กลยุทธ์ที่ 1 ทำให้รู้สึกเหมือนยังได้อนู่ด้วยกัน เรียกว่า ต้องทำให้เหมือนกับว่า ยังได้เห็นหน้าเห็นตากันอยู่ตลอดเวลา ซึ่งปัจจุบัน มีเทคโนโลยีมากมาย หัวหน้างานสามารถใช้การประชุมตอนเช้าทุกวัน สั้นๆ วันละ 15-20 นาที เพื่อสอบถามชีวิตความเป็นอยู่ของแต่ละคน โดยเวลาประชุมแนะนำว่าให้ทำตอนเวลาเข้างานตามปกติ เช่น 8.30 น. เพื่อให้คนในทีมยังรู้สึกเหมือนกับว่า ต้องเริ่มงานเวลาเดิมทุกวัน สิ่งที่ควรระมัดระวังคือ เวลาประชุม ถามแต่เรื่องงานเท่านั้น ให้ถามถึงชีวิตความเป็นอยู่ และทุกคนได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็น บอกเล่า และการแบ่งปันกำลังใจซึ่งกันและกัน
กลยุทธ์ที่ 2 ใช้แชตกลุ่มและฐานของมูลกลาง (Cloud Storage) อัพเดทงานระหว่างวัน เพื่อเป็นการสร้างบรรยายการในการทำงาน แม้ว่าจะอยู่ต่างที่กัน แต่ก็มีการสื่สารกันในทีมตลอดเวลา วิธีการแบบนี้ จะช่วยเป็นการกระตุ้นการทำงานเป็นทีม และลดอาการวิตกกังวลลงได้ นอกจากนั้น แต่ละคนยังทราบสถานะการทำงานร่วมกันว่าตอนนี้งานไปถึงไหนแล้ว
กลยุทธ์ที่ 3 การเปิดให้สมาชิกในทีมสามารถติดต่อหัวหน้าและสมาชิกได้ตลอดเวลา โดยผ่าน VDO Conference การติดต่อต้องโปร่งใส ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ เพื่อเป็นการลดการสงสัย การนินทา และการไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน เดี๋ยวนี้มีหลายแอพที่สามารถช่วยให้การติดต่อสามารถเกิดขึ้นได้โดยง่าย และฟรี
กลยุทธ์ที่ 4 เข้างานพร้อมกัน พักเที่ยวพร้อมกัน และเลิกงานพร้อมกัน ยังเป็นการสร้างบรรยายกาศในการทำงาน แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงที่ทำงาน แต่ทำให้แต่ละคนรู้สึกว่า ตัวเองยังทำงานเป็นทีม มีคนที่อยู่เคียงข้างทำงานด้วยกัน ไม่มีใครเอาเปรียบกัน
กลยุทธ์ที่ 5 ประชุมออนไลน์หลังเลิกงานทุกวัน หัวหน้างานต้องเข้าใจ และไม่ปล่อยให้ทีมงานของตนเองอยู่ในความเวิ้งว้าง การได้พูดคุยกัน ทำให้ทีมงานมีความสัมพันธ์มากขึ้น และฟุ้งซ่านน้อยลง การใช้ประชุมออนไลน์ เป็นการสรุปงานที่ทำประจำวัน ให้กำลังใจกัน และสร้างไอเดียใหม่ๆ ในการทำงานร่วมกันเมื่อต้องอยู่ห่างกัน ยังสามารถรวมไปถึงการชวนกันออกกำลังกายที่บ้านแล้วเอาผลการออกกำลังกายมาอวดกัน แบ่งปันกัน เพื่อให้มีบรรยากาศในการตื่นตัว กระฉับกระเฉง
การทำงานที่ห่างกันย่อมทำให้ความสัมพันธ์ลดลง แต่เทคโนโยลี บวกกับการจัดการจะสามารถสร้างให้เรามีความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นได้
-------------------------------------------
พูดคุยกับผู้เขียนเพื่อเป็นกำลังใจได้ที่
Facebook Page Dr.Nara Kittimetheekul