เกิดอะไรขึ้นจาก COVID19
สถานการณ์โรคระบาดจาก COVID-19 เป็นเหตุการณ์ที่สร้างความเสียหายให้กับสุขภาพ สังคม และระบบเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก ตั้งเดือน มกราคม 2020 เริ่มมีคนติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนมาถึงเดือน มีนาคม ก็ลุกลามไปทั่วโลกครบทุกประเทศ จนหลายๆ ประเทศต้องมีการปิดเมือง ลดการพบปะกัน อยู่กับบ้าน ลดการเดินทาง โรงพยาบาลต้องทำงานหนักมากขึ้น สินค้าหลายอย่างขาดตลาด ธุรกิจบริการ ธุรกิจค้าปลีก ธุรกิจสายการบิน ธุรกิจท่องเที่ยว ได้รับผลกระทบโดยตรง ยังมีอีกหลายๆ ธุรกิจที่ได้รับผลการทบ ซึ่งเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการรวมตัวกันของคน เช่นธุรกิจกีฬา ธุรกิจจัดการประชุมและงานแสดงสินค้า ธุรกิจการฝึกอบรมและการศึกษาดูงาน ธุรกิจหอพัก เป็นต้น
ในแง่ของอุตสาหกรรม ก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน ซึ่งมีทั้งผลกระทบทางลบและผลกระทบทางบวก ผลกระทบทางลบที่เกิดขึ้นก่อนคือสินค้าอุปโภคบริโภค ผู้คนมีการซื้อสินค้าเก็บหรือกักตุนไว้ในบ้านอย่างน้อยในช่วงแรกปริมาณเพิ่มขึ้นเพราะการออกจากบ้านยากขึ้น จึงเพิ่มการซื้อทีละมากๆ แต่เมื่อเวลาผ่านไป จำนวนการซื้อจะน้อยลง เพราะสินค้าที่ต้องการถูกซื้อไปหมดแล้ว สินค้าที่จะได้รับความนิยมในช่วงต้นของสถานการณ์นี้คือ สินค้าที่เกี่ยวกับการอำนวยความสะดวกและความบันเทิงเมื่อต้องอยู่บ้าน เช่น โทรทัศน์ ตู้เย็น เครื่องทำอาหาร รวมถึงอุปกรณ์ออกกำลังกายต่างๆ สินค้าที่ยังไม่จำเป็นเช่น แฟชั่น เครื่องประดับ ที่ต้องใช้ในการไปพบปะกับผู้คนในเวลาปกติจะมีจำนวนการซื้อลดลงด้วย
สินค้าที่เกี่ยวกับสุขภาพจะได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอันไหนที่คนใช้ให้ปลอดภัยจากไวรัส ทั้งที่เป็นจริงหรือไม่จริงก็ตาม จะได้รับความนิยมจนราคาพุ่งไปหลายเท่าตัว
ส่วนบริการหลายๆ อย่างจะมีการเปลี่ยนแปลงไป บริการส่งสินค้าขนาดเล็กด้วยรถมอร์ไซค์ ส่งไปตามบ้านเราเห็นได้ว่ามีความต้องการเพิ่มสูงขึ้น เรียกว่า บริการอะไรที่ทำงานแทนเราได้โดยที่เราไม่ต้องออกไปไหน จะได้รับความนิยมเพิ่มสูงขึ้น บริการทางสื่อดิจิตัลก็เช่นกัน ก็จะได้รับความนิยมเพิ่มสูงขึ้น
ในภาพของเศรษฐกิจระดับมหภาค ตอนนี้คนที่มีรายได้น้อยถึงปานกลาง เงินสดที่มีอยูในมือมีจำนวนน้อยลงอย่างมาก จึงทำให้เกิดการชะลอการใช้จ่ายลง และกลับไปอยู่ตามภูมิลำเนาเดิมของตัวเองเพื่อลดค่าใช้จ่าย คนที่มีเงินสะสมไว้ ก็ชะลอการใช้จ่ายเพื่อให้มั่นใจว่ามีเงินได้มากพอที่จะอยู่พ้นจากวิกฤตินี้ไป ตรงนี้เป็นการลดการหมุนเวียนของเงินในระบบเศรษฐกิจ ยิ่งเป็นการดึงผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติให้ลดลงอย่างรวดเร็ว ที่ว่าปี 2019 เผาหลอก ปี 2020 เผาจริง ก็จริงๆ แหละ คาดการว่าประเทศไทยน่าจะมี GDP -5% แต่อัตราเงินเฟ้อน่าจะพุ่งไปไกล
การเงินของรัฐในคลังก็มีน้อยลงอย่างมาก การเก็บภาษีต้องได้รับผลกระทบไปถึงปี 2021 ที่จะจัดเก็บได้ลดลง แต่อย่างไรก็ตามรัฐจะเป็นผู้ขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจสำคัญทั้งการใช้นโยบายการเงินและนโยบายการคลังเพื่อให้เกิดขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจอีกครั้ง
การเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างทางเศรษฐกิจหลัง COVID-19
หลังสิ้นสุดสถาการณ์ เศรษฐกิจจะฟื้นตัวทันทีเลยนั้น เป็นไปไม่ได้ เพราะมีหลายธุรกิจที่ปิดไปช่วงนี้ อาจจะไปไปแบบถาวร หลายธุรกิจ ต้องสร้างฐานลูกค้าใหม่ หลายธุรกิจ ต้องรอความมั่นใจของประชาชน เริ่มจากธุรกิจท่องเที่ยว จะเป็นธุรกิจที่ฟื้นตัวได้ช้าเพราะการท่องเที่ยวจะมาเป็นอันดับรอง ผู้คนส่วนใหญ่จะเร่งสร้างรายได้เพื่อชดเชยจากสถาการณ์โรคระบาดนี้ก่อน คนที่ท่องเที่ยว จะเป็นคนที่ยังมีเงินเก็บและกลุ่มที่ดูงานเป็นส่วนใหญ่
ธุรกิจด้านการเดินทางจะมีความต้องการเพิ่มสูงขึ้น แต่ขนส่งสาธารณะจะไม่เพิ่มรวดเร็วนัก เพราะ ว่าผู้คนต้องการความมั่นใจ ดังนั้น การเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัวจึงเป็นทางเลือก และจะเป็นโอกาสของรถยนต์พลังงานทางเลือกที่ราคาพลังงานถูก มีเสถียรภาพกว่าน้ำมันอย่างรถยนต์ EV หรือ รถยนต์ลูกผสมทั้งหลาย
ธุรกิจด้านการสื่อสารโทรคมนาคม จะมีความต้องการสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยีดิจิตัลจะเข้ามามีบทบาทมาก เพราะผู้คนได้เรียนรู้การใช้เทคโนโลยีจาก Work From Home แล้ว จะช่วยให้การยอมรับเทคโนโลยีทำได้ง่ายขึ้น
ธุรกิจด้านการก่อสร้างถ้าเป็นโครงการของรัฐในระยะสั้นอาจจะยังไม่กระทบ แต่ถ้าเป็นระยะกลาง น่ามีผลกระทบลดลงบ้างเพราะรัฐต้องเอาเงินไปกระตุ้นเศรษฐกิจแบบฐานราก แต่ในระยะยาวจะกลับมาได้อีกครั้ง สำหรับการก่อสร้างเพื่อการบริโภค จะชลอตัวลง ทั้งจากการให้สินเชื่อของธนาคาร รายได้ที่หายไปช่วงเกิด COVID-19 และความมั่นใจในถิ่นที่อยู่อาศัย เนื่องจากตอนนี้เองหลายคนกลับไปยังภูมิลำเนาของตัวเอง ทำให้คนย้ายออกจากเมืองใหญ่ และหลายคนจะพบว่า การทำงานจากภูมิลำเนาสามารถทำได้ ทำให้ความต้องการของบ้านสร้างใหม่ในเมืองลดลง ส่วนบ้านที่อยู่ในต่างจังหวัดอาจจะคงตัว เพราะมีบ้านและที่ดินอยู่แล้ว
ธุรกิจอุตสาหกรรมการผลิต จะเริ่มหาแรงงานยากขึ้น จึงมีการใช้เครื่องจักรที่ใช้แรงงานน้อยลง มาทดแทน ให้สามารถทำงานได้ และต้องการแรงงานที่มีทักษะมากขึ้น จึงทำให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเทคโนโลยีการผลิต หุ่นยนต์จะเกิดใหม่มากขึ้นหลังสถานการณืนี้ มาทดแทนแรงงาน
ธุรกิจด้านการขนส่งสินค้าจะเติบโตอย่างต่อเนื่อง เพราะสินค้าและบริการหลายๆ แห่งต้องการส่งสินค้าให้ได้มากและเร็วที่สุด จึงเกิดการแข่งขันอย่างมากว่าใครจะให้บริการได้มีประสิทธิภาพมากกว่ากว่ากัน
ธุรกิจอาหารและอุตสาหกรรมเกษตร กลายเป็นดาวเด่นในช่วงหลังสถานการณ์ เพราะว่า หลายประเทศต้องหยุดผลิตและหยุดทำงาน ทำให้มีความต้องการและปีนี้มีภัยแล้ง จึงทำให้สินค้าเกษตรช่วงปลายปีจะหายากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามยังมีจีนที่เป็นโรงงานผลิตสินค้าออกไปขายแข่งด้วยทั่วโลก และทั่วโลกจะตระหนักถึงความมั่นคงทางอาหารของประเทศเพิ่มขึ้น
ธุรกิจด้านการเพิ่มศุกยภาพของมนุษย์ เช่นด้านสุขภาพ และการศึกษา มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากแน่นอน เพราะต้องการเทคโนโลยีเข้ามาช่วย ตอนนี้ ผู้คนเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีในการดูแลสุขภาพของตัวเอง เรียนรู้การใช้เทคโนโลยีในการสร้างองค์ความรู้ของตัวเองมากขึ้น ดังนั้น รูปแบบการให้บริการทางดารแพทย์และการศึกษาจะมีความต้องการเพิ่มขึ้น แต่เปลี่ยนแปลงรู้แบบไปมากขึ้น อนาคตอาจถึงกับต้องมีโรงพยาบาลออนไลน์ เมื่อตรวจเสร็จจัดส่งยามาให้ที่บ้าน มีโรงเรียนออนไลน์ เรียนแบบสดแต่ผ่านแอพหรือเทคโนโลยีมากกว่ามาเรียนแบบสด และกลุ่มเรียนจะเฉพาะทางมากขึ้น
พฤติกรรมของคนจะเป็นอย่างไรในปี 2020 และ 2021
คนในโลกจะเว้นระยะห่างกันมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด คนจะมีความแยกเดี่ยวมากขึ้น และมีการลดการสัมผัสตัวลง คนจะเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีมากขึ้น ซึ่งโอกาสนี้ คนจะเข้าใจประเทศจีนใหม่ว่า เป็นประเทศแห่งมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ การผลิต และเทคโนโลยีตัวจริง
คนจะมีการตื่นตัวทางสุขอนามัยมากขึ้น ที่แฝงด้วยความระแวงกัน ดังนั้น ธุรกิจ อุตสาหกรรมต่างๆ จึงต้องใช้เรื่องของสุขอนามัยเป็นประเด็นหลักในการดำเนินการไปพร้อมๆ กัน หลังจากนี้ไปคงมีการสืบสวนกันว่า เชื้อไวรัสนี้มาจากไหน แล้วจะมีตัวอะไรมาอีกในอนาคตหรือไม่ การอยู่รวมกันของคนที่แออัด จะส่งผลต่อชีวิตคนเราทั้งโลกอย่างไร โรคระบาดคราวนี้ สร้างแผลในใจให้คนทั่วโลกที่เจ็บปวดมาก
เศรษฐกิจจะดีขึ้นเมื่อไหร่
ในการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ จะมีบางกลุ่มที่หายไปจากตลาดเลยเพราะผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและเทคโนโลยี แต่มีบางกลุ่มที่สามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็วถ้ามีเทคโนโลยีและเงินทุน และสามารถมองกระแสของการเปลี่ยนแปลงได้เร็วกว่าคนอื่น คนที่เก่งในวันก่อน จะไม่เก่งต่อไปอีกแล้ว ระยะเวลา 3-4 เดือนที่โลกต่อสู้กับ COVID-19 นานพอที่จะทำให้พฤติกรรมเปลี่ยนไปอย่างมาก
แต่ภาคการเกษตรจะเป็นกลุ่มที่ปรับตัวช้าที่สุด โดยเฉพาะในประเทศไทย ที่เกษตรกรมีอายุเฉลี่ยเกิน 60 ปี ทำให้อัตรการยอมรับของเทคโนโลยีอยู่ในระดับที่ต่ำ และการแพร่ระบาดมีน้อยกว่าในสังคมเมือง จึงทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำสูงขึ้นระหว่างนานทุนและเกษตรกร
บทบาทของภาครัฐ
นอกจากการออกมาตรการต่างๆ เพื่อการสร้างสุขอนามัยของประชาชน การหยุดยั้งโรคระบาดและ สิ่งที่ภาครัฐต้องทำอย่างเอาจริงๆ เอาจังมากว่ากการแจกเงินคือ การจ้างแรงงานโดยภาครัฐ เพื่อให้รัฐได้งานประชาชนได้เงิน ในระดับรากหญ้า เป็นมาตรการระยะสั้น และเร่งด่วนหลังจบสถานการณ์นี้ รัฐเองมีงานมากมายที่ต้องทำ เพราะประเทศเราต้องสู้กับภัยของฝั่น ภัยแล้ง การจัดการขยะ การสร้างโครงสร้างพื้นฐานอีกมากมาย เอาตัวอย่างง่ายๆ รัฐตั้งโครงการปลูกป่า โดยการจ้างประชาชนให้เป็นผู้ปลูกป่าในพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม และจ้างประชาชนดูแลต้นไม้ โดยการจ่ายเงินให้กับจำนวนต้นไม้ที่รอดทุกๆ 6 เดือน รัฐจ้างประชาชนเก็บขยะมูลฝอยที่อยู่ตามที่ต่างๆ คิดเป็นตัน เพื่อนำไปจัดการให้ถูกต้อง แบบนี้จะได้ประโยชน์ทั้งรัฐและประชาชน ส่วนที่มีโอกาสในการประกอบอาชีพ เขาจะไปใช้ชีวิตของเขาเอง
ประเด็นที่ 2 ที่รัฐต้องดำเนินการ คือการทำให้ประชาชนเรียนรู้การใช้เทคโนโลยี เป็นลักษณะการสร้างประสบการณ์ในการใช้เทคโนโลยี และการนอมรับเทคโนโลยี เพื่อให้การเกิดขึ้นของเทคโนโลยีในประเทศเป็นไปได้โดยง่าย มิฉะนั้น คนที่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้ก่อน จะเป็นผู้ได้เปรียบและคนที่ไม่เข้าใจเทคโนโลยี จะเป็นคนที่ต้องเป็นรองในระบบเศรษฐกิจ เป็นการสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางสมถรรนะของคนในประเทศ ซึ่งเรื่องนี้ไม่อาจจะทำได้ในระบบการศึกษาปกติ แต่เป็นการศึกษานอกระบบ การศึกษาตลอดชีวิต
ประเด็นที่ 3 รัฐต้องสร้างความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อตัวคณะการบริหารประเทศ ด้วยการปฏิรูปตัวเองเสียใหม่ เปลี่ยนแปลงแบบห้ามือเป็นหลังมือ ทุกวันนี้ เอกชนจำนวนมากมีวิกฤติความศัทธาต่อรัฐบาล และราชการ ไม่เชื่อว่าจะมีความโปร่งใส หากรัฐต้องการข้ามวิกฤตินี้ไปให้ได้ ถ้าประชาชนไ่ศรัทธา ประชาชนจะไม่ฟังและให้ความร่วมมือกับรัฐ โอกาสในการพัฒนาไปข้างหน้าจะยากขึ้น รัฐต้องเข้าใจว่า การพัฒนาเศรษฐกิจ ต้องอาศัยการบริหาร ไม่ใช่การปกครอง คือการรู้จักใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยบชน์สูงสุดกับประเทศ
บทบาทของประชาชน
เหตุการณ์ครั้งนี้ เป็นเหตุการณ์ชั่วคราวแต่ส่งผลกระทบแบบถาวรให้กับโลกใบนี้ ผู้คนต่างๆ ทั่วโลกมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปจากวันนี้แน่นอน เราเองในฐานะประชาชน จะรอกแต่รัฐอย่างเดียวคงจะทำไม่ได้ จะไม่ทำอะไรเลย ก็คงไม่ดี หลายคนก็บอกว่า พยายามทำทุกอย่างแล้ว ก็ยังไม่โอเค ประชาชนอย่างเราๆ ต้องตั้งสติให้ดี และถามตัวเองว่า เราต้องเก่งอะไรไปมากกว่านี้ เพื่อให้เราอยู่ได้ เราควรจะต้องทิ้งอะไรไปในช่วงนี้เพื่อการเติบโตของตัวเอง หือเรียกว่า Self-Disruption เราแต่ละคนต้องหาแนวทางการพัฒนาตัวเอง โดยเฉพาะช่วที่ยังมีโรคระบาดอยู่ เราอยู่บ้าน เราอยู่ในทักพัก ไม่ได้ออกไปไหน การเรียนรู้ เพื่อการพัฒนาตัวเองจึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ COVID เหมือนเป็นการบอกเราว่า เราจะไม่ใช่คนเดิมอีกต่อไป เพราะตัวย่อของ COVID สามารถแปลได้อีกอย่างคือ Connect Our Value in Digital