จากการที่มองการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลด้วยเงินกู้ 1.9 ล้านล้าน แบ่งเป็น 1 ล้านล้านใช้เพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ อีก 9 แสนล้าน เป็นการบริหารการเงิน ซึ่งมาตรการการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยส่วนใหญ่รัฐบาลพยายามใช้เรื่องของการกระตุ้นการบริโภค การซื้อสินค้าเพื่อการบริโภค การท่องเที่ยวภายในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง เราเที่ยวด้วยกัน จ่ายคนละครึ่ง เงินที่ให้กับบัตรสวัสดิการของรัฐ ช็อปชดีมีคืน ซึ่งก็ถือว่าเป็นมาตรการที่ช่วยให้เกิดเงินหมุนเวียนทางเศรษฐกิจ (ทางทฤษฎี)
วันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2563
เสนอแนวคิดในการใช้วิกฤติโควิตเพื่อสร้างเศรษฐกิจประเทศ
วันอังคารที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2563
เมื่อเงินเฟ้อไม่ได้สร้างประโยชน์ที่แท้จริงทางเศรษฐกิจ
ในการเปลี่ยนแปลงของระบบการเงินโลกย่อมมีการสร้างผลกระทบกับสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ นับตั้งแต่ยุคการเปลี่ยนแปลงระบบการเงินโดยการใช้ระบบการเงินมาตรฐานทองคำในปี 1870 เป็นระบบแรกของการเงินระหว่างประเทศ โดยการอ้างอิงค่าเงินของแต่ละประเทศไว้กับทองคำ ระบบนี้ใช้งานได้ดีเมื่อโลกอยู่ในสภาวะสงบสุขและการนำเข้าส่งออกทองคำยังสามารถทำงานได้เป็นปกติ
.
ระบบมาตรฐานทองคำ อธิบายง่ายๆ คือการผลิตเงินให้ได้เท่ากับจำนวนทองคำที่เอามาสำรองเอาไว้ในคลัง และเวลาแลกเปลี่ยนกัน ก็จะมีการคำนวนค่าตามปริมาณทองคำ หรือปริมาณเงินก็จะไปสะท้องปริมาณทองคำด้วย แต่ระบบนี้เกิดปัญหาขึ้นในช่วงสงครามดลกครั้งที่ 2 เพราะการเคลื่อนย้ายทองคำไม่เป็นไปตามปกติ หลังจากนั้น มีความต้องการใช้เงินเพิ่มขึ้นในปริมาณมากๆ หลักจากสงครามโลกครั้งที่ 2 เพราะเกิดเศรษฐกิจเติบโด และทองคำไม่สามารถผลิตออกมาได้ทันต่อความต้องการปริมาณเงินที่เพิ่มขึ้น ระบบนี้จึงขาดความยืดหยุ่นได้ จึงต้องหาทางการเทียบค่าปริมาณเงินด้วยระบบอื่นแทน
.
ระบบการเงินจึงได้มีการพัฒนามากขึ้นได้มีการให้ความสำคัญทางการบริหารเงินมากขึ้น เพราะเงินถือว่าเป็นตัวแทนของการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ มีความคล่องตัว มากในการใช้เงินเป็นสื่อกลาง จนในปี 1936 ได้มีงานตีพิมพ์ เรื่อง The General Theory of Employment, Interest and Money โดย จอห์น เมนาร์ท เคนส์ เป็นการอธิบายสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในประเทศอังกฤษ ที่ใช้แนวคิดจากแต่เดิมว่า ในระบบเศรษฐกิจ จะไม่มีทางมีอุปทานส่วนเกิน เพราะมือที่มองไม่เห็นจะจัดการอุปสงค์และอุปทานเหล่านั้นให้เข้าสมดุลย์เสมอ
.
แนวคิดของ เคนส์ ได้ให้ความสำคัญกับการใช้ปริมาณเงิน อัตราดอกเบี้ย ในการควบคุมการจัดการอุปสงค์และอุปทาน เพราะเชื่อว่า มีกลไกทางการเงินสามารถช่วยให้คนตัดสินใจเพิ่ม-ลด การบริโภค หรือ การผลิตได้ โดยรัฐบาลและธนาคารกลางเป็นผู้กำกับดูแล นั่นเป็นจุดเริ่มต้นของการที่ทุกคนให้ความสำคัญกับเงิน และเงินจึงหลายเป็นตัวแทนของความมั่งคั่ง
.
จากวันนั้น ถึงวันนี้ เป็นเวลาเกือบ 100 ปีที่ทุกประเทศต่างให้ความสำคัญกับจำนวนเงินในการบริหารทางเศรษฐกิจ จนสร้างเครื่องมือมาวัดความมั่งคั่งโดยเน้นการวัดด้วยปริมาณเงินเป็นหลัก เช่น GDP หรือผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ, NI หรือ รายได้ประชาชาติ, อัตราหนี้สาธรณะ, อัตราหนี้ควรเรือน, ตัวทวีของปริมาณเงิน, อัตราดอกเบี้ยนโยบาย, อัตราเงินเฟ้อเป้าหมาย เป็นต้น ทั้งหมดนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นการเพิ่มขนาดของ GDP ในแต่ละประเทศ และเพิ่มขนาดของ GDP per Capita หรือ รายไ้ด้ต่อหัว
.
เครื่องมือท่สำคัญที่ช่วยให้อัตราการเติบโตของรายได้เพิ่มขึ้นคือเงินเฟ้อ โดยนักเศรษฐศาสตร์ให้ข้ออ้างว่า เงินเฟ้อเป็นแรงจูงใจในการผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น และด้วยเงินเฟ้อนี้เอง ทำให้ระยะเวลา 100 ปีที่ผ่านสร้างอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ จะเดิมก่อนช่วง ปี 1900 มีอัตราการเติบโตเศรษฐกิจโลกโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 0.5-1.5% ต่อปี เป็น 3.5-5% ต่อปี และมีบางประเทศ สามารถสร้างเรื่องมหัศจรรย์ได้คือการเติบโตที่ 10% ขึ้นไปต่อปี ทั้งหมดนี้เป็นผลมาจากการใช้นยบายทางการเงิน ร่วมกับนโยบายการผลิต เพื่อเร่งให้เกิดการลงทุนโดยดารใช้กลไกทางการเงินเป็นสื่อกลาง
.
แต่อย่างไรก็ตาม ทุกอย่างย่อมมีการเปลี่ยนแปลง ตั้งแต่ปี 1999 อัตราเงินเฟ้อในโลกกลับลดลง อย่างมีนัยสำคัญ จากเดิมประมาณ 6-8% ลงมาเหลือ 2-3% ต่อปี สิ่งที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของอัตราเงินเฟ้อ ที่ลดลง เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของขนาดธุรกิจ การเข้ามาใหม่ของธุรกิจทั่วโลก รวมไปถึงการเกิดเทคโนโลยีใหม่ทางด้านพลังงาน ทำให้อัตราค่าพลังงานลดลง ดังนั้น ราคาสินค้าที่เกิดขึ้นจึงมีอัตราการเพิ่มขึ้นที่น้อยลง เพราะทุกคนต่างมุ่งเน้นการผลิตที่ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สุดท้ายราคาของสินค้าและบริการหลายๆ ไม่สามารถเพิ่มขึ้นได้ โดยเฉพาะอาหารสด แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีสินค้าทางเทคโนโลยีหลายๆ อย่าง และสินที่ที่มีแนวโน้มการผูกขาดยังสามารถเพิ่มราคาในแต่ละปีได้ แต่อย่างไรก็ตาม ราคาที่ถูกบีบให้ขึ้นน้อยมาก คือ ราคาของแรงงานไร้ฝีมือ และ กึ่งมีฝีมือ เพราะเป็นต้นอย่างแรกๆ ที่ภาคธุรกิจจะพยายามควบคุม เนื่องจาก เห้นว่า เป็นส่วนที่สร้างภาระทางต้นทุนมากที่สุด
.
วัฎจักรของเงินเฟ้อเริ่มถูกทำลาย เพราะการบีบของต้นทุน และราคาที่มีการแข่งขันจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนธุรกิจขนาดเล็ก โดยเแฑาะเมื่อเทคโนโลยีทำให้ธุรกิจขนาดเล็กสามารถแข่งขันกับธุรกิจขนาดใหญ่มากยิ่งขึ้น ดังนั้น การใช้การเติบโตของ GDP ที่มีการแฝงเอาไว้ด้วยอัตราเงินเฟ้อนั้น ไม่มีความแม่นยำในการวัดความมั่งคั่งของประชาชนอีกต่อไป
.
คำถามที่สำคัญว่า อะไรเป็นตัวสะท้อนความมั่งคั่งที่แท้จริงของมนุษย์
.
คำตอบนั้น ต้องย้อนกลับไปที่พื้นฐานที่แท้จริงของการสร้างสังคมมนุษย์ สิ่งนั้นคือความมั่นคงทางการใช้ชีวิต ของมนุษย์ ความปลอดภัยในการใช้ชีวิต ความสามารถในการหาพลังงานในการดำรงชีวิต การรักษาสุขภาพร่างกายและจิตใจของมนุษย์ให้มีความสุข กล่าวรวมๆ คือ การกินดีอยู่ดี ภายในบริบทของเทคโนโลยีขนาดใหญ่ นั่นหมายความว่า เงินเฟ้อ กลับไม่มีประโยชน์อย่างแท้จริงในการพัฒนาเศรษฐกิจ
.
ผู้จัดทำนโยบาย ต้องเปลี่ยนแนวคิดในการพัฒนาเศรษฐกิจ และมีความชัดเจนในการมุ่งหาการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างทางเศรษฐกิจสังคมในระยะยาว ต้องเฉียบคมในการอ่านภาพอนาคตต่อการเปลี่ยนแปลงที่ระบบการเงินไม่มีความสำคัญที่สุดของชีวิตมนุษย์ เงินกลับกลายเป็นแค่เครื่องมือช่วยในการแลกเปลี่ยนความมั่งคั่งของมนุษย์เท่านั้น
.
สิ่งเหล่านี้จะมาอยู่ในรูปแบบของเงินดิจิตัล ที่มีหลายๆ ค่ายกำลังพยายามสร้างขึ้นมา นั้นหมายความว่า การก้าวข้ามการบริหารเงินกำลังจะเกิดขึ้น และการแลกเปลี่ยนความมั่งคั่งหรือความกินดีอยู่ดีนั้น จะทำได้ง่ายขั้นด้วยเทคโนโลยี อุปสงค์และอุปทานต่างๆ จะพบกันได้ง่ายขึ้น ผ่านทางเทคโนโลยีการสื่อสารดิจิตัลที่กำลังทวีความเข้มข้นในการพัฒนาไปมากยิ่งขึ้น
.
เงินเฟ้อ GDP ปริมาณเงิน จึงไม่ใช่เครื่องมือที่เป็นหัวใจในการพัฒนาเศรษฐกิจที่สำคัญอีกแต่ไป หากวันนี้ ในปี 2020 กำลังอยู่ในช่วงของการเปลี่ยนถ่ายตัวกลางในการแลกเปลี่ยนความมั่งคั่งของโลก
.
.
ดร.นารา กิตติเมธีกุล
พูดคุยกับผู้เขียนได้ที่
Facebook Page Dr.Nara Kittimetheekul
https://www.facebook.com/DrNaraKittimetheekul
รับให้คำปรึกษา ด้านการพัฒนาตนเอง การพัฒนามนุษย์ การออกแบบระบบการทำงาน
การวิจัยการตลาด การปรับ Mindset เพื่อความสุขและความสำเร็จ
วันจันทร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2563
เมื่อ โควิด-19 ทำให้รู้ว่า GDP ไม่ได้วัดความมั่งคั่งได้อีกต่อไป
เมื่อเกิดการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ทั่วโลกต่างหยุดชะงักทั้งทางด้านการเดินทาง กิจกรรมต่างๆ และสภาวะเศรษฐกิจ สาเหตุหลักๆ คือ มนุษญ์ไม่สามารถเดินทาง และมาพบปะกันได้ การเกิดกิจกรรมทางกายภาพจึงต้องหยุดไปอย่างทันที ธุรกิจจำนวนมากที่ไม่สามารถปรับตัว ปรับเปลี่ยนได้ ก็ประสบปัญหาทางธุรกิจ
.
หากมาคิดให้ลึกลงไปการเกิดปัญหาสภาวะเศรษฐกิจนั้นคือ การที่คน ธุรกิจ และประเทศมีปริมาณเงินหมุนเวียนน้อยลง หรือบางแห่งอาจะถึงขั้นไม่มีเลย เพราะไม่สามารถมีธุรกรรมแลกเปลี่ยนในทางเศรษฐกิจที่เอาเงินเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนได้
.
การปรับตัวของประเทศ ที่ไม่ได้มีพื้นฐานทางการเกษตร ก็กลับมาเน้นการบริโภคภายในประเทศ หรือเรียกให้เข้าใจได้ง่ายกว่านั้นคือ การผลิตเองใช้เองภายในประเทศ การสร้างบริการเองในประเทศ และการท่องเที่ยวในประเทศ จะสังเกตุได้ว่า ประเทศที่มีฐานการผลิตในประเทศที่แข็งแกร่ง ที่สามารถผลิตสินค้าและบริการต่างๆ เพื่อสนองความต้องการของประชาชนในประเทศได้มากเท่าใด ประเทศเหล่านั้น ได้รับผลกระทบไม่หนักเท่ากับประเทศที่ต้องอาศัยการส่งออกเป็นหลัก หรือ การท่องเที่ยวแต่เพียงอย่างเดียว โดยเฉพาะประเทศที่มีการท่องเที่ยวในสัดส่วนที่สูงเมื่อเทียบกับรายได้ของประเทศ (ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาติ : GDP)
.
ความเปราะบางหรือความสามารถในการทนรับกับวิกฤติของประเทศได้คือ ประเทศสามารถเลี้ยงตัวเอง และมีความมั่นคงทางอาหารขนาดไหน หรือจำเป็นต้องพึ่งพาการเคลื่อนไหวของเงินและผู้คนจากต่างประเทศเป็นหลัก หากพิจารณาง่ายๆ คือ เมื่อประเทศต้องปิดประเทศลงแล้ว ประชาชนอดอยากขนาดไหน อาหารที่สามารถนำมาหล่อเลี้ยงประชาชนนั้น เพียงพอขนาดไหน กลุ่มประเทศที่มีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจภายในเช่น จีน เยอรมัน เป็นต้น เพราะเป็นประเทศที่ที่มีทั้งอุตสาหกรรม การเกษตร และสามารถพึ่งพาตัวเองได้แม้ว่าไม่สามารถเดินทางไปมาหาสู่กันได้ ส่วนประเทศที่มีความเปราะบางมาก อย่างเช่น มัลดีฟส์ ที่รายได้ส่วนใหญ่ เป็นรายได้จากการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวต่างชาติ และมีการเกษตรในขนาดที่เล็กมาก จนต้องนำเข้าอาหารส่วนใหญ่มาจากอินเดีย และบังคลาเทศ
.
ในอีกกลุ่มประเทศที่มีพื้นฐานของประชากรส่วนใหญ่อยู่ภาคการเกษตร กลุ่มประเทศเหล่านี้ ก็มีการปรับลดลงของ GDP เช่นเดียวกัน เพราะยังคงมีบางส่วนที่อาศัยการแลกเปลี่ยนสินค้าโดยการใช้ตัวเงินเป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยน แต่ประเทศเหล่านี้ กลับมีความมั่นคงทางอาหาร เพราะสามารถผลิตอาหารเองได้ กลุ่มประเทศเหล่านี้ แม้ว่าประชาชนอาจจะไม่มีใช้สินค้าบางประเทศ แต่ก็ยังมีกิน เพราะสามารถผลิตอาหารที่มีความหลากหลายได้ในประเทศของตัวเอง อย่างประเทศ CLMV หรือประเทศที่มีระบบค่อนข้างปิดตัวเองอยู่แล้ว อย่างเช่น ภูฏาน (Bhutan) เป็นประเทศที่ไม่ได้พึ่งพา GDP เป็นเครื่องมือชี้วัดหลักในการพัฒนาประเทศ แต่กลับใช้ GHP เป็นดัชนี้ชี้วัดการพัฒนาประเทศ
.
นอกจากการปรับตัวของภาคธุรกิจแล้ว ยังมีการปรับตัวเพื่อการเอาตัวรอดของผู้คนคือการประหยัดและทำการผลิตสินค้าต่างๆ เพื่อการบริโภคด้วยตัวเองมากขึ้น เหตุการณ์แบบนี้เรียกว่า Procumer ผลิตเพื่อการบริโภค มาจากคำว่า Produce และ Consumer เช่น การปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ เพื่อการบริโภคในครัวเรือน เป็นการลดค่าใช้จ่าย หรือการ ลงมือซ่อมบ้าน สร้างเครื่องใช้ในบ้านด้วยตัวเอง การทำอาหารเอง อย่างเช่นที่ผ่านมา ในประเทศไทย หม้อทอดไร้น้ำมัน ขายดีมาก เพราะทุกคนหันมาทำอาหารเองที่บ้าน
.
ผลกระทบของ Procumer ที่มีต่อระบบเศณษฐกิจ คือ การลดลงของ GDP เนื่องจากประชาชนมีการบริโภคโดยไม่ได้ใช้เงินเป็นสื่อกลางมากขึ้น แต่กลับมีการเพิ่มขึ้นของความมั่งคั่ง เพราะประชาชนสามารถบริโภคได้มากขึ้นเพราะไม่ต้องใช้เงิน นั่นหมายความว่า จะเกิดความย้อนแย้งของระบบเศรษฐกิจ 2 ระบบในสังคมเดียวกัน โดยเฉพาะในประเทศที่อาศัยระบบการวัดความมั่งคั่งด้วย GDP เป็นหลัก ความย้อนแย้งนี้จะเกิดขึ้นอย่างชัดเจนในะระบบการเงิน และสถาบันการเงิน เพราะเป็นหน่วยงานที่เป็นตัวกลางของการแลกเปลี่ยนด้วยเงิน และ กระตุ้นการเติบโตด้วยการเพิ่มปริมาณการหมุนเวียนของเงิน (หากใครสงสัยให้กลับไปดูเรื่องการเพิ่มปริมาณจากการปล่อยสินเชื่อในวิชาเศรษฐศาสตร์มหาภาค)
.
ความท้าทายของการดูแลระบบเศรษฐกิจในยุคหลังจากนี้ไป ผู้คนเริ่มมีแนวคิดที่เปลี่ยนแปลงไปจากการพึ่งพาการเงิน เพียงอย่างเดียว ไปสู่การเข้าสู่ภาคการผลิตในครัวเรือนมากยิ่งขึ้น ดังนั้น การออกแบบความสามารถและทักษะของคนในประเทศ ถึงเวลาแล้วที่ต้องออกแบบให้สามารถทำได้หลายอย่างในคนคนเดียว และมีอย่างน้อย 1 อย่างที่เก่งกว่าคนอื่น หมายความว่า ระบบการศึกษาต้องมีการออกแบบใหม่ โดยการให้การศึกษาในระบบ เป็นการสร้างความสามารถที่รอบด้าน และเสริด้วยการศึกษานอกระบบที่ให้เกิดความสามารถที่โดดเด่นมายิ่งขึ้น เพื่อเตรียมความพร้อมในการเปลี่ยนแปลงการผลิต จากการมุ่งเน้นการผลิตแต่เพียงอย่างเดียว เพื่อทำให้เกิดการประหยัดต่อขนาด ไปสู่การผลิตหลายอย่าง และสร้างการประหยัดในการผลิตจากประสิทธิภาพแม้ว่าจะมีการผลิตแต่เพียงน้อยชิ้นก็ตาม
.
ทิศทางขององค์กรธุรกิจ จะมีขนาดเล็กลง มีความเป็นอิสระสูงขึ้น และมีการรวมตัวในรูปแบบของพันธมิตรมากกว่า การจัดตั้งเป็นองค์กรเดียวมากขึ้น เพราะทุกคน จะผันตัวมาเป็นหน่วยการผลิตมากขึ้น ส่วนเรื่องการแลกเปลี่ยนนั้น มีแนวโน้มในการแลกเปลี่ยนด้วยตัวสินค้า เทคโนโลยี และแรงงานโดยตรงมากขึ้น มากกว่า แลกเปลี่ยนด้วยสินค้า ผู้คนจะเริ่มวัดมูลค่าของสิ่งที่มาแลกเปลี่ยนน้อยลง แต่กลับมีคำว่าช่วยๆ กันมากขึ้น เช่น การทำงานเพื่อแลกกับเครือข่ายทางธุรกิจ การทำงานเพื่อแลกกับการประชาสัมพันธ์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่สามารถวัดมูลค่าได้ และที่สำคัญ ต้นทุนของผู้ให้ กับมูลค่าของผู้รับ ไม่เท่ากัน
.
ระบบการวัดการเติบโตทางเศรษฐกิจ ไม่อาจวัดได้ด้วย GDP แต่เพียงอย่างเดียวได้อีกต่อไป สังคมกลับมีมิติของความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ทรัพย์สินที่มีตัวตนจะน้อยลง ไปเป็นการแฝงเอาไว้กับทรัพย์สินชนิดอื่นๆ มากยิ่งขึ้น เช่น สำนักงานจะมีน้อยลง กลับไปใช้ร่วมกับ พื้นที่ในบ้าน ร้านกาแฟ หรือ ห้องสำนักงานให้เช่าชั่วคราวรายชั่วโมง มากขึ้น ดังนั้น มิติการวัดของการเติบโตทางเศรษฐกิจ คงตั้งวัดที่ตัวความมั่งคั่งที่แท้จริงดังต่อไปนี้มากกว่า GDP
1. มูลค่าทรัพย์สินรวมรวมสุทธิภาคประชาชน หรือ ปริมาณเงินของภาคประชาชนหักด้วย หนี้ภาคประชาชน
2. มุลค่าทรัพย์สินรวมสุทธิภาคธุรกิจ หรือ ปริมาณทรัพย์สินของภาคธุรกิจหักด้วยหนี้ภาคธุรกิจ
3. ปริมาณพลังงานสุทธิในการบริโภค หรือ จำนวนพลังงานเฉลี่ยต่อคนต่อวันในการรับเข้าร่างกาย เทียบกับปริมาณพลังงานที่ต้องใช้ไปในแต่ละวัน ไม่รวมการออกกำลังกายเพื่อการลดน้ำหนัก
4. มูลค่าปัจจุบันสุทธิในการศึกษา หรือ ความสามารถในการหาคุณค่าในชีวิตเมื่อเทียบกับการลงทุนเพื่อการศึกษาและการพัฒนาตัวเอง
ทั้งหมดนี้เพื่อเป็นการประเมินร่วมกับ GDP ของประเทศ เป็นการวัดความมั่งคั่งของมนุษย์ในอีกมุมมองที่มีความลุ่มลึกมากยิ่งขึ้น
.
นอกจากนั้น การออกแบบระบบการผลิตในประเทศ ของแต่ละประเทศ ต้องสร้างให้มีการกระจายตัวอย่างสมดุล โดยมีบางอุตสาหกรรมเป็นแกนหลักในการค้ำจุนระบบเศรษฐกิจ ที่มีความเข้มแข็ง ไม่พึ่งพาภาคอุตสาหกรรมใดใด มากจนเกินไปอีก เช่น เรื่องของการท่องเที่ยว ก็ควรต้องมีการกระจายความเสี่ยงของกลุ่มนักท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศ มีการเชื่อมโยงกับภาคอื่นที่เป็นแกนหลักของท้องถิ่น
.
หรือการพัฒนาภาคการเกษตร หากแก้ปัญหาเฉพาะด้านราคา ก็จะกลายเป็นปัญหาที่วนเวียนกลับมาในอนาคตอีก เพราะราคานั้น ขึ้นลงตามสภาพของตลาด หรือเจ้าตลาด ดังนั้น การสร้างระบบการเกษตรที่มีความเข้มแข็งก็เป็นการลดต้นทุนการผลิต และความคุ้มค่าของการผลิตต่อแรงงานด้านการเกาตร 1 คน นั้นหมายความว่า การเพิ่มความมั่งคั่งของเกาตร 1 รายกลับเป็นเรื่องสำคัญมากกว่า การพยุงราคาผลผลิตเกษตร
.
นี่คือโจทย์ที่รัฐบาลทุกประเทศต้องขบคิด หากมากดีดีในอีกมุมหนึ่ง พบว่า นี่คือ Disruption ของภาครัฐที่จะอยู่ในตำแหน่ง หรือจะไป อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางสังคมที่ไม่ได้มาจากแต่เศรษฐกิจแต่เพียงอย่างเดียว
ดร.นารา กิตติเมธีกุล
พูดคุยกับผู้เขียนได้ที่
Facebook Page Dr.Nara Kittimetheekul
https://www.facebook.com/DrNaraKittimetheekul
รับให้คำปรึกษา ด้านการพัฒนาตนเอง การพัฒนามนุษย์ การออกแบบระบบการทำงาน
การวิจัยการตลาด การปรับ Mindset เพื่อความสุขและความสำเร็จ
วันเสาร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2563
การปรับตัวของแรงงานไทยในนิวนอร์มอล
#เผื่อใครจะได้เห็น แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจประเทศไทย ตอนที่ 2 #บทความนี้ตั้งใจไม่มีรูป
วันอังคารที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2563
ช่วงว่างของการพัฒนาเศรษฐกิจไทย
#เผื่อใครจะได้เห็น เสนอแนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจของไทย #บทความนี้ตั้งใจไม่ใส่รูป
.
หลายๆ คนบอกว่าเราต้องใช้การท่องเที่ยวเป็นตัวกระตุ้นเศรษฐกิจ มันก็ถูก
.
หลายคนบอกว่าเราต้องใช้เทคโนโลยีดิจิตัล มาเสริมสร้างความแข็งแกร่ง นั่นก็ใช่
.
หลายคนบอกว่า เราต้องทำภาคการเกษตรให้มีมูลค้าสูง อันนี้ก็ดี
.
แต่จากประสบการณ์ที่มี สิ่งที่เห็นของระบบอุตสาหกรรมไทย ซื้อเป็นภาคใหญ่มากอีกภาคหนึ่งของไทยที่แบบจะไม่ได้ยินคนกล่าวถึงมากนักนอกจากการส่งเสริมการลงทุน
.
ผมได้เห็นประเด็นเรื่องการพัฒนาเครื่องจักร และอุปกรณ์ในภาคอุตสาหกรรมที่ประเทศไทยแทบไม่มีการผลิตของตัวเองเลย เอาใช้เครื่องมือเกือบทุกอย่างจากต่างประเทศ เช่น รถขุด เครื่องปั่นไฟ กล้องสำรวจ เครน เครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตอีกจำนวนมากในทุกอุตสหากรรม เครื่องบรรจุอาหาร โรงสีข้าว เครื่องบรรจุขวดน้ำอัดลม เป็นต้น
.
สิ่งที่พอจะเห็นได้บ้างว่าเป็นของไทย จะเป็นพวกอุปกรณ์ต่อพ่วง ที่ไม่ได้ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงมากนัก เช่น รถพ่วงท้าย ยางรถบรรทุก
.
เหตุการณ์นี้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า การส่งเสริมห่วงโซ่อุปทานของไทย ยังไม่ครบ สายโซ่คุณค่าของการผลิต จึงไม่ต้องแปลกใจเลยว่า ทำไมประเทศไทยผลิตสินค้าคุณภาพดีได้ แต่ผลิตสินค้าล้ำหน้าคนอื่นไม่ได้
.
เพราะว่า เราต้องรอเทคโนโลยีการผลิตจากต่างประเทศ นั่นหมายความว่า ประเทศอื่นก็ผลิตได้เหมือนกัน เพียงแต่ไทยเราทำได้ดีกว่า
.
ฝากถึงคนที่อ่านถึงจุดนี้
.
ใครที่เกี่ยวข้องในการส่งเสริมทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นภาคการเกษตร อุตสาหกรรมครัวเรือน อุตสาหกรรมเบาอุตสาหกรรมหนัก อะไรก็แล้วแต่ ช่วยหันมาส่งเสริมการสร้างเครื่องมือ เครื่องจักรการผลิตให้มีเทคโนโลยีของตัวเอง
.
อย่างในประเทศจีน ประเทศที่เคยยากจน วันนี้กำลังก้าวเป็นผู้นำอุตสาหกรรมโลก เพราะเค้าตั้งเป้าว่าต้องผลิตเองได้ทุกอย่าง มีเครื่องจักรของตัวเองที่รองรับการผลิตในทุกเทคโนโลยีที่มี แม้ว่าจะเริ่มจากการเลียนแบบ แต่วันนี้ เค้าไปไกลจนคนอื่นต้องมาใช้สินค้าของเขาแล้ว
.
อย่างอุตสาหกรรมรถยนต์ วันนี้จีนมุ่งไปสู่การเป็นเจ้าของรถ EV ผมเองไม่กล้าที่จะเรียกว่ารถยนต์แล้ว เพราะไม่มีเครื่องยนต์ ตอนนี้จีนมียี่ห้อหลากหลาย ออกแแบได้ล้ำหน้า
.
หากย้อนกลับไป 5 ปี ตอนนั้นยังไม่มี รถไฟฟ้า แต่จีนมุ่งพัฒนาหลอด LED เป็นอย่างมาก จนราคาถูก ผลิตได้เองในประเทศ และผลิตเครื่องจักรได้เองในประเทศ วันนี้หลอด LED กลับเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของรถไฟฟ้า เพราะกินไฟน้อย มีความสว่างสูง ประหยัดพลังงาน
.
มามองประเทศไทย เราเองยังหาทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมไม่ชัดเจน และยังไม่เคยเจอแผนการพัฒนาอุตสาหกรรมที่พูดถึงการเริ่มจากต้นน้ำ คือวัตถุดิบ และเครื่องจักรการผลิต จนถึงกลางน้ำคือคนที่มีความสามารถสูงในการผลิต และปลายน้ำคือการสร้างตลาดในประเทศ
.
#ฝากไว้เผื่อได้เห็น
.
หรือถ้าใครเห็นว่าสิ่งนี้เป็นสิ่งที่ช่วยประเทศชาติได้ ช่วนแชร์ส่งต่อ ไปให้ถึงคนที่เกี่ยวข้อง
.
หากประเทศเห็นคุณค่าของผม ผมยินดีเข้าไปช่วยในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
ดร.นารา
วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2563
หลังวิกฤตินาทีทองแห่งการเปลี่ยนแปลงของผู้นำ
วันจันทร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2563
เมื่อมหาวิทยาลัยต้องนิยามตัวเองที่เปลี่ยนแปลงไป ใน New Normal
แต่สิ่งที่เกิดขึ้นกลับเป็นเรื่องที่ตรงกันข้าม เมื่อตลาดงานกลับบอกว่า มหาวิทยาลันยผลิตบัณฑิตมาไม่ตรงต่อความต้องการ จบมาแล้วเอามาใช้งานจริงไม่ได้ ต้องทำการฝึกงานต่ออีก 6 เดือน ถึงสามารถเอามาทำงานได้ และไม่แน่ใจด้วยว่า การฝึกงานที่สถานประกอบการด้วยการจ้างเด็กจบใหม่เข้าไปทำงานแล้วเขาจะอยู่กับสถานประกอบการในระยะยาวหรือไม่ ทำให้หลายๆ ไม่อยากรับบัณฑิตจบใหม่เข้ามาทำงาน เพราะอัตราการลาออกสูงจนเป็นคำพูดว่า เด็กจบใหม่ทำงานไม่ทน ฝึกได้พอเป็น ก็ไปทำงานที่อื่น ไม่คุ้มกับการจ้างงาน
ในขณะเดียวกัน กลับเริ่มมีปรากฎการณ์ที่เรียกว่า ไม่มีปริญญาหาหางานทำได้ มีรายได้ตั้งแต่เรียนหนังสือ ขอให้เก่งอะไรสักอย่าง ไม่ต้องไปสนใจว่าจะเรียนมาแบบไหน จบอะไรมา ขอแค่ชัดเจนว่าทำอะไรเป็น ทำอะไรเก่ง และเป็นที่ต้องการของสังคม ก็สามารถหาเงินได้ มีคนจำนวนมากมีความใฝ่ฝันที่จะเป็นยูทูบเบอร์ อัดวีดีโอออกอากาศด้วยตัวเอง หลายคนบอกว่า ต้องเขียนแอพดีๆ ก็สามารถหาเงินได้ มหาวิทยาลัยไม่จำเป็นต้องไปเรียนอีกต่อไป
ในความเป็นจริงนั้น เป็นจริงส่วนหนึ่ง แต่ไม่ใช่ความจริงทั้งหมด
ระบบการศึกษาตามระบบการให้ปริญญานั้น จำเป็นต้องมีการปรับตัว เพราะบางหลักสูตรไม่สามารถหางานได้ในสังคมปัจจุบัน แต่ไม่ได้หมายคามว่า วิชานั้นๆ จะไม่มีคุณค่าต่อโลกอีกต่อไป กลับกลายเป็นว่า คนในยุคใหม่ ต้องมีความรู้ความสามารถอยู่รอบด้าน และมีความโดดเด่นอย่างน้อย 1 ด้าน ต่างหาก การเรียนในมหาวิทยาลัยไม่ใช่จุดสิ้นสุดของการเรียน แต่กลับเปลี่ยนแปลงกลายเป็นจุดเริ่มต้นของการเรียนที่ต้องส่งเสริมให้คนเกิดการเรียนรู้และเข้าใจวิธีการหาความรู้ใส่ตัวเอง จนไปถึงวิธีการสร้างความรู้ให้กับตัวเองและกับสังคม
มหาวิทยาลัยในบทบาทใหม่ ไม่ใช่แต่เพียงผลิตบัณฑิตเข้าสู่ตลาดงานที่มีคุณภาพ แต่ต้องเป็นผู้ที่ผลิตผู้ใฝ่รู้และกระตือรือร้นในการพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา เป็นผู้ที่มีความยืดหยุ่นในการปรับตัวต่อสถานการณ์ และยังสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลที่มีประโยชน์ที่สามารถนำมาวิเคราะห์ได้อย่างเป็นระบบ
มหาวิทยาลัยต้องมีบทบาทในการสร้างความรู้ใหม่ๆ ที่คนในสังคมเข้าถึงได้โดยง่าย เป็นรูปแบบที่สร้างประโยชน์ให้กับสังคม มากกว่างานวิจัยที่เน้นการตีพิมพ์ และเป็นแหล่งที่ถ่ายทอดความรู้เข้ากับสังคม
ในการถ่ายทอดความรู้เข้ากับสังคมนั้น หมายถึงใครก็ได้มีสิทธิที่จะเรียนในสถาบันของมหาวิทยาลัย วิชาอะไรก็ได้ และหัวข้อไหนก็ได้ มหาวิทยาลัยต้องมีการเปิดกว้างมาเพียงพอในการส่งเสริมการยกระดับความรู้ให้กับทุกคนในสังคม ดังนั้น มหาวิทยาลัยจึงไม่ใช่สถาบันการศึกษาเพียงอย่างเดียวอีกต่อไป แต่กลับต้องเป็น สถาบันแห่งการเรียนรู้ที่มีองค์ความรู้ที่ถูกต้อง มีคุณค่า และเข้าถึงได้ง่ายของคนในสังคม
มหาวิทยาลัย จึงมีความหมายที่ยิ่งใหญ่มากกว่าการเรียนการสอน และการวิจัย แต่เป็นแหล่งที่ความรู้ทั้งมวลจะต้องเข้ามารวมอยู่ในที่แห่งเดียวกันนี้ เพื่อให้โลกเกิดการพัฒนา มหาวิทยาลัย ไม่ควรปล่อยให้แหล่งความรู้ที่อื่น มีบทบาทในการสร้างความรู้แบบที่ไม่ได้ถูกกลั่นกรองด้วยกระบวนการ หรือมโนทรรศที่น่าเชื่อถือ การที่สังคมเกิดเหตุการณ์เยาวชนรุ่นใหม่ ไม่เชื่อถือระบบในมหาวิทยาลัย และไปแสวงหาความรู้จากแหล่งอื่นๆ จนเกิดความเชื่อว่า ไม่ต้องเรียนมหาวิทยาลัยก็ได้ เพราะคนสมัยนี้ หาเงินได้โดยไม่ต้องจบมหาวิทยาลัย นั่นเป็นเรื่องที่อันตรายเป็นอย่างมากในการพัฒนาประเทศและการพัฒนาความสามารถของคนในประเทศ
การที่คนออกไปศึกษาเองจากข้างนอกนั้น เป็นเรื่องที่ดี เพราะเกิดจากความใฝ่รู้ของคน แต่มีไม่กี่ที่ทำได้ เพราะต้องอาศัยความตั้งใจจริง แต่จะมีคนจำนวนหนึ่งที่ไม่สามารถไปถึงเป้าหมายแห่งการเรียนรู้ได้ เพราะเกิดการศึกษาแบบที่ไม่เป็นระบบ หรือแบบแผนของการศึกษา ขาดผู้ชี้แนะที่ถูกต้อง ในท้ายที่สุด จะเกิดผลเสียมากกว่าผลดี เกิดการพัฒนาที่ผิดๆ มากกว่า ขณะเดียวกัน การศึกษายังช่วยส่งเสริมที่การวิจัยในทางเทคนิคขั้นสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางวิทยาศาสตร์ วิทยาการ และการทดลอง เนื่องจากการที่บุคคลทั่วไปจะสามารถทำการทดลองขั้นสูงได้ ต้องมีทุนส่วนตัวจำนวนมากเพื่อสร้างห้องทดลองเพื่อการศึกษา นั่นคือข้อได้เปรียบของมหาวิทยาลัย ที่มีทุนทางการสร้างองค์ความรู้อยู่เป็นจำนวนมาก
มหาวิทยาลัยต้องเปลี่ยนแปลงตัวเอง ตั้งแต่ระบบ ไปถึงอาจารย์ เปลี่ยนแปลงบทบามการเรียนการสอน การได้อันดับโลก ไปสู่การสร้างคุณค่าแห่งการพัฒนาประเทศ เปลี่ยนแปลงวิธีการทำงาน เปลี่ยนแปลงวิธีการถ่ายทอดความรู้ เปลี่ยนแปลงทักษะที่จำเป็นของบุคลากรในมหาวิทยาลัย และเปลี่ยนแปลงผลผลิตของมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยไม่ได้ผลิตหลักสูตร แต่มหาวิทยาลัย เป้นผู้ผลิตความรู้ที่สังคมไม่สามารถผลิตได้ เป็นความรู้ที่มีประโยชน์และบริสุทธิ์
เมื่อมหาวิทยาลัยต้องนิยามตัวเองที่เปลี่ยนแปลงไป ใน New Normal
วันศุกร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2563
การสร้างความคิดทางบวกเพื่อคลายเครียดเมื่อต้อง Work From Home
.
.
ความเครียดเกิดจากสมการได้ง่ายๆ ให้เข้าใจแบบนี้
.
ความเครียด = ความไม่สมหวัง + ระดับการยึดติดกับสถาการณ์เดิม
.
ดังนั้น การจัดการความเครียด ให้จัดการตัวเองใน 2 เรื่อง คือเรื่องของความคาดหวัง และการปรับตัว
.
.
1) การจัดการความคาดหวัง ให้เราเข้าใจเรื่องการเปลี่ยนแปลงเสียก่อนว่า ทุกอย่างไม่เหมือนเดิม เราไม่สามารถยึดติดกับเรื่องความคาดหวังเดิมได้ แต่ให้มองทรัพยากรที่มี และโอกาสที่เราพบว่า เราได้อะไรจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ให้เรามองสิ่งที่ได้ มากกว่าสิ่งที่เรา (เคย) ต้องการ คำว่าได้ในที่นี้ เช่น ได้ เวลาในการดูแลตัวเอง ได้โอกาสในการทำในสิ่งที่อยากทำ ได้เวลาฟื้นฟูสุขภาพของตัวเอง ได้ทำอาชีพใหม่ๆ ที่เราเองไม่เคยมีเวลาทำเลยเมื่อต้องทำงานอยู่ที่ทำงานทุกวัน วิธีการนี้ช่วยให้เราได้เปลี่ยนแปลงจุดสนใจจากที่เราสูญเสีย ไปสนใจจุดที่ได้ จากการเปลี่ยนแปลง ทำให้สมองของเราทำงานได้ดีขึ้นและมีความสุขมากขึ้น
.
.
เมื่อเราจัดการความคาดหวังได้ นั่นคือ เราสามารถเปลี่ยนความคาดหวังเดิมที่ไม่สามารถทำได้เพราะสถาการณ์เปลี่ยนแปลงไปแล้ว เป็นการตั้งเป้าหมายใหม่ ของสิ่งที่มี เราสามารถทำอะไรได้บ้างในสิ่งที่มี และเราจะทำให้ตัวเองมีอะไรดีๆ เกิดขึ้นในแต่ละวันของเรา
.
.
2) ใส่ความขี้เล่นลงไปในชีวิต ทำตัวให้เหมือนเด็กๆ ในแค่ละวัน เด็กไม่คิดอะไรมาก จับอะไรก็ได้มาเล่นแบบไม่อายใคร ในฐานะเป็นผู้ใหญ่ ก็สามารถเล่นได้เหมือนกัน เพียงแต่เล่นกันงาน เล่นกับสิ่งที่ทำอยู่ ใส่ความคิดสนุกๆ (ที่มีขอบเขต และไม่ทำให้ใครเดือดร้อน) ลงไปในการทำงานแต่ละวัน ยิ่งเราวางกรอบให้ตัวเองเท่าไหร่ เรายิ่งเครียดมากขึ้นเท่านั้น จัดการตัวเองผ่านการเล่นๆ
.
.
3) อย่ามโนในสิ่งที่ยังไม่เกิด แต่ให้เราอยู่กับข้อมูลที่เชื่อถือได้จริง เพราะยิ่งเรามโนอยู่กับสิ่งที่ยังไม่เกิดมากเกินไป โดยส่วนใหญ่จะรับเอาข้อมูลจากข่าง และโซเชียลมาใส่ตัวเรามาเกินไป โดยเฉพาะคนที่อ่านข่าวแบบใส่อารมณ์จัดเต็ม เราจะยิ่งเครียด สิ่งที่เราต้องทำจริงๆ คือ รับข้อมูลพร้อมเหตุผลของข้อมูลที่วิเคราะห์แล้วเป็นจริงได้
.
.
4) ขยับตัวบ้าง ด้วยการหาอะไรทำใหม่ๆ การขยับตัว เป็นเทคนิคการลดความเครียด ยิ่งเรานั่งเฉยๆ ไม่มีการเคลื่อนไหว ร่างกายยิ่งเคลียด ยิ่งไม่มีพลัง ยิ่งท้อแท้ การขยับตัวด้วยการทำอะไรใหม่ๆ เป็นการช่วยให้เราก้าวข้ามการยึดติดกับสิ่งเดิมๆ ให้สามารถเปลี่ยนมุมมองของเราได้
.
.
5) ใช้คาถา 2 คาถา กับเรื่องราวที่เกิดขึ้น คือ "อ้อเหรอ" กับ "ก็ดีนะ" คำว่า อ้อเหรอ ใช้เมื่อเราเจอสถาการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น มีคนคิดไวรัสอยู่บ้างบ้้าน ให้เราพูดออกมาเลยว่า อ้อเหรอ เพื่อเป็นการหยุดอารมณ์ของเราก่อน ไม่งั้น สมองของเราจะวิ่งพล่านไปหมด ทำให้เราเสียสติ เสียสมาธิ และไม่สามารถควบคุมตนเองได้ชั่วขณะจนกว่า สติจะมา และเมื่อเราตั้งสติได้แล้ว ให้ใช้คาถาที่ 2 คือ ก็ดีนะ แล้วหใ้เหตุผลว่า เหตุการณ์นี้ เราได้อะไร จากการยกตัวอย่างว่า เมื่อเราพบว่าคนข้างบ้านติดไวรัส ก็บอกว่า ก็ดีนะ เราจะได้ไปตรวจให้ชัดๆ เลยว่า เรายังติดไวรัสอยู่มั้ย หายสงสัยสักที (เพราะปกติถ้าไม่ใช่คนเสี่ยงติดโรค โรงพยายาลไม่ตรวจสอบให้)
.
.
6) ทำความเข้าใจกับการเปลี่ยนแปลง เพราะว่า เมื่อโลกเปลี่ยนแปลงไป เราทำผลเหมือนเดิม แต่จะไม่ได้ผลตามเดิม เมื่อเราเข้าใจสัจธรรมของโลกแล้ว เราก็เล่มสนุกกับการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ในวิธีการชีวิตและการปรับตัวใหม่ๆ ของเราไปสู่การสร้างความสุข สร้างผลงาน สร้างรายได้ของตัวเองในวิธีการใหม่ๆ ได้อีก
.
.
7) อย่าอุดอู้อยู่คนเดียว ใช้เทคโนโลยีคุยและติดต่อกับคนอื่นด้วย ช่วยสร้างอะไรใหม่ๆ ชวนทำงานด้วยกัน ชวนกันเล่น แต่สิ่งที่ไม่ควรทำคือชวนกันวิพากษ์วิจารย์คนอื่น รวมถึงรัฐบาล เพราะการวิพากษ์วิจารย์จะเต็มไปด้วยข้อมูลเชิงลบ ถ้าไม่มีข้อมูลและความคิดเชิงลบ เราจะไม่จับกลุ่มวิจารณ์หรอก จริงๆ ไม่ใช่วิจารณ์ แต่เป็นการนินทาและการบ่น เดี๋ยวนี้ เรายังสามารถคุยกับตัวเองให้โลกเห็นได้เยอะแยะ เช่นการทำคลิป การไลฟ์สด ก็ช่วยให้เรามีความสุข ลดความเครียดลงได้เช่นกัน
.
.
8) ขอบคุณตัวเองในทุกๆ วัน ขอบคุฯการที่เรายังมีชีวิตอยู่ ขอบคุณที่เราสามารถมีอาหารทาน ขอบคุณที่เรายังไม่เสียชีวิต ขอบคุณที่เราได้พบน้ำใจจากคนรอบข้าง ขอบคุณตัวเราเองที่ยังเข็มแข็ง ให้เราขอบคุณแบบไม่ต้องอายใครเลย เพราะจะสร้างกำลังใจให้เราสามารถสร้างความสุขให้เราได้
.
.
9) ตั้งเป้าหมายในการเรียนรู้และพํ?นาตนเองในแต่ละวัน โดยที่เราต้องบอกตัวเองว่า เราจะเก่งอะไรขึ้นอีกในแต่ละวัน เราสามารถทำอะไรใหม่ๆ ที่มีประโยชน์ให้เราได้เองในแต่ละวัน สิ่งนี้จะช่วยให้เรามีการจดจ่อในการทำงาน การพัฒนาตนเอง และเป้าหมายนี้ให้เป็นเรื่องใหม่ๆ ของชีวิต โดยที่เป็นเป้าหมายที่ทไให้เราสามารถปรับตัวเองให้เข้ากับสถาการณ์ได้ เช่นการฝึกใช้โปรแกรมทำงานออนไลน์ การฝึกการใช้เทคนิคการตัดต่อวิดีโอ เพื่อการสื่อสารออนไลน์ เป็นต้น
.
.
ทั้ง 9 วิธีนี้จะช่วยให้เราสามารถเป็นคนที่มีความสุขแม้ว่าจะต้องอยู่กับบ้าน ทำงานที่บ้าน อยู่ในสถาการณ์ที่แย่ๆ แต่เราจะไม่แย่ตามสถาการณ์ได้อย่างมีความสุข
-------------------------------------------------------------------------------------------------
พูดคุยกับผู้เขียนได้ที่
Facebook Page Dr.Nara Kittimetheekul
https://www.facebook.com/DrNaraKittimetheekul
รับให้คำปรึกษา ด้านการพัฒนาตนเอง การพัฒนามนุษย์ การออกแบบระบบการทำงาน
การวิจัยการตลาด การปรับ Mindset เพื่อความสุขและความสำเร็จ
วันพฤหัสบดีที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2563
การพัฒนาตนเองเมื่อต้อง Work from Home
.
.
แต่สิ่งที่น่าคิดและน่าสนใจคือ ในช่วงเวลาที่เราต้องอยู่บ้านแบบนี้ เราจะทำอะไรให้ชีิวิตของเราเก่งขึ้น เพราะการทำงานที่บ้านกับการทำงานที่สำนักงานของเราไม่เหมือนกัน ทั้งบรรยายกาศ การประสานงานรูปแบบ การส่งงาน การสั่งการ การสื่อสาร ดังนั้น การสร้างทักษะที่จำเป็นต้องใช้ในระหว่างที่เราต้อง Work From Home นั้น มีความสำคัญมากที่จะทำให้เราสามารถทำงานที่บ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ
.
.
ข้อดีของการทำงานที่บ้านอย่างมีประสิทธิภาพนั้น มีได้หลายอย่าง และจะเป็นการสร้างการเปลี่ยนแปลงในการทำงานให้มีความยืดหยุ่นขึ้นอย่างถาวรวาร เมื่อวันหนึ่งที่ต้องกลับไปทำงานกันตามปกติ เราเองยังสามารถใช้ทักษะเหล่านี้เป็นการทำงานระยะไกลได้ด้วย ข้อดีอีกประการคือ เราสามารถเรียนรู้เทคโนโลยี และเข้าสู่การเป็น Digital Transformation ได้เร็วมากยิ่งขึ้น นอกจากนั้น เราได้เรียนรู้การเปลี่ยนแปลงและรับมือการเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลันได้ดียิ่งขึ้น
.
.
ทักษะที่จะเป็นต้องมีการเรียนรู้คือ
.
ทักษะทางด้านการสื่อสารทางไกลด้วยเทคโนโลี
.
เนื่องจากการทำงานที่บ้านไม่ได้ทำงานด้วยกันตลอดเวลา ต้องอาศัยระบบการสื่อสารที่มีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ แชตแอพ VDO Call หรือ การประชุมออนไลน์ อีเมล์ Cloud Drive หรืออื่นๆ ที่มีอยู่ ซึ่งแต่ละแบบจะมีข้อเด่น และข้อจำกัดไม่เท่ากัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของคุณภาพเสียง เรื่องความสะดวกในการทำความเข้าใจ เรื่องของรูปแบบการสื่อสาร เรื่องของการมีส่วนร่วมในการสื่อสาร เราต้องเข้าใจว่าแต่ละเรื่องใช้ไม่เหมือนกัน ดังนั้น การสื่อสารทางไกล จึงเป็นประเด็นแรกที่ต้องปรับเปลี่ยนวิธีการให้เหมาะสมกับการทำงานของตัวเอง เราไม่สามารถใช้วิธีการ กระบวนการ ระเบียบข้อบังคับต่างๆ ไม่สามารถทำงานรูปแบบเดิมๆ ได้ ทักษะที่ต้องใช้ โดยเฉพาะการสื่อออก และการฟัง การอ่าน การจับประเด็นและการตีความหมาย รวมไปถึงการสรุปประเด็นการสื่อสารในแต่ละครั้ง
.
.
ทักษะการสร้างความคิดสร้างสรรค์
.
ทักษะนี้เป็นจำเป็นเนื่องจาก การทำงานที่บ้านจะมีการเปลี่ยนแปลงในชีวิตเป็นอย่างมาก การทำงานที่จะมีประสิทธิภาพได้คือคนที่สามารถปรับตัวได้ดี มีความคิดใหม่ๆ ที่สามารถสร้างประโยชน์ใหม่ๆ ได้ หรือที่เรียกว่าเป็นความคิดสร้างสรรค์ ทักษะนี้จะเป็นทักษะที่ช่วยให้การทำงานสามารถทำงานได้อย่างราบรื่น เพราะการทำงานที่บ้านย่อมมีอุปสรรคในการทำงานเป็นอย่างมาก
.
.
ทักษะการควบคุมอารมณ์และความคิด
.
ในการที่ต้องทำงานอยู่ที่บ้าน ความเครียดที่เกิดขึ้น เกิดจากที่เราเองได้เคยออกจากบ้านแล้วไม่ได้ออกจากบ้าน ได้เคบพบปะผู้คนก็ไม่ได้พบ ทำให้เรารู้สึกหงุดหงิด อยากทำอะไรก็ทำไม่ได้ ไม่ได้ดังใจ ดังนั้น ทักษะในการควบคุมอารมณ์และการปล่อยวางความอยากความต้องการของตัวเอง ซึ่งการควยคุมอารมณ์นั้น ต้องอาศัยเรื่องการควบคุมความคิด การเปลี่ยนแปลงจุดโฟกัสของตัวเองให้ไปโฟกัวเรื่องที่สร้างประโยชน์มากกว่าการโฟกัสเรื่องที่สร้างความทุกให้กับตัวเอง ทักษะแบบนี้เป็นทักษะการสร้างความคิดทางบวกให้กับตัวเองและจะสามารถเป็นผู้ที่มีความสุขในการใช้ชีวิตได้
.
.
ทักษะการสร้างสมาธิและการวิเคราะห์ข้อมูล
.
เนื่องจากการทำงานที่บ้าน มีโอกาสที่จะรับข้อมูลเข้ามาจากสื่อต่างๆ มากมาย และเผยแพร่ออกไปอย่างรวดเร็ว รวมทั้งการทำงานต้องทำงานแบบเบ็ดเสร็จในคนเดียวมากขึ้น เหมือนเป็นสถานีในการทำงาน คนทำงานจะต้องพึงพาตัวเองมากยิ่งขึ้น ดังนั้น การวิเคราะห์ข้อมูล การประมวลผลจึงต้องถูกพัฒนาให้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ด้วยตัวเอง ในการวิเคราะห์ข้อมูลให้มีประสิทธิภาพต้องมีสมาธิและจดจ่ออยู่กับงานที่ทำ เพื่อให้งานสำเร็จได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
.
.
ทักษะการวางแผนการทำงานและการดำเนินการตามแผน
.
การทำงานที่บ้านสิ่งที่เกิดขึ้นคือการที่ต้องทำงานด้วยตัวเองไม่มีคนบังคับให้เราทำงาน หรือมียืนสั่งงานอยู่ใกล้ๆ ดังนั้น การวางแผนการทำงานด้วยตัวเองและการบังคับตัวเองให้ดำเนินการตามแผนงานที่ได้กำหนดไว้ การหักห้ามใจไม่ให้ออกไปทำกิจกรรมอื่นๆ ที่ทำให้เราทำงานไม่เสร็จตามที่ตั้งไว้
.
.
นัอกจากนั้นแล้ว ยังมีทักษะอีกหลายอย่างที่จำเป็นซึ่งจะแตกต่างกันไปในแต่หละหน้าที่ ตำแหน่ง อาชีพ โดยแต่ละคนต้องมาตรวจสอบและพิจารณาตัวเองว่า เราจะต้องความสามารถทางด้านไหน และจะพัฒนาสิ่งเหล่านั้นได้อย่างไรเพื่อให้เราบรรลุเป้าหมายในการทำงาน
.................................................................................................................
พูดคุยกับผู้เขียนได้ที่
Facebook Page Dr.Nara Kittimetheekul
https://www.facebook.com/DrNaraKittimetheekul
รับให้คำปรึกษา ด้านการพัฒนาตนเอง การพัฒนามนุษย์ การออกแบบระบบการทำงาน
การวิจัยการตลาด การปรับ Mindset เพื่อความสุขและความสำเร็จ
วันอังคารที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2563
การติดตามงาน Work From Home ให้ได้ผล
.
.
วิธีการประเมิน
1. แบ่งประเภทงานออกเป็น 2 กลุ่มคือ งานที่ต้องทำงานพร้อมๆ กันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่นงานที่ต้องเป็นงานทำงานต่อกัน ทำพร้อมกัน หรือประสานงานกันตลอดเวลา เช่น Call Center หรือ คนตอบคำถามลูกค้า ที่มีเวลาในการให้บริการ กลุ่มที่ 2 คืองานที่ไม่ได้จำเป็นต้องทำงานพร้อมกัน แต่ละคนแบ่งงานเป็นชิ้นๆ แต่มีเวลาที่ต้องทำเสร็จตามที่กำหนด เช่นงานวิเคราะห์ข้อมูล งานออกแบบระบบ งานขาย
.
2. กำหนดประเด็นที่สำคัญของหน้าที่งานแต่ละตำแหน่ง เอาที่สำคัญจริงๆ 1 ข้อ ต่อคน ตรงนี้ต้องวิเคราะห์ที่คุณค่าหลักของแต่ละตำแหน่งสั้นๆ 1 ประโยค วิธีการคิดคือ หน้าที่ของตำแหน่งนี้มีไว้เพื่ออะไร เช่น มีพนักงานขายไว้เพื่อสร้างยอดขายและรักษาฐานลูกค้า นั่นหมายความว่า งานอื่นๆ ของตำแหน่งพนักงานขายเป็นงานแถม หรือหน้าที่รองทั้งหมด หรือ พนักงาน Call Center มีหน้าที่ตอบคำถามและแก้ปัญหาให้ลูกค้าทางโทรศัพท์ พนักงานแผนงานงบประมาณ มีหน้าที่วิเคราะห์ข้อมูลด้านงบประมาณและสร้างแผนการใช้งบประมาณ เป็นต้น
.
3. กำหนดวิธีการวัดความสำเร็จจำนวน 2-3 ข้อ ต่อตำแหน่ง เช่น พนักงาน Call Center วิธีการวัดความสำเร็จ 1) ทำงานในช่วงเวลาที่กำหนด 2) แก้ปัญหาให้ลูกค้าได้ 3) มีการบันทึกข้อมูลที่สำคัญให้บริษัทได้รับทราบ พนักงานฝ่ายกลยุทธ์ 1) รวบรวมข้อมูลที่จำเป็นในการกำหนดกลยุทธ์ 2) วิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวจ้องกับกลยุทธ์ 3) เสนอแผนกลยุทธ์เพื่อพร้อมในการตัดสินใจ
.
4. นำตัวชี้วัดมาสร้างเป็นการวัดผล ซึ่งจะอยู่ในรูปของ KPI หรือ OKR ก็ได้ ถ้าเป็น KPI เหมาะสำหรับการงานที่ต้องทำพร้อมๆ กัน มีกระบวนการในการทำงาน แต่ถ้าเป็น OKR เน้นที่ผลลัพธ์ของงาน จะทำด้วยวิธีไหนก็ได้ แต่ความคืบหน้าในการทำงานต้องทราบโดยทั่วกัน เพื่อให้ทีมสามารถมาช่วยเหลือกันได้
.
5. กำหนด ระยะเวลาในการพูดคุย กันของทีมให้เป็นเรื่องจำเป็นและควรทำแบบรายวัน ถ้าเป็นงานที่ต้องทำงานด้วยกัน ให้กำหนดเวลาพูดคุยตอนเริ่มงาน ระหว่างวัน และก่อนเลิกงาน สำหรับงานที่เป็นการทำงานแบบชิ้นงาน ให้มีการพูดคุยกันวันละ 1 ครั้งอย่างน้อย ก่อนสิ้นวัน หรือ เป็นวันละ 2 ครั้ง ตอนเช้า และตอนเย็น ขึ้นกับข้อตกลงของทีม เรื่องการที่พูดคุยกัน นั้น เป็นเรื่องการกำหนดเป้าหมายรายวัน การแสดงถึงอุปสรรคและแนวคิดของการทำงาน การให้กำลังใจของทีมงานร่วมกัน การแบ่งปันเทคนิคใหม่ๆ ที่ช่วยให้การทำงานเพิ่มขึ้น
.
6. กำหนดเป้าหมายที่ต้องการในแต่ละวัน โดยหัวหน้าทีมเป็นผู้กำหนด และตกลงร่วมกันกับผู้ปฏิบัติงาน เพื่อให้คนในทีมรู้ว่า ในแต่ละวันต้องทำอะไรให้สำเร็จ มีตัวชี้วัดที่สามารถบันทึกเป็นหลักฐานได้อย่างไร ตรงนี้อาจจะใช้แอพในการติดตามผลการทำงาน หรือ โครงการต่างๆ ได้ เพื่อให้เห็น Timeline ของการทำงานได้อย่างชัดเจน
.
.
วิธีคิดของผู้ประเมินหรือหัวหน้าทีม
.
1. ผู้ประเมินต้องเปลี่ยนวิธีการคิดเป็นผู้สนับสนุนแทนการจับผิด และทำความเข้าใจกับทีมของตัวเองให้เรียบร้อยเสียก่อน เพราะการจับผิดนั่นจะไม่ช่วยให้การทำงานไปได้อย่างราบลื่น การทำงานที่บ้าน จะยิ่งตรวจสอบยากมาว่า พนักงานได้ทำงานอยู่ที่หน้าคอมพิวเตอร์จริง 100% ของเวลางานหรือไม่ ดังนั้น การสร้างแนวคิดเป็นผู้สนับสนุน ต่อมีความไว้วางใจต่อทีมงาน และเชื่อว่าทุกคนตั้งใจทำงาน
.
2. วางแผนงานล่วงหน้าว่าในแต่ละวันต้องการผลลัพธ์อะไร ในแต่ละสัปดาห์ต้องการผลลัพธ์อะไร เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายของการทำงานที่ต้องการ
.
3. มีความพร้อมในการแก้ปัญหาให้ทีมงานของตัวเองตลอดเวลา แสดงให้เห็นว่า ตนเองไม่ทอดทิ้งทีมงาน อยู่เคียงข้างทีมงาน และให้ความช่วยเหลือเมื่อต้องการ
.
4. เป็นผู้ฟังที่ดี ไม่รีบตัดสิน เนื่องจากการทำงานที่บ้านแต่ละคนไม่ได้เจอหน้ากันตลอดเวลา จึงต้องฟังทีมงานของตัวเองก่อน รับข้อมูลเข้ามาก่อนที่จะตัดสินใจอะไร ภายใต่แนวคิดว่า เราอยู่ห่างกัน เราไม่รู้หรอกว่าเขาเจออะไร ฟังไว้ก่อน จะได้รู้จริงๆ ว่า เขาต้องการอะไรกันแน่
.
.
วิธีการข้างต้นนี้ จะช่วยให้การทำงานมีความชัดเจนมากขึ้น และสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการทำงานแบบอยุ่ต่อหน้ากันก็ได้
.................................................................................................................
พูดคุยกับผู้เขียนได้ที่
Facebook Page Dr.Nara Kittimetheekul
https://www.facebook.com/DrNaraKittimetheekul
รับให้คำปรึกษา ด้านการพัฒนาตนเอง การพัฒนามนุษย์ การออกแบบระบบการทำงาน
การวิจัยการตลาด การปรับ Mindset เพื่อความสุขและความสำเร็จ
-
หลังจากการเลือกตั้งของประเทศไทยปี 2566 ผ่านพ้นไป ได้เห็นคะแนนกันไปแล้ว ส่วนการจัดตั้งรัฐบาลจะเป็นอย่างไรก็เป็นเรื่องของผู้ที่เกี่ยวข้องไปจัด...
-
EP39 #สร้างทีมงานให้เป็นผู้ประกอบการ ปัญหาปวดหัวที่สุดของการสร้างทีมงานคือการสร้างความภักดีในองค์กร เป็นที่รู้กันว่า เมื่อพนักงานไม่มีความภ...
-
#ปัญหาว่าด้วยการแก้ไขสถานการณ์วิกฤติ ช่วงนี้ประเทศไทยได้เจอกับสถานการณ์วิกฤตหรือที่เราจะเรียกว่าอุบัติเหตุการอยู่บ่อยครั้ง อย่างที่เห็นได้ชั...