อสาร แต่การทำ VDO Call จะสามารถทำได้ทีละ 2 คน ทำให้ต้องใช้เวลาในการสื่อสารมาก หลายครั้งที่การสื่อสารนั้น จะต้องสื่อสารกับคนจำนวนหลายๆ คนที่ต้องการระดมความคิดเห็น การประเมินสถาการณ์จากคนที่มีความเชี่ยวชาญต่างๆ และต้องการความโปร่งใส คามเข้าใจร่วมกันหลายคน การสื่อสารกันทีละ 2 คน จะทำให้เกิดโอกาสผิดพลาดได้ง่ายเพราะต้องพูดคุยทีละคน หลายๆ รอบ และยิ่งมีการโต้แย้งกันต้องเริ่มต้นพูดคุยกันใหม่หมด จึงใช้วิธีการ Call Conference หรือ VDO Conference แทน
.
.
สื่อสารด้วย Tele Conference, Call Conference หรือ VDO Conference
.
เป็นรูปแบบที่ประยุกต์การสื่อสารด้วยเทคโนโลยีที่มีความพยายามให้มีความใกล้เคียงการประชุมแบบเห็นหน้าให้มากที่สุด บางครั้งอาจจะมากันแต่เสียง (ซึ่งหลายๆ คนว่ายังไม่มีประสิทธิภาพ) จนสามารถทำให้เห็นหน้า แสดงหน้าจอ และอัด VDO ได้ แต่ก็ยังมีข้อจำกัด อยู่ในการสื่อสาร เพราะด้วยพฤติกรรมบางอย่างที่ของบรรยากาศในการประชุม (อ่านเพิ่มเติม การประชุมออนไลน์ให้มีประสิทธิภาพ) ซึ่งการประชุมแบบนี้ เมื่อจบการประชุมแล้ว สิ่งที่ผู้นำการประชุมควรต้องทำให้เกิดขึ้นเสมอคือ การเขียน email สรุปของผู้เข้าประชุมแต่ละคนว่า สิ่งที่ตนเองต้องทำคืออะไร วิธีการนี้จะช่วยให้ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องไม่ต้องเข้าร่วมประชุม เป็นการลดเวลาการทำงาน และเข้าประชุมโดยไม่จำเป็น นอกจากนั้น ช่วยทำให้ผู้เข้าร่วมประชุมอยู่กับการประชุมตลอดเวลา
.
.
ความสำเร็จในการสื่อสาร จริงๆ แล้วไม่ได้อยู่ที่ว่า การสื่อสารใช้รูปแบบไหน แต่อยู่ผู้ควบคุมการสื่อสารตรวจสอบว่าการสื่อสารนั้น มีประสิทธิภาพหรือไม่ เข้าใจกันหรือไม่ ไม่ใช่เอาแต่สั่งอย่างเดียวจนไม่ได้ดูว่า การสื่อสารนั้นเป็นอย่างไร ตรงนี้เป็นความใส่ใจของผู้คบคุมการสื่อ มิฉะนั้นแล้ว การเลือกใช้วิธีการสื่อสารอย่างไร ก็ไม่สามารถมีประสิทธิภาพได้อย่างเต็มที่
-----------------------------------------------------------------------------------------------
พูดคุยกับผู้เขียนเพื่อเป็นกำลังใจได้ที่
Facebook Page Dr.Nara Kittimetheekul
https://www.facebook.com/DrNaraKittimetheekul
วันพฤหัสบดีที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2563
การประชุมออนไลน์ให้มีประสิทธิภาพ
กระแสของการใช้เทคโนโลยีดิจิตัลมาแรงขึ้นทุกวัน ยิ่งในช่วงเวลาที่ทุกคนต้องทำงานจากที่บ้าน หลายองค์กรมีการปรับตัวด้วยการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารและการทำงานผ่านสื่อดิจิตัล แทนการเคลื่อนที่ของคน เครื่องมือหนึ่งที่ใช้เป็นอย่างมากคือการประชุมออนไลน์หรือ Online Conference
.
.
แต่เทคโนโลยีนี้ยังไม่สามารถแทนการประชุมแบบสด หรือแบบเห็นหน้าได้อย่าง 100% เพราะว่าช่องทางการรับเสียง ส่งเสีย และองศาในการรับภาพ ความชัดเจนของภาพที่ได้รับ มันต่างกันอย่างมาก หลายครั้งการประชุมออนไลน์จะเกิดเหตุการณ์อยู่ 2 อย่าง คือแย่งกันพูดจนไม่รู้ว่าใครจะพูดเรื่องอะไร และอีกอย่างคือ ไม่มีใครพูดเลยนอกจาก Host ของการประชุม อันนี้เป็นเหตุการณ์ที่ทุกคนยังอยู่ในการประชุม นอกจากนั้น ยังมีอีกแบบคือ เปิดระบบทิ้งไว้ ตัวยังอยู่ แต่ใจไปไหนไม่รู้ เพราะคิดว่า ไม่มีใครมอง มานั่งจับตาว่า ยังสนใจการประชุมอยู่หรือไม่
.
.
พอผู้นำการประชุมถามว่า ใครมีอะไรมั้ง ทุกคนก็มักจะตอบว่า "ไม่มี" สรุป ปิดการประชุม แล้วแบบนี้เรียกว่าการประชุมที่ประสิทธิภาพหรือไม่ เชื่อว่าหลายคนก็รู้อยู่แก่ใจว่าไม่ใช่เลย แต่ไม่รู้จะทำยังไง งั้นเทคนิคที่ช่วยให้การประชุมมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วยวิธีการดังนี้
.
.
1. ทำการประชุมให้มีขนาดเล็ก ไม่เกิน 7 คน ยิ่งการประชุมใหญ่มากเท่าใด (บางครั้ง 30 คน ถือว่าเยอะมาก) โอกาสในการเอาใจไปนอกวงประชุมยิ่งมีมากเท่านั้น
.
2. ผู้นำการประชุมพูดให้น้อย พูดเท่าที่จำเป็น และเข้าเรื่องให้เร็วที่สุด เพราะการประชุมออนไลน์จะมีความน่าเบื่อเร็วกว่าการประชุมแบบเห็นหน้า ก็ มีอารมณ์ส่งหากันได้น้อยกว่า จึงดึงดูดน้อยกว่า
.
3. เปิดโอกาสโดยการพูดทีละคน ค่อยๆถาม ค่อยๆ ตอบ ให้เวลากับผู้เข้าประชุมทุกคนเพิ่มขึ้น เนื่องจากอินเตอร์เน็ตบางครั้งอยากกจะไม่ชัด ช้าลง ติดขัดทางเทคโนโลยี จึงต้องเพิ่มเวลาในการตอบกับทุกคน
.
4. ประชุมแบบมีมิตรไมตรีต่อกัน ไม่ใช่แบบสั่งการ เพราะการสั่งการสามารถใช้วิธีอื่นเพื่อความชัดเจนได้ ต้องเน้นว่า การประชุมเป็นการหารือ หาความคิดเห็น มากกว่าการสั่งการ
.
5. ให้ความสำคัญกับทุกคนที่เข้าร่วมประชุม อยากให้หลุดออกนอกวงประชุม ต้องเข้าใจว่าการประชุมออนไลน์เป็นการประชุมที่ไม่สามารถเห็นตัวได้ทั้งหมด จึงมีพฤติกรรมแอบแว้บได้ง่าย
.
6. ต้องมั่นใจว่าทุกคนที่เข้าร่วมประชุม มีอุปกรณ์ที่เหมาะกับข้อมูลทุกแบบ เช่น เสียง ภาพ ไฟล์เอกสารต่างๆ เพราะการประชุมออนไลน์สำหรับบางคน ใช้โทรศัพท์มือถือ ที่มีขนาดเล็ก ไม่สามารถอ่านเอกสารที่ส่งมาให้ได้ หรือเสียงอาจจะไม่ชัด
.
7. กำหนดประเด็นการประชุมให้ชัดเจน และไม่มีประเด็นอื่นๆ นอกเหนือจากการที่ตกลงไว้ หากมีเรื่องอื่นที่จำเป็น ให้ทำการนัดประชุมอีกครั้ง โดยให้แต่ละคนไปเตรียมข้อมูลมาในการประชุมให้พร้อมเสียก่อน
.
8. ให้สมาชิกทุกคนอยู่ในสถานที่ที่เหมาะกับการประชุม เป็นสถานที่สงบ มีสมาธิ ไม่มีคนที่ไม่เกี่ยวข้องอยู่ใกล้ เพราะอาจจะมีข้อมูลที่เป็นความลับรั่วไหลออกไปได้
.
.
9. ให้ทุกคนสรุปการประชุมส่งกลับมาทาง email ไปยัง Host เพื่อตรวจสอบการประชุมว่าเข้าใจตรงกันหรือไม่ แบบสั้นๆ ไม่ต้องยาว และไม่ต้องเป็นทางการ
ผู้นำการประชุมต้องเข้าใจศิลปะการประชุมออนไลน์ เพื่อสร้างประสิทธิภาพในการทำงานที่ต้องอยู่ห่างกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
-----------------------------------------------------------------------------
พูดคุยกับผู้เขียนเพื่อเป็นกำลังใจได้ที่
Facebook Page Dr.Nara Kittimetheekul
https://www.facebook.com/DrNaraKittimetheekul
.
.
แต่เทคโนโลยีนี้ยังไม่สามารถแทนการประชุมแบบสด หรือแบบเห็นหน้าได้อย่าง 100% เพราะว่าช่องทางการรับเสียง ส่งเสีย และองศาในการรับภาพ ความชัดเจนของภาพที่ได้รับ มันต่างกันอย่างมาก หลายครั้งการประชุมออนไลน์จะเกิดเหตุการณ์อยู่ 2 อย่าง คือแย่งกันพูดจนไม่รู้ว่าใครจะพูดเรื่องอะไร และอีกอย่างคือ ไม่มีใครพูดเลยนอกจาก Host ของการประชุม อันนี้เป็นเหตุการณ์ที่ทุกคนยังอยู่ในการประชุม นอกจากนั้น ยังมีอีกแบบคือ เปิดระบบทิ้งไว้ ตัวยังอยู่ แต่ใจไปไหนไม่รู้ เพราะคิดว่า ไม่มีใครมอง มานั่งจับตาว่า ยังสนใจการประชุมอยู่หรือไม่
.
.
พอผู้นำการประชุมถามว่า ใครมีอะไรมั้ง ทุกคนก็มักจะตอบว่า "ไม่มี" สรุป ปิดการประชุม แล้วแบบนี้เรียกว่าการประชุมที่ประสิทธิภาพหรือไม่ เชื่อว่าหลายคนก็รู้อยู่แก่ใจว่าไม่ใช่เลย แต่ไม่รู้จะทำยังไง งั้นเทคนิคที่ช่วยให้การประชุมมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วยวิธีการดังนี้
.
.
1. ทำการประชุมให้มีขนาดเล็ก ไม่เกิน 7 คน ยิ่งการประชุมใหญ่มากเท่าใด (บางครั้ง 30 คน ถือว่าเยอะมาก) โอกาสในการเอาใจไปนอกวงประชุมยิ่งมีมากเท่านั้น
.
2. ผู้นำการประชุมพูดให้น้อย พูดเท่าที่จำเป็น และเข้าเรื่องให้เร็วที่สุด เพราะการประชุมออนไลน์จะมีความน่าเบื่อเร็วกว่าการประชุมแบบเห็นหน้า ก็ มีอารมณ์ส่งหากันได้น้อยกว่า จึงดึงดูดน้อยกว่า
.
3. เปิดโอกาสโดยการพูดทีละคน ค่อยๆถาม ค่อยๆ ตอบ ให้เวลากับผู้เข้าประชุมทุกคนเพิ่มขึ้น เนื่องจากอินเตอร์เน็ตบางครั้งอยากกจะไม่ชัด ช้าลง ติดขัดทางเทคโนโลยี จึงต้องเพิ่มเวลาในการตอบกับทุกคน
.
4. ประชุมแบบมีมิตรไมตรีต่อกัน ไม่ใช่แบบสั่งการ เพราะการสั่งการสามารถใช้วิธีอื่นเพื่อความชัดเจนได้ ต้องเน้นว่า การประชุมเป็นการหารือ หาความคิดเห็น มากกว่าการสั่งการ
.
5. ให้ความสำคัญกับทุกคนที่เข้าร่วมประชุม อยากให้หลุดออกนอกวงประชุม ต้องเข้าใจว่าการประชุมออนไลน์เป็นการประชุมที่ไม่สามารถเห็นตัวได้ทั้งหมด จึงมีพฤติกรรมแอบแว้บได้ง่าย
.
6. ต้องมั่นใจว่าทุกคนที่เข้าร่วมประชุม มีอุปกรณ์ที่เหมาะกับข้อมูลทุกแบบ เช่น เสียง ภาพ ไฟล์เอกสารต่างๆ เพราะการประชุมออนไลน์สำหรับบางคน ใช้โทรศัพท์มือถือ ที่มีขนาดเล็ก ไม่สามารถอ่านเอกสารที่ส่งมาให้ได้ หรือเสียงอาจจะไม่ชัด
.
7. กำหนดประเด็นการประชุมให้ชัดเจน และไม่มีประเด็นอื่นๆ นอกเหนือจากการที่ตกลงไว้ หากมีเรื่องอื่นที่จำเป็น ให้ทำการนัดประชุมอีกครั้ง โดยให้แต่ละคนไปเตรียมข้อมูลมาในการประชุมให้พร้อมเสียก่อน
.
8. ให้สมาชิกทุกคนอยู่ในสถานที่ที่เหมาะกับการประชุม เป็นสถานที่สงบ มีสมาธิ ไม่มีคนที่ไม่เกี่ยวข้องอยู่ใกล้ เพราะอาจจะมีข้อมูลที่เป็นความลับรั่วไหลออกไปได้
.
.
9. ให้ทุกคนสรุปการประชุมส่งกลับมาทาง email ไปยัง Host เพื่อตรวจสอบการประชุมว่าเข้าใจตรงกันหรือไม่ แบบสั้นๆ ไม่ต้องยาว และไม่ต้องเป็นทางการ
ผู้นำการประชุมต้องเข้าใจศิลปะการประชุมออนไลน์ เพื่อสร้างประสิทธิภาพในการทำงานที่ต้องอยู่ห่างกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
-----------------------------------------------------------------------------
พูดคุยกับผู้เขียนเพื่อเป็นกำลังใจได้ที่
Facebook Page Dr.Nara Kittimetheekul
https://www.facebook.com/DrNaraKittimetheekul
วันพุธที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2563
เทคนิคการสร้างวินัยในการทำงานอยู่บ้าน
Work form Home คำยอดฮิตในยุคแห่งการที่ผู้คนต้องระมัดระวังตัวเอง และทำงานอยู่ที่บ้าน หลายคนก็สามารถทำได้ไม่มีปัญหา แต่อีกหลายคนกลับไม่สามารถสร้างประสิทธิภาพในการทำงานได้อย่างเต็มที่เหมือนกับอยู่ที่ทำงาน
.
.
สาเหตุของการการที่ทำให้ประสิทธิภาพลดลง จะเกิดด้วยหลายอย่าง ทั้งจากตัวเอง และคนที่อยู่รอบข้าง ดังนี้
.
.
1. อยู่บ้านมีคนที่บ้านคนกวน ยิ่งบางคนมีลูกที่ยังเล็กอยู่ ยังต้องการการดูแลตลอดเวลา เมื่อเห็นว่า มีพ่อแม่อยู่บ้าน ก็อยากจะอยู่ใกล้ๆ ตลอดเวลา ทำให้เข้ามากวน เข้ามาหา เพราะเด็กๆ ไม่เข้าใจว่า พ่อแม่ต้องการสมาธิ และเวลาในการทำงาน
.
.
2. ภาพจำ หรือ Mindset กับบ้าน หลายคนรู้สึกว่า บ้านคือที่พักผ่อน เวลาทำงานเสร็จ จะไม่เอางานมาทำที่บ้าน บ้านคือที่ปลดปล่อยความเครียด ดังนั้นเมื่ออยู่บ้านจึงไม่มีแรงขับ แรงใจในการทำงานที่บ้าน และรู้สึกว่า ไม่มีพลังจะทำอะไรเลย
.
.
3. เหนื่อยจากการทำงานที่ผ่านมามาก เมื่อมีโอกาสได้อยู่บ้าน จะรู้สึกว่าอยากพักผ่อน พอได้โอกาสอยู่บ้านก็เลย ถูกสิ่งที่อยู่ในใจสั่งให้พักอยู่บ้าน
.
.
4. นิสัยส่วนตัวที่ต้องมีคนคอยการกระตุ้น เมื่ออยู่คนเดียว หรือ อยู่กับคนที่บ้านที่ไม่มีคนมากระตุ้น ทำให้ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้
.
.
5. ความขี้เกียจส่วนตัว เผลอไม่ได้ แว้บทุกที ทั้งที่อยากจะทำงาน แต่ร่างกายไม่ยอมไป รวมถึง ที่บ้านมีอาหารตุนไว้เยอะ เลยเพลิดเพลินกับอาหารมากกว่าการทำงาน
.
.
เทคนิคที่จะช่วยให้เราสามารถสร้างวินัยในตัวเองในการทำงานที่บ้าน เพื่อให้มีผลงานได้แม้จะต้องทำงานอยู่บ้านตามลำพังสมารถทำได้โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ การจัดสภาพแวดล้อมใหม่ และการสร้างระบบคิดให้กับตัวเองใหม่
.
.
การจัดสภาพแวดล้อมใหม่
.
1. ให้เราจัดส่วนในบ้านที่เป็นส่วนของการทำงาน บางคนใช้โต๊ะทานอาหาร โต๊ะเครื่องแป้ง หรือบางมุมของเตียงนอนมาเป็นมุมทำงาน แบบนั้นจะทำให้การทำงานไม่สามารถทำได้อย่างต่อเนื่องเพราะว่า โตีะเหล่านี้ไม่ไดู้กออกแบบมาให้ทำงานได้ระยะเวลานานจะทำให้เกิดการเมื่อยล้าได้ง่าย ดังนั้น จึงต้องจัดมุมทำงานให้เป็นกิจลักษณะ เหมือนมีมุมทำงานอยู่ที่บ้าน มีอุปกรณืสำนักงานที่จำเป็นให้พร้อม อย่าทำแบบชั่วคราว เพราะอาจจะต้องทำงานอยู่บ้านหลายวัน
.
.
2. อยู่ห่างจากเตียงนอน และแหล่งของอาหารให้มากที่สุด เพราะเมื่อเราทำงานอยู่บ้าน บางคนอาจจะมีแอร์ อาจจะสบายเกินไป บางคนไม่มีแอร์ เมื่ออากาศร้อนทำให้เกิดการอ่อนล้าได้ง่าย เมื่อเราอยู่ใกล้เตียงนอนแล้ว ทำให้เดินไปนอที่เตียงได้ง่าย ก็หลับไปเลย บางคนของีบเดียว แต่งีบนี้อาจจะยาวยันเช้าเลยก็ได้ และที่ต้องห่างจากแหล่งอาหารเพราะ เมื่อทำงานไปสักพัก ร่างกายจะรู้สึกต้องการน้ำตาล จึงทำให้พยายามหาทุกอย่างที่ตุนไว้มาทานได้ อันนี้ต้องสร้างอุปสรรคืในการทานอาหารบางอย่าง
.
.
3. อย่าใส่ชุดที่สบายจนเกินไป เพราะชุดที่สบายๆ ให้ความรู้สึกพักผ่อน แต่เรายังไม่ได้พักผ่อน แต่เป็นการทำงาน แค่เปลี่ยนที่ทำงานเป็นการทำงานที่บ้าน แม้ว่าจะไม่ต้องใส่ชุดทำงาน แต่ก็ควรจะใส่ชุดที่มีการรัดอยู่บ้างเพื่อให้ร่างกายตื่นตัว หรือจะลุกขึ้นมาใส่ชุดที่เหมือนการไปทำงานโดยปกติเลยก็ไม่เป็นไร แค่ไม่ใส่ชุดนอน หรือชุดอยู่บ้าน ก็พอ เพราะบางครั้ง เกิดมีวีดีโอคอล จะทำให้เราอยู่ในสภาพที่ไม่พร้อมในการเจอคนอื่นก็ได้
.
.
4. มีบัดดี้ในการทำงาน หรือทีมในการทำงานด้วยกันเสมอ สร้างระบบการทำงานเป็นทีม (อ่านเพิ่มเติมได้ในบทความ การบริการทีมงานในภาวะตื่นตระหนก ) เพื่อให้เป็รแรงกระตุ้นในการทำงานร่วมกัน อย่าปล่อยให้อยู่คนเดียว เพราะจะเสียกำลังใจและบรรยากาศในการกระตุ้นการทำงานได้ง่าย และยังเป็นการช่วยเหลือกันในการทำงาน เช่น การสอนการใช้เทคโนโลยี การสอนวิธีการส่งไฟล์ ส่งข้อมูลข่าวสารผ่านเทคโนโลยีต่างๆ รวมถึง วิธีการหาเทคนิคการสื่อสารในทีมงานที่เหมาะสมที่สุด
.
.
5. มีออกกำลังกายเบาๆ ในตอนเช้า และตอนเย็น เพราะการทำงานที่บ้านทำให้เราได้เคลื่อนไหวร่างกายน้อย ยิ่งทำให้ร่างกายเคยชินกับการอยู่นิ่งๆ ดังนั้น การออกกำลังกายเป็นการชดเชยการเคลื่อนไหวที่เราต้องไปทำงานที่ทำงาน และสร้างการตื่นตัวให้กับตัวเองด้วย โดยเฉพาะการออกกำลังกายตอนเช้า ข้อดีอีกประการคือ ช่วยให้ไม่อ้วนเมื่อต้องอยู่บ้านเป็นเวลานานๆ
.
.
6. พูดคุยกับคนที่ต้องอยู่ที่บ้านให้เข้าใจว่า กำลังทำงาน ไม่ได้อยู่บ้านเพราะหยุดงาน และหากิจกรรมให้ครอบครัวทำเพื่อเป็นการลดการรบกวน
.
.
7. ไม่เปิด Social Network ค้างไว้กับเครื่องคอม แต่ให้เปิดดูเฉพาะตอนที่พักเท่านั้น เพราะสิ่งนี้ทำให้สมาธิของเราหลุดออกจากการทำงานได้ง่ายที่สุด แต่ไม่ต้องกลัวคนที่จำเป็นต้องติดต่อกับคนอื่น เพราะเรามีอุปกรณ์การสื่อสารมากมาย ที่อยู่ในโทรศัพท์มือ มีการแจ้งเตือน และสามารถโทรหากันได้ตลอด ยกเว้นคนที่ใช้ Social Network ในการประสานงานกันตลอดเวลาในการทำงาน เช่นการประชุม การส่งข้อมูล การส่งงานกัน
.
.
การจัดการระบบคิดใหม่
.
1. การทำงานที่บ้านไม่ใช่วันหยุด ต้องทำงานตามปกติ ถ้าไม่มีการทำงาน ก็ไม่มีรายได้ ถึงยังมีรายได้ บริษัทก็จับตามองเราอยู่ บริษัทรู้หมดว่าใครมีพฤติกรรมแบบไหน ทั้งจากผลงาน การติดต่อ สามารถนำมาประเมินได้ ดังนั้น หลายบริษัทใช้โอกาสนี้ในการประเมินผลงาน หรือการขึ้นตำแหน่งในช่วงเวลาที่เป็นปกติ
.
.
2. กำหนดเวลาเข้าออกงาน แต่ตารางงานของตัวเอง ต้องไม่ลืมว่า เรายังทำงานอยู่ แม้ว่าจะอยู่ที่บ้านก็ตาม หลายคนคิดว่า อยู่บ้านก็ดี ทำงานงานบ้านที่ค้างคาเอาไว้ให้หมด จนมากินเวลาทำงาน ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ควรทำ แต่จริงๆ แล้ว เราสามารถใช้เวลาที่เราไม่ต้องเดินทางไปทำงานมาทำความสะอาดบ้าน และเป็นการออกกำลังกายไปในตัวด้วย
.
.
3. มีเป้าหมายในการทำงานแต่ละวัน ให้ตั้งเป้าหมายการทำงานว่า วันนี้จะทำอะไรให้สำเร็จ เสร็จเมื่อไหร่ กี่โมง เหมือนมีหัวหน้า หรือเจ้านายคอยตามงานตลอดเวลา สร้างแรงกดดันเล็กๆ ให้กับตัวเอง เพื่อให้เป็นแรงกระตุ้นในการทำงาน และฉลองเล็กๆ เมื่อทำงานเสร็จ เช่น ฉลองโดยการส่งข้อความไปบอกเพื่อนในทีม แล้วทุกคนก็แสดงความยินดีร่วมกัน แต่ไม่ควรชวนกันออกไปฉลองข้างนอก
.
.
4. ชมตัวเองทุกครั้งที่ทำงานสำเร็จ และในกรณีที่ไม่สามารถทำงานให้สำเร็จได้ ให้วิเคราะห์สาเหตุที่ไม่สำเร็จแล้วจัดการปรับปรุง แก้ไข วางแผนใหม่ และต้องใม่ละเลย การทำงานชดเชยจนเสร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
.
.
5. ไม่สร้างข้ออ้างให้กับตนเอง เมื่อต้องเจอการเปลี่ยนแปลง หลายคนไม่เคยทำงานที่บ้านมากก่อน และไม่เข้าจเทคโนโลยี ต้องคิดในใจว่า ไม่เป็นไร เราสามารถเรียนรู้ได้ เราสามารถก้าวข้ามความแปลกใหม่ได้ อีกไม่นาน เราจะทำได้ แค่ติดขัดนิดหน่อยในการเริ่มต้นเท่านั้น
.
.
วิธีการต่างๆ นี้จะช่วยให้การทำงานที่บ้านมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จริงๆ แล้ว หลายคนอาจจะมีวิธีการสร้างวินัยให้กับตนเองอยู่แล้ว ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี แต่ละคนสามารถออกแบบวิธีการของตัวเองได้ เพื่อให้การทำงานยังสามารถเป็นไปได้ตามปกติ เพราะชีวิตต้องดำเนินต่อไป
-----------------------------------------------------------------------------
พูดคุยกับผู้เขียนเพื่อเป็นกำลังใจได้ที่
Facebook Page Dr.Nara Kittimetheekul
https://www.facebook.com/DrNaraKittimetheekul
.
.
สาเหตุของการการที่ทำให้ประสิทธิภาพลดลง จะเกิดด้วยหลายอย่าง ทั้งจากตัวเอง และคนที่อยู่รอบข้าง ดังนี้
.
.
1. อยู่บ้านมีคนที่บ้านคนกวน ยิ่งบางคนมีลูกที่ยังเล็กอยู่ ยังต้องการการดูแลตลอดเวลา เมื่อเห็นว่า มีพ่อแม่อยู่บ้าน ก็อยากจะอยู่ใกล้ๆ ตลอดเวลา ทำให้เข้ามากวน เข้ามาหา เพราะเด็กๆ ไม่เข้าใจว่า พ่อแม่ต้องการสมาธิ และเวลาในการทำงาน
.
.
2. ภาพจำ หรือ Mindset กับบ้าน หลายคนรู้สึกว่า บ้านคือที่พักผ่อน เวลาทำงานเสร็จ จะไม่เอางานมาทำที่บ้าน บ้านคือที่ปลดปล่อยความเครียด ดังนั้นเมื่ออยู่บ้านจึงไม่มีแรงขับ แรงใจในการทำงานที่บ้าน และรู้สึกว่า ไม่มีพลังจะทำอะไรเลย
.
.
3. เหนื่อยจากการทำงานที่ผ่านมามาก เมื่อมีโอกาสได้อยู่บ้าน จะรู้สึกว่าอยากพักผ่อน พอได้โอกาสอยู่บ้านก็เลย ถูกสิ่งที่อยู่ในใจสั่งให้พักอยู่บ้าน
.
.
4. นิสัยส่วนตัวที่ต้องมีคนคอยการกระตุ้น เมื่ออยู่คนเดียว หรือ อยู่กับคนที่บ้านที่ไม่มีคนมากระตุ้น ทำให้ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้
.
.
5. ความขี้เกียจส่วนตัว เผลอไม่ได้ แว้บทุกที ทั้งที่อยากจะทำงาน แต่ร่างกายไม่ยอมไป รวมถึง ที่บ้านมีอาหารตุนไว้เยอะ เลยเพลิดเพลินกับอาหารมากกว่าการทำงาน
.
.
เทคนิคที่จะช่วยให้เราสามารถสร้างวินัยในตัวเองในการทำงานที่บ้าน เพื่อให้มีผลงานได้แม้จะต้องทำงานอยู่บ้านตามลำพังสมารถทำได้โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ การจัดสภาพแวดล้อมใหม่ และการสร้างระบบคิดให้กับตัวเองใหม่
.
.
การจัดสภาพแวดล้อมใหม่
.
1. ให้เราจัดส่วนในบ้านที่เป็นส่วนของการทำงาน บางคนใช้โต๊ะทานอาหาร โต๊ะเครื่องแป้ง หรือบางมุมของเตียงนอนมาเป็นมุมทำงาน แบบนั้นจะทำให้การทำงานไม่สามารถทำได้อย่างต่อเนื่องเพราะว่า โตีะเหล่านี้ไม่ไดู้กออกแบบมาให้ทำงานได้ระยะเวลานานจะทำให้เกิดการเมื่อยล้าได้ง่าย ดังนั้น จึงต้องจัดมุมทำงานให้เป็นกิจลักษณะ เหมือนมีมุมทำงานอยู่ที่บ้าน มีอุปกรณืสำนักงานที่จำเป็นให้พร้อม อย่าทำแบบชั่วคราว เพราะอาจจะต้องทำงานอยู่บ้านหลายวัน
.
.
2. อยู่ห่างจากเตียงนอน และแหล่งของอาหารให้มากที่สุด เพราะเมื่อเราทำงานอยู่บ้าน บางคนอาจจะมีแอร์ อาจจะสบายเกินไป บางคนไม่มีแอร์ เมื่ออากาศร้อนทำให้เกิดการอ่อนล้าได้ง่าย เมื่อเราอยู่ใกล้เตียงนอนแล้ว ทำให้เดินไปนอที่เตียงได้ง่าย ก็หลับไปเลย บางคนของีบเดียว แต่งีบนี้อาจจะยาวยันเช้าเลยก็ได้ และที่ต้องห่างจากแหล่งอาหารเพราะ เมื่อทำงานไปสักพัก ร่างกายจะรู้สึกต้องการน้ำตาล จึงทำให้พยายามหาทุกอย่างที่ตุนไว้มาทานได้ อันนี้ต้องสร้างอุปสรรคืในการทานอาหารบางอย่าง
.
.
3. อย่าใส่ชุดที่สบายจนเกินไป เพราะชุดที่สบายๆ ให้ความรู้สึกพักผ่อน แต่เรายังไม่ได้พักผ่อน แต่เป็นการทำงาน แค่เปลี่ยนที่ทำงานเป็นการทำงานที่บ้าน แม้ว่าจะไม่ต้องใส่ชุดทำงาน แต่ก็ควรจะใส่ชุดที่มีการรัดอยู่บ้างเพื่อให้ร่างกายตื่นตัว หรือจะลุกขึ้นมาใส่ชุดที่เหมือนการไปทำงานโดยปกติเลยก็ไม่เป็นไร แค่ไม่ใส่ชุดนอน หรือชุดอยู่บ้าน ก็พอ เพราะบางครั้ง เกิดมีวีดีโอคอล จะทำให้เราอยู่ในสภาพที่ไม่พร้อมในการเจอคนอื่นก็ได้
.
.
4. มีบัดดี้ในการทำงาน หรือทีมในการทำงานด้วยกันเสมอ สร้างระบบการทำงานเป็นทีม (อ่านเพิ่มเติมได้ในบทความ การบริการทีมงานในภาวะตื่นตระหนก ) เพื่อให้เป็รแรงกระตุ้นในการทำงานร่วมกัน อย่าปล่อยให้อยู่คนเดียว เพราะจะเสียกำลังใจและบรรยากาศในการกระตุ้นการทำงานได้ง่าย และยังเป็นการช่วยเหลือกันในการทำงาน เช่น การสอนการใช้เทคโนโลยี การสอนวิธีการส่งไฟล์ ส่งข้อมูลข่าวสารผ่านเทคโนโลยีต่างๆ รวมถึง วิธีการหาเทคนิคการสื่อสารในทีมงานที่เหมาะสมที่สุด
.
.
5. มีออกกำลังกายเบาๆ ในตอนเช้า และตอนเย็น เพราะการทำงานที่บ้านทำให้เราได้เคลื่อนไหวร่างกายน้อย ยิ่งทำให้ร่างกายเคยชินกับการอยู่นิ่งๆ ดังนั้น การออกกำลังกายเป็นการชดเชยการเคลื่อนไหวที่เราต้องไปทำงานที่ทำงาน และสร้างการตื่นตัวให้กับตัวเองด้วย โดยเฉพาะการออกกำลังกายตอนเช้า ข้อดีอีกประการคือ ช่วยให้ไม่อ้วนเมื่อต้องอยู่บ้านเป็นเวลานานๆ
.
.
6. พูดคุยกับคนที่ต้องอยู่ที่บ้านให้เข้าใจว่า กำลังทำงาน ไม่ได้อยู่บ้านเพราะหยุดงาน และหากิจกรรมให้ครอบครัวทำเพื่อเป็นการลดการรบกวน
.
.
7. ไม่เปิด Social Network ค้างไว้กับเครื่องคอม แต่ให้เปิดดูเฉพาะตอนที่พักเท่านั้น เพราะสิ่งนี้ทำให้สมาธิของเราหลุดออกจากการทำงานได้ง่ายที่สุด แต่ไม่ต้องกลัวคนที่จำเป็นต้องติดต่อกับคนอื่น เพราะเรามีอุปกรณ์การสื่อสารมากมาย ที่อยู่ในโทรศัพท์มือ มีการแจ้งเตือน และสามารถโทรหากันได้ตลอด ยกเว้นคนที่ใช้ Social Network ในการประสานงานกันตลอดเวลาในการทำงาน เช่นการประชุม การส่งข้อมูล การส่งงานกัน
.
.
การจัดการระบบคิดใหม่
.
1. การทำงานที่บ้านไม่ใช่วันหยุด ต้องทำงานตามปกติ ถ้าไม่มีการทำงาน ก็ไม่มีรายได้ ถึงยังมีรายได้ บริษัทก็จับตามองเราอยู่ บริษัทรู้หมดว่าใครมีพฤติกรรมแบบไหน ทั้งจากผลงาน การติดต่อ สามารถนำมาประเมินได้ ดังนั้น หลายบริษัทใช้โอกาสนี้ในการประเมินผลงาน หรือการขึ้นตำแหน่งในช่วงเวลาที่เป็นปกติ
.
.
2. กำหนดเวลาเข้าออกงาน แต่ตารางงานของตัวเอง ต้องไม่ลืมว่า เรายังทำงานอยู่ แม้ว่าจะอยู่ที่บ้านก็ตาม หลายคนคิดว่า อยู่บ้านก็ดี ทำงานงานบ้านที่ค้างคาเอาไว้ให้หมด จนมากินเวลาทำงาน ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ควรทำ แต่จริงๆ แล้ว เราสามารถใช้เวลาที่เราไม่ต้องเดินทางไปทำงานมาทำความสะอาดบ้าน และเป็นการออกกำลังกายไปในตัวด้วย
.
.
3. มีเป้าหมายในการทำงานแต่ละวัน ให้ตั้งเป้าหมายการทำงานว่า วันนี้จะทำอะไรให้สำเร็จ เสร็จเมื่อไหร่ กี่โมง เหมือนมีหัวหน้า หรือเจ้านายคอยตามงานตลอดเวลา สร้างแรงกดดันเล็กๆ ให้กับตัวเอง เพื่อให้เป็นแรงกระตุ้นในการทำงาน และฉลองเล็กๆ เมื่อทำงานเสร็จ เช่น ฉลองโดยการส่งข้อความไปบอกเพื่อนในทีม แล้วทุกคนก็แสดงความยินดีร่วมกัน แต่ไม่ควรชวนกันออกไปฉลองข้างนอก
.
.
4. ชมตัวเองทุกครั้งที่ทำงานสำเร็จ และในกรณีที่ไม่สามารถทำงานให้สำเร็จได้ ให้วิเคราะห์สาเหตุที่ไม่สำเร็จแล้วจัดการปรับปรุง แก้ไข วางแผนใหม่ และต้องใม่ละเลย การทำงานชดเชยจนเสร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
.
.
5. ไม่สร้างข้ออ้างให้กับตนเอง เมื่อต้องเจอการเปลี่ยนแปลง หลายคนไม่เคยทำงานที่บ้านมากก่อน และไม่เข้าจเทคโนโลยี ต้องคิดในใจว่า ไม่เป็นไร เราสามารถเรียนรู้ได้ เราสามารถก้าวข้ามความแปลกใหม่ได้ อีกไม่นาน เราจะทำได้ แค่ติดขัดนิดหน่อยในการเริ่มต้นเท่านั้น
.
.
วิธีการต่างๆ นี้จะช่วยให้การทำงานที่บ้านมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จริงๆ แล้ว หลายคนอาจจะมีวิธีการสร้างวินัยให้กับตนเองอยู่แล้ว ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี แต่ละคนสามารถออกแบบวิธีการของตัวเองได้ เพื่อให้การทำงานยังสามารถเป็นไปได้ตามปกติ เพราะชีวิตต้องดำเนินต่อไป
-----------------------------------------------------------------------------
พูดคุยกับผู้เขียนเพื่อเป็นกำลังใจได้ที่
Facebook Page Dr.Nara Kittimetheekul
https://www.facebook.com/DrNaraKittimetheekul
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
-
หลังจากการเลือกตั้งของประเทศไทยปี 2566 ผ่านพ้นไป ได้เห็นคะแนนกันไปแล้ว ส่วนการจัดตั้งรัฐบาลจะเป็นอย่างไรก็เป็นเรื่องของผู้ที่เกี่ยวข้องไปจัด...
-
การวางแผนงบประมาณเชิงกลยุทธ์ งบประมาณเป็นแผนที่ทุกองค์กรต่างให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะว่าเป็นแผนที่ควบคุมการรับเงินและการจ่ายเงินขององค...
-
กระบวนการการจัดการข้อมูลขององค์กร Organizational Data Management Process การเปลี่ยนแปลงทางสภาพสังคมเศรษฐกิจ ของมนุษย์ในช่วงยุคอุตสาหกรรม...